ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สวัสดียามเช้าค่ะ คุณป๋า คุณเกี้ยมอี๋ คุณpasaya คุณarthas และทุกท่านค่ะ :Hi

สวัสดีเช่นกันค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

ครูยังไม่มาขอเดาการบ้าน ส่งหน้าชั้นเรียนเลยแล้วกันครับ

1. บาทอ่อนที่ 29.2x

2. Spot 1613

3. 22200 / 22300

 

ดีจ้าไม่เจอกันนาน. สงสัยได้คะแนนเต็ม การบ้าน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:: แล้วพรุ่งนี้มาดู ว่าความเชื่อเกิดจริงกี่อย่าง

1. บาทอ่อน.

2 Spot ขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 5-7 เหรียญ

3. อาแปะ กั๊กสูง เช่นเคย หรือเปล่า

มาตรวจการบ้านกันนะครับ

1. บาทอ่อน ( บาทอ่อนลง อาแปะคิดที่ 29.22 )

2. spot ขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 5-7 เหรียญ ( ขึ้นจาก 1608 มาที่ 1615 ขึ้นมา 7 เหรียญ )

3. อาแปะ กั๊กสูง เช่นเคย หรือเปล่า ( ตั้งราคาวันนี้ 22,250/22,350 ขึ้นมา 50 บาท + ส่วนเพิ่ม 30 บาท เริ่มใกล้เคียงมีกำไร รอปล่อยตอนเที่ยงถึงบ่ายต้นๆๆ จากบาทอ่อน )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

ครูยังไม่มาขอเดาการบ้าน ส่งหน้าชั้นเรียนเลยแล้วกันครับ

1. บาทอ่อนที่ 29.2x

2. Spot 1613

3. 22200 / 22300

หวัดดี คุณ GB2514

555 ข้อ 3 เฉลยผิด อาแปะ บวกให้เพิ่ม 50 บาท ราคาซื้อแพงกว่าตอนกลางคืน : ดูแลรักษาสุขภาพนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาเริ่มข่าวสารกันครับ World Markets : สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ (22/03/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลง และภาคการผลิตยูโรโซนหดตัวลง นอกจากนี้ ตลาดยังวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไซปรัส หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยื่นคำขาดว่าจะตัดความช่วยเหลือจากไซปรัสในวันจันทร์หน้า หากไซปรัสไม่สามารถระดมเงินทุนให้มากเพียงพอในการหลีกเลี่ยงภาวะล่มสลายทางการเงิน

 

ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 0.7% ปิดที่ 294.47 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,774.85 จุด ลดลง 54.71 จุด ร่วงลง 1.43% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 7,932.51 จุด ลดลง 69.46 จุด ลดลง 0.87% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,388.55 จุด ลดลง 44.15 จุด ร่วงลง 0.69%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านการเงินของไซปรัส ซึ่งได้บดบังข้อมูลเศรษฐกิจในด้านบวกของสหรัฐ รวมถึงยอดขายบ้านมือสองที่พุ่งขึ้นเกินคาด

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 90.24 จุด หรือ 0.62% ปิดที่ 14,421.49 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 12.91 จุด หรือ 0.83% ปิดที่ 1,545.80 จุด และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 31.59 จุด หรือ 0.97% ปิดที่ 3,222.60 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยื่นคำขาดว่าจะตัดความช่วยเหลือจากไซปรัสในวันจันทร์หน้า หากไซปรัสไม่สามารถระดมเงินทุนให้มากเพียงพอในการหลีกเลี่ยงภาวะล่มสลายทางการเงิน

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 1.05 ดอลลาร์ หรือ 1.12% ปิดที่ 92.45 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 1.25 ดอลลาร์ หรือ 1.15% ปิดที่ 107.47 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น และภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลง

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 6.3 ดอลลาร์ หรือ 0.39% ปิดที่ 1,613.8 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดที่ 29.212 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 39.5 เซนต์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 1.15 เซนต์ ปิดที่ 3.4350 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,580.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 2.40 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 756.85 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 13.50 ดอลลาร์

 

-- ราคาทองคำตลาดลอนดอนปิดวันทำการล่าสุด (21 มี.ค.) ที่ 1,613.75 ดอลล์/ออนซ์

-- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลง และภาคการผลิตยูโรโซนหดตัวลง

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.2916 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.2946 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5180 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5119 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.0450 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0386 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 94.91 เยน จากระดับ 95.90 เยน และดอลลาร์ขยับขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9463 ฟรังค์ จากระดับ 0.9435 ฟรังค์

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลง และภาคการผลิตยูโรโซนหดตัวลง

 

