ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

อรุณสวัสดิ์ค่ะทุกคน

ป๋า หมดแรงจะแจงรายละเอียดรหัสจากกราฟเลยหรือคะ อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

น้ำมัน-หุ้นสหรัฐฯบวกแรงจากข้อมูลศก.อเมริกา ทองคำลงพอสมควร

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มิถุนายน 2556 05:32 น.

 

 

 

 

 

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันขยับขึ้นและวอลล์สตรีทวานนี้(13)บวกแรง หลังอเมริกาเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจอันสดใส อย่างไรก็ตามทองคำกลับปิดลบพอสมควร จากข้อวิตกของนักลงทุนเกี่ยวกับแรงเทขายในตลาดทุนญี่ปุ่น

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 81 เซนต์ ปิดที่ 96.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 76 เซนต์ ปิดที่ 104.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันวานนี้(13) ได้แรงหนุนจากตัวเลขค้าปลีกเดือนพฤษภาคม ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ถึงร้อยละ 0.6 เหนือกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหมายไว้ หลังได้แรงขับเคลื่อนจากยอดขายรถยนต์ ส่งสัญญาทางบวกเกี่ยวกับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่คิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอเมริกา

 

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันยังมีปัจจัยหนุนจากข้อมูลกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่ระบุว่ายอดผู้เข้ารับสิทธิประโยชน์คนว่างงานในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 12,000 อัตรา เหลือ 334,000 อัตรา นับเป็นการปรับลด 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ส่งสัญญาณของการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปของตลาดแรงงาน

 

ปัจจัยข้างต้นส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(13) ปิดบวกอย่างแข็งแกร่ง และไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นดิ่งลงแรงถึงร้อยละ 6.4 แม้แต่น้อย

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 180.85 จุด (1.21 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,176.08 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 44.94 จุด (1.32 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,445.37 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 23.84 จุด (1.48 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,636.36 จุด

 

อย่างไรก็ตามความวิตกต่อแรงเทขายที่มีเข้ามาอย่างหนักในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเมื่อวันพฤหัสบดี(13) ก็มีอิทธิพลพอที่จะส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆรวมถึงตลาดทองคำ และเป็นผลให้โลหะมีค่าชนิดนี้ ปิดลบพอประมาณ โดยทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ ลดลง 14.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,377.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000071710

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ค่ะทุกคน

ป๋า หมดแรงจะแจงรายละเอียดรหัสจากกราฟเลยหรือคะ อิอิ

อ่อนใจครับ ทองแท่งตัวเป็นหนักๆ ไมได้ซื้อกลับเข้ากระเป๋าสักที เพราะอยากได้ต่ำกว่า 20,000 บาท / ค่าเงินบาท อ่อนจน หาทางเดินเข้าร้านทองฯ ไม่เจอ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองปิดร่วง 14.2 ดอลล์

 

14 มิถุนายน 2556 เวลา 06:44 น. |

 

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง14.2 ดอลล์ที่ 1,377.8 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังเศรษฐกิจสหรัฐสดใสหนุนคาดเฟดลดซื้อบอนด์

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 14.2 ดอลลาร์ หรือ 1.02% ปิดที่ 1,377.8 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 21.3 เซนต์ ปิดที่ 21.583 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 4.05 เซนต์ ปิดที่ 3.185 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1447.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 35.20 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 731.05 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 26.00 ดอลลาร์

 

ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอย่างทองคำ และหันไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงหุ้น โดยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 8 มิ.ย. ลดลง 12,000 ราย สู่ระดับ 334,000 ราย ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 345,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 346,000 ราย สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐ

 

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้น 0.6% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% เนื่องจากภาคครัวเรือนเพิ่มการใช้จ่ายในการซื้อยานยนต์และสินค้าประเภทอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้น

 

http://www.posttoday.com/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

อ่อนใจครับ ทองแท่งตัวเป็นหนักๆ ไมได้ซื้อกลับเข้ากระเป๋าสักที เพราะอยากได้ต่ำกว่า 20,000 บาท / ค่าเงินบาท อ่อนจน หาทางเดินเข้าร้านทองฯ ไม่เจอ

 

ทนอด อดทนต่อไป ป๋า คงมีสักวันแต่ตังค์ยังอยู่กะตัวอุ่นใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตือนเลี่ยงลงทุนเสี่ยง!ศก.โลกส่อถดถอย

 

 

icon-sns-facebook.gif

11

icon-sns-tweeter.gif

3

 

 

D2F6AEAC25054C7ABB031E3ECB313A88.jpg

 

 

 

"พิมโก" เตือนเลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยง เหตุเศรษฐกิจโลกส่อเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

