ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
little devil

เศรษฐกิจโลกอยู่ที่จุดต่ำสุดหรือยัง

โพสต์แนะนำ

เศรษฐกิจโลกอยู่ที่จุดต่ำสุดหรือยัง

 

เขียนโดย kumponys

วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑

 

B) B) B)

 

ราคาทองคำจะไปทางไหน ดูจะโยงใยกับเศรษฐกิจโลกอย่างไม่สามารถแยกได้ ผมไปอ่าน

ทัศนะของคุณ David Skarica นักเขียนจาก addictedtoprofits.net ให้มุมมองตลาดโลกที่น่าสนใจดี เลยแปลบางส่วน (เพราะมันยาวจัด) มาฝากครับ ได้มุมมองกูรูนอกอีกสักท่านไว้ปลอบใจ น่าจะทำให้คนถือทองยาวๆ อุ่นใจได้บ้าง

 

The Gold Report: เราถึงจุดต่ำสุดรึยัง?

 

David Skarica: ผมได้ศึกษาความแตกตื่น (panic) ที่เกิดขึ้นในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา และค้นพบว่ามีรูปแบบการขายที่คล้ายคลึงกัน เมื่อเราพบกับจุดต่ำสุดที่แท้จริง ความแตกตื่นอย่างที่เราเห็นในเดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นไปตามแบบฉบับที่ตามด้วยการแรลลี่พุ่งดีดกลับขึ้นมาอย่างที่เรามีในเวลานี้ ซึ่งการแรลลี่ขึ้น จะดึงตลาดขึ้นมา 20-30% จากจุดต่ำสุด และจะกินเวลาประมาณ 1 เดือนและจากนั้นคุณจะเห็นการกลับไปทดสอบจุดต่ำสุดอีกครั้ง มันอาจจะไม่ได้กลับมาทดสอบทั้งหมด แต่อาจมีการวิ่งขึ้นเกิดซ้ำ 1 ครั้งในช่วง 1 - 2 เดือน ตัวอย่างเช่น ในปี 87 และปี 74, หลังการลดลงครั้งใหญ่ 30% หรือ 35% คุณได้เห็นการแรลลี่วิ่งขึ้นเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน (คงหมายถึงปีที่แล้ว) แล้วลดลงสู่เดือนตุลาคม (ที่ผ่านมา) และตลาดยืนได้ จุดต่ำสุดเริ่มต้น และตลาดกระทิงจะเริ่มทำงานไปอีก 2-3 ปี

 

เมื่อการแรลลี่เริ่มต้นเล่นออกมา จุดสำคัญคือจับตาดูการถอยกลับลงมาในเดือนธันวาคม ซึ่งนั่นควรจะเป็น "จุดต่ำสุด" คุณจะรู้ว่ามันเป็นจุดต่ำสุดเพราะคุณจะเห็น non-confirmation (อาจหมายถึงสัญญาณทางเทคนิคที่ไม่ยืนยันจุดต่ำสุด) คุณจะไม่ได้เห็นการทำ new low หลายๆครั้ง; ดัชนีวัดความกลัวอย่าง VIX (Chicago Board Options Exchange Volatility Index) จะไม่ชนกับระดับสุดๆอย่างนั้น อุตสาหกรรมจำนวนมากจะนำพวกเราลงมา อย่างเช่นธนาคารหรือสายการบิน จะยืนได้เหนือจุดต่ำสุดของพวกมัน นั่นจะเป็นจุดต่ำสุด อย่างกรณีแย่ๆอย่างที่เกิดในปี 1929 หรือ 2001 เมื่อคุณได้เจอกับการเทขายครั้งใหญ่ จะมีการแรลลี่ขึ้นมาได้ 4 - 6 เดือนก่อนที่ตลาดจะกลับตัวลงอีก และพบกับจุดต่ำสุด ถ้าตลาดยังคงแรลลี่ขึ้นจนถึงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ นั่นจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเอามากๆ ผมต้องการเห็นการกลับมาทดสอบ (retest) สิ่งหนึ่งที่เป็นบวกคือเราได้เห็นการกลับมาทดสอบแล้วในปลายเดือนตุลาคม และตอนนี้เรากำลังเห็นการแรลลี่ครั้งที่ 2 ในปี 2001 ไม่เกิดการ retest ตลาดถูกเทขายอย่างหนัก 3-4 วันหลังกรณี 9/11 แล้วหลังจากนั้นก็แรลลี่ขึ้นมาตลอด

