ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

namchiang

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    1,876
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย namchiang

  1. น้ำมัน-หุ้นสหรัฐฯปิดสวนทาง ทองคำขยับลงต่ำสุดในรอบ6สัปดาห์ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 มีนาคม 2557 05:29 น. น้ำมัน-หุ้นสหรัฐฯปิดสวนทาง ทองคำขยับลงต่ำสุดในรอบ6สัปดาห์ รอยเตอร์ส/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันสหรัฐฯขยับขึ้นวานนี้(26) หลังพบสต๊อกเบนซินลดลงเกินคาดหมาย ส่วนวอลล์สตรีทลงจากแรงฉุดหุ้นกลุ่มเทคโลโนยีและวัตถุดิบ ขณะที่ทองคำปิดลบ ถูกกดดันโดยดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลลาร์ ปิดที่ 100.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอนงวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 4 เซนต์ ปิดที่ 107.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล รายงานสต๊อกเชื้อเพลิงรายสัปดาห์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 มีนาคม แม้จะพบว่าคลังน้ำมันดิบสำรองเพิ่มขึ้นถึง 6.3 ล้านบาร์เรล มากกว่า 2.6 ล้านบาร์เรล ที่นักวิเคราะห์คาดหมายไว้ อย่างไรก็ตามอีกด้านหนึ่งพบว่าคลังสำรอง ณ เมืองคุชชิง โอคลาโฮมา จุดส่งมอบน้ำมันตลาดสหรัฐฯ ลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล เช่นเดียวกับคลังเบนซินสำรองที่ลดลงถึง 5.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหมายไว้หลายเท่า ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(26) ปิดลบ จากแรงฉุดของหุ้นกลุ่มเทคโลโนยีและวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็ยังมีความกังวลต่อปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ หลังอเมริกาและสหภาพยุโรป เห็นพ้องร่วมมือกันคว่ำบาตรรัสเซียหนักหน่วงขึ้น ตอบโต้กรณีผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ดาวโจนส์ ลดลง 98.89 จุด (0.60 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,268.99 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 13.06 จุด (0.70 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,852.56 จุด แนสแดค ลดลง 60.69 จุด (1.43 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,173.58 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐฯซื้อขายในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ในช่วงครึ่งวันเช้า จากข้อมูลทางเศรษฐกิจอเมริกาที่บางชี้ถึงสภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทว่าดัชนีทั้ง 3 ตัวก็แกว่งสู่แดนลบในช่วงบ่าย จากแรงฉุดของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและวัตถุดิบ ส่วนราคาทองคำวานนี้(26) ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 6 สัปดาห์จากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามดีที่ไม่ดิ่งไปมากกว่านี้ หลังได้ปัจจัยสัญญาณอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในจีนเข้ามาพยุง โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 8.00 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,303.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000034420
  2. ราคาทองฟิวเจอร์ขยับลง ตลาดประเมินท่าทีเฟด,สถานการณ์ยูเครน ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 26 มีนาคม 2557 20:43:45 น. ราคาทองฟิวเจอร์ขยับลง ขณะที่ตลาดอยู่ในระหว่างประเมินสถานการณ์ยูเครนและแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อเวลาประมาณ 9.15 น. ตามเวลานิวยอร์ก สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวลง 0.02% แตะที่ 1,311.20 ดอลลาร์/ออนซ์ ราคาทองฟิวเจอร์เคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ภายหลังร่วงกว่า 3% ในสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด เปิดเผยในสัปดาห์ที่แล้วว่า อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกหลังจากที่เฟดยุติการใช้มาตรการ QE ไปแล้วราว 6 เดือน ซึ่งมีนัยว่ามาตรการ QE อาจยุติลงภายในปีนี้ ขณะเดียวกัน ตลาดยังคงประเมินสถานการณ์ยูเครนซึ่งทวีความตึงเครียดมากขึ้น ภายหลังรัสเซียได้ผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า สถานการณ์ยูเครนหนุนความต้องการทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และราคาน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงการซื้อขายต่อๆไป อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย จงดี อำมฤคขจร โทร.02-2535000 อีเมล์: jongdee@infoquest.co.th--
  3. การเมืองกดดัน เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ updated: 25 มี.ค. 2557 เวลา 18:10:45 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันอังคารที่ 25 มีนาคม 2557 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 32.43/45 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อคืนที่ผ่านมาดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตที่สำรวจโดยสถาบันมาร์กิตประจำเดือนมีนาคม (Markit PMI) ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 57.1 สู่ระดับ 55.5 ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากนักลงทุนในตลาดมองว่าการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งขึ้น หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์นั้น ไม่สามารถจะทำให้ดอลลาร์แข็งค่าอย่างต่อเนื่องได้หากข้อมูลเศรษฐกิจไม่แข็งแกร่งเพียงพอ อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยดังกล่าวมากนัก เนื่องจากตลาดส่วนใหญ่ยังคงกังวลกับสถานการณ์เมืองภายในประเทศ หลังจากที่ศาล รธน.ตัดสินให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมาเป็นโมฆะส่งผลให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง โดยตลาดมองว่าหากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในช่วงกลางปีนี้อาจจะกระทบต่อการปรับลด GDP ได้อีก รวมถึงเมื่อคืนที่ผ่านมามีเหตุการณ์ยิงระเบิดใกล้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) สร้างความกดดันให้ค่าเงินบาทมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 32.43-32.58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 32.56/58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรนั้น วันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 1.3837/38 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อเย็นวันจันทร์ (24/3) ที่ระดับ 1.3778/80 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยได้รับแรงสนับสนุนจากข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของฝรั่งเศสประจำเดือนมีนาคมที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 51.9 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.7 ถือเป็นสัญญาณที่เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ทำให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจยุโรปจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องนั้นมีมากขึ้น ประกอบกับทางตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในประเทศแถบยูโรโซนทั้งหมดอยู่ที่ระดับ 53.0 ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้เงินยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้น แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินยูโรยังถูกกดดันอยู่บ้างจากตัวดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อของเยอรมนีประจำเดือนมีนาคมที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 54.0 ต่อำว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.9 และยังคงมีความวิตกกังวลในเรื่องของวิกฤตในยูเครนที่เป็นปัจจัยกดดันค่าเงินยูโรอยู่ ทั้งนี้ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวระหว่างอยู่ที่ 1.3808-1.3839 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 1.3812/14 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ในส่วนของค่าเงินเยนนั้นวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 102.14/16 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อเย็นวันจันทร์ (24/3) ที่ระดับ 102.50/53 โดยเมื่อคืนที่ผ่านมาไร้ปัจจัยทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทางญี่ปุ่น ทำให้ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวระหว่างวันอยู่ที่ 102.10-102.35 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 102.23/24 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อนึ่งจากที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจประกาศออกมาค่อนข้างน้อยในช่วงคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่ต่างจับตาการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนของจีน หลังจากที่เมื่อวาน (24/3) ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อของจีน (HSBC China Manufacturing PMI) ประจำเดือนมีนาคมลดลงสู่ระดับ 48.1 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 48.7 ทำให้ตลาดกังวลถึงความแข็งแกร่งในเศรษฐกิจจีน ทำให้ทางรัฐบาลจีนส่งสัญญาณว่าอาจมีการเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยค่าเงินหยวนปรับตัวแข็งค่าขึ้นแรงจากระดับ 6.2236/80 หยวน/ดอลลาร์สหรัฐในวันจันทร์ (24/3) สู่ระดับ 6.1883/2002 ในช่วงเช้าของวันนี้ นับเป็นการแข็งค่ามากสุดในรอบ 30 เดือน ในสัปดาห์นี้ตลาดรอติดตามการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี IFO Business ของเยอนมนี (25/3) ตัวเลขนำเข้า-ส่งออก และดุลการค้าของไทย ยอดสินค้าคงทนของสหรัฐ (26/3) อัตราว่างงานของญี่ปุ่น ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศของสหรัฐ (27/3) ดัชนี PCE Core Inflation และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค มหาวิทยาลัยมิชิแกน ของสหรัฐ (28/3) สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +4.8/5.15 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +3.80/7.80 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395744033
  4. ทองร่วง$24 คาดเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ทองคำปิดร่วง 24.80 ดอลลาร์ อยู่ที่ 1,311.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นักลงทุนคาดเฟด ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่ากรอบเวลา ทำดอลลาร์แข็งค่า ราคาทองคำในวันจันทร์ (24 มี.ค.) ร่วงลงเกือบร้อยละ 2 แตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 5 สัปดาห์ ด้วยนักลงทุนบางส่วนกะเก็งว่าสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งอาจทำให้ดอลลาร์แข็งค่าและก่อแรงกดดันต่อโลหะมีค่าชนิดนี้ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 24.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,311.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ http://www.bangkokbiznews.com
  5. Gold prices dip in Asia on Fed views, ahead of China HSBC flash PMI By Investing.com | Commodities News | Mar 23, 2014 11:42PM GMT | Add a Comment Investing.comInvesting.com Investing.com - Gold prices ticked down in Asia on Monday as expectations of a U.S. Federal Reserve move to hike interest rates as early as 2015 gather pace and ahead of the closely watched China HSBC Flash Purchasing Managers Index with China regularly vying with India as the world's top importer of the yellow metal. Gold prices dip in Asia on Fed views, ahead of China HSBC flash PMI On the Comex division of the New York Mercantile Exchange, gold futures for May delivery $1,331.60 a troy ounce, down 0.33%, after settling last week at $1,379.00 a troy ounce for a loss of 3.11%, or $43.00, the worst since November, amid expectations that the Fed could hike interest rates earlier than previously thought. The HSBC data is due at 0945 local time (0145 GMT) with a forecast of 48.7 expected, compared to 48.5 for the previous month. A figure below 50 implies contraction. Gold sold off and the U.S. dollar rallied after Fed Chairwoman Janet Yellen indicated on Wednesday that the central bank could begin to raise interest rates about six months after its bond-buying program winds up, which is expected to happen this fall. The comments prompted investors to bring forward expectations for a rate hike to as soon as March of next year. The central bank said that it would reduce its monthly stimulus program by an additional $10 billion to a total of $55 billion a month, in a widely anticipated decision. The Fed also updated its forward guidance, discarding the 6.5% unemployment threshold for considering when to increase borrowing costs and said it will look at a wide range of information. Meanwhile, investors continued to monitor events in Ukraine, where tension over moves by neighboring Russia in the Crimean region have heightened demand for safe haven assets. The political standoff between the West and Russia following the annexation of Crimea escalated after the U.S. imposed harsher sanctions on Moscow. The European Union also agreed to wider sanctions against Russia. In the coming week, investors will be looking ahead to U.S. data from the housing sector, as well as reports on consumer confidence and durable goods to further gauge the strength of the economy and the need for stimulus. Data from the Commodities Futures Trading Commission released Friday showed that hedge funds and money managers increased their bullish bets in gold futures in the week ending March 18. Net longs totaled 138,429 contracts, up 11.1% from net longs of 123,007 in the preceding week. Also on the Comex, silver for May delivery traded at $20.258 a troy ounce, down 0.26%, and copper for May delivery traded at $2.950 a pound, up 0.04%, http://www.investing.com/
  6. ดอลลาร์แข็งกลางสัปดาห์รับเฟดเดินหน้าลดคิวอีต่อ updated: 21 มี.ค. 2557 เวลา 18:15:31 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่าภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันที่ 17-21 มีนาคม 2557 ค่าเงินดอลลาร์เปิดตลาดในวันจันทร์ (17/3) อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักต่าง ๆ ในตลาด อาทิ ค่าเงินยูโร, ปอนด์ และเยน หลังจากในช่วงคืนวันศุกร์ (14/3) ที่ผ่านมามีการเปิดเผยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนมีนาคมซึ่งปรับตัวลดลงสู่ระดับ 79.9 จากระดับ 81.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 82.0 รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งปรับตัวลดลง 0.1% จากเดือนก่อนตรงข้ามกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% นอกจากนั้นแล้ว ค่าเงินดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนเริ่มคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในยูเครน และการลงประชามติของเขตปกครองไครเมียที่เป็นไปอย่างราบรื่นและไม่มีเหตุการณ์รุนแรง โดยรัฐสภาไครเมียได้ประกาศอิสรภาพจากยูเครน หลังจากผลการลงประชามติระบุว่า ชาวไครเมีย 96.77% ต้องการแยกตัวออกจากยูเครนและไปรวมกับรัสเซีย โดยล่าสุดนั้นประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้ทำการลงนามในสนธิสัญญาเพื่อผนวกสาธารณรัฐไครเมียทางตอนใต้ของยูเครนและเมืองเซวาสโตโพลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า โดยในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอให้สภานิติบัญญัติของรัสเซียให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้ปูตินได้ออกแถลงการณ์ต่อสาธารณชนว่าทางรัสเซียไม่มีแผนที่จะยึดแคว้นอื่น ๆ ของยูเครน หรือทำให้ยูเครนแตกแยกแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีค่าเงินดอลลาร์ได้ปรับตัวกลับขึ้นมาแข็งค่าขึ้นอย่างมากอีกครั้งหนึ่งในช่วงคืนวันพุธ (19/3) ไปถึงช่วงปลายสัปดาห์ภายหลังจากที่การประชุมทางธนาคารกลางสหาฐเสร็จสิ้นลง โดยนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เฟดจะเดินหน้าแผนการปรับลดการซื้อพันธบัตรที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐลงต่อไป โดยอาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตรในฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้ และอาจเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยราว 6 เดือนหลังจากนั้น พร้อมทั้งยกเลิกการใช้อัตราการว่างงานที่ระดับ 6.5% เป็นตัววัดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้หากมีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวจริงซึ่งจะถือว่าเป็นการปรัวบเพิ่มที่เร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทางด้านของค่าเงินบาท ค่าเงินบาทเปิดตลาดในวันจันทร์ (17/3) ที่ระดับ 32.27/29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (14/3) ที่ระดับ 32.31/33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินสกุลหลักทั่วโลกจากการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ค่าเงินบาทยังได้รับแรงหนุนหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.บ.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม ถึงวันที่ 30 เมษายน 2557 เพื่อดูแลการชุมนุมกลุ่มต่อต้านรัฐบาล โดยค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าสุดในช่วง 3 เดือนกว่าที่ระดับ 32.10 บาท/ดอลลาร์ในวันพุธ (19/3) ก่อนที่จะกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งหนึ่งตามสกุลเงินหลักอื่น ๆ ในช่วงคืนวันเดียวกันภายหลังจากที่การประชุมทางธนาคารกลางสหรัฐเสร็จสิ้นลง ทั้งนี้ ระหว่างสัปดาห์ ค่าเงินบาทมีเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.11-32.44 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะปิดตลาดในวันศุกร์ (21/3) ที่ระดับ 32.41/43 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญต่อการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ในช่วงเช้าวันศุกร์ซึ่งมีมติ 6 ต่อ 3 เสียง วินิจฉัยว่าการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ขัดต่อรัฐธรมนูญและเป็นโมฆะ แทบจะไม่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงท้ายสัปดาห์ สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดในวันจันทร์ (17/3) ที่ระดับ 1.3901/03 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (14/3) ที่ 1.3878/79 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยค่าเงินยูโรได้รับแรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐอเมริกาในช่วงคืนวันศุกร์ (14/3) ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนที่ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยอัตราการจ้างงานของประเทศในกลุ่มยูโรโซนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส จากระดับเดิมในไตรมาสที่ 3 ปี 2013 ที่ 0.0% ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศยูโรโซนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ค่าเงินยูโรเริ่มอ่อนค่าลงอีกครั้งระหว่างสัปดาห์หลังจากการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยูโรโซนในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.4% ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่จัดทำโดยสถาบัน ZEW ในเดือนมีนาคมของยูโรโซนก็ปรับตัวลดลงจาก 68.5 สู่ระดับ 61.5 โดยระดับเงินเฟ้อที่ต่ำเช่นนี้อาจส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรปประกาศมาตรการผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ค่าเงินยูโรได้อ่อนค่าลงไปต่ำกว่าระดับ 1.3800 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ในช่วงคืนวันพฤหัสดบี (20/3) เช่นเดียวกับค่าเงินหลักอื่น ๆ ภายหลังจากที่ทางเฟดส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาด โดยระหว่างสัปดาห์ค่าเงินยูโรมีการเคลื่อนไหวในกรอบ 1.3748-1.3947 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนจะปิดตลาดในวันศุกร์ (21/3) ที่ระดับ 1.3767/74 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ค่าเงินเยนเปิดตลาดในวันจันทร์ (17/3) ที่ระดับ 101.39/41 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจากระดับปิดตลาดในคืนวันศุกร์ (14/3) ที่ระดับ 101.55/57 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินเยนยังคงปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ขณะรอผลการประชุมเฟด ขณะที่ทางการญี่ปุ่นไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจเพิ่มเติมนอกจากการออกมาให้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ต่อยอดการส่งออกของญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มลดลง โดยนายโตชิโร มูโตะ อดีตรองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นและนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขของไตรมาสที่ 2 ที่จะออกมาในเดือนกรกฎาคมทั้งจีดีพีและอัตราเงินเฟ้อ น่าจะแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจญี่ปุ่น เนื่องจากจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ทางบีโอเจอาจจะมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางเพิ่มเติม ทั้งนี้ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งหนึ่งเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่น ๆ ภายหลังจากที่เฟดจบการประชุม โดยระหว่างสัปดาห์ค่าเงินเยนมีการเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 101.23-102.68 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะปิดตลาดในวันศุกร์ (21/3) ที่ระดับ 102.06/09 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395400196
  7. ชี้การเมืองไทยป่วนเศรษฐกิจอีกนาน คลังห่วงตั้งรัฐบาลไม่ได้ ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 22 มีนาคม 2557 06:00:00 น. ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โอด “การเมือง” ทำให้ไทยเสียโอกาสในหลายๆ เรื่อง ไม่กล้าฟันธงว่าปีนี้จะได้ตั้งรัฐบาลใหม่ ขณะที่ ผู้บริหาร สอท. ยังลุ้นตั้งได้ในไตรมาส 2 ด้าน “แบงก์ชาติ” ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงตามคาด นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ว่าที่ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) แสดงความเห็นกรณี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ให้การเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น หากการเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นไปได้อย่างราบรื่น และมีรัฐบาลใหม่ได้ในไตรมาส 2 นี้ ภาคเอกชนจะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างแน่นอน อาจทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าที่หลายๆ หน่วยงานประมาณการไว้ก็เป็นไปได้เช่นกัน เพียงแต่ขอให้วิกฤติการเมืองจบลงจริงๆ เท่านั้น “ภาคเอกชนก็ขอวิงวอนให้ทุกพรรคการเมือง ทุกพรรค ลงมาในสนามเลือกตั้ง และต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง ที่ไม่ว่าใครแพ้และใครชนะได้จัดตั้งรัฐบาล คนแพ้ก็ต้องยอมรับกติกาของระบอบประชาธิปไตย เพราะกลไกของประชาธิปไตยที่ถูกต้อง คือการเลือกตั้งและขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จัดเลือกตั้งให้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลที่สามารถบริหารประเทศได้” ขณะที่ นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า การที่ประเทศไทยยังตั้งรัฐบาลใหม่ไม่ได้ จะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ไม่ถึง 3% ต่อปี ค่อนข้างแน่นอน แต่จะต่ำกว่า 2% ต่อปี หรือไม่ คงต้องว่าจะตั้งรัฐบาลใหม่ได้ภายในปีนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากอดีตที่ผ่านมาปัญหาการเมืองไม่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจกิจ เพียงแต่ทำให้ขยายตัวได้น้อยหรือไม่ขยายตัวเท่านั้น “ปัญหาการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้เศรษฐกิจไทยเสียโอกาสในหลายๆ เรื่อง อาทิ การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การแก้ปัญหาความยากจน สศค. คาดว่าจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญในปีนี้ อาจส่งผลให้มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจครั้งต่อไปได้” นายสมชัย กล่าว ทั้งนี้ สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2557 นี้ ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุปสงค์ในประเทศ บ่งชี้เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชนที่บ่งชี้สัญญาณชะลอตัว อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลงต่อเนื่อง นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แถลงเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะขยายตัวที่ 2.7% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวไม่ถึง 3% สำหรับในด้านการส่งออกได้เริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจคู่ค้าต่างประเทศ คาดว่าในปีนี้การส่งออกจะขยายตัวได้ 4.5% จากเมื่อปีที่แล้วขยายตัว 4.2% ขณะที่การใชัจ่ายภาครัฐยังคงล่าช้าจากเหตุผลทางการเมือง และมีการยุบสภา ซึ่งทำให้การอุปโภคและลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.5% จากปีที่ผ่านมา ขยายตัว 3.8% เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่มองว่ายังคงติดลบ -0.5% และการบริโภคภาคเอกชน 0.3% ส่วนเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาอาหาร และการปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.5% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.5% อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายได้ในครึ่งปีแรก ในครึ่งปีหลังก็อาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ ด้านการท่องเที่ยวดีขึ้น การใช้จ่ายก็กลับมาโดยได้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2558 ว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นได้ ซึ่งจะขยายตัวได้ที่ 4.8% แต่ก็ยังมองว่าการจัดสรรเงินงบประมาณปี 2558 อาจจะดำเนินการได้ล่าช้า 1 ไตรมาส และอาจส่งผลกระทบได้บ้างในด้านการลงทุน “ยังมีสิ่งที่จะต้องจับตาดูทั้งในเรื่องของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในต่างประเทศ ที่อาจจะมีความผันผวนได้ จากเศรษฐกิจโลกที่มีตลาดเกิดใหม่บางประเทศ ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า การเลือกตั้งเป็นโฆฆะนั้น ทางคณะกรรมการกนง.ยังไม่ได้นำปัจจัยนี้มาพิจารณาในครั้งนี้ ซึ่งอาจจะนำเข้ามาทบทวนอีกทีในครั้งหน้า http://www.ryt9.com/s/nnd/1862395
  8. KBANK คาดบาทอ่อนค่า 33.50 ช่วง Q2/57-ลงทุนยังชะลอหลังการเมืองไม่นิ่ง-จับตาศก.ตปท. ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 19 มีนาคม 2557 18:36:07 น. นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) กล่าวในงานสัมมนา "แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย"ว่า แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้มีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทยอยจ่ายเงินปันผล ซึ่งมีผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งเป็นนักลงทุนต่างประเทศ โดยรวมแล้วคาดว่าจะต้องมีการจ่ายเงินปันผลประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จึงจะส่งผลลบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยและมีผลให้เงินบาทอ่อนค่าได้ในช่วงดังกล่าว ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทย มองว่าประเด็นการเมืองที่ยังไม่สามารถมีข้อสรุปได้ขณะนี้ได้ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาค Real sector โดยเฉพาะแนวโน้มการลงทุนในระยะต่อไป ซึ่งทำให้ภาคเอกชนต่างรอดูสถานการณ์การเมืองไทยให้นิ่ง ประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้แนวโน้มการลงทุนไม่สดใส นอกจากนี้ ยังมองว่าสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ มีโอกาสที่จะพิจารณาปรับลดเครดิตของประเทศไทยลง หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ ซึ่งในจุดนี้จะมีผลต่อต้นทุนการกู้ยืมของไทยในอนาคต และทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นไปได้ยากขึ้น และอาจทำให้ไทยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ในช่วงครึ่งปีแรก ด้านนายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระทางด้านเศรษฐกิจ คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ราว 2.5-3% เนื่องจากการมีรัฐบาลรักษาการที่ถือว่าเป็นสูญญากาศทางการเมืองส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐชะลอตัวจนถึงขั้นติดลบ จากปัญหาทางการเมืองในประเทศที่ยังคงยืดเยื้อและไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่มองว่าการส่งออกของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 5-6% ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทที่ 32 บาท/ดอลลาร์ ตามเป็นปัจจัยบวกของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นทั้งสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3% สหภาพยุโรปขยายตัวได้ประมาณ 1% ญี่ปุ่นขยายตัว 1.5% และจีนขยายตัวได้ 7.5% อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังมีความเสี่ยงสำคัญ คือ หากปีนี้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้ไม่ถึง 7% จะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมาทั้งอาเซียนไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น โดยผลกระทบจะมีต่อทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนของไทย "หากเศรษฐกิจจีนโตได้ต่ำกว่า 7% ผลกระทบก็จะตามมาเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เราพึ่งพาจีนถึง 12%...หากเศรษฐกิจโตช้าก็จะมีผลต่อทั้งการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนของทั้งอาเซียน แต่ ณ ตอนนี้จีนยังโอเคอยู่ แต่ก็อย่ามองโลกแง่ดีเกินไป ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง" นายสมชาย กล่าว ส่วนที่รัฐบาลประกาศยกเลิกพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกลับไปใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น ส่งผลดีในแง่จิตวิทยาที่ช่วยให้ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะเรียกความเชื่อมั่นกลับขึ้นมาได้ พร้อมมองว่าสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งดำเนินการ คือการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้กลับมาโดยเร็ว ซึ่งการใช้นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2% นั้นเป็นการช่วยลดภาระหนี้ของประชาชนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนให้กลับมาลงทุน เพราะสิ่งที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนคือการเมืองที่ต้องมีเสถียรภาพ ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีหน้า นายสมชาย มองว่า จะได้รับผลกระทบจากการจัดทำงบประมาณปี 2558 ที่ล่าช้า ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยหลังจากวิกฤติต้มยำกุ้งมาจนถึงปัจจุบันก็เติบโตเฉลี่ยเพียงปีละประมาณ 4% เท่านั้น ถือว่าต่ำสุดในอาเซียน รวมทั้งไม่มีการปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และขาดการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ใช้สิทธิประโยชน์จากการเข้าร่วมใน AFTA ให้เต็มที่เท่าที่ควร ดังนั้น หากไทยต้องการแข่งขันได้ในอนาคตจะต้องปรับโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และนวัตกรรม รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนงบประมาณในแต่ละปีอย่างเหมาะสม น.ส.นลิน ฉัตรโชติธรรม ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุนอาวุโส KBANK กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่า ขณะนี้ทิศทางเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐฯ มีพัฒนาการแตกต่างกัน โดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น เช่น อัตราการจ้างงาน และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่กลับมาอยู่ในระดับสูงช่วงเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินโลก นอกจากนี้ผลประกอบการของภาคเอกชนในสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นแรงหนุนให้เกิดการขยายตัวด้านการลงทุนได้ในระยะต่อไป ขณะที่ภาครัฐผ่อนคลายการใช้มาตรการรัดเข็มขัดเรื่องค่าใช้จ่าย ขณะที่เศรษฐกิจของจีนมีสัญญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะภาคการผลิตและการส่งออก แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยการบิดเบือนเรื่องฤดูกาล นอกจากนี้ผู้กำหนดนโยบายยังหันไปให้ความสนใจกับการปฏิรูปมากขึ้น เช่น การขยายกรอบการซื้อขายเงินตราให้กว้างขึ้นมาอยู่ที่บวกหรือลบ 2% ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการเข้าสู่ตลาดแบบเสรี อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปอาจมีผลให้แรงส่งต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจแผ่วตัวลงบ้าง โดยผู้นำของจีนคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวที่ระดับ 7.5% ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังมีสัญญาณที่เป็นบวก โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตามคือ การพัฒนาด้านเงินเฟ้อ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายของกลุ่มสหภาพยุโรปมองว่าอัตราเงินเฟ้อระดับต่ำในปัจจุบันมาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่จะไม่ประสบภาวะเงินฝืดเหมือนญี่ปุ่น ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยประเมินว่า สหภาพยุโรปพยายามเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำนโยบายการเงินให้ส่งผ่านไปยังภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงให้มากขึ้น สิ่งที่ต้องจับตามมองสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นคือ การปรับขึ้นภาษีบริโภคจาก 5% เป็น 8% ในต้นเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับเข้าสู่ภาวะเงินฝืดอีกครั้งหรือไม่ สำหรับประเทศไทยนั้นปัญหาการเมืองที่ยังไม่ได้ข้อยุติส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะแนวโน้มการลงทุน จากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 2% น่าจะเป็นการปรับลดครั้งสุดท้าย และคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไว้จนถึงปลายปี แต่ก็มองเห็นโอกาสที่อาจจะมีการปรับดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นได้เช่นกัน อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq03/1860639
  9. หุ้นสหรัฐ-ทองคำร่วงหลังเฟดส่อร่นเวลาขึ้นดอกเบี้ย น้ำมันปิดบวก โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มีนาคม 2557 05:27 น. เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันนิวยอร์กวานนี้(19) ขยับขึ้น พบคลังเชื้อเพลิงสำรองสหรัฐฯ ณ ส่งมอบสำคัญลดลง ส่วนสอลล์สตรีทและทองคำร่วงหนัก หลังธนาคารกลางสหรัฐฯตัดลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและร่นกรอบเวลาในการขึ้น ดอกเบี้ย สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 67 เซนต์ ปิดที่ 100.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 94 เซนต์ ปิดที่ 105.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักวิเคราห์บอกว่าปัจจัยที่สนับสนุนราคาน้ำมันเมื่อวันพุธ(19) ได้แก่รายงานคลังน้ำมันสำรองรายสัปดาห์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ที่พบว่าสต๊อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง มลรัฐโอคลาโฮมา ศูนย์ส่งมอบสำคัญ ลดลง 200,000 บาร์เรล สู่ระดับ 29.8 ล้านบาร์เรล บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(19) ปิดลบพอสมควร หลังนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) ให้กรอบเวลาคร่าวๆที่เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดาวโจนส์ ลดลง 114.02 จุด (0.70 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,222.17 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 11.48 จุด (0.61 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,860.77 จุด แนสแดก ลดลง 25.71 จุด (0.59 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,307.60 จุด ดัชนีทั้ง 3 ตัวไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างมีนัย หลังคำแถลงเบื้องต้น ตัดลดโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนลงอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ของเฟด เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ทว่าความเห็นของนางเยเลน ที่เปิดแถลงข่าวหลังจากนั้น ก็ส่งผลให้ตลาดหุ้นร่วงลงทันควัน นางเยลเลน บอกว่ากรอบเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะอยู่ราวๆ 6 เดือนหลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่คาดหมายกันว่าเฟดจะยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนในช่วงสิ้นปี นี้ ส่วนราคาทองคำในวันพุธ(19) ขยับลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากเฟดตัดลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุมทั้ง 3 ครั้งหลังสุด โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 17.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,341.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์
  10. ทองปิดร่วง $17.7 หลังปธ.เฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2557 07:09:37 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทำการ นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการส่งสัญญาณดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เฟดมีมติปรับลดขนาดมาตรการ QE ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในการประชุมครั้งล่าสุด สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 17.7 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 1,341.3 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 3.6 เซนต์ ปิดที่ 20.826 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 10 ดอลลาร์ ปิดที่ 1451.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 3.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 768.20 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาทองคำร่วงลงหลังจากนางเยลเลนกล่าวว่า อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกหลังจากที่เฟดยุติการใช้มาตรการ QE ไปแล้วราว 6 เดือน ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับลดขนาดมาตรการ QE ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการประชุมล่าสุด ส่งผลให้วงเงินการซื้อพันธบัตรปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยจะเริ่มดำเนินการดังกล่าวในเดือนเม.ย.ปีนี้ อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq31/1860681
  11. น้ำมันขึ้น หุ้นมะกันบวก-ทองคำร่วง หลังปูตินให้คำมั่นไม่ผนวกดินแดนอื่นของยูเครน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มีนาคม 2557 05:33 น. น้ำมันขึ้น หุ้นมะกันบวก-ทองคำร่วง หลังปูตินให้คำมั่นไม่ผนวกดินแดนอื่นของยูเครน เอเอฟพี - น้ำมันตลาดนิวยอร์กวานนี้(18) ขึ้นแรง หลังงานขยายท่อลำเลียงเชื้อเพลิงสำคัญใกล้แล้วเสร็จ ขณะที่วอลล์สตรีท ปิดบวกและราคาทองคำขยับลง นักลงทุนคลายกังวลวิกฤตยูเครน แม้ผู้นำรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาซึ่งทำให้สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของมอสโก สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 1.62 ดอลลาร์ ปิดที่ 99.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 55 เซนต์ ปิดที่ 106.79 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบสัญญาสหรัฐฯ ปิดบวก จากข่าวประสิทธิภาพของท่อลำเลียงเชื้อเพลิงซีเวย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เป็น 850,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนพฤษภาคมหรือไม่ก็มิถุนายน บรรเทาปัญหาปริมาณน้ำมันดิบล้นคลังที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา และสามารถลำเลียงเชื้อเพลิงไปยังโรงกลั่นต่างๆในแถบชายฝั่งอ่าวเทกซัสได้มากขึ้น ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(18) ปิกบวก แม้ประธานาธิบดีวลาดิมร์ ปุติน แห่งรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาซึ่งทำให้สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของมอสโก ตามหลังผลประชามติหนุนซุกปีกหมีขาว จนความตึงเครียดกับชาติตะวันตกเข้าสู่ขั้นวิกฤต ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 88.97 จุด (0.55 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,336.19 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 13.42 จุด (0.72 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,872.25 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 53.36 จุด (1.25 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,333.31 จุด สหรัฐฯเมื่อวันอังคาร(18) ประกาศจะยกระดับคว่ำบาตรรัสเซีย ตอบโต้ความเคลื่อนไหวควบคุมไครเมีย ตามหลังประธานาธิบดีปูติน ลงนามในสนธิสัญญาซึ่งทำให้สาธารณรัฐปกครองตนเองเป็นส่วนหนึ่งของมอสโกแล้ว เช่นเดียวกับนานาชาติที่ดาหน้าออกมาประณามการการกระทำของเครมลินด้วยถ้อยคำที่ดุเดือด อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนพอจะเบาใจไปได้บ้าง ก็คือคำพุดของปูติน ที่ให้สัญญาว่าไม่ได้ต้องการผนวกดินแดนส่วนอื่นๆ ของยูเครนอีก เหล่านักวิเคราะห์มองว่าข่าวคราวในยูเครน ไม่ใช่ประเด็นใหม่ที่สร้างความประหลาดใจ ขณะที่นักลงทุนได้หันไปจับตาบทสรุปของที่ประชุม 2 วันคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯในวันพุธ(19) ด้วยสถานการณ์ในยูเครนไม่มีอะไรที่เหนือความคาดหมาย ส่งผลให้นักลงทุนขายสินทรัยพ์เสี่ยงต่ำ เป็นผลให้ราคาทองคำวานนี้(18) ร่วงลงกว่าร้อยละ 1 แตะระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 13.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,359.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000031018
  12. ทองปิดร่วง 13.9 ดอลล์ จากแรงขายทำกำไร ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 19 มีนาคม 2557 06:32:12 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (18 มี.ค.) เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 2 วันทำการได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำเพื่อทำกำไร และเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 13.9 ดอลลาร์ หรือ 1.01% ปิดที่ 1,359 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค.ปีนี้ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 41.3 เซนต์ ปิดที่ 20.862 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 6.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1461.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 5 ดอลลาร์ ปิดที่ 771.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ภาวะการซื้อขายในตลาดทองคำเป็นไปอย่างซบเซาเนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญา ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น อันเป็นผลมาจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียด ในยูเครน ภายหลังจากผู้นำรัสเซียที่ได้แถลงต่อสาธารณะผ่านการถ่ายทอดทางโทรทัศน์เมื่อ วานนี้ว่า รัสเซียไม่ต้องการดินแดนส่วนอื่นของยูเครนอีก โดยระบุว่า "เราไม่ต้องการแบ่งแยกยูเครน" การที่สถานการณ์ยูเครนเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีนั้น ทำให้นักลงทุนหันเหความสนใจจากเรื่องดังกล่าวไปที่การประชุมนโยบายการเงิน เป็นเวลาสองวันของเฟด ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งแรกภายใต้การนำของนางเจเน็ท เยลเลน นอกจากเรื่องการลดวงเงินซื้อพันธบัตรรายเดือนแล้ว นักลงทุนยังจับตาดูด้วยว่าเฟดจะเปลี่ยนแปลงการใช้วิธีส่งสัญญาณจาก Forward Guidance ไปเป็นการส่งสัญญาณเชิงคุณภาพมากขึ้นหรือไม่ อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--
  13. Gold racing to $1400: What's behind this rally? Jeff Nichols, renowned precious metals expert reiterated that there is no major rise in gold demand from retail investors but the market is dominated by large institutional players and short-term traders causing the m.. 15 Mar 2014 LONDON/NEW YORK (Commodity Online): Gold after hitting the resistance of $1383 per ounce is heading towards $1400 but there is still no consensus of opinion on what has caused the rally even as most analysts are prone to cite the Ukrainan crisis for the rise in safe haven demand. According to Jeff Nichols, precious metals economist, Managing Director of American Precious Metals Advisors, said that clients are generally confused over gold price behavior in recent weeks. He reiterated that there is no major rise in gold demand from retail investors but the market is dominated by large institutional players and short-term traders causing the metal to rally. This includes the trading desks of the banks and funds operating in “paper” derivative markets – mostly futures and over-the-counter inter-dealer trading. Flows into gold ETFs are also picking up — probably from some hedge funds that last year were sellers. "While all this is encouraging for the bullish case, it also means the market is more vulnerable to a quick reversal if an unexpected relaxation in geopolitical tensions suddenly emerges." Ole S Hansen, Head of Commodity Strategy at Saxo Bank points out that uncertainty is causing investors to look for alternate investments but more importantly a combination of weaker dollar, falling stocks, and lower bond yields all played in to the hands of those having a bullish stance. "Those who have already bought gold are not finding any reasons to depart with their profitable positions at this stage unless we have a change in sentiment resulting in a move back below 1,355 USD/oz. For now the uptrend remains intact and beyond 1,383 USD/oz, the next physiological milestone at 1,400 USD/oz is waiting," Ole S Hansen added. Jeff Nichols said that gold prices in the week ahead could also be affected — one way or the other — by a rash of U.S. economic indicators and the news conference from Fed Chair Janet Yellen following the March FOMC meeting. Traders and investors will be looking at all of this for clues to the pace of economic recovery and prospective monetary policy. We expect confusion will continue . . . with the U.S. economic situation continuing to be more or less neutral for the gold market, particularly as it remains focused on developments in the geopolitical sphere. http://www.commodityonline.com
  14. แรงขายทำกำไร ฉุดทองคำปิดลบ 6.1 ดอลล์ ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 มีนาคม 2557 06:30:26 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (17 มี.ค.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของตลาดหุ้นสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำเพื่อทำกำไรและเข้าซื้อในตลาดหุ้น ส่งผลให้สัญญาทองคำปรับตัวลงหลังจากที่พุ่งขึ้นติดต่อกันนานถึง 5 วัน สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 6.1 ดอลลาร์ หรือ 0.44% ปิดที่ 1,372.9 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 13.8 เซนต์ ปิดที่ 21.275 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 1.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1468.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 3.15 ดอลลาร์ ปิดที่ 776.40 ดอลลาร์/ออนซ์ นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำเพื่อทำกำไรและส่งแรงซื้อเข้าไปในตลาดหุ้นสหรัฐ หลังจากมีข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ และผลการลงประชามติในไครเมียเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยรัฐสภาไครเมียได้ประกาศอิสรภาพจากยูเครนเมื่อวานนี้ หลังจากผลการลงประชามติระบุว่า ชาวไครเมีย 96.77% ต้องการแยกตัวออกจากยูเครนและไปรวมกับรัสเซีย สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐนั้น ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กรายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นแตะ 5.61 หลังจากที่ดัชนีเดือนก.พ.ร่วงลงแตะ 4.48 โดยสะท้อนถึงกิจกรรมภาคการผลิตในนิวยอร์กที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.ปรับตัวขึ้น 0.6% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% และบ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากเผชิญสภาพอากาศที่หนาวเย็นรุนแรง ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 0.3% แตะ 78.8% ในเดือนก.พ. อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq31/1858819
  15. น้ำมันร่วง-หุ้นขึ้นหลังตะวันตกไม่คว่ำบาตรศก.รัสเซีย ทองคำก็ลง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มีนาคม 2557 05:31 น. น้ำมันร่วง-หุ้นขึ้นหลังตะวันตกไม่คว่ำบาตรศก.รัสเซีย ทองคำก็ลง เอเอฟพี - ราคาน้ำมันร่วงลงพอควร ส่วนวอลล์สตรีทขยับขึ้นวานนี้(17) ตลาดคลายกังวล หลังสหรัฐฯและอียูไม่คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ตอบโต้กรณีไครเมียลงประชามติซบอกมอสโก ขณะที่ปัจจัยดังกล่าวก็ผลักให้ทองคำ ปิดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 5 วัน สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน ลดลง 81 เซนต์ ปิดที่ 98.08 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.97 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ สหภาพยุโรปและสหรัฐฯเมื่อวันจันทร์(17) ประกาศมาตรการลงโทษคว่ำบาตรด้วยการงดออกวีซ่าและอายัดทรัพย์สินที่อยู่ในอียูของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย และเจ้าหน้าที่ยูเครนจากไครเมีย ที่ลงความเห็นว่าต้องรับผิดชอบต่อการทำประชามติแยกตัวออกจากเคียฟ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมอสโก อันกระพือวิกฤตะวันออก-ตะวันตกครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็น ฟาวัด ราซักซาดา นักวิเคราะห์จากโฟเร็กซ์ดอทคอม เปิดเผยว่าตลาดผ่อนคลายลงไปบ้างเล็กน้อย ที่มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจไม่ได้พุ่งเป้าเล่นงานรัฐบาลรัสเซีย ชาติผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ ด้วยสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างตะวันตกกับรัสเซียเกี่ยวกับการทำประชามติของไครเมีย ไม่ขยายวงไปกว่าที่คาดหมาย ประกอบกับการดิ่งลงหนักในระยะหลัง ทำให้นักลงทุนเล็งเห็นโอกาสของการช้อนซื้อ เป็นผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(17) ปิดบวกอย่างแรง ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 181.55 จุด (1.13 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,247.22 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 17.70 จุด (0.96 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,858.83 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 34.55 จุด (0.81 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,279.94 จุด "มันเป็นรูปแบบการดีดขึ้นจากความผ่อนคลาย ไม่มีเรื่องด้านลบที่น่าประหลาดใจในยูเครน สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่คาดหมายไว้แล้ว" เทอร์รี มอร์ริส รองประธานอาวุโสจากบริษัทเนชันแนล เพนน์ อินเวสเตอร์ส กล่าว ด้านราคาทองคำวานนี้(17) ขยับลงในกรอบแคบๆ หลังก่อนหน้านี้ปิดบวกมา 5 วันติด นักลงทุนขายสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำไปแสวงหากำไรในตลาดทุน หลังสหรัฐฯและอียูไม่คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซียในเรื่องประชามติไครเมีย โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 6.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,372.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000030519
  16. ปชช.แห่ไถ่ทองโรงจำนำสุไหงโก-ลก หลังราคาทองพุ่งกว่าบาทละ 2 หมื่น โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มีนาคม 2557 18:21 น. คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น นราธิวาส - ปชช.แห่ไถ่ถอนทองคำที่โรงรับจำนำสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส หลังราคาทองพุ่งกระฉุดกว่า 20,000 บาท พบว่าช่วงก่อนเปิดเทอมมีเงินสะพัดกว่า 80 ล้าน ด้านโรงรับจำนำเตรียมกันเงินสำรองเพิ่ม 12 ล้านบาท รับช่วงวันหยุดยาว วันนี้ (17 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในขณะนี้เนื่องจากราคาทองคำในตลาดที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนที่จำนำทองคำที่โรงรับจำนำสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ได้เข้ามาไถ่ถอนทองคำออกไปเป็นจำนวนมาก โดยนายธีรวีย์ พึ่งตำบล ผู้ช่วยผู้จัดการสถานธนานุบาลเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะนำทองรูปพรรณมาจำนำมากกว่าร้อยละ 90 รองลงมาคือนาฬิกายี่ห้อหรู เช่น ยี่ห้อ Rolex และ Tag Heuer ที่มีราคาจำนำอยู่ที่ 4,000-5,000 บาทต่อเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกเล็กน้อย ทั้งนี้ ภายหลังจากราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นเป็นบาทละ 21,150 บาท ทำให้ประชาชนที่นำทองคำมาจำนำ ได้เข้ามาไถ่ถอนออกไปมากกว่าการรับจำนำเข้ามา ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจาก โรงรับจำนำเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รับจำนำทองคำในราคาบาทละ 15,000 บาท แต่ราคาทองคำตามกลไกตลาดปรับขึ้นมากแล้ว ดังนั้น หากไถ่ถอนแล้วนำไปจำหน่ายที่ร้านทองโดยตรง ก็จะมีกำไรจากส่วนต่างนี้มากขึ้น ส่วนพฤติกรรมการใช้บริการโรงรับจำนำเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ตามปกติจะมีเงินหมุนเวียนประมาณ 54 ล้านบาท แต่ในช่วงก่อนเทศกาลวันฮารีรายอ และก่อนเปิดเทอม จะมีการใช้จ่ายเงินในการให้บริการประชาชนสูงถึง 80 ล้านบาท ส่วนในเทศกาลสงกรานต์นี้ ได้เตรียมเงินสำรองไว้อีก 12 ล้านบาท เพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้นำเงินไปใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว และพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวนี้อย่างเต็มที่
  17. น้ำมันคงที่-ห้นสหรัฐฯร่วงแรงจากข้อมูลศก.จีน ทองคำขึ้นเล็กน้อย โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2557 05:29 น. เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - น้ำมันทรงตัว ส่วนวอลล์สตรีทดิ่งลงวานนี้(13) ท่ามกลางข้อมูลที่สวนทางกันของเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีน ขณะที่ตัวเลขการผลิตอันน่าวิตกของปักกิง ก็ผลักให้นักลงทุนหันไปถือครองทองคำ จนปิดบวกเล็กน้อย สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 21 เซนต์ ปิดที่ 98.20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 63 เซนต์ ปิดที่ 107.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักวิเคราะห์มองว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังของจีน ฉุดรั้งตลาดน้ำมันเล็กน้อยและกลบแรงหนุนเกี่ยวกับความกังวลต่อสถานการณ์ความ ตึงเครียดในยูเครน โดยในวันพฤหัสบดี(13) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ผลผลิตมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 8.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบรายปี ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2014 ถือเป็นอัตราต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2009 ขณะที่เมื่อเทียบรายเดือน ผลผลิตมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.ขยับขึ้นเล็กน้อยแค่ 0.6 เปอร์เซ็นต์ จากเดือนก่อนหน้านี้ ส่วนยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเพียง 11.8 เปอร์เซ็นต์ แย่ที่สุดในรอบหลายเดือน ทั้งนี้จีนใช้ผลผลิตมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม เป็นมาตรวัดกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีผลประกอบการรายปีอย่างน้อย 20 ล้านหยวน (3.26 ล้านดอลลาร์) ปัจจัยข้างต้นประกอบกับความตึงเครียดที่พุ่งสูงขึ้นในยูเครน ฉุดให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(13) ดิ่งลงหนัก แม้ได้ข้อมูลบวกเกี่ยวกับยอดค้าปลีกและข้อมูลภาคแรงงานอเมริกาช่วยพยุงไว้ก็ ตาม ดาวโจนส์ ลดลง 230.71 จุด (1.41 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,109.37 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 21.77 จุด (1.17 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,846.43 จุด แนสแดค ลดลง 62.91 จุด (1.46 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,260.42 จุด วอลล์สตรีทเปิดซื้อขายในแดนบวก ตามหลังรายงานข้อมูลค้าปลีกอันแข็งแกร่งและยอดผู้เข้ารับสิทธิประโยชน์คน ว่างงานที่ลดลงในสหรัฐฯ ทว่าเริ่มแกว่งตัวในแดบลบตอนช่วงสาย จากนั้นก็ร่วงลงอย่างหนักจากแรงเทขายในช่วงบ่าย ส่วนราคาทองคำวานนี้(13) ขยับขึ้นเล็กน้อย หลังข้อมูลที่น่าวิตกของเศรษฐกิจจีนและสถานการณ์ทางการเมืองในยูเครน ดึงให้นักลงทุนหันมาถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 1.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,372.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์
  18. ชี้ กนง. หั่น ดบ. กระตุ้นนักลงทุนซื้อทอง เผยราคาในตลาดโลกขาขึ้น โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มีนาคม 2557 15:35 น. คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น นายกสมาคมค้าทองคำ ชี้ราคาทองตลาดโลกอยู่ช่วงขาขึ้นตามแรงเก็งกำไรในวิกฤต “ยูเครน-รัสเซีย” คาดพุ่งขึ้นแตะ 1,400 ดอลลาร์/ออนซ์ เผยหาก ดบ.นโยบายปรับลง 0.25% นักลงทุนจะเข้าซื้อทองมากขึ้น เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยถึงแนวโน้มราคาทองคำในตลาดโลกช่วงนี้โดยประเมินว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับขึ้นทดสอบที่ระดับ 1,400 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ และในปีนี้มีโอกาสแตะที่ 1,450 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยหักค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาทองคำในประเทศ จะอยู่ที่ประมาณบาทละ 22,000 บาท เนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อกับปัจจัยกดดันความตึงเครียดความขัดแย้งของ ยูเครน และรัสเซีย รวมทั้งมีการปั่นราคา และเก็งกำไรของกองทุนทองคำในตลาดซื้อขายล่วงหน้า พร้อมกันนี้ นายกสมาคมผู้ค้าทองคำยังมองว่า หากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในช่วงขาลง นักลงทุนจะยังให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในทองคำ เพราะสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ “หากคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 ตามที่ตลาดคาดการณ์ ทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในช่วงขาลงนั้น จะเป็นปัจจัยหนุนนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในทองคำมากขึ้น เพราะทองคำให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ”
  19. น้ำมันร่วงมะกันจ่อระบายคลังสำรอง หุ้นสหรัฐฯ ทรงตัว-ทองคำพุ่ง $28 กังวลวิกฤตยูเครน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 มีนาคม 2557 05:01 น. น้ำมันร่วงมะกันจ่อระบายคลังสำรอง หุ้นสหรัฐฯ ทรงตัว-ทองคำพุ่ง $28 กังวลวิกฤตยูเครน รอยเตอร์/เอเอฟพี - ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ วานนี้ (12 มี.ค.) ร่วงกว่าร้อยละ 2 ขยับลงรุนแรงที่สุดในรอบ 2 เดือน หลังอเมริกาเตรียมทดสอบระบายคลังเชื้อเพลิงสำรองทางยุทธศาสตร์์ประกอบกับสต๊อกน้ำมันที่สูงลิ่ว ส่วนวอลล์สตรีททรงตัว นักลงทุนจับตาวิกฤตยูเครน โดยปัจจัยดังกล่าวประกอบกับความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจของจีน ก็ดันให้ทองคำพุ่งกว่า 23 ดอลลาร์ สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน ลดลง 2.04 ดอลลาร์ ปิดที่ 97.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 53 เซ็นต์ ปิดที่ 108.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในรายงานคลังเชื้อเพลิงสำรองรายสัปดาห์ของสำนักสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ (อีไอเอ) บอกว่า สต๊อกน้ำมันดิบของประเทศในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 มีนาคม เพิ่มขึ้นถึง 6.2 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหมายกว่า 2 เท่า นอกจากข้อมูลที่บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอแล้ว ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันวานนี้ (12) ยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากกรณีที่สหรัฐฯ เตรียมทดสอบนำน้ำมันดิบจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์์ ออกมาจำหน่ายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990 ราว 5 ล้านบาร์เรล ซึ่งนักสังเกตุการณ์มองว่าน่าจะเป็นการส่งสารเป็นนัยจากรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ถึงรัสเซีย แม้กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ อ้างว่าการทดสอบนี้ได้วางแผนมานานแล้ว เพื่อให้ตรงตามความต้องการของโรงกลั่นต่างๆ ที่พ้นจากวงจรบำรุงรักษาประจำปี แต่เหล่าเทรดเดอร์น้ำมัน ตั้งข้อสังเกตว่าความพยายามเข้าฮุบไครเมียจากยูเครนของรัสเซีย อาจเป็นตัวกระตุ้นให้อเมริกาทดลองระบายคลังเชื้อเพลิงสำรองทางยุทธศาสตร์์เข้าสู่ตลาด โดยมีจุดประสงค์ใช้ความมั่นคั่งทางทรัพยากรพลังงานแบ่งเบาภาระของยุโรปและยูเครนที่ต้องพึ่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียอย่างมาก ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ วานนี้ (12) ปิดในกรอบแคบๆ นักลงทุนจับตาอย่างระมัดระวังต่อวิกฤตในยูเครนและเฝ้ารอข้อมูลเพิ่มเติมที่จะบ่งชี้ถึงทิศทางของเศรษฐกิจ ดาวโจนส์ ลดลง 11.17 จุด (0.70 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,340.08 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 0.57 จุด (0.03 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,868.20 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 16.14 จุด (0.37 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,323.33 จุด “นักลงทุนซื้อขายอย่างระมัดระวัง ขณะที่ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกและวิกฤตการณ์ด้านภูมิศาสตร์ยังปกคลุมวอลล์สตรีท” บริษัท เวลล์ส ฟาร์ด แอดไวเซอร์ส ระบุในหนังสือที่ส่งถึงลูกค้า “โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่เตรียมเปิดเผยออกมาอีกชุดและความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่กดดันตลาดหุ้นอย่างรุนแรง” ปัจจัยทั้งสองอย่างข้างต้น ส่งผลให้นักลงทุนหันถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ จนผลักให้ราคาทองคำวานนี้ (12) ปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 23.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,370.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000028594
  20. ทองปิดบวก $3.3 เหตุข้อมูลการค้าจีนหนุนแรงซื้อ ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 11 มีนาคม 2557 06:45:31 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (10 มี.ค.) เนื่องจากข้อมูลการค้าที่อ่อนแอเกินคาดของจีนซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่นำเข้าทองคำรายใหญ่ของโลก ได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับตัวขึ้น 3.3 ดอลลาร์ หรือ 0.25% ปิดที่ 1,341.5 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 1.8 เซนต์ ปิดที่ 20.87 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 6.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,477.2 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ดิ่งลง 4.95 ดอลลาร์ ปิดที่ 776.65 ดอลลาร์/ออนซ์ นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากกรมศุลากรจีนรายงานว่า ยอดส่งออกในเดือนก.พ.2557 ร่วงลง 18.1% จากปีก่อน ขณะที่ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้น 10.1% ส่งผลให้จีนมียอดขาดดุลการค้าเดือนก.พ. 2.298 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. ปี 2556 ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก นอกจากนี้ จีนยังเป็นหนึ่งในประเทศที่นำเข้าทองคำรายใหญ่ของโลก นักวิเคราะห์ยังกล่าวด้วยว่า ปัจจัยอื่นๆที่ช่วยหนุนสัญญาทองคำให้พุ่งขึ้นในปีนี้ รวมถึงสภาพอากาศที่ย่ำแย่ และสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังจากที่บริษัทก๊าซพรอมของรัสเซียเปิดเผยว่า ทางบริษัทอาจระงับการส่งก๊าซไปยังยูเครน เหมือนกับที่เคยทำเช่นนี้มาแล้วเมื่อปี 2552 เนื่องจากยูเครนยังไม่ได้จ่ายค่าส่งก๊าซเดือนก.พ. พร้อมทั้งระบุด้วยว่า ยูเครนค้างชำระค่าก๊าซอยู่ 1.89 พันล้านดอลลาร์ อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq31/1853829
  21. ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐดีเกินคาด รอดูรัสเซีย และ กนง. updated: 10 มี.ค. 2557 เวลา 18:40:45 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของตลาดเงินปริวรรตประจำวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2557 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 2.37/39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (7/3) ที่ระดับ 32.26/28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังจากที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนมีนาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินคาด โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่ง เมื่อเทียบเป็นรายเดือน จากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 151,000 ตำแหน่ง ในขณะเดียวกันตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.7% แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลการจ้างงานที่ดีเกินคาดนี้ส่งผลให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าภาวะทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง และมีคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะยังคงดำเนินการปรับลดมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป ในระหว่างวัน ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอติดตามผลการประชุมของนโยบายการเงินของไทยในวันพุธนี้ (12/3) ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% สู่ระดับ 2.00% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากที่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเศรษฐกิจยังค่อนข้างซบเซา โดยตลอดทั้งวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.37-32.42 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 32.37/32.39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับค่าเงินยูโรเปิดตลาดที่ระดับ 1.3882/83 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์จากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (7/3) ที่ระดับ 1.3878/79 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันที่ปรับตัวสู่ระดับ 0.8% ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบเป็นรายเดือน จากระดับ -0.6% ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตามการแข็งค่าของเงินยูดรถูกกดดันจากการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่ดีเกินคาดของสหรัฐ ประกอบกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซีย โดยรัสเซียขู่ว่าจะยุติการส่งแก๊สเชื้อเพลิงให้กับยูเครน หลังจากยูเครนยังมียอดค้างชำระอยู่ถึงกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้คาดว่าถ้ามีการยุติการส่งแก๊สจริง จะส่งผลกระทบต่อประเทศในสหภาพยุโรปเป็นวงกว้าง ในระหว่างวัน ค่าเงินยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย หลังจากตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอิตาลีในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.0% จากระดับ -0.8% ในเดือนก่อนหน้า โดยตลอดทั้งวันค่าเงินยูโรมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1.3865-1.3897 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.3885/88 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ส่วนค่าเงินเยนเปิดตลาดที่ระดับ 103.01/03 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์จากระดับปิดตลาดในคืนวันศุกร์ (7/3) ที่ระดับ 102.92/95 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากตลาดแรงงานของสหรัฐมีการปรับตัวดีขึ้น รวมถึงมีการประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ระดับ 0.2% จากที่ขยายตัว 0.3% ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้นักลงทุนยังคงจับตาดูผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นที่จะประกาศในวันพรุ่งนี้ (11/3) ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังคงนโยบายการเงิน เนื่องจากมองว่าภาวะโดยรวมของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในระหว่างวันค่าเงินเยนมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 102.78-103.35 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 103.28/29 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นปรับตัวแย่ลง โดยตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ -2.0% จากระดับ 2.5% ซึ่งทำให้นักลงทุนยังกังวลกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของจีน ส่งผลให้ราคาทองคำในตลาดโลกช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก ในสัปดาห์นี้ตลาดรอติดตามการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขดุลการค้าของเยอรมัน ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของอิตาลี ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอังกฤษ (11/3) ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน (12/3) ตัวเลขเงินเฟ้อของอิตาลี ตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานของสหรัฐ ตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐ (13/3) ตัวเลขเงินเฟ้อของอิตาลี ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐ (14/3) เป็นต้น อัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.9/6.1 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +5.5/7.0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394450946
  22. World Economic Calendar รายสัปดาห์ ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2557 ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 10 มีนาคม 2557 09:08:28 น. ปฏิทินเศรษฐกิจรอบโลกในรอบสัปดาห์ วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย) ญี่ปุ่น 06.50 น. ประมาณการจีดีพีไตรมาส 4/2556 ครั้งที่ 2 06.50 น. ดุลการชำระเงินเดือนม.ค. N/A ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุมนโยบายการเงินประจำเดือนมี.ค. ฝรั่งเศส 14.45 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. อิตาลี 16.00 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. วันอังคารที่ 11 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย) ญี่ปุ่น 13.00 น. ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนก.พ. N/A ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศผลการประชุมนโยบายการเงินเดือนมี.ค. เยอรมนี 14.00 น. การค้าระหว่างประเทศเดือนม.ค. อังกฤษ 16.30 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. สหรัฐ 21.00 น. สต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนม.ค. วันพุธที่ 12 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย) ประเทศไทย 14.00 น. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 2/2557 ญี่ปุ่น 06.50 น. ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 1/2557 12.00 น. ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ. 12.00 น. ธนาคารกลางญี่ปุ่นเผยรายงานประจำเดือนมี.ค. ออสเตรเลีย 06.30 น. เวสต์แพค-สถาบันเมลเบิร์น เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค. อังกฤษ 16.30 น. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนม.ค. อียู 17.00 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. สหรัฐ 21.30 น. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) 01.00 น. ดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐเดือนก.พ. (เช้าวันที่ 13 มี.ค.) วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย) ญี่ปุ่น 06.50 น. ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนม.ค. ออสเตรเลีย 07.00 น. ตัวเลขคาดการณ์ดัชนีราคาผู้ (CPI) เดือนมี.ค. 07.30 น. อัตราว่างงานเดือนก.พ. เกาหลีใต้ 09.00 น. ธนาคารกลางเกาหลีใต้แถลงผลการประชุมนโยบายการเงิน ฝรั่งเศส 15.45 น. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ. 15.45 น. OECD เปิดเผยอัตราดอกเบี้ยเดือนม.ค. อิตาลี 17.00 น. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ. สหรัฐ 19.30 น. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ 19.30 น. ยอดค้าปลีกเดือนก.พ. 19.30 น. ราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.พ. 21.00 น. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค. วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย) ญี่ปุ่น 06.50 น. รายงานการประชุมนโยบายการเงินเดือนก.พ.จากธนาคารกลางญี่ปุ่น 11.30 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีการปรับทบทวนเดือนม.ค. 11.00 น. ยอดค้าปลีกที่มีการปรับทบทวนเดือนม.ค. เยอรมนี 14.00 น. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ. อียู 17.00 น. ข้อมูลจ้างงานช่วงไตรมาส 4/2556 สหรัฐ 19.30 น. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. 20.55 น. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนมี.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน http://www.ryt9.com/s/iq24/1853126
  23. 6 มีนาคม 2557 13:38 5แบงก์ใหญ่ถูกฟ้องปั่นราคาทอง โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ธนาคาร,ทองคำ,ปั่นราคา ธนาคารชั้นนำ 5 แห่ง ในศูนย์กลางซื้อขายทองคำของโลกที่กรุงลอนดอน ถูกกล่าวหาว่าปั่นราคาทองคำในตลาดโลก เทรดเดอร์ด้านโกลด์ ฟิวเจอร์ส และออปชั่น ในสหรัฐอเมริกา "นายเควิน มาเออร์" ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงนิวยอร์ก ว่า แบงก์ ออฟ โนวา สโกเทีย, บาร์เคลย์ส แบงก์, ดอยช์ แบงก์, เอชเอสบีซี และ โซซิเอเต้ เจเนอราล มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดราคา "ลอนดอน โกลด์ ฟิกซ์" ซึ่งเป็นดัชนีราคาทองคำ ที่ใช้อ้างอิงในการซื้อขายทองคำ และตราสารอนุพันธ์ของทองคำ ในเอกสารประกอบการยื่นฟ้องระบุว่า ธนาคารทั้ง 5 แห่ง ร่วมมือกันปั่นราคาทองคำ และสัญญาอนุพันธ์ของทองคำมาตั้งแต่ปี 2547 นอกจากนี้ นายมาเออร์ ยังอ้างอิงผลศึกษาและวิเคราะห์ ทั้งที่มีการตีพิมพ์ไปแล้ว และที่ไม่ได้ตีพิมพ์ พบว่า ราคาทองคำถูกปั่นให้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงจากดัชนีลอนดอน โกลด์ ฟิกซ์ ทั้งยังกล่าวหาว่า หน่วยงานกำกับดูแลบางแห่ง และธนาคารเหล่านี้ ต่างก็เข้าสอบสวนถึงความเป็นไปได้ในการทุจริตจากการใช้ดัชนีดังกล่าว นายมาเออร์ ระบุด้วยว่า ตัวเขาและเทรดเดอร์คนอื่น ๆ ที่เทรดสัญญาอนุพันธ์อยู่ที่ตลาดโคเมกซ์ ได้รับผลกระทบจากการสมรู้ร่วมคิดกันปั่นราคาของธนาคารยักษ์ใหญ่ทั้ง 5 แห่ง พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมดำเนินคดีกับเขา ด้าน โซซิเอเต้ เจเนอราล แถลงว่า จะต่อสู้กับข้อกล่าวหาดังกล่าว และยืนยันว่าไม่ได้ทำผิดแต่อย่างใด http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20140306/567030/5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87.html
  24. น้ำมันขึ้น-หุ้นมะกันทรงตัวจากข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ ทองคำลง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2557 05:30 น. น้ำมันขึ้น-หุ้นมะกันทรงตัวจากข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ ทองคำลง เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันวานนี้ (7) ปิดบวก ส่วนวอลล์สตรีททรงตัวในกรอบแคบๆ หลังข้อมูลภาคแรงงานอันสดใสของสหรัฐฯ ช่วยกลบกระแสความกังวลต่อวิกฤตในยูเครน ขณะที่ปัจจัยนี้ก็ผลักให้นักลงทุนขายทองคำไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยง จนปรับลดพอสมควร สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 1.02 ดอลลาร์ ปิดที่ 102.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 90 เซนต์ ปิดที่ 109.00 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันตลาดนิวยอร์กที่แกว่งตัวอยู่ในแดนบวกอยู่แล้ว ขยับขึ้นจนปิดบวกมากกว่า 1 ดอลลาร์ จากแรงหนุนของข้อมูลภาคแรงงานรายเดือนของสหรัฐฯที่เผยแพร่ออกมาในวันศุกร์ (7) ด้วย พบว่าเศรษฐกิจอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ มีการจ้างงานเพิ่มเติมถึง 175,000 ตำแหน่ง หลังดำดิ่งอย่างหนักในช่วง 2 เดือนก่อนหน้านี้ ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้ (7) ปิดผสมผสาน หลังข้อมูลที่ดีเกินคาดหมายของภาคแรงงานอเมริกา ช่วยบรรเทาความกังวลต่อวิกฤตการเมืองในยูเครน ดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 30.83 จุด (0.19 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,452.72 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 1.01 จุด (0.05 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,878.04 จุด แนสแดก ลดลง 15.91 จุด (0.37 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,336.22 จุด ส่วนราคาทองคำวานนี้ (7) ขยับลงเกือบร้อยละ 1 หลังข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดในสหรัฐฯ ผลักให้นักลงทุนเทขายเพื่อไปเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 13.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,338.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000026582
  25. ทองร่วง $13.6 หลังจ้างงานสดใสบดบังความหวังเฟดชะลอลด QE ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 8 มีนาคม 2557 07:29:00 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (7 มี.ค.) เนื่องจากตัวเลขจ้างงานสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาดได้ลดความน่าดึงดูดใจในการลง ทุนในทองคำ และยังทำให้ความหวังที่ว่าเฟดอาจชะลอการลดขนาดมาตรการกระตุ้นนั้นต้องเจือ จางไป สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับตัวลง 13.6 ดอลลาร์ หรือ 1.01% ปิดที่ 1,338.2 ดอลลาร์/ออนซ์ สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาทองไต่ขึ้น 1.3% สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ดิ่งลง 64.6 เซนต์ หรือ 3.0% ปิดที่ 20.928 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 3.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,483.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนม.ค.ขยับขึ้น 0.65 ดอลลาร์ ปิดที่ 781.80 ดอลลาร์/ออนซ์ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขจ้างงานสหรัฐเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าน่าจะเพิ่มขึ้นราว 150,000 ตำแหน่ง ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งส่งผลให้สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำไม่น่าดึง ดูดใจอีกต่อไป โดยตลาดจับตาข้อมูลเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตัวเลขจ้างงานเป็นพิเศษ เพื่อใช้เป็นเบาะแสว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตรรายเดือนลงอย่างต่อเนื่องทีละน้อย หรือไม่ ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์ระบุถึงสถานการณ์ในยูเครน โดยหากสถานการณ์ในยูเครนไม่รุนแรงขึ้น ก็คงเป็นเรื่องยากที่ทองจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนได้เข้าซื้อทองเพื่อปกป้องความเสี่ยงจากสถานการณ์ไม่แน่นอนทาง เศรษฐกิจและการเมือง ราคาทองดีดตัวสูงขึ้นมากนับตั้งแต่ต้นปีนี้ รวมปรับตัวขึ้นแล้วถึง 11% เนื่องจากนักลงทุนหันมาลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของสภาพเศรษฐกิจสหรัฐ และความผันผวนในตลาดเกิดใหม่ โดยเมื่อวันที่ 3 มี.ค. สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นไปแตะที่ระดับ 1,355 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบสี่เดือน ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทวีความรุนแรง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตัวเลขจ้างงานที่เป็นบวกเมื่อวันศุกร์ ต่อเนื่องมาจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเมื่อวันพฤหัสบดี ทำให้นักลงทุนมองว่าการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอาจไม่จำเป็นอีกต่อไป นอกจากนี้ ทองคำมีแนวโน้มที่จะเผชิญแรงกดดันจากหุ้นสหรัฐซึ่งยังคงเดินหน้าทำลายสถิติ อย่างต่อเนื่อง อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq31/1852299
×
×
  • สร้างใหม่...