ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ครับๆ วันนี้เพลียเรย นอนกันเถอะๆ ~.~ zZzZ Zzz

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดียามเช้า เพื่อนชาวดอย อุตา่ห์อดนอนรอมันกลับต้ว มันก็ไม่กลับ มันจะเอาไงหว่า

 

ออนตอนนี้ 1644 23975/24035 จ๊า เดาทางเดาใจแปะไม่ออก

 

 

กดไปแล้ว 24024 วัดใจแปะ

ถูกแก้ไข โดย เกี้ยมอี๋

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มารอรับข่าวจากพี่เด็กขายของครับ และมารอรับแรงเชียร์ขึ้นจากกัปตัน และพี่ๆทุกคนครับ >.<

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มันจะขายไปซื้อจรวดทำสงครามโลกกันหรือไง

ถูกแก้ไข โดย jumbo A

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์จ้าทุกๆ คน

อย่าเครียดกันน๊า อย่างน้อยตอนนี้ก็ดีดขึ้นมาเท่ากับเมื่อคืนก่อนนอนน๊า เดี๋ยวก็ดีดขึ้นอีก ไม่เชื่อคอยดูสิ

โชคดีคร่าาาาาาาา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

924f5520310522c1f7b25d7d18341bc9_1236764128.gif

น้ำมันดิ่งแรงอุปสงค์มะกันอ่อน-หุ้นสหรัฐฯปิดกรอบแคบ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มีนาคม 2555 05:29 น.

 

       เอเอฟพี - ราคาน้ำมันร่วงลงแรงวานนี้(14) หลังดอลลาร์อ่อนค่าและสัญญาณอุปสงค์ที่อ่อนแอ ขณะที่วอลล์สตรีท ปิดในกรอบแคบๆท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง

       

       สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน ลดลง 1.28 ดอลลาร์ ปิดที่ 105.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเมษายน ลดลง 1.25 ดอลลาร์ ปิดที่ 124.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

       

       ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันโลกวานนี้คือข้อมูลที่ชี้ว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นอย่างมากขณะที่การกลั่นก็ลดลงท่ามกลางสภาพอุณหภูมิอุ่นผิดฤดูที่ปกคลุมทั่วประเทศ

       

       นอกจากนี้แล้วตลาดยังปรับขึ้นจากการคลายความกังวลต่อปัญหาอุปทานตึงตัว หลังซาอุดีอาระเบียรับประกันว่าจะผลิตน้ำมันเพิ่มเติมส่วนที่ขาดแคลนอันมีสาเหตุมาจากมาตรการกดดันอิหร่านต่อโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขา

       

       ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(14) ปิดผสมผสาน ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง หนึ่งวันหลังจากที่ขยับอย่างแรง จากการขับเคลื่อนของหุ้นกลุ่มธนาคาร

       

       ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 16.42 จุด (0.12 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 13,194.10 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 0.85 จุด (0.03 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,040.73 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 1.67 จุด (1.12 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,394.28

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

โพลชี้อเมริกันชนหนุนกองทัพใช้กำลังทหารโจมตีอิหร่าน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มีนาคม 2555 00:25 น.

 

       เอเจนซี - อเมริกันชนส่วนใหญ่สนับสนุนใช้กำลังทหารโจมตีอิหราน หากมีหลักฐานว่าเตหะรานกำลังสร้างอาวุธนิวเคลียร์ แม้ว่าสงครามนี้อาจผลักให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นก็ตาม ผลการสำรวจความคิดเห็นของรอยเตอร์ส/อิปโซสเผย ขณะเดียวกันราวร้อยละ 62 ก็สนับสนุนให้อิสราเอลถล่มเตหะรานด้วยเหตุผลเดียวกัน

       

       ผลสำรวจความคิดเห็นของสำนักโพลรอยเตอร์สและอิปโซสพบว่าประชาชนชาวสหรัฐฯร้อยละ 56 สนับสนุนให้อเมริกาใช้ปฏิบัติการทางทหารกับอิหร่านหากพบหลักฐานเกี่ยวกับโครงการอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนฝ่ายที่คัดค้านมีอยู่ราวร้อยละ 39

       

       เมื่อถามว่าพวกเขายังจะสนับสนุนให้สหรัฐฯลงมือโจมตีทางทหารหรือไม่หากมันอาจนำมาซึ่งราคาน้ำมันเบนซินพุ่งสูง ชาวอเมริกันร้อยละ 53 ตอบว่าสนับสนุนเหมือนเดิม ส่วนร้อยละ 42 ไม่สนับสนุน

       

       ก่อนหน้านี้เมื่อวันอังคาร(13) อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหาที่บอกว่าพวกเขาพยายามทำความสะอาดชำระล้างร่องรอยกัมมันตภาพที่เหลืออยู่ ณ ศูนย์นิวเคลียร์ลับซึ่งตั้งอยู่ในค่านทหารแห่งหนึ่ง ก่อนอนุญาตให้คณะผู้ตรวจสอบนิวเคลียร์ของสหประชาชาติเดินทางเข้าตรวจสอบเขตหวงห้ามทางทหารแห่งนี้

       

       โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านบอกกับผู้สื่อข่าวในเตหะรานว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นการเข้าใจผิดและผิดพลาด และยืนยันว่าร่องรอยทางนิวเคลียร์ไม่สามารถล้างออกได้

       

       ภาพถ่ายจากดาวเทียมของค่ายทหารพาร์ชินของอิหร่านที่ถูกเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พบว่ามีรถบรรทุกและรถขนดินเคลื่อนไหวอยู่บริเวณดังกล่าว และจากการประเมินของคณะผู้เชี่ยวชาญทางนิวเคลียร์ของสหประชาชาติในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย สันนิษฐานว่ามันอาจเป็นปฏิบัติการทำความสะอาด

       

       ผู้เชี่ยวชาญของยูเอ็นบอกว่าคณะทำงาน ณ ค่ายทหารพาร์ชิน อาจพยายามลบหลักฐานของการทดสอบชนวนอาวุธนิวเคลียร์เล็กๆ ขณะที่อิหร่าน ปฏิเสธคำกล่าวหาล่าสุดนี้ อย่างไรก็ตามคำประเมินนี้ได้เพิ่มเติมความตึงเครียดเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ที่ทางชาติตะวันตกกังวลว่าเตหะรานกำลังเดินหน้าสร้างอาวุธนิวเคลียร์ แต่อิหร่านยืนกรานว่าเป็นโปรแกรมเพื่อสันติ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

555000003504501.JPEG

 

ขีปนาวุธของอิสราเอลที่พร้อมสำหรับโจมตีอิหร่าน ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกา สนับสนุนปฏิบัติการโจมตีอิหร่านหากพบว่าเตหะรานกำลังสร้างอาวุธนิวเคลียร์จริง

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

CONSUMER INFLATION EXPECTATION

Actual: 2.7%Cons.: Previous:  2.5%

 

The Consumer Inflation Expectation released by the Melbourne Institute presents the consumer expectations of future inflation during the next 12 months. The higher expectations, the stronger the effect they will have on a probability of a rate hike by the RBA. Therefore, a high reading should be taken as positive, or bullish, for the AUD, while a low expectations are seen as negative or bearish.

 

Forex: AUD/USD lower on rising yields; inflation data ahead

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ เฮียนายห้างฯ คุณ เด็กขายของ คุณ nuchaba คุณ ปุยเมฆ คุณ NongRee คุณ GB2514 คุณ Raty คุณ Mr.Li คุณ Aiya คุณfoo คุณ พลอยสีสวย คุณ เกี้ยมอี๋ คุณ พวงชมพู คุณ Racha คุณ arthas คุณ กระต่ายทอง คุณ ขาใหม่ คุณ Jumbo A คุณ nene81 คุณ modtanoiy คุณ kimenyi คุณ Kero. Kero คุณ noijaa คุณ kaykee คุณ ท่านตี๋ คุณ แมวหลวง คุณ Pasaya คุณ nufirst คุณ ดาวเหนือ คุณ noonoon_ja คุณ Madee คุณ khaiped คุณ forgame และทุกๆท่านครับ(ขออภัยที่เอ่ยนามไม่ครบครับ)

 

สัญญาณราย 4 ชั่วโมงจะตัดขึ้นแล้วนะ ถ้าวันนี้ไม่ดีดแรงสักหน่อย หรือมายาวๆ หรือเอาแค่มายืนแถว 1650-1680 ได้ คงหมดอารมณ์ลุ้น หรือถ้ามีแววลงต่อไปถึง 1600 ต้นๆ คงพิจารณาเอาทองต้นทุนต่ำทั้งหมด รวมถึงกำไรแท่งละบาทที่สะสมเอาไว้ เทขายทั้งหมด แล้วมายืนถือเงินสดรอดูอยู่นะครับ :Wt

 

