ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ตลาดยุโรปปิดในแดนลบ. คราวนี้ก็เหลือแต่สหรัฐฯ โดด แล้วล่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ค่ะทุกคน

เช้านี้มาเปิดห้อง อิอิ

ฝนตกอีกแล้ว เดินทางปลอดภัย และดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟรหัส 12,26,9 แบบดั้งเดิม เค้าบอกให้ " ทนถือ ถือทน " ต่อไปเรื่อยๆ เร็วๆนี้แหล่ะ จะไม่ต้องทนแล้ว เพราะอาจจะต้อง Stop Loss ตามเส้นฯ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันลบ หุ้นมะกัน-ทองคำลงแรงหลังแบงค์ชาติญี่ปุ่นไม่อัดฉีดเพิ่ม

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มิถุนายน 2556 04:44 น.

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันวานนี้(11) ขยับลง หลังโอเปกปรับลดประมาณการณ์อุปสงค์พลังงานโลกปี 2013 ขณะที่วอลล์สตีทและทองคำ ก็ปิดลบแรง เหตุผิดหวังที่ญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยและไม่อัดฉีดเพิ่ม

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม ลดลง 39 เซนต์ ปิดที่ 95.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 99 เซนต์ ปิดที่ 102.96 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ในรายงานด้านตลาดน้ำมันประจำเดือนมิถุนายน กลุ่มโอเปกประมาณการณ์อุปสงค์พลังงานโลกปี 2013 อยู่ที่ 89.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากรายงานเมื่อเดือนก่อน ที่คาดคะเนว่าอุปสงค์พลังงานโลกน่าจะอยู่ราวๆ 89.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

แม้โอเปกจะระบุว่าอุปสงค์พลังงานโลกปี 2013 เพิ่มจากปี 2012 ราว 780,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนใหญ่มาจากความต้องการในจีนและประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) แต่ก็เตือนว่าพบสัญญาณแนวโน้มการบริโภคที่ลดลงและไม่ใช่แค่ในกลุ่ม OECD แต่ยังรวมถึงกลุ่มชาติเศรษฐกิจเกิดใหม่ด้วย

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(11) ปิดลบแรง หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่นตัดสินใจไม่มีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม แถมยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ลดลง 116.49 จุด (0.76 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,122.10 จุด แนสแดค ลดลง 36.82 จุด (1.06 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,436.95 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 16.64 จุด (1.01 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,626.17 จุด

 

ความเคลื่อนไหวในแดนลบของตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีขึ้นหลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) คัดค้านการเพิ่มวงเงินในโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์สำหรับกระตุ้นเศรษกิตและตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใดๆ

 

การเหนี่ยวรั้งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบของญี่ปุ่นครั้งนี้ ยังเป็นการเพิ่มคำถามต่อทิศทางในอนาคตของธนาคารกลางสหรัฐฯต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ก่อนหน้าที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินจะประชุมกันในสัปดาห์หน้า และปัจจัยดังกล่าวก็ฉุดให้ราคาทองคำวานนี้(11) ขยับลงพอสมควร โดยทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ ลดลง 9.00 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,377.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟรหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง ว่า เข้าข่ายซื้อ หรือ เข้าข่ายขายทิ้ง มาถึงวันนี้ ปลายเส้น 2 เส้น ปักหัวเข้าหากัน คิดทางดี ก็ยังไม่ถึงตัดกัน ก็คงต้อง อดทน ทนอด กันต่อไปสำหรับ เพื่อนที่มองจากรหัสฯ กราฟนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แล้ยเมื่อมาส่องกราฟรหัส 7,5,2 เส้นสีแดงก็ยังอยู่ใต้เส้นสีดำอยู่เลย ก็ยังคง " นิ่งรอ รอนิ่ง " กันต่อไป. อนึ่ง จากการที่รหัส 5,35,9 และ 7,5,2 ออกมาเป็นแบบที่เห็น จึงน่าสนใจที่จะทำการ Short ราคาทองที่ $1377 - 1379 แล้วแต่วิจารณญานในการพิจารณาของแต่ละคน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดจีนปิดเป็นวันสุดท้าย เทศกาลบ๊ะจ่าง แต่ภาคบ่ายยุโรป คงสนุกสนานตื่นเต้นจนถึง 3 ทุ่ม ตลาดสหรัฐมาลุยต่อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตรหรือไม่

