ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

บ่ายนี้ลอนดอนน่าจะกระชากลงแต่คงไม่มากเท่าไร แล้วก็คงขึ้นลงนิดหน่อยไปตลอดวัน ยังไงอาจจะได้เห็นราคาร้านตู้แดง 23,xxx บาทในบ่ายนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนวโน้มศก.ดีแต่ยังห่วงตลาดงาน เฟดงดพาดพิงแผนผ่อนคลายรอบ3 (15/03/2555)

เอเจนซี - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ออกคำแถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) เมื่อวันอังคาร (13) ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้นเล็กน้อย แต่สถานการณ์ว่างงานยังน่าเป็นห่วง โดยที่ไม่เอ่ยถึงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่ หรือ QE3 ซึ่งพวกนักวิเคราะห์เฝ้ารอกันอยู่

       

       คำแถลงของเฟดคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเติบโต “พอประมาณ” ในช่วงไตรมาสต่อๆ ไป โดยที่อัตราว่างงานลดลงทีละน้อย อันเป็นถ้อยคำที่ดีขึ้นจากที่ระบุในเดือนมกราคมว่า เศรษฐกิจเติบโต “เล็กน้อย”

       

       เฟดระบุในคำแถลงด้วยว่า ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้จะดันอัตราเงินเฟ้อให้เดินหน้าตาม ทว่าเป็นการชั่วคราว โดยในระยะยาวคาดว่า เงินเฟ้อจะต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 2%

       

       “ตลาดแรงงานมีการปรับตัว อัตราว่างงานลดลงโดยเฉพาะช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาแต่ยังถือว่าสูงอยู่” เฟดระบุ

       

       ทรอย เดวิด จากบาร์เคลย์ส แคปิตอลในนิวยอร์ก มองว่า คำแถลงของเฟดลดความเป็นไปได้ในการเปิดตัวมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) รอบใหม่ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น

       

       นอกจากนี้ เอฟโอเอ็มซียังระบุว่า ปัญหาในตลาดการเงินจากวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปกำลังเริ่มบรรเทาลง แม้ยังถือเป็นความเสี่ยงสำคัญอยู่ก็ตาม รวมถึงระบุว่า การลงทุนทางธุรกิจเพิ่มขึ้น จากที่ลดลงในเดือนมกราคม

       

       และเป็นไปตามคาด เฟดย้ำว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยชั่วข้ามคืนไว้ที่เกือบ 0% อย่างน้อยจนถึงปลายปี 2014 รวมทั้งจะเดินหน้าโครงการ “โอเปอเรชัน ทวิสต์” หรือการเพิ่มสัดส่วนหลักทรัพย์ระยะยาวในพอร์ตของเฟดต่อไปจนสิ้นสุดโครงการปลายเดือนมิถุนายน

       

       ทั้งนี้ เฟดลดดอกเบี้ยชั่วข้ามคืนอยู่ที่เกือบ 0% มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2008 และนับจากนั้นได้ซื้อพันธบัตรรวม 2.3 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นการเติบโต

       

       ตลาดการเงินกำลังพยายามวัดใจว่า ผู้วางนโยบายจะมีมาตรการใหม่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆ นี้อีกหรือไม่ อย่างไรก็ดี การเติบโตในตลาดแรงงานและการที่อัตราว่างงานลดมาอยู่ที่ 8.3% จาก 9.1% ในเดือนสิงหาคม ทำให้นักวิเคราะห์บางคนไม่คิดว่าจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม

       

       ยิ่งกว่านั้นข้อมูลตัวเลขที่ออกมาวันอังคาร ระบุว่า ยอดขายปลีกเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน เรื่องนี้ถือเป็นข้อมูลล่าสุดที่บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของสหรัฐฯ เริ่มมั่นคงขึ้น

       

       กระนั้น เจ้าหน้าที่เฟดดูจะยังไม่แน่ใจว่า จังหวะการลดลงของอัตราว่างงานจะสม่ำเสมอหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจยังเติบโตชะลอตัว และนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่า เฟดจะออกมาตรการรับซื้อพันธบัตรรอบใหม่ปลายปีนี้

       

       ในผลสำรวจความคิดเห็นบริษัทที่ทำธุรกิจกับเฟดโดยตรงที่ออกมาปลายสัปดาห์ที่แล้วนั้น นักเศรษฐศาสตร์ 14 จาก 18 คนคาดว่า จะมีการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบใหม่ โดยการสำรวจนี้มีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลแถลงว่า มีการจ้างงานใหม่กว่า 200,000 ตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ หรือเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ออกโรงปกป้องนโยบายพลังงานของตัวเอง หลังจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่อเค้าส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็อาจส่งผลต่อคะแนนเสียงของนายโอบามาในการเลือกทั้งที่กำลังจะมาถึงช่วงปลายปีนี้

 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเปิดเผยผลการศึกษาด้านพลังงานเมื่อวันจันทร์ (12 มี.ค.) ที่ผ่านมาระบุว่า สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันดิบลดลงอย่างมาก ขณะเดียวก็มีการเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศมากขึ้นนับตั้งแต่บารัก โอบามาเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โอบามายอมรับถึงราคาน้ำมันที่แพงขึ้นจนนักวิเคราะห์เกรงว่าอาจจะปรับตัวขึ้นสูงถึง 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อแกลลอน (ประมาณ 41 บาทต่อลิตร)