ดัชนี FTSE 100 ร่วงลง 44.15 จุด หรือ 0.69% ปิดที่ 6,388.55 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 6,364.00-6,435.59 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก $6.3 เหตุวิตกไซปรัสกระตุ้นแรงซื้อ (22/03/2556)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น และภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลง

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 6.3 ดอลลาร์ หรือ 0.39% ปิดที่ 1,613.8 ดอลลาร์/ออนซ์

 

 

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดที่ 29.212 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 39.5 เซนต์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 1.15 เซนต์ ปิดที่ 3.4350 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,580.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 2.40 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 756.85 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 13.50 ดอลลาร์

 

นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไซปรัส และข้อมูลเศรษฐกิจในด้านลบของสหรัฐและยูโรโซน

 

มาร์กิตเปิดว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นรวมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนในเดือนมี.ค.ปรับตัวลงสู่ระดับ 46.5 จาก 47.9 ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนี PMI เบื้องต้นของเยอรมนี อ่อนแรงลงมาอยู่ที่ 51.0 ในเดือนมี.ค. จาก 53.3 ในเดือนก.พ.

 

ด้านจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. เพิ่มขึ้น 2,000 ราย แตะระดับ 336,000 ราย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 345,000 ราย

 

ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยื่นคำขาดว่าจะตัดความช่วยเหลือจากไซปรัสในวันจันทร์หน้า หากไซปรัสไม่สามารถระดมเงินทุนให้มากเพียงพอในการหลีกเลี่ยงภาวะล่มสลายทางการเงิน ข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่าหากไซปรัสผิดนัดชำระหนี้ ก็จะส่งผลให้ระบบการธนาคารของไซปรัสล่มสลายและจะส่งผลกระทบลูกโซ่ในยูโรโซนซึ่งได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากวิกฤตหนี้สาธารณะ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรร่วง หลังภาคการผลิตเยอรมนี,ยูโรโซนหดตัว (22/03/2556)

สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลง และภาคการผลิตยูโรโซนหดตัวลง

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.2916 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.2946 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5180 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5119 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.0450 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0386 ดอลลาร์สหรัฐ

 

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 94.91 เยน จากระดับ 95.90 เยน และดอลลาร์ขยับขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9463 ฟรังค์ จากระดับ 0.9435 ฟรังค์

 

สกุลเงินยูโรร่วงลงหลังจากมาร์กิตเปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นรวมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนในเดือนมี.ค.ปรับตัวลงสู่ระดับ 46.5 จาก 47.9 ในเดือนก.พ.

 

ส่วนภาคธุรกิจโดยรวมของเยอรมนี แม้ว่าจะมีการขยายตัวในเดือนนี้ แต่ก็เป็นไปในอัตราที่ชะลอลง โดยดัชนี PMI เบื้องต้นของเยอรมนี อ่อนแรงลงมาอยู่ที่ 51.0 ในเดือนมี.ค. จาก 53.3 ในเดือนก.พ.

 

นอกจากนี้ วิกฤตการณ์ไซปรัสยังสร้างแรงกดดันให้กับสกุลเงินยูโรโซน โดยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ยื่นคำขาดว่าจะตัดความช่วยเหลือจากไซปรัสในวันจันทร์หน้า หากไซปรัสไม่สามารถระดมเงินทุนให้มากเพียงพอในการหลีกเลี่ยงภาวะล่มสลายทางการเงิน ข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่าหากไซปรัสผิดนัดชำระหนี้ ก็จะส่งผลให้ระบบการธนาคารของไซปรัสล่มสลายและจะส่งผลกระทบลูกโซ่ในยูโรโซน

 

คณะผู้นำทางการเมืองของไซปรัสมีมติอนุมัตมาตรการ "plan B" ในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนราว 5.8 พันล้านยูโร หรือ 7.48 พันล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาใช้ในการกอบกู้วิกฤตการเงินของประเทศ

 

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลง 1 ขั้น สู่ระดับ "ขยะ" หลังจากรัฐสภาไซปรัสได้ปฏิเสธมาตรการจัดเก็บภาษีเงินฝากในระบบธนาคาร ซึ่งส่งผลให้ไซปรัสเผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้อย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้

 

ทั้งนี้ เอสแอนด์พีได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของไซปรัสลงจากระดับ CCC+ มาอยู่ที่ระดับ CCC และให้แนวโน้มเป็นลบ

 

เอสแอนด์พีเตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลงอีก หากไซปรัสไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินในเร็วๆนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

S&P หั่นเครดิตไซปรัสลงสู่ระดับ ขยะ หลังรัฐสภาคว่ำแผนเก็บภาษีเงินฝาก (22/03/2556)