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.2% ปิดที่ 291.74 จุด

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,340.08 จุด ลดลง 60.37 จุด หรือ -0.94% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,222.46 จุด ลดลง 85.23 จุด หรือ -1.03% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,810.56 จุด ลดลง 53.80 จุด หรือ -1.39%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ออกมาตรกรเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตรหรือไม่

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 116.57 จุด หรือ 0.76% ปิดที่ 15,122.02 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 16.68 จุด หรือ 1.02% ปิดที่ 1,626.13 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 36.82 จุด หรือ 1.06% ปิดที่ 3,436.95 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ออกมาตรกรเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าบีโอเจจะอัดฉีดเงินให้กับธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่ากลุ่มโอเปคปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในเดือนพ.ค.

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 39 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 95.38 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 99 เซนต์ หรือ 0.95% ปิดที่ 102.96 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ออกมาตรกรกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวานนี้ และจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 9 ดอลลาร์ หรือ 0.65% ปิดที่ 1,377 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 27.9 เซนต์ ปิดที่ 21.646 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 4.6 เซนต์ ปิดที่ 3.195 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1479.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 27.00 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 752.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 16.90 ดอลลาร์

 

-- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวานนี้

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 96.14 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 98.71 เยน และอ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9245 ฟรังค์ จากระดับ 0.9328 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3307 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3262 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5641 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5584 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 0.9443 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9475 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม ในขณะที่ผลตอบแทนจากพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กำลังพิจารณาปรับลดขนาดของโครงการรับซื้อพันธบัตรลง

 

ดัชนี FTSE 100 ปรับตัวลง 60.37 จุด หรือ 0.94% ปิดที่ 6,340.08 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2556)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองปิดร่วง 9 ดอลลาร์ หรือ 0.65% ปิดที่ 1,377 ดอลลาร์/ออนซ์ บีโอเจไร้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

 

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวานนี้ และจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 9 ดอลลาร์ หรือ 0.65% ปิดที่ 1,377 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 27.9 เซนต์ ปิดที่ 21.646 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 4.6 เซนต์ ปิดที่ 3.195 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1479.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 27.00 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 752.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 16.90 ดอลลาร์

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (12/06/56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวานนี้

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 96.14 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 98.71 เยน และอ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9245 ฟรังค์ จากระดับ 0.9328 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3307 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3262 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5641 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5584 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 0.9443 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9475 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนหลังจากบีโอเจมีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในการประชุมวันนี้ ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนที่คาดว่าบีโอเจอาจอัดฉีดเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ หรือออกมาตรการใหม่ๆเพิ่มเติม เพื่อสกัดการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว

 

เงินเยนพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปีนี้ เป็น 4.1%ต่อปี จากก่อนหน้านี้ที่ประมาณการไว้ที่ 3.5% ต่อปี หลังจากที่ได้มีการปรับเพิ่มการประเมินตัวเลขการลงทุนในภาคธุรกิจ

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า อุตสาหกรรมการส่งออกของญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มกลับมาขยายตัว และยังได้แรงหนุนจากนโยบายเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ หรือ "อาเบะโนมิกส์" ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การผลักดันให้บีโอเจใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณและกระตุ้นการใช้จ่ายสาธารณะจำนวนมหาศาล ซึ่งส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลง

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นจากข่าวที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีเริ่มต้นการพิจารณาโครงการ Outright Monetary Transactions หรือ OMT ของธนาคารกลางยุโรปและกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีอาจจะไม่ขวางแผนการของอีซีบีในการซื้อพันธบัตรประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ

 

สหรัฐได้เปิดเผยมูลเศรษฐกิจเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนเม.ย.ปรับตัวขึ้น 0.2% จากเดือนมี.ค.ที่เพิ่มขึ้น 0.3% ขณะที่ยอดค้าส่งดีดตัวขึ้น 0.5% หลังจากที่ร่วงลง 1.4% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นสัญญาณบวกสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