 "ราคาน้ำมันแพงในทุกวันนี้เป็นสิ่งที่เตือนให้เห็นว่ายังมีงานที่ต้องทำอีกมากเพื่อปลดปล่อยตัวเราจากการพึ่งพาน้ำมันต่างประเทศ และควบคุมอนาคตด้านพลังงานของเราเอง" นายโอบามาระบุในแถลงการณ์ผ่านรายงานเรื่องพลังงาน พร้อมกับกล่าวว่า รัฐบาลคืบหน้าในการดำเนินการไปในทิศทางดังกล่าวแล้ว

 เนื้อหาสำคัญในรายงานแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ ลดการนำเข้าน้ำมันจาก 11 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมกราคม 2552 เหลือ 8.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงสิ้นปี 2554 ขณะที่กำลังการผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้น 20% นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2551 หลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 30 ปีก่อนหน้า

 อย่างไรก็ตาม ความต้องการจากทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความไม่แน่นอนในประเทศตะวันออกกลาง ทำให้ซัพพลายน้ำมันในตลาดโลกตึงตัว เวลานี้ราคาน้ำมันเฉลี่ยในปั๊มน้ำมันทั่วสหรัฐฯ อยู่ที่ 3.80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อแกลลอน (ประมาณ 31 บาทต่อลิตร) โดยในบางรัฐ อาทิ แคลิฟอร์เนีย ฮาวาย และบางส่วนของวอชิงตัน ดี.ซี. ราคาน้ำมันอยู่ในระดับเกินกว่า 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว

 ปัญหาราคาน้ำมันแพงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคะแนนเสียงของนายโอบามา ผลการสำรวจล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดยวอชิงตันโพสต์ร่วมกับเอบีซีบ่งชี้ว่า มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจของนายโอบามาเพิ่มขึ้นเป็น 59% จาก 53% ที่สำรวจเมื่อเดือนก่อน โดยเกือบ 2 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจกล่าวว่า ไม่พอใจกับการจัดการปัญหาราคาน้ำมันของประธานาธิบดี

 ขณะที่พรรคริพับลิกัน ที่กล่าวว่ากำลังการผลิตน้ำมันในประเทศที่เพิ่มขึ้นเวลานี้เป็นผลจากการตัดสินใจลงทุนสมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช พยายามหยิบยกประเด็นที่นายโอบามาขัดขวางโครงการสร้างท่อส่งน้ำมันคีย์สโตน (Keystone pipeline) มาโจมตีว่าเป็นเหตุให้ชาวอเมริกันต้องแบกรับภาระน้ำมันแพงในเวลานี้ โครงการดังกล่าวซึ่งจะวางท่อส่งจากบริเวณตะวันตกของแคนาดามาสู่โรงกลั่นที่ตั้งอยู่ริมอ่าวเม็กซิโกในสหรัฐฯ ถูกนายโอบามาชะลอไว้ตามคำแนะนำของกระทรวงการต่างประเทศที่ตั้งคำถามถึงเส้นทางการวางท่อ

 ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคริพับลิกันที่กำลังหาเสียงเลือกตั้งเบื้องต้นได้นำเรื่องราคาน้ำมันมาใช้เป็นจุดขายหลักในการหาเสียงแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นายนิวต์ กิงริช หนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคริพับลิกัน ชูนโยบายควบคุมราคาน้ำมันให้อยู่ที่ 2.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อแกลลอนเป็นนโยบายหลักของเขา

 ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า มองไม่เห็นทางแก้ปัญหาที่รวดเร็วในระหว่างนี้ไปจนถึงการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน "ไม่มีสิ่งใดที่ประธานาธิบดีโอบามาสามารถทำได้เพื่อที่จะชะลอการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันหรือลดการนำเข้าน้ำมันลงอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน" ชาร์ลส์ เอบินเจอร์ ผู้อำนวยการสถาบันบรูกกิ้งส์กล่าว

 ราคาน้ำมันแพงอาจจะส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง และลดทอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นหลังจากรายงานตัวเลขการว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ลดต่ำลงกว่าความคาดหมาย เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกำลังค่อยๆ ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยในปี 2551-2552 แต่ยังคงต้องเผชิญกับอัตราว่างงานที่สูงถึง 8.3% คาดว่าจะเป็นปัจจัยตัดสินว่านายโอบามาจะครองตำแหน่งประธานาธิบดีได้ต่อไปเป็นสมัยที่ 2 หรือไม่

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

IMF ขยายระยะเวลาปล่อยเงินกู้ให้ปท.สมาชิกที่ต้องการเงินทุนออกไปเป็น 4 ปี

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟได้อนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการการปล่อยเงินกู้ ซึ่งจะอนุญาตให้ไอเอ็มเอฟสามารถขยายระยะเวลาการปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศสมาชิกที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนออกไปเป็น 4 ปี

 

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะช่วยเหลือกรีซซึ่งกำลังประสบปัญาหนี้สิน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควส์ (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติส่งสัญญาณชัดยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย! (15/03/2555)

ผู้ว่าฯแบงก์ชาติส่งสัญญาณชัดยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ย้ำนโยบายกาเรงินปีนี้ยังเน้นสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ "เงินเฟ้อ"ไม่ใช่ปัญหา

 

  นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาธปท.พยายามที่จะส่งสัญญาณให้สาธารณชนได้รับทราบว่า อัตราเงินเฟ้อในขณะนี้ยังไม่น่ากังวล เพราะถึงแม้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกจะปรับขึ้นจนมีค่าเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับ 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ก็ไม่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจนหลุดกรอบเป้าหมาย ดังนั้นในช่วงนี้ธปท.จึงไม่มีแนวคิดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแต่อย่างใด