 

หุ้นทองคำอยู่ในระดับต่ำสุดตลอดกาลในเทอมของ P/E (?? ใบ้กิน ไม่รู้อะไร) และราคาของมันมีความสัมพันธ์กับราคาทองคำ ดอลล่าร์ขึ้นมาได้ในช่วงที่กำลังคลายอิทธิพลแต่ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ดอลล่าร์จะต้องกลับลงมา ถ้าคุณดูที่เงินสกุลที่ถูกฆ่า - ดอลล่าร์แคนาดา และ ดอลล่าร์ออสเตรเลีย - โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศพวกนี้ยังคงแข็งแกร่ง พวกเขาไม่ได้ทำงบขาดดุลมหาศาล แคนาดามีงบขาดดุลแค่ไม่กี่เปอร์เซนต์ของ GDP ไม่เหมือนกับสหรัฐ ที่มีงบขาดดุลปาไปเกือบ 10% ของ GDP ธนาคารของแคนาดายังคงดี ไม่มีแห่งไหนต้องการความช่วยเหลือเลย

 

The Gold Report: ธนาคารยุโรป และธนาคารญี่ปุ่นก็กำลังเข้าช่วยเหลือระบบธนาคารของเขาเหมือนกัน ทำไมเงินสกุลของสหรัฐถึงยังแย่เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น?

 

David Skarica: ผมไม่คิดว่าดอลล่าร์จะแพ้ในระยะสั้น เพราะยุโรปที่ไม่ใช่แค่ยูโร แต่หมายถึงประเทศในยุโรป มีสัดส่วนการคำนวณใน USD index ราว 70% ประเทศพวกนี้ก็มีปัญหาเหมือนกัน Milton Friedman (ใครหว่า?) กล่าวว่า เขาไม่เคยคิดว่า ยูโรจะอยู่รอดได้ในภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจรุนแรงครั้งแรก เพราะความไม่ลงรอยกันระหว่างประเทศที่ใช้เงินยูโร คุณจะทำยังไงให้ประเทศอย่างอังกฤษ อิตาลี เยอรมัน และฝรั่งเศส เห็นด้วยกับอะไรสักอย่าง ดอลล่าร์แรลลี่ขึ้นมาได้เพราะผู้คนเชื่อว่า อย่างน้อยที่สุดสหรัฐยังมีนโยบายเดียว ผมไม่คิดว่าคุณจะได้เห็นดอลล่าร์พังทลายลงได้ในระยะสั้น ยกเว้นว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสมบูรณ์แบบทั่วโลก และผมคิดว่าไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ผมเชื่ออย่างมากว่าส่วนที่เหลือของโลกจะไม่วางใจในระบบการเงินสหรัฐ

 

แพคเกจจากวอลล์สตรีททั้งหมดเป็นสิ่งหลอกลวงและถูกขายให้กับทุกๆคน พวกเขาโง่และละโมบในการซื้อและถูกหลอก ดังนั้นธนาคารในเอเชียจะไม่มีการซื้อพันธบัตรของแฟนนี่เมและเฟดดีแมคอีก พวกเขาจะแสดงความไม่พอใจและไปลงทุนในจีน อินเดีย และตลาดเกิดใหม่แทน เงินทุนจะไหลออกไปจากสหรัฐ หลังการล่มสลายในปี 1929 ศูนย์กลางการเงินโลกย้ายจากอังกฤษไปยังอเมริกา การล่มสลายในครั้งนี้จะย้ายศูนย์กลางทางการเงินจากวอลล์สตรีทไปยังสิงคโปร์, ดูไบ, มุมไบ และบอมเบย์ ธนาคารญี่ปุ่นก็แข็งแกร่งใช้ได้ในตอนนี้ และยังมีธนาคารอีกมากในเอเชีย พวกเขาอยู่ในกลุ่มที่มีคดีความเพราะพวกเขาครอบครองสินทรัพย์ที่เป็นพิษเหล่านี้อยู่ แต่คุณก็จะไม่เห็นการเข้าอุ้มขนานใหญ่ที่นั่น รวมทั้งที่ออสเตรเลีย

 