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลง 1 ขั้น สู่ระดับ "ขยะ" หลังจากรัฐสภาไซปรัสได้ปฏิเสธมาตรการจัดเก็บภาษีเงินฝากในระบบธนาคาร ซึ่งส่งผลให้ไซปรัสเผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้อย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้

 

ทั้งนี้ เอสแอนด์พีได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของไซปรัสลงจากระดับ CCC+ มาอยู่ที่ระดับ CCC และให้แนวโน้มเป็นลบ

 

เอสแอนด์พีเตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลงอีก หากไซปรัสไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินในเร็วๆนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

ผู้นำการเมืองไซปรัสไฟเขียวมาตรกร plan B พุ่งเป้าระดมทุน 5.8 พันล้านยูโร (22/03/2556)

คณะผู้นำทางการเมืองของไซปรัสมีมติอนุมัตมาตรการ "plan B" โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนราว 5.8 พันล้านยูโร หรือ 7.48 พันล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาใช้ในการกอบกู้วิกฤตการเงินของประเทศ

 

ไซปรัสและรัสเซียได้ดำเนินความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อหาทางปลดล็อคปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากที่รัฐสภาไซปรัสมีมติคว่ำมาตรการจัดเก็บภาษีเงินฝาก โดยนายไมเคิล ซารริส รมว.คลังไซปรัสได้พบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียที่กรุงมอสโกในวันนี้ ในการนำเสนอแผนการเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศ

 

 

 

ทั้งนี้ สถานการณ์ในไซปรัสเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้น หลังจากเมื่อวานนี้ รัฐสภาไซปรัสลงมีมติปฏิเสธมาตรการจัดเก็บภาษีเงินฝากในระบบธนาคาร ซึ่งส่งผลให้ไซปรัสมีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้อย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้

 

มาตรการภาษีดังกล่าวมีขึ้นเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วในการประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนที่กรุงบรัสเซลส์ โดยผู้มีเงินฝากในบัญชีธนาคารมากกว่า 100,000 ยูโรจะถูกหักภาษี 9.9% และจะมีการเก็บภาษี 6.75% สำหรับจำนวนเงินที่ต่ำกว่านั้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ไซปรัสระดมทุนได้ 5.8 พันล้านยูโร

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐสภาไซปรัสมีมติปฏิเสธมาตรการจัดเก็บภาษีเงินฝากในระบบธนาคาร ทางธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้กล่าวว่า อีซีบียังคงมีพันธกิจต่อการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับไซปรัสภายในขอบเขตที่กำหนด

 

ขณะเดียวกัน นายลุค ฟรีเดน รัฐมนตรีคลังของลักเซมเบิร์ก ได้เรียกร้องให้มีการจัดประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนขึ้นอีกโดยเร็ว เพื่อผลักดันแผนการชุดใหม่ในการช่วยเหลือทางการเงินแก่ไซปรัส หลังจากที่แผนการเดิมถูกปฏิเสธโดยรัฐสภาไซปรัส

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 21 มีนาคม 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 29.17/19 คาดแกว่งแคบ มองกรอบ 29.15-29.25 ลุ้นแผนแก้หนี้ไซปรัส(22/03/2556)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.17/19 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 29.21/23 บาท/ดอลลาร์

 

"แข็งค่าจากเมื่อวานแค่ 2 สตางค์ เป็นการแกว่งตัวในกรอบแคบๆ จากแรงซื้อ-ขายในตลาด วันนี้มองว่าเงินบาทอาจจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ อาจจะมีได้ทั้งอ่อนค่าและแข็งค่า โดยตลาดเมืองนอกคนยังมองเรื่องไซปรัสกันอยู่ ส่วนเงินเยนที่มีประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินวันก่อน ก็ไม่ได้มีบทบาทมากนักเท่าไหร่ ยังไม่การทำอะไรที่แตกต่างจากเดิม" นักบริหารเงินกล่าว

 

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 29.15-29.25 บาท/ดอลลาร์

 

*ปัจจัยสำคัญ

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร ธปท.วันนี้อยู่ที่ 29.2020 บาท/ดอลลาร์

- เปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 94.86/89 เยน/ดอลลาร์ จากปิดเมื่อวานที่ระดับ 96.47/48 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2909/2911 ดอลลาร์/ยูโร จากปิดเมื่อวานที่ระดับ 1.2907/2910 ดอลลาร์

- ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยื่นคำขาดว่าจะตัดความช่วยเหลือจากไซปรัสในวันจันทร์หน้า หากไซปรัสไม่สามารถระดมเงินทุนให้มากเพียงพอในการหลีกเลี่ยงภาวะล่มสลายทาง การเงิน

- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 มี.ค.) หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลง และภาคการผลิตยูโรโซนหดตัวลง โดยค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.2916 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.2946 ดอลลาร์สหรัฐ

- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลง 1 ขั้น สู่ระดับ "ขยะ" คือจากระดับ CCC+ มาอยู่ที่ระดับ CCC หลังจากรัฐสภาไซปรัสปฏิเสธมาตรการจัดเก็บภาษีเงินฝากในระบบธนาคาร ซึ่งส่งผลให้ไซปรัสเผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้อย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้

- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้(21 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านการเงินของไซปรัส หลังจากมีข่าวว่าธนาคารกลางยุโรป(ECB) ยื่นคำขาดวว่าไซปรัสจะต้องระดมเงินทุนให้มากเพียงพอก่อนที่ ECB จะตัดความช่วยเหลือไซปรัสในวันจันทร์หน้า

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้(21 มี.ค.) โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 1.05 ดอลลาร์ หรือ 1.12% ปิดที่ 92.45 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 1.25 ดอลลาร์ หรือ 1.15% ปิดที่ 107.47 ดอลลาร์/บาร์เรล

- กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค.เพิ่มขึ้น 2,000 ราย แตะระดับ 336,000 ราย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 345,000 ราย

- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) จะเปิดเผยว่ายอดขายบ้านมือสองเดือนก.พ.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8% แตะที่ 4.98 ล้านยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.52

- มาร์กิตเปิดเผยผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) เบื้องต้นรวมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนในเดือนมี.ค.ปรับตัวลงสู่ ระดับ 46.5 จาก 47.9 ในเดือนก.พ.

- นายชาติชัย พาราสุข รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต กล่าวว่า การแก้ไขการเก็งกำไรค่าเงินบาทในขณะนี้ ทางที่ดีที่สุดคือการใช้มาตรการ Capital Control เก็บภาษีกำไรจากค่าเงินของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งภาษีนี้จะยกเว้นการทำรายการปกติสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่อง เที่ยว

- นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการและรักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ต้องการให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาประกาศมาตรการต่าง ๆ ในการสกัดเงินไหลเข้าเพื่อเป็นการข่มขู่นักเก็งกำไรค่าเงิน

- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศตามติดภาวะนำเข้าสินค้าต่างประเทศ หลังพบหลายกลุ่มสินค้าเคลื่อนไหวสูงผิดปกติจากบาทแข็งโป๊ก เร่งจัดทำระบบเตือนภัย หวั่นกระทบภาคผลิตในประเทศ กระตุกส่งออกวูบ รอชงนายกฯ-รมว.พาณิชย์หาทางสกัด แต่ยังมั่นใจส่งออกปีนี้โตตามเป้า 8-9% เอกชนนิวซีแลนด์กังวลค่าบาทแข็งค่าต่อเนื่อง อาจสั่งนำเข้าสินค้าประเทศอื่นทดแทน

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธ.กลางยุโรป "เร่ง" ไซปรัส ด้านรัสเซียเริ่ม "ไม่มั่นใจ" กับผล "ค่าเงินยูโร" (22/03/2556)

ธนาคารกลางยุโรปได้ออกมากำหนดเส้นตายให้ไซปรัสตัดสินใจให้ได้ภายในวันจันทร์ที่26มีนาคมนี้ ว่ามีข้อสรุปอย่างไร

 

มิฉะนั้น หากไซปรัสไม่สามารถหาเงินจำนวน 5.8 พันล้านยูโรมาเพื่อค้ำประกันการกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าว ทางธนาคารกลางยุโรปจะตัดงบประมาณฉุกเฉินที่ใช้ประคับประคองการทำงานของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในไซปรัส 2 แห่ง ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารทั้ง 2 เข้าสู่ภาวะวิกฤติ และประเทศไซปรัสเข้าสู่ภาวะวิกฤติตามไปด้วย

 

โดยรัฐบาลได้ออกมาประกาศแผนสำรองที่จะเก็บเงินให้ได้ตามเงื่อนไขการกู้เงินแล้วโดยในตอนแรกไซปรัสเห็นว่าจะยังเก็บภาษีลูกค้ารายย่อยที่มีเงินไม่ถึง 100,000 ยูโรในบัญชีอยู่ แต่อาจไม่ถึง 9.9 % ตามที่เคยมีข่าวไป และเตรียมโอนหนี้ดีให้กับธนาคารใหม่ ด้านธนาคารเก่าก็จะรับชอบหนี้เสีย และถูกปล่อยให้อยู่ในภาวะวิกฤติ หรือโอนให้สถาบันอื่นรับผิดชอบต่อไป

 

ทั้งนี้ เพื่อชะลอการเคลื่อนไหว ธนาคารของไซปรัสจะปิดต่อไปอีกถึงวันอังคารหน้าด้วยเช่นกัน