 

"ผมพยายามจะบอกอย่างนั้นว่า ช่วงนี้ไม่ต้องกังวลกับเรื่องเงินเฟ้อมากนักเพราะยิ่งกังวลมากเดี๋ยวมันจะยิ่งไปกันใหญ่ แต่เรื่องดอกเบี้ยคงไปพูดแทน กนง.(คณะกรรมการนโยบายการเงิน) คงไม่ได้ แต่ที่พยายามจะบอก คือ ตั้งแต่ตอนแถลงนโยบายของแบงก์ชาติเมื่อช่วงต้นปี ก็ส่งสัญญาณไปแล้วว่า ช่วงเวลานี้นโยบายการเงินจะเน้นสนับสนุนการฟื้นตัว ดังนั้นจึงไม่มีแนวคิดที่จะไปขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลานี้ แต่พอมีคนมาถามเรื่องน้ำมัน ผมก็เล่าให้ฟังว่า แม้จะขึ้นไป 140 ดอลลาร์ต่อบาเรล เงินเฟ้อก็ยังอยู่ในกรอบไม่ว่าจะเป็นกรอบเงินเฟ้อทั่วไป หรือเงินเฟ้อพื้นฐาน"นายประสารกล่าว

 

เขากล่าวด้วยว่า สาเหตุที่ ธปท. ค่อนข้างกังวลในเรื่องการคาดการณ์เงินเฟ้อเพราะ หากประชาชนและผู้ประกอบการมีความกังวลในเรื่องนี้กันมากจนนำไปสู่การปรับขึ้นของราคาสินค้า อาจกลายเป็นวงจรอุบาทว์ได้ และการแก้ไขก็ทำได้ค่อนข้างยากด้วย

 

สำหรับในเรื่องราคาน้ำมันนั้น แบบทดสอบภาวะวิกฤติ(stress test) ราคาน้ำมันที่ ธปท.ทำไว้ที่ 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลนั้น ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงแล้ว และที่ผ่านมา ธปท.ได้ติดตามดูสถานการณ์เรื่องราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่าราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นในทุกๆ 10% จะมีผลต่อดัชนีผู้บริโภค(CPI) ประมาณ 0.3-0.4%

 

ส่วนเรื่องการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันของธปท.นั้น คาดว่าคงมีการปรับขึ้นเล็กน้อย จากเดิมที่ ธปท.ใช้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับ 103 ดอลลาร์สหรัฐต่อบารเล ก็อาจปรับใหม่เป็น 110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล เนื่องจากราคาน้ำมันดิบช่วงที่ผ่านมาได้ปรับขึ้นไปค่อนข้างมาก

 

นายประสาร ยังกล่าวถึง แนวคิดการทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานของรัฐบาลด้วยว่า ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการช่วยลดภาระทางด้านการคลัง อีกทั้งยังไม่ไปบิดเบือนโครงสร้างการใช้พลังงาน แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลเองคงต้องดูความจำเป็นด้วย โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ที่น้ำมันดิบตลาดโลกปรับขึ้นค่อนข้างมาก ทางรัฐบาลก็อาจชะลอการยกเลิกการอุดหนุนเอาไว้ก่อนได้

 

"การลดการอุดหนุนราคาพลังงาน ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะการอุดหนุนเป็นการเพิ่มภาระการคลังและยังบิดเบือนโครงสร้างการใช้พลังงาน แต่การดำเนินนโยบายพวกนี้ต้องดูจังหวะเวะลา เพราะการแก้ปัญหาหนึ่งอาจไปสร้างอีกปัญหาหนึ่งขึ้นมาได้ เท่าที่ผมติดตามดูเวลานี้ บังเอิญมันเกิดเหตุการณ์ในตะวันออกกลาง แล้วราคามันขึ้นไป ก็อาจชะลอออกไปก่อนได้ ไม่เป็นไร เพราะไม่อย่างนั้นอาจไปสร้างปัญหาอื่นแทน  อย่างที่ผมเคยบอกว่าเรื่องพวกนี้ไม่จำเป็นอย่างทำ เพราะทำแล้วถอนตัวลำบาก"นายประสารกล่าว

 

ส่วนตัวเลขหนี้สาธารณะที่รัฐบาลคาดว่าจะปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 48% ในปี 2556 นั้น นายประสาร กล่าวว่า สาเหตุหลักเป็นผลจากการกู้เงินเพื่อมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ จึงหวังว่าหากผ่านช่วงนี้ไป และอนาคตไม่มีเหตุการณ์พิเศษใดเกิดขึ้นอีก รัฐบาลจะพยายามลดการขาดดุลงบประมาณลง

 

นายประสาร กล่าวด้วยว่า ในอนาคตรัฐบาลจำเป็นต้องหาแนวทางลดการขาดดุลงบประมาณลง เพราะหากยังดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณในระดับ 2.4% ต่อเนื่อง เชื่อว่าไม่เกิน 6-7 ปี ตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยอาจปรับขึ้นสูงกว่ากรอบวินัยทางการคลังที่ 60% ได้

 

