ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เมื่อคืนตก 2 จังหวะ น่ากลัวจริงๆ หล่นช่วงหนึ่งแดงยาวก็ $14 จากที่ว่ารอซื้อทองแท่งตัวเป็นๆ ที่ร้านทอง ราคา 19,050 บาท วันนี้ มาแน่และต่ำกว่าอีกด้วย ก็คงต้องไปจัดเข้าพอร์ตคืนจากที่ขายไปแล้วช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผมทยอยเข้านะครับ ไม่ได้จัดเต็ม เพราะทุกสัญญานฯ รหัส ออกมา ด้านลบ ต่อราคาทองทั้งนั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อคืนตก 2 จังหวะ น่ากลัวจริงๆ หล่นช่วงหนึ่งแดงยาวก็ $14 จากที่ว่ารอซื้อทองแท่งตัวเป็นๆ ที่ร้านทอง ราคา 19,050 บาท วันนี้ มาแน่และต่ำกว่าอีกด้วย ก็คงต้องไปจัดเข้าพอร์ตคืนจากที่ขายไปแล้วช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผมทยอยเข้านะครับ ไม่ได้จัดเต็ม เพราะทุกสัญญานฯ รหัส ออกมา ด้านลบ ต่อราคาทองทั้งนั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 12,26,9 แบบดั้งเดิม และ รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง : ให้นิ่งเฉยต่อการซื้อทองเข้าพอร์ต ยังไม่มีวี่แววที่ราคาทองจะปรับขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดลบเพียง 1 เซนต์หลังสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มเล็กน้อย

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2556 06:31:25 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (20 พ.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่าสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 1 เซนต์ ปิดที่ 93.33 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.ที่ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้น 1.14 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.06 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ในช่วงแรกนั้น สัญญาน้ำมันดิบ WTI ได้รับแรงหนุนหลังจากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ระบุว่า เฟดจะคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินตราบนานเท่าที่จำเป็น และต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนก่อนที่จะเริ่มชะลอนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเจ้าหน้าที่เฟดจะพิจารณาความคืบหน้าโดยรวมนับแต่เริ่มใช้มาตรการ QE3 ในช่วงปลายปี 2555 พร้อมกับประเมินแนวโน้มของตลาดแรงงานด้วย

 

ขณะเดียวกันสัญญาน้ำมันดิบได้รับปัจจัยบวกหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐขยายตัว 0.4% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัว 0.1% โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ดีดตัวขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับลงในเวลาต่อมา หลังจาก EIA รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 15 พ.ย. เพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล แตะที่ 388.5 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะพุ่งขึ้น 1 ล้านบาร์เรล

 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากข่าวเกี่ยวกับการประชุมระหว่างชาติมหาอำนาจกับอิหร่านว่าด้วยแผนการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในวันนี้ ท่ามกลางความคืบหน้าสู่การบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อราคาพลังงาน

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 66.21 จุด เหตุวิตกเฟดลด QE

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2556 06:16:57 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (20 พ.ย.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 66.21 จุด หรือ 0.41% แตะที่ 15,900.82 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 6.50 จุดหรือ 0.36% แตะที่ 1,781.37 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 10.28 จุด หรือ 0.26% แตะที่ 3,921.27 จุด

 

 

 

ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลงหลังจากรายงานการประชุมของเฟดระบุว่า คาดว่าภาวะในตลาดแรงงานจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นและอาจจะเป็นเหตุผลอันควรที่เฟดจะเริ่มลดขนาด QE

 

ก่อนหน้านี้นายชาร์ส พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียกล่าว่วา เฟดควรจะยุติมาตรการ QE หรือโครงการซื้อสินทรัพย์ซึ่งปัจจุบันมีวงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน

 

ขณะที่นายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์กกล่าวว่า เขามีมุมมองที่เป็นบวกอย่างมากต่อเศรษบกิจหสหรัฐ และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวแข็งแกร่งขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าเขาอาจจะเรียกร้องให้เฟดชะลอการใช้ QE

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนต.ค.ปรับตัวลดลง 3.2% สู่ระดับ 5.12 ล้านยูนิต เนื่องจากราคาบ้านอยู่ในระดับสูงจนทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อไม่พอ โดยราคากลางของบ้านปรับตัวสูงขึ้น 12.8% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี แตะระดับ 199,500 ดอลลาร์

 

ด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ ปรับตัวลดลง 0.1% ในเดือนต.ค. เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร่วงลง 2.9% ส่วนราคาอาหารขยับขึ้น 0.1%

 

อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มค้าปลีกได้รับแรงหนุนหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐขยายตัว 0.4% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัว 0.1% ทั้งนี้ หุ้นเจพี เพนนี พุ่งขึ้น 3.38%

 

หุ้นยาฮูปรับตัวขึ้น 2.9% ขณะที่หุ้นเดียร์ แอนด์ โค ปรับตัวขึ้น 2.1%

นักลงทุนจับตาดูกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 พ.ย.ในวันนี้เวลา 20.30 น.ตามเวลาไทย ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะลดลงมาอยู่ที่ 335,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 339,000 ราย

 

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค.ในวันนี้เวลา 20.30 น.ตามเวลาไทยเช่นกัน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนี PPI ทั่วไปจะลดลง 0.2% ในเดือนต.ค.