จะมีความเติบโตต่อเนื่องในตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ในสหรัฐ คนที่เกิดช่วงหลังสงครามโลกกำลังถึงเวลาปลดเกษียณ ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราพูดถึงซัพพลายที่ท่วมหัวและนั่นคือเมื่อหุ้นขึ้นไปสูงแล้วกลับลงมาต่ำ ปัญหาเกิดเมื่อผู้คนที่ซื้อในระดับราคาที่สูงจะขายออกมาทุกครั้งที่เกิดการแรลลี่ขึ้นเพื่อตัดการขาดทุน คนยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังปลดเกษียณ ดังนั้นจึงขายทุกครั้งที่ราคาขึ้น ในทศวรรษปี 1970 และ 1980 พวกเขายังอายุแค่ 30-40 ปี ดังนั้น พวกเขาได้ซื้อหุ้นไว้ 10 ปีถัดมาพวกเขาจะเป็นผู้ขาย

 

The Gold Report: แล้วรุ่นต่อมาล่ะ? พวกเขากำลังจะจบออกมาจากสถาบันการศึกษา และกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กำลังศึกษาอยู่

 

David Skarica: พวกเขากำลังออกมา แต่ยังไม่ถึงจุดที่พวกเขาจะสร้างผลตอบแทนสูงสุดจนกว่าจะอายุรุ่น 40 ถึง 50 ปี

 

The Gold Report: ใช่

 

David Skarica: คนรุ่นต่อจากรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมากจะไม่ลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ 10 ถึง 15 ปี ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะผมทำการวิจัยหลายครั้ง และวงรอบ 10 ถึง 20 ปีถือเป็นเรื่องปกติ ในตลาด วงรอบการลงทุนกินเวลา 17-18 ปี ตัวอย่างเช่นในตลาดกระทิงช่วงจากปี 1949 จนถึง 1966 แต่ตลาดหมีอยู่ในช่วง 1966 ถึง 1982 แล้วก็ตามด้วยตลาดกระทิงในช่วงปี 1982 - 2000 ตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงกลางของตลาดหมีระยะยาว ขณะที่การแรลลี่ขึ้น จากคนรุ่นต่อไปเริ่มต้นลงทุนอย่างหนักพร้อมๆกับคนรุ่นหลังสงครามเริ่มขาย

 

อย่างที่ผมพูด ผมคิดว่าเราอาจเจอจุดต่ำสุดที่นี่ เราอาจมีตลาดกระทิงอยู่ปีหรือ 2 ปี อย่างที่เราเคยมีในช่วงปี 1975-1976 หลังตลาดหมีที่แย่ในปี 1973-1974 แต่ผมเชื่อว่า เรายังอยู่ในช่วงตลาดหมีในระยะยาว ซึ่งกินเวลา 15-20 ปี สาเหตุหนึ่ง จากการพิมพ์แบงค์ทั้งหมด ผมคิดว่า อัตราดอกเบี้ยกำลังจะสูงขึ้น ฟองสบู่ต่อไปที่จะแตกคือตลาดพันธบัตรสหรัฐ คุณจะได้เห็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงในปีต่อๆไปเพราะขณะนี้ซัพพลายเงินสหรัฐอยู่ที่ 38% ซึ่งไม่น่าเชื่อ แม้ช่วงปี 2000 ยังแค่ 15% เอง

 

The Gold Report: มีข้อถกเถียงใหญ่คือเรากำลังอยู่ในช่วงเงินฝืดหรือเงินเฟ้อกันแน่?

 

David Skarica: ผมคิดว่า มันเป็นไฮเปออินเฟลชั่น หรือเงินเฟ้ออย่างมาก เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในปี 1970 ลองดูที่ SGS (Shadow Stats - www.shadowstats.com) ซึ่งคำนวณเงินเฟ้อตามวิธีที่ทำในปี 70 ถึง 80 พวกเขาได้เปลี่ยนสูตรวิธีคิดในปี 1990 โดยอ้างว่าวิธีเก่าเงินเฟ้อที่คำนวณได้มันเกินจริง แต่ผมคิดว่าสูตรวิธีคิดในปัจจุบันมันก็ต่ำกว่าความเป็นจริง เมื่อน้ำมันพุ่งขึ้นมา 150 เหรียญ ทุกคนเห็นด้วยว่าเงินเฟ้อมันมากกว่าที่รายงาน 5-6% หากคำนวณด้วยวิธีเก่า เงินเฟ้อจะอยู่ที่ 10-12% ในช่วงฤดูร้อนนี้ ช่วงที่ทรัพยากรอยู่ที่ราคาสูงที่สุด และแม้คุณจะแยกความแตกต่างระหว่างระบบเก่ากับใหม่ เราก็ยังมีเงินเฟ้ออยู่ในช่วง 8% - 10%

