ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

อิหร่านโต้คว่ำบาตรลดผลิตน้ำมันน้อยสุดรอบ20ปี

ข่าวต่างประเทศ วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2555 9:00น.

 

อิหร่าน ดำเนินมาตรการครั้งสำคัญ และปิดบ่อน้ำมันหลายแห่ง จนกำลังการผลิตในขณะนี้ เหลือต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี และสูญเสียรายได้จำนวนมาก

แหล่งข่าวน้ำมันตะวันตก และอิหร่าน เผยว่า มาตรการคว่ำบาตรเข้มงวดของชาติตะวันตก ทำให้อิหร่านต้องดำเนินมาตรการครั้งสำคัญ และปิดบ่อน้ำมันหลายแห่ง จนกำลังการผลิตในขณะนี้เหลือต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี และสูญเสียรายได้จำนวนมาก โดยแหล่งข่าวกล่าวว่า อิหร่านเร่งขายน้ำมันก่อนมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป หรือ อียู มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ขณะเดียวกัน พยายามรักษากำลังการผลิตให้เกินวันละ 3 ล้านบาร์เรล ด้วยการนำน้ำมันส่วนเกินไปเก็บในถังบนดินและบนเรือ แต่ขณะนี้ยอดส่งออกน้ำมันเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปีก่อน และเริ่มไม่มีที่เก็บน้ำมันอีกแล้ว อิหร่านจึงต้องใช้วิธีสุดท้าย คือ บังคับปิดซ่อมบ่อน้ำมัน ทำให้กำลังผลิต เหลือไม่ถึงวันละ 3 ล้านบาร์เรลแล้ว

 

แหล่งข่าวอิหร่านกล่าวว่า ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกบีบให้ลดกำลังผลิต แต่ไม่ได้หมายความว่าอิหร่านจะยอมแพ้ ส่วนแหล่งข่าวตะวันตก คาดว่า อิหร่านอาจต้องลดกำลังผลิตวันละหลายแสนบาร์เรล แต่ยากชี้ชัดในรายละเอียด เพราะอิหร่านไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ และมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารด้านน้ำมันหลายคน

 

ทั้งนี้ รัฐบาลอิหร่าน ยอมรับเมื่อเดือนก่อนว่า ยอดส่งออกน้ำมันลดลงร้อยละ 20 - 30 จากปกติที่ส่งออกวันละ 2.2 ล้านบาร์เรล ด้านกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ โอเปก เผยว่า อิหร่านผลิตน้ำมันลดลงจากปี 2548 ที่เคยผลิตได้วันละ 3.9 ล้านบาร์เรล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เชื่อมั่นธุรกิจทรุด-เงินยูโรดิ่งฉุดสินทรัพย์เสี่ยงร่วง

วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

 

หุ้นเอเชียเปิดตลาดเช้านี้ (11 ก.ค.) ในแดนลบทั้งนิคเคอิลดลง 0.35% คอสปี้-ออสซี่ร่วงลง 0.44% ตามทิศทางการขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกเกิดขึ้นอีกระลอกวานนี้ โดยตลาดกดดันเฟดใช้มาตรการ QE3 เพิ่มเติม หลังสัญญาณฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มสะดุด โดยที่หุ้นสหรัฐปิดตลาดิ่งลงเฉลี่ย 1% หลังสหรัฐเผยความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมลดลงต่ำสุดในเดือนมิ.ย. ท่ามกลางความกังวลในผลประกอบการธุรกิจอ่อนแอลง ด้านฟากฝั่งยุโรปยืนบวก 0.6-0.8%หลังมีข่าวดีที่อียูยอมอัดฉีดเงินก้อนแรก 3 หมื่นล้านยูโรช่วยแบงก์สเปนก่อนสิ้นเดือนก.ค.นี้ และยังยืดหยุ่นให้การปรับลดขาดดุลงบประมาณของสเปนเลื่อนออกไปอีก 1 ปี สวนทางค่าเงินยูโรร่วงหลุดระดับ 1.2300 ดอลลาร์ แต่ข่าวดีจากอียูกลับไม่ได้ทำให้บรรยากาศลงทุนดีขึ้น โดยราคาน้ำมันไนเม็กซ์ร่และน้ำมันทะเลเหนือดิ่งลงกว่า 2 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองในเอเชียเช้านี้ร่วงลง 17 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 1,571 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวานนี้ (10 ก.ค.) ร่วงลง 83.17 จุดหรือ 0.65% ที่ 12,653.12 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ร่วงลง 10.99 จุดหรือ 0.81% ปิดที่ 1,341.47 และดัชนีแนสแด็ก ลบ 29.44 จุดหรือ 1% ปิดที่ 2,902.33