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

ADVERTISEMENT

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ป๋า และเพื่อนๆทุกท่านครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

น้ำมันทรงตัว ทองคำลงแรง-หุ้นมะกันปิดลบหลังเฟดแย้มลดกระตุ้นศก.

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 พฤศจิกายน 2556 05:26 น.

 

 

 

 

 

เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันทรงตัววานนี้(20) จากสต็อกเชื้อเพลิงที่ผสมผสานของสหรัฐฯ ส่วนวอลล์สตรีทปิดลบ หลังรายงานผลประชุมเฟดเผยเตรียมลดระดับกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้ ขณะที่ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ฉุดให้ทองคำขยับลงต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเศษ

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 1 เซนต์ ปิดที่ 93.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.14 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

กระทรวงพลังงานสหรัฐฯเผยว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 พฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล เป็นการปรับเพิ่ม 9 สัปดาห์ติด แต่ในขณะเดียวกันสต็อกเบนซินกลับลดลง 300,000 บาร์เรล และหน่วยงานแห่งนี้บอกว่าอุปสงค์เบนซินโดยเฉลี่ยช่วง 4 สัปดาห์หลังสุด เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนราวร้อยละ 4

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(20) ปรับลง หลังรายงานการประชุม (minutes)ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารอเมริกา(เฟด) ระบุว่าธนาคารกลางแห่งนี้อาจลดระดับโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

 

ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 65.25 จุด (0.41 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,901.78 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 6.38 จุด (0.36 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,781.49 จุด แนสแดค ลดลง 10.28 จุด (0.26 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,921.27 จุด

 

ดัชนีทั้ง 3 ตัวซื้อขายในแดนบวกเกือบตลอดทั้งวัน ก่อนจะแกว่งสู่แดนลบ หลังมีการเผยแพร่รายงานการประชุมเฟดระหว่างวันที่ 29-30 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจมีการลดระดับมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์เร็วๆนี้

 

ส่วนราคาทองคำวานนี้(20) ลงแรง แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ถูกฉุดโดยดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 15.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,258.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับ รหัส 7,5,2 ที่เมื่อวานนี้ เส้นดำเส้นแดง ออกอาการทับกัน มีความเสี่ยงสูง ก็ปรากฎว่า ย่อลดลง สมใจอยาก ! ทำให้วันนี้ เส้นสีแดงปรากฎด้านล่างไปแล้ว อย่างชัดเจน นั้นก็อาจหมายถึงว่า ราคาทองยังมีสิทธิ์ที่จะย่อตัวลงมาอีกได้ แต่ไหนๆ ที่เราลงทุนทองระยะสั้น เมื่อราคาต่ำมา และต่ำกว่าที่เราคาดไว้ ก็น่าลุ้นที่จะเข้าซื้อ โดยราคาขายน่าจะขายที่ 18,750 หรือ 18,800 บาท ถ้าสูงกว่านี้ ไม่น่าดีนะ

 

ส่วนค่าเงินบาท : จากเมื่อวานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้มูลความผิดในการกระทำต่างๆ ที่ผิดนิติธรรมโดยความเป็นกลางของการทำหน้าที่เพื่อมวลมหาประชาชนส่วนรวมของคนไทย ผิดสัตย์สาบานที่ให้ไว้ ก็คงมีผลสะเทือนต่อไป ถ้ามีการส่งต่อไปยังหน่วยงานที่ตัดสินลงโทษความผิด เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจลงโทษ มีหน้าที่เพียงชี้ประเด็นต่างๆ เท่านั้น บาทอ่อนลงแน่ๆ จากความล้มเหลวพาล่มของบรรดาลูกน้องรอบตัว 555 รู้จัก สสร น้อยไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000144300

 

ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้จะให้ถือเอามติฝ่ายเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลย หรือใช้อำนาจอำเภอใจ กดขี่ ข่มเหงฝ่ายเสียงข้างน้อย โดยไม่ฟังเหตุผล และขาดหลักประกัน จนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืนตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากแต่จะกลับกลายเป็นระบอบเผด็จการฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อระบอบการปกครองของประเทศอย่างชัดแจ้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลูกค้ามือถือช็อกไปตปท.10 วัน เจอค่าโรมมิ่ง 1.2 ล้านบาท

