ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สวัสดีครับเฮียแบท คุณเด็กขายของ และเพื่อนๆ ทุกๆท่านครับ

 

ดีใจครับ เข้าบ้านแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยุโรป...วังวนแห่งวิกฤตหนี้ และวิบากกรรมที่ต้องเผชิญ

 

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 7 กันยายน 2554 14:07:00 น.

วิกฤตหนี้ยุโรปที่ส่งผลโยงใยไปทั่วโลกมาโดยตลอดนั้น พิสูจน์ให้เห็นว่า แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่มีความชัดเจนและประสิทธิภาพเพียงพอ ดังจะเห็นได้จากตลาดหุ้นทั่วโลกที่ผันผวนและร่วงลงสลับกันไปเมื่อเร็วๆนี้ ล้วนมีปัจจัยจากชะตากรรมที่มืดมัวของยุโรปเข้ามาพัวพันด้วยเสมอ

 

แม้แต่นายโรเบิร์ต โซลิค ประธานธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ ยังออกปากถึงสถานการณ์ในยุโรปว่า ยุโรปกำลังเผชิญปัญหาที่รุนแรงกว่าสหรัฐ และวิกฤตหนี้สินในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน พร้อมกับกล่าวเป็นนัยว่า รัฐบาลประเทศต่างๆในยูโรโซนควรสละอำนาจการควบคุมงบประมาณบางส่วนในประเทศของตน เพื่อให้นโยบายการใช้จ่ายของแต่ละประเทศในยูโรโซนมีความสอดคล้องกัน

 

 

 

ดูท่าว่า คำแนะนำของประธานธนาคารโลกคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนำมาปฏิบัติให้สอดคล้องกันได้ เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนแต่ละประเทศต่างก็ต้องรับมือกับสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมภายในประเทศที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวเรือใหญ่อย่างเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในยุโรปและให้การสนับสนุนด้านการเงินมากที่สุดในกลุ่มนั้น กำลังเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้นางแองเจลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กต้องกุมขมับ หลังจากที่พรรคคริสเตียน เดโมเครติคส์ (ซีดียู) ของเธอพ่ายศึกเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น หรืออิตาลีที่ต้องเผชิญกับความแตกแยกในรัฐบาลที่ส่งผลกระทบต่อการออกมาตรการทางเศรษฐกิจ ขณะที่กรีซเองก็ยังคงเวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งหนี้ รวมทั้งสเปนที่สถานการณ์ในประเทศก็ยังปั่นป่วน

 

 

เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง แถมยังเอากระดูกมาแขวนคอ

นางแมร์เคิล วัย 57 ปี ซึ่งนั่งตำแหน่งนายกฯเยอรมนีมา 2 สมัย นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2548 และยังเป็นบุคคลที่นิตยสารฟอร์บส์ยกให้เป็นสตรีที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองอันดับ 1 ของโลกจากการจัดอันดับในปีนี้ ด้วยบทบาทในการนำพาเศรษฐกิจของเยอรมนีที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของโลก ฟันฝ่าวิกฤติหนี้ยูโรโซน และปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐมาได้นั้น กลับต้องมาพ่ายศึกเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในรัฐเมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น ของเยอรมนี ซึ่งเป็นรัฐบ้านเกิดของเธอเองเมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา

 

พรรคซีดียูของนางแมร์เคลได้คะแนนเพียง 24% ลดลงจากที่เคยได้ถึง 28.8% ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2549 ขณะที่พรรคสังคมประชาธิปไตย (เอสพีดี) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้คะแนนถึง 37% นับเป็นการปราชัยในพื้นที่ที่เป็นฐานเสียงของนางแมร์เคลเอง สาเหตุที่ทำให้พรรคของนางแมร์เคลพ่ายศึกเลือกตั้งนั้น เป็นเพราะชาวเยอรมันส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ยูโรโซน

 

แม้ว่า เยอรมนีจะมีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แต่การที่เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว วิกฤตหนี้ยุโรปเรื้อรัง ญี่ปุ่นเองก็ต้องพยุงและกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากภัยพิบัติครั้งรุนแรง ทำให้เยอรมนีต้องหาทางนำพาประเทศให้รอดพ้นจากปัจจัยลบที่รุมเร้าเหล่านี้ให้ได้ การยื่นมือเข้าช่วยเหลือประเทศสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนจึงเปรียบเสมือนสัญญาณโทรศัพท์ที่ไร้ซึ่งสัญญาณตอบรับจากประชาชน

 

ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีในปีนี้ไว้ที่ 3.2% พร้อมกับปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเยอรมนีในปีหน้าลงสู่ระดับ 1.6% จากระดับ 2.0% ถือเป็นอีกสัญญาณบ่งชี้ว่า เยอรมนีคงจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายต่อไปอีกนาน เพราะฉะนั้นการช่วยเหลือเหล่าประเทศที่ประสบปัญหาคาดว่า จะไม่ผ่านฉลุยเหมือนในอดีตเป็นแน่แท้

 

 

สถานการณ์ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในอิตาลี

อิตาลีเองก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน มิหนำซ้ำยังมีภาระหนี้สินในระดับน้องๆกรีซ เมื่อวานนี้ วุฒิสภาอิตาลีต้องอภิปรายท่ามกลางสถานการณ์ประท้วงภายในประเทศ โดยสมาชิกของสหภาพการค้าของอิตาลีจำนวนหลายล้านคนได้ชุมนุมประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดล่าสุดของรัฐบาล โดย CGIL ซึ่งเป็นสมาพันธ์สหภาพที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลี ได้เรียกร้องให้มีการดำเนินการกับผู้เลี่ยงภาษีและคุ้มครองการจ้างงาน

 

การประท้วงดังกล่าวส่งผลให้เที่ยวบินหลายเที่ยวได้ถูกยกเลิกไป ส่วนรถไฟและรถโดยสารหยุดให้บริการ ขณะที่สถานที่ราชการส่วนใหญ่ปิดทำการ

 

เมื่อย้อนไปดูรายละเอียดของมาตรการรัดเข็มขัดอิตาลีแล้ว จะเห็นได้ว่า เนื้อหาในมาตรการส่งผลกระทบไปทุกหัวระแหงของประเทศ อาทิ การจัดเก็บภาษีพิเศษ 3% กับผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 3 แสนยูโร การจัดเก็บภาษีการโอนเงินสดจากชาวอิตาลิที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในต่างประเทศในอัตรา 2% ไปจนถึงการลดงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐบาลท้องถิ่นลง ส่งผลให้จังหวัดต่างๆได้รับเงินงบประมาณน้อยลง

 

ความเดือดร้อนครั้งนี้ จุดประกายให้เมืองเล็กๆเมืองหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโรมไปทางตะวันออก 100 กิโลเมตรที่มีชื่อว่า “ฟิเลตติโน" คิดแยกตัวเป็นเอกเทศและพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้เอง เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ขณะที่นักท่องเที่ยวก็นิยมซื้อพันธบัตรของฟิเลตติโน ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 500 คน ไว้เป็นที่ระลึก

 

อย่างไรก็ดี วุฒิสภาอิตาลีอาจจะลงมติรับรองมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ในสัปดาห์นี้ ขณะที่ ก่อนหน้านี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกกังวลของนักลงทุนที่มีต่อหนี้สินของประเทศของอิตาลีนั้น ปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด และดีดตัวแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือนไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แม้ว่า ธนาคารกลางยุโปจะเข้าซื้อพันธบัตรอิตาลีไปเมื่อเดือนส.ค.แล้วก็ตาม

 

ประธานาธิบดีจิออร์จิโอ นาโปลิตาโน ของอิตาลี ต้องออกมาเตือนถึงกรณีที่ค่าสเปรดระหว่างอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรเยอรมนีและอิตาลีที่สูงขึ้น โดยตลาดหุ้นอิตาลีร่วงลงไปกว่า 3% ช่วงบ่ายวานนี้ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแผนการรัดเข็มขัด

 

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้คะแนนนิยมของนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลีร่วงหนักเป็นประวัติการณ์ด้วยเช่นกัน

 

 

กรีซภายใต้เงื้อมมือไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป

กรีซ ซึ่งจำเป็นต้องรับความช่วยเหลือทางการเงินจากทั้งกองทุนการเงินระหว่งประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และสหภาพยุโรป (อียู) วงเงิน 1.1 แสนล้านยูโร หรือประมาณ 1.54 แสนล้านดอลลาร์เมื่อเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว ต้องแบกรับเงื่อนไขที่พ่วงมากับการรับความช่วยเหลือดังกล่าว โดยกรีซต้องใช้นโยบายรัดเข็มขัดเพื่อให้ประเทศมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงมากขึ้น

 

รัฐบาลกรีซตัดสินใจทำตามเงื่อนไขเหล่านั้น และถูกแรงต้านอย่างหนักจากประชาชนที่ถูกตัดเงินเดือนและเงินบำนาญ จนเกิดการชุมนุมประท้วงและการจลาจลหลายครั้งในประเทศ แม้กรีซจะยอมทำทุกอย่างเพื่อรับเงินช่วยเหลือแต่สถานะทางการคลังก็ไม่ดีขึ้น จนสุดท้ายก็ต้องขอความช่วยเหลือรอบใหม่ในวงเงินเท่าๆกับครั้งแรก

 

ล่าสุด การประชุมเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของฟินแลนด์ที่ต้องการให้มีการตกลงเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันในการสมทบทุนให้ความช่วยเหลือกรีซที่จัดขึ้นเมื่อเย็นวานนี้ที่กรุงเบอร์ลินนั้น แจน คีส์ เดอ เจเกอร์ รัฐมนตรีกระทรวงคลังเนเธอร์แลนด์ นายวูลฟ์กัง ชูเบิล รัฐมนตรีกระทรวงคลังเยอรมนี และจุตตา เออร์พีไลเนน รัฐมนตรีกระทรวงคลังฟินแลนด์ ก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นที่ทางฟินแลนด์เรียกร้องมา

 

ฟินแลนด์และประเทศในกลุ่มยูโรโซนพยายามที่จะหาทางออกในการประนีประนอมข้อเรียกร้องของฟินแลนด์ที่ต้องการให้กรีซยึดมั่นในเงื่อนไข โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือครั้งที่ 2 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะป้องกันไม่ให้วิกฤตหนี้ลุกลามออกไป

 

รมว.คลังฟินแลนด์กล่าวว่า เงินงวดต่อไปที่จะมีการส่งมอบให้กรีซนั้น จะไม่สามารถดำเนินการส่งมอบได้หากรัฐบาลกรีซไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือ

 

ด้านกรีซเองต้องออกมายืนยันว่า จะเร่งดำเนินการตามมาตรการรัดเข็มขัดตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ เพื่อแลกกับการรับความช่วยเหลือทางการเงินจากหน่วยงานทั้ง 2 หลังจากที่กรีซต้องแบกรับแรงกดดันจากประเทศคู่ค้าในยุโรป ก่อนที่จะถึงกำหนดการปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือกรีซ

 

 

จับตาการปฏิรูปของสเปน

สเปนเป็นอีกประเทศที่ตกอยู่ในวังวนของหนี้ เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลสเปนประมูลขายพันธบัตรอายุ 5 ปีได้น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์นั้น ขณะที่กระทรวงแรงงานสเปนก็ได้เปิดเผยจำนวนคนว่างงานของสเปนในเดือนส.ค.กลับมาขยายตัวขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่อ่อนตัวลงมาเป็นเวลา 4 เดือน

 

ในระหว่างที่ประเทศต้องรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเลือกตั้งทั่วไปของสเปนก็ใกล้จะเปิดฉากขึ้นในวันที่ 20 พ.ย.นี้ นโยบายใหม่ๆที่พรรคการเมืองชูโรงและมีแววว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้นั้น ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันในรัฐสภา ขณะที่ภาคประชาชนก็ไม่พอใจกับการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดเพดานการขาดดุลงบประมาณ

 

วันนี้ (7 ก.ย.) รัฐสภาสเปนเตรียมลงมติอนุมัติรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขข้างต้น เพื่อรับประกันว่า งบประมาณจะอยู่ในภาวะที่สมดุล ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งนโยบายการปฏิรูปดังกล่าวถือเป็นเสาหลักในการสร้างสถียรภาพด้านงบประมาณที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้สเปนเป็นประเทศแรกในกลุ่มยูโรโซนที่ปฏิบัติตามเสียงเรียกร้องของฝรั่งเศสและเยอมนีในการกำหนดเพดานหนี้สาธารณะและยอดขาดดุล

 

การลงมติรับรองรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จุดชนวนการนัดหมายเพื่อรวมตัวประท้วงในกลุ่มสหภาพแรงงาน 2 กลุ่มใหญ่ อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพขึ้นภายในพรรคโซเชียลลิสต์ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ผลจะออกมาเป็นเช่นไรนั้นต้องติดตาม

 

 

แม้ว่า ประเทศเหล่านี้จะเผชิญกับชะตากรรมที่แตกต่างกันไปในรายละเอียดตามที่กล่าวมา แต่ท้ายที่สุดแล้ว สมาชิกของอียูจะต้องเดินหน้าเพื่อแก้ปัญหาต่อไป และเมื่อวิกฤตคลี่คลาย การปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ทั้งในเรื่องของยอดขาดดุลงบประมาณ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และข้อกำหนดด้านเงินตราอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะวันใดที่ประเทศสมาชิกรายใดรายหนึ่งมีปัญหาในการปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น บรรดาเพื่อนๆในกลุ่มก็ต้องตกกระไดพลอยโจนรับเคราะห์ไปด้วยเหมือนกับเหตุการณ์ที่ปะทุขึ้นกับกรีซครั้งนี้

 

--อินโฟเควสท์ โดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา

 

ยุโรปจมหนี้-สหรัฐว่างงานเศรษฐกิจโลกใกล้ถดถอยของจริง

07 กันยายน 2554 เวลา 07:31 น.

 

เล่นเอาตลาดการเงินทั่วโลกปรับล้มครืนกันทั้งกระดาน

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

เล่นเอาตลาดการเงินทั่วโลกปรับล้มครืนกันทั้งกระดาน เมื่อสัญญาณบ่งชี้สภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐและสถานการณ์หนี้ของยุโรปค่อนข้างจะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า สถานการณ์ของทั้งสองประเทศจากสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ในขั้นโคม่าและฟื้นได้ยาก

 

จนบรรดานักวิเคราะห์ทั้งหลาย รวมถึงโรเบิร์ต โซลลิก ประธานธนาคารโลกต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่า ภาวะถดถอยทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นแน่นอนมากกว่าที่จะหลีกเลี่ยงได้

 

สำหรับสหรัฐ ไม่ต้องบอกคงพอคาดเดากันได้ว่าตัวเลขการว่างงานที่รัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา ประกาศออกมาเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนในตลาดเพียงใด

 

เพราะอัตราการจ้างงานที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงกิจการของบรรดาผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ว่าไม่มีการเติบโตที่ดีพอที่จะทำให้เกิดตำแหน่งงานใหม่ หรือสรุปได้ว่าสภาพเศรษฐกิจยังคงไม่กระเตื้องขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเดินหน้าแห่เทขายหุ้นขนานใหญ่จนดัชนีดาวโจนส์ปรับรูดลงแรงถึง 2.2% เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา

 

 

 

ขณะที่ฝั่งยุโรป ภูมิภาคสำคัญสำหรับเศรษฐกิจโลกอีกแห่งหนึ่ง สถานการณ์หนี้สาธารณะก็ใช่ว่าจะดีกว่ากันเท่าไรนัก เห็นได้ชัดจากดัชนี สต็อกซ์ ยุโรป 600 ในวันจันทร์ที่ 5 ก.ย. ซึ่งปรับร่วงลงมาถึง 4.1% โดยหนักสุดในหุ้นกลุ่มธนาคาร จนฉุดลากตลาดหุ้นในเอเชียให้ร่วงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่จีนหรือญี่ปุ่น ที่หล่นลงมา 2% ขณะที่เกาหลีใต้ตกฮวบถึง 4.39%

 

ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแรงเทขายครั้งใหญ่จากบรรดานักลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป เกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนส่งผลให้นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลว่ากลุ่มประเทศยูโรโซนจะไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคได้

 

ปัจจัยแรกสุดที่ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดต้องสั่นคลอนก็คือ การอนุมัติเงินช่วยเหลือกรีซ ซึ่งถือเป็นความพยายามครั้งสำคัญที่จะจำกัดเขตไม่ให้หนี้ลุกลามไปยังสเปนและอิตาลีส่อแววล่ม เมื่อการเจรจาระหว่างกรีซกับบรรดาเจ้าหนี้นานาประเทศ ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆ ร่วมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟินแลนด์ที่เรียกร้องหลักประกันในการให้กู้ยืมที่ผิดแผกจากข้อตกลงที่ตั้งกันไว้ก่อนหน้า

 

ส่งผลให้กำหนดการแก้ปัญหาหนี้กรีซมีอันต้องเลื่อนออกไป สร้างแรงกดดันให้กรีซที่ต้องการควบคุมตัวเลขเงินขาดดุลงบประมาณให้ได้ตามเป้าที่กำหนด เพื่อดึงดูดนักลงทุน

 

ขณะเดียวกัน แรงกดดันเรื่องหนี้สาธารณะในยุโรปเริ่มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวกระทบต่อปัญหาการเมืองภายในของ 17 ประเทศสมาชิกอียู จนก่อให้เกิดความแตกแยก

 

กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ เยอรมนี ซึ่งนับเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงและแหล่งเงินทุนสำคัญของกลุ่มอียูในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของภูมิภาค ภายใต้การบริหารผลักดันของนายกรัฐมนตรีหญิงแกร่ง อย่างอังเกลา แมร์เกิล

 

ความพ่ายแพ้ของแมร์เกิลและพรรคร่วมรัฐบาล ในการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าแม้นโยบายช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาหนี้สินอย่างกรีซ โปรตุเกส หรือไอร์แลนด์จะดีสำหรับกลุ่มอียูในภาพรวม แต่ชาวเยอรมันส่วนใหญ่ล้วนไม่เห็นด้วยที่จะให้รัฐบาลนำเงินภาษีของตนเองไปอุ้มประเทศที่ไร้ระเบียบวินัยทางการคลัง

 

นอกจากนี้ ความรู้สึกหวาดหวั่นของนักลงทุนยิ่งสั่นคลอนรุนแรงขึ้นไปอีกเมื่อศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีได้นัดตัดสินกรณีที่รัฐบาลอนุมัติเงินช่วยเหลือก้อนโตเพื่อแก้ปัญหาหนี้ในวันพุธที่ 7 ก.ย. โดยแม้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีผลกระเทือนให้ความพยายามแก้ปัญหาหนี้ของรัฐบาลต้องหยุดชะงัก แต่ก็เป็นการตอกย้ำให้นักลงทุนรู้กลายๆ ว่าปัญหาใหม่ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอในทุกขั้นตอนการแก้ไขปัญหา

 

สภาพขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กระบวนการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปล่าช้าออกไปอีก จนนักลงทุนเริ่มหวาดวิตกว่าปัญหาหนี้จะกลายเป็นมหากาพย์ไม่มีวันตาย

 

ขณะที่ปัจจัยสุดท้ายก็คือสถานการณ์หนี้ในอิตาลี ที่นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจแล้วว่ารัฐบาลอิตาลีจะสามารถคลอดแผนมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาหนี้ท่ามกลางขบวนการประท้วงคัดค้านของประชาชนในประเทศได้หรือไม่

 

เพราะถ้าไม่ ปริมาณหนี้มหาศาลของอิตาลีที่มีสถานะเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งประเทศหนึ่งในกลุ่มอียู มีสิทธิทำให้สถานะของสกุลเงินยูโรด้อยค่าลงทันที

 

ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นส่งผลให้หุ้นของธนาคารยุโรปตกฮวบแรง โดยรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ ร่วง 12.3% และ ดัตช์แบงก์ร่วง 8.9% เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าประกันการผิดนัดชำระหนี้ที่หากยิ่งต่ำ แสดงว่านักลงทุนยิ่งเชื่อมั่นมาก กลับทุบสถิติเพิ่มสูงสุดด้วยเช่นเดียวกัน โดยอัตราสูงสุดอยู่ที่พันธบัตรของสเปนและอิตาลี

 

สภาพการณ์ที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เหตุอย่างดีว่านักลงทุนในตลาดเริ่มมองเห็นสัญญาณลบของตลาดที่จะลากเศรษฐกิจโลกกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างจริงจังเหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2551 เพียงแต่สถานการณ์ในปัจจุบันย่ำแย่กว่า ตรงที่ว่าบรรดาประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เป็นความหวังที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกก็ไม่ได้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อม เพราะต้องเร่งแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศของตนเองก่อน

 

ทั้งนี้ แม้ว่าโฮเซ มานูเอล บารอสโซ หัวหน้าคณะกรรมการยุโรปจะย้ำชัดว่ายุโรปยังแข็งแกร่งไม่ถดถอยแน่นอน และโซลลิก ประธานธนาคารโลกจะแสดงความเห็นอย่างเชื่อมั่นว่าสหรัฐจะไม่เดินหน้าเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกรอบแน่นอน

 

แต่ความคิดเห็นที่เชื่อมั่น ย่อมมีน้ำหนักน้อยกว่าสภาพความเป็นจริงของตลาดที่เกิดขึ้นในขณะนี้เสมอ จนกว่าสหรัฐและยุโรปจะสามารถพิสูจน์ให้เห็นชัดเจน เมื่อนั้นโลกก็ยังคงต้องหวาดผวาและอาจจะต้องทำใจยอมรับการเผชิญหน้ากับภาวะถดถอยอีกครั้ง [/color

 

ที่มาตลาดทอง

 

 

 

ทั้งหมดนี้เป็นกำลังใจให้คนติดดอยครับ

ถูกแก้ไข โดย จากร้อยสู่ล้าน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับคนที่ซื้อวันนี้ 26xxx พวกเรากำลังจะเป็นชาวดอยกันแล้ว

 

ขอเสียงคนดอยรายงานตัวด้วยค๊า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถานการณ์ ณ. ขณะนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐอนาคต เขียวนะครับ

Futures on the Dow Jones Industrial Average DJ1U +0.93%

futures on the Standard & Poor’s 500 index SP1U +1.09%

Nasdaq 100 futures ND1U +1.18%

 

และเขียวตามภูมิภาคอื่นๆ ที่ปิดไปแล้ว และในยุโรปที่เปิดอยู่

The German DAX 30 index DX:DAX +3.05%  rose 2.8% in Frankfurt.

 

 

Asian markets also closed higher, including a 2% rise for Japan’s Nikkei Stock Average JP:NIK +2.01%

. Japan to keep rate near zero till prices stabilize

 

 

 

ขอบคุณสำหรับข่าวดีครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ไม่มีข่าวจาก เวป thaigold ก็เลยได้อยู่ดอยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงครามยังไม่จบ ห้ามนับศพทหาร

 

เป้าหมาย 29,000 บาท สิ้นปี 2011

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มีกำลังใจขึ้นมา29000จะรอขอบคุณครับ คุณจากร้อยสู่ล้าน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คิดถึงเพืิ่อนพ้องน้องพี่ทุกท่าน ไประเหเร่ร่อน ตกข่าวติดดอยด้วยคน ดีใจมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ที่ได้กลับเข้าบ้าน

 

 

คิดถึงบ้านนี้จริงๆ.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้เกิดอะไรขึ้นทำไมทองลงเยอะจัง แล้วน้ำมันวิ่งขึ้นเยอะเลย?:lol:

อ่านข่าวคุณเด็กขายของแล้ว ทองน่าจะวิ่งฉลุยซะมากกว่าอ่ะ.....งงจัง:unsure:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คืนนี้สหรัฐทุบร่วงแหงมๆ DJIA S&P500 NASDAQ เขียวกันถ้วนหน้านะครับ พี่น้อง โปรดระวัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะคุณfillsave คุณpeng คุณminne และชาวดอยทุกท่าน

 

ขณะนี้เรายังมีความหวังที่จะอยู่บนดอยไม่นานเพราะตอนนี้ลอนดอยปิดแล้ว

 

อ้ายกันน่าจะลากขึ้นนะ ว่าไงกัปตันDonJuan

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คาดบีโอเจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับ 0-0.1% เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อ

วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 22:25 น. กอง บก.ออนไลน์ ข่าวรายวัน - ข่าวต่างประเทศ

User Rating: / 0

แย่ดีที่สุด

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เริ่มการประชุมเป็นวันที่สองในวันนี้ เพื่อประเมินผลกระทบของการแข็งค่าของเงินเยน และภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปที่มีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งคาดกันว่า บีโอเจอาจจะตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับ 0-0.1% เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่จะไม่ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายด้านการเงินเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม คาดว่า การตัดสินใจในขั้นสุดท้ายของบีโอเจจะขึ้นอยู่กับข้อมูลการติดตามความคืบหน้าในตลาดและปัจจัยด้านอื่นๆ ขณะที่เงินเยนยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สรหัฐ และข้อมูลด้านการจ้างงานที่อ่อนแอเกินคาดของสหรัฐในสัปดาห์ที่แล้ว ได้จุดปะทุให้เกิดความกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา บีโอเจได้ตัดสินใจขยายขอบเขตโครงการซื้อสินทรัพย์เป็น 50 ล้านล้านเยน จากเดิมที่ 40 ล้านล้านเยน รวมถึงการร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อยับยั้งการแข็งค่าของเงินเยน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส.ค.PMI ภาคการผลิตของสิงคโปร์ เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 49.4 จุด

วันพุธที่ 07 กันยายน 2011 เวลา 23:23 น. กอง บก.ออนไลน์ ข่าวรายวัน - ข่าวต่างประเทศ

User Rating: / 0

แย่ดีที่สุด

 

 

สถาบันการจัดซื้อและจัดการด้านวัตถุดิบของสิงคโปร์รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสิงคโปร์ เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 49.4 จุดในเดือนสิงหาคมซึ่งแม้ว่ากระเตื้องขึ้นมา 0.1 จุดจากเดือนกรกฎาคม แต่ดัชนี PMI ที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของสิงคโปร์ยังคงหดตัว ทั้งนี้รายงานของสถาบันการจัดซื้อฯระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้ภาคการผลิตของสิงคโปร์หดตัวลงมาจากยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกล็อตใหม่ที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ สต็อกสินค้าคงคลังในภาคการผลิต และการจ้างงานในภาคการผลิต ยังหดตัวลงในเดือนสิงหาคมด้วยเช่นกัน โดยผู้อำนวยการบริหาร สถาบันการจัดซื้อฯกล่าวว่า ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐ และวิกฤตหนี้ยุโรป รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในภาคการผลิตของสิงคโปร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...