 

ด้านฟากฝั่งหุ้นยุโรปปิดในแดนบวก โดย FT100 ลอนดอนบวก 0.65% CAC40 ฝรั่งเศส บวก 0.59% และ DAX เยอมัน บวก 0.79% สวนทางเงินยูโรร่วงลงหลุดระดับ 1.2300 ดอลลาร์ไปอยู่ที่ 1.2251 ดอลลาร์ต่อยูโร

 

ทั้งนี้ หุ้นสหรัฐปิดลบ หลังจากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติของสหรัฐ (เอ็นเอฟไอบี) เผยดัขนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมในสหรัฐลดลงอย่างฮวบฮาบในเดือนมิ.ย. โดยร่วงลง 3 จุด สู่ระดับ 91.4

 

ความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อม ที่ดิ่งลงในเดือนมิ.ย.สะท้อนถึง ข้อมูลอื่นๆที่บ่งชี้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในเดือนดังกล่าว แต่เอ็นเอฟไอบี คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะไม่เผชิญกับภาวะถดถอย แม้การขยายตัวจะชะลอตัวลงจากช่วงต้นปี 2555

 

เจ้าของธุรกิจขนาดย่อมมีความกังวลเกี่ยวกับยอดขายและผลประกอบการในอนาคต โดยดัชนีคาดการณ์ภาวะทางธุรกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้าลดลงแตะ -10% ในเดือนมิ.ย. ขณะที่ดัชนีแนวโน้มผลประกอบการสุทธิปรับตัวลงสู่ระดับ -22% ส่วนภาวะการจ้างงานเลวร้ายลง โดยดัชนีการจ้างงานใหม่อ่อนแรงลงแตะ 3%

 

น้ำมันไนเม็กซ์ปิดร่วง2ดอลล์

 

ราคาน้ำมันดิบตลาดสหรัฐปิดตลาดร่วงลง 2 ดอลลาร์ หลังคนงานบริษัทน้ำมันนอร์เวย์ยุติการประท้วง

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนส.ค. ปิดที่ 83.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 2.08 ดอลลาร์ จากราคาปิดเมื่อวันจันทร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 2.35 ดอลลาร์ ปิดที่ 97.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบตลาดสหรัฐ ปรับตัวลงเป็นวันที่ 3 ในรอบ 4 วัน หลังจากรัฐบาลนอร์เวย์ ได้ยุติข้อพิพาทตลอดระยะเวลา 16 วันระหว่างคนงานบริษัทขุดเจาน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง และบริษัทนายจ้าง ซึ่งถือเป็นการยุติความเป็นไปได้ที่จะการระงับการผลิตน้ำมันในนอร์เวย์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่สุดของยุโรปตะวันตก

 

หัวหน้าการเจรจาของสมาคมอุตสาหกรรมน้ำมัน (โอแอลเอฟ) ของนอร์เวย์ กล่าวว่า สมาคมฯมีความพอใจ ที่ไม่ต้องมีการระงับการผลิต แต่หากรัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆ ทางสมาคมก็อาจจำเป็นต้องทำเช่นนั้น

 

การแทรกแซงของรัฐบาลนอร์เวย์ มีขึ้นหลังจากสมาคมโอแอลเอฟ ซึ่งประกอบไปด้วยคนงานของบริษัทสแตทออยล์, เอ็กซอน โมบิล และบีพี ขู่ว่าจะระงับการผลิตทั้งหมดตั้งแต่เที่ยงคืนวานนี้เป็นต้นไป

 

ทองตลาดสหรัฐปิดร่วง9.30ดอลล์

 

ราคาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 ก.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยุโรป แม้มีรายงานว่ารัฐมนตรีคลังยูโรโซนพร้อมให้ความช่วยเหลือภาคธนาคารของสเปนก็ตาม โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 9.30 ดอลลาร์ หรือ 0.59% ปิดที่ 1,579.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ราคาทองคำอ่อนแรงลง หลังจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ การร่วงลงของตลาดหุ้นและตลาดน้ำมันของสหรัฐ ยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดทองคำซบเซาลงด้วย

 

นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ แม้ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ตกลงกันในเงื่อนไขที่จะให้ความช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหาของสเปน โดยระบุว่า ยูโรโซนพร้อมที่จะจัดหาเงินมูลค่า 3 หมื่นล้านยูโรให้กับธนาคารเหล่านี้ภายในสิ้นเดือนก.ค. แต่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนหรือยูโรกรุ๊ป จะต้องหารือกันอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ค. เพื่อทำข้อตกลงในขั้นตอนสุดท้าย

 

นักลงทุนจับตาดูรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงค่ำวันนี้ตามเวลาไทย โดยนักลงทุนคาดหวังว่า รายงานการประชุมครั้งนี้ เฟดอาจจะส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งใหม่

 

เฟดประสานเสียงมีQE3

 

เฟดประสานเสียงต้องมี QE3 ขณะเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ อัตราว่างงานสูง

 

ผู้กำหนดนโยบายระดับสูง 3 คนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) บ่งชี้ถึงแนวโน้มการซื้อพันธบัตรรอบที่ 3 โดยระบุว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงอ่อนแอ และอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินไป เริ่มจากนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขาซาน ฟรานซิสโก ที่บอกว่า หากข้อมูลเศรษฐกิจยังคงออกมาต่ำกว่าความคาดหมาย ก็คิดว่า จำเป็นต้องผ่อนคลายนโยบายมากขึ้น แต่นายเจฟฟรีย์ แลคเกอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ ย้ำท่าทีคัดค้านของเขาต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ในการให้สัมภาษณ์ล่าสุด ซึ่งบ่งชี้ถึงความเห็นที่ขัดแย้งกันของเจ้าหน้าที่เฟด

 

เฟด ตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นใกล้ระดับ 0% นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2551 และส่งสัญญาณว่า จะตรึงดอกเบี้ยต่อไปจนถึงอย่างน้อยที่สุดปลายปี 2557 เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและที่ผ่านมา เฟดได้ดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) 2 ครั้งมาแล้ว โดยซื้อพันธบัตรระยะยาวมูลค่า 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดลง

 

ในเดือนที่ผ่านมา หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง เฟด ได้ปรับลดแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ดำเนินการเพียงเล็กน้อยในการผ่อนคลายนโยบาย โดยขยายเวลาในมาตรการ Operation Twist ไปอีก 6 เดือน โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงโดยการขายพันธบัตรระยะสั้นและซื้อพันธบัตรระยะยาว

 

แต่หลังจากการเปิดเผยรายงานการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนมิ.ย.บรรดานักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทชั้นนำในย่านวอลล์สตรีทที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า มีโอกาส 70% ที่เฟดจะผ่อนคลายนโยบายรอบใหม่ เพิ่มขึ้นจาก 50% ในการสำรวจเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.

 

นายวิลเลียม ซึ่งเป็นผู้ลงมติในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดในปีนี้ ระบุว่า เขาได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วง 1 ปีครึ่ง และคาดว่าอัตราการว่างงานจะยังคงอยู่เหนือระดับ 8% จนถึงครึ่งหลังของปีหน้า ขณะที่ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 8.2%

 

ในเวลาเดียวกัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง, ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น และต้นทุนแรงงานที่ระดับต่ำ จะทำให้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 1.25% ในปีนี้ และ 1.75%ในปีหน้า ต่ำกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% ของเฟด

 

นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก กล่าวในเวทีสัมมนาที่สถาบันศศินทร์ว่า "จำเป็นต้องมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นผลผลิต ให้เพิ่มขึ้นสู่ระดับศักยภาพสูงสุดภายในเวลาอันรวดเร็ว" และกล่าวเสริมว่า "สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้เหมาะสมต่อการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเป็นอย่างมาก"

 

ด้านนายอีริค โรเซนเกรน ประธานเฟดสาขาบอสตัน กล่าวในงานสัมมนาเดียวกันว่า เขาเห็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง และอัตราการว่างงานสูงกว่าที่เจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่คาดไว้

 

ทั้งนายอีแวนส์และนายโรเซนเกรน ไม่ได้เป็นกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดในปีนี้ แต่จะเป็นในปีหน้า

 

นายโรเซนเกรน ยังกล่าวในการสัมมนาด้วยว่า เขาคิดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่เพียงระดับ 1.2% ในปีนี้ ส่วนนายอีแวนส์กล่าวว่า ไม่มีแรงกดดันด้านค่าจ้าง และเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ระดับหรือต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% ของเฟด ทั้งยังยอมรับว่า การสนับสนุนนโยบายที่เสี่ยงต่อการทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแม้เพียงชั่วคราวนั้น อาจทำให้เฟดถูกตำหนิ

 

แต่นายอีแวนส์ ก็กล่าวว่า ขณะที่อัตราการว่างงานของสหรัฐยังคงอยู่ในระดับสูงนั้น เฟดควรยอมให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเพื่อลดอัตราการว่างงานลง ส่วนนายวิลเลียมส์ เชื่อว่าการปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อเพียงชั่วคราวจะไม่เป็นเรื่องน่าวิตก แต่เงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังชะลอตัว

 

เฟด จะประชุมนโยบายครั้งถัดไปในวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค. และในวันที่ 12-13 ก.ย.