 

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช. ประกาศเตือนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือที่เดินทางไปเข้าพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบียระวังปัญหาการใช้บริการข้ามแดน (โรมมิ่ง) หลังได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับค่าบริการโรมมิ่งล่าสุดที่พุ่งสูงถึง 1,298,032 บาท จากการใช้โรมมิ่งประมาณ 10 วัน

 

ทั้งนี้ ได้รับแจ้งจากผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหาว่า ได้ติดต่อเพื่อสมัครใช้แพ็คเกจโรมมิ่งกับบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือก่อนเดินทางแล้ว โดยได้สมัครใช้บริการโรมมิ่ง 25 เมกะไบต์ ในราคา 350 บาทต่อวัน และเข้าใจว่า หากใช้บริการครบตามวงเงินที่จำกัด (Credit limit) คือ 7,000 บาท แล้วบริษัทจะหยุดบริการเอง ทำให้ตลอด 10 วันนั้นมีการเปิดเครื่องใช้งานดาต้าอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งกลับมาจึงได้รับทราบข้อมูลว่า แพ็คเกจที่สมัครไม่ได้ครอบคลุมถึงประเทศซาอุดิอาระเบียที่เดินทางไป

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภายหลังผู้ใช้บริการได้เจรจากับบริษัทผู้ให้บริการแล้ว บริษัทก็เสนอลดราคาให้เพียง 25% ซึ่งหมายถึงยอดหนี้ยังคงสูงเกือบหนึ่งล้านบาท

 

น.พ.ประวิทย์ กล่าวว่า ปัญหาการให้บริการโรมมิ่งของประเทศไทยยังไม่มีความเคร่งครัดในบริการการจำกัดวงเงินค่าใช้บริการ รวมถึงยังไม่มีการพัฒนาระบบแจ้งเตือนเมื่อค่าบริการสูงผิดปกติแบบเรียลไทม์ ทำให้เกิดผู้บริโภคต้องเผชิญปัญหาบิลช็อก ดังนั้นผู้ให้บริการโทรคมนาคมของประเทศไทยควรพัฒนามาตรฐานบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้มากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเด็นที่จะสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้บริการได้มาก ---ISN 02

 

http://web.isnhotnews.com/read-technology/29120-5121051.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 31.59/61 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคาร (19/11) ที่ 31.57/59 บาท/ดอลลาร์

 

เงินบาทนั้นปรับตัวอ่อนค่าเนื่องจากนักลงทุนวิตกเรื่องสถานการณ์การเมืองในประเทศแตกต่างกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น โดยปัจจัยที่กดดันเงินดอลลาร์ในตลาดโลกนั้นได้แก่ การที่นายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ได้ให้ความเห็นว่า FED จะคงนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายไปอีกระยะจนกว่า FED จะมั่นใจว่าตลาดการจ้างงานของสหรัฐฯนั้นแข็งแรงมากพอและจากการที่นายโจว เสี่ยวฉวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า จีนจะขยายช่วงซื้อขายเงินหยวนอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะลดการแทรกแซงค่าเงินหยวนลง เพื่อให้เงินหยวนถูกกำหนดโดยกลไกตลาดมากขึ้น ซึ่งการที่ทางการจีนจะลดการแทรกแซงเงินหยวนลงนั้นส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า ปริมาณความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐฯจากธนาคารกลางจีนจะลดลงและส่งผลกดดันเงินดอลลาร์ฯส่งผลให้นักลงทุนขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯออกมา อย่างไรก็ดี ในวันนี้เงินบาทยังคงอ่อนค่าจากการที่นักลงทุนวิตกต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ เนื่องจากมีการอ่านคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญกรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของวุฒิสภาว่า ผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ซึ่งอาจจะนำไปสู่การยุบพรรครัฐบาลและก่อให้สถานการณ์บานปลายได้ โดยในช่วงบ่ายก่อนการอ่านคำพิพากษานั้นเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องและอ่อนค่าสุดที่ระดับ 31.72 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือน อย่างไรก็ตาม ภาพหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่อนคำพิพากษาซึ่งระบุว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของวุฒิสภานั้นขัดรัฐธรรมนูญจริง แต่ศาลยกคำร้องเรื่องการยุบพรรคการเมืองนั้น นักลงทุนได้ผ่อนคลายความกังวลลงและกลับเข้าถือครองเงินบาทมากขึ้นส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง โดยในวันนี้เงินบาทมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.61-31.72 บาท/ดอลลาร์ ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 31.64/66 บารท/ดอลลาร์ ซึ่งในคืนนี้นักลงทุนจะจับตาดูสุนทรพจน์ของนายเบน เบอร์นันเก้ และรายงานการประชุม FED เพื่อดูทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ FED ต่อไป