 

ทุกครั้งที่พวกเขาพิมพ์แบงค์ออกมา มันจะนำไปสู่เงินเฟ้อเสมอ วิธีการที่เบอนันเกทำอย่างแข็งขันคือหลีกเลี่ยงการตัดซัพพลายเงินลงอย่างที่เฟดเคยทำในปี 1929 จนถึงปี 1932 เขาทำตรงกันข้าม สภาพคล่องทั้งหมดที่เขานำเสนอจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อตามมา ตามปกติคุณจะไม่ไปจากช่วงเงินเฟ้อไปหาช่วงเงินฝืด CPI ในปี 1920 ลดลง พวกเขาเกิดภาวะเงินฝืดแล้วตามด้วยภาวะเงินฝืดอย่างมากในต้นทศวรรษปี 1930 ดังนั้นโดยปกติ คุณจะไปจากเงินเฟ้อที่สูงเป็นเงินเฟ้อที่สูงยิ่งขึ้น เราอยู่ในระบบการเงินแบบไม่มีอะไรค้ำประกันที่เรียกว่า flat currency ในตอนนี้ ไม่ต้องมีทองคำค้ำประกัน ไม่ต้องใช้อะไรเลย flat currency อย่างสมบูรณ์แบบจะจบด้วยเงินเฟ้อ ไม่ใช่เงินฝืด

 

The Gold Report: อะไรที่จะทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น?

 

David Skarica: อัตราดอกเบี้ยมาจากดีมานด์และซัพพลาย ดูที่ผลตอบแทนของพันธบัตร 10 ปี ผลตอบแทนต่ำสุดประมาณ 3.2% ในปี 2002-2003 เป็นจุดต่ำสุดในช่วงที่มีความตื่นตระหนกอย่างมากตอนนี้ เป็นความพินาศมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1987 โดยในช่วง 100 ปีมีเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แค่ 6 หรือ 7 ครั้ง ในปี 2008 นี้ ผลตอบแทนพันธบัตรแค่ลดลงมาที่ 3.8% เราไม่เห็นการไหลเข้ามาของเงินสู่ตลาดพันธบัตร ซึ่งถ้าคุณเข้าสู่ยุคเงินฝืดจริง ตลาดพันธบัตรจะบอกคุณ ตลาดพันธบัตรอาจลงไปเหลือ 1-2% และบอกคุณว่า โอเค ทุกอย่างมันลงหมด ซึ่งแทนที่จะเป็นอย่างนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังอยู่ที่เกือบ 4% ในตอนนี้ กลับมาดูที่ซัพพลายและดีมานด์ พวกเขาได้ออกพันธบัตร 5.5 แสนล้านดอลล่าร์ในไตรมาสนี้ เพื่อใช้ช่วยเหลือและพวกเขายังอาจจะใช้งบขาดดุลไปอีกปีหรือ 2 ปีเพราะกำลังจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การออกพันธบัตรจำนวนมาก เป็นไปได้ที่ผู้ซื้อก็จะเรียกร้องผลตอบแทนที่สูงขึ้น

 

The Gold Report: คุณคิดว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นไปเท่าไหร่?

 

David Skarica: ตอบยากนะ ไม่มีเหตุผลที่คุณจะไม่สามารถกลับไปที่อัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 7-9% ในพันธบัตร 10 ปีซึ่งเคยเกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 มันอาจไม่ถึงกับว่าจะเป็นระดับนั้นจริงๆ แต่เราน่าจะถึงระดับ 2 หลักต้นๆ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครพูดถึงมัน ถ้าคุณเคยอ่านเรื่องอาณาจักรโรมัน หรือ อังกฤษ, สหรัฐได้ทำสิ่งผิดพลาดเหมือนๆกัน พวกเขาพยายามทำตัวเป็นตำรวจโลก ด้วยนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวเกินไปและใช้จ่ายเงินของคุณทั้งหมดไปกับสงคราม พวกเขาต้องการ flat currency สมบูรณ์แบบ สหรัฐจะเสื่อมอำนาจลง อาจใช้เวลาช่วงอายุคนรุ่นหนึ่ง แต่ผมคิดว่ามันจะต้องเกิดขึ้น ในปี 1913 อังกฤษเป็นผู้จัดระเบียบโลก 35 ปีต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐได้เข้าช่วยเหลือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นค่อนข้างเร็วมาก ท้ายที่สุด ผู้คนจะเรียกร้องผลตอบแทนสูงขึ้นจากภาระหนี้ ดังนั้นผมคิดว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะถึง 10% หรือสูงกว่านั้น เมื่อถึงที่จุดสูงสุด คุณอาจเห็นการกลับมาสู่ระดับในปลายทศวรรษปี 1970

 

The Gold Report: คุณคิดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่เท่าไหร่?