ขณะที่สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติของสหรัฐ (NFIB) รายงานว่า ความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กของสหรัฐปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนพ.ค. สู่ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี เนื่องจากเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมีมุมมองที่สดใสขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศต่างๆที่ใช้สกุลเงินยูโรปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้ หลังจากที่ธนาคารธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในการประชุมวันนี้ ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนที่คาดว่าธนาคารกลางหลายประเทศอาจเพิ่มการซื้อตราสารหนี้ เพื่อสกัดการพุ่งสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสเปนปรับตัวขึ้น 0.12% แตะ 4.72% ณ เวลา 14.01 น.ในลอนดอนวันนี้ หลังจากที่พุ่งแตะ 4.76% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลีเพิ่มขึ้น 0.14% แตะ 4.43% ต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้น 0.10% วานนี้

 

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของโปรตุเกส พุ่งขึ้นถึง 0.43% สู่ระดับ 6.65% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.พ. ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของไอรแลนด์ ปรับขึ้น 0.18% แตะ 4.26% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลกรีซอายุ 10 ปี ทะยาน 1.01% แตะ 10.57%

 

คณะกรรมการนโยบายการเงินทั้ง 9 คนของบีโอเจมีมติคงนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงรุกในการประชุมวันนี้ และยืนยันว่าบีโอเจจะเพิ่มฐานเงินที่อัตรา 60-70 ล้านล้านเยนต่อปี ขณะเดียวกัน บีโอเจหลีกเลี่ยงที่จะใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดความผันผวนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลและเพื่อควบคุมการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเกรงว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เผย ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทอง มิ.ย.56 ต่ำกว่ามาตรฐาน ชี้ มีผลจากค่าบาท เงินสหรัฐ

 

นายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวถึงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ ช่วงเดือนมิถุนายน 2556 ว่า ค่าดัชนีมีค่าระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่ระดับ 50 จุด ค่อนข้างมาก ทั้งดัชนีรวม ดัชนีเฉพาะกลุ่มนักลงทุน และดัชนีเฉพาะผู้ค้าทองคำ โดยมีค่าดัชนี 32.91 31.39 และ 39.80 จุด ตามลำดับ สะท้อนทัศนคติเชิงลบ โดยค่าความเชื่อมั่นราคาทองคำเดือนมิถุนายน มีค่าระดับต่ำว่าเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม สำหรับปัจจัยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าจะมีผลต่อทิศทางราคาทองคำในเดือนมิถุนายน ได้แก่ ค่าเงินบาท ทิศทางของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและปัญหาเศษฐกิจยุโรป โดยร้อยละ 53.39 ของกลุ่มตัวอย่าง เชื่อ เงินบาทมีผลต่อราคาทองคำในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจความต้องการซื้อทองคำในช่วงหนึ่งถัดไป พบว่า 38.85% ของกลุ่มตัวอย่างคาดว่า จะซื้อทองคำ ขณะที่ 33.45% คาดว่าจะไม่ซื้อและ 27.70% ไม่แน่ว่าจะซื้อทองคำหรือไม่ ซึ่งค่อนข้างแปลกใจในความคิดเห็นสะท้อนถึงความไม่แน่ใจที่มีต่อตลาดในอนาคต

 

ที่มา : MSN (วันที่ 12 มิถุนายน 2556)

 

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เผย นักลงทุนคาด เดือน มิ.ย. ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบ 1,300 – 1,500 สหรัฐต่อออนซ์

 