 

สำหรับค่าเงินยูโรวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 1.3547/50 ดอลลาร์/ยูโร แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคารที่ 1.3513/15 ดอลลาร์/ยูโร โดยเงินยูโรนั้นปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากการที่เงินดอลลาร์นั้นได้รับแรงกดดันจากการแสดงความเห็นของนายเบน เบอร์นันเก้ ที่ว่า FED จะยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปจนกว่าจะมั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐฯมากกว่านี้ และจากนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนที่จะลดการแทรกแซงค่าเงินหยวนลง อย่างไรก็ดี ตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนที่ได้รับการเปิดเผยออกมานั้นยังส่งสัญญาณว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของยูโรโซนยังค่อยเป็นค่อยไป เงินยูโรจึงยังได้รับแรงกดดันอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยในวันอังคาร (19/11) นั้นมีการเปิดเผยตัวเลขโดยดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีโดยสถาบัน ZEW ซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.7 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เล็กน้อย และในวันนี้มีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีประจำเดือนตุลาคมซึ่งอยู่ที่ระดับ -0.2% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยตลอดทั้งวันค่าเงินยูโรมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1.3525-1.3577 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.3532/34 ดอลลาร์/ยูโร

 

สำหรับค่าเงินเยนวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 100.10/12 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดวันอังคารที่ 99.72/75 เยน/ดอลลาร์ โดยนักลงทุนนั้นคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะมีมติให้คงนโยบายผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเชิงรุกต่อไปในการประชุม BOJ ที่มีขึ้นในวันนี้และวันพรุ่งนี้ (21/11) ส่งผลให้เงินเยนยังคงได้รับแรงกดดันอยู่และไม่แข็งค่าขึ้นมากนักเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯเหมือนเงินสกุลหลักอื่น โดยในวันนี้เงินเยนมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่างวันอยู่ที่ระดับ 99.86-100.25 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 100.01/05 เยน/ดอลลาร์

 

อนึ่ง ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การแถลงของนายเบน เบอร์นันเก้, ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ, ยอดค้าปลีกของสหรัฐ, การเปิดเผยรายงานการประชุม FED, ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ (20/11), ผลการประชุม BOJ, ดัชนีราคาผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของฝรั่งเศส, เยอรมนีและยูโรโซน, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน, ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ (21/11), ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีโดยสถาบัน Ifo (22/11)

 

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.85/5.95 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +7.5/8.5 สตางค์/ดอลลาร์

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นเวลา 5 ปีแล้วที่ธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีพยายามต้านทานเสียงเรียกร้องให้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แบบเดียวกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด และเมื่ออัตราการเติบโตไตรมาสสามของยูโรโซนยังซบเซา แรงกดดันก็ยิ่งทวีคูณ

 

วอลล์สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้มาตรการ QE ในยุโรปมองว่าจีดีพีที่โตเพียง 0.1% ในไตรมาสสาม ลดลงจากไตรมาสสองที่ขยายตัว 0.3% และต่ำกว่าตัวเลขการเติบโตของสหรัฐตลอดจนญี่ปุ่นคือเหตุผลที่หนักแน่นมากพอว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจำเป็นต้องได้รับอัดฉีดสภาพคล่อง และที่น่ากังวลเป็นพิเศษคือการเติบโตในฝรั่งเศสที่ลดเหลือเพียง 0.1% ขณะที่อิตาลีและสเปนก็มีแนวโน้มลดการขาดดุลงบประมาณไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้

 

นักวิเคราะห์บางสำนักระบุว่า ตัวเลขข้างต้นชี้ถึงความล้มเหลวในการแก้ไขวิกฤตในยูโรโซน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่มาตรการรัดเข็มขัดรวมถึงการปรับโครงสร้าง พร้อมทั้งชี้ว่าปัญหาหลักอยู่ที่ดีมานด์ซบเซา ดังนั้น

 

ผู้กำหนดนโยบายต้องเร่งแก้ไขด้วยการกู้ยืมและใช้จ่ายมากขึ้น หรือพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบ เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืม และกระตุ้นให้ภาคเอกชนกู้ยืมและใช้จ่ายเช่นกัน นอกจากนี้ยังยกตัวอย่างการฟื้นตัวของญี่ปุ่นและสหรัฐที่เติบโต 2.8% และ 1.9% ในไตรมาสที่แล้วว่าเป็นบทพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ

 

แต่ฝ่ายที่คัดค้าน QE ในยุโรปตั้งข้อสังเกตว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าในