ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

แม้ว่าการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (9 ธ.ค.) จะมีการบรรลุข้อตกลงบางประการที่เกี่ยวข้องกับมาตรการแก้ปัญหาและป้องกันการลุกลามของวิกฤติหนี้สาธารณะที่รุมเร้าประเทศในกลุ่มยูโรโซนอยู่ในเวลานี้ แต่ดูเหมือนว่าหลายฝ่ายยังไม่มั่นใจนักว่าผลการประชุมที่ออกมาจะเป็นทางออกที่แท้จริงสำหรับการแก้ปัญหาหนี้ อีกทั้งยังมีอีกหลายประเด็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการตอบโจทย์

 

++ เพิ่มกฎเหล็กคุมวินัยการคลัง

 ช่วงประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น มีการนำเสนอจากประเทศยักษ์ใหญ่ของยูโรโซน คือ เยอรมนีและฝรั่งเศส ให้มีการปรับเปลี่ยนสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรปเพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ทางการสหภาพยุโรป (อียู) ในการกำกับดูแลวินัยทางการคลังของประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวถูกคัดค้านจากนายเดวิด คาเมรอน ผู้นำอังกฤษ ที่ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าการปรับเปลี่ยนสนธิสัญญาไม่นำมาซึ่งประโยชน์แก่อังกฤษ

 

 ดังนั้น 17 ประเทศสมาชิกยูโรโซนร่วมกับอีก 9 ประเทศอียูที่เหลือ จึงตกลงกันในที่ประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปว่า จะทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อผสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้รวมเป็นหนึ่งเดียวกันมากยิ่งขึ้น และจัดระเบียบการคลังของประเทศสมาชิก โดยรายละเอียดหลักในสนธิสัญญาฉบับใหม่ระบุว่า เมื่อใดที่ประเทศสมาชิกยูโรมีการขาดดุลงบประมาณเกินกำหนด คือ 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประเทศนั้นจะถูกลงโทษโดยอัตโนมัติ นอกเสียจากประเทศสมาชิกมีมติยับยั้ง

 

 กฎดังกล่าวอันที่จริงไม่ใช่กฎใหม่ เป็นหนึ่งในข้อกำหนดสำหรับประเทศที่เข้ารวมกลุ่มการใช้เงินสกุลยูโรที่มีการตกลงกันไว้ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อนอยู่แล้ว แต่ภายใต้สนธิสัญญาฉบับใหม่จะมีการบังคับใช้ที่เด็ดขาดขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากระบวนการลงโทษประเทศที่มีการขาดดุลเกินข้อกำหนดโดยอัตโนมัตินั้นจะมีกระบวนการเป็นอย่างไร

 

 ยังมีอีกมาตรการหนึ่งที่รวมอยู่ในสนธิสัญญาฉบับใหม่ นั่นคือประเทศสมาชิกจะต้องผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่คล้ายคลึงกันที่ให้คำมั่นว่าจะทำงบประมาณให้สมดุล โดยเปิดช่องให้มีการปรับเปลี่ยนงบประมาณได้โดยอัตโนมัติถ้าการขาดดุลงบประมาณเชิงโครงสร้างเกินกว่า 0.5% ของจีดีพี

 

++ เริ่มกองทุนถาวรกลางปีหน้า

 นอกจากนี้ในที่ประชุมผู้นำยุโรปได้มีการตกลงกันที่จะเลื่อนการเริ่มใช้กองทุนช่วยเหลือถาวร European Stability Mechanism หรืออีเอสเอ็ม มูลค่า 5 แสนล้านยูโรจากปี 2556 มาเป็นช่วงกลางปีหน้า กองทุนอีเอสเอ็มจะเข้ามาทดแทนกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Financial Stability Facility) หรืออีเอฟเอสเอฟมูลค่า 4.4 แสนล้านยูโร ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะหยุดให้เงินช่วยเหลือในปี 2556

 

 อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังคงตัดสินใจไม่เพิ่มมูลค่าสูงสุดของขนาดเงินช่วยเหลือ โดยคงไว้ที่ 5 แสนล้านยูโร สำหรับกองทุนสองกองทุนรวมกัน ทำให้ปิดโอกาสที่กองทุนทั้งสองจะถูกนำมาใช้ร่วมกันเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือ อีกทั้งที่ประชุมไม่อนุมัติข้อเสนอที่จะมอบใบอนุญาตประกอบการธนาคารให้กับกองทุนอีเอสเอ็ม ซึ่งถ้ามีใบอนุญาตอีเอสเอ็มจะสามารถกู้เงินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้โดยตรง

 

 ขณะเดียวกันผู้นำยุโรปกล่าวว่า จะมอบเงินมูลค่า 2 แสนล้านยูโรให้กับบัญชีทั่วไปของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งจะช่วยให้ไอเอ็มเอฟมีกำลังเงินในการช่วยเหลือยุโรปได้มากขึ้น แต่เงินทั้ง 2 แสนล้านยูโร คงจะไม่ได้ถูกกันไว้ให้กับยุโรปทั้งหมด อีซีบีเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย และคงจะถูกคัดค้านจากผู้ถือหุ้นของไอเอ็มเอฟด้วย

 

++ กูรูเตือนใช้ยาไม่ถูกขนาน

 แม้จะมีการบรรลุข้อตกลงสำคัญในการประชุม แต่ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส วิเคราะห์ว่ายังมีอย่างน้อย 4 ประเด็นใหญ่ที่ยังต้องจับตามอง คือต้องใช้เงินมูลค่ามากแค่ไหนเพื่อปกป้องอิตาลีจากการถูกโจมตีในตลาดพันธบัตร ธนาคารจะเกิดการสะดุดเพราะวิกฤติหรือไม่ การแยกตัวของอังกฤษจากข้อตกลงฉบับใหม่ และข้อตกลงฉบับใหม่เป็นการแก้ปัญหาถูกจุดหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการผ่านร่างข้อตกลงฉบับใหม่กับสภาประเทศต่างๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึงฤดูร้อนปี 2555 เป็นอย่างเร็วที่สุด

 

 มีความคาดหวังว่าการทำข้อตกลงควบคุมวินัยทางการเงินของกลุ่มประเทศยูโรจะทำให้อีซีบียินดีเข้ามามีบทบาทในการช่วยแก้วิกฤติมากขึ้น นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี ก็ออกมาสนับสนุนมติของที่ประชุมว่า ถือเป็นรากฐานที่สำคัญที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจและการคลังที่มีวินัยมากขึ้นของยูโรโซน กระนั้นแหล่งข่าวจากในอีซีบีกล่าวกับรอยเตอร์ว่า คณะผู้บริหารของธนาคารตัดสินใจในวันพฤหัสบดี (8 ธ.ค.) ว่าจะจำกัดการซื้อพันธบัตรเอาไว้ที่ 2 หมื่นล้านยูโรต่อสัปดาห์ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนการตัดสินใจหลังจากได้รับทราบผลการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป

 

ผู้เชี่ยวชาญหลายรายกล่าวว่า ปัญหาหลักไม่ใช่เรื่องของวินัยการคลังมากเท่ากับเศรษฐกิจที่ไม่เติบโตและการขาดดุลงบประมาณอย่างหนักในเวลานี้ของประเทศในกลุ่มยูโรโซน นโยบายรัดเข็มขัดมักจะนำมาซึ่งเศรษฐกิจถดถอย ไม่ใช่การเติบโตทางเศรษฐกิจ และยุโรปจำเป็นต้องมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อเข้ามาแก้ปัญหาหนี้สิน

 

นายฌอง-พอล ฟิทูซซี ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Institute of Political Studies ในกรุงปารีสกล่าวว่า ข้อตกลงฉบับใหม่หรือที่ถูกเรียกว่าข้อตกลงบรัสเซลส์ "โดยรวมแล้วค่อนข้างน่าผิดหวัง เนื่องจากหมายความว่าจะมีการรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตจะลดลง"

 

ปัญหาคือจะส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศรอบนอกยูโรโซนที่มีปัญหาหนี้ก้อนโตและขาดดุลงบประมาณอย่างหนักได้อย่างไร "คุณจำเป็นต้องมีวินัยเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เพื่อสร้างเสถียรภาพ แต่จำเป็นต้องการยุทธศาสตร์สร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งกว่ามาสำหรับประเทศยุโรปใต้" ฟิทูซซี ให้ความเห็น