 

ด้านรัสเซีย ซึ่งออกมาแสดงความกังวลในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีชาวรัสเซียฝากเงินไว้ในธนาคารของไซปรัสคิดเป็นถึงร้อยละ 30 ของทั้งหมด ก็ได้แสดงบทบาทเด่นในครั้งนี้ โดยรัฐมนตรีคลังของไซปรัส ได้เดินทางไปยังประเทศรัสเซีย เพื่อหารือเรื่องการขยายระยะเวลาผ่อนผันคืนเงินกู้จำนวน 2.5 พันล้านยูโร ออกไปอีก 3 ปี และยังเตรียมขอกู้เงินเพิ่มจากรัสเซียอีก 5 พันล้านยูโรด้วย

 

อย่างไรก็ตาม รัสเซียเองก็ออกมาแสดงความไม่มั่นใจกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน โดยเริ่มไม่ไว้ใจกับเสถียรภาพทางการเงินของค่าเงินยูโร กล่าวคือ รัสเซียกล่าวว่า ต้องพิจารณายอดเงินยูโรในบัญชีเงินสำรองระหว่างประเทศ เนื่องจากเกรงว่านโยบายที่แข็งกร้าวครั้งนี้ อาจทำให้ค่าเงินยูโรเสื่อมค่าลง

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ by Hua Seng Heng Gold Futures (22/03/2556)

กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

- S&P ลดเครดิตไซปรัสลงสู่ระดับขยะ

 

- SPDR ถือทองลดลง 0.9 ตัน

 

- คาดทองยังฟื้นตามแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

 

- ราคาทองคำและโลหะเงินฟื้นตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงค่ำ หลังจากเคลื่อนไหวทรงตัวในการซื้อขายระหว่างวัน แรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมีกลับเข้ามาหลังจากมีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจทั้งจากสหรัฐ และยุโรปออกมาในเชิงลบ ส่วนเงินบาทเมื่อวานนี้เริ่มอ่อนค่าลงหลังจากแข็งค่าขึ้นติดต่อกันหลายวัน

 

- ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐที่ยืนยันว่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป ยังเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ ประกอบกับเมื่อคืนนี้มีรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐเพิ่มมากขึ้นจากสัปดาห์ก่อน รวมทั้งรายงานดัชนีภาคการผลิตในยูโรโซนเดือนมีนาคม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จึงทำให้มีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกลับเข้ามา

 

- ปัญหาทางการคลังของไซปรัสยังเป็นประเด็นที่ตลาดให้ความสนใจ และหากว่าไซปรัสไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กลุ่มเจ้าหนี้ต้องการได้ ธนาคารกลางยุโรปก็ยืนยันว่าจะตัดความช่วยเหลือไซปรัสในวันจันทร์หน้า และในช่วงเช้าวันนี้มีรายงานว่า S&P ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลง และมีแนวโน้มที่จะมีการปรับลดลงอีก หากไซปรัสไม่ได้รับเงินช่วยเหลือในเร็วๆนี้

 

- ภาพเทคนิคของราคาทองคำยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นต่อ และหากสามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1,620 ดอลลาร์ ขึ้นไปได้ คาดว่าราคาทองจะปรับตัวขึ้นสู่แนวต้านถัดไปที่บริเวณ 1,630-1,635 ดอลลาร์ โดยมีแนวรับสำหรับซื้อเก็งกำไรระยะสั้นอยู่ที่บริเวณ 1,600-1,605 และ 1,590 ดอลลาร์ ตามลำดับ

 

- ราคาโลหะเงินฟื้นตัวขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือแนวต้านบริเวณ 29.0 ดอลลาร์ ทำให้ภาพเทคนิคมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นต่อ โดยมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 29.50 และ 30.0 ดอลลาร์ ตามลำดับ ส่วนแนวรับที่คาดว่าจะเป็นจุดดีดตัวกลับในกรณีที่ราคาอ่อนตัวลงอยู่ที่บริเวณ 28.80-29.0 ดอลลาร์ หากไม่สามารถยืนเหนือแนวรับนี้ ก็จะเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาปรับตัวลงต่อไป

 

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนเม.ย.56

 

Close chg. Support Resistance

 

22,400 +30.00 22,350/22,200 22,500/23,650

 

ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาเคลื่อนไหวที่แนวต้านบริเวณ 1,615-1,620 ดอลลาร์ และยังมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวขึ้นต่อ จึงสามารถเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรต่อเนื่องจากต้นสัปดาห์ โดยมีแนวรับสำหรับเปิดสถานะซื้ออยู่ที่บริเวณ 1,600-1,603 ดอลลาร์ และมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,585-1,590 ดอลลาร์