 

ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของจีน, ยูโรโซนและอังกฤษได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินลง ซึ่งสะท้อนถึงความวิตกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก

 

หวั่นจีนนำเข้าน้อยสะท้อนอุปสงค์ในประเทศซึม

 

นักวิเคราะห์วิตกจีนนำเข้าน้อยกว่าคาดสะท้อนอุปสงค์ในประเทศชะลอตัว ทั้งนี้ สำนักงานศุลกากรของจีนเปิดเผยว่า การนำเข้าของจีนเพิ่มขึ้น 6.3% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบจากปีก่อน แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 12.7% และลดลงอย่างมากจากที่เพิ่มขึ้น 12.7% ในเดือนพ.ค.ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้น 11.3% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 9.9% แต่ก็ชะลอตัวลงจากที่เพิ่มขึ้น 15.3% ในเดือนพ.ค. ส่งผลให้จีน มียอดเกินดุลการค้า 3.17 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. เทียบกับที่คาดไว้ที่ 2.10 หมื่นล้านดอลลาร์ และ 1.87 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.

 

สำนักงานศุลกากรของจีน ระบุว่า การนำเข้าในเดือนมิ.ย.ของจีนเพิ่มขึ้นในอัตราเพียงครึ่งหนึ่ง จากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งเพิ่มความวิตกที่ว่า เศรษฐกิจและอุปสงค์ของจีน กำลังชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว แม้การส่งออกขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้เล็กน้อยก็ตาม

 

นายทิม คอนดอน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจเอเชีย จากไอเอ็นจี สิงคโปร์กล่าวว่า "สิ่งที่เรากำลังเห็นทั่วภูมิภาคคืออุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวและกลุ่มผู้ส่งออกสามารถปรับตัวได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งออกในจีน ซึ่งพวกเขาดูเหมือนว่าจะสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดได้ ขณะที่การส่งออกขยายตัวมากกว่าการนำเข้าอย่างมากและอุปสงค์ที่ชะลอตัวในประเทศก็ทำให้มียอดเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเช่นนี้ ในโลกปัจจุบันที่เน้นแต่ข่าวร้าย สิ่งนี้จะทำให้มีการพุ่งความสนใจไปที่แง่มุมอุปสงค์ในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวรุนแรง"

 

ด้านนายหลี่ เหว่ย นักเศรษฐศาสตร์จากสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า "สัญญาณที่น่าวิตกมากกว่าก็คือภาวะชะลอตัวของการนำเข้า ซึ่งบ่งชี้ว่าจีนจะเพิ่มมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจในครั้งต่อไป ซึ่งตอกย้ำความวิตกเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน มาตรการกระตุ้นก่อนหน้านี้จะค่อยๆแสดงให้เห็นผล และการส่งออกและนำเข้าของจีนจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตราบใดที่จีนยังสามารถทำให้การส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตรา 5-10% จีนก็จะสามารถรักษาตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งพอสมควรได้ แต่ในระยะสั้น ตลาดหุ้นจะยังคงเผชิญกับแรงกดดันในช่วงขาลง"

 

ที่มา สุทธิชัยหยุ่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณเด็กขายของมากครับ ข่าวเยอะดีจริงๆ :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

555 ตั้งไว้ 1605 เจือกมาแค่ 1600 เซ้งเลยเจ้ (กำไร 190 ต่อบาททองไม่ขาย) :Wt สุดท้ายกลับมาตั้งต้นใหม่ที่ราคาซื้อเมื่อวันศุกร์เลย ไม่เป็นไรไม่เป็นไร ถ้าลงมาต่ำกว่านี้ก็จะซื้อเพิ่มอีก ให้มันรู้กันไป

 

ปล.เมื่อคืนสะกิดแล้ว แต่ไม่ยอม :uu

 

แห้วเหมือนเจ้เลยวะ :033 กะว่าวันไหนคึก ไม่บ้านแก ก็ บ้านกัปตันละวะ :32 จะให้เข้าบ้านละ :023

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณป๋า ค่ะ หากระทู้ไม่เจออีกแระ ได้มา20 satang /1$ จุ๊ฟๆ ถ้าได้50ตัง จะไปเต้นโชว์ให้ป๋าดู อิอิ คราวหน้าซื้อ อย่าลืมบอกนะคะ จักเป็นพระคุณยิ่ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

11  กรกฏาคม 2555

 

**ตลาดการเงินยังไม่เชื่อมั่นมาตรการช่วยเหลือสเปน ขณะจับตาศาลเยอรมนี

 

 