"หนี้สาธารณะที่ปรับขึ้นมานี้ สาเหตุหนึ่งเพราะการกู้เงินเพื่อมาบริหารจัดการเรื่องน้ำ เลยทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้น เราจึงเห็นได้ว่าในช่วง 2 ปีนี้ หนี้สาธารณะสูงขึ้นค่อนข้างมากจากระดับ 40% มาเป็น 48% ก็หวังว่าหลังจากนี้หากรัฐบาลไม่มีเหตุการณ์พิเศษ หรือความจำเป็นอื่นใด ทางรัฐบาลจะพยายามลดการขาดดุลงบประมาณลง"นายประสารกล่าว

 

นอกจากนี้ เขายังหวังด้วยว่า การจัดงบประมาณของรัฐบาลจากนี้ไปจะดำเนินการภายใต้กรอบงบประมาณปกติ เพราะกรณีการออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) กู้เงินอย่างที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2556 จะเห็นว่าเงินกู้เหล่านี้ไม่ได้อยู่ในกรอบของงบประมาณปีดังกล่าว

 

"ปกติจะมีพ.ร.บ.(พระราชบัญญัติ) หนี้สาธารณะที่คอยกำกับดูแลว่า การก่อหนี้สาธารณะในแต่ละปีต้องไม่เกินเท่าไร แต่พอมาออกเป็น พ.ร.ก. ก็จะคล้ายๆ เป็นบทยกเว้นขึ้นมา อย่างกรณีปีงบ 56 จะเห็นว่า พอมี พ.ร.ก. ก็ทำให้เงินพวกนี้อยู่นอกกรอบงบประมาณ"นายประสารกล่าว

 

เขากล่าวด้วยว่า นอกจากการหาแนวทางลดการขาดดุลงบประมาณแล้ว รัฐบาลต้องพยายามหาแนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดเก็บรายได้ด้วย เช่น การขายฐานภาษีหรือกำหนดอัตราภาษีในบางเรื่องใหม่ ขณะเดียวกันการใช้จ่ายของภาครัฐจำเป็นต้องคิดถึงประสิทธิภาพด้วย โดยต้องคำนึงว่า เงินที่นำไปลงทุนควรต้องมีดอกผล มีผลตอบแทนกลับมา ถ้าลงทุนแล้วหายไปเลยมันก็จะไม่เกิดเป็นผลตอบแทนขึ้น

 

นอกจากนี้ ในเรื่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจต่างๆ รัฐบาลควรต้องกำกับดูแลโดยพยายามให้ภาระต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานเหล่านี้ สามารถสะท้อนหรือแสดงออกมาด้วยความโปร่งใส

 

ส่วนนโยบายที่รัฐบาลตั้งใจให้ไปถึงกลุ่มประชาชน เพื่อช่วยเหลือในด้านต่างๆ นั้น ทางรัฐบาลก็ควรต้องดำเนินนโยบายอย่างตรงไปตรงมา ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ที่สำคัญต้องไม่ให้เกิดการรั่วไหลของการใช้งบประมาณ

 

ผู้ว่าการธปท. ยังได้กล่าวถึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปตามท้องตลาดที่ปรับขึ้น ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปยังค่อนข้างนิ่งด้วยว่า เรื่องนี้ ธปท. ได้ติดตามดูสถานการณ์อยู่ โดยดู

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีนเผยผลผลิตทองคำแตะ 24.133 ตันเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 3.68% (15/03/2555)

กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (MIIT) ของจีนรายงานว่า จีนผลิตทองคำได้ 24.133 ตันในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 0.856 ตัน หรือ 3.68% เมื่อเทียบปีต่อปี

 

รายงานของ MIIT ระบุว่า จากจำนวนดังกล่าว ประมาณ 19.733 ตันเป็นผลผลิตจากเหมืองทองคำและอีก 4.399 ตันเป็นผลผลิตพลอยได้จากโรงถลุงโลหะนอกกลุ่มเหล็ก โดยบริษัทผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ 10 อันดับแรกของประเทศมีผลผลิตทองคำรวม 13.653 ตันในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 1.27% จากปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 56.58% ของผลผลิตทองคำทั้งประเทศ

 

ในขณะเดียวกัน ผลผลิตทองคำในเดือนมกราคมคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1.89342 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้น 35.6% เมื่อเทียบปีต่อปี และมีกำไร 1.9268 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 36.18% เมื่อเทียบเป็นรายปี

 

MIIT ระบุว่า ราคาทองคำในตลาดโลกได้เริ่มผันผวนอย่างรุนแรงหลังจากที่แตะที่ระดับ 1,900 ดอลลาร์/ออนซ์ ในไตรมาสที่ 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนในเดือนมกราคมปีนี้ เนื่องจากนักเก็งกำไรได้เพิ่มการถือครองทองคำและสหรัฐได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำ ราคาทองคำในตลาดโลกจึงได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำภายในประเทศของจีนปรับตัวขึ้นด้วย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควส์ (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายเหวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวในงานแถลงข่าวหลังปิดประชุมรัฐสภาประจำปีว่า วิกฤตหนี้ยุโรปและตลาดต่างประเทศที่ชะลอตัวลงเป็นแรงกดดันเชิงลบต่อเศรษฐกิจของจีน ดังนั้นจึงปรับลดเป้าจีดีพีในปีนี้ลงมาเหลือ 7.5% เพื่อทำให้จีนมีโอกาสปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ

 

นายเหวินยังย้ำด้วยว่า จะเร่งปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะการปล่อยให้ค่าเงินหยวนแกว่งตัวขึ้นลงมากขึ้น โดยขณะนี้ในตลาดฮ่องกง อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนสำหรับการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าแบบไม่มีการส่งมอบเงินหยวนเมื่อครบกำหนด หรือ NDF เริ่มมีการแกว่งตัวขึ้นลงมาตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งความผันผวนดังกล่าวบ่งชี้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนอาจจะถึงระดับสมดุลแล้ว

