ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

namchiang

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    1,876
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย namchiang

  1. ลุ้นความเชื่อมั่นทองคำฟื้น การเมืองร้อนไม่กระทบโดยตรง แต่ทำให้บาทอ่อนกระทบราคาในประเทศ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 พฤศจิกายน 2556 15:01 น. ศูนย์วิจัยทองคำ ชี้เฟดคงคิวอีหนุนความเชื่อมั่นทองคำฟื้น ด้านการเมืองร้อนไม่กระทบทองโดยตรง แต่มีผลทำเงินบาทอ่อนกระทบทองคำในประเทศ นายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำฟื้นตัวในเดือนพฤศจิกายน โดยค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 55.76 จุด เพิ่มขึ้น 9.05 จุด หรือร้อยละ 19.37 เหตุกลุ่มตัวอย่างเชื่อเฟดคงคิวอีต่อถึงปีหน้าหนุนราคาทองระยะสั้น ซึ่งสอดคล้องทั้งกลุ่มผู้ลงทุน และกลุ่มผู้ค้า เพราะเมื่อมองดัชนีแยกกลุ่มพบว่า เป็นเชิงบวกทั้ง 2 กลุ่ม ขณะปัจจัยเดือนพฤศจิกายนพบว่า ตัวอย่างยังเชื่อคงคิวอียังหนุนทองโลก ส่วนประเด็นการเมืองในประเทศ ไม่น่ากระทบต่อราคาทองคำโดยตรง แต่อาจจะส่งผลค่าเงินบาทมีทิศทางที่อ่อนค่ากว่าในระดับปัจจุบัน เพราะกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำระยะ 3 เดือนสอดคล้องกัน โดยสะท้อนทัศนคติเชิงบวก ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 56.45 จุด เพิ่มขึ้นจากการจัดทำเดือนตุลาคม 8.19 จุด หรือร้อยละ 16.97 ส่วนคำถามว่านักลงทุนจะซื้อทองคำในช่วง 1 เดือนข้างหน้าหรือไม่ พบว่าร้อยละ 35.32 ของกลุ่มตัวอย่างจะซื้อทองคำในช่วง 1 เดือนข้างหน้า ร้อยละ 39.73 คิดว่าจะยังไม่ซื้อทองคำ และร้อยละ 24.95 ยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อหรือไม่ นายภูษิต วงศ์หล่อสายชล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย เปิดเผยบทสรุปความคิดเห็นผู้ค้าทองคำที่รวบรวมตัวอย่างจากผู้ค้าส่งทองคำรายใหญ่ และผู้ประกอบกิจการนายหน้าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ 11 ตัวอย่าง เชื่อว่าราคาทองคำในตลาดโลกช่วงเดือนพฤศจิกายนโดยรวมน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,250-1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่ากรอบราคาต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายนน่าจะอยู่ในช่วง 1,270-1,280 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ขณะที่กรอบสูงสุดน่าจะอยู่ในกรอบ 1,360-1,380 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำแท่งในประเทศ กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าราคาจะเคลื่อนไหวระหว่าง 18,500-20,700 บาท และกรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุดกลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักระหว่าง 18,900-19,100 บาท และมีกรอบการเคลื่อนไหวสูงสุดบริเวณ 20,400-20,700 บาท โดยมีประเด็นเรื่องการคงนโยบายคิวอี การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท โดยเฉพาะผลกระทบจากประเด็นการเมือง การเก็งกำไรในตลาดทองคำ และความต้องการทองคำในช่วงปลายปีเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาทองคำ นอกจากนี้ กรอบเวลาการชะลอมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กลุ่มผู้ค้ามีความเห็นที่แตกต่างกัน โดยผู้ค้า 5 ท่านคาดว่า เฟดจะชะลอมาตรการในช่วงปลายไตรมาสแรกของปีหน้า ขณะที่ 4 ท่านคาดว่า น่าจะชะลอในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี และมี 2 ท่านที่คาดว่า จะชะลอมาตรการในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 โดยให้เหตุผลว่าเฟดน่าจะรอการตัดสินใจเรื่องเพดานหนี้ก่อนจะพิจารณาชะลอมาตรการคิวอีต่อไป http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000140359
  2. หุ้นสหรัฐ,น้ำมันปิดบวก-ทองลงเล็กน้อย 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา 06:27 น. | หุ้นดาวโจนส์ปิดบวก 21.32 จุด วอลุ่มเบาบาง นักลงทุนหยุดพักวันทหารผ่านศึก ขณะที่ ราคาน้ำมันปิด + 54 เซนต์ ด้านราคาทองคำลดลง 3.50 ดอลล์ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,783.10 จุด เพิ่มขึ้น 21.32 จุด หรือ +0.14% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,771.89 จุด เพิ่มขึ้น 1.28 จุด หรือ +0.07% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,919.79 จุด เพิ่มขึ้น 0.56 จุด หรือ +0.01% ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซา ขณะที่วอลุ่มมีเพียงบางเบา เนื่องจากสถานที่ทำการของสหรัฐปิดทำการในวันจันทร์ที่ผ่านมา เนื่องในวันทหารผ่านศึก ซึ่งทำให้สหรัฐไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจ ด้าน ราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 3.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,281.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขยับลงเล็กน้อย หลังข้อมูลภาคแรงงานอันแข็งแกร่งของสหรัฐฯ ก่อความกังวลว่าธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) อาจลดระดับการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้ ขณะที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ ปิดที่ 95.14 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.28 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังการเจรจาโน้มน้าวของชาติมหาอำนาจให้อิหร่านล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์มีความคืบหน้า http://www.posttoday.com
  3. หุ้นสหรัฐ,น้ำมันปิดบวก-ทองลงเล็กน้อย 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา 06:27 น. | หุ้นดาวโจนส์ปิดบวก 21.32 จุด วอลุ่มเบาบาง นักลงทุนหยุดพักวันทหารผ่านศึก ขณะที่ ราคาน้ำมันปิด + 54 เซนต์ ด้านราคาทองคำลดลง 3.50 ดอลล์ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,783.10 จุด เพิ่มขึ้น 21.32 จุด หรือ +0.14% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,771.89 จุด เพิ่มขึ้น 1.28 จุด หรือ +0.07% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,919.79 จุด เพิ่มขึ้น 0.56 จุด หรือ +0.01% ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซา ขณะที่วอลุ่มมีเพียงบางเบา เนื่องจากสถานที่ทำการของสหรัฐปิดทำการในวันจันทร์ที่ผ่านมา เนื่องในวันทหารผ่านศึก ซึ่งทำให้สหรัฐไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจ ด้าน ราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 3.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,281.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขยับลงเล็กน้อย หลังข้อมูลภาคแรงงานอันแข็งแกร่งของสหรัฐฯ ก่อความกังวลว่าธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) อาจลดระดับการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้ ขณะที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ ปิดที่ 95.14 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.28 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังการเจรจาโน้มน้าวของชาติมหาอำนาจให้อิหร่านล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์มีความคืบหน้า http://www.posttoday.com
  4. ทองคำปิดลบ 3.5 ดอลล์ จากความวิตกเฟดอาจลด QE ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2556 06:50:12 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 พ.ย.) โดยสัญญาทองคำปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะลดขนาดมาตรการ QE หรือโครงการซื้อพันธบัตรในเร็วๆนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 3.5 ดอลลาร์ หรือ 0.27% ปิดที่ 1,281.1 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 3.5 เซนต์ ปิดที่ 21.282 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ร่วงลง 10.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,432.4 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 3.35 ดอลลาร์ ปิดที่ 754.55 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจจะลดขนาด QE หลังจากมีข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของสหรัฐ โดยสหรัฐระบุว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 204,000 ตำแหน่ง จากระดับที่เพิ่มขึ้น 163,000 ตำแหน่ง และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 125,000 ตำแหน่ง บ่งชี้ให้เห็นว่านายจ้างมีมุมมองในแง่บวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 3/2556 ของสหรัฐ ขยายตัว 2.8% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยายตัว 2.0% และเป็นการขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2555 หลังจากที่ขยายตัวได้ 2.5% ในไตรมาส 2 เพราะได้แรงหนุนจากการที่ภาคธุรกิจปรับเพิ่มสต็อกสินค้าคงคลัง อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq31/1774874