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า รัฐมนตรีคลังยูโรโซน(ยูโรกรุ๊ป) ประสบความยากลำบากในการทำให้ ตลาดการเงินเชื่อมั่นว่า มาตรการช่วยเหลือสเปนที่ยูโรกรุ๊ปจัดทำขึ้นในวันจันทร์จะ สามารถสร้างเสถียรภาพให้แก่ยูโรโซน นอกจากนี้ ภารกิจในการสร้างเสถียรภาพ ยังเผชิญกับอุปสรรคใหม่ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีรับพิจารณาคำร้องคัดค้าน เครื่องมือสำคัญในการแก้ไขวิกฤติยูโรโซน ซึ่งได้แก่กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป

 

 

ทั้งนี้ ศาลของเยอรมนีเริ่มพิจารณาคดีเมื่อวานนี้ในประเด็นที่ว่า ESM และกฎงบประมาณใหม่ของยุโรปสอดคล้องกับกฎหมายเยอรมนีหรือไม่ โดย กระบวนการพิจารณาคดีในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อแนวทางการแก้ไขวิกฤติหนี้ ยูโรโซน และต่อประเด็นที่ว่าประเทศต่างๆในยุโรปจะสามารถประสานนโยบาย เข้าด้วยกันได้มากเพียงใด

 

 

การพิจารณาคดีในครั้งนี้อาจส่งผลให้การแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซนต้อง ล่าช้าออกไป โดยในตอนแรกนั้นได้มีการวางแผนจัดตั้ง ESM ในวันที่ 1 ก.ค. ก่อนที่จะเลื่อนกำหนดออกไป และถ้าหากการพิจารณาคดีในครั้งนี้ส่งผลให้การ จัดตั้ง ESM ต้องล่าช้าออกไปอีกหลายสัปดาห์ ตลาดก็จะไม่มั่นใจว่ายุโรปจะมี ความสามารถมากพอหรือไม่ในการแก้ไขวิกฤติหนี้

 

 

นายวูล์ฟกัง แชร์เบล รมว.คลังเยอรมนี กล่าวต่อศาลสูงสุดเยอรมนีว่า "การเลื่อนกำหนดจัดตั้ง ESM ออกไปจากเดิมที่เคยกำหนดไว้ในเดือนก.ค.ปีนี้ จะก่อให้เกิดความไม่แน่นอนเป็นอย่างมากในตลาดอื่นๆนอกเหนือจากเยอรมนี และจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อความเชื่อมั่นในความสามารถของยูโรโซน ในการตัดสินใจในสิ่งที่จำเป็นภายในกรอบเวลาที่เหมาะสม"

 

 

ยูโรกรุ๊ปตกลงกันว่าจะให้เวลาสเปนเพิ่มขึ้นอีก 1 ปีจนถึงปี 2014 ในการ บรรลุเป้าหมายการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ โดยแลกกับการที่สเปนต้องตัดงบ ประมาณมากยิ่งขึ้น และยูโรกรุ๊ปได้กำหนดปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการให้ ความช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ที่อ่อนแอของสเปน แต่ยังไม่มีการตกลงกันในเรื่อง วงเงินความช่วยเหลือที่แน่นอนสำหรับธนาคารพาณิชย์สเปน

 

 

การตัดสินใจในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลสเปนต้องขอความ ช่วยเหลือทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ เพราะอาจส่งผลให้กองทุนคุ้มครองยูโรโซน มีเงินเหลือไม่มากพอ และจะส่งผลให้วิกฤติหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

 

 

นายลุค ฟรีเดน รมว.คลังลักเซมเบิร์กกล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือสเปนว่า "ไม่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่นี่ และมีการกำหนดแนวทางอย่างชัดเจนในการสร้างเสถียรภาพ ตลาดจำเป็นต้องตระหนักว่ามีการเตรียมเงินไว้แล้วในระดับที่มากเกินความจำเป็น"

 

 

อย่างไรก็ดี ตลาดผิดหวังที่การประชุมยูโรกรุ๊ปในครั้งนี้ไม่ได้เสนอมาตรการ แก้วิกฤติมากกว่านี้ โดยยูโรร่วงลงวานนี้เข้าใกล้จุดต่ำสุดรอบ 2 ปีเทียบดอลลาร์ และ จุดต่ำสุดรอบ 5 สัปดาห์เทียบเยน ในขณะที่นักลงทุนกังวลต่อการประชุมพิจารณาคดี ในศาลเยอรมนี

 

 

ในการประชุมในวันจันทร์ ยูโรกรุ๊ปไม่ได้ตกลงกันในเรื่องขนาดความ ช่วยเหลือที่แน่นอนสำหรับธนาคารพาณิชย์สเปน อย่างไรก็ดี อียูได้กำหนดเพดาน ความช่วยเหลือสูงสุดไว้ที่ 1 แสนล้านยูโร (1.23 แสนล้านดอลลาร์) และจะมี การจัดสรรเงินช่วยเหลือราว 3 หมื่นล้านยูโร ให้แก่ธนาคารพาณิชย์สเปนก่อน สิ้นเดือนก.ค. ถ้าหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน

 

 

นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวในการแถลงข่าวว่า จะมีการลงนามในข้อตกลงปล่อยกู้ขั้นสุดท้ายในราววันที่ 20 ก.ค.