 

นายเหวิน บอกว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงห่างจากระดับที่เหมาะสม ดังนั้นจึงต้องคุมการเก็งกำไรในตลาดนี้ต่อไป เพื่อป้องกันไม่ได้เกิดความวุ่นวาย หรือฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่หากแตกจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ

 

 

นอกจากนี้ นายเหวินยังระบุด้วยว่า จำเป็นต้องมีการปฏิรูปภาคการเมืองด้วย เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ต้องปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นระบบ

 

การประชุมรัฐสภาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายเหวิน เจียเป่า ซึ่งจะเกษียณอายุในปีหน้าพร้อมกับประธานาธิบดีหู จิ่นเทา

 

บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าปีนี้ เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวต่ำที่สุดในรอบทศวรรษที่นายเหวินและนายหูดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ

 

ที่มา: money channel (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหพันธ์การขนส่งทางบกยันจำเป็นต้องขึ้นค่าขนส่ง5%

ข่าวเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2555 8:53น.

 

ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ยืนยัน จำเป็นต้องขึ้นค่าขนส่ง ร้อยละ 5 แนะ รัฐบาลควบคุมราคา NGV พร้อมระบุ ให้ ปตท. ขึ้นราคาก๊าซ ไม่ถูกต้อง

นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยผ่าน รายการ เปิดข่าวเด่นเจาะประเด็นดัง ทางคลื่น FM 102.75 MHzว่า จากสถานการณ์ราคาพลังงานในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการด้านขนส่งได้รับผลกระทบ มีความจำเป็นที่จะต้องขอขึ้นค่าขนส่งอีก อย่างน้อย 5% เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ซึ่งได้มีการเจรจากับผู้ว่าจ้างไปแล้ว บางรายก็ยินดี บางรายก็มีการต่อรอง ให้รอจนถึงเดือนเมษายน จึงจะให้ปรับอัตราค่าขนส่ง

อย่างไรก็ตาม ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ระบุว่า  การขอขึ้นค่าขนส่ง 5% นั้น เป็นการขอในไตรมาสแรกของปีเท่านั้น แต่หาก สถานการณ์พลังงาน ยังมีการขยับขึ้นต่อเนื่อง ก็จะต้องมีการพิจารณาขอปรับขึ้นอีกในไตรมาสต่อ ๆ ไป พร้อมกับยืนยันว่า การขอขึ้นราคาค่าขนส่งนั้น ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตต่อรัฐบาลด้วย

 

นอกจากนี้ นายู ยังได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับราคาพลังงานในปัจจุบันว่า  รัฐบาลทำไม่ถูกต้อง ที่ยอมให้ ปตท. ขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซ แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดโลกในส่วนของน้ำมัน และควรจะควบคุมในส่วนของ ก๊าซ NGV และ LPG เพราะว่ายังมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำ ไม่ต้องขนส่ง เพราะเป็นก๊าซที่นำมาจากอ่าวไทย หรือ พม่า เท่านั้น แต่หากยังปล่อยให้ ปตท. ปรับขึ้นราคาต่อไป ก็จะกระทบกับประชาชน อย่างมากแน่นอน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

SYDNEY (MarketWatch) — Asia markets traded mostly lower on Thursday, as shares in Hong Kong and Australia paused after recent strength, while a still-weakening yen supported Japanese stocks.

 

Australia’s S&P/ASX 200 index AU:XJO -0.51%  lost 0.5%, while Hong Kong’s Hang Seng Index HK:HSI -0.37%  and China’s Shanghai Composite CN:000001 -0.37%  each lost 0.4% and South Korea’s Kospi KR:0100 -0.21%  edged down 0.2%.

 

Japan’s Nikkei Stock Average JP:NIK +0.36%  rose 0.4%.

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Fitch Ratings announced on Wednesday it has cut the outlook for UK long-term sovereign debt from stable to negative. Fitch did affirm its AAA rating on the UK, but the negative outlook means there's a slightly greater than 50% chance of a downgrade over a two-year horizon.

 

"The affirmation of the UK's 'AAA' ratings reflects the progress made in reducing the government's structural budget deficit and the credibility of the fiscal consolidation effort ... However, the government's structural budget deficit is second in size only to the US ('AAA'/Negative) and indebtedness is significantly above the 'AAA' median, although currently broadly in line with France ('AAA'/Negative) and Germany ('AAA'/Stable)".

ฟิทช์ เรทติ้ง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชื่อดัง หั่นแนวโน้มเครดิตของอังกฤษจาก มีเสถียรภาพ สู่ เชิงลบ และเตือนว่าอันดับเครดิตที่ AAA ของอังกฤษ อาจถูกปรับลดลงได้ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากอังกฤษล้มเหลวในการควบคุมการขยายตัวของหนี้สาธารณะ

 

โดยฟิทช์ คาดว่า อังกฤษ จะมีหนี้สาธารณะประมาณ 94% ต่อจีดีพี ในช่วงระหว่างปี 2014-2015 (2557-2558) นอกจากนี้ อังกฤษมีช่องว่างในการดำเนินนโยบายการคลังค่อนข้างน้อย หากเกิดภาวะช็อกขึ้นในตลาด

 