นายภูษิต วงศ์หล่อสายชล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยถึงบทสรุปความคิดเห็นของผู้ค้าทองคำ ที่รวบรวมตัวอย่างจากผู้ค้าส่งทองคำ ประธานชมรมค้าทองคำ และผู้ประกอบกิจการนายหน้าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่อ้างอิงกับราคาทองคำจำนวน 15 ตัวอย่าง เชื่อว่า ราคาทองคำในตลาดโลกช่วงเดือนมิถุนายน โดยรวมน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,300 – 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ให้น้ำหนักกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 1,300 – 1,380 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และ 1,420 – 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หากราคาทองคำมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม นายภูษิต กล่าวต่อว่า สำหรับราคาทองคำแท่งในประเทศ ความบริสุทธิ์ 96.5% กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักราคาสูงสุดระหว่าง 20,000 – 21,500 บาทต่อ 1 บาททองคำ และกรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุด กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักระหว่าง 18,500 – 20,000 บาทต่อ 1 บาททองคำ โดยมีประเด็นค่าเงินบาทและการชะลอมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐ เป็นประเด็นสำคัญในเดือนมิถุนายน 2556

 

ที่มา : MSN (วันที่ 11 มิถุนายน 2556)

 

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักลงทุนทิ้งทองเหตุราคาดิ่งไม่เลิก ถือไม่เกิน20%ของพอร์ต ตั้งรับที่ 1,300 ดอลล์/ออนซ์

 

นายภูษิต วงศ์หล่อสายชล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยผลการสำรวจสัดส่วนการลงทุนในทองคำกับเงินออมเพื่อการลงทุนของกลุ่มตัวอย่าง 575 ตัวอย่าง แบ่งเป็นผู้ลงทุนทองคำ 456 ตัวอย่าง และผู้ค้า 119 ตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างลดสัดส่วนการลงทุนในทองคำในปี 2556 เหลือ 22.31 % ของพอร์ต ลดลงจากปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ 34.33 % หรือ ลดลง 12.02 % และที่น่าสนใจกลุ่มตัวอย่างถึง 67.51 % เชื่อว่าจะลงทุนทองคำในปีนี้ต่ำกว่า 20 % ของเงินลงทุน และกลุ่มตัวอย่าง 16.98 % คาดว่าจะไม่ลงทุนในทองคำเลย เนื่องจากเกิดความไม่แน่นอนและไม่มั่นใจต่อราคาทองคำ หลังจากที่ราคาทองคำปรับลดลง 5 เดือนติดต่อกันในปีนี้ และลดลง 8 เดือนตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยนักลงทุนหันไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่น พันธบัตร หุ้น และถือเงินสดถึง 77.69 % มากกว่าปี 2555 ที่อยู่ที่ ?65.67 % สำหรับการลงทุนในปีนี้ นักค้าทองคำแนะนำนักลงทุนต้องจัดสรรพอร์ตการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และควรลงทุนไม่เกิน 20 % ของพอร์ต

 

ด้านนายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ (Gold Price Sentiment Index) ประจำเดือนมิถุนายน มีค่าเท่ากับ 32.91 ลดลงจากเดือนพฤษภาคมที่มีค่าเท่ากับ 45.50 ค่าดัชนีต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่ระดับ 50 จุดค่อนข้างมาก ทั้งดัชนีเฉพาะกลุ่มนักลงทุน และดัชนีเฉพาะกลุ่มผู้ค้าทองคำ เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทำให้ไม่มั่นใจว่าราคาทองคำจะสามารถปรับขึ้นได้ ขณะที่ปัจจัยที่กะทบต่อราคาทองคำส่วนใหญ่เป็นกระแสข่าวในเชิงลบ

 