แม้กราฟรายวันยังลงไม่สุด แต่ไม่ลงไปกว่านี้ หรือดีดมายืน 1650 ได้ไม่หลุดลงไปอีก คงมีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง เดาว่าน่าจะเป็นไปตามนั้นครับ คงไม่ลงต่อไป 1600 ต้นๆแล้วนะครับ 1633 โลว์ใหม่ขอให้สุด(เถอะนะ) ไม่อย่างนั้น เทจริงๆด้วย :Dh

 

ปล. ขาใหญ่น่าจะปั่นข่าวอีหร่านน๊า ไงก็ได้ หาเรื่องขึ้นทีเหอะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดียามเช้าพี่ใหญ่. กัปตัน และเพื่อนทุกคน

 

วันนี้รอดูว่าตู้แดง จะ sale. ให้อีกเท่าไหร่ เหลือตังเฮือกสุดท้ายจริง ๆๆ หุหุ

 

 

morning-wish.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เทขายทองทำกำไรร่วงหนัก51.30ดอลล์

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555AAAขนาดตัวอักษร| |

 

นักลงทุนกระหน่ำขายทองเพื่อทำกำไรอย่างหนัก ราคาร่วงลงถึง 3% สวนทางเงินดอลลาร์ขยับแข็งค่าขี้นมากที่สุดในรอบ 11 เดือนเทียบเงินเยนที่ 83.56 หลังเฟดไม่ส่งสัญญาณในการอัดฉีดเงิน QE3 โดยราคาทองคำตลาดสหรัฐปิดตลาดร่วงหนัก 51.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1.642.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังดิ่งลงลึกถึง 1,635 ดอลลาร์ ขณะที่ดัชนีหุ้นสำคัญสหรัฐปิดตลาดไร้ทิศทาง ดาวโจนส์-แนสแดกปิดบวก สวนทางเอสแอนด์พีปิดร่วง หลังเฟดเผยผลทดสอบวิกฤติธนาคารชั้นนำของประเทศ เช่นเดียวกับหุ้นยุโรปแกว่งตัวมีทั้งบวก-ลบ ด้านหุ้นเอเชียเปิดตลาดเช้านี้ทรงตัวทั้งบวก-ลบเช่นกันโดยนิคเคอิบวก 0.76% แต่ออสซี่ลบ 0.24% ส่วนราคาน้ำมันไนเม็กซ์ปิดตลาดร่วงลง 1.28 ดอลลาร์ที่ 105.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังสหรัฐเผยปริมาณน้ำมันดิบสำรองสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นตามคาดขณะความต้องการน้ำมันลดลง

 

 

ราคาทองโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนเมษายน ร่วงลง 51.30 ดอลลาร์ หรือ 3% ปิดที่ 1.642.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาเงิน ส่งมอบเดือนพ.ค. ร่วงลง 1.40 ดอลลาร์ หรือ 4.2% ปิดที่ 32.18 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถือเป็นการปิดตลาดร่วงลงต่ำสุดของโลหะมีค่าทั้ง2ประเภท นับตั้งแต่เดือนมกราคม เป็นต้นมา

 

ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับต่ำสุดต่อไป อย่างน้อยจนถึงปี 2557 โดยมีเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และในการประชุมครั้งล่าสุดนี้ เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3)

 

นอกจากนี้ เฟด ยังประเมินด้วยว่า ภาวะตึงเครียดในตลาดการเงินทั่วโลก ผ่อนคลายลงแล้ว แต่ภาวะตึงเครียดที่ยังคงเกิดขึ้นในขณะนี้ ยังคงทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะขาลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

หุ้นสหรัฐ-ยุโรปทิศทางไม่แน่นอน

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.42 จุดหรือ 0.1% ปิดที่ 13,194.10 จุด ดัชนีสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ 500 (เอสแอนด์พี) ลบ 1.67 จุด หรือ 0.12% ปิดที่ 1,394.28 ส่วนดัชนีแนสแด็ก ขยับขึ้น 0.85 จุดหรือ 0.03% ปิดที่ 3,040.73 จุด

 

ด้านฟากฝั่งยุโรป ดัชนี FT100 ลอนดอนร่วงลง 0.18% เหตุอังกฤษถูกลดเรทติ้งส์ ขณะที่ CAC40 ฝรั่งเศสยืนบวก 0.4% ขณะที่ DAX เยอรมันบวกแข็งแกร่งถึง 1.19%

 

การเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นสำคัญ ในตลาดหุ้นสหรัฐมีขึ้นหลังจาก ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า มีธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ 15 แห่ง จากทั้งหมด 19 แห่งที่ผ่านการทดสอบภาวะวิกฤต ซึ่งธนาคารที่ผ่านการทดสอบนั้นประกอบด้วย แบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน อเมริกัน เอ็กซ์เพรส แคปิตอล วัน รีเจียนส์ บีบีแอนด์ที ฟิฟท์ เติร์ด เวลส์ ฟาร์โก แบงก์ ออฟ อเมริกา พีเอ็นซี โกลด์แมน แซคส์ เจพีมอร์แกน เชส มอร์แกน สแตนลีย์ ยูเอส แบงก์คอร์ป และคีย์คอร์ป

 

ส่วนธนาคาร 4 แห่งที่ไม่สามารถผ่านการทดสอบภาวะวิกฤตในครั้งนี้ได้แก่ ซิตี้กรุ๊ป ซันทรัสต์ แอลลี ไฟแนนเชียล และเม็ทไลฟ์ เนื่องจากสัดส่วนเงินทุนขั้นต่ำ ไม่เพียงพอที่จะรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งรวมถึงอัตราว่างงานที่อาจจะพุ่งขึ้นรุนแรงถึง 13%

 

ผลทดสอบดังกล่าว ฉุดให้ราคาหุ้นซิตี้กรุ๊ป อิงค์ ร่วงลง 3.2% ขณะที่ราคาหุ้นแอปเปิล อิงค์ บวก 1.1% หลังมีรายงานว่า ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ จะรับหน้าที่ผลิตจอภาพให้กับไอแพด รุ่นใหม่ หลังจากที่แอลจี ดิสเพลย์ และ ชาร์ป คอร์ป ไม่สามารถผลิตจอภาพตามสเปคที่เข้มงวดของแอปเปิลได้

 

อุปสงค์หดฉุดน้ำมันร่วง

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ ร่วงลง 1.28 ดอลลาร์ปิดตลาดที่ 105.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.25 ดอลลาร์ ปิดที่ 124.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ ปรับตัวร่วงลงช่วงท้ายตลาด หลังจากที่สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (อีไอเอ) รายงานว่า ความต้องการพลังงานในสหรัฐ ช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยลดลง 5.4% ขณะที่ความต้องการน้ำมันเบนซินค้าส่งร่วงลง 7.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

 

ก่อนหน้านี้ สำนักงานพลังงานสากล(ไออีเอ) เผยว่า ปริมาณน้ำมันสำรองทั่วโลกในเดือนก.พ. ร่วงลงประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ ชาติสมาชิกในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มกำลังการผลิต และบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานของรัฐบาลคาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำมันสำรองทั่วโลกจะยังคงลดลง ซึ่งภาวะตึงตัวของปริมาณน้ำมันที่มีอยู่อาจจะหนุนราคาน้ำมันและก๊าซทะยานขึ้นได้

 

ดอลล์แข็งค่าเทียบเยน-ยูโร

 

เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าสูงสุดในรอบ 11 เดือนเมื่อเทียบเงินเยน หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในการประชุมครั้งล่าสุด ถือเป็นการลดโอกาสที่เฟดจะใช้มาตรการซื้อพันธบัตรรอบ 3

 

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์แข็งค่า 0.8% เทียบเงินเยน แตะที่ 83.56 เยนต่อดอลลาร์ หลังจากที่พุ่งแตะ 83.64 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนปีที่แล้ว

 

ขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ก็แข็งค่า 0.2% เทียบยูโร แตะที่ 1.3055 ดอลลาร์ต่อยูโร หลังพุ่งแตะ 1.3031 ดอลลาร์ต่อยูโร ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้านเงินเยนอ่อนค่าลง 0.4% เทียบยูโร แตะที่ 109.09 เยนต่อยูโร

 

เงินดอลลาร์ ได้รับแรงหนุนจากการที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ที่ระดับ 0 - 0.25% ในการประชุมครั้งล่าสุด และยืนยันว่าจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี 2557 โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เฟดยังได้ปรับเพิ่มการประเมินภาวะเศรษฐกิจ โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะขยายตัวปานกลาง และคาดว่า อัตราว่างงานจะค่อยๆปรับตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

14  มีนาคม 2555

 

ภาวะตลาดหุ้นอินเดีย: ดัชนี BSE ปิดบวก 0.59% ก่อนประชุมแบงก์ชาติอินเดียพรุ่งนี้

 