ที่มา: money channel (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

ฟิทช์ ปรับลดมุมมองอังกฤษจากมีเสถียรภาพ เป็น ลบ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างการตั้งงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล และ ความน่าเชื่อถือด้านนโยบาย

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ Gold Futures by Classic Gold Futures (15/03/2555)

Price Movement

 

ราคาทองคำในตลาด COMEX เมื่อวานปิดที่ 1,642.90 USDต่อออนซ์ ลดลง 51.30 USDต่ออออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 1,634.70 — 1,682.80 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำในตลาดที่ COMEX ร่วงลงต่ำสุดบริเวณ 1,634 USDต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเทคนิคเมื่อหลุดแนวรับสำคัญบริเวณ 1,656 และจากผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ เมื่อ FED ออกมาระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง และไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงิน หรือ QE3 อีก รวมถึงการแข็งค่าของเงิน USD นักลงทุนเริ่มชะลอการลงทุนในทองคำ และเห็นว่าราคาทองคำอาจร่วงลงได้อีก เมื่อหลุดเส้น MA 200 วันและแนวรับสำคัญบริเวณ 1,656 ส่วนราคาทองคำในช่วงเช้าวันนี้เคลื่อนไหวบริเวณ 1,640 USDต่อออนซ์ ซึ่งเป็นการ rebound ขึ้นจากการปรับลดลงแรงเมื่อคืนนี้ ปัจจัยลบในวันนี้ ได้แก่ ความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวลงค่อนข้างแรง หรือ hard landing จะส่งผลให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง การที่อังกฤษถูกสถาบันจัดอันดับมีมุมมองเชิงลบต่อฐานะการเงินและอาจสูญเสียอันดับเครดิตในระดับสูงสุด คาดว่าวันนนี้โมีแนวต้านแรกบริเวณ 1,656 และถัดไปบริเวณ 1,665 การลงไปทำ Low บริเวณ 1,634 ซึ่งต่ำกว่า low เดิมที่ 1,662 ส่งสัญญาณ bearish มากขึ้น คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1,625 และถัดไปบริเวณ 1,600 แนะนำ นักลงทุนระยะยาว buy the dip เมื่อราคาปรับลดลงบริเวณแนวรับ 1,600 ส่วนนักลงทุนระยะสั้นปิด Long เมื่อราคา rebound ขึ้นสู่แนวต้าน หรือ Trading ในกรอบ 1,600 — 1,665

 

Technical Analysis

 

ราคามีแนวโน้มเป็นขาลง และยังไม่มีสัญญาณการกลับตัว ต้องรอให้จบรอบขาลง และสร้างฐานได้ก่อนค่อยเข้าซื้อ โดยมีแนวต้านแรกบริเวณ 1,656 และถัดไปบริเวณ 1,665 การกลับมายืนเหนือเส้น MA 200 วัน และบริเวณแนวต้านทางจิตวิทยาบริเวณ 1,700 ได้จะส่งสัญญาณที่ดีขึ้น ส่วนการปรับลดลงต่ำกว่า 1,600 จะส่งสัญญาณ bearish มากขึ้น และมีเป้าหมายการลงลึกมากขึ้นถึงระดับ 1,522 ซึ่งเป็น low เดิมในช่วงปลายเดือนธ.ค. คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1,625 และถัดไปบริเวณ 1,600 แนะนำ นักลงทุนระยะยาว buy the dip เมื่อราคาปรับลดลงบริเวณแนวรับ 1,600 ส่วนนักลงทุนระยะสั้นปิด Long เมื่อราคา rebound ขึ้นสู่แนวต้าน หรือ Trading ในกรอบ 1,600 — 1,665

 

Key Point in Precious Market

 

- ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำ ได้แก่ การแข็งค่าของเงิน USD จากผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟดคงไม่ส่งสัญญาณการมี QE 3 เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง การเปิดเผย Stress Test ของเฟดระบุว่า ธนาคารขนาดใหญ่มีเงินทุนที่แข็งแกร่ง ทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น และขายสินทรัพย์ปลอดภัย ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงิน USD และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ปัจจัยลบในวันนี้ ได้แก่ ความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวลงค่อนข้างแรง หรือ hard landing จะส่งผลให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง การที่อังกฤษถูกสถาบันจัดอันดับมีมุมมองเชิงลบต่อฐานะการเงินและอาจสูญเสียอันดับเครดิตในระดับสูงสุดส่วนปัจจัยบวก ราคาน้ำมันปรับลดลง ได้แก่ การเข้าซื้อของนักลงทุนระยะยาว buy the dip

 

- ประเด็นที่ต้องติดตาม การที่ยูโรโซนจะเพิ่มขนาดกองทุนช่วยเหลือถาวรของยุโรปก่อนสิ้นเดือนนี้หรือไม่ ในการประชุมวันที่ 30/31 มี.ค.

 

- การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันพฤหัสบดี ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนมี.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนม.ค. ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเดือนมี.ค. วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ. ข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนมี.ค.