 

 

นายฟรีเดนกล่าวว่า ปริมาณเงิน 1 แสนล้านยูโรสำหรับธนาคารพาณิชย์ สเปนถือเป็นวงเงินที่สูงกว่าที่จำเป็นต้องใช้เป็นอย่างมาก

 

 

ยูโรกรุ๊ปตกลงกันว่า เมื่อใดก็ตามที่มีการจัดตั้งหน่วยงานสำหรับการกำกับ ดูแลภาคธนาคารยุโรปในปีหน้า กองทุนคุ้มครองยูโรโซนก็จะสามารถเพิ่มทุนให้แก่ ธนาคารพาณิชย์สเปนได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยการค้ำประกันจากรัฐบาล

 

 

นายลูอิส เด กวินโดส รมว.เศรษฐกิจสเปน กล่าวว่า "ข้อตกลงนี้ จะส่งผลในทางบวกเป็นอย่างมาก"

รัฐมนตรีคลังจากประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศได้ประชุมกันนาน 9 ชั่วโมงในวันจันทร์ และได้แต่งตั้งบุคคลต่างๆให้มาดำรงตำแหน่งสำคัญในยุโรป

 

 

อย่างไรก็ดี ยูโรกรุ๊ปไม่ประสบความคืบหน้าในการใช้กองทุนคุ้มครอง ยูโรโซนในการแทรกแซงตลาดพันธบัตรเพื่อกดดันต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลี ให้ลดลง

 

 

ยูโรกรุ๊ปแต่งตั้งนายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป ซึ่งเป็น ชาวลักเซมเบิร์ก ให้ดำรงตำแหน่งประธานยูโรกรุ๊ปต่ออีกสมัย โดยเขาจะดำรง ตำแหน่งต่อไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีครึ่ง อย่างไรก็ดี นายยุงเกอร์ กล่าวว่าเขาตั้งใจจะก้าวลงจากตำแหน่งในช่วงสิ้นปีนี้หรือในช่วงต้นปี 2013

 

 

ยูโรกรุ๊ปแต่งตั้งนายอีฟส์ เมอร์ช ซึ่งเป็นชาวลักเซมเบิร์ก ให้ดำรง ตำแหน่งที่ว่างอยู่ในคณะกรรมการบริหารอีซีบี ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 6 ตำแหน่ง โดยนายเมอร์ชมีแนวคิดแบบสายเหยี่ยวหรือแนวคิดที่เน้นการต่อต้าน ภาวะเงินเฟ้อ

 

 

ยูโรกรุ๊ปเลือกนายเคลาส์ เรกลิง ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ด้วย โดย ESM ซึ่งเป็นกองทุน คุ้มครองยูโรโซนแบบถาวรจะเริ่มเปิดดำเนินงานในเดือนนี้

 

 

ก่อนหน้านี้นายเรกลิงเคยจัดตั้งและบริหารกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงิน ยุโรป (EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนชั่วคราวที่จัดสรรเงินช่วยเหลือให้แก่กรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส

 

 

ยูโรกรุ๊ปมีภารกิจในการจัดทำรายละเอียดให้กับข้อตกลงของผู้นำอียูในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นข้อตกลงในการจัดตั้งหน่วยงานกลางในการกำกับดูแลธนาคารในยุโรป และข้อตกลงในการใช้กองทุนคุ้มครองยูโรโซนในการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดพันธบัตร

 

 

อย่างไรก็ดี ยูโรโซนยังคงเผชิญปัญหาจากความขัดแย้งกันระหว่างประเทศ ทางตอนเหนือของยุโรป เช่น ฟินแลนด์และเนเธอร์แลนด์ กับประเทศทางตอนใต้ของ ยุโรป เช่น สเปนและอิตาลี

 

 

นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีได้เข้าแถลงต่อรัฐสภายุโรปในวันจันทร์ ก่อนการประชุมยูโรกรุ๊ป และเขาต้องเผชิญกับคำถามที่ไม่เป็นมิตรจากสมาชิกสภา ยุโรปที่มาจากเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ และฟินแลนด์ ในเรื่องการนำเงินภาษีมา ใช้ช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ในยุโรป

 

 

ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลีร่วงลงเมื่อวานนี้ โดยอัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสเปนประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลง 0.21 % สู่ 6.85 % ในช่วงท้ายตลาด ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีประเภท 10 ปีลดลง 0.12 % สู่ 5.98 %

 

 

นายลูอิส เด กวินโดส รมว.เศรษฐกิจสเปน ชี้แจงให้ที่ประชุมยูโรกรุ๊ปฟัง เกี่ยวกับแผนการของรัฐบาลสเปนในการปรับลดงบรายจ่ายและปรับขึ้นภาษีในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า โดยรัฐบาลสเปนจะประกาศแผนการวงเงิน 3 หมื่นล้านยูโรนี้ ออกมาในวันพรุ่งนี้

 

 

แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลสเปนจะปรับลดงบรายจ่ายลงราว 1 หมื่นล้าน ยูโรในปีนี้ โดยมาตรการของรัฐบาลสเปนรวมถึงการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), การปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการสังคม, การปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการว่างงาน และการปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณเงินบำนาญ

 

เพื่อเป็นการตอบแทนรัฐบาลสเปน คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอที่จะ ผ่อนคลายเป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสเปน โดยระบุ ให้รัฐบาลสเปนปรับลดยอดขาดดุลลงสู่ 6.3 % ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปีนี้, 4.5 % สำหรับปี 2013 และ 2.8 % สำหรับปี 2014

 

นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป กล่าวว่า สเปน ควรที่จะดำเนินมาตรการตัดงบประมาณเพิ่มเติมในเร็วๆนี้เพื่อรับประกันว่า จะสามารถบรรลุเป้าหมายใหม่

ประเทศอื่นๆในยุโรประบุว่า สเปนอาจจะยังคงประสบความยากลำบาก ในการบรรลุเป้าหมายใหม่นี้ และมีการเสนอแนะให้มีการตรวจสอบสเปนทุกๆ 3 เดือ

 

ตัวเลขเป้าหมายใหม่นี้ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาของสเปนในการบรรลุเป้าหมาย ทางการคลังท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยในตอนแรกนั้นได้มีการกำหนดให้ รัฐบาลสเปนปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 4.4 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ แต่นายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราจอยของสเปนได้ตัดสินใจ เพียงฝ่ายเดียวในการปรับเป้าหมายดังกล่าวเป็น 5.8 % ของจีดีพีในช่วงต้นเดือน มี.ค. ก่อนที่จะตกลงยอมรับเป้าหมายใหม่ที่ 5.3 % ของจีดีพีในช่วงกลางเดือน มี.ค.

 

นายยาน คีส เดอ ยาเกอร์ รมว.คลังเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า "เราเชื่อมั่น ว่าสเปนกำลังทำและจะทำในสิ่งใดก็ตามที่จำเป็นเพื่อเอาชนะวิกฤตินี้"

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

แห้วเหมือนเจ้เลยวะ :033 กะว่าวันไหนคึก ไม่บ้านแก ก็ บ้านกัปตันละวะ :32 จะให้เข้าบ้านละ :023

สงสัยว่า เจ้ฯ จะแยกแยะงานประจำ กับ งานเล่นทอง. เพราะเห็นภาคกลางวัน ไม่ค่อยจะเหลียวแลทอง สักเท่าไหร่ ราคาตอนนี้ 1575 เจ้ฯ ก็คงยังนิ่งๆๆ ใช่ไหมครับ

 

ถ้าสังเกตุจากราคาทองที่วิ่งขึ้นบน ไปที่ 1600 นั้น ไปแบบเร็วพอสมควร แต่เวลาที่ลงมาที่ 1566 ใช้เวลาหลายชั่วโมง ค่อยๆๆ ลง ไม่ใช่แบบน้ำคก หรือ ตกเหว อันน่าสะพรึงกลัวเกรงว่า ซื้อไปแล้ว จะเป็นดอยอีกแล้วเหรอ ไม่น่าใช่ ในสถานการณ์ที่ปรากฎบนเส้นกราฟฯ และ เหตุการณ์รอบด้าน ดังนั้น จังหวะไต่ขึ้นก็ย่อมมี SPDR ขายทองออกจากสต็อคภายใน 7 วัน เกือบ 9 ตัน แต่ราคาไม่สะเทือน เพราะการสะเทือนขึ้นอยู่กับ Gold Future ที่มีเป็นหลักแสนสัญญาฯ เทียบเป็นปริมาณทองในโลกนี้ ยังไม่เพียงพอ แล้วแบบนี้ เห็นๆๆ ว่า มาจากเหตุอะไร ก็ต้องสนองบรรดาขาใหญ่ GF ที่มองแบบไหน คืนนี้ ( COT มียอดรอการบันทึก และ อีกหลายๆ อย่าง ซึ่งเกิดจากมุมมอง ที่คุณฯ จะคิดมองแบบไหน )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงสัยว่า เจ้ฯ จะแยกแยะงานประจำ กับ งานเล่นทอง. เพราะเห็นภาคกลางวัน ไม่ค่อยจะเหลียวแลทอง สักเท่าไหร่ ราคาตอนนี้ 1575 เจ้ฯ ก็คงยังนิ่งๆๆ ใช่ไหมครับ

 

ถ้าสังเกตุจากราคาทองที่วิ่งขึ้นบน ไปที่ 1600 นั้น ไปแบบเร็วพอสมควร แต่เวลาที่ลงมาที่ 1566 ใช้เวลาหลายชั่วโมง ค่อยๆๆ ลง ไม่ใช่แบบน้ำคก หรือ ตกเหว อันน่าสะพรึงกลัวเกรงว่า ซื้อไปแล้ว จะเป็นดอยอีกแล้วเหรอ ไม่น่าใช่ ในสถานการณ์ที่ปรากฎบนเส้นกราฟฯ และ เหตุการณ์รอบด้าน ดังนั้น จังหวะไต่ขึ้นก็ย่อมมี SPDR ขายทองออกจากสต็อคภายใน 7 วัน เกือบ 9 ตัน แต่ราคาไม่สะเทือน เพราะการสะเทือนขึ้นอยู่กับ Gold Future ที่มีเป็นหลักแสนสัญญาฯ เทียบเป็นปริมาณทองในโลกนี้ ยังไม่เพียงพอ แล้วแบบนี้ เห็นๆๆ ว่า มาจากเหตุอะไร ก็ต้องสนองบรรดาขาใหญ่ GF ที่มองแบบไหน คืนนี้ ( COT มียอดรอการบันทึก และ อีกหลายๆ อย่าง ซึ่งเกิดจากมุมมอง ที่คุณฯ จะคิดมองแบบไหน )

 

แม่นแท้ป๋า กลางวันงานประจำ ก็แทบแย่ อ่านโพสแล้วก็ไปทำงาน กว่าจะเริ่มดูจริงๆ ก็จะดึกหน่อย ส่วนหัวค่ำเปิดคอมทิ้งไว้แวปไปแวปมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แห้วเหมือนเจ้เลยวะ :033 กะว่าวันไหนคึก ไม่บ้านแก ก็ บ้านกัปตันละวะ :32 จะให้เข้าบ้านละ :023

 

เจ้สะกิดตอนใส่ชุดไรละ ลองใส่ชุดวันเกิดสะกิดซิ น่าจะได้....555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไหงว่าจะไม่ งก แล้วไง

 

พอดีตั้งเป้าไว้ว่าน่าจะถึง 1605 แต่ดันมาแค่ 1600 ไม่เป็นไรเงินมันเย็น :_cd รอได้ :17

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้คุณเด็กขายของรอซื้อที่ราคาเท่าไหร่คะ ขอบคุณค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ง่วงจัง ทานข้าวเที่ยงกันยังจ๊า

เออ ตา luk ตั้งราคาเนี่ยได้แค่ 20 บาทต่อครั้งเหรอ ซ้อตั้ง 30-40 มันตีกลับเป็น 20 ทุกทีเลย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พอดีตั้งเป้าไว้ว่าน่าจะถึง 1605 แต่ดันมาแค่ 1600 ไม่เป็นไรเงินมันเย็น :_cd รอได้ :17

 

วันนี้ตะ้งยังล่ะพ่อเงิน :_cd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ง่วงจัง ทานข้าวเที่ยงกันยังจ๊า

เออ ตา luk ตั้งราคาเนี่ยได้แค่ 20 บาทต่อครั้งเหรอ ซ้อตั้ง 30-40 มันตีกลับเป็น 20 ทุกทีเลย

 

ตั้งได้ตั้งแต่ 20-65 ครับ แต่ซ้อต้องเลือกประเภทคำสั่งก่อน แล้วเลือกจำนวนทีหลัง ถ้าเลือกจำนวนก่อนแล้วมาเลือกประเภทคำสั่งทีหลังมาจะเด้งมาที่ 20 ก่อนทุกครั้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ตะ้งยังล่ะพ่อเงิน :_cd

 

ยังไม่ได้ตั้งเลยรอดูกราฟอีกหน่อย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...