  5. น้ำมันขึ้นหลังจากเจรจาปลดนิวเคลียร์อิหร่านคืบ หุ้นมะกันบวก-ทองคำลง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 พฤศจิกายน 2556 05:17 น. เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันขึ้นวานนี้(11) หลังการเจรจาโน้มน้าวให้อิหร่านล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์มีความคืบหน้า ส่วนวอลล์สตรีทบวกเล็กน้อย หลังทะยานขึ้นแรงในช่วงปลายสัปดาห์ สวนทางกับทองคำที่ปิดลบ ด้วยความกังวลว่าเฟดจะลดระดับกระตุ้นเศรษฐกิจ สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ ปิดที่ 95.14 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.28 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แม้ว่าการเจรจาระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจ จะยังไม่บรรลุข้อตกลงที่อาจนำมาซึ่งการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเตหะรานและนำผู้ผลิตน้ำมันสำคัญกลับสู่ตลาดโลก ทว่าการพูดคุยกันอย่างมาราธอนที่ได้เห็นคณะผู้แทนสหรัฐฯและอิหร่านหารือกันนานกว่า 7 ชั่วโมงก็เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษตามหลังปฏิวัติอิหร่านปี 1979 กลุ่มชาติมหาอำนาจ 5+1 อันประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ รัสเซีย จีน ร่วมด้วย เยอรมนี วางแผนพบกับคณะผู้แทนจากอิหร่านอีกครั้งในวันที่ 20 พฤศจิกายน เพื่อหวังบรรลุข้อตกลงระยะสั้นที่อาจระงับกิจกรรมนิวเคลียร์ของเตหะรานไว้ก่อนระหว่างสองฝ่ายเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ครอบคลุม ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดบวกเล็กน้อยวันจันทร์(11) นักลงทุนพักหายใจหายคอ หลังในวันศุกร์(8) พุ่งแรง ตามหลังข้อมูลที่สดใสของภาคแรงงาน เช่นเดียวกับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกา ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 20.81 จุด (0.13 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,782.52 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 1.23 จุด (0.07 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,771.84 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 0.56 จุด (0.01 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,919.79 จุด อย่างไรก็ตามราคาทองคำวานนี้(11) ขยับลงเล็กน้อย หลังข้อมูลภาคแรงงานอันแข็งแกร่งของสหรัฐฯ ก่อความกังวลว่าธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) อาจลดระดับการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 3.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,281.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000140622
  6. 11 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:12 น. | สรุปหุ้น-น้ำมัน-ทองคำ-ค่าเงิน ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 15,761.78 จุด เพิ่มขึ้น 167.80 จุด +1.08% ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 3,919.23 จุด เพิ่มขึ้น 61.90 จุด +1.60% ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,770.61 จุด เพิ่มขึ้น 23.46 จุด +1.34% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,260.44 จุด ลดลง 20.55 จุด -0.48% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,078.28 จุด ลดลง 2.75 จุด -0.03% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,708.42 จุด เพิ่มขึ้น 11.20 จุด +0.17% ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,476.72 จุด ลดลง 9.39 จุด -0.21% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,804.48 จุด ลดลง 2.13 จุด -0.12% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,177.25 จุด ลดลง 24.85 จุด-0.78% ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 20,666.15 จุด ลดลง 156.62 จุด-0.75% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 22,744.39 จุด ลดลง 136.64 จุด-0.60% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,355.18 จุด ลดลง 81.31 จุด -1.26% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,106.13 จุด ลดลง 23.27 จุด -1.09% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,984.87 จุด ลดลง 19.17 จุด -0.96% ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 14,086.80 จุด ลดลง 141.64 จุด -1.00% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,229.59 จุด ลดลง 54.12 จุด -0.66% ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,400.70 จุด ลดลง 21.30 จุด-0.39% ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งแตะสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันศุกร์ (8 พ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.ที่แข็งแกร่งกว่าการคาดการณ์ของตลาด ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 167.80 จุด หรือ 1.08% ปิดที่ 15,761.78 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 23.46 จุดหรือ 1.34% ปิดที่ 1,770.61 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 61.90 จุดหรือ 1.60% ปิดที่ 3,919.23 จุด สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (8 พ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.ที่สูงกว่าการคาดการณ์ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 40 เซนต์ ปิดที่ 94.60 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดลอนดอนเพิ่มขึ้น 1.66 ดอลลาร์ ปิดที่ 105.12 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (8 พ.ย.) โดยร่วงหลุดระดับ 1,300 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงกว่าคาดการณ์ สัญญาทองคำได้ร่วงลงมากกว่า 2% ในสัปดาห์นี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 23.9 ดอลลาร์ หรือ 1.83% ปิดที่ 1,284.6 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 21.317 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 34 เซนต์ สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ปิดที่ 1442.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 13.90 เซนต์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 757.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 1.25 เซนต์ ดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆเมื่อวันศุกร์ (8 พ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ข้อมูลดังกล่าวกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดขนาดของโครงการซื้อพันธบัตรลงในช่วงถัดไปของปีนี้ ยูโรปรับตัวลง 0.53% แตะที่ 1.3347 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3418 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปอนด์ลดลง 0.65% แตะที่ 1.5992 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6096 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์เพิ่มขึ้น 0.94% เมื่อเทียบเยน แตะที่ 99.000 เยน จากระดับ 98.080 เยน และเพิ่มขึ้น 0.72% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิส แตะที่ระดับ 0.9222 ฟรังค์ จากระดับ 0.9156 ฟรังค์ ดอลลาร์ออสเตรเลียลดลง 0.87% แตะที่ 0.9371 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9453 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์นิวซีแลนด์ลดลง 0.79% แตะที่ 0.8253 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8319 ดอลลาร์สหรัฐ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (8 พ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 11.20 จุด หรือ 0.17% แตะที่ 6,708.42 จุด ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อวันศุกร์ (8 พ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตัดสินใจลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หลังจากตัวเลขจ้างงานของสหรัฐขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.2% ปิดที่ 322.72 จุด ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,260.44 จุด ลดลง 20.55 จุด หรือ -0.48% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,078.28 จุด ลดลง 2.75 จุด หรือ -0.03% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,708.42 จุด เพิ่มขึ้น 11.20 จุด หรือ +0.17% http://www.posttoday.com