 

บริษัทจัดการการลงทุนแห่งแปซิฟิก (พิมโก) ซึ่งเป็นกองทุนจัดการพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสหรัฐ ออกรายงานเตือนว่า โลกมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะการชะลอตัวอีกครั้งหนึ่งในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ อันเป็นผลจากระดับหนี้ที่สูงที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น พร้อมกับเตือนนักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยง แม้จะมีผลตอบแทนที่สูง

พิมโก ระบุว่า ความเสี่ยงที่โลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในระยะ 3-5 ปีนี้เพิ่มขึ้นมามากกว่า 60% แล้ว ซึ่งจากอัตราเฉลี่ยของเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมานั้นจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในทุกๆ 6 ปี แต่ทว่าวัฏจักรดังกล่าวกำลังสั้นขึ้นเนื่องจากระดับหนี้ที่เกิดขึ้นในโลก นั้นเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าแต่ก่อน

“การถดถอยของเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน แต่ในวันนี้โลกมีระดับหนี้ที่พอกพูนมากกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้วอย่างมาก เราจึงเชื่อว่าโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% กับความเป็นไปได้ที่โลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอีกครั้งใน 3-5 ปีข้างหน้านี้” เซามิล เอช ปาริคห์ ผู้จัดการอำนวยการของพิมโก ระบุ

ทั้งนี้ สหรัฐมีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีในปี 2012 อยู่ถึง 101.6% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 99.4% ของจีดีพี ขณะที่ญี่ปุ่นก็มีหนี้มากกว่า 200% ของจีดีพีแล้ว

ปาริคห์ ยังเห็นว่า ยุโรปจะยังคงจมปลักต่อไปในห้วงแห่งการถดถอยทางเศรษฐกิจ ขณะที่สหรัฐจะมีอัตราการเติบโตที่ต่ำมาก ส่วนตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่โดยเฉพาะในเอเชียจะยังคงเติบโตได้อยู่ ซึ่งนักลงทุนควรปรับลดการลงทุนที่มีความเสี่ยง ถ้าหากพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้

ปาริคห์ ชี้ว่า หุ้นและพันธบัตรสหรัฐนั้นมีราคาแพงเกินไป กระนั้นก็ยังมีตลาดพันธบัตรอื่นๆ ที่น่าสนใจและน่าดึงดูดไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สวีเดน เม็กซิโก และบราซิล

“ในส่วนของหุ้น เราโอนเอียงไปทางหุ้นในตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะหุ้นในจีนในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน” ปาริคห์ ระบุ

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติได้เทขายสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่อย่างหนักในช่วงไม่กี่ สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เนื่องจากเกิดความวิตกกังวลในหมู่นักลงทุนว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะลดวงเงินในโครงการซื้อคืนพันธบัตร หรือคิวอี 3 ในเร็วๆ นี้

ขณะเดียวกัน ทางด้าน บิล กรอส ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนร่วมของพิมโก ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์ก เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าตัวเน้นการลงทุนในพันธบัตรที่มีคุณภาพเท่านั้น เนื่องจากมีความเสี่ยงในตลาดทุนเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนั้น ทั้งหุ้น พันธบัตรที่มีผลตอบแทนสูง ค่าเงินและตลาดพันธบัตรในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั้งหมดนั้นก็ยังอยู่ในช่วง สภาวะสับสนอยู่ ขณะที่ในตลาดพันธบัตรโลกในช่วงเดือน พ.ค.นั้น ถือว่าอยู่ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 9 เดือนทีเดียว นำโดยตลาดพันธบัตรสหรัฐเนื่องจากนักลงทุนทยอยขายทิ้งจากความวิตกว่าธนาคาร กลางสหรัฐจะลดวงเงินในนโยบายคิวอีเช่นกัน

วันเดียวกัน ทางด้านสำนักงานพลังงานสากล (ไออีเอ) ได้ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกอันเนื่องมาจากสภาวะที่ไม่แน่ นอนของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงความต้องการน้ำมันในจีนที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

ไออีเอ ระบุว่า ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกจะขยายตัวระหว่าง 7.85 แสนบาร์เรล ไปถึง 90.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากการคาดการณ์เดิมราว 0.08% จากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้านี้

แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งนำโดยจีนจะเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของความต้อง การน้ำมันในตลาดโลก แต่ทว่าในปีนี้มีสัญญาณว่าความต้องการน้ำมันจากจีนจะลดลงตามเศรษฐกิจที่ เชื่องช้าลง โดยไออีเอเห็นว่าความต้องการน้ำมันในจีนจะขยายตัวที่ราว 3.8% ในปีนี้ ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 3.9%

ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ประกาศลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 7.75% จากเดิมที่ 8.0% ด้วย

 

http://www.posttoday.com/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมัน-หุ้นสหรัฐฯบวกแรงจากข้อมูลศก.อเมริกา ทองคำลงพอสมควร

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มิถุนายน 2556 05:32 น.