 

ขณะที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐอเมริกายังคงเรียกร้องให้เพิ่มมูลค่าเงินกองทุนให้มากขึ้นสำหรับปกป้องยูโรโซน นายโอบามากล่าวว่า ข้อตกลงบรัสเซลส์ไม่ได้ตอบโจทย์ว่าจะทำอย่างไรเพื่อแบ่งแยกจุดเชื่อมต่อระหว่างความอ่อนแอของภาคธนาคารและความอ่อนแอของการคลังระดับชาติ ซึ่งนับเป็นความล้มเหลวในการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาของธนาคารที่มีความเปราะบางต่อวิกฤติหนี้ เวลานี้ธนาคารยักษ์ใหญ่หลายแห่งในยุโรปกำลังประสบปัญหาในการกู้ยืมเงินจากธนาคารอื่นๆ จนทำให้อีซีบีและธนาคารกลางขนาดใหญ่อีกหลายแห่งต้องขยายการปล่อยกู้ให้กับธนาคารในยุโรป

 

++ จับตาอนาคตอังกฤษในอียู

 อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ ก็คือความแตกแยกระหว่างอังกฤษและประเทศสมาชิกอียูที่เหลือ การคัดค้านการแก้ไขสนธิสัญญาอียูของอังกฤษก่อให้เกิดความกังวลตามมาว่านายคาเมรอนได้สร้างระยะห่างระหว่างอังกฤษออกจากสมาชิกอียูอื่นๆ และท้ายที่สุดอังกฤษอาจจะต้องออกจากอียูเลยก็เป็นได้

 

 แต่นายคาเมรอนกล่าวยืนยันต่อรัฐสภาอังกฤษเมื่อต้นสัปดาห์ว่า "อังกฤษยังคงเป็นสมาชิกอียูเต็มตัว และเหตุการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนไม่ทำให้สถานะดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป การเป็นสมาชิกอียูสำคัญต่อผลประโยชน์ของประเทศเรา เราเป็นประเทศค้าขาย และเราต้องการความเป็นตลาดเดียวของอียูเพื่อการค้า การลงทุน และการจ้างงาน"

 

 นายคาเมรอนให้เหตุผลว่าของการคัดค้านว่า ข้อเสนอการแก้ไขสนธิสัญญา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหายนะแก่เศรษฐกิจยุโรปด้วยการเสริมสร้างวินัยทางการคลัง ไม่ได้รับประกันว่าจะสามารถปกป้องอนาคตของธุรกิจบริการด้านการเงินของอังกฤษ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ

 

  คำถามสำคัญต่อจากนี้คือ อังกฤษจะยังคงมีอำนาจในการต่อรองกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปเรื่องการเงินและประเด็นอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน แม้นายคาเมรอนยืนยันว่าสถานะของอังกฤษในอียูไม่เปลี่ยนแปลง แต่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย กระนั้นทั้งนางอันเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโกลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส แม้จะกล่าวแสดงความเสียใจที่อังกฤษไม่เข้าร่วมในข้อตกลง แต่ก็ยังยืนยันหนักแน่นว่าอังกฤษเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนที่สำคัญ และเป็นส่วนสำคัญของยุโรป

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 ธันวาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เทกระจาดขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกหุ้นสหรัฐ-ยุโรปร่วง1-3%-น้ำมันดิ่ง$5-ทองทรุด$76-เงินยูโรร่วงแตะ$1.2991

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554AAAขนาดตัวอักษร| |

 

รูปอื่นๆ :