  7. ราคาทองฟิวเจอร์ลดลง ขณะนลท.รอดูรายงานข้อมูลเศรษฐกิจคืนนี้ ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2556 19:47:57 น. ราคาทองฟิวเจอร์ปรับตัวลดลง ขณะที่นักลงทุนยังรอดูการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในคืนนี้ เพื่อนำมาใช้เป็นปัจจัยในการประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไปหรือไม่ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปรับตัวลดลงเล็กน้อย แตะที่ 1,310.30 ดอลลาร์/ออนซ์ นักลงทุนกำลังจับตาดูกระทรวงแรงงานสหรัฐที่จะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.ในวันนี้ เวลา 20.30 น.ตามเวลาไทย ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขจ้างงานเดือนต.ค.จะเพิ่มขึ้น 125,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวอยู่ที่ 7.3% ทั้งนี้ ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ทางการสหรัฐรายงานว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 2 พ.ย.ปรับตัวลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 336,000 ราย ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 335,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 340,000 ราย อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: interdesk@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq31/1773450
  8. The players who manipulate the Silver and Gold futures market Source :Commodity Online The giant banks are given carte blanche by the mainstream because they are so "successfu", and “surely the man in the fancy suit is someone you can trust”. They are also too big to fail and/or prosecute. By Dr Jeffrey Lewis The manipulation of gold prices, along with practically every other asset class, has perfectly transparent legal precedent. The precious metals political hot potato taboo has been strong enough to make it almost impossible for the mainstream to understand. And while it is perfectly plausible and even celebrated by the practitioners, the greatest threats to economic stability (LIBOR, bonds and interest rates, equities, electricity) are openly discussed facts. Obviously, history has demonstrated that these great unnatural “tinkerings” always end badly. To summarize, the key points of a recent interview with GATA’s Chris Powell's demonstrated how silver analyst Ted Bulter and GATA dovetail - and how it ends. The Exchange Stabilization Fund The ESF is basically the funding arm of the Treasury - as spelled out on their website. By definition it means (and is confirmed by open admission) that they intervene across a broad range of asset classes. The legal basis of the ESF is the Gold Reserve Act of 1934. As amended in the late 1970s, the Act provides in part that "the Department of the Treasury has a stabilization fund consistent with the obligations of the Government in the International Monetary Fund (IMF) on orderly exchange arrangements and an orderly system of exchange rates. The Secretary, with the approval of the President, may deal in gold, foreign exchange, and other instruments of credit and securities.” They use swaps and huge concentrated positions held by FED member banks to intervene in the gold market. The FED's member banks include the bullion banks, who obviously wield control of COMEX via concentrated positions or 'constant' market corners. Gold Anti-Trust Action Committee GATA has documented (modern) evidence, by the use of their FOMC Freedom of Information Request, that the fund has very broad legal authority to intervene anywhere. The fund also works in conjunction with the FED - again, as stated at the Treasury site - which more than implies market coordination and collusion. With gold, they still have the ability maintain that illusion. Silver achilles Silver is a bigger 'problem' because CB's don't have any physical metal to "inject" into the market in order to maintain the confidence game. But probably not for long. And one might assume the end is very near, given how fragile/vulnerable the system is (especially the credit/REPO market) to "unforeseen" shocks, Black Swans, etc. This is where I find it too easy to get carried away. One quick look around the macro world reveals a host of potential shocks. This would fuel the need and opportunity to build short-term predictions about current events (rationalized with evermore sophisticated technical or trading indicators). Interpreting the whistleblower The work of GATA and Ted Butler dovetail somewhat. GATA has exposed the reality and legal mechanism for intervention. Ted focuses mainly on the details of how that intervention manifests in the trading data. Backing up further, it's generally accepted by the "street" that the FED, the Treasury or the ESF intervene all over the place - and that's perfectly okay. But mention of precious metals intervention remains a very successful (though ultimately destructive) taboo. The ESF, with its broad authority and coordination with the FED (and by proxy, the FED's member banks) have the ability to control prices in both gold and silver. This also happens to be very profitable for the banks. The giant banks are given carte blanche by the mainstream because they are so "successfu", and “surely the man in the fancy suit is someone you can trust”. They are also too big to fail and/or prosecute. Price suppression, controls, and manipulation are common occurrences. They have been observed and documented for practically all modern markets. And they always end eventually. Just because it is legal does not make it right. In the ultimate public relations triumph, the most economically destructive are actually perfectly acceptable by the majority of observers. However, the most dangerous to the financial system and the governments who serve them is the manipulation of the monetary metals. For more articles like this, including thoughtful precious metals analysis beyond the mainstream propaganda and basically everything you need to know about silver short of outlandish price predictions, check out http://www.silver-coin-investor.com http://www.commodity...62-3-56963.html
  9. เงินดอลล์อ่อน หนุนทองคำปิดพุ่ง $9.7 ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2556 06:51:03 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 พ.ย.) เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐช่วยกระตุ้นแรงซื้อในตลาด และยังช่วยหนุนสัญญาทองคำดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ด้วย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 9.7 ดอลลาร์ หรือ 0.74% ปิดที่ 1,317.8 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 13.2 เซนต์ ปิดที่ 21.768 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 17.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1467.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 14.05 ดอลลาร์ ปิดที่ 764.35 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาทองคำได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นมาตรวัดความเคลื่อนไหวของสกุลเงินคู่ค้าหลักของสหรัฐ 6 สกุลเงิน ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 80.493 ในวันพุธ จากระดับของวันอังคารที่ 80.744 นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อนำมาเป็นปัจจัยในการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไปหรือไม่ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 3/2556 ในวันนี้เวลา 20.30 น.ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจีดีพีไตรมาส 3 จะขยายตัว 2.0% หลังจากที่ขยายตัว 2.5% ในไตรมาส 2 ด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 2 พ.ย.ในวันนี้เวลา 20.30 น.ตามเวลาไทยเช่นกัน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานจะลดลงมาอยู่ที่ 335,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 340,000 ราย อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq31/1771707
  10. ทองคำ,น้ำมันปิดบวก,ดาวโจนส์นิวไฮ 07 พฤศจิกายน 2556 เวลา 06:53 น. | หุ้นสหรัฐฯปิดผสมผสาน ดาวโจนส์ทุบสถิติใหม่ ส่วน ผลประกอบการเทสลาที่น่าผิดหวัง ฉุดแนสแด็กร่วง ด้านราคาน้ำมันพุ่ง1.43 ดอลล์ ขณะที่ ทองคำปิดบวก 9.7 ดอลล์ ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดผสมผสาน โดยดัชนีดาวโจนส์ ทุบสถิติสูงสุดรอบใหม่ จากการคาดการณ์ ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป นอกจากนี้ นักลงทุนทิ้งหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมาถือครองหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ตามรายงานผลประกอบการอันน่าผิดหวังของเทสลา ที่สั่นสะเทือนแนสแดกจนปรับลด ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,746.88 จุด เพิ่มขึ้น 128.66 จุด หรือ +0.82% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,770.49 จุด เพิ่มขึ้น 7.52 จุด หรือ +0.43% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,931.95 จุด ลดลง 7.91 จุด หรือ -0.20% หุ้นของเทสลา บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ดิ่งลงกว่าร้อยละ 14 หลังจากบริษัทมีกำไรและรายได้ไม่ตรงตามที่คาดหมายไว้ และส่งผลกระทบต่อภาคเทคโนโลยีทั้งหมด ทำให้เงินไหลออกจากแนสแด็ก ไปเสริมหุ้นภาคอุตสาหกรรมแทน ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 1.43 ดอลลาร์ ปิดที่ 94.8 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 9 เซนต์ ปิดที่ 105.24 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ ( EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ย. เพิ่มขึ้น 1.6 ล้านบาร์เรล แตะที่ 385.4 ล้านบาร์เรล แต่น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล โดยสต็อกน้ำมันดิบทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 7 สัปดาห์ ด้าน สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 9.7 ดอลลาร์ หรือ 0.74% ปิดที่ 1,317.8 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐช่วยกระตุ้นแรงซื้อในตลาด และยังช่วยหนุนสัญญาทองคำดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ด้วย http://www.posttoday.com
  11. ช่วยกันสนับสนุนโครงการ บัณฑิตไทยไม่โกง เพื่อต่อต้านการคอรัปชั่นทุกรูปแบบด้วยการเขาชมวีดีโอนี้กันหน่อยนะครับ http://www.youtube.com/watch?v=lHNAjiRkm9k&sns=fb
  12. วิคตอเรีย ซีเคร็ต โชว์ ยกทรงทองคำ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า วิคตอเรีย ซีเคร็ต สร้างความฮือฮา หลังผลิตยกทรงเพชร ราคาสุดแพง 10 ล้านดอลลาร์ โดยประดับด้วยทองคำ 18 กะรัต และทับทิมอีก 52 กะรัต รายงานระบุว่า บราดังกล่าว ซึ่งชื่อว่า "Royal Fantasy Bra and Belt" ซึ่งถูกออกแบบโดยนายมูอาวัด นักตกแต่งอัญมณีชื่อก้องโลก จะถูกสวมใส่โดยยอดนางแบบ "แคนไดซ์ สแวนโปเอล" ในงานโชว์ประจำปีของ "วิคตอเรีย ซีเคร็ต" ในกรุงนิวยอร์ก พร้อมสินค้าใหม่ๆ โดยบราดังกล่าวจะถูกสัมผัสอย่างทนุถนอม มีการใส่ถุงมือทุกครั้งที่หยิบจับ และต้องใช้บอดี้การ์ดป้องกันการถูกขโมยตลอด 24 ชม. และคาดว่า งานโชว์ครั้งนี้จะมีผู้ชมทั่วโลกกว่าล้านคน เนื่องจากเป็นงานใหญ่ที่สุดของแฟชั่นชุดชั้นในประจำปีนี้ ทั้งนี้ สำหรับบราดังกล่าวถือเป็นบราตัวใหม่ของตระกูล Fantasy Bra ซึ่งเป็นยกทรงอัญมณีที่มีการผลิตขึ้นทุกปีของวิคตอเรีย ซีเคร็ต และมียอดนางแบบชื่อดังหลายคนสวมใส่ เช่น มิแรนด้า เคอร์, ไทร่า แบงก์, จีเซล บุนเช็น, ไฮดี้ คลุม, อเล็กซานดร้า อัมโบราซิโอ, อาเดรียน่า ลิม่า และคลาวเดีย ชิฟเฟอร์ ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์ www.facebook.com/MatichonOnline http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE16VTJNVEkzTWc9PQ==&sectionid=
  13. น้ำมัน-หุ้นมะกันขึ้นน้อยจับตาข้อมูลศก.-ทองคำบวกหลังดอลล์อ่อน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2556 05:31 น. เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันวานนี้(4) ขยับขึ้นเล็กน้อย จากแรงช้อนซื้อตามหลังดิ่งลงหนักในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนวอลล์สตรีท ปิดทรงตัวในกรอบแคบๆ นักลงทุนจับตาข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เตรียมเผยแพร่ไม่กี่วันนี้ ขณะที่ทองคำได้แรงหนุนจากดอลลาร์อ่อนค่า ดีดตัวขึ้นเล็กน้อย สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 4 เซนต์ ปิดที่ 94.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 32 เซนต์ ปิดที่ 106.23 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล "น้ำมันดิบขยับแค่เล็กน้อย จากการช้อนซื้อตามการเทขายที่ทำให้ดิ่งลงอย่างหนักในวันศุกร์(1)" ทิม อีแวนส์ จากซิตี ฟิวเจอร์สกล่าว ราคาน้ำมันตลาดนิวยอร์ก ดิ่งลง 4 จาก 5 วันของการซื้อขายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันของคลังเชื้อเพลิงสำรองอันสูงลิ่วของอเมริกา โดยเฉพาะในวันศุกร์(1) ที่ปรับลดถึง 1.77 ดอลลาร์ ปิดลบต่ำกว่า 95 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(4) ซื้อขายเบาบาง ก่อนปิดบวกเล็กน้อย ขณะที่นักลงทุนเพ่งเล็งไปที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจอันสำคัญที่มีกำหนดเผยแพร่ออกมาในช่วงกลางสัปดาห์ ในนั้นรวมถึงข้อมูลการจ้างงานรายเดือนและจีดีพีไตรมาส 3 ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 24.21 จุด (0.16 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,639.76 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 6.42 จุด (0.36 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,768.06 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 14.55 จุด (0.37 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,936.59 จุด ส่วนราคาทองคำวานนี้(4) ขยับขึ้นเล็กน้อย จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าและหลัง เจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ บอกว่าธนาคารกลางแห่งนี้จะไม่เร่งรีบลดระดับโครงการเข้าซื้อพันธบัตร ราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,314.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000137666
  14. หุ้นสหรัฐ,น้ำมัน,ทองปิดบวกเล็กน้อย 05 พฤศจิกายน 2556 เวลา 06:49 น. | เปิดอ่าน 461 | หุ้นดาวโจนส์ปิดบวก 23.57 จุด ที่ 15,639.12 จุด ข้อมูลเศรษฐกิจสดใสหนุน ด้าน ราคาน้ำมัน ปิดบวก 1 เซนต์ ขณะที่ทองคำ บวก1.50 ดอลล่าร์ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,639.12 จุด เพิ่มขึ้น 23.57 จุด หรือ +0.15% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,767.93 จุด เพิ่มขึ้น 6.29 จุด หรือ +0.36% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,936.59 จุด เพิ่มขึ้น 14.55 จุด หรือ +0.37% ได้แรงหนุนจากข้อมูลเศษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ รวมถึงรายงานยอดสั่งซื้อของโรงงานในสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนก.ย. และจากการพุ่งขึ้นของหุ้นหลายตัวในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงหุ้นเอ็กซอนโมบิลที่พุ่งขึ้น 2.5% ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาดูข้อมูลการจ้างงานและตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 1 เซนต์ ปิดที่ 94.62 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 32 เซนต์ ปิดที่ 106.23 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากรายงานที่ว่าดัชนีภาคบริการของจีนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดของปี นี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างซบเซา ขณะที่นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ด้าน ราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์ หรือ 0.11% ปิดที่ 1,314.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐช่วยกระตุ้นนักลงทุนให้เข้าซื้อ สัญญาทองคำ อย่างไรก็ตาม สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตร
  15. ปธ.เฟดบอสตันเผยเฟดต้องใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงรุกต่อจนกว่าจะมีการจ้างงานเต็มที่ ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2556 09:42:00 น. นายเอริค โรเซนเกรน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาบอสตัน กล่าวว่าเฟดจะต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในเชิงรุกต่อไปสักระยะหนึ่ง จนกว่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการจ้างงานอย่างเต็มที่ในตลาดแรงงานสหรัฐ นายโรเซนเกรนกล่าวในร่างสุนทรพจน์ที่เตรียมไว้สำหรับการประชุมที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซ็ทส์ บอสตันว่า เฟดมีแนวโน้มจะต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป เพื่อให้มีการจ้างงานอย่างเต็มที่ ประธานเฟดบอสตันมองว่า เมื่อถึงเวลาที่เฟดจะปรับลดมาตรการผ่อนคลายบางส่วน เช่น การซื้อสินทรัพย์ขนานใหญ่ เฟดก็จะต้องคงดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับต่ำมากจนกว่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้นสู่การจ้างงานอย่างเต็มที่และในการบรรลุเป้าเงินเฟ้อที่ 2% เขากล่าวว่า เมื่อถึงเวลาเหมาะสม เฟดควรปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากเศรษฐกิจไม่ได้กระเตื้องขึ้นรวดเร็วมากอย่างที่คาดกันไว้ในปัจจุบัน การแสดงความคิดเห็นของนายโรเซนเกรนมีขึ้นท่ามกลางกระแสดาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางนโยบายของเฟดในอนาคต หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฟดได้ตัดสินใจเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตร 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน นักวิเคราะห์จำนวนมากคาดกว่าเฟดอาจซื้อพันธบัตรต่อเนื่องไปจนถึงต้นปีหน้า แม้ว่ายังมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดขนาดการซื้อพันธบัตรในการประชุมกำหนดนโยบายครั้งหน้าที่จะมีขึ้นในวันที่ 17-18 ธ.ค. อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq27/1770211
  16. ทองคำปิดร่วง 25.6 ดอลลาร์ วันศุกร์, 01 พฤศจิกายน 2556 08:07 | อัพเดตล่าสุดเมือ วันศุกร์, 01 พฤศจิกายน 2556 08:07 | วันเผยแพร่ | | สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 25.6 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 1,323.7 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญา ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (31 ต.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวปานกลาง ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจจะตัดสินใจลดขนาดมาตรการผ่อนคลาย เชิงปริมาณ (QE) ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สัญญา ทองคำได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจจะปรับลดขนาด QE หลังจากแถลงการณ์ภายหลังการประชุมล่าสุดของเฟดบ่งชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการขยายตัวในอัตราปานกลาง ปัจจัยชี้วัดบางประการเกี่ยวกับภาวะตลาดแรงงานได้แสดงถึงการปรับตัวดีขึ้น ต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันมากขึ้น หลังจากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ซึ่งการแข็งค่าของดอลลาร์จะทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์ มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน ธ.ค.ลดลง 1.116 ดอลลาร์ ปิดที่ 21.867 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ดิ่งลง 31.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,448.4 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 12.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 736.80 ดอลลาร์/ออนซ์ http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-53/21605-ab54.html
  17. หุ้นสหรัฐ,น้ำมันปิดลบ-ทองร่วงหนัก 01 พฤศจิกายน 2556 เวลา 06:49 น. | ดัชนีดาวโจนส์ปิดลบ 73.01 จุดที่ 15,545.75 จุดหลังคาดการณ์เฟดอาจลด QE น้ำมันลดลง 39 เซนต์ ขณะที่ทองคำร่วงแรง 25.60 ดอลล์ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,545.75 จุด ลดลง 73.01 จุด หรือ -0.47% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,756.54 จุด ลดลง 6.77 จุด หรือ -0.38% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,919.71 จุด ลดลง 10.91 จุด หรือ -0.28% ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตัดสินใจลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เมื่อพิจารณาจากแถลงการณ์ล่าสุดที่เฟดมีมุมมองค่อนข้างเป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ด้าน สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 39 เซนต์ ปิดที่ 96.38 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.02 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.84 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลงเพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากเฟดเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0-0.25% ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อวานนี้ (30 ต.ค.) พร้อมประกาศว่าจะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อสินทรัพย์ในวงเงินปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและการจ้างงาน จากปัจจัยดังกล่าว กดราคาทองคำร่วงลงหนัก โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 25.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,323.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ http://www.posttoday.com
  18. เฟดคงคิวอีหุ้นสหรัฐปิดลดลง-น้ำมันร่วง 31 ตุลาคม 2556 เวลา 06:23 น. | หุ้นสหรัฐฯลดลง แม้เฟดคงมาตรการ QE ด้านราคาน้ำมันร่วงแรง 1.43 ดอลล์ ขณะที่ราคาทองคำบวกเล็กน้อย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,618.76 จุด ลดลง 61.59 จุด หรือ -0.39% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,763.31 จุด ลดลง 8.64 จุด หรือ -0.49% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,930.62 จุด ลดลง 21.72 จุด หรือ -0.55% นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากดัชนีดาวโจนส์ และ S&P 500 พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะเดินหน้าใช้มาตรการ QE หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ร่วงลงอย่างหนักในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ชัตดาวน์ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับฐานลงในการซื้อขายเมื่อคืนนี้ แม้ผลการประชุมล่าสุดของเฟดระบุว่า เฟดจะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อสินทรัพย์ในวงเงินปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยเฟดต้องการรอดูหลักฐานที่ชัดเจนมากขึ้นว่าเศรษฐกิจจะมีความคืบหน้าอย่างยั่งยืน ก่อนที่จะตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนขนาดวงเงินซื้อพันธบัตร เฟดยืนยันว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ตราบใดที่อัตราว่างงานยังคงเคลื่อนไหวเหนือระดับ 6.5% และอัตราเงินเฟ้อรายปีอยู่ต่ำกว่าระดับ 2.5% ด้าน สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 1.43 ดอลลาร์ ปิดที่ 96.77 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ ปิดที่ 109.86 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าความต้องการภายในประเทศปรับตัวลดลง ขณะที่ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 3.8 ดอลลาร์ หรือ 0.28% ปิดที่ 1,349.3 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจาก ADP ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นน้อยเกินคาดในเดือนต.ค. ข้อมูลดังกล่าวได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย http://www.posttoday.com
  19. 31 ตุลาคม 2556 08:18 เฟดคงมาตรการคิวอี กระตุ้นเศรษฐกิจ โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ธนาคารกลางสหรัฐประกาศคงดอกเบี้ย 0-0.25% คงมาตรการคิวอี กระตุ้นเศรษฐกิจ-จ้างงาน ตามคาด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0-0.25% ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อวานนี้ (30 ต.ค.) พร้อมประกาศว่าจะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อสินทรัพย์ในวงเงินปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและการจ้างงาน ทั้งนี้ เฟดประกาศว่าจะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) วงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน แถลงการณ์ภายหลังการประชุมของเฟดระบุว่า เฟดต้องการรอดูหลักฐานที่ชัดเจนมากขึ้นว่าเศรษฐกิจจะมีความคืบหน้าอย่างยั่งยืน ก่อนที่จะตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนขนาดวงเงินซื้อพันธบัตร ขณะเดียวกันแถลงการณ์ของเฟดยังระบุว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเผยแพร่นับตั้งแต่เดือนก.ย.ที่ผ่านมานั้น บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคง "ขยายตัวปานกลาง" แต่การฟื้นตัวในตลาดที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่ามา และนโยบายการคลังก็ส่งผลยับยั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เฟดยืนยันว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ตราบใดที่อัตราว่างงานยังคงเคลื่อนไหวเหนือระดับ 6.5% และอัตราเงินเฟ้อรายปีอยู่ต่ำกว่าระดับ 2.5% http://www.bangkokbiznews.com
  20. 29 ตุลาคม 2556 08:45 นักวิเคราะห์ฟันธงเฟดคงคิวอีถึงสิ้นปี โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ นักวิเคราะห์ฟันธงเฟดคงคิวอีถึงสิ้นปี เหตุเปลี่ยนผู้นำ-ปิดหน่วยงานรัฐ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันอังคาร-วันพุธนี้ ขณะนักวิเคราะห์คาดว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในการประชุมครั้งนี้ โดยเจ้าหน้าที่เฟดรอดูข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบมากเพียงใดจากความขัดแย้งด้านงบประมาณ นักวิเคราะห์คาดว่า เฟดอาจจะคงนโยบายการเงินตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ซึ่งหมายความว่าเฟดจะคงนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค.ด้วยเช่นกัน ขณะนี้เฟดดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ นายสก็อต บราวน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทเรย์มอนด์ เจมส์ กล่าวว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดวงเงินในมาตรการคิวอีในการประชุมประจำวันที่ 28-29 ม.ค. 2557 หรือ 18-19 มี.ค. 2557 และ โอกาสที่เฟดจะปรับลดขนาดคิวอีในเดือนธ.ค.ปีนี้ อยู่ในระดับต่ำกว่า 50% หลังจากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐปิดทำการในวันที่ 1-16 ต.ค. สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาด โดยการจ้างงานชะลอตัวในเดือนก.ย. และแผนการลงทุนทางธุรกิจก็อยู่ในภาวะแย่ลง ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบในระยะยาว หลังจากนักการเมืองสหรัฐปฏิเสธที่จะปรับเพิ่มเพดานหนี้จนกระทั่งถึงนาทีสุดท้าย โดยข้อตกลงหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในครั้งนี้ส่งผลให้มีการเลื่อนความขัดแย้งกันในเรื่องงบประมาณออกไปจนถึงต้นปีหน้า การปิดหน่วยงานรัฐบาลเป็นอุปสรรคขัดขวางการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจในเดือนต.ค. ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายของเฟดจึงไม่สามารถประเมินภาพรวมทางเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจนในระยะนี้ นอกเหนือจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจแล้ว เจ้าหน้าที่ยังลังเลที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย เนื่องจากเฟดกำลังจะเปลี่ยนตัวผู้นำด้วย โดยประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้เสนอชื่อนางเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟดในปัจจุบัน เพื่อให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ต่อจากนายเบน เบอร์นันกี้ ที่วาระการดำรงตำแหน่งสิ้นสุดลงในเดือนม.ค. 2557 การที่เฟดกำลังจะเปลี่ยนตัวผู้นำ ส่งผลให้มีโอกาสน้อยมากที่เฟดจะปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นำล่วงหน้าเรื่องอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้ นายดีน มากิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของธนาคารบาร์เคลย์ส กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะมองหาเหตุผลอันน่าเชื่อถือใดๆในการทำให้เฟดปรับเปลี่ยนนโยบายหรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาสำคัญในแถลงการณ์ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) จะออกแถลงการณ์ผลการประชุมในวันพุธนี้ เวลา 14.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือคืนวันพุธเวลา 01.00 น.ตามเวลาไทย เฟดเคยสร้างความประหลาดใจให้แก่ตลาดในเดือนก.ย. เมื่อเฟดเลือกที่จะคงขนาดคิวอี ไว้ที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนตามเดิม หลังจากที่เฟดเคยประกาศในเดือนมิ.ย.ว่า เฟดคาดว่าจะเริ่มต้นปรับลด ขนาดคิวอีก่อนสิ้นปีนี้ และจะยุติคิวอีทั้งหมดภายในช่วงกลางปีหน้า สัญญาณบ่งชี้ถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่การประชุมเฟดในเดือนก.ย.คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เฟดตัดสินใจถูกแล้วที่คงขนาดคิวอีไว้ตามเดิม นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังคาดการณ์กันว่า เฟดจะรอจนกว่าจะถึงปีหน้าเพื่อให้มั่นใจว่า เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวเต็มที่ ก่อนที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอี นักวิเคราะห์กล่าวว่าเฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีในเดือนมี.ค. 2557 จากเดิมที่เคยคาดว่าจะเป็นเดือนธ.ค.ปีนี้ "เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะมีความเห็นที่ชัดเจนในขณะนี้ว่าเฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีเมื่อใด โดยเฟดต้องการจะดูว่าการปิดหน่วยงานรัฐบาลส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไตรมาส 4 อย่างไรบ้าง และรอดูตัวเลขการจ้างงานอีก 2-3 เดือน" เฟดพยายามกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานด้วยการตรึงอัตรา ดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับใกล้ 0 % นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2551 และปรับเพิ่มขนาดงบดุลขึ้นเป็น 4 เท่า สู่ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน โดยใช้วิธีดำเนินมาตรการคิวอีมาแล้ว 3 รอบ เฟดให้สัญญาว่าจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับอย่างน้อย 6.5 % และตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้มพุ่งขึ้นเหนือ 2.5 % ขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐอยู่ที่ 7.2% ในเดือนก.ย. เกณฑ์ตัวเลขเหล่านี้คือสิ่งที่ใช้สกัดกั้นต้นทุนการกู้ยืมไม่ให้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อใดก็ตามที่เฟดเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีลงในอนาคต รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 17-18 ก.ย.แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่เฟดได้หารือกันเกี่ยวกับการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่สัญญาณชี้นำล่วงหน้าในการประชุมครั้งนั้น โดยเฟดอาจใช้วิธีปรับเกณฑ์อัตราการว่างงานให้ต่ำลง หรือให้สัญญาว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ถ้าหากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าระดับต่ำสุดที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี รายงานการประชุมเฟดแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า เจ้าหน้าที่เฟดได้อภิปรายกันในประเด็นที่ว่า การปรับสัญญาณชี้นำล่วงหน้าจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ในช่วงก่อนการเปลี่ยนตัวผู้นำเฟด โดยสิ่งนี้ถือเป็นการยอมรับในทางอ้อมว่าภาระผูกพันที่นายเบอร์นันกี้ได้ทำไว้อาจจะไม่มีผลผูกพันต่อตัวประธานเฟดคนใหม่ นับตั้งแต่การประชุมเฟดในวันที่ 17-18 ก.ย.เป็นต้นมา การคาดการณ์เรื่องกำหนดเวลาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดก็ถูกเลื่อนออกไปสู่เดือน เม.ย. 2558 ซึ่งหมายความว่าผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นำล่วงหน้าในช่วงนี้ ขณะนี้ตลาดปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนอาจอยู่ที่ 0.685 % ในเดือนม.ค. 2559 โดยลดลงจาก 0.895 % เมื่อหนึ่งเดือนก่อน ส่วนอัตราดอกเบี้ยจำนองดิ่งลงในเวลาเดียวกัน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงสู่ 2.5 % ในช่วงนี้ จากระดับสูงเกือบถึง 3.0 % ในช่วงต้นเดือนก.ย. นายไมเคิล แฮนสัน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ กล่าวว่า "ตลาดไม่ได้คาดการณ์ในสิ่งที่สวนทางกับแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตที่เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณออกมา ดังนั้นเจ้าหน้าที่เฟดจึงไม่มีความจำเป็นมากนักในการปรับเปลี่ยนสิ่งใดในขณะนี้" ในการประชุมเดือนก.ย. มีเจ้าหน้าที่เฟด 12 จาก 18 ราย เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกไม่น่าจะเกิดขึ้นจนกว่าจะถึงปี 2558 http://www.bangkokbiznews.com/
  21. ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ ฉุดทองปิดลบ 6.7 ดอลล์ ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 ตุลาคม 2556 06:39:04 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและราคาบ้าน สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 6.7 ดอลลาร์ หรือ 0.5% ปิดที่ 1,345.5 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 4.6 เซนต์ ปิดที่ 22.492 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ร่วงลง 11 ดอลลาร์ ปิดที่ 1461.90 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 3.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 747.05 ดอลลาร์/ออนซ์ ตลาดทองคำนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนก.ย.ลดลง 0.1% จากเดือนก่อนหน้า ด้านกระทรวงแรงงานรายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลง 0.1% ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. นอกจากนี้ สหรัฐยังเปิดเผยดัชนีราคาบ้าน S&P/Case-Shiller เดือนส.ค. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.จากคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนส.ค ขณะที่คอนเฟอเรนซ์ บอร์ดเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยร่วงลงอย่างหนักสู่ระดับ 71.2 ในเดือนต.ค. จากระดับ 80.2 ในเดือนก.ย. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ดัชนีเดือนต.ค.จะลดลงแตะ 75.0 อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-- http://www.ryt9.com/s/iq31/1765836
  22. 29 ตุลาคม 2556 05:01 นักวิเคราะห์ชี้เฟดคงคิวอีถึงสิ้นปี โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ นักวิเคราะห์ชี้เฟดคงคิวอีถึงสิ้นปี ระบุผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่สามารถประเมินภาพรวมทางเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจนในระยะนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินเริ่มตั้งแต่วันนี้ (29 ต.ค.) ขณะนักวิเคราะห์คาดว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในการประชุมครั้งนี้ โดยเจ้าหน้าที่เฟดรอดูข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบมากเพียงใดจากความขัดแย้งด้านงบประมาณ นักวิเคราะห์คาดว่า เฟดอาจจะคงนโยบายการเงินตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ซึ่งหมายความว่าเฟดจะคงนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 17-18 ธันวาคมนี้ด้วยเช่นกัน ขณะนี้เฟดดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ คิวอี ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง หรือเอ็มบีเอส ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทเรย์มอนด์ เจมส์ "นายสก็อต บราวน์" กล่าวว่า เฟดอาจะเริ่มต้นปรับลดวงเงินในมาตรการคิวอีในการประชุมประจำวันที่ 28-29 มกราคม 2557 หรือ 18-19 มีนาคม 2557 และ โอกาสที่เฟดจะปรับลดขนาดคิวอีในเดือนธันวาคมปีนี้ อยู่ในระดับต่ำกว่า 50% นักวิเคราะห์ชี้ว่า การปิดหน่วยงานรัฐบาลที่เกิดขึ้น เป็นอุปสรรคขัดขวางการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายของเฟดจึงไม่สามารถประเมินภาพรวมทางเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจนในระยะนี้ นอกเหนือจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจแล้ว เจ้าหน้าที่ยังลังเลที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย เนื่ืองจากเฟดกำลังจะเปลี่ยนตัวผู้นำด้วย โดยประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ ได้เสนอชื่อนางเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟดในปัจจุบัน เพื่อให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ต่อจากนายเบน เบอร์นันกี้ ที่วาระการดำรงตำแหน่งจะสิ้นสุดลงในเดือนมกราคมปีหน้า การที่เฟดกำลังจะเปลี่ยนตัวผู้นำ ส่งผลให้มีโอกาสน้อยมากที่เฟดจะปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นำล่วงหน้าเรื่องอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของธนาคารบาร์เคลย์ส "นายดีน มากิ" กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะมองหาเหตุผลอันน่าเชื่อถือใดๆในการทำให้เฟดปรับเปลี่ยนนโยบายหรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาสำคัญในแถลงการณ์ http://www.bangkokbiznews.com/
  23. ทองคำปิดลบ 30 เซนต์ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 08:05 | อัพเดตล่าสุดเมือ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 08:05 | วันเผยแพร่ | พิมพ์ | อีเมล สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปรับตัวลง 30 เซนต์ หรือ 0.02% ปิดที่ 1,352.2 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (28 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนปรับฐานการลงทุน หลังจากสัญญาทองคำปิดพุ่งขึ้นติดต่อกันในช่วง 2 วันทำการที่ผ่านมา นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 79.309 จุดในวันจันทร์ จากวันศุกร์ที่ระดับ 79.220 จุด อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ คาดว่า ความต้องการทองคำจากประเทศรายใหญ่จากอินเดียและจีนยังคงแข็งแกร่ง และคาดว่าสัญญาทองคำจะพุ่งขึ้นทดสอบแนวต้านระยะสั้นที่ระดับ 1,370 ดอลลาร์/ออนซ์ และอาจจะทะยานขึ้นทดสอบแนวต้านระยะยาวที่ระดับ 1,390 ดอลลาร์/ออนซ์ นักลงทุนจับตาดูผลการประชุมเฟดซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการ QE ต่อไป เพื่อลดผลกระทบของการปิดหน่วยงานบางส่วนของรัฐบาลกลางสหรัฐ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 10.1 เซนต์ ปิดที่ 22.538 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. พุ่งขึ้น 17.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1, 472.9 ดอลลาร์/ออนซ์ http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-53/21422-av55.html
  24. คาด เฟดคง QE ในการประชุม 29-30 ต.ค.นี้ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 08:27 | อัพเดตล่าสุดเมือ วันอังคาร, 29 ตุลาคม 2556 08:27 | วันเผยแพร่ | | ตลาด คาด เฟดคงวงเงิน QE ในการประชุม 29-30 ตุลาคมนี้ รอความชัดเจนผลกระทบจาก Government Shutdown โดย ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด นับตั้งแต่เหตุการณ์ Government Shutdown ที่ค่อนข้างอ่อนแอกว่าการคาดการณ์ เช่น การจ้างงานเดือน ก.ย. ชะลอตัวลง ขณะที่แผนการลงทุนหยุดชะงัก โดยที่ความเสี่ยงที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจจะถูกบั่นทอนจากความ กังวลเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะที่มีมากขึ้น นอกจากประเด็นความ ไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจแล้ว การแต่งตั้งประธานเฟดคนใหม่ขึ้นแทน นายเบน เบอร์นันเก้ ที่กำลังจะสิ้นสุดวาระลงในเดือน ม.ค. ปีหน้า ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดคาดว่าเฟดจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงแนวนโยบายการ เงิน หรือมี Forward Guidance ใหม่ในขณะนี้ เพื่อต้องการรอความชัดเจนก่อน ว่าตัวเก็งประธานเฟดคนใหม่ นางเจเน็ท เยเล็น ที่ได้รับการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีนายบารัก โอบาม่า นั้น จะได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาหรือไม่ โดยที่ตลาดคาดว่า ความชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายการเงินจะมีมากขึ้นในช่วง เม.ย. ทั้งนี้ เฟดจะแถลงผลการประชุมเวลา 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในวันพุธที่จะถึงนี้ http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-53/21427-av57.html
  25. ดอลลาร์ผันผวน จับตาประชุมเฟด updated: 25 ต.ค. 2556 เวลา 18:18:07 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันที่ 21-25 ตุลาคม 2556 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุล หลัก โดยการคาดการณ์เกี่ยวกับการคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อไปอีกระยะในการประชุมเดือนตุลาคม (29-30/10) ยังคงเป็นปัจจัยหลักในการเคลื่อนไหวของตลาด แม้ในระหว่างสัปดาห์ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่สำรวจก่อนการปิดทำการของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ นานกว่า 16 วันในเดือนนี้ ทำให้ตลาดคาดว่าสหรัฐจะต้องใช้เวลา 2-3 เดือนกว่าที่จะเห็นภาพรวมที่ชัดเจนของตลาดแรงงานสหรัฐหลังการปิดทำการของ หน่วยงานรัฐบาล ซึ่งตัวเลขในตลาดแรงงานเป็นหนึ่งในตัวเลขสำคัญที่เฟดใช้เป็นตัวชี้วัดการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ อย่างไรก็ดี ภายหลังจากที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันอังคาร (22/10) ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 148,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ย. ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 180,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานอยู่ที่ระดับ 7.2% ในเดือน ก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 51 ทำให้เงินดอลลาร์เผชิญแรงกดดันอีกครั้ง จากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับลดและต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปจนถึงปีหน้าในการ ประชุมสัปดาห์หน้า จนกว่าตลาดแรงงานจะฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแรง สำหรับ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ค่าเงินเปิดตลาดวันจันทร์ (21/10) ที่ระดับ 31.07/09 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (18/10) ที่ 31.04/05 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินบาททยอยปรับตัวอ่อนค่าลง เป็นผลมาจากการคาดการณ์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐประจำเดือน กันยายนที่แข็งแกร่ง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับการคาดการณ์ว่า จะมีการนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่แก้ไขแล้วกลับเข้าสภาอีกครั้ง ทำให้ค่าเงินบาทและตลาดหุ้นร่วงลง ก่อนที่ค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรออกมาย่ำแย่กว่าที่คาด หนุนให้ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 31.00 บาท/ดอลลาร์ในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ดี ในช่วงท้ายสัปดาห์ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าและทรงตัวอยู่ใกล้กับระดับเดียว กันกับในช่วงต้นสัปดาห์ จากแรงซื้อกลับเงินดอลลาร์ในช่วงสั้น ๆ ประกอบกับตัวเลขการส่งออกของไทยเดือน ก.ย.มีมูลค่า 19,304 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.09% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มากกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลง 0.40% โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของไทยขยายตัว 0.05% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 2.21% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไทยมียอดขาดดุลการค้า 1.77 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินบาทในช่วงสั้น ๆ ขณะที่ตลาดยังคงคาดการณ์ว่า เฟดจะคงมาตรการกระตุ้นไปจนถึงปีหน้า หลังข้อมูลการจ้างงานที่ย่ำแย่ของสหรัฐบ่งชี้ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 31.00-31.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (25/10) ที่ระดับ 31.08/10 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดวันจันทร์ (21/10) ที่ระดับ 1.3671/74 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (18/10) ที่ระดับ 1.3696/97 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ยูโร โดยในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าลงในกรอบแคบ ก่อนการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานสหรัฐในคืนวันอังคาร (22/10) แม้ตัวเลขเศรษฐกิจของเยอรมันจะทิศทางที่ดีขึ้น แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ไม่สามารถหนุนค่าเงินยูโรให้แข็งค่าขึ้นได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางสัปดาห์ค่าเงินยูโรทะยานขึ้นแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 ปีเหนือระดับ 1.3800 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร หลังข้อมูลการจ้างงานสหรัฐย่ำแย่ หนุนการคาดการณ์ว่า เฟดจะคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐในการประชุมสัปดาห์หน้า ส่งผลให้มีแรงซื้อสินทรัพย์และสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดอีกครั้ง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป/(อีซีบี) เผยว่า จะให้ธนาคารชั้นนำของยูโรโซนทำการทดสอบภาวะแข็งแกร่งในปีหน้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธนาคาร ซึ่งตลาดจับตาเรื่องดังกลาวอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธนาคาร ซึ่งตลาดจับตาเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมองว่าหากการทดสอบได้ผลไปในทางลบ อาจจะส่งผลในทางตรงกันข้ามกับที่อีซีบีต้องการและสร้างความกดดันให้ค่าเงิน ยูโรได้ ทั้งนี้ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1.3649-1.3832 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ยูโร ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (25/10) ที่ระดับ 1.3800/02 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนนั้น ค่าเงินเยนเปิดตลาดวันจันทร์ (21/10) ที่ระดับ 98.03/06 เยน/ดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (18/10) ที่ระดับ 97.63/67 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่มีการคาดการณ์ว่า เฟดจะยังคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปในการประชุมวันที่ 29-30 ตุลาคม ประกอบกับกระทรวงการคลังญี่ปุ่นเผยตัวเลขการส่งออกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 11.5% ในเดือน ก.ย.เมื่อเทียบรายปี แต่ยังคงต่ำกว่าการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 15.6% ซึ่งสะท้อนถึงผลของเงินเยนที่อ่อนค่าลง และการปรับตัวขึ้นของอุปสงค์ทั่วโลก นอกจากนี้การคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ซึ่งบีโอเจตั้งเป้าที่จะทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้น 2 เท่าผ่านโครงการซื้อสินทรัพย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำให้อัตราเงินเฟ้อ พุ่งแตะระดับ 2% ภายในเวลา 2 ปี เป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินเยนในระยะนี้ อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางสัปดาห์ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งปิดตลาด ท้ายสัปดาห์ภายหลังจากที่ธนาคารกลางจีนไม่ได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบติดต่อ กัน 2 วัน และผู้ควบคุมกฎระเบียบแสดงความวิตกต่อสภาพคล่องที่ผ่อนคลาย และส่งสัญญาณว่า พวกเขากำลังพิจารณาการดำเนินมาตรการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงจากภาวะเงิน เฟ้อ ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินของจีนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ขณะที่ตลาดส่งสัญญาณความวิตกต่อการแข็งค่าของเงินเยน และตัดสินใจที่จะรอดูการแถลงผลประกอบการของบริษัทญี่ปุ่น เพื่อยืนยันว่าภาคเอกชนของญี่ปุ่นอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง ทั้งนี้ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 96.95-98.48 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (25/10) ที่ระดับ 97.17/19 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐเผิดเผยข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิต เดือน ก.ย., สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเปิดเผยยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการ ขาย (pending home sales) เดือน ก.ย. (28/10), กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ก.ย., กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือน ก.ย., สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ซิลเลอร์ เปิดเผยราคาบ้านเดือน ส.ค., Conference Board เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือน ต.ค.และคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มการประชุมกำหนดนโยบายการเงินวันแรก (29/10), ADP Employer Services เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศเดือน ต.ค., กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.ย. และคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศมติการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (30/10), สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตเดือน ต.ค. (1/11) ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ www.facebook.com/PrachachatOnline ทวิตเตอร์ @prachachat ติดต่อทีมข่าวประชาชาติฯออนไลน์ prachachat.net@gmail.com
×
×
  • สร้างใหม่...