556000007515901.JPEG

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันขยับขึ้นและวอลล์สตรีทวานนี้(13)บวกแรง หลังอเมริกาเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจอันสดใส อย่างไรก็ตามทองคำกลับปิดลบพอสมควร จากข้อวิตกของนักลงทุนเกี่ยวกับแรงเทขายในตลาดทุนญี่ปุ่น

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 81 เซนต์ ปิดที่ 96.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 76 เซนต์ ปิดที่ 104.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันวานนี้(13) ได้แรงหนุนจากตัวเลขค้าปลีกเดือนพฤษภาคม ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน ถึงร้อยละ 0.6 เหนือกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหมายไว้ หลังได้แรงขับเคลื่อนจากยอดขายรถยนต์ ส่งสัญญาทางบวกเกี่ยวกับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่คิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอเมริกา

 

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันยังมีปัจจัยหนุนจากข้อมูลกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่ระบุว่ายอดผู้เข้ารับสิทธิประโยชน์คนว่างงานในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 12,000 อัตรา เหลือ 334,000 อัตรา นับเป็นการปรับลด 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ส่งสัญญาณของการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปของตลาดแรงงาน

 

ปัจจัยข้างต้นส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(13) ปิดบวกอย่างแข็งแกร่ง และไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นดิ่งลงแรงถึงร้อยละ 6.4 แม้แต่น้อย

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 180.85 จุด (1.21 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,176.08 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 44.94 จุด (1.32 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,445.37 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 23.84 จุด (1.48 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,636.36 จุด

 

อย่างไรก็ตามความวิตกต่อแรงเทขายที่มีเข้ามาอย่างหนักในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเมื่อวันพฤหัสบดี(13) ก็มีอิทธิพลพอที่จะส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆรวมถึงตลาดทองคำ และเป็นผลให้โลหะมีค่าชนิดนี้ ปิดลบพอประมาณ โดยทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ ลดลง 14.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,377.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

http://manager.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาทผันผวน จับตา ธปท.เข้าดูแล

 

updated: 13 มิ.ย. 2556 เวลา 18:37:23 น.

 

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2556 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 30.96/98 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (5/6) ที่ระดับ 30.93/95 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทยังคงได้รับแรงกดดันจากกระแสเงินลงทุนไหลออกจากตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม ในภาคบ่ายค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งค่าอย่างรวดเร็วท่ามกลางตลาดหุ้นไทยที่กลับมาฟื้นตัวจากช่วงเช้า ประกอบกับการเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาระบุว่าจะดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน แต่จะไม่ฝืนทิศทางของตลาด อย่างไรก็ดี เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจการของสหรัฐฯที่เบาบางในช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนจับตามองตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าเฟดมีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่จะปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ โดยการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯจะมีขึ้นในวันที่ 18-19 มิถุนายนนี้ ทั้งนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีกรอบระหว่างวันนั้นอยู่ที่ระดับ 30.70-31.09 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 30.75/78 บาท/ดอลลาร์

 

สำหรับค่าเงินยูโรวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 1.3358/61 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธที่ระดับ 1.3284/85 ดอลลาร์/ยูโร เนื่องจากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ -0.2% นอกจากนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสในเดือนเมษายนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3% หลังจากที่ลดลง 0.6% ในเดือนมีนาคม แต่อย่างไรก็ตาม ยูโรได้รับแรงกดดันจากการที่ MSIC ซึ่งเป็นผู้ที่จัดทำดัชนีหุ้นได้ปรับลดสถานะของกรีซ จากสถานะของตลาดที่พัฒนาแล้ว เป็นสถานะของตลาดที่เกิดใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจของกรีซยังคงถดถอยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรอบการเคลื่อนไหวของสกุลเงินยูโรระหว่างวันนั้นอยู่ที่ระดับ 1.3290-1.3391 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.3329/32 ดอลลาร์/ยูโร

 

สำหรับค่าเงินเยนวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 95.32/34 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธที่ 96.51/56 เยน/ดอลลาร์ โดยที่เงินเยนปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่ได้ออกมาตรการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม ประกอบกับแรงซื้อกลับคืนเงินเยนของนักลงทุน ทำให้เงินเยนปรับตัวแข็งค่าสุดในวันนี้ที่ระดับ 93.78 ทั้งนี้ โดยกรอบการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเยนระหว่างวันอยู่ที่ระดับ 93.78-96.08 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 94.34/37 เยน/ดอลลาร์

