ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ขณะนี้1635-6 SPDR เขาขายอีกแน่ๆเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบบนี้ไม่เอานะครับกัปตัน

http://www.youtube.com/watch?v=O0uH5MNpgz4

 

 

คลิปมันมากคุณfoo. สนุกดี. อิอิ มีอีกมั๊ยคะ.

 

ตอนนี้แทบไม่อยากดูราคาทองแล้วคะ. ปล่อยให้เวลาผ่านไป มีขึ้นมีลง ตามที่คุณพี่ใหญ่เด็กขายของให้ความเห็นไว้คะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตามคำขอครับ คุณ wan jai-herekum เทคนิคเพิ่มเติม พึ่งได้มาเมื่อวานนี้

 

เด็กขายของ ได้เจอ คุณลุง อยู่ท่านหนึ่ง นั่งอยู่ในร้านทองฯ อารมย์กับอาการของคุณลุง ท่านนั้น เหมือนไม่ได้มี

ความมุ่งหวังมาซื้อขายทอง แต่เหมือนมานั่งชมวิว เปลี่ยนบรรยากาศ นั่งมองผู้คน รถรา ที่วิ่งบนถนนเยาวราช

ไม่ได้มองป้ายราคาทองที่มีการลบราคาเปลี่ยนแปลงราคา ซึ่งปกติคนทั่วไป จะมายืน ออ หรือ จ้องมอง ว่า

ปรับเป็นเท่าไหร่ ใช่ไหมครับ คุณลุง ไม่มีอาการตอบสนอง ยังนั่งตากแอร์ในร้านฯ พร้อมชมวิวแบบต่อเนื่องต่อไป

 

เด็กขายของสังเกตุ อีกครั้ง คุณลุง อาจจะมีอุปกรณ์สื่อสารไฮเทค แปลงหน้าจอคอมพิเตอร์ เข้าไปที่แว่นตา

พร้อมเสียบ หูฟัง เพื่อติดตามข่าวสาร หรือ นั่งมองกราฟจากในแว่นตาพิเศษ ก็อาจเป็นไปได้ เปล่าอีกเช่นเคย

เอ๊ะ ! แล้วมานั่งทำไมว่ะ เด็กขายของนึกในใจ

 

เวลาผ่านไป มีเสียงโทรศัพท์เข้ามา Ringtone : โอ้โห ! คุณลุงท่านนี้ ใช้มือถือยี่ห้อ Infinity รุ่น R'ma ( อาม้า )

พอท่านคุยเสร็จ ก็เตรียมลุกจากร้านทองๆ ไป เด็กขายของ เลยถามคุณลุงว่า อ้าว คุณลุงไม่รอตั๋วทองฯ แล้วเหรอ ?

 

คุณลุงท่านนั้น ตอบมาว่า " ลูกมันโทรฯ เข้ามา บอกให้ลุง กลับบ้านได้แล้ว วันนี้ ราคาทองไม่ลดลงแล้วล่ะ ราคายืนแค่นี้

อ้าว แล้วลุงมานั่งแต่เช้าเลยเหรอ ? ลูกลุง มันบอกว่า ลุงอยู่บ้านคนเดียว แล้วเหงา เสียค่าไฟฟ้า เบื่อ เซ็ง ลูกลุงก็ให้ลุง

พกบัตรทองฯ ซื้อทอง 1 ใบ พร้อมโทรฯ ส่งลุงที่หน้าร้านทองตอน 9 โมงเช้า ถ้ามันจะให้ซื้อทอง ลูกลุงจะโทรฯ เข้ามาบอก

ลุงก็เดิน แค่ 3 ก้าวถึงหน้าตู้ ทันทีทันใด ลุงว่าดีนะ ประหยัดไฟที่บ้าน ลุงก็ไม่เบื่อด้วย แอร์ก็เย็น หิวน้ำก็มีน้ำชาให้กิน

มีวิวรถราแล่นไป มี ตำรวจเป่านกหวีด สนุกสนานดีนะ

 

เรื่องเล่าก็จบเท่านี้ครับ เทคนิคการซื้อขาย

 

คุณเด็กขายของมักมีเรื่องอะไรมาเขียนบอกเล่าให้ขำๆ อยู่บ่อยๆ ชอบค่ะ คลายเครียดดี :) :) :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ้าว...งั้นพอลงจากดอยพวกเราก็โดนน้ำท่วมสิคะ...อิอิอิ :P :P :P