 

- SPDR ถือทองคำจำนวนเท่าเดิม 1,293.27 ตัน

 

ราคาโลหะเงินปิดลดลง 1.40 USDต่อออนซ์ ปิดที่ 32.18 USDต่อออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 31.63 — 33.47 USDต่อออนซ์ ishares silver trust ถือโลหะจำนวนเท่าเดิม 9,752.67ตัน ส่วนโลหะเงินมีแนวรับบริเวณ 31.5/ 30.5 แนวต้านบริเวณ 32.5/ 33.5 แนะนำนักลงทุนระยะสั้น Trading ในกรอบ 30.5 — 33.5

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ราคานำเข้าเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากต้นทุนปิโตรเลียมพุ่งสูง แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6%

 

ขณะที่ราคานำเข้าเดือนมกราคมถูกปรับทบทวนมาอยู่ที่ระดับทรงตัว จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 0.3%

 

ด้านราคาส่งออกก็ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกุมภาพันธ์ เหนือกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนในเดือนมกราคมนั้น ราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 0.2%

 

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงในระยะหลังจะผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น แต่แค่ชั่วคราวเท่านั้น ขณะที่เงินเฟ้อคาดการณ์ระยะยาวยังคงที่

 

การเปิดเผยข้อมูลดีงกล่าวมีขึ้น หลังจากที่เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0 - 0.25 % ในการประชุมเมื่อวานนี้ พร้อมกับยืนยันว่า เฟดจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี 2557

 

ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการเฟดได้ออกรายงานภาวะเศรษฐกิจว่า การใช้จ่ายในภาคครัวเรือนและการลงทุนในภาคธุรกิจยังคงมีการขยายตัว แต่ตลาดที่อยู่อาศัยยังอยู่ในภาวะซบเซา ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงในระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม การที่ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินได้ปรับตัวขึ้นในระยะนี้ อาจจะหนุนเงินเฟ้อให้สูงขึ้นชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เฟดคาดว่าเงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับหรือต่ำกว่าระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% ในวันข้างหน้า

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควส์ (วันที่ 15 มีนาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักวิเคราะห์กองทุนรวม ประเมินธนาคารกลางสหรัฐฯจะยังไม่ใช้มาตรการ QE 3 กระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าตลาดคาดหวังให้มีมาตรการดังกล่าว พร้อมแนะนำนักลงทุนระยะยาว ยังต้องระมัดระวัง แนะนำ “Wait and See”ตามเดิม เงินลงทุนใหม่พักไว้ใน PCASH

 

 

 

นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล Fund Super Mart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยบวกจากทางฝั่งยุโรปเริ่มหมดลง เมื่อกรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ ตลาดได้ตอบรับข่าวดังกล่าวไปแล้ว รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวขึ้นดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ แต่สถานการณ์ยังไม่มีปัจจัยลบที่ชัดเจน และสร้างความตื่นตกใจให้ตลาดได้ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ระยะสั้นเรามองว่า ราคาสินทรัพย์เสี่ยงจะยังคงแกว่งขึ้นได้แต่อาจจะไม่มากนัก จนกว่าจะมีปัจจัยบวกใหม่ๆ การลงทุนระยะสั้นคงต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น และในสัปดาห์นี้เราคงต้องจับตาการประชุม FED ว่าจะส่งสัญญาณมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีกว่าที่คาดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เราเชื่อว่ามาตรการ QE3 อาจยังไม่จำเป็นในตอนนี้ หรือถ้าออกมาก็จะมีปริมาณที่น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ อาจส่งผลให้ดอลล่าร์กลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง และราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะทองคำ และค่าเงินในตลาดเกิดใหม่อาจปรับตัวลดลง

 

 

นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากกรีซและยุโรปยังไม่หมดไปซะทีเดียวปัญหาที่ต้องจับตามองคือ การถดถอยของเศรษฐกิจกรีซและยุโรปอาจรุนแรงกว่าที่คาด การเมืองของกรีซเองยังไม่ชัดเจนจนกว่าจะเลือกตั้งเสร็จในช่วง เม.ย. - พ.ค. 55 ทำให้ความไม่แน่นอนในการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซนยังคงมีอยู่ การลงทุนระยะยาวเราจึงยังคงมองว่ายังมีโอกาสที่ตลาดจะผันผวนรุนแรงได้ ทำให้เรายังคงคำแนะนำ “Wait and See” ต่อไป พร้อมพักเงินลงทุนใหม่ๆ ที่จะนำมาลงทุนในกองทุนตลาดเงิน PCASH ของ บลจ. ฟิลลิป ที่เป็นกองทุนตลาดเงินที่เราแนะนำมาอย่างต่อเนื่องสำหรับนักลงทุนที่ได้เก็งกำไรในกองทุนน้ำมันยังคงแนะนำเก็งกำไรเหมือนเดิม ปัจจัยความตึงเครียดในตะวันออกกลางจะยังคงทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงได้ยาก แม้ว่าค่าเงินดอลล่าร์จะแข็งค่าขึ้นก็ตาม แต่เรายังคงต้องระมัดระวังการเปลี่ยนแปลงมีขึ้นได้ทุกเมื่อกองทุนน้ำมันที่แนะนำยังคงเป็น K-OIL ของ บลจ. กสิกรไทย ตามเดิม

 

 

ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดรับข่าวดีกรีซไปแล้ว และกำลังมองหาปัจจัยใหม่ๆ ทำให้ตลาดหุ้นยังคงอ่อนไหวโดยกลางสัปดาห์ หลังจากที่จีนปรับเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจของตัวเองลงเหลือ7.5% ทำให้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ดิ่งลงแรง ด้วยความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ตลาดกลับมาปรับตัวขึ้นอีกครั้ง เมื่อข่าวดีจากการจ้างงานในสหรัฐที่ดีกว่าคาด หนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยการจ้างงานภาคเอกชนในเดือน ก.พ. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 216,000 ตำแหน่ง เช่นเดียวกับการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานที่ 8.3% ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำสุด ตั้งแต่หลังเกิดวิกฤตการเงิน ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นทั้งสัปดาห์ทรงตัวถึงปรับตัวลดลงเล็กน้อย