 

อนึ่ง ธนาคารโลกปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลกลงสู่ระดับ 2.2% ในปีนี้ จากเติมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.4% เนื่องจากเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน และอินเดีย ชะลอตัวลงกว่าคาดการณ์ไว้ รวมทั้งเศรษฐกิจยุโรปที่ประสบกับภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ธนาคารกลางของอินโดนีเซียได้สร้างความประหลาดใจด้วยการประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 6% เป็นผลให้ค่าเงินอินโดนีเซียปรับตัวแข็งค่าขึ้น สวนทางกับสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ

 

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สนใจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนียอดค้าปลีกของสหรัฐฯ, ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการผู้ว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐ

 

อัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +4.8/5.0 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +8.5/9.5 สตางค์/ดอลลาร์

 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371123219

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติดูแลค่าบาทอย่างดี ประสารสวนหมัด"โต้ง"ไล่บี้ ชี้ไม่น่าห่วง-เป็นกันทั่วโลก

 

เศรษฐกิจ

 

14 June 2556 - 00:00

 

ธปท.โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง คราวนี้ "กิตติรัตน์" บี้ดูแลค่าเงินไม่ให้ผันผวน หลังอ่อนค่าแตะ 31 บาทต่อดอลลาร์ หวั่นกระทบผู้นำเข้า ชี้ไม่จำเป็นต้องอิงดอลลาร์อย่างเดียว ด้าน “ประสาร” สวนกลับ ดูแลอยู่แล้ว ชี้บาทอ่อนไม่น่ากังวล เพราะเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เปิดเผยว่า อยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนมากจนเกินไป เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการนำเข้า โดย ธปท.ต้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพมากขึ้น และให้เป็นทิศทางเดียวกันกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง รวมถึงไม่จำเป็นต้องอิงค่าเงินดอลลาร์เท่านั้น เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโตได้ตามเป้าหมายและเกิดการกระจายรายได้

“ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยที่เราจะต้องดูแลค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวน และค่าเงินบาทไม่ควรแข็งค่าขึ้นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ซึ่ง ธปท.ควรบริหารจัดการให้มีเสถียรภาพมากกว่านี้ เพราะหากค่าเงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นเหมือนช่วงที่ผ่านมา ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดแตะระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็คงไม่เจอกับสถานการณ์บาทอ่อนเช่นนี้” นายกิตติรัตน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม มองว่าประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่เป็นจำนวนมากกว่าหลายประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้เงินบาทผันผวน โดยเป็นหน้าที่ของ ธปท.ในการบริหารจัดการค่าเงินบาทและใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้หมายถึงให้ ธปท.เข้าไปแทรกแซงหรือกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ โดยดูตัวอย่างจากการดูแลสถานการณ์ราคาน้ำมัน ที่ใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดูแลราคาน้ำมันไม่ให้สูงจนเกินไป ซึ่งฐานะกองทุนฯ อาจติดลบบ้าง แต่ก็สามารถรักษาไม่ให้กระทบต่อประชาชนและภาคการผลิต

ด้าน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท.ได้ดูแลสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมาค่อนข้างเร็ว โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ธปท.ได้ขายดอลลาร์สหรัฐออกมาพอสมควร เพื่อดูแลไม่ให้เงินบาทอ่อนค่าเร็วจนมีผลกระทบ ซึ่งระดับความผันผวนของค่าเงินบาทไม่ได้สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค โดยมองว่าการอ่อนค่าของเงินบาทไม่ได้น่ากังวล เพราะเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก จากนักลงทุนต่างชาตินำเงินออกจากประเทศเกิดใหม่ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศเหล่านี้อ่อนค่าเร็ว

“ยอมรับว่าปฏิกิริยาของตลาดต่อข่าวที่สหรัฐจะถอนมาตรการคิวอีในครั้งนี้ค่อนข้างเร็ว ดังนั้น ภาคเอกชนจะต้องระมัดระวัง เพราะตลาดการเงินไม่ปกติ โดยติดตามและบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าค่าเงินบาทในระยะต่อไปจะมีทิศทางใด เพราะยังสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้ง 2 ทิศทาง คือ ทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า” นายประสารกล่าว.