 

ซิลเวอร์ฟิวเจอร์สเดือนเม.ย.56

 

Close chg. Support Resistance

 

845 - 840/830 860/865-867/880

 

ราคาโลหะเงินเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากเคลื่อนไหวทรงตัวที่แนวรับบริเวณ 28.30-28.50 ดอลลาร์ ติดต่อกันหลายวัน และคาดว่าราคาโลหะเงินยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นต่อ ดังนั้นหากในระหว่างวันราคาปรับตัวลงเข้าใกล้แนวรับที่ยกตัวขึ้นมาอยู่ที่บริเวณ 28.80-29.0 ดอลลาร์ ยังสามารถเปิดสถานะซื้อเก็งกำไร โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 28.40-28.50 ดอลลาร์

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์(22/03/2556)

น้ำมันร่วง หลังอียูและอีซีบียื่นคำขาดตัดความช่วยเหลือไซปรัสภายในวันจันทร์หน้า "

 

เบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับลดลง 1.25 เหรียญฯ ปิดที่ 107.47 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับลดลง 1.05 ปิดที่ 92.45 เหรียญฯ

- ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ให้เวลาแก่ไซปรัสจนถึงวันที่ 25 มี.ค. เพื่อระดมเงินทุนให้ได้ 5.8 พันล้านยูโร เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ 10 พันล้านยูโร ซึ่งหากไม่สำเร็จจะตัดความช่วยเหลือ โดยคณะผู้นำทางการเมืองของไซปรัสพยายามหามาตรการ "plan B" เพื่อระดมทุนในการนำมาใช้เพื่อกอบกู้วิกฤตการเงินของประเทศ ซึ่งสถานการณ์ในไซปรัสที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้น อาจส่งผลให้ระบบการธนาคารของไซปรัสล่มสลายและกดดันให้ไซปรัสต้องออกจากการ เป็นสมาชิกของยูโรโซน ทำให้ยูโรโซนซึ่งได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากวิกฤตหนี้สาธารณะมีปัญหา มากขึ้น และทำให้ตลาดกังวลต่ออนาคตของความต้องการใช้น้ำมันในยุโรป

- ดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการ (PMI Composite) ของยูโรโซนในเดือน มี.ค.ปรับตัวลงเป็น 46.5 จาก 47.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์รอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 48.2 จากอัตราที่ชะลอลงของเยอรมนีและฝรั่งเศส

+ จำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 2,000 ราย แตะระดับ 336,000 ราย อย่างไรก็ดีจำนวนรวมเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ปรับลดลง 7,500 ราย แตะระดับ 339,750 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี

+ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ เดือน ก.พ.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8% แตะที่ 4.98 ล้านยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 52 ส่วนยอดขายบ้านมือสองเดือน ม.ค.ได้รับการปรับทบทวนเพิ่มขึ้นเป็น 4.94 ล้านยูนิต จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 4.92 ล้านยูนิต สะท้อนให้เห็นว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ฟื้นตัว

+ ผู้นำสูงสุดของอิหร่านกล่าวว่าจะเข้าโจมตีเมืองท่าของอิสราเอล ถ้าหากอิสราเอลเข้าโจมตีฐานที่ตั้งโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ขณะเดียวกันทางรัสเซียได้ออกมากล่าวว่าการเจรจาระหว่างอิหร่านและชาติมหา อำนาจทั้งหกมีความคืบหน้าแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีความต้องการจากเวียดนามและอินโดนิเชียอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีความต้องการจากออสเตรเลีย บังคลาเทศ ศรีลังกา และ เวียดนามเพิ่มขึ้น

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้าเบรนท์ 105-112 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 88-95 เหรียญ ติดตามการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิตาลีและการข้อเสนอแผนการเพื่อขอรับเงินช่วย เหลือของไซปรัส คืนนี้ติดตามดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Ifo)

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันศุกร์: ดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Ifo)

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่

วันจันทร์: ดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางดัลลัส

วันอังคาร: ยอดขายบ้านใหม่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนและดัชนีราคาบ้านสหรัฐฯ (S&P/CS)

วันพุธ: ดัชนีราคาผู้บริโภค ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจยูโรโซน ยอดสัญญาซื้อขายบ้านรอปิดการขายสหรัฐฯ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนี (GfK)

วันพฤหัส: จีดีพีไตรมาส 4 (Final) และยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ตัวเลขการจ้างงานเยอรมนี

วันศุกร์: ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ (ม.มิชิแกน) รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ

- จับตาความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังในวันที่ 20-21 มี.ค.ประธานาธิบดีได้เรียกประชุมกับสมาชิกสภาเป็นครั้งแรกเพื่อพยายามจัด ตั้งรัฐบาล หากไม่สำเร็จ อาจทำให้อิตาลีต้องมีการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง

- ติดตามการขอเงินช่วยเหลือของไซปรัสจำนวน 10,000 ล้านยูโรต่ออียูและไอเอ็มเอฟ หลังจากรัฐสภาลงมติคัดค้านการเก็บภาษีจำนวน 5,800 ล้านยูโรกับผู้ฝากเงินตามเงื่อนไขที่แนบมา ล่าสุดธนาคารกลางยุโรปยื่นคำขาดให้ไซปรัสต้องเสนอแผนการขอเงินช่วยเหลือมา ใหม่ภายในวันที่ 25 มี.ค.นี้ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนดังกล่าว

-ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรียหลังมีการยิงระเบิดที่หลายฝ่ายสงสัยว่า มีส่วนผสมของอาวุธเคมีซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยล่าสุดทั้งรัฐบาลและกลุ่มผู้ต่อต้านเรียกร้องให้สหประชาชาติเข้ามาตรวจ สอบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว

- ติดตามเหตุยิงระเบิดจากฉนวนกาซาร์เข้ามายังอิสราเอลระหว่างการเยือนของ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าเป็นการเยือนเพื่อสมานความสัมพันธ์มากกว่าที่จะเป็นการ เสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมเพื่อยุติความรุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศูนย์วิจัยกสิกรฯคาดสิ้นปีบาทอาจแตะที่28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ(22/03/2556)

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทในปี 56 เงินบาทแข็งค่าค่อนข้างรวดเร็ว ทุบสถิติแข็งค่าสูงสุดในรอบ 16 ปี

 

สะท้อนภาพการแข็งค่าที่ฉีกตัวออกจากภูมิภาค มองว่าแนวโน้มค่าเงินบาทในเร็วๆนี้ จะทดสอบระดับ 29.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลมาจากปัจจัยทางจิตวิทยา ภายหลังจากที่แข็งค่าหลุดแนวรับ 29.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มีแรงเก็งกำไรเข้ามาอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสที่เงินบาทจะแข็งค่าไปที่ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ในสิ้นปีนี้

 

เบื้องต้นประเมินค่าเฉลี่ยเงินบาททั้งปี 56 อยู่ที่ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP)อยู่ที่ระดับ 4.8% สอดคล้องกับช่วงประมาณการ กรณีพื้นฐานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ 4.3-5.3% ขณะที่การส่งออกจะขยายตัว 10.5% โดยสอดคล้องกับประมาณการฯในช่วง 8.0-13.0% แต่หากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยทั้งปีนี้แข็งค่าขึ้นไปเป็น 28.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จีดีพีก็จะขยายตัวลดลงเหลือ 4.2% การส่งออกจะขยายตัว 6.5% และ หากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยไปอยู่ที่ 27.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จีดีพีจะขยายเหลือแค่ 3.0% การส่งออกขยายตัวได้เพียง 2.5% ทั้งนี้ อยู่ภายใต้การประเมินว่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุก 1.0% จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกประมาณ 0.6-1.1% และกระทบต่อจีดีพีประมาณ 0.1-0.3%

 

น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับประมาณการณ์ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าไปสู่ระดับ 28.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในปลายปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ปลายปีนี้เงินบาทจะอยู่ที่ 29.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังคงค่าเฉลี่ยเดิมทั้งปีที่ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤติไซปรัสฉุดหุ้นยุโรปร่วงกราว(22/03/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 มีนาคม 2556) ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 0.7% ปิดที่ 294.47 จุด ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,774.85 จุด ลดลง 54.71 จุด ร่วงลง 1.43% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 7,932.51 จุด ลดลง 69.46 จุด ลดลง 0.87% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,388.55 จุด ลดลง 44.15 จุด ร่วงลง 0.69%

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงหลังจากมาร์กิตเปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่าดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นรวมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนในเดือนมีนาคมปรับตัวลง สู่ระดับ 46.5 จาก 47.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนภาคธุรกิจโดยรวมของเยอรมนี แม้ว่าจะมีการขยายตัวในเดือนนี้ แต่ก็เป็นไปในอัตราที่ชะลอลง โดยดัชนี PMI เบื้องต้นของเยอรมนี อ่อนแรงลงมาอยู่ที่ 51.0 ในเดือนมีนาคม จาก 53.3 ในเดือนกุมภาพันธ์