          ดัชนี BSE ตลาดหุ้นอินเดียปิดเดินหน้าขึ้นในวันนี้ ก่อนที่ธนาคารกลางอินเดียจะประชุมเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยในวันพรุ่งนี้ โดยบรรยากาศการซื้อขายได้รับปัจจัยหนุนจากกระแสคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจะตัดสินใจลดดอกเบี้ย รวมถึงได้อานิสงส์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่เป็นบวกของสหรัฐ ซึ่งช่วยดันให้ตลาดหุ้นเกือบทั้งหมดในเอเชียปรับตัวสูงขึ้น

          สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ดัชนี BSE บวก 105.68 จุด หรือ 0.59% ปิดที่ 17,919.30 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบเกือบ 3 สัปดาห์

          อย่างไรก็ตาม ดัชนีขยับลงจากระดับสูงสุดของวัน หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้ออินเดียสูงเกินคาดที่ระดับ 6.95% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้น 6.55% ในเดือนม.ค.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดในรอบ 11 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยน และแข็งแกร่งสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 มี.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ รวมทั้งรายงานที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจสหรัฐ

 

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.45% แตะที่ 1.3023 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3082 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สกุลเงินปอนด์อ่อนค่าลง 0.21% แตะที่ 1.5674 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5707 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 1.06% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 83.740 เยน จากระดับของวันอังคารที่ 82.860 เยน และพุ่งขึ้น 0.79% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9304 ฟรังค์ จากระดัล 0.9231 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.93% แตะที่ 1.0450 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.0548 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 1.80% แตะที่ 0.8081 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8229 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เอฟโอเอ็มซี) ได้ปรับเพิ่มการประเมินภาวะเศรษฐกิจ โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะขยายตัวปานกลาง และคาดว่าอัตราว่างงานจะค่อยๆปรับตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ สกุลเงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากการที่เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) ในการประชุมครั้งนี้ด้วย

 

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังได้ปัจจัยบวกจากข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนก.พ.ของสหรัฐที่ปรับตัวขึ้น 1.1% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1% และสต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ

 

ส่วนความเคลื่อนไหวในฝั่งยุโรปนั้น อิตาลีประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปีได้ 6 พันล้านยูโรเมื่อวานนี้ ด้วยอัตราผลตอบแทน 2.76% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ซึ่งการประมูลครั้งนี้มีความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่ามูลค่าที่นำออกประมูลอยู่ 1.6 เท่า

 

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเขตยูโรโซน อยู่ที่ระดับ 2.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ นับว่าอยู่ที่ระดับดังกล่าวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และสอดคล้องกับการประเมินในเบื้องต้นเมื่อต้นเดือนมีนาคม

 

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควส์ (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 มี.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นเกินคาดในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของอุปสงค์พลังงานในสหรัฐ นอกจากนี้ การที่แข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงด้วย

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 1.28 ดอลลาร์ หรือ 1.20% ปิดที่ 105.43 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 105.12-107.02  ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 1.25  ดอลลาร์ หรือ 1.0% ปิดที่ 124.97 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง  124.64-126.68 ดอลลาร์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของอุปสงค์พลังงานในสหรัฐ หลังจาก EIA รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. พุ่งขึ้น 1.75 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 347.45 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล

 

ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 4.68 ล้านบาร์เรล แตะที่ 134.81 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.41 ล้านบาร์เรล แตะที่ 228.12 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 1 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันร่วงลง 1.2% แตะที่ 82.7% ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1%

 

รายงานของ EIA ระบุว่า ความต้องการน้ำมันเบนซินของสหรัฐลดลง 7.2% ซึ่งเป็นผลมาจากการพุ่งขึ้นของราคาเบนซิน ขณะที่ความต้องการน้ำมันกลั่นลดลง 7.1% อันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่อบอุ่นอย่างผิดฤดูกาล

 

นอกจากนี้ EIA ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันตามสัญญาในตลาด NYMEX พุ่งขึ้น 2.52 ล้านบาร์เรล สู่ 38.7  ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2554 เป็นต้นมา

 

นอกเหนือจากการพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบแล้ว สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดในรอบ 11 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยน และแข็งแกร่งสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ หลังจากเฟดปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตกยังคงเป็นปัจจัยหนุนสัญญาน้ำมันดิบ โดยผลการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่า 56% ของชาวอเมริกันที่ตอบการสำรวจ สนับสนุนรัฐบาลให้ใช้กำลังทางทหารกับอิหร่าน แม้สถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้ราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้นก็ตาม

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควส์ (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...