 

 

ส่วนตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลงอย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกจากยุโรป และการที่ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งเป็นตัวหนุนดัชนี Nikkei ของญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้น ปิดที่ 9,929.74 จุด (+1.56%WoW) ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเองต้องเผชิญกับแรงขายทำกำไรระยะสั้นเป็นระยะ ทำให้SET ปรับตัวลดลง ปิดที่ 1,158.71 (-0.55% WoW) และยังคงต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรจากต่างชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แม้ว่าสัปดาห์ทีผ่านมา ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยก็ตาม

 

 

สำหรับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น กดดันราคาทองคำผันผวนและลงไปทดสอบระดับ 1,660 US$/oz. ก่อนที่ความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของ FED ที่จะมีการประชุมกันในกลางสัปดาห์นี้ ทำให้ราคาทองคำฟื้นตัวกลับขึ้นมาปิดเหนือ 1,700 US$/oz. ได้สำเร็จ ขณะที่ราคาน้ำมัน แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความผันผวนจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ แต่ปัญหาด้านอุปทานยังคงทำให้ราคาน้ำมันรักษาระดับไว้ได้ ปิดตลาดวันศุกร์ราคาน้ำมันอยู่ที่ 107.40 US$/bbl. (+0.66% WoW)ภาวะตลาดประจำสัปดาห์

 

 

ที่มา - ผู้จัดการ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก ขานรับผลประมูลบอนด์อิตาลี

 

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 มี.ค.) ขานรับข่าวอิตาลีประสบความสำเร็จในการประมูลพันธบัตรเมื่อวานนี้ รวมทั้งการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ

 

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 Index พุ่งขึ้น 0.3% ปิดที่ 270.27 จุด

 

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดพุ่งขึ้น 83.51 จุด หรือ 1.19% สู่ 7,079.42 จุด ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดปรับขึ้น 14.35 จุด หรือ 0.4% สู่ 3,564.51 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นอังกฤษปิดลบ 10.48 จุด หรือ 0.18% แตะที่ 5,945.43 จุด

 

 

ตลาดหุ้นยุโรปดีดตัวขึ้นขานรับแถลงการณ์ของเฟดที่ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะขยายตัวปานกลาง และคาดว่าอัตราว่างงานจะค่อยๆปรับตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ เฟดยืนยันว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษไปจนถึงสิ้นปี 2557 เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า อิตาลีสามารถประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปีได้ 6 พันล้านยูโรเมื่อวานนี้ ด้วยอัตราผลตอบแทน 2.76% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553

ผลการประมูลพันธบัตรของอิตาลีที่มีต้นทุนการกู้ยืมลดลง แสดงให้เห็นว่าตลาดได้ผ่อนคลายแรงกดดันต่อตราสารหนี้ของอิตาลีอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีได้พุ่งอย่างมากในช่วงปลายปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากความไม่แน่ใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจของอิตาลี ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของยูโรโซน

 

 

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรชุดใหม่ของกรีซขึ้นสู่ระดับ B- เมื่อวานี้ โดยให้แนวโน้มมีเสถียรภาพ หลังจากรัฐบาลกรีซได้เสร็จสิ้นการแลกเปลี่ยนพันธบัตรมูลค่า 1.772 แสนล้านยูโร (2.325 แสนล้านดอลลาร์) แล้วเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่รัฐบาลกรีซได้ทำร่วมกับเจ้าหนี้ภาคเอกชน

 

 

หุ้น EON ซึ่งเป็นบริษัทสาธารณูปโภครายใหญ่สุดของเยอรมนี พุ่งขึ้น 7% หลังจากบริษัทรายงานว่ารายได้สุทธิในปี 2554 อยู่ที่ระดับ 2.5 พันล้านยูโร แต่ตัวเลขดังกล่าวมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 2.33 พันล้านปอนด์

 

หุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปดีดตัวขึ้น โดยหุ้นเครดิตสวิสพุ่งขึ้น 5% หุ้นเลกัล แอนด์ เจนเนอรัล ดีดขึ้น 7.2% หุ้นดอยช์ แบงก์ พุ่งขึ้น 3.4% และหุ้นไอเอ็นจี กรุ๊ป พุ่งขึ้น 2.5%

 

ยูโรสแตทเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว 0.2% ในเดือนมกราคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 ทั้งในเขตยูโรโซนและในสหภาพยุโรป (อียู)

 

โดยผลผลิตพลังงานเพิ่มขึ้น 1.4% ในยูโรโซน และขยับขึ้น 0.1% ในอียู ส่วนผลผลิตสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 0.7% และ 0.8% ตามลำดับ

 

ในบรรดาชาติสมาชิกที่มีข้อมูลนั้น ผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงใน 6 ประเทศ และเพิ่มขึ้นใน 14 ประเทศ โดยฟินแลนด์ร่วงลงหนักสุด 5.1% ขณะที่สโลวาเกียพุ่งขึ้นสูงสุด 6.1% ในเดือนมกราคมเมื่อเทียบรายเดือน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โน คอม เม้น ครับ ถ้า หลุด 25-28 ตัวใครตัว มัน low เดิม เลย ละกัน :033

bbSZbG.JPG

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...