ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

thidarat

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    62
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

โพสต์ ถูกโพสต์โดย thidarat


  1.      สำหรับคู่สมรสบางคู่อาจจะเป็นคู่ที่โชคดีสามารถมีลูกกันได้อย่างสบาย ๆ แบบหัวปีท้ายปีกันเลย แต่ก็ยังมีคู่สมรสอีกหลาย ๆ คู่ที่ประสบปัญหาภาวะการมีลูกยาก ทั้ง ๆ ที่ปล่อยแบบธรรมชาติมาตั้งนานแถมกิจกรรมทางเพศก็มีไม่ขาด แต่ลูกก็ยังไม่มาสักที ดังนั้นวันนี้โรงพยาบาลนครธนเราได้รวบรวมหลาย ๆ คำถามเกี่ยวกับคู่สมรสที่มาพบคุณหมอเพราะต้องการรักษาภาวะมีลูกยาก ซึ่งมีหลากหลายคำถามที่อาจจะตรงกับคู่สมรสของคุณก็ได้ค่ะ

    1.jpg.97672baea2372884f1a1e22ec03dc7d0.jpg

         สำหรับคู่แต่งงานที่มีลูกยาก ลองมาแล้วสารพัดวิธีก็ไม่สำเร็จสักที อาจมีคำถามเกี่ยวกับภาวะการมีลูกยากมากมายว่าจะรักษาอย่างไรดี มีวิธีอะไรบ้าง ถ้าจะนับวันไข่ตกทำอย่างไร จะกินยากระตุ้นไข่เองได้หรือไม่ เมื่อไหร่ถึงต้องใช้การอุ้มบุญ ไปคลายข้อสงสัยเหล่านี้กันได้เลยค่ะ

    Q : เมื่อไหร่ถึงต้องไปปรึกษาเรื่องมีบุตรยาก?
         คำว่ามีบุตรยากคือการที่คู่สามีภรรยาอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 1 ปีแต่ไม่มีบุตร โดยที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอคือประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นคู่สามีภรรยาที่ว่านี้ควรปรึกษาเรื่องการมีบุตร แต่ก็มีหลายกรณีที่อาจจำเป็นต้องรีบมาปรึกษาหรือทำการรักษาเช่น คู่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ฝ่ายหญิงอาจมีโรคประจำตัว ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดประจำเดือนมาก เหล่านี้ก็น่าสงสัยจะเป็นกลุ่มที่มีบุตรยากโดยไม่ต้องรอให้ครบหนึ่งปี หรือบางครั้งจะมีการตรวจเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรโดยการคัดกรองเบื้องต้น หาสาเหตุของฝ่ายชายและหญิงก่อนแต่งงานหรือก่อนมีบุตรได้

    Q : คนที่มีลูกยากต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเพิ่มความสำเร็จในการมีลูก?
         ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการมีลูกยาก โดยทั่วไปคู่สมรสควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเหล้าและบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างเหมาะสม

    Q : มีวิธีนับวันไข่ตกอย่างไร?
         การนับวันไข่ตกเหมาะกับคนที่ประจำเดือนมาตรงตามปกติ โดยทั่วไปคือประมาณ 28 วันจะมีประจำเดือนมาอีกครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะนับได้ว่ากลางรอบเดือน คือ ระยะตรงกลางระหว่างประจำเดือนวันแรกของรอบที่แล้วกับประจำเดือนวันแรกของรอบถัดไป คือประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือนนับจากประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ไข่น่าจะตก แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นวันนั้นแน่เสมอไป อาจเป็นวันก่อนหน้าหรือวันอื่นถัดๆ ไป แต่ก็จะอยู่ในช่วงกลางระหว่างรอบเดือนสองรอบนั้น แนะนำให้มีเพศสัมพันธ์วันเว้นวันช่วงระหว่างที่คาดว่าจะมีการตกไข่

    Q : การรักษาภาวะมีบุตรยากมีวิธีการอะไรบ้าง?
         วิธีการเบื้องต้นอาจจะเป็นการนับวันไข่ตก การตรวจฮอร์โมนไข่ตก แล้วมีเพศสัมพันธ์กันเองตามธรรมชาติ บางครั้งอาจใช้ร่วมกับวิธีการทานยากระตุ้นไข่ การฉีดยากระตุ้นไข่ เพื่อให้ใข่มีจำนวนมากขึ้น นอกจากนั้น การใช้เทคโนโลยีการคัดเชื้อแล้วทำการฉีดเชื้อหรือเรียกอีกอย่างว่าการผสมเทียม คือการเอาเชื้อฝ่ายชายฉีดเข้าโพรงมดลูกฝ่ายหญิงในระยะเวลาที่เหมาะสม ก็เป็นอีกวิธีการใช้เทคโนโลยีในเบื้องต้นอันหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจต้องทำหลายครั้งกว่าจะสำเร็จ

         ส่วนการทำกิ๊ฟ คือการนำเอาไข่กับเชื้อผสมกันในท่อนำไข่ในช่องท้อง โดยต้องใช้การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ปัจจุบันอาจมีการทำน้อยลง เนื่องจากขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ซึ่งในปัจจุบันแพทย์ที่ทำการรักษาเรื่องมีบุตรยากมักจะหันมาใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว รวมทั้งวิธีทำ
    ICSI ในการทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์มากที่สุด การเลือกใช้วิธีไหน ขึ้นกับข้อบ่งชี้หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีมากประกอบในการตัดสินใจในการรักษาต่อไป

    Q : อยากทราบค่าใช้จ่ายในการรักษาสำหรับผู้มีบุตรยากคิดอย่างไร?
         ค่าใช้จ่ายในการรักษาขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยที่มี บางคนไม่มีภาวะผิดปกติอะไร อายุยังน้อยก็อาจใช้วิธีการนับวันไข่ตก ตรวจฮอร์โมนการตกไข่ก็อาจมีบุตรได้ บางคนมีโรคที่จำเป็นต้องผ่าตัดก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด หรือบางคนต้องรับยาซึ่งยาบางอย่างมีราคาแพง โดยเฉพาะยาฉีดกระตุ้นไข่ ส่วนการฉีดเชื้อผสมเทียมก็อาจมีค่าใช้จ่ายแต่ไม่แพงมากนัก สามารถทำได้หลายครั้ง

         ส่วนการทำเด็กหลอดแก้วก็ถือว่ามีการใช้ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่ทำการรักษา อาจเป็นหลักแสนขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่ทุกคนที่มีความจำเป็นในการทำเด็กหลอดแก้ว ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะมีบุตรยากก็ขึ้นอยู่กับภาวะของแต่ละคน


    Q : ทารกที่เกิดจากการรักษามีบุตรยากจะมีความสมบูรณ์หรือไม่?
         จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ที่ได้รวบรวมข้อมูลในการทำเด็กหลอดแก้วรวมทั้งการทำ ICSI พบว่า อัตราการเกิดความพิการในเด็กโดยทั่วไปไม่ได้แตกต่างกัน ยกเว้นความพิการอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์แฝด ซึ่งถ้าเอาตัวเลขของครรภ์แฝดที่เกิดจากการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติมาดูแล้วเทียบกัน ก็ไม่ต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ทำอาจไม่ต้องมีความกังวลมากนักในเรื่องความพิการในทารก อีกทั้งเทคโนโลยีการตรวจสารพันธุกรรม (PGD) ก่อนที่จะใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก ก็อาจช่วยในการคัดกรองเบื้องต้นในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้ความพิการในทารกหรือทารกที่มีกลุ่มอาการดาวน์ลดลงด้วย

    Q : อยากทราบวิธีทานยากระตุ้นไข่ทำอย่างไร?
         การทานยากระตุ้นไข่ ควรได้รับการแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก ไม่มีซื้อขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยทั่วไปจะให้กินยาเป็นเวลา 5 วันในช่วงที่มีประจำเดือน ยากระตุ้นไข่จะช่วยให้จำนวนไข่โตมากขึ้น หรือไข่ตกมากขึ้นนั่นเอง ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์มีมากยิ่งขึ้น บางครั้งอาจต้องใช้ยานี้ร่วมกับการฉีดเชื้อผสมเทียมได้

    Q : การกระตุ้นไข่บ่อย ๆ มีผลอะไรหรือไม่? เพราะรักษาด้านนี้มาหลายปีต่อเนื่องตลอด ตอนนี้รู้สึกเหมือนประจำเดือนผิดปกติ
         การกระตุ้นไข่ในแต่ละรอบเดือนจำเป็นต้องเว้นช่วงบ้าง เนื่องจากไข่ที่ถูกกระตุ้นหลายๆ รอบติดกัน อาจทำให้ปริมาณของฟองไข่ลดลง ระบบฮอร์โมนที่ควบคุมประจำเดือนอาจมีการแปรปรวนได้บ้าง การเว้นช่วงการกระตุ้นอาจช่วยให้ประจำเดือนกลับมาปกติได้ อย่างไรก็ตามประจำเดือนที่ผิดปกติอาจมาจากสาเหตุอื่น ดังนั้นควรได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อน

    Q : การวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อนคืออะไร? แล้วจำเป็นต้องทำทุกรายหรือไม่?
         การวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อน คือ วิธีการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมจากเซลล์บางส่วนของตัวอ่อน ทั้งในระดับยีน (gene) หรือระดับโครโมโซม (chromosome) เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีสารพันธุกรรมที่ปกติเท่านั้น มาย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง

    Q : หากต้องการได้บุตรที่แข็งแรง ปราศจากโรคที่เกิดจากโครมโมโซมที่ผิดปกติ สามารถทำได้หรือไม่ แล้ววิธีที่เหมาะสมคือวิธีใด?
         ปัจจุบัน มีกระบวนการวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว หรือ PGD (Preimplantation genetic diagnosis) ซึ่งเราสามารถตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน ก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้มั่นใจได้ว่าทารกจะมีโครโมโซมที่ปกติ โดยเทคนิคใหม่ที่แนะนำคือ เทคนิค CGH (Comparative Genomic Hybridization) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์โดยสามารถตรวจโครโมโซมได้ทั้ง 24 คู่ อีกทั้งยังมีความถูกต้อง และได้ผลสำเร็จที่ดีกว่าเทคนิคแบบเก่า (FISH: Fluoresence In Situ Hybridization)

    Q :
    หญิงอายุมากมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์บุตรที่ผิดปกติอย่างไรบ้าง แล้วมีวิธีการป้องกันหรือไม่?
         เนื่องจากหญิงที่อายุมากมีจำนวนฟองไข่ลดลง คุณภาพของไข่ลดลง มีการแบ่งตัวของโครโมโซมผิดปกติมากขึ้น จึงมีปัญหามีบุตรยาก มีภาวะแท้งสูงขึ้น อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมสูงขึ้น ได้แก่
    - ความผิดปกติของโครโมโซมชนิดโครงสร้าง เช่น Translocation, inversion
    -
    ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome)

         เนื่องจากความผิดปกตินี้พบได้ในทารก การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน (Preimplantation genetic diagnosis: PGD) จึงมีประโยชน์ในการคัดเลือกตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมปกติ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และลดอัตราการแท้งบุตรได้อีกด้วย

    Q : หากลูคนแรกมีภาวะผิดปกติ และต้องการมีลูกคนที่สองอีก มีโอกาสหรือไม่ที่ลูกจะเกิดมาเป็นปกติได้ และหากฝ่ายหญิงอายุ 40 ปีแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง?
         แนะนำให้รีบมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก และการวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อน เพื่อประเมินและให้การรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที

    Q : สามีเป็นหมันต้องทำอย่างไร และอาหารประเภทไหนที่จะบำรุงเชื้อฝ่ายชาย?
         สามีที่เป็นหมันคือ ฝ่ายชายที่ไม่สามารถนำเอาเชื้ออสุจิออกมาได้ หรือไม่มีเชื้อเอาน้ำอสุจิออกมา ซึ่งจริง ๆ แล้วการตรวจเชื้อฝ่ายชายจะทราบว่ามีหรือไม่มีเชื้อ หรือว่ามีเชื้อแล้วผ่านเกณฑ์หรือเปล่า ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะเรียกว่าเชื้ออ่อน คนที่เชื้ออ่อน ก็อาจมีวิธีรักษาโดยการคัดเชื้อการฉีดเชื้อหรือการทำผสมเทียม หรือถ้าอ่อนมากอาจต้องทำ ICSI

         สำหรับอาหารที่บำรุงเชื้อฝ่ายชายไม่มีอะไรเป็นพิเศษ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การงดดื่มเหล้าสูบบุหรี่ หรืองดชากาแฟ ก็จะมีส่วนช่วยได้ รวมทั้งการได้รับประทานยาบางตัวจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจช่วยให้เชื้อแข็งแรงขึ้นมาบ้าง

    Q : เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อคโกแลตซีสท์ คืออะไร ทำให้มีบุตรยากหรือไม่?
         ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คือ การที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูกในช่องท้อง อาจสะสมตามรังไข่และปีกมดลูก ถ้าเป็นมากอาจทำให้เกิดเป็นช็อคโกแลตซีสท์ได้ ความสำคัญก็คือ การมีภาวะนี้จะทำให้โอกาสในการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น เพราะภาวะนี้อาจทำให้มีผังผืดเพิ่มขึ้นที่ปีกมดลูก หรือสารบางตัวจากภาวะนี้ไปทำลายไข่ หรือขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ผู้ที่มีภาวะนี้ ถ้าเป็นมากก็ควรทำการรักษาก่อนที่จะทำการรักษาให้มีบุตร อาจใช้ยาหรือการผ่าตัดแล้วแต่กรณี บางคนผ่าตัดไปแล้วก็สามารถมีลูกได้เองโดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยการมีบุตรเพิ่มเติม

    Q : การคัดเพศบุตรมีวิธีอย่างไร?
         การคัดเพศบุตรที่ได้ผลมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือการคัดเชื้ออสุจิแล้วทำการฉีดเชื้อผสมเทียม ซึ่งผลในการคัดไม่แน่นอนนักประมาณ 70% ส่วนอีกวิธีที่ได้ผล 100% คือต้องทำเด็กหลอดแก้วแล้วทำ PGD ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีนอกจากได้ผลแน่นอนแล้ว ก็ยังสามารถทำการคัดกรองความสมบูรณ์ของเด็กเบื้องต้นก่อนได้ด้วย เช่น คัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ เป็นต้น

    Q : เมื่อไหร่ถึงต้องอุ้มบุญหรือการใช้เชื้อหรือไข่บริจาค?
         ผู้ที่ต้องอุ้มบุญคือ ในกรณีที่มดลูกมีความผิดปกติหรือมีเนื้องอก หรือบางรายเยื่อบุโพรงมดลูกมีปัญหา ก็ต้องไปใช้มดลูกคนอื่นที่ปกติแทน ส่วนผู้ที่ต้องใช้เชื้อบริจาคก็คือ ผู้ชายทีเป็นหมันหรือไม่มีเชื้อหรือเชื้อน้อยมาก ซึ่งกรณีนี้อาจจะลองเจาะอัณฑะหรือท่อนำเชื้ออสุจิก่อนก็ได้ ถ้าพอมีเชื้อก็อาจทำ ICSI ได้ ส่วนกรณีที่ใช้ไข่บริจาคก็คือ ผู้ที่มีจำนวนไข่น้อยหลังจากกระตุ้นไข่แล้ว หรือได้ไข่ที่ไม่มีคุณภาพ ก็ต้องไปหาไข่ของผู้อื่น โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้เป็นญาติของผู้ที่ต้องการไข่เองมากกว่า เนื่องจากจะได้มีส่วนทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน

         ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นคำถามหลักๆ ที่คู่สมรสที่มีภาวะมีลูกยากได้สอบถามกับทางคุณหมอเข้ามา และหากคู่สมรสต้องการวางแผนที่จะสร้างครอบครัว การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานถือเป็นสิ่งสำคัญมาก หากได้ตรวจเพื่อหาสาเหตุตั้งแต่แรก การมีลูกจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ปรึกษาทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลนครธนสิคะ

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
    https://www.nakornthon.com/Article/Detail/สารพันปัญหาการมีบุตรยากที่พบบ่อย


  2.      ปัญหาด้านสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่มักจะเจอคือ มีภาวะของโรคข้อเข่าเสื่อมส่งผลให้มีอาการปวดเข่า เข่าฝืด ใช้งานไม่ถนัด บางครั้งมีอาการเข่าบวมโตปวดทรมานมาก ซึ่งปัจจุบันมีการใช้การรักษาด้วยวิธีการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ซึ่งเริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้น การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร และช่วยให้โรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงวัยดีขึ้นจริงหรือไม่ หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่บ้านที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม กำลังมองหาทางเลือกในการรักษา วันนี้โรงพยาบาลนครธนจะพามาเจาะลึกเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไรบ้างกันค่ะ

    1.jpg.4c7f3a2c7ae29a4beb35dbea9074ffe9.jpg

         การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า” เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว เคยประสบอุบัติเหตุ โรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อเข่า และการใช้งานมากเมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

         ผู้ป่วยที่เป็น โรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเข่าเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก ซึ่งการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นหนึ่งวิธีการรักษา แล้วน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร การรักษาเป็นอย่างไร สามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบกัน

    รู้จักน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
         ตามปกติแล้ว น้ำไขข้อที่หล่อเลี้ยงข้อเข่าจะทำหน้าที่เหมือนน้ำมันที่ช่วยหล่อลื่นให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ราบรื่น แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร
    Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบภายในข้อ และเคลื่อนไหวไม่สะดวก

    คุณสมบัติของการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
         น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ
    Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จะช่วยปรับคุณภาพและสมดุลของปริมาณน้ำในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบทำให้อาการปวดข้อลดลง การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้

    เมื่อไหร่ต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
         แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ในกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น-ปานกลาง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบใช้ยา แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ
    6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย

    การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าฉีดอย่างไร
    เมื่อแพทย์วินิจฉัยการรักษาแล้วว่าให้ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า โดยแบ่งเป็น
    2 ประเภท
         แบบโมเลกุลเล็ก จะทำการฉีดยาเข้าข้อเข่าที่มีอาการปวดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง หลังฉีดยาจะช่วยลดการปวดข้อผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

         แบบโมเลกุลใหญ่ หรือฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแบบ Single Shot โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่สามารถลดอาการปวด อักเสบได้นาน 3-6 เดือน ซึ่งมีความสะดวกต่อคนไข้ในการเดินทาง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดได้เป็นอย่างดี

    คำแนะนำหลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
         หลังฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ ประมาณ
    2-3 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่เรากำลังดูแลฟื้นฟูข้ออยู่ จึงควรดูแลข้อให้เต็มที่ โดยปกติแล้วการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย อาจพบเพียงอาการปวด บวม แดง เหมือนการฉีดยาทั่วไป ซึ่งจะหายได้เอง หรืออาจใช้การประคบเย็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น และหลังฉีดยาควรพักการใช้ข้อเข่าอย่างน้อย 2 วัน

    ข้อยกเว้นสำหรับการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า
         การรักษาแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะหากข้อเข่าของคนไข้มีการติดเชื้อมาก่อน หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่จะต้องฉีดยา แพทย์ก็จะพิจารณาเป็นการรักษาด้วยวิธีอื่นแทน รวมทั้งไม่แนะนำให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรงฉีด เพราะผลจากการรักษาจะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร

         เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องช่วยดูแลในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหัวเข่า เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

         โรงพยาบาลนครธน เราหวังว่าข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์กับคุณอย่างมาก หากมีคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุที่บ้านที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมอยู่ สามารถติดต่อเข้ามาขอคำปรึกษาเพิ่มเติมกับทางศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธนได้ค่ะ

    ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน :
    https://www.nakornthon.com/Article/Detail/ปวดเข่า-ข้อเข่าเสื่อม-ซ่อมได้ด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า


  3.      โรคกระดูกเสื่อมมักเกิดเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดวิธี รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็มีส่วนทำให้กระดูกเกิดความผิดปกติได้ โดยส่วนมากพบว่าอาการผิดปกติ มีอาการเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ พบมากในกลุ่มคนน้ำหนักตัวมาก และกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยความเสื่อมของแคลเซียมในร่างกายและการใช้งานข้อหรือกระดูกมายาวนาน เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเสื่อม ข้อไหล่ติด เป็นต้น

         เมื่อเกิดปัญหากระดูกและข้อ การได้รับคำปรึกษาที่ดี การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีคือหัวใจที่สำคัญค่ะ

    1.jpg.1d26862d72f350112b5a014660588dcb.jpg

         ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน ให้การตรวจ วินิจฉัย ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อ พร้อมคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยคุณหมอ-ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

    การบริการทางการแพทย์
    ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน มีบริการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะต่าง ๆ อย่างรอบคลุม ได้แก่

    - การผ่าตัดข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า
    - การผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดหมอนรองกระดูก การแก้ไขกระดูกสันหลังคด
    - รักษาโรคกระดูกทั่วไป และ อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน กระดูกผิดรูป เป็นต้น
    - วินิจฉัยและตรวจรักษาผ่านกล้อง
    - การผ่าตัดข้อผ่านกล้อง (ข้อเข่า, ข้อไหล่)
    - การผ่าตัดต่อนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์
    - การตัดต่อเส้นเอ็น เส้นประสาท
    - รักษากลุ่มอาการปวดหลัง
    - รักษาเนื้องอกกระดูก
    - รักษาภาวะกระดูกพรุน
    - ตรวจรักษาความพิการแต่กำเนิดของเด็ก

    เทคโนโลยีทางการแพทย์
    การตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์
    - เอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI)
    -
    การตรวจมวลกระดูก (Bone Densitometry)

    การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthroplasty-MIS TKA
    - ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบเข่าและการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
    - รอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดเล็กกว่า
    - รอยแผลเป็นสั้นเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานยาว 8-10 นิ้ว
    - เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า
    - ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลสั้น

         ศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธน มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะและมีประสบการณ์ บริการให้คำปรึกษา รักษา และดูแลทุกปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อดูแลคุณอย่างครบทุกด้าน ด้วยทางเลือกการรักษาทั้งแบบผ่าตัดส่องกล้องและไม่ผ่าตัด ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล และความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ ให้บริการตรวจรักษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของทางศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธน จึงวินิจฉัยหรือวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และตรงจุด จะรักษาตามอาการของโรคใช้ยาแก้อักเสบ การผ่าตัด อาการที่มีการเรื้อรัง ต้องใช้เวลาในการรักษา ซึ่งการรักษาที่ดีและเป็นการป้องกันการเกิดโรคข้อและกระดูก คือ การปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงที่ทำให้ระบบข้อและกระดูกเสื่อม เร็วกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยเจ็บน้อย ฟื้นตัวไว กลับไปใช้ชีวิตได้ดังเดิมในเวลาไม่นาน

         สำหรับผู้ที่กำลังมีปัญหาด้านกระดูกและข้อสามารถติดต่อเข้ามาขอรับคำปรึกษากับทางศูนย์กระดูกและข้อของโรงพยาบาลนครธนยินดีให้คำปรึกษาโดยตรงค่ะ

    ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน
    https://www.nakornthon.com/Center/Detail/ศูนย์กระดูกและข้อ


  4.      อาการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด เป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการเล่นกีฬาโดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเกตบอล และการวิ่งมาราธอนในระยะต่าง ๆ มักจะพบเห็นข่าวการบาดเจ็บของนักกีฬาเกี่ยวกับเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ข้อเข่าแย่ลง

    1.jpg.8ba227769b9cd6e3fe16e0edb8e1051b.jpg

    รู้จัก...เอ็นไขว้หน้าหัวเข่า
         เอ็นไขว้หน้าหัวเข่า หรือ Anterior Cruciate Ligament (ACL) คือเส้นเอ็นขนาดใหญ่เส้นหนึ่งที่อยู่ภายในเข่า โดยจะเกาะอยู่ระหว่างปลายกระดูกต้นขา (Femur Bone) และต้นกระดูกหน้าแข้ง (Tibia Bone) หน้าที่หลักๆ ของเอ็นเส้นนี้ คือเสริมความมั่นคงให้แก่ข้อเข่า ควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวเข่าและหน้าแข้ง ให้เคลื่อนไหวได้มากน้อยและในมุมต่าง ๆ ป้องกันไม่ให้เราเหยียดเข่าเกินองศา (Hyperextension) จนทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและผิวข้อเข่า ถือว่าเป็นเส้นเอ็นที่มีความสำคัญต่อข้อเข่ามาก เพราะหากเส้นเอ็นนี้บาดเจ็บหรือฉีกขาดอย่างถาวร จะทำให้ข้อเข่าขาดความมั่นคงอย่างหนัก ขณะที่ผู้ป่วยเดินจะรู้สึกเข่าหลวม ปวดภายในเข่า และทำให้เข่าเสื่อมตามมาได้เร็วขึ้น

    เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดเกิดจากอะไร
         อาการเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดมักพบได้บ่อย โดยเฉพาะสาเหตุจากการเล่นกีฬาและเกิดจากการบิดหมุนของหัวเข่าที่รุนแรง ทำให้เส้นเอ็นเกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับการเล่นกีฬาทุกประเภท โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น นักฟุตบอล นักวอลเลย์บอล นักบาสเกตบอล หรืออาจเกิดจากกิจกรรมอื่นทั่วไป เช่น ตกบันได อุบัติเหตุ แม้แต่เดินสะดุดก็อาจทำให้เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดได้เช่นกัน

    อาการเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดเป็นอย่างไร

    - รู้สึกมีอะไรดีดอยู่ข้างในขา
    - หัวเข่าใช้งานไม่ได้ในขณะที่ได้รับบาดเจ็บ
    - หัวเข่าบวมปูดทันทีหรือภายในไม่กี่ชั่วโมง
    - มีอาการเจ็บปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้

         โดยบางรายหลังจากเอ็นหัวเข่าฉีกขาด อาการปวด บวม อักเสบบริเวณหัวเข่าจะค่อยๆ ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึกผิดปกติ แต่เมื่อกลับไปเล่นกีฬาหรือใช้งานอีก จะรู้สึกว่าเข่าไม่มั่นคงและจะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดหมอนรองข้อฉีกขาด ส่งผลให้เกิดอาการงอเข่าไม่ลง ปวดบริเวณข้อ ตามมา

    การรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด
         โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด จะยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ แต่อาจจะเกิดภาวะข้อเข่าเคลื่อน ในกิจกรรมที่ต้องมีการบิดหมุนของหัวเข่า และที่สำคัญผู้ที่มีภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองเข่าและกระดูกอ่อนหัวเข่า ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันสมควร ซึ่งการรักษาแบ่งเป็น
    2 แบบ คือ

         รักษาโดยการไม่ผ่าตัด เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการทำกิจกรรมที่ใช้หัวเข่ามากนัก และสามารถปรับพฤติกรรมตนเองให้เหมาะกับเข่าที่ไม่สามารถบิดหมุนรุนแรง

         รักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง เหมาะสำหรับผู้ป่วยอายุน้อย และต้องการกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและกีฬาในระดับใกล้เคียงกับก่อนการบาดเจ็บ

    การผ่าตัดส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด
         การรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าหัวเข่า ทำได้โดยการผ่าตัดซ่อมสร้างเส้นเอ็นด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้อง (
    Arthroscopic Surgery) โดยนำเส้นเอ็นจากบริเวณอื่นมาทดแทน โดยทั่วไปจะใช้เอ็นจากสะบ้าเข่าหรือเอ็นบริเวณรอบ ๆ มาใช้ การผ่าตัดส่องกล้อง มีข้อดี คือผ่าตัดเจาะรูเล็กเพื่อใส่อุปกรณ์ และกล้องสำหรับส่องเข้าไปในข้อ แสดงภาพที่ จอคอมพิวเตอร์ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน คนไข้จะมีอาการบาดเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นสั้น และมีโอกาสในการติดเชื้อที่ต่ำกว่า ซึ่งคนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้รวดเร็วกว่า

    ผ่าตัดส่องกล้อง แล้วจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เมื่อไหร่
         โดยทั่วไปหลังการผ่าตัด ประมาณ
    1 เดือนผู้ป่วยจะใช้ไม้เท้าและสนับเข่า 3 เดือนหลังผ่าตัด จะเดินเร็วได้ และ 6-9 เดือนหลังผ่าตัด แพทย์จะให้ทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับกีฬาแต่ละแบบ และประมาณ 1 ปีหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย

         ปัจจุบันมีการผ่าตัดเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ทำกายภาพบำบัดได้ง่ายกว่าเดิม ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ควบคู่การทำกายภาพบำบัดเป็นเวลาอย่างน้อย
    6 เดือน ซึ่งเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดนั้น หากไม่รีบรักษาจะส่งผลให้เข่าเสื่อมก่อนวัยได้

    ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน
    https://www.nakornthon.com/Article/Detail/เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาดจากการเล่นกีฬารักษาได้ด้วยผ่าตัดส่องกล้อง


  5.      โรคกระดูกและข้อเกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกตามธรรมชาติเนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น พบได้บ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากเช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีคือหัวใจสำคัญ

         ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน ให้การตรวจ วินิจฉัย ผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อ พร้อมคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยคุณหมอ-ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

    1.jpg.c461eacd20314c1b218b3cd1f2563a96.jpg

    การบริการทางการแพทย์
    ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธร มีบริการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะต่าง ๆ อย่างรอบคลุม ได้แก่
    - การผ่าตัดข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า
    - การผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดหมอนรองกระดูก การแก้ไขกระดูกสันหลังคด
    - รักษาโรคกระดูกทั่วไป และ อุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ข้อเคลื่อน กระดูกผิดรูป เป็นต้น
    - วินิจฉัยและตรวจรักษาผ่านกล้อง
    - การผ่าตัดข้อผ่านกล้อง (ข้อเข่า, ข้อไหล่)
    - การผ่าตัดต่อนิ้วมือ นิ้วเท้า แขน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์
    - การตัดต่อเส้นเอ็น เส้นประสาท
    - รักษากลุ่มอาการปวดหลัง
    - รักษาเนื้องอกกระดูก
    - รักษาภาวะกระดูกพรุน
    - ตรวจรักษาความพิการแต่กำเนิดของเด็ก

    เทคโนโลยีทางการแพทย์
    การตรวจวินิจฉัยและเครื่องมือทางการแพทย์
    - เอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging : MRI)
    -
    การตรวจมวลกระดูก (Bone Densitometry)

    การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย (Minimally Invasive Surgery for Total Knee Arthroplasty-MIS TKA
    - ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบเข่าและการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
    - รอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดเล็กกว่า
    - รอยแผลเป็นสั้นเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานยาว 8-10 นิ้ว
    - เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า
    - ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลสั้น

         ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน พร้อมให้คำปรึกษา ดูแลทุกปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้ออย่างครอบคลุม ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อที่มากด้วยประสบการณ์และความชำนาญ ตลอดจนเทคโนโลยีการวินิจฉัยและการรักษาที่ทันสมัย ครอบคลุมโรคทางกระดูกและข้ออย่างครบถ้วน ให้บริการรักษาแบบครบวงจร

    ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน
    https://www.nakornthon.com/Center/Detail/ศูนย์กระดูกและข้อ


  6.      ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง นั่นก็คือ เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) การบำบัดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูและลดอาการเกร็งของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและรักษาอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

    1.jpg.077698cda3729cfd2a858342f0af4ffc.jpg

    เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) คืออะไร?
         TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) คือ เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์สมอง ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมและการสร้างวงจรระบบประสาทต่าง ๆ ภายในสมอง โดยการกระตุ้นสมองในตำแหน่งต่าง ๆ จะใช้หัว coil ในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ความถี่ และความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะและตำแหน่งรอยโรคของผู้ป่วย

    ประโยชน์ของการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (
    TMS)
    - เป็นทางเลือกเพื่อช่วยในการฟื้นฟูภาวะอ่อนแรงจากอัมพฤกษ์ อัมพาตในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตัน
    - ทางเลือกในการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าแล้วไม่ตอบสนองเท่าที่ควร
    - ทางเลือกในการฟื้นฟูการทำงานของสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะความจำถดถอยจากโรคอัลไซเมอร์

    การรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (
    TMS) ให้ประสิทธิภาพดีแค่ไหน?
         การรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS คือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังสมอง ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หากทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยได้ 30-60%

         แพทย์จะทำการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กวันละ 1 ครั้ง โดยระยะเวลาและความถี่ที่นัดมาทำขึ้นกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทั้งนี้แพทย์จะคอยซักถามและสังเกตอาการข้างเคียงตลอดระยะเวลาในการกระตุ้น

    ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (
    TMS)
    - ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีอาการมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน
    - ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาในขนาดที่เหมาะสมมาแล้วและอาการยังไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งปีนับจากเริ่มทานยาต้านเศร้า
    - ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นถึงระยะปานกลาง

    ข้อจำกัดในการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (
    TMS)
    - ผู้ที่มีการฝังโลหะหรือชิ้นส่วนของโลหะในสมอง เพราะสนามแม่เหล็กสามารถเหนี่ยวนำวัตถุที่เป็นโลหะ จนอาจก่อให้เกิดแรงกระทำต่อโครงสร้างสมองโดยรอบวัตถุนั้นได้
    - ผู้ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องมือที่ฝังอยู่ในร่างกาย เพราะสนามแม่เหล็กจะรบกวนการทำงานของวงจรไฟฟ้าของเครื่องเหล่านั้นได้

    ผลข้างเคียงที่พบในการรักษาด้วย
    TMS
         มีความร้อนบริเวณที่กระตุ้น เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กทำให้อุณหภูมิภายในสมองสูงขึ้นแต่น้อยมากจะมีปวดตึงศีรษะบริเวณที่ทำการกระตุ้น คลื่นไส้ วิงเวียน อาการชัก อารมณ์พลุ่งพล่าน สำหรับผู้ป่วยจิตเวช

    ข้อแนะนำก่อนรักษาด้วย
    TMS
    - แพทย์จะแนะนำการรักษา ข้อบ่งชี้ และข้อห้ามในการใช้เครื่องมือดังกล่าว
    - ห้ามอดนอน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย
    6-8 ชั่วโมง ก่อนทำการรักษาด้วย TMS ในวันรุ่งขึ้น
    - หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนก่อนทำ
    TMS
    - กรณีมียาที่ใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะยาในกลุ่มยานอนหลับ ยาทางจิตเวช ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง

         การรักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยการทำ
    TMS กระตุ้นสมอง จะไม่สามารถทำได้ในผู้ที่มีโลหะฝังอยู่ในสมอง หรือผู้ป่วยที่ฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้งก่อนทำการรักษา

    หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน
    https://www.nakornthon.com/article/detail/tms-เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต


  7.      IVF/ICSI หนึ่งในเทคโนโลยีเจริญพันธ์ ที่นำเข้ามาเพื่อช่วยให้เรื่องของการมีบุตรยาก วิธีการนี้เหมาะกับ คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อุดตันหรือท่อนำไข่ถูกทำลาย คู่สมรสที่ฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับเชื้ออสุจิ ได้แก่ มีจำนวนอสุจิน้อย หรือคู่สมรสที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยากเป็นต้น

    1.jpg.cee464100cccab64c4d07d475951ff58.jpg

    ทำความรู้จักการทำเด็กหลอดแก้ว
         เด็กหลอดแก้ว ถือกำเนิดครั้งแรกของเด็กหลอดแก้วในปี 1978 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของการรักษาภาวะมีบุตรยากสมัยใหม่และอัตราการตั้งครรภ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยวิธีการปฏิสนธิของเซลล์ไข่ภายนอกร่างกาย เพื่อช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ทั้งนี้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์อาจทำได้หลายวิธี เช่น การปฏิสนธินอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว (IVF) การช่วยปฏิสนธิโดยวิธีฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ (ICSI) ที่เป็นการรักษาอย่างแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบัน และได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้ได้ผลสำเร็จที่สูงขึ้นและมีค่าใช้จ่ายคุ้มค่ามากกว่า

    ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว มีดังนี้

    1.กระตุ้นรังไข่ให้ฟองไข่โตพร้อมกันหลายๆ ใบ
         โดยปกติจะเริ่มกระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2-3 ของรอบเดือน ด้วยการฉีดยาติดต่อกันเฉลี่ยแล้วจะฉีดประมาณ 8-12 วัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยเอง โดยปกติจะต้องการไข่จำนวน 8-15 ใบ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้หญิงแต่ละคน) ซึ่งยาที่ใช้กระตุ้นไข่ในปัจจุบันเป็นยาชนิดที่มีความบริสุทธิ์ของยามากขึ้น ทำให้ฉีดได้ทางหน้าท้อง (จากเดิมฉีดเข้าสะโพก) เป็นการลดความเจ็บปวดจากการฉีดยาได้

    2.ตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่
         เมื่อกระตุ้นไข่ด้วยยาแล้ว แพทย์จะทำการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ ร่วมกับการประเมินระดับฮอร์โมน โดยการตรวจเลือดเป็นระยะ เมื่อพบว่าขนาดของถุงไข่โตเต็มที่แล้ว แพทย์จะให้ฉีดยาฮอร์โมน ซึ่งจะไปเหนี่ยวนำให้เกิดการสมบูรณ์ของฟองไข่ หลังจากนั้นจะทำการเจาะเก็บไข่ภายใน 34-36 ชั่วโมง เพื่อดูดเอาเซลล์ไข่ออกมาเตรียมปฏิสนธิภายนอกร่างกาย

    3.เจาะเก็บไข่
         การเจาะเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอด (ไม่มีแผลหน้าท้อง) ทำโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์บอกตำแหน่ง แล้วใช้เข็มเล็กๆ เจาะไข่ออกมาจากรังไข่ ซึ่งการเจาะใช้เวลาไม่นาน และแพทย์จะให้ยานอนหลับขณะเก็บไข่ เพื่อลดความเจ็บปวดขณะเจาะเก็บไข่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยตื่นก็สามารถกลับบ้านได้ ส่วนเซลล์ไข่จะถูกนำออกมาทำความสะอาดในน้ำยาสำหรับเพาะเลี้ยง และเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปปฏิสนธิกับอสุจิ

    4.เก็บน้ำเชื้อของฝ่ายชาย
         ในวันที่ฝ่ายหญิงเจาะเก็บฟองไข่ ฝ่ายชายต้องมาเพื่อเก็บเชื้ออสุจิสำหรับปฏิสนธิ โดยหลั่งอสุจิภายในภาชนะที่จัดไว้ ซึ่งเป็นภาชนะปราศจากเชื้อ จากนั้นมาทำความสะอาดและคัดเลือกตัวที่แข็งแรง ก่อนจะนำมาปฏิสนธิกับไข่ในห้องปฏิบัติการที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความดัน ความชื้น และแสง โดยใช้เวลาเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายทั้งหมด 3-5 วัน กรณีที่สามีไม่สามารถมาเก็บอสุจิในวันเจาะไข่ได้ อาจนัดมาเก็บล่วงหน้าแล้วทำการเก็บแช่แข็งไว้ เพื่อเตรียมละลายเชื้อแช่แข็งมาทำปฏิสนธิในวันเจาะเก็บไข่ต่อไป

    5.เลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ
         เมื่อได้ตัวอ่อนแล้ว โดยทั่วไปจะทำการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3-5 วัน ในห้องปฏิบัติการที่ควบคุมปัจจัยที่เหมาะสมกับตัวอ่อนในบางรายที่มีข้อบ่งชี้อาจมีการตรวจโครโมโซมเพื่อหาความผิดปกติของตัวอ่อน และแพทย์จะเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์ในการนำย้ายกลับสู่โพรงมดลูกต่อไป

    6.ย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก
         การใส่ตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูก จะทำโดยการใช้หลอดพลาสติกเล็กๆ สอดผ่านทางช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูก แล้ววางตัวอ่อนลงไปภายใต้การอัลตราซาวด์ดูตำแหน่งที่เหมาะสม ทั้งนี้ขณะใส่ตัวอ่อน คนไข้จะรู้สึกตัวตลอดเวลา และไม่มีความเจ็บปวดใดๆ เมื่อใส่ตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะให้นอนพักอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนกลับบ้าน และเมื่อถึงบ้านให้นอนพัก ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือการออกกำลังกายช่วงท้องน้อยหรือหน้าขา และงดการมีเพศสัมพันธ์ ที่สำคัญคือ การใช้ยาสำหรับสอดช่องคลอดและยาฮอร์โมนรับประทานตามคำสั่งของแพทย์ทุกวันจนถึงวันนัด และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

    7.ตรวจการตั้งครรภ์
         หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้ว 9-11 วัน แพทย์จะนัดเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยตรวจการตั้งครรภ์เอง เนื่องจากอาจมีความผิดพลาดได้

    ซึ่งอัตราที่จะเกิดความสำเร็จของแต่ละคู่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรยาก แบบละเอียดเจาะลึกทุกขั้นตอน ที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลนครธน

    ขอบคุณข้อมูลจาก :
    https://www.nakornthon.com/article/detail/เทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้วรักษาภาวะมีบุตรยาก


  8.      ปัจจุบันปัญหาเรื่องการมีลูกยากนั้นพบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกกลุ่มอายุ สาเหตุพบว่าเกิดจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การแต่งงานล่าช้า เนื่องจากการใช้เวลาหมดไปกับการเรียน การทำงาน รวมทั้งการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ ความเครียดจากการทำงาน ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของการมีลูกยาก

    1.jpg.bd92bf9d9ef0359357b0cb2c68f1e1cc.jpg

         สำหรับคู่แต่งงานที่มีลูกยาก ลองมาแล้วสารพัดวิธีก็ไม่สำเร็จสักที อาจมีคำถามเกี่ยวกับภาวะการมีลูกยากมากมายว่าจะรักษาอย่างไรดี มีวิธีอะไรบ้าง ถ้าจะนับวันไข่ตกทำอย่างไร จะกินยากระตุ้นไข่เองได้หรือไม่ เมื่อไหร่ถึงต้องใช้การอุ้มบุญ ไปคลายข้อสงสัยเหล่านี้กันได้เลยค่ะ

    Q : เมื่อไหร่ถึงต้องไปปรึกษาเรื่องมีบุตรยาก?
         คำว่ามีบุตรยากคือการที่คู่สามีภรรยาอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 1 ปีแต่ไม่มีบุตร โดยที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอคือประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นคู่สามีภรรยาที่ว่านี้ควรปรึกษาเรื่องการมีบุตร แต่ก็มีหลายกรณีที่อาจจำเป็นต้องรีบมาปรึกษาหรือทำการรักษาเช่น คู่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ฝ่ายหญิงอาจมีโรคประจำตัว ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดประจำเดือนมาก เหล่านี้ก็น่าสงสัยจะเป็นกลุ่มที่มีบุตรยากโดยไม่ต้องรอให้ครบหนึ่งปี หรือบางครั้งจะมีการตรวจเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรโดยการคัดกรองเบื้องต้น หาสาเหตุของฝ่ายชายและหญิงก่อนแต่งงานหรือก่อนมีบุตรได้

    Q : คนที่มีลูกยากต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเพิ่มความสำเร็จในการมีลูก?
         ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการมีบุตรยาก โดยทั่วไปคู่สมรสควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเหล้าและบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างเหมาะสม

    Q : มีวิธีนับวันไข่ตกอย่างไร?
         การนับวันไข่ตกเหมาะกับคนที่ประจำเดือนมาตรงตามปกติ โดยทั่วไปคือประมาณ 28 วันจะมีประจำเดือนมาอีกครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะนับได้ว่ากลางรอบเดือน คือ ระยะตรงกลางระหว่างประจำเดือนวันแรกของรอบที่แล้วกับประจำเดือนวันแรกของรอบถัดไป คือประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือนนับจากประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ไข่น่าจะตก แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นวันนั้นแน่เสมอไป อาจเป็นวันก่อนหน้าหรือวันอื่นถัดๆ ไป แต่ก็จะอยู่ในช่วงกลางระหว่างรอบเดือนสองรอบนั้น แนะนำให้มีเพศสัมพันธ์วันเว้นวันช่วงระหว่างที่คาดว่าจะมีการตกไข่

    Q : การรักษาภาวะมีบุตรยากมีวิธีการอะไรบ้าง?
         วิธีการเบื้องต้นอาจจะเป็นการนับวันไข่ตก การตรวจฮอร์โมนไข่ตก แล้วมีเพศสัมพันธ์กันเองตามธรรมชาติ บางครั้งอาจใช้ร่วมกับวิธีการทานยากระตุ้นไข่ การฉีดยากระตุ้นไข่ เพื่อให้ใข่มีจำนวนมากขึ้น นอกจากนั้น การใช้เทคโนโลยีการคัดเชื้อแล้วทำการฉีดเชื้อหรือเรียกอีกอย่างว่าการผสมเทียม คือการเอาเชื้อฝ่ายชายฉีดเข้าโพรงมดลูกฝ่ายหญิงในระยะเวลาที่เหมาะสม ก็เป็นอีกวิธีการใช้เทคโนโลยีในเบื้องต้นอันหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจต้องทำหลายครั้งกว่าจะสำเร็จ

         ส่วนการทำกิ๊ฟ คือการนำเอาไข่กับเชื้อผสมกันในท่อนำไข่ในช่องท้อง โดยต้องใช้การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ปัจจุบันอาจมีการทำน้อยลง เนื่องจากขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ซึ่งในปัจจุบันแพทย์ที่ทำการรักษาเรื่องมีบุตรยากมักจะหันมาใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว รวมทั้งวิธีทำ
    ICSI ในการทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์มากที่สุด การเลือกใช้วิธีไหน ขึ้นกับข้อบ่งชี้หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีมากประกอบในการตัดสินใจในการรักษาต่อไป

    Q : อยากทราบค่าใช้จ่ายในการรักษาสำหรับผู้มีบุตรยากคิดอย่างไร?
         ค่าใช้จ่ายในการรักษาขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยที่มี บางคนไม่มีภาวะผิดปกติอะไร อายุยังน้อยก็อาจใช้วิธีการนับวันไข่ตก ตรวจฮอร์โมนการตกไข่ก็อาจมีบุตรได้ บางคนมีโรคที่จำเป็นต้องผ่าตัดก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด หรือบางคนต้องรับยาซึ่งยาบางอย่างมีราคาแพง โดยเฉพาะยาฉีดกระตุ้นไข่ ส่วนการฉีดเชื้อผสมเทียมก็อาจมีค่าใช้จ่ายแต่ไม่แพงมากนัก สามารถทำได้หลายครั้ง

         ส่วนการทำเด็กหลอดแก้วก็ถือว่ามีการใช้ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่ทำการรักษา อาจเป็นหลักแสนขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่ทุกคนที่มีความจำเป็นในการทำเด็กหลอดแก้ว ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะมีบุตรยากก็ขึ้นอยู่กับภาวะของแต่ละคน


    Q : ทารกที่เกิดจากการรักษามีบุตรยากจะมีความสมบูรณ์หรือไม่?
         จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ที่ได้รวบรวมข้อมูลในการทำเด็กหลอดแก้วรวมทั้งการทำ ICSI พบว่า อัตราการเกิดความพิการในเด็กโดยทั่วไปไม่ได้แตกต่างกัน ยกเว้นความพิการอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์แฝด ซึ่งถ้าเอาตัวเลขของครรภ์แฝดที่เกิดจากการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติมาดูแล้วเทียบกัน ก็ไม่ต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ทำอาจไม่ต้องมีความกังวลมากนักในเรื่องความพิการในทารก อีกทั้งเทคโนโลยีการตรวจสารพันธุกรรม (PGD) ก่อนที่จะใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก ก็อาจช่วยในการคัดกรองเบื้องต้นในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้ความพิการในทารกหรือทารกที่มีกลุ่มอาการดาวน์ลดลงด้วย

    Q : อยากทราบวิธีทานยากระตุ้นไข่ทำอย่างไร?
         การทานยากระตุ้นไข่ ควรได้รับการแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก ไม่มีซื้อขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยทั่วไปจะให้กินยาเป็นเวลา 5 วันในช่วงที่มีประจำเดือน ยากระตุ้นไข่จะช่วยให้จำนวนไข่โตมากขึ้น หรือไข่ตกมากขึ้นนั่นเอง ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์มีมากยิ่งขึ้น บางครั้งอาจต้องใช้ยานี้ร่วมกับการฉีดเชื้อผสมเทียมได้

    Q : การกระตุ้นไข่บ่อย ๆ มีผลอะไรหรือไม่? เพราะรักษาด้านนี้มาหลายปีต่อเนื่องตลอด ตอนนี้รู้สึกเหมือนประจำเดือนผิดปกติ
         การกระตุ้นไข่ในแต่ละรอบเดือนจำเป็นต้องเว้นช่วงบ้าง เนื่องจากไข่ที่ถูกกระตุ้นหลายๆ รอบติดกัน อาจทำให้ปริมาณของฟองไข่ลดลง ระบบฮอร์โมนที่ควบคุมประจำเดือนอาจมีการแปรปรวนได้บ้าง การเว้นช่วงการกระตุ้นอาจช่วยให้ประจำเดือนกลับมาปกติได้ อย่างไรก็ตามประจำเดือนที่ผิดปกติอาจมาจากสาเหตุอื่น ดังนั้นควรได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อน


    Q : การวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อนคืออะไร? แล้วจำเป็นต้องทำทุกรายหรือไม่?
         การวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อน คือ วิธีการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมจากเซลล์บางส่วนของตัวอ่อน ทั้งในระดับยีน (gene) หรือระดับโครโมโซม (chromosome) เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีสารพันธุกรรมที่ปกติเท่านั้น มาย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง

    Q : หากต้องการได้บุตรที่แข็งแรง ปราศจากโรคที่เกิดจากโครมโมโซมที่ผิดปกติ สามารถทำได้หรือไม่ แล้ววิธีที่เหมาะสมคือวิธีใด?
         ปัจจุบัน มีกระบวนการวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว หรือ PGD (Preimplantation genetic diagnosis) ซึ่งเราสามารถตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน ก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้มั่นใจได้ว่าทารกจะมีโครโมโซมที่ปกติ โดยเทคนิคใหม่ที่แนะนำคือ เทคนิค CGH (Comparative Genomic Hybridization) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์โดยสามารถตรวจโครโมโซมได้ทั้ง 24 คู่ อีกทั้งยังมีความถูกต้อง และได้ผลสำเร็จที่ดีกว่าเทคนิคแบบเก่า (FISH: Fluoresence In Situ Hybridization)

    Q :
    หญิงอายุมากมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์บุตรที่ผิดปกติอย่างไรบ้าง แล้วมีวิธีการป้องกันหรือไม่?
         เนื่องจากหญิงที่อายุมากมีจำนวนฟองไข่ลดลง คุณภาพของไข่ลดลง มีการแบ่งตัวของโครโมโซมผิดปกติมากขึ้น จึงมีปัญหามีบุตรยาก มีภาวะแท้งสูงขึ้น อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมสูงขึ้น ได้แก่
    - ความผิดปกติของโครโมโซมชนิดโครงสร้าง เช่น
    Translocation, inversion
    - ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome)

         เนื่องจากความผิดปกตินี้พบได้ในทารก การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน (Preimplantation genetic diagnosis: PGD) จึงมีประโยชน์ในการคัดเลือกตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมปกติ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ และลดอัตราการแท้งบุตรได้อีกด้วย

    Q : หากลูคนแรกมีภาวะผิดปกติ และต้องการมีลูกคนที่สองอีก มีโอกาสหรือไม่ที่ลูกจะเกิดมาเป็นปกติได้ และหากฝ่ายหญิงอายุ 40 ปีแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง?
         แนะนำให้รีบมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก และการวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อน เพื่อประเมินและให้การรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที

    Q : สามีเป็นหมันต้องทำอย่างไร และอาหารประเภทไหนที่จะบำรุงเชื้อฝ่ายชาย?
         สามีที่เป็นหมันคือ ฝ่ายชายที่ไม่สามารถนำเอาเชื้ออสุจิออกมาได้ หรือไม่มีเชื้อเอาน้ำอสุจิออกมา ซึ่งจริง ๆ แล้วการตรวจเชื้อฝ่ายชายจะทราบว่ามีหรือไม่มีเชื้อ หรือว่ามีเชื้อแล้วผ่านเกณฑ์หรือเปล่า ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะเรียกว่าเชื้ออ่อน คนที่เชื้ออ่อน ก็อาจมีวิธีรักษาโดยการคัดเชื้อการฉีดเชื้อหรือการทำผสมเทียม หรือถ้าอ่อนมากอาจต้องทำ ICSI

         สำหรับอาหารที่บำรุงเชื้อฝ่ายชายไม่มีอะไรเป็นพิเศษ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การงดดื่มเหล้าสูบบุหรี่ หรืองดชากาแฟ ก็จะมีส่วนช่วยได้ รวมทั้งการได้รับประทานยาบางตัวจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจช่วยให้เชื้อแข็งแรงขึ้นมาบ้าง

    Q : เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อคโกแลตซีสท์ คืออะไร ทำให้มีบุตรยากหรือไม่?
         ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คือ การที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูกในช่องท้อง อาจสะสมตามรังไข่และปีกมดลูก ถ้าเป็นมากอาจทำให้เกิดเป็นช็อคโกแลตซีสท์ได้ ความสำคัญก็คือ การมีภาวะนี้จะทำให้โอกาสในการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น เพราะภาวะนี้อาจทำให้มีผังผืดเพิ่มขึ้นที่ปีกมดลูก หรือสารบางตัวจากภาวะนี้ไปทำลายไข่ หรือขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ผู้ที่มีภาวะนี้ ถ้าเป็นมากก็ควรทำการรักษาก่อนที่จะทำการรักษาให้มีบุตร อาจใช้ยาหรือการผ่าตัดแล้วแต่กรณี บางคนผ่าตัดไปแล้วก็สามารถมีลูกได้เองโดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยการมีบุตรเพิ่มเติม

    Q : การคัดเพศบุตรมีวิธีอย่างไร?
         การคัดเพศบุตรที่ได้ผลมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือการคัดเชื้ออสุจิแล้วทำการฉีดเชื้อผสมเทียม ซึ่งผลในการคัดไม่แน่นอนนักประมาณ 70% ส่วนอีกวิธีที่ได้ผล 100% คือต้องทำเด็กหลอดแก้วแล้วทำ PGD ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีนอกจากได้ผลแน่นอนแล้ว ก็ยังสามารถทำการคัดกรองความสมบูรณ์ของเด็กเบื้องต้นก่อนได้ด้วย เช่น คัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ เป็นต้น

    Q : เมื่อไหร่ถึงต้องอุ้มบุญหรือการใช้เชื้อหรือไข่บริจาค?
         ผู้ที่ต้องอุ้มบุญคือ ในกรณีที่มดลูกมีความผิดปกติหรือมีเนื้องอก หรือบางรายเยื่อบุโพรงมดลูกมีปัญหา ก็ต้องไปใช้มดลูกคนอื่นที่ปกติแทน ส่วนผู้ที่ต้องใช้เชื้อบริจาคก็คือ ผู้ชายทีเป็นหมันหรือไม่มีเชื้อหรือเชื้อน้อยมาก ซึ่งกรณีนี้อาจจะลองเจาะอัณฑะหรือท่อนำเชื้ออสุจิก่อนก็ได้ ถ้าพอมีเชื้อก็อาจทำ ICSI ได้ ส่วนกรณีที่ใช้ไข่บริจาคก็คือ ผู้ที่มีจำนวนไข่น้อยหลังจากกระตุ้นไข่แล้ว หรือได้ไข่ที่ไม่มีคุณภาพ ก็ต้องไปหาไข่ของผู้อื่น โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้เป็นญาติของผู้ที่ต้องการไข่เองมากกว่า เนื่องจากจะได้มีส่วนทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน

         มีลูกยาก สามารรักษาได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือในการรักษาจากคู่สมรส ส่วนการจะพิจารณาใช้วิธีรักษาแบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของคู่สมรสที่ตรวจพบ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลนครธน พร้อมให้การดูแลด้วยแพทย์ที่มีความชำนาญเพื่อผลลัพธ์ในการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับคู่แต่งงานทุกคน

    ขอบคุณข้อมูลจาก :
    https://www.nakornthon.com/Article/Detail/สารพันปัญหาการมีบุตรยากที่พบบ่อย


  9.      การผ่าตัดโรคทางนรีเวชในปัจจุบัน ง่ายและสะดวกขึ้นด้วยนวัตกรรมและแพทย์ผู้เชียวชาญ จากที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐาน แต่อาจทำให้มีแผลใหญ่ขนาด 8-10 เซนติเมตร ก็เล็กลงเหลือเพียง 0.5-1 ซม. ช่วยลดการบาดเจ็บ และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น จึงได้มีการนำวิธี “การผ่าตัดส่องกล้อง (MIS)” มาใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคทางนรีเวช

    1.jpg.dea899243b3c43a710420a0ac474e049.jpg

    การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
         การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อการวินิจฉัย และทำการผ่าตัดภายในช่องท้อง

         การผ่าตัดผ่านกล้องในโพรงมดลูก (
    Hysteroscopic Surgery) เป็นการใช้กล้องส่องดูความผิดปกติของโพรงมดลูกโดยผ่านทางปากมดลูกเพื่อการวินิจฉัย และการทำการผ่าตัด

    โรคทางนรีเวชที่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง มีดังนี้
    - เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (
    Myoma uteri)
    - เนื้องอกรังไข่ (Ovarian tumor)
    - ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian cyst)
    - ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst)
    - เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
    - พังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion)
    - ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)
    - ท่อนำไข่อุดตัน (Tubal obstruction)
    - ตรวจสาเหตุภาวะมีบุตรยาก (Infertility)
    - เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Polyp, myoma)
    - พังผืดในโพรงมดลูก (Uterine synechiae)
    - ผนังกั้นกลางในโพรงมดลูก (Septate uterus)
    - การทำหมันหญิง (Tubal Sterilization)
    - ห่วงอนามัยทะลุเข้าช่องท้อง (Perforated IUD)
    - การตัดมดลูกออกเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ (Hysterectomy)
    - มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก (Early stage of Cervical cancer)
    - มะเร็งรังไข่ในระยะต้น (Early stage of Ovarian cancer)
    - มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer)
    - เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งหรือช็อกโกแลตซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถผ่าตัดผ่านกล้องทางแผลผ่าตัดเล็กได้
    - เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (
    Myomectomy) ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อตัน สามารถผ่าตัดผ่านกล้องด้วยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษที่ตัดย่อยชิ้นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ เอาออกผ่านแผลเล็กๆ และสามารถเย็บปิดโดยผ่านกล้อง

         รวมทั้งกรณีที่มีข้อบ่งชี้ในการตัดมดลูก (
    Hysterectomy ) การผ่าตัดผ่านกล้องมีวิธีให้เลือก เช่น ตัดมดลูกออกโดยเหลือปากมดลูกไว้ ตัวมดลูกจะเอาออกโดยเครื่องตัดย่อยชิ้นเนื้อ หรือการตัดมดลูกออกพร้อมปากมดลูกโดยเอาออกทางช่องคลอด เย็บปิดโดยผ่านกล้อง

    ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

    - แผลผ่าตัดเล็ก ขนาดประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ประมาณ 3-4 แผล
    - เจ็บแผลน้อยมาก เนื่องจากความบอบช้ำจากการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
    - พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง
    1-2 วัน
    - ฟื้นตัวไว สามารถกลับไปทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้ภายใน
    5-10 วัน
    - ลดโอกาสเกิดพังผืดจากการผ่าตัด
    - ลดความเสี่ยงของอาการแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัด เช่น แผลอักเสบ แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง เป็นต้น

         การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช เป็นอีกหนึ่งในการรักษาโรคอวัยวะอุ้งเชิงกรานในสตรี ลดการเจ็บปวด ใช้เวลาพักฟื้นน้อย กลับบ้านได้เร็วขึ้น สามารถทำกิจกรรมเบาๆ ได้ภายใน
    3-5 วันหลังการผ่าตัด แต่การออกกำลังกายควรรอให้ผ่านการผ่าตัดไปแล้ว 1 เดือนก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าสภาพร่างกายกลับมาสมบูรณ์ทั้งภายในและภายนอก

    ขอบคุณข้อมูลจาก :
    https://www.nakornthon.com/Article/Detail/ให้เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็กด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช-mis-3d


  10.      ด้วยสภาวะสังคมและเศรษฐกิจทำให้สมัยนี้คนมักจะแต่งงานช้า บางคู่แต่งงานกันเร็วแต่กลับมีลูกช้า ปัจจุบัน ผู้หญิงยุคใหม่แต่งงานช้าลง โดยเฉลี่ยที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ถึงจะแต่งงาน ส่วนมากทุ่มเทกับงาน การเที่ยว และการใช้ชีวิตอย่างอิสระ ห่วงแหนความโสด รอสร้างอนาคตครอบครัวกับคนที่ใช่ในวันข้างหน้า แต่ด้วยเวลาที่ผ่านไป ความเสื่อมของร่างกายก็มากขึ้นทำให้โอกาสในการมีลูกก็ยากเช่นกัน ผู้หญิงที่เลยวัย 35 ปีไปแล้ว หากมีลูกอาจทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะมีภาวดาวน์ซินโดรตามมาได้ ดังนั้นวงเวลาทองที่เหมาะสมจะมีลูกคืออายุ 20-30 ปี ทำให้ผู้หญิงยุคใหม่จึงหันมาสนใจในเรื่องฝากไข่และแช่แข็งไข่เพิ่มมากขึ้น

         วันนี้เรามีข้อมูลความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการแช่แข็งเซลล์ไข่ รวมถึงขั้นตอนการเก็บและการตรวจร่างกายก่อนฝากเซลล์ไข่ จากนพ. องอาจ บวรสกุลวงศ์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลนครธน มาฝากกันค่ะ

    1.jpg.c972f95cca7347c84f6e75ca2534df73.jpg

    การแช่แข็งเซลล์ไข่ (Oocyte freezing) คืออะไร
         การแช่แข็งเซลล์ไข่ (Oocyte freezing) คือ การที่ผู้หญิงเก็บเซลล์สืบพันธุ์หรือที่เรียกว่า “ไข่” ที่ได้จากกระตุ้น เก็บออกมาภายนอกร่างกายและนำมาแช่แข็งเอาไว้ในอุณหภูมิที่เย็นจัด -196 องศาเซลเซียส จำนวนไข่ที่เก็บได้ ขึ้นกับปริมาณรังไข่สำรองอยู่ในผู้หญิงของแต่ละคน โดยเฉลี่ยประมาณ 10-15 ใบ แต่สำหรับผู้หญิงที่มีจำนวนไข่มาก อาจเก็บได้มากถึง 20-30 ใบได้ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน แต่หากประสบกับภาวะรังไข่เสื่อมอายุ อาจเก็บไข่ได้เพียง 3-5 ใบเท่านั้น ซึ่งโอกาสประสบความสำเร็จจากการต้องการในอนาคต ขึ้นกับจำนวนฟองไข่ที่เก็บได้

    ขั้นตอนการเก็บเซลล์ไข่มาแช่แข็ง
         ขั้นตอนของการแช่แข็งไข่ ใช้กระบวนการเดียวกันกับการกระตุ้นไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว โดยผู้ที่ต้องการฝากเซลล์ไข่ จะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายและตรวจเลือด หากไม่พบปัญหาใด จึงจะสามารถดำเนินการกระตุ้นไข่ต่อไปได้ เมื่อถึงขั้นตอนเก็บไข่ออกมาภายนอกร่างกาย โดยดูดผ่านทางช่องคลอดคัดเอาไข่ที่มีความสมบูรณ์ เพื่อเก็บรักษาไว้ในน้ำยาเลี้ยงและแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว ในห้องปฏิบัติการณ์ที่มีอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไปจนกว่าจะถึงเวลาละลายออกมาใช้งานในอนาคต

    การตรวจร่างกายก่อนฝากเซลล์ไข่

    1.ตรวจเลือด
    2.ตรวจโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส เป็นต้น
    3.ตรวจโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย
    4.เตรียมตัวกระตุ้นไข่ โดยใช้ยาฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่จำนวนมาก และทำการเก็บไข่หลังจากฉีดยากระตุ้นไปประมาณ 8-12 วัน

    การแช่แข็งไข่เหมาะกับใคร
    1.ผู้หญิงที่ยังไม่วางแผนที่จะมีลูก โดยเฉพาะเมื่ออายุใกล้ 35 ปี
    2.ผู้ป่วยที่กำลังจะได้รับยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง ที่กระทบต่อจำนวนและคุณภาพเซลล์ไข่
    3.ผู้ที่มีความผิดปกติของโครโมโซมที่อาจทำให้ประจำเดือนหมดเร็วกว่าปกติ หรือมีประวัติประจำเดือนหมดเร็วในครอบครัว
    4.ผู้ที่ต้องผ่าตัดรังไข่ เช่น ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ช็อคโกแลตซีสต์

    อายุเท่าไรควรมาแช่แข็งและฝากเซลล์ไข่
         สามารถทำได้ทุกช่วงอายุ โดยพบว่าเมื่อทำการแช่แข็งไข่ เมื่ออายุน้อยกว่า
    35 ปี จะทำให้ได้จำนวนไข่และคุณภาพสูง หากอายุมากขึ้นเท่าไร อัตราการความสำเร็จของการมีบุตรจากการแช่แข็งไข่ จะลดน้อยลง และอาจจำเป็นต้องได้จำนวนไข่มากขึ้น เนื่องจากคุณภาพที่ได้ก็จะลดลงด้วย โดยจำนวนไข่ที่แนะนำให้แช่แข็งขึ้นกับอายุของผู้หญิง ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12-15 ใบ

    ประสิทธิภาพของการเก็บรักษาเซลล์ไข่
         การแช่แข็งไข่เปรียบเสมือนกับการหยุดอายุไข่ไว้เท่าอายุตอนที่เก็บไข่ ไม่ให้มากขึ้นไปตามอายุจริง ยิ่งอายุน้อยโอกาสสำเร็จยิ่งสูง โดยเฉลี่ยหลังละลายสามารถนำไข่มาใช้ได้
    80-90% ซึ่งอายุของผู้หญิง ณ วันที่แช่เข็งไข่เป็นตัวแปรสำคัญในการบอกโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์

    สามารถเก็บแช่แข็งเซลล์ไข่ ไว้ใช้ได้นานเพียงไร
         ตามหลักการ สามารถแช่แข็งไข่ไว้ได้นาน ตราบเท่าที่ยังมีสารรักษาความเย็นที่เพียงพอ ปัจจุบันข้อมูลที่เก็บแช่ไข่ไว้นาน
    14 ปี เมื่อนำมาใช้ก็ประสบผลสำเร็จดี โดยทั่ว ๆ ไปแนะนำให้ใช้ไข่แช่แข็งเพื่อตั้งครรภ์ก่อนอายุ 40-45 ปี เนื่องจากอายุเกินกว่านี้ตั้งครรภ์อาจพบภาวะแทรกซ้อนมาก

    ผลข้างเคียงของการรักษาไข่
         ผลข้างเคียงที่อาจพบได้เกิดจากการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ ไม่ต่างกับการทำเด็กหลอดแก้ว ได้แก่ อาจเกิดภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป (
    Ovarian Hyperstimulation Syndrome) หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากการเก็บไข่ ซึ่งโอกาสเกิดผลข้างเคียงนั้นมีน้อย ในขณะที่ความผิดปกติของเด็ก ในแง่ของโครโมโซมหรือความพิการแต่กำเนิดไม่ต่างจากการตั้งครรภ์ธรรมชาติ

    Did you Know
         การแช่แข็งไข่ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การแช่แข็งแบบ Vitrification อายุที่เหมาะสมต่อการฝากไข่ คือ 28-37 ปี เพราะอายุที่มากกว่านี้ปริมาณและคุณภาพไข่จะลดลง ค่าใช้จ่ายในการฝากเก็บเซลล์ไข่เทียบเท่ากับการทำเด็กหลอดแก้วและยังมีค่าฝากรายปี โดยปกติต้องใช้ไข่ประมาณ 12-15 ใบ เพื่อจะให้ได้ลูก 1 คน

         ดังนั้น การกระตุ้นไข่ 1ครั้ง อาจได้ไข่ไม่เพียงพอเซลล์ไข่ที่ถูกแช่แข็ง เปลือกไข่จะหนาและแข็ง จึงจำเป็นต้องใช้วิธี “อิ๊กซี่” (ICSI) ช่วยปฏิสนธิ โดยวิธีนี้คือการเอาเซลล์อสุจิ 1 ตัว ใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ (อสุจิ 1 ตัวต่อเซลล์ไข่ 1ใบ) ตามกฎหมายไทย การฝากไข่ไม่จำเป็นต้องใช้ทะเบียนสมรส แต่หากจะนำมาใช้ปฏิสนธิจำเป็นต้องใช้ทะเบียนสมรส

         การวางแผนการมีลูกนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหากวางแผนมีลูกตั้งแต่อายุยังน้อย โอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็จะมีมาก โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มาก คือในช่วงอายุตั้งแต่ 20-30 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายมีความสมบูรณ์เต็มที่ และหากตั้งครรภ์ในช่วงนี้ เด็กส่วนมากจะมีความสมบูรณ์และมี โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้น้อยมาก แม้วิธีการแช่แข็งไข่จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับคนที่พร้อมมีลูกในวัยที่เลย 35 ไปแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและพร้อมเสมอก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกัน

    ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลนครธน : https://www.nakornthon.com/article/detail/แช่แข็งไข่-อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนอยากมีลูก


  11.      นิ่วในถุงน้ำดี (Gall stone) เกิดจากการตกผลึกของหินปูนคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน ที่มีอยู่ในน้ำดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกผลึกของสารเหล่านี้เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็ก ๆ หลาย ๆ ก้อนก็ได้ ซึ่งในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อยที่สุด แต่เชื่อว่าหลายคนคงยังไม่รู้ว่าโรคนิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากอะไร มีความอันตรายมากน้อยแค่ไหน แล้ววิธีการตรวจวินิจฉัยและรักษาทำได้อย่างไร ไปหาคำตอบกันได้เลย

    1.jpg.b62c9acf851f69c66cbfe083e1dc4b91.jpg

    ชนิดของนิ่วในถุงน้ำดี ?
         1.ชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (Cholesterol stones) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยประมาณ 80% ของนิ่วในถุงน้ำดีทั้งหมด มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในน้ำดี หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อในถุงน้ำดีมีสมรรถภาพไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถบีบสารออกได้หมด
        
    2.ชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน (Pigment stones) ก้อนนิ่วชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าและมีสีคล้ำกว่าชนิดที่ เกิดจากคอเลสเตอรอล มักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางจากการขาดเอนไซม์ G6PD

    อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี
         อาการของนิ่วในถุงน้ำดีนั้น โดยส่วนใหญ่ ช่วงแรกอาการจะมีเพียงเล็กน้อย เช่น ปวดจุกแน่นท้อง ใต้ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่ ท้องอืด อิ่มง่าย โดยเฉพาะกินอาหารมัน ๆ หลังอาหารมื้อใหญ่ เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้นหรือมีการอักเสบของถุงน้ำดี จะมีอาการปวดท้องมาก มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม

    การตรวจวินิจฉัยและการรักษา
         การตรวจวินิจฉัยโรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถทำได้โดยการทำอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเพื่อตรวจดูว่านิ่วในถุงน้ำดีหรือไม่ ซึ่งทำได้ง่าย ไม่เจ็บ ใช้เวลาไม่นาน และทราบผลได้ทันที

    ส่วนการรักษา วิธีได้ผลดีที่สุดนั่นคือ การผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบัน มี
    2 วิธี ได้แก่
         1.การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เป็นการผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน เหมาะกับการรักษานิ่วในถุงน้ำดีที่มีการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง
        
    2.การผ่าตัดผ่านกล้อง เป็นการผ่าตัดแบบเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง มีข้อดีคือ แผลเล็ก เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว แต่ถ้าผู้ป่วยป่วยที่มีอาการถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเกิน 3 วัน โอกาสที่จะรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องสำเร็จจะลดลง

         โรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถป้องกันได้ด้วยการลดอาหารที่มีไขมัน และการออกกำลังกายเป็นประจำ สำหรับคนที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีบางคนอาจปวดรุนแรงจนเหงื่อออก เป็นลม อาการปวดท้องมักเป็นหลังกินอาหารมันหรือกินอาหารมื้อหนัก บางคนอาจมีอาการดีซ่าน เกิดขึ้นตามหลังอาการปวดท้อง การตรวจร่างกายมักไม่พบสิ่งผิดปกติ มักไม่มีไข้ บางครั้งอาจตรวจพบอาการกดเจ็บเล็กน้อยบริเวณใต้ลิ้นปี่และได้ชายโครงขวา ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี แม้จะไม่แสดงอาการ อาจตรวจพบตอนไปตรวจรักษาโรคอื่น แพทย์จะแนะนำให้รับการผ่าตัด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจมีการอักเสบและมีโรคแทรกซ้อนตามมาก็ได้ ฉะนั้นควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกายอยู่เสมอ ๆ หากรู้ก่อนจะช่วยป้องกันและรักษาได้อย่างทันท่วงที

    ขอบคุณข้อมูลจาก :
    https://www.nakornthon.com/Article/Detail/นิ่วในถุงน้ำดี-อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม


  12. 1.jpg.2979a6a06d5ea022f79cfad715883c94.jpg

         ปัญหาสุขภาพภายในช่องท้อง บอกถึงอาการและความผิดปกติของโรคต่างๆ การตรวจสุขภาพ ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี บางท่านอาจยังไม่เคยตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง จึงไม่สามารถทราบถึงสุขภาพภายในช่องท้องนั้นได้ เพราะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากรู้เร็วก็สามารถเตรียมความพร้อมและวางแผนการรักษาได้ก่อนที่โรคร้ายจะลุกลาม

    สุขภาพดีเริ่มได้...ที่ตัวคุณ
    อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง...บอกความผิดปกติของโรคใดได้บ้าง

         ปัจจุบันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารและตับเพิ่มมากขึ้นทั้งทางกายภาพ เช่น อาหาร อากาศ วิถีการดำเนินชีวิต และการถ่ายถอดทางพันธุกรรมที่กำลังเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม โรคเกี่ยวกับหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ลำไส้,  ตับ, ทางเดินน้ำดี และมะเร็งระบบทางเดินอาหารต่างๆ

         การตรวจอวัยวะภายในช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (
    Ultrasound Abdomen) เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นความถี่สูง เพื่อประเมินโครงสร้างของอวัยวะในช่องท้อง ด้วยการเคลื่อนหัวตรวจไปตามผิวหน้าท้อง โดยคลื่นเสียงจะแปรผลในลักษณะภาพไปยังจอมอนิเตอร์ เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคต่างๆ

    การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน (
    Upper Abdomen Ultrasound) บอกความผิดปกติของโรคใดได้บ้าง
    - หาความผิดปกติของถุงน้ำดี ตรวจหานิ่ว ถุงน้ำดีอักเสบ มะเร็งถุงน้ำดี เนื้องอกถุงน้ำดี
    - หาความผิดปกติของตับ
    - หาความผิดปกติของตับอ่อน
    - หาความผิดปกติของม้าม
    - หาความผิดปกติของไต ตรวจหานิ่วในเนื้อไต และท่อไต

    การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (
    Lower  Abdomen Ultrasound) บอกความผิดปกติของโรคใดได้บ้าง
    - หาความผิดปกติของ มดลูก, ต่อมลูกหมาก ตรวจหาเนื้องอกในมดลูกและ รังไข่ ก้อนเนื้อในอุ้งเชิงกราน
    - หาความผิดปกติของไส้ติ่ง
    - ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ
    - ดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลือง

    รู้เร็ว วางแผนการรักษาได้ทัน ก่อนที่โรคจะลุกลาม

    ใครบ้างที่ควรตรวจ?
    - ชาย/ หญิง อายุ 50 ปี ขึ้นไป
    - ผู้ที่มีความผิดปกติ อาหารไม่ย่อย ท้องอืด จุกเสียด
    - ผู้ที่มีความผิดปกติระบบขับถ่าย
    - ผู้ที่เคยตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี แต่ไม่เคยตรวจอัลตร้าซาวด์

         ทั้งนี้ระบบทางเดินอาหารและตับ มีการทำงานที่ซับซ้อน จึงต้องการการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ (
    Gastrointestinal&Liver Center) โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมด้วยทีมอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์ และแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเคมีบำบัด -พร้อมให้บริการตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารและตับทั้งระบบ ได้แก่ โรคเกี่ยวกับหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ลำไส้,  ตับ, ทางเดินน้ำดี และรักษามะเร็งระบบทางเดินอาหาร

         เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ควรหมั่นดูแลตรวจเช็คสุขภาพร่างกายของท่านอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติภายในร่างกายอย่านิ่งนอนใจ ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรับมือได้ทันท่วงที และสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดก่อนที่โรคร้ายนั้นจะลุกลาม

    ขอบคุณข้อมูลจาก
    https://www.nonthavej.co.th/Abdominal-Ultrasound.php
    ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ (Gastrointestinal&Liver Center) โรงพยาบาลนนทเวช โทร 0-2596-7888

×
×
  • สร้างใหม่...