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ทั้งกลุ่มผู้ลงทุนและกลุ่มผู้ค้าทองคำมีความเห็นในทางเดียวกัน โดยค่าดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 จุด ดัชนีมีค่าที่ระดับ46.25 ลดลงจากเดือนก่อน 10.47 จุด หรือ 18.45 % นักลงทุนไม่มั่นใจต่อราคาทองคำในช่วง 3 เดือนข้างหน้า มีทัศนคติในเชิงลบต่อราคาทองคำ และจากการทำดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ 4 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีมีระดับลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และพฤษภาคม โดยมีค่าดัชนี 75.72, 65.06, 56.72 และ 46.25 ซึ่งสะท้อนว่านักลงทุนมีความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของราคาทองคำลงเรื่อยๆ สอดคล้องกับราคาทองคำที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนแนวโน้มราคาทองคำในครึ่งปีหลัง คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวทดสอบแนวต้านที่ 1,500-1,520 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์แต่มีโอกาสค่อนข้างยาก ?และมีแนวรับที่ 1,250-1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนราคาในประเทศเคลื่อนไหวระหว่าง 19,000-21,500 บาทต่อบาททองคำ ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทที่ 30.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำ คือ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าและการลดดอกเบี้ยนโยบาย การลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) ของสหรัฐ ซึ่งหากธนาคารกลางสหรัฐลดขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปีนี้ ราคาทองคำจะปรับลดลงอีก การขายทองคำของกองทุนขนาดใหญ่ SPDR โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีการลดขนาดการถือครองทองคำจาก 1,350 ตัน เหลือ 1,013 ตัน? รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 12 มิถุนายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ปรับเพิ่มผลผลิตน้ำมันดิบเดือนพ.ค.สู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันปี 2556 ลงเล็กน้อย อันเนื่องมาจากความเสี่ยงต่างๆที่มีต่อเศรษฐกิจโลก

 

รายงานภาวะตลาดประจำเดือนของโอเปคระบุว่า โอเปคปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอีก 106,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 30.57 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค. ซึ่งนำโดยผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของซาอุดิอาระเบีย สำหรับความต้องการน้ำมันทั่วโลกปีนี้จะขยายตัวประมาณ 780,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลง 10,000 บาร์เรลต่อวัน จากรายงานเดือนที่แล้ว

 

กลุ่มโอเปคระบุว่า ปัจจัยพื้นฐานที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่าตลาดมีอุปทานเพียงพอ และเมื่อมองในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน ทางกลุ่มเตือนว่า อุปสงค์น้ำมันเผชิญความเสี่ยงในช่วงขาลง

 

โอเปคระบุว่า ปริมาณการใช้น้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 2 เนื่องจากความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขับขี่รถยนต์ที่พุ่งสูงสุดในช่วงฤดูร้อนในบริเวณแถบซีกโลกเหนือ ประกอบกับการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นสำหรับการทำงานเครื่องปรับอากาศในภูมิภาคตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม ภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจในยุโรป รวมถึงความเสี่ยงที่มีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่นั้นกำลังสกัดการขยายตัวของความต้องการน้ำมัน

 

สำหรับซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นสมาชิกรายใหญ่ที่สุดของโอเปคนั้น ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิก ซึ่งสามารถชดเชยกำลังผลิตที่ลดลงของอิหร่าน ลิเบีย และไนจีเรีย โดยซาอุดิอาระเบียเพิ่มการผลิตน้ำมัน 143,400 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่การผลิตของอิหร่านร่วงลงมากที่สุด โดยร่วงลง 37,700 บาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค. สู่ระดับ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน และผลผลิตน้ำมันของลิเบียลดลง 27,300 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

รายงานระบุว่าสต็อกน้ำมันดิบและน้ำมันกลั่นในประเทศพัฒนาแล้วสอดคล้องกับปริมาณเฉลี่ยในระยะ 5 ปี โดยเพิ่มขึ้น 19.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 2.7 พันล้านบาร์เรล ขณะที่อุปทานน้ำมันดิบอยู่ในระดับที่เพียงพอ

 

กลุ่มโอเปคคงการประเมินอุปทานน้ำมันปี 2556 ของประเทศนอกกลุ่มไว้ที่ระดับเดิม โดยผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปค ซึ่งนำโดยสหรัฐ แคนาดา และบราซิลจะเพิ่มผลผลิต 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 53.96 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้

 

ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปคประกอบด้วย แอลจีเรีย แองโกลา เอกวาดอร์ อิรัก คูเวต ลิเบีย ไนจีเรีย กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวเนซูเอลา โดยการประชุมของกลุ่มโอเปคในครั้งหน้าจะจัดขึ้นวันที่ 4 ธ.ค. ณ กรุงเวียนนา

 

ด้านสำนักงานพลังงานสากล (IEA) จะประกาศตัวเลขประมาณการอุปสงค์และอุปทานประจำเดือนในวันพรุ่งนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...