 

http://www.thaipost.net/news/140613/75012

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ค่ะทุกคน

ป๋า หมดแรงจะแจงรายละเอียดรหัสจากกราฟเลยหรือคะ อิอิ

ว่ากันตามเส้นสัญญาน MACD ทั้ง 3 แบบเรียงกัน มันน่าจะเดาว่า " ราคาทองยังไม่หล่นลงง่ายๆ หรอกนะ รหัส 12....บอกขึ้น รหัส 5....เมื่อวานทำท่าจะตัดก็แถออกว่า หน้าที่ซื้อไปแล้ว ถือกันต่อไป พอรหัส 7.... เห็นนะว่ามีแดงโผล่พ้นน้ำ " จึงน่าจะออกตรงกลาง ลงก็ไม่ได้ ขึ้นก็ได้นิดๆ ไอ้ความเสี่ยงจึงอยู่ที่ว่า " สถานการณ์ตอนนี้ ตอนลงมันจะลงแรง แต่ตอนขึ้นเหมือนหอยทากค่อยๆ เดิน ผสมกับ ค่าเงินบาท เขย่ารวมกับ มาตราฐานการตั้งราคาอาแปะ เดี๋ยวตั้งราคาขายตาม Fair Price บัดเดี๋ยวก็ตั้งราคาซื้อคืนตาม Fair Price

 

จึงเป็น " ความไม่กล้าที่จะเสี่ยง สู้ไปหาของถูก บมจ.หมวดประกัน ในอีกตลาดฯ ที่มีพื้นฐานที่ดี จะดีกว่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดไม่ให้มีความผันผวนมากในช่วงนี้ โดยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับคู่ค้าและคู่แข่ง ไม่จำเป็นต้องอิงค่าเงินเหรียญสหรัฐ ที่สำคัญต้องดูแลให้มีเสถียรภาพ เพราะเห็นได้จากช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดแตะระดับ 28 บาทต่อเหรียญสหรัฐส่งผลกระทบกับผู้ส่งออก ขณะที่ปัจจุบันค่าเงินบาทอ่อนค่าที่ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อาจส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้า ซึ่งความจริงไม่ควรปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตั้งแต่แรก แต่เพราะบาทแข็งค่ารุนแรง ?ทำให้ต้องเจอกับสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าเร็ว

 

 

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากกว่าหลายประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนได้ แต่การบริหารจัดการค่าเงินบาท ไม่ได้หมายความว่า ธปท.เข้าแทรกแซงหรือกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพียงต้องการให้มีการใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการดูแลสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการดูแลไม่ให้ราคาน้ำมันสูงจนกระทบกับประชาชนและภาคการผลิต

 

"หากก่อนหน้านี้เงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นถึง 28 บาท ก็ไม่ต้องเจอสถานการณ์อ่อนค่าเหมือนวันนี้ ควรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ไม่ใช่ 3 เดือนแข็ง 4 เดือนอ่อน ต้องบริหารจัดการ ซึ่งเราก็มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากพอที่เป็นกันชน และมีสภาพคล่องที่เป็นเงินบาทมากอยู่ ซึ่งเชื่อว่าหน่วยงานที่ดูแลก็คิดเหมือนกัน จะดูแลเสถียรภาพบาทอย่างไรไม่ให้เหวี่ยงแบบนี้" นายกิตติรัตน์ กล่าว

 

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่าเร็วไม่น่าจะเป็นเรื่องน่ากังวลเนื่องจากเป็นภาวะผันผวน

 

ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ขณะที่เงินบาทเองก็เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคหลังดอลลาร์กลับมาปรับตัวแข็งค่า หลังคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจจะเริ่มลดขนาดมาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (QE) และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทไม่ได้มีสัดส่วนสูงกว่าเงินสกุลอื่น

 

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา ธปท.ได้ขายดอลลาร์ออกไปในจำนวนมากพอสมควร เพื่อดูแลไม่ให้เงินบาทเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากเกินไป อีกทั้งเป็นการลดภาระการเก็บเงินทุนสำรองไว้ในระดับที่สูง ทั้งนี้ ธปท.จะพยายามไม่ให้ฝืนต่อทิศทางของตลาดมากนัก ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ควรบริหารความเสี่ยงด้วยตัวเองด้วย

 

ส่วนข้อกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้ออาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัญหาเงินบาทอ่อนนั้น ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า อาจจะมีผลอยู่บ้าง เพราะเรายังต้องนำเข้าสินค้าหมวดพลังงานจากต่างประเทศ แต่เชื่อว่าจะมีผลกระทบเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้น

 

ขณะที่การพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะต้องพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมหลายส่วนมาประกอบกัน ไม่ได้พิจารณาแค่เฉพาะเรื่องราคาสินค้าหมวดพลังงานเท่านั้น อีกทั้งเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของไทยยังอยู่ในภาวะชะลอตัวจึงต้องนำมาพิจารณาด้วย

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 14 มิถุนายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...