ด้านสถานการณ์ของไซปรัส ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ยื่นคำขาดว่าจะตัดความช่วยเหลือจากไซปรัสในวันจันทร์หน้า หากไซปรัสไม่สามารถระดมเงินทุนให้มากเพียงพอในการหลีกเลี่ยงภาวะล่มสลายทาง การเงิน ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าหากไซปรัสผิดนัดชำระหนี้ ก็จะส่งผลให้ระบบการธนาคารของไซปรัสล่มสลายและจะส่งผลกระทบลูกโซ่ในยูโรโซน

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของไซปรัสลง 1 ขั้น จาก CCC+ ลงมาอยู๋ที่ระดับ CCC หรือระดับ "ขยะ" หลังจากรัฐสภาไซปรัสได้ปฏิเสธมาตรการจัดเก็บภาษีเงินฝากในระบบธนาคาร ซึ่งส่งผลให้ไซปรัสเผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระ หนี้อย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

*บาท/ดอลลาร์เช้านี้แกว่งในกรอบ, ผู้นำเข้า-ส่งออกรอจังหวะเข้าตลาด(22/03/2556)

*บาท/ดอลลาร์เช้านี้แกว่งตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียงกับเมื่อวาน โดยดีลเลอร์

ระบุว่า ปริมาณการซื้อขายในช่วงเช้านี้ยังไม่มากนัก เนื่องจากผู้นำเข้า

และผู้ส่งออกยังคงรอหาจังหวะเข้าทำธุรกรรม ในระดับเงินบาทที่ต้องการ

*เยนแข็งค่าในการซื้อขายที่ตลาดเอเชียช่วงเช้านี้ ขณะที่นักลงทุนพยายาม

ซื้อคืนเงินเยน หลังนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น

(บีโอเจ) คนใหม่ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับโอกาสในการประชุมฉุกเฉิน

ของบีโอเจ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และวิกฤติหนี้ไซปรัส กดดันยูโร

*นายคุโรดะ ไม่เปิดเผยว่าเขาจะเรียกประชุม ก่อนการประชุมนโยบายที่

กำหนดไว้ระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย.หรือไม่ โดยในการแถลงข่าวเป็น

ครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อวานนี้ นายคุโรดะ กล่าวว่าบีโอเจพร้อม

ที่จะใช้วิธีการทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินฝืด

*สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์(S&P) ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ

ไซปรัส ลงสู่สถานะขยะ และผลสำรวจพบว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของ

ยูโรโซน รุนแรงขึ้นในเดือนนี้ ก่อนจะเกิดปัญหากับแผนช่วยเหลือของ

ไซปรัส

*สหภาพยุโรป(อียู) ให้เวลาแก่ไซปรัสถึงวันจันทร์หน้า ในการระดมทุน

หลายพันล้านดอลลาร์ ซึ่งจำเป็นต่อการได้รับเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ

ซึ่งถ้าทำไม่ได้ ไซปรัสอาจจะเผชิญกับการล่มสลายของระบบการเงิน ซึ่ง

อาจจะทำให้ไซปรัสต้องออกจากยูโรโซน

*ในวันนี้ ยังไม่มีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ทำให้ตลาดจะยังพุ่ง

ความสนใจไปที่สถานการณ์ในไซปรัส และสมาชิกสภานิติบัญญัติของ

ไซปรัส จะหารือเรื่องร่างกฎหมายฉุกเฉินที่รัฐบาลทำขึ้น เพื่อจัดการ

กับวิกฤติการเงินของประเทศ

*อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร

ของ ธปท.วันนี้ อยู่ที่ 29.202 บาท

*9.06 น.บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 29.20/23 จาก 29.21/23 เมื่อวาน

ขณะที่ใน offshore อยู่ที่ 29.23/25 จาก 29.20/22 เมื่อวาน

*เยน/ดอลลาร์ อยู่ที่ 94.90/92 จาก 94.91 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวาน

*ยูโร/ดอลลาร์ อยู่ที่ 1.2911/13 จาก 1.2896 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวาน

 

 

 

"วันนี้อาจจะทรงๆ เพราะ importer ก็ยังรออยู่ exporter ก็ยัง รออยู่เหมือนกัน import ก็รอ(ซื้อดอลลาร์)แถว 29.00 ส่วน export ก็รอ (ขายดอลลาร์) แถว 29.20 ก็เลยยังไม่ match กัน" ดีลเลอร์ กล่าว

 

 

เขา คาดว่า เงินบาทในวันนี้จะยังแกว่งตัวในกรอบต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ เนื่องจากผู้ลงทุน และผู้นำเข้าส่งออก ยังรอจังหวะให้เงินบาทไปอยู่ในระดับที่ต้องกา ร จะเข้าทำธุรกรรม ทำให้ปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงในตลาด อาจจะยังไม่มากนัก

 

 

โดยมองแนวต้านของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 29.00 ส่วนแนวรับให้ไว้ที่ 29.30

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 22 มีนาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...