เงินยูดรเสื่อมค่าลงแตะต่ำกว่าระดับจิตวิทยา 1.3000 มาอยู่ที่ 1.2991 ต่อดอลลาร์ สะท้อนอากาสะสมที่ผิดหวังของนักลงทุนบวกกับความไม่เชื่อมั่นในมาตรการแก้วิกฤติหนี้ยุโรปมากขึ้นเป็นทวีคูณ โดยจุดปะทุเกิดขึ้นอีกเมื่อผลประมูลพันธบัตรอิาลี 3 พันล้านยูโร yield พุ่งทะลุ 6.47% บ่งชี้ความเสี่ยงสูงขึ้น กดดันนักลงทุนขายทิ้งสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ปรับฐานก่อนปิดบัญชีสิ้นปี 2011 ดาวโจนส์ร่วงกว่า 131 จุด ส่วน CAC40 ฝรั่งเศส ดิ่งลงรุนแรงมากที่สุด 3.3% ตามด้วย FT100 ลอนดอนร่วง 2.25% หลังจากที่เริ่มปรากฏความแตกแยกในข้อตกลงสร้างวินัยทางการเงิน การคลังในกลุ่มยูโรโซน และอิตาลีถูกบังคับให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในการออกพันธบัตรครั้งใหม่ ด้านน้ำมันดิ่งแรงสุดในรอบ 1 เดือน 5.19 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 94.95 ดอลลาร์จ่อบาร์เรล ขณะที่นักลงทุนขายทิ้งทองคำดิ่งลึกถึง 76 ดอลลาร์ปิดตลาดนิวยอร์คที่ 1,586 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิค เปิดตลาดช่วงเช้าวันนี้ ร่วงลงทันทีมากว่า 1% โดยนิคเคอิร่วง 1.03% คอสปี้ ลบ 1.13% ออสซี่ ร่วง 1.38% และร่วงลงต่อในเอเชียเช้าวันนี้ที่ 1,579 ดอลลาร์

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดตลาดวานนี้ (14 ธ.ค.) ลดลง 131.46 จุดหรือ 1.10% ปิดตลาดที่ 11823.48 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ร่วงลงไป 13.91จุด หรือ 1.13% ปิดตลาดที่ 1211.82 ขณะที่ดัชนีแนสแดก ติดลบ 39.96 จุด หรือ 1.55% ปิดตลาดที่ 2,539.31

 

ทางด้านฟากฝั่งยุโรป กัชนีร่วงลงเฉลี่ย โดย FT100 ลอนดอน ร่วงลง 2.25% CAC40 ฝรั่งเศส ดิ่งหนักหน่วง 3.33% และ DAX เยอรมัน ทรุดลง 1.72%

 

"การอ่อนค่าลงของค่าเงินยุโร ทำให้นักลงทุนเกิดความวิตกกังวล ทำให้เกิดความกลัวรอบใหม่เกี่ยวกับวิกฤติหนี้สาธารณะของกลุ่ม ประกับความไม่แน่นอนที่มาจากการแสดงความเห็นของนางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ที่ย้ำว่า การแก้ปัญหาในกลุ่มยูโรโซนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา

 

ในส่วนของสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกนั้น ความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ในยุโรโซน ประกอบกับผลการประชุมของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) ที่ตกลงว่าจะผลิตน้ำมันตามเพดานคือวันละ 30 ล้านบาร์เรล ฉุดให้ราคาน้ำมันดิบโลก ปิดตลาดร่วงลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดในเดือนนี้ โดยราคาน้ำมันไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ปรับตัวร่วงลงไป 5.19 ดอลลาร์ หรือ 5.2% ปิดตลาดที่ราคา 94.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.

 

ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะเลเหนือ ตลาดลอนดอน ร่วงลงไป 4.83 ดอลลาร์ หรือ 4.4% ปิดตลาดราคาอยู่ที่ 104.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นอกจากนี้ โภคภัณฑ์อื่นๆต่างก็ปรับตัวร่วงลงถ้วนหน้า เริ่มจากราคาทอง ส่งมอบล่วงหน้าเดือนก.พ.ลดลง 76.20 ดอลลาร์ หรือ 4.6% ปิดตลาดที่ราคา 1,586.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถือเป็นการดิ่งลงไปอยู่ระดับต่ำกว่า 1,600 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกของราคาทองคำ นับตั้งแต่เดือนก.ย.เป็นต้นมาและต่ำที่สุด นับตั้งแต่เดือนก.ค.