:rolleyes:Oil inventories up 1.9 million barrels: EIA

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ้าว...งั้นพอลงจากดอยพวกเราก็โดนน้ำท่วมสิคะ...อิอิอิ :P :P :P

กลัวน้ำท่วมเหรอครับ พอดี ไปเห็น โครงการของเพื่อน ที่จะทำบ้านขายให้กับ ประชาชนภาคอีสาน

ตามนโยบาย โครงการบ้านหลังแรก คาดว่า อนาคต ประชาชนจะไม่ต้องกลัวบ้านน้ำท่วมอีกครับ

ไม่ทราบ คุณ แหวนดอกไม้ จะจองเป็นคนที่ 100 ไหมครับ

 

นำบ้านที่ออกแบบ ไปตั้งไว้บนตอม่อ ในฤดูร้อน และ หนาว พอเข้าพรรษา ก็เตรียมลดตอม่อ ลงมา เพื่อให้อิสระ

หาเชือกมาผูกติดกับตอม่อ กันกระแสน้ำไหล เวลาปลูกผัก ก็ใช้ระบบ ไฮโดรจีนิค ใช้น้ำรอบตัวมาหมุนเวียน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
ขณะนี้1635-6 SPDR เขาขายอีกแน่ๆเลย
:ph34r: ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อืม น่าสนนะค่ะคุณเด็กขายของ บ้านอเนกประสงค์ 3 ฤดู สําหรับประเทศไทย หุหุ..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้องใหม่ครับ อยากทราบว่าตอนนี้ทางอยู่ที่ 1667 จะทำให้เป็นบาทจะต้องทำอย่างไรครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลัวน้ำท่วมเหรอครับ พอดี ไปเห็น โครงการของเพื่อน ที่จะทำบ้านขายให้กับ ประชาชนภาคอีสาน

ตามนโยบาย โครงการบ้านหลังแรก คาดว่า อนาคต ประชาชนจะไม่ต้องกลัวบ้านน้ำท่วมอีกครับ

ไม่ทราบ คุณ แหวนดอกไม้ จะจองเป็นคนที่ 100 ไหมครับ

 

นำบ้านที่ออกแบบ ไปตั้งไว้บนตอม่อ ในฤดูร้อน และ หนาว พอเข้าพรรษา ก็เตรียมลดตอม่อ ลงมา เพื่อให้อิสระ

หาเชือกมาผูกติดกับตอม่อ กันกระแสน้ำไหล เวลาปลูกผัก ก็ใช้ระบบ ไฮโดรจีนิค ใช้น้ำรอบตัวมาหมุนเวียน

แหะๆๆๆ....พอดีช่วงนี้ฝากทุนทรัพย์ไว้บนเทือกเขาซะส่วนใหญ่น่ะค่ะ....กลัวว่าจะไม่มีเงินจอง...งั้นขอเก็บไม้ไอติมไว้สร้างเองดีกว่ามั้งคะ.... !32 !32 !32

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลัวน้ำท่วมเหรอครับ พอดี ไปเห็น โครงการของเพื่อน ที่จะทำบ้านขายให้กับ ประชาชนภาคอีสาน

ตามนโยบาย โครงการบ้านหลังแรก คาดว่า อนาคต ประชาชนจะไม่ต้องกลัวบ้านน้ำท่วมอีกครับ

ไม่ทราบ คุณ แหวนดอกไม้ จะจองเป็นคนที่ 100 ไหมครับ

 

นำบ้านที่ออกแบบ ไปตั้งไว้บนตอม่อ ในฤดูร้อน และ หนาว พอเข้าพรรษา ก็เตรียมลดตอม่อ ลงมา เพื่อให้อิสระ

หาเชือกมาผูกติดกับตอม่อ กันกระแสน้ำไหล เวลาปลูกผัก ก็ใช้ระบบ ไฮโดรจีนิค ใช้น้ำรอบตัวมาหมุนเวียน

 

น่าสนใจโครงการบ้าน(แบบนี้)หลังแรก ขายแต่บ้านไม่มีหน้าดินแน่ๆ ต้องฝากคุณเด็กขายของจองให้ 1 หลัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเด็กขายของครับ สมมุติว่าทองตอนนี้อยู่ที่ 1647 จะคิดให้เป็นบาทจะต้องทำอยางไรครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้องใหม่ครับ อยากทราบว่าตอนนี้ทางอยู่ที่ 1667 จะทำให้เป็นบาทจะต้องทำอย่างไรครับ