 

David Skarica: น่าจะ 10 - 15% ราคาก๊าซขึ้นมาแล้ว 10% น้ำมัน 10% ผมเป็นคนที่มองอะไรก็เงินเฟ้อไปหมด ดูอย่างคุณจิง โรเจอร์ เขาไม่ได้พูดแค่เรื่องดีมานด์กับจีนและอินเดีย หรือ ดอลล่าร์สหรัฐจะลง เขาชี้ไปที่จะไม่มีซัพพลายน้ำมันเข้ามายังตลาด และพลังงานทางเลือกอย่างโซล่าเซล และพลังงานลมจะต้องใช้เวลาอีกนานในการจะเข้ามาแทนที่พลังงานจากฟอสซิล ดังนั้น ผมยังคาดว่า เงินเฟ้อจะเป็นตัวเลข 2 หลัก ตอนนี้รายงานกันแค่ 7-8% แต่จริงๆอาจจะเป็นราว 15-16% หรือแม้แต่ 18-19% หรือกว่านั้น หากใช้สูตรคำนวณที่ใช้ในปี 1980 เงินเฟ้อจริงได้ขึ้นมา 10-12% ในช่วงซัมเมอร์นี้ และตอนนี้มันลดลงประมาณครึ่งหนึ่งเพราะการลดลงของราคาโภคภัณฑ์

 

แต่มีบันทึกที่น่าสนใจ ราคาโภคภัณฑ์เริ่มร่วงแยกกันในช่วงเดือนกันยายน เมื่อผู้คนเทขายออกมาทุกสิ่งทุกอย่าง PPI หรือดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนกันยายนยังคงสูงขึ้น ผมคิดว่าเพราะผลจาก flat currency มันยากมากที่จะหาเงินเฟ้อ

 

จำได้ว่า แม้ในปี 1980-1982 เมื่อพวกเขาขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปถึง 20% เพื่อฆ่าเงินเฟ้อ เงินเฟ้อลดลงจาก 20% เหลือ 4 หรือ 5% แต่พวกเรายังไม่เจอกับเงินฝืด ผู้คนจับมารวมกันเพราะคิดว่าหุ้นตก หรือ อสังหาริมทรัพย์ตกนั่นคือเงินฝืด ซึ่งในความเป็นจริง มันคือภาวะสินทรัพย์ฝืด (asset deflation) ภาวะเงินฝืดที่จริงจะลดซัพพลายเงินลง และลดราคาสินค้า คุณลองดูในบิลค่าไฟฟ้าดู มันไม่ได้ลดอะไรมากเลย

 

น้ำมันไม่เคยถึง 70 เหรียญจนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ผู้คนทำราวกับว่า มันลดลงมาจาก 140 เหรียญเหลือ 70 เหรียญนี่ถูกแล้ว แต่จำได้มั๊ย มันมีราคาแค้ 25-30 เหรียญเมื่อตอนสงครามอิรักเริ่มต้นในปี 2003 ผู้คนคิดว่า นี่คือภาวะเงินฝืดแล้ว แต่น้ำมันแค่กำลังถอยลงมา สำหรับ จิม โรเจอร์ 'นี่คือการลดลง 40% หรือมากกว่านั้นเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ตลาดกระทิงน้ำมันเริ่มต้นขึ้นในปี 1998' ผมคิดว่า เรากำลังอยู่ในช่วงตลาดกระทิงอมตะของโภคภัณฑ์ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2001 โภคภัณฑ์มีความผันผวนอย่างมาก มันสามารถร่วงลงมาได้ 50% แต่ยังคงอยู่ในตลาดกระทิงได้ ในปี 1975 ถึง 1976 ราคาทองคำลงจาก 200 เหรียญ เหลือแค่ 110 เหรียญ หลังจากขึ้นมาจาก 35 เหรียญ ไปถึง 200 เหรียญ ทุกๆคนคิดว่าตลาดทองคำจบแล้ว และถัดมาอีก 4 ปี มันก็พุ่งขึ้นมาถึง 800 เหรียญ ทองคำสามารถลงไปได้ถึง 600 เหรียญโดยที่ยังเป็นกระทิงอยู่ ผู้คนแค่ไม่เข้าใจมันเพราะไม่ได้คิดถึงระยะยาวๆ