 

ขณะที่ ราคาเงิน ส่งมอบเดือนม.ค. ร่วงลงไป 2.325 ดอลลาร์ หรือ 7.4% ปิดตลาดที่ 28.935 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทองแดง ร่วงลงไป 16.3 เซนต์ หรือ 4.7% ปิดที่ 3.2785 ดอลลาร์ต่อปอนด์ และพัลลาเดียม ร่วงลงไป 44.55 ดอลลาร์ หรือ 6.7% ปิดที่ 619.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และทองคำขาว ปรับตัวลง 66 ดอลลาร์ ปิดที่ราคา 1,426.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ระบุ"เบอร์นันเก้"เมินแผนอัดฉีดเหตุว่างงานต่ำ-เศรษฐกิจแกร่ง

 

นายมาร์ติน ฮัทชินสัน ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันอังคาร(13ธ.ค.) ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัญ(เฟด ) ซึ่งเกิดในวันที่ 13 ธ.ค. ปี2496

 

นายฮัทชินสัน ระบุว่า เฟด ไม่ได้ประกาศมาตรการใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวานนี้ เนื่องจากอัตราการว่างงานในสหรัฐได้ลดลงสู่ระดับ 8.6 % ในเดือนพ.ย. และมีการปรับทบทวนตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐประจำไตรมาส 4 ให้สูงขึ้นจากเดิม ดังนั้น แถลงการณ์ล่าสุดของเฟดจึงมุ่งเป้าไปยังปัญหาในระดับโลก โดยเฉพาะในยุโรป

 

นายฮัทชินสัน ระบุด้วยว่า เฟดไม่ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 หรือคิวอี ซึ่งเป็นมาตรการในการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเพิ่มเติม โดยปัจจัยดังกล่าว และการที่ปริมาณเงินของสหรัฐอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลให้นโยบายของนายเบอร์นันเก้ ในการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสิ้นสุดลงก่อนถึงวันคล้ายวันเกิดครบรอบอายุ 59 ปีของเขาในเดือนธ.ค.ปี 2555

 

นายฮัทชินสัน มองว่า เนื่องจากนโยบายของเฟดอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ ทั้งในด้านอัตราดอกเบี้ย และด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงิน และเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐ อยู่ในภาวะแข็งแกร่งขึ้นมากในระยะนี้ เฟดจึงจำเป็นต้องหาเหตุผลเพิ่มเติม ในการไม่คุมเข้มนโยบายการเงิน และวิกฤติหนี้ยูโรโซน ก็ถือเป็นเหตุผลดังกล่าว รวมทั้ง การชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วย ถึงแม้เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณว่า จะกลับไปใช้มาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในปริมาณมากอีกครั้ง เหมือนอย่างที่นักวิเคราะห์บางรายเคยคาดการณ์กันไว้

 

"เจพี.มอร์แกน"ชี้ปีหน้าสดใสหุ้นขึ้น-วิกฤติยุโรปคลี่คลาย

 

"เจพี.มอร์แกน"ชี้ปีหน้าสดใสหุ้นขึ้น-วิกฤติยุโรปคลี่คลายขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฟื้นตัวมากขึ้นปีหน้า

 

เจพี.มอร์แกน คาดการณ์ว่า ดัชนีเอสแอนด์พี 500 อาจพุ่งแตะระดับ 1,430 ภายในสิ้นปีหน้า ซึ่งเป็นระดับที่เคยเข้าทดสอบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพ.ค.ปี 2551 ก่อนที่วิกฤติการเงินทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย และคาดว่า วิกฤติยูโรโซนจะคลี่คลายลงภายในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า โดยยุโรป อาจฟื้นตัวจากภาวะถดถอยภายในกลางปีหน้า และยังเชื่อว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐน่าจะมีการฟื้นตัวมากขึ้นอีกในปีหน้า

 

เจพี.มอร์แกน ยังเชื่อว่า เศรษฐกิจจีนอาจจะหลีกเลี่ยงภาวะทรุดตัวรุนแรงในปีหน้า ส่วนการเลือกตั้งของสหรัฐในปีหน้าจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น โดยหุ้นมักมีการเคลื่อนไหวที่ดีมากในอดีต เมื่อประธานาธิบดีในขณะนั้น มีคะแนนนิยมต่ำก่อนปีการเลือกตั้ง

 

นอกจากนี้ เจ.พี.มอร์แกนคาดการณ์ว่า ตลาดตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีมากในปีหน้า ส่วนอัตรากำไรสุทธิของบริษัทต่างๆจะปรับตัวดีขึ้นในปีหน้า และบริษัทต่างๆจะมีผลตอบแทนในรูปเงินสดทั้งหมดสูงถึง 2.50 แสนล้านดอลลาร์ในปีหน้า

 

ในมุมมองของเรา กรอบในปีหน้าอาจจะดูเหมือนกับการฟื้นตัวในปี 2552 จากวิกฤติการเงิน และโอกาสที่วงจรธุรกิจจะขยายตัวมากขึ้น เป็นผลมาจากการที่ยุโรปฟื้นตัวจากภาวะถดถอย และการผ่อนคลายนโยบายของจีน "นายโทมัส ลี หัวหน้านักวางแผนกลยุทธ์หุ้นสหรัฐ จากเจ.พี.มอร์แกน ให้ความเห็น

 

เจพี.มอร์แกน คาดการณ์ด้วยว่า หุ้นที่เคลื่อนไหวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ อาทิเช่น หุ้นกลุ่มวัสดุ กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มการเงิน จะมีความโดดเด่น และบริษัทได้เลือกหุ้นกลุ่มการเงินเป็นกลุ่มที่น่าลงทุนมากที่สุดสำหรับปีหน้า

 

คาดโอเปกผลิตน้ำมัน 30ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

คาดโอเปกเห็นพ้องข้อตกลงใหม่ผลิตน้ำมัน 30 ล้านบาร์เรลต่อวันในการประชุมพรุ่งนี้ ลดความแตกแยกภายในกลุ่ม

 

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ตั้งเป้าที่จะทำข้อตกลงใหม่ ในการกำหนดปริมาณการผลิตน้ำมันไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขความแตกแยกภายในโอเปก หลังจากประสบความล้มเหลวในการทำข้อตกลงในการประชุมครั้งสุดท้ายในเดือนมิ.ย.

 

ทั้งนี้ โอเปกจะจัดการประชุมในวันพรุ่งนี้ โดยสมาชิกต้องการกำหนดนโยบาย ที่น่าเชื่อถือสำหรับช่วงปีหน้า ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกอาจเติบโตอย่างเชื่องช้า ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิง และอาจทำให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ดิ่งลงจากระดับราว 107 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปัจจุบัน

 

นายชาคิบ เคลิล อดีตรัฐมนตรีน้ำมันแอลจีเรีย กล่าวว่า โอเปกจำเป็นต้องบรรลุข้อตกลงในการประชุมครั้งนี้ เพราะจำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือ ถ้าหากกลุ่มโอเปกไม่สามารถกำหนดเป้าหมายในการผลิตน้ำมัน ประเทศสมาชิกโอเปก เช่น ซาอุดิอาระเบีย และบางประเทศในอ่าวอาหรับ ก็มีสิทธิที่จะผลิตน้ำมันได้มากเท่าที่ต้องการ

 

ก่อนหน้านี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญของกลุ่มโอเปก จัดประชุมร่วมกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับรายงานของสำนักงานใหญ่โอเปก ที่คาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันดิบโอเปกอาจอยู่ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 เท่ากับปริมาณการผลิตของโอเปกในปัจจุบัน

 

ขณะที่ปริมาณสต็อกน้ำมันในคลังของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) อยู่ที่ระดับเพียงพอตอบสนองอุปสงค์ได้เป็นเวลานาน 55 วันในขณะนี้ เทียบกับ 61 วันในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเด็กขายของพอจะมีบทวิเคราะห์ของเจพีมอร์แกนมองปี 2555 ว่าอย่างไรบ้างมั้ยค่ะ... ขอบคุณค่ะ

"เจพี.มอร์แกน"ชี้ปีหน้าสดใสหุ้นขึ้น-วิกฤติยุโรปคลี่คลายขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฟื้นตัวมากขึ้นปีหน้า

 

เจพี.มอร์แกน คาดการณ์ว่า ดัชนีเอสแอนด์พี 500 อาจพุ่งแตะระดับ 1,430 ภายในสิ้นปีหน้า ซึ่งเป็นระดับที่เคยเข้าทดสอบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพ.ค.ปี 2551 ก่อนที่วิกฤติการเงินทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย และคาดว่า วิกฤติยูโรโซนจะคลี่คลายลงภายในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า โดยยุโรป อาจฟื้นตัวจากภาวะถดถอยภายในกลางปีหน้า และยังเชื่อว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐน่าจะมีการฟื้นตัวมากขึ้นอีกในปีหน้า

 

เจพี.มอร์แกน ยังเชื่อว่า เศรษฐกิจจีนอาจจะหลีกเลี่ยงภาวะทรุดตัวรุนแรงในปีหน้า ส่วนการเลือกตั้งของสหรัฐในปีหน้าจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น โดยหุ้นมักมีการเคลื่อนไหวที่ดีมากในอดีต เมื่อประธานาธิบดีในขณะนั้น มีคะแนนนิยมต่ำก่อนปีการเลือกตั้ง

 

นอกจากนี้ เจ.พี.มอร์แกนคาดการณ์ว่า ตลาดตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีมากในปีหน้า ส่วนอัตรากำไรสุทธิของบริษัทต่างๆจะปรับตัวดีขึ้นในปีหน้า และบริษัทต่างๆจะมีผลตอบแทนในรูปเงินสดทั้งหมดสูงถึง 2.50 แสนล้านดอลลาร์ในปีหน้า

 

ในมุมมองของเรา กรอบในปีหน้าอาจจะดูเหมือนกับการฟื้นตัวในปี 2552 จากวิกฤติการเงิน และโอกาสที่วงจรธุรกิจจะขยายตัวมากขึ้น เป็นผลมาจากการที่ยุโรปฟื้นตัวจากภาวะถดถอย และการผ่อนคลายนโยบายของจีน "นายโทมัส ลี หัวหน้านักวางแผนกลยุทธ์หุ้นสหรัฐ จากเจ.พี.มอร์แกน ให้ความเห็น

 

เจพี.มอร์แกน คาดการณ์ด้วยว่า หุ้นที่เคลื่อนไหวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ อาทิเช่น หุ้นกลุ่มวัสดุ กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มการเงิน จะมีความโดดเด่น และบริษัทได้เลือกหุ้นกลุ่มการเงินเป็นกลุ่มที่น่าลงทุนมากที่สุดสำหรับปีหน้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียอ่อนตัวลงเช้านี้ เนื่องจากตลาดยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะติดขัดในการระดมทุนเพื่อคลี่คลายวิกฤตหนี้ในยุโรป ขณะที่เงินวอนอ่อนตัวลง

 

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 8,449.05 จุด ลดลง 70.08 จุด ขณะที่ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 18,122.73 จุด ลดลง 231.70 จุด ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนอ่อนตัว 0.57% เปิดที่ 2,215.79 จุด ส่วนดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 6,874.18 จุด ลดลง 48.39 จุด ดัชนีคอมโพสิต

 

 

 

ตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,834.82 จุด ลดลง 22.93 จุด ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,458.10 จุด ลบ 5.02 จุด ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,179.70 จุด ลดลง 10.80 จุด และดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,649.79 จุด ลดลง 22.60 จุด

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index อ่อนตัว 0.7% เมื่อเวลา 9.38 น.ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงโตเกียว

 

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำไตรมาส 4 โดยระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ -4 จุด ในเดือนธ.ค. จากไตรมาส 3 ที่ระดับ +2 จุด ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส เนื่องจากการแข็งค่าของเงินเยนได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมส่งออกของญี่ปุ่น

 

ทั้งนี้ ตลาดจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เช่น การขายพันธบัตรของรัฐบาลสเปนและออสเตรเลียในวันนี้

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นฮ่องกงดิ่งลงในวันนี้ และมีแนวโน้มว่าจะร่วงลงเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันตามตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะที่การทรุดตัวลงของหุ้น CNOOC ฉุดดัชนีฮั่งเส็ง ร่วงต่ำกว่าแนวรับทางเทคนิค

ณ เวลา 09.18 น.ตามเวลาไทย ดัชนีฮั่งเส็งดิ่งลง 389.55 จุด หรือกว่า 2% มาที่ 17,964.88

 

นอกจากนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีที่พุ่งขึ้นอย่างมากได้ลดความ เชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการดำเนินมาตรการใหม่ด้านงบประมาณของยุโรป

ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกงอาจจะยังคงเบาบางต่อไป จนถึงช่วงปลายปีนี้ ขณะที่กองทุนส่วนใหญ่เสร็จสิ้นการทำสถานะซื้อสำหรับ ปีนี้แล้ว ซึ่งยิ่งทำให้ตลาดขาดปัจจัยหนุน

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณเด็กขายของ - กำลังคิดว่าวิกฤตหนี้ยุโรปจะสามารถจัดการได้ภายใน 6 เดือนที่เจพีมอร์แกนวิเคราะห์ไว้หรือเปล่า ทำไมตอนแรกนักวิเคราะห์ว่าจะรุนแรงและยาวนาน เลยงง งง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปข่าวเช้านี้ ที่ต้องมองย้อนหลังข่าว

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงมาปิดตลาดที่ระดับปิดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ท่ามกลาง ปริมาณการซื้อขายที่เบาบางในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าฝรั่งเศส อาจจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และความกังวลที่ว่าวิกฤติหนี้ยูโรโซนจะส่งผลลบ ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงหนักสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (14 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากการที่นายสเปนเซอร์ เดล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางอังกฤษ เตือนว่า เศรษฐกิจอังกฤษอาจจะหดตัวลงอย่างน้อย 0.25% ก่อนที่จะ "ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย" ในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า

 

ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ธ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยุโรป หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีของอิตาลีพุ่งขึ้นแตะระดับ 6.47% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2540 และจากรายงานที่ว่านายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคลของเยอรมนี ยังคงเดินหน้าคัดค้านข้อเสนอการปรับเพิ่มเพดานการปล่อยเงินกู้ของกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ตลอดจนการที่นายเจนส์ ไวด์แมน ประธานธนาคารกลางเยอรมนียังได้ออกมาคัดค้านแผนการเพิ่มทุนให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แม้ที่ประชุมอียูเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีมติให้อัดฉีดเงิน 2 แสนล้านยูโรให้กับไอเอ็มเอฟก็ตาม

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฮ้อ...ได้แต่ถอนใจ คาดไว้แล้วว่าจะเป็นแบบนี้ พยามเลี่ยงมาตลอดเพื่อรอวันนี้

 

สุดท้ายกิน แห้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

By Steve Goldstein

WASHINGTON (MarketWatch) -- A White House spokesman Wednesday night called for Congress to pass a short-term funding bill rather than one funding the government through the rest of the fiscal year, saying President Barack Obama has concerns about the provisions in the omnibus bill.

 

The government will shut if a funding bill is not passed by Friday night.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(-)

 

By V. Phani Kumar

HONG KONG (MarketWatch) -- A preliminary reading of HSBC's China purchasing managers' index released Thursday showed the level of activity at the mainland's factories continued to contract in December, though the rate of decline was less than in November. HSBC's so-called flash PMI for China fell to 49 in December, remaining below the thresold of 50 that separates expansion from contraction. In November, the final reading of HSBC's PMI for the country was at 47.7, indicating a steeper contraction from the levels in October. The flash PMI figure is typically based on the responses from 85% to 90% of the total respondents.

 

China's Shanghai Composite Index CN:000001 -1.53% fell 1.8%

Hong Kong's Hang Seng Index HK:HSI -2.05% was down 2.4% after the data release.

รายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ. ลดลงไปที่ 49

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้มีประกาศตัวเลขอะไรช่วงค่ำหรือไม่ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คิดในแง่ดีไว้ครับ พวกกองทุนคงได้ของถูกไว้เยอะแล้ว เดี๋ยวอเมริกาอาจจะช่วยพยุงเศรษฐกิจยุโรปด้วยการพิมพ์แบงก์เพิ่มก็ได้ครับ หรือไม่ S&P อาจจะบอกว่าเปลี่ยนใจไม่ลดอันดับก็ได้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณเด็กขายของสำหรับข่าวคราว

สวัสดีเพื่อนๆ ทุกท่าน สงสัยว่าวันนี้มีใครกล้าซื้อเพิ่มมั๊ยน๊อ

แล้วจะมีของขวัญวันคริสมาสต์บ้างมั๊ยน๊อ ไม่โลภมากหรอกแค่ "กลับมาเถิดวันวาน" (ขออภัยไม่ได้แนบ MV) ซัก 17xx ก็ยังดี

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...