ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
little devil

คุณแพ้ทองหุ้มรึเปล่า

โพสต์แนะนำ

คุณแพ้ทองหุ้มรึเปล่า

 

เขียนโดย kumponys

วันเสาร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

goldplate.jpg

 

สาวๆทั้งหลาย คงเคยประสบปัญหา การใส่ต่างหูแล้วเกิดอาการแพ้ คัน บวม อักเสบ กันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย บางรายแพ้แต่อยากสวย จำต้องทนกับการใส่มัน เพื่อให้อินเทรนด์ หรือ บางรายไม่อยากทน ก็หนีไปเล่นของแท้ หรือไม่ก็ไม่ใส่มันซะเลย

 

ผมขายทองหุ้มประเภทต่างหู จี้ มาก็หลายปี สำหรับลูกค้าทุนน้อย หรือบางคนเบื่อง่ายชอบเปลี่ยนบ่อย สมัยก่อนลูกค้าบางรายใส่แล้วเกิดอาการคัน บางรายก็ไม่เป็น หรือ เป็นบ้างนิดหน่อย แต่ ปัจจุบัน ยุคทองแพงระดับเงินหมื่นแล้ว ไฉนทองหุ้ม ที่ราคาแพงขยับขึ้นไปตาม แต่คุณภาพดันสวนทางกัน ลูกค้าบ่นกันมากขึ้น จะว่าลูกค้าผิวบางลงคงไม่ใช่ บางคนสมัยก่อนก็ไม่เห็นแพ้แต่เดี๋ยวนี้กลับแพ้ สอบถามผู้ผลิต ก็ยืนยันว่า คุณภาพคับแก้วเหมือนเดิม ลูกค้าคิดมากไปเอง (รึเปล่า)

ไม่เป็นไร สำหรับเมืองไทยแล้ว ผมว่าการผลิตคงยังไม่มีมาตรฐาน คงจะหวังพึ่งอะไรไม่ได้ เรามาหาสาเหตุกันดีกว่า

ปกติอาการแพ้โลหะ สามารถเกิดขึ้นได้กับโลหะหลายชนิด เท่าที่ทราบ น่าจะมีเพียง ทอง 99.99% กับ เสตนเลสชนิดที่ผลิตเพื่อใช้ในวงการศัลยกรรม ที่ไม่น่าจะมีคนแพ้เลย แต่ตัวการสำคัญที่ตกเป็นจำเลยของพวกเรางานนี้ ขอยกให้ นิกเกิลเป็นพระเอกครับ มีประชากรถึงประมาณ 10-20% พบว่ามีการแพ้เจ้านิกเกิลตัวนี้

 

nickel3.jpg

 

อาการแพ้ มักเกิดโดยที่จะต้องเคยสัมผัสถูกสารแพ้มาอย่างน้อยครั้งหนึ่งก่อน แล้วร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา เมื่อสัมผัสซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ก็ทำให้เกิดอาการแพ้ การสัมผัส ครั้งแรกกับครั้งหลัง อาจห่างกันเป็นวัน ๆ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ โลหะที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย เช่น นิกเกิล โครเมียม โคบอลด์ เงิน ปรอท

 

เรามาทำความรู้จักเจ้านิกเกิลสักเล็กน้อยก่อนครับ กว่า 65% ของการใช้นิกเกิลในโลกตะวันตกนั้นเป็นการใช้ทำสเตนเลสสตีล ,12% ใช้ในการทำซูเปอร์อัลลอยด์ อีก 23%เป็นการใช้ทำโลหะอัลลอยด์ ถ่านชาร์จ ทำเหรียญ ชุบโลหะ ประเทศที่บริโภคนิเกิลมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น ซึ่งใช้ 169,600 ตันต่อปี(ข้อมูลปี 2005)

ในวงการเครื่องประดับ นิกเกิลจะถูกใช้ชุบรองพื้นก่อนนำชิ้นงานไปชุบหรือเคลือบด้วยทอง เงิน หรือ ทองขาว(โรเดียม) เพื่อทำต่างหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ นาฬิกาข้อมือ แหวน และจี้ เพราะความที่มันเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทำให้ประหยัดน้ำยาชุบได้มาก ชิ้นงานสวยโดยไม่ต้องชุบหนา จริงๆ ผมได้ยินมาตั้งนานแล้วว่า เค้าเลิกใช้นิกเกิลแล้ว (จากคำบอกเล่าของผู้ผลิต) แต่จะให้เชื่อได้ยังไง ในเมื่อยังมีคนแพ้อยู่มาก ยิ่งปัจจุบันทองแพงขนาดนี้ ชุบบางได้เท่าไหร่ ยิ่งประหยัดต้นทุนเท่านั้น จริงไหม ท่านผู้ชม

 

ประเทศต่างๆในยุโรปและอเมริกากำลังตื่นกลัวต่อพิษภัยของนิกเกิลที่อยู่ในเครื่องประดับ โดยกำหนดมาตรฐานของนิกเกิลในเครื่องประดับ (Offiicial Journal of the European Communities:L 188) ไว้ดังนี้

1. เครื่องประดับที่มีก้านแทงสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น ก้านต่างหู กำหนดให้มีนิกเกิลได้ไม่เกินร้อยละ 0.05 โดยน้ำหนัก

2. เครื่องประดับที่สัมผัสกับบริเวณผิวหนังส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ นาฬิกาข้อมือ แหวน ต่างหู กระดุม ซิป เครื่องหมาย กำหนดให้มีปริมาณนิกเกิลที่ละลายออกมาไม่เกิน 0.5 ไมโครกรัมต่อพื้นที่ผิว 1 ตารางเซนติเมตร ใน 1 สัปดาห์ (0.5ug/cm2/week)

จากเอกสารทางวิชาการได้ระบุถึงพิษภัยของนิกเกิลโดยเฉพาะก้านต่างหู ที่ชุบ หรือ เคลือบด้วยนิกเกิลในปริมาณที่มากเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดว่า

จะทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้น คือเมื่อแทงก้านต่างหูเข้าที่ใบหูแล้วเกิดแผล ร่างกายจะสร้างกลไกในการขับของเหลวจำพวกพลาสมา (plasma) และ แอนติบอดี (antibody) มายังบริเวณดังกล่าว เพื่อกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่ติดมากับก้านต่างหู และซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่ถูกทำลายนี้

ในพลาสมาและในแอนติบอดีมีสารประกอบของไนโตรเจน ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับนิเกิลที่เคลือบบนก้านต่างหู ทำให้นิกเกิลละลายออกมาและเข้าสู่เซลล์ของร่างกายบริเวณนั้น ทำให้ระบบสร้างภูมิคุ้มกันถูกทำลาย มีผลทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดอาการบวม อักเสบ เกิดผื่นคัน เป็นแผลพุพอง เน่าเปื่อย ในบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อรุกลามถึงแก่ชีวิตได้

นอกจากนี้นิกเกิลยังสามารถละลายได้ด้วยเหงื่อและซึมสู่ร่างกายของคนเราได้ทางผิวหนัง

เดี๋ยวนี้เมื่องนอกตื่นตัวกับเครื่องประดับประเภท Nickel-Free เมืองไทยเองก็มีโรงงานที่ทำตามมาตรฐานยุโรป ส่งไปขายเช่นกัน และคิดว่า ไม่น่าจะมีขายอยู่เมืองไทย เพราะเท่าที่ทราบคือแพงใกล้เคียงของแท้เลย คนไทยเจอราคาแบบนี้ ไม่ต้องถามครับ คงหนีไปใช้ของแท้แน่นอน

 

รวบรวมข้อมูลจาก:

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5

http://www.simplywhispers.com/htdocs/html/News/safeearrings.html

http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/cp_5_2544_nickel.pdf อันตรายของนิกเกิลที่ถูกมองข้าม โดย วนิดา ชุลิกาวิทย์ และ ปัทมา นพรัตน์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...