 

The Gold Report: ถ้าคุณบอกว่าตลาดกระทิงโภคภัณฑ์เริ่มต้นในปี 2001 และวัฏจักรนี้กินเวลา 15 ถึง 18 ปี เราก็กำลังอยู่ในช่วงกลางๆทางสิ

 

David Skarica: ใช่

 

The Gold Report: ตลาดโภคภัณฑ์ผันผวนมาก แต่ช่วง 2/3 ของตลาดกระทิงนี้จะโตอย่างเร่งเร็วขึ้นหรือไม่? หรือจะโตเร็วแล้วร่วง?

 

David Skarica: ความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ๆจะเกิดขึ้น 2 ครั้งเสมอ โดยครั้งนึงจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้น และอีกครั้งในตอนจบ ตัวอย่างเช่น ดัชนี HUI (หุ้นเหมืองทองคำ) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดทองคำ ขึ้นจาก 35 เหรียญจนถึง 200 เหรียญในช่วง 2-3 ปีหลังแต่ระดับต่ำสุด ขึ้นมาราว 6 เท่า ดังนั้น คุณจะเห็นการพุ่งขึ้นอย่างมากที่จุดต่ำสุด ดาวน์โจนส์ขึ้นมาจาก 800 ไป 1500 จุดในปี 2 ปีแรกของตลาดกระทิง การขึ้นอย่างมากเกิดในตอนแรก และตอนกลางๆจะค่อยเป็นค่อยไป และสุดท้ายคุณจะเห็นการแตกของฟองสบู่ และคุณจะเห็นการขึ้นมา 2 - 3 เท่า

 

3 สิ่งที่ดันราคาโภคภัณฑ์ คือ ซัพพลายเงิน, ดอลล่าร์สหรัฐ และซัพพลาย-ดีมานด์ ในปี 1970 เกิดความโกลาหล แต่ราคาโภคภัณฑ์ไม่ไปไหน เพราะนโยบายเศรษฐกิจที่มีปัญหา รัฐบาลพิมพ์แบงค์ออกมาจำนวนมาก ไม่มีการลงทุนในช่วงทศวรรษปี 1980 - 1990 ไปกับกองทุนโภคภัณฑ์ใหม่ๆ และตอนนี้ พวกมันจำนวนมากกำลังปิดตัวลง เพราะการถอยลงของตลาดในครั้งนี้ ตลาดโภคภัณฑ์น่าจะรีบาวน์ได้ในปี 2010 ซึ่งจะนำให้ราคาสูงขึ้นไปได้อีก 5 ถึง 10 ปี

 

The Gold Report: ทองคำจะอยู่ที่ไหนในอีก 12 - 18 เดือนข้างหน้า?

 

David Skarica: ตอบยาก ตอนนี้น่าสนใจจริงๆ เพราะดอลล่าร์สหรัฐมีการซื้อขายในทิศทางตรงกันข้ามกันนับตั้งแต่เดือนกันยายน เราเห็นการแรลลี่ของดอลล่าร์ เราเห็นการลดลงของเงินสกุลอื่น เพราะการหนีไปสู่ดอลล่าร์ เมื่อเราพูดถึงการเรียกคืนของเฮดฟันด์ คนที่เป็นเจ้าของกองทุนที่จริงส่วนมากอยู่นอกสหรัฐ คุณต้องซื้อดอลล่าร์เพื่อจ่ายคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่ในตอนนี้ ถ้าเราเห็นการ retest ตลาดในเดือนธันวาคมหลังจากที่ดอลล่าร์ลงมาในระยะสั้น ทองคำอาจกลับมาอยู่ที่ราวๆ 700 เหรียญ ถ้าผมถูกและตลาดขึ้นได้ในปีหน้า ไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จะเป็นจุดต่ำสุด ทองคำอาจไปถึง 1000 หรือกระทั่ง 1100 เหรียญ

 

แปลจาก:

 

http://www.marketoracle.co.uk/Article7309.html

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...