 

คร่าวๆ แต่ใกล้เคียง เวลาคำนวณราคาทอง เอา

US$1,667 * 31.04 (ค่าเงินบาทต่อ1 $ในเวลานั้น ๆ) * 0.4723 (ค่าคงที่ที่แปลงจากหน่วยออนซ์มาเป็นทองหน่วยบาท)

= ? บาท

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนอีกครั้งครับคือ เอา1667X31.04 ใช้หรือเปล่าครับแล้วทำอย่างไรต่อครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Operation Twist: จะมา'ทวิสต์'กันอีกหรือเปล่า

 

วิมุต วานิชเจริญธรรม เล่าตำนานและตั้งข้อสังเกตุ Operation Twist ความร่วมมือเฟด-คลัง ฉุดอัตราดบ.บัตรระยะยาวแต่ประสิทธิ์สู้ 50 ปีที่แล้วไม่ได้

 

2 กุมภาพันธ์ 2504 กระทรวงการคลังและธนาคารกลางของสหรัฐฯ(เฟด)ร่วมมือกันในปฏิบัติการที่เข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตร เพื่อกดอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรระยะยาวให้ลดต่ำลง โดยหวังผลจะกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชน ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงถดถอย

 

 

วิธีการดำเนินการนั้นคือ เฟดจะรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น(หรืออัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด)ไว้ให้คงที่ แต่จะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ของรัฐที่มีระยะเวลาไถ่ถอนตั้งแต่ระยะปานกลางถึงระยะยาว เพื่อพยายาม “กระตุก”(Nudge) ให้ดอกเบี้ยระยะยาวลดต่ำลง ในขณะที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯจะพยายามลดการออกตราสารหนี้ระยะปานกลาง-ยาวลง และใช้การกู้ยืมผ่านการออกตราสารหนี้ระยะสั้น(อันได้แก่พันธบัตรที่มีกำหนดไถ่ถอนตั้งแต่ 3 ปีลงมา)แทน เดิมการดำเนินการที่สอดประสานกันระหว่างคลังกับเฟดถูกเรียกขานกันภายในเฟดภายใต้ชื่อ “Operation Nudge” แต่ต่อมา คำว่า “กระตุก” กลับถูกแทนด้วยคำว่า “บิด” หรือ “Twist” ตามกระแสเพลงทวิสต์ของ Chubby Checker ที่ฮิตกันในช่วงเวลานั้น ปฏิบัติการนี้จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Operation Twist นับแต่นั้นมา

 

 

50 ปีให้หลัง Operation Twist (หรือ OT) ถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่น และนำออกใช้อีกครั้ง เมื่อภายหลังการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน วันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีข้อสรุปให้เฟดเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวกำหนดไถ่ถอน 6-30ปี เป็นมูลค่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่เฟดจะนำพันธบัตรระยะสั้นที่อยู่ในครอบครอง ออกมาขายในมูลค่าเท่าๆกัน

 

 

OT นับเป็นมาตรการทางนโยบายการเงินซึ่งถูกใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นรอบที่ 3 นับจากที่เกิดวิกฤติการเงินในปีคศ 2008 โดยในสองรอบก่อนหน้านี้เป็นการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินในปริมาณมหาศาลหรือที่เรียกว่ามาตรการผ่อนคลายทางปริมาณ (Quantitative Easing หรือ QE) จะเห็นได้ว่า Operation Twist ยังคงดำเนินการตาม QE ในสองรอบก่อนหน้า คือเป็นการเข้าซื้อตราสารทางการเงินระยะยาวเพื่อกดดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง ข้อแตกต่างระหว่างปฏิบัติการ OT กับ QE นั้นคือ ภายใต้ OT นั้น ปริมาณดอลล่าร์ที่ใช้ซื้อตราสารระยะยาว ถูกดึงออกจากระบบทั้งหมดด้วยการนำตราสารหนี้ระยะสั้นในมูลค่าที่เท่ากันมาออกขาย ซึ่งทำให้ปริมาณเงินดอลล่าร์ในระบบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ภายใต้ QE ปริมาณเงินดอลล่าร์สหรัฐฯถูกอัดเข้ามาในระบบเป็นจำนวนมหาศาล(เพื่อซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน) มิได้ถูกดูดซับออกจากระบบแต่อย่างใด

 

 

การใช้มาตรการเช่นนี้ถือว่าเป็นนโยบายการเงินแบบแหวกจารีต (Unconventional Monetary Policy) เพราะโดยทั่วไปเราจะเห็นธนาคารกลางสหรัฐฯดำเนินนโยบายการเงินผ่านการปรับ เพิ่ม/ลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคาร แต่เนื่องจากในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นนั้นใกล้ศูนย์แล้ว จึงทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเฟดจึงหันไปลดดอกเบี้ยระยะยาวแทน โดยผ่านการเข้าซื้อตราสารการเงินหรือตราสารหนี้ระยะยาว

 

 

การดำเนินมาตรการที่ผิดแผกไปจากธรรมเนียมปฏิบัติเช่นนี้ย่อมสร้างข้อกังขาให้กับสาธารณชนว่า จะมีประสิทธิภาพในการดำเนินการเพียงใด และจะคุ้มหรือไม่กับต้นทุนที่จะตามมาจากปฏิบัติการแหวกแนวเหล่านี้ (อาทิ เงินเฟ้อที่จะปรับตัวสูงขึ้นตามปริมาณเงินมหาศาลที่ใส่เข้ามาตามมาตรการ QE2 เป็นต้น)

 

 

ดังนั้นเราจึงพบว่า นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเงินในประเทศสหรัฐฯและยุโรปต่างพากันหันมาวิจัยถึงผลกระทบของการใช้นโยบายการเงินแบบแหวกจารีตนี้ จนทำให้เรื่องนี้กลายเป็นหัวข้อวิจัยอันดับต้นๆในสาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน(Monetary Economics) ในช่วงสามปีที่ผ่านมา งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ผมอยากหยิบยกมาถ่ายทอดให้กับผู้อ่านคืองานศึกษาที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Brookings Papers on Economic Activity ฉบับฤดูใบไม้ผลิ ปี 2554 ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างการใช้ Operation Twist เมื่อ 50 ปีก่อนกับมาตรการ QE2 ที่ดำเนินการตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว

 

งานวิจัยฉบับนี้มีชื่อว่า Let’s Twist Again: A High-Frequency Event-Study Analysis of Operation Twist and Its Implications for QE2 โดยนาย Eric Swanson นักเศรษฐศาสตร์ประจำเฟดแห่งนครซาน ฟรานซิสโก

 

 

นาย Swanson มองว่าปฏิบัติการเมื่อ 50 ปีก่อนกับ QE2 นั้นมีความ”เหมือนกัน” อยู่หลายประการ อาทิ ขนาดของเม็ดเงินที่ใช้ในปฏิบัติการ (วัดจากมูลค่าที่เทียบกับขนาดของเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา) แนวทางการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะยาวเพื่อหวังจะกระตุกให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดต่ำลง ดังนั้นการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ในแง่ของประสิทธิผลของมาตรการ OT สามารถอนุมานได้เป็นการประเมินผลของมาตรการ QE2 ในปัจจุบัน (ซึ่งเราอาจสามารถโยงต่อมาถึง OT ที่จะนำมาใช้ ณ วันนี้ได้ด้วย)

 

 

งานวิจัยนี้นั้นใช้วิธีการศึกษาที่เรียกว่า Event Study โดยนาย Swanson อาศัยข้อมูลรายวัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความถี่ของการจัดเก็บรวบรวมสูง มาศึกษาผลกระทบของการประกาศใช้นโยบายนี้ต่ออัตราดอกเบี้ยในตราสารระยะยาว แนวคิดเบื้องหลังของการทำวิจัยด้วยวิธีนี้คือ ความเชื่อที่ว่าตลาดการเงินจะตอบสนองต่อข่าวสารใหม่ๆอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถพบได้จากการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะปานกลาง/ยาว ในวันที่ตลาดการเงินรับรู้ว่าธนาคารกลางจะดำเนินมาตรการ OT นี้เลย ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลรายวัน จะชัดเจนกว่าการวัดผลโดยอาศัยข้อมูลรายไตรมาสหรือรายปี ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาที่ยาวนานกว่า และยากที่จะแยกแยะอิทธิพลของตัวแปรอื่นๆที่เข้ามาปะปนออกไป จนเราอาจไม่สามารถเห็นถึงผลของมาตรการ OT ได้อย่างชัดเจน

 

ในช่วงที่มีการใช้ OT นั้น (ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2504 ถึงราวต้นปี 2505) เฟดได้ประกาศต่อสาธาณะถึงการเข้าแทรกแซงอุปทานในตลาดพันธบัตรระยะยาวทั้งสิ้นเป็นจำนวน 6 ครั้งด้วยกัน Swanson ทำการวิเคราะห์การตอบสนองของอัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรระยะยาวในช่วงที่มีการประกาศทั้ง 6 ครั้งนี้ และดูว่าอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ได้ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ภายหลังจากที่ตลาดรับทราบถึงประกาศของเฟด การศึกษาที่อาศัยข้อมูลรายวันเช่นนี้สามารถขจัดอิทธิพลต่างๆของตัวแปรมหภาคในภาคเศรษฐกิจจริงออกไปได้ เพราะในช่วงเวลาสั้นๆวันต่อวัน ภาคเศรษฐกิจจริงจะไม่มีการปรับตัวที่มากมายเท่าใด ดังนั้นผลที่ปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ย จะเกิดจากปัจจัยทางตลาดเงินเท่านั้น

 

 

นาย Swanson พบว่า 5ใน6 ครั้งที่เฟดออกประกาศการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวลดต่ำลง โดย 4 ใน 5 เหตุการณ์นั้นเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ข้อค้นพบนี้บ่งบอกถึงความสำเร็จของมาตรการ Operation Twist ที่สามารถกระตุกให้ดอกเบี้ยระยะยาวลดต่ำลงได้ตามเป้าหมาย และถือเป็นความสำเร็จของการประสานความร่วมมือระหว่างเฟดกับกระทรวงการคลังด้วย ที่ดำเนินการในทิศทางที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ เมื่อเฟดเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว กระทรวงการคลังก็หลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปกู้ยืมในตลาดตราสารหนี้ระยะยาว และหันไปกู้โดยออกตราสารระยะสั้นแทน

 

ผลของการร่วมดำเนินการอย่างสอดคล้องนี้ยิ่งเห็นชัดในกรณีของ 1 เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2504 ที่เฟดเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว แต่อัตราผลตอบแทนกลับเพิ่มสูงขึ้น Swanson อธิบายเหตุการณ์นี้ว่าเป็นเพราะ กระทรวงการคลังสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงินเมื่อประกาศออกตราสารหนี้ระยะยาว (ระยะ 5ปี และ6ปี)เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้ภาครัฐ ตลาดการเงินจึงตีความว่ากระทรวงการคลังกำลังกลับลำ ไม่ผูกมัดตัวเองกับปฏิบัติการ OT อีกต่อไป ผลที่ตามมาคือ อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวพุ่งสูงขึ้นกว่าในวันก่อนหน้าที่เฟดจะเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว

 

แม้ว่าข้อสรุปสำคัญของงานวิจัยนี้จะชี้ว่า QE2 สามารถประสบความสำเร็จในการลดดอกเบี้ยระยะยาวเช่นเดียวกันกับ OT เมื่อ 50 ปีก่อนและจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนได้ แต่จากย่อหน้าข้างต้นทำให้เราได้เห็นถึงผลลัพท์ของการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่ไม่สอดประสานกัน ซึ่งนัยของประเด็นนี้จะมีความสำคัญต่อประสิทธิผลของ OT อย่างมาก

 

เพราะในปัจจุบันรัฐบาลของนายโอบามา มีหนี้สาธารณะเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับรายได้ประชาชาติ คือประมาณ 98% ของรายได้ประชาชาติ (ตัวเลข ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2554) เทียบกับอัตราส่วนร้อยละ 50 เมื่อปี 2504 นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐฯขณะนี้ยังต้องเผชิญหน้ากับสภาคองเกรสที่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในเรื่องของการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความต้องการกู้ยืมในตลาดพันธบัตรระยะยาวมากยิ่งขึ้นกว่าในยุคสมัยของประธานาธิบดีเคเนดี้ เมื่อ 50 ปีก่อนอีกด้วย

 

 

ดูท่าทาง “ทวิสต์” ในพ.ศ.นี้คงไม่ร้อนแรง หวือหวาดั่งเช่นที่ปรากฎเมื่อ 50 ปีก่อนนะครับ

 

 

 

Tags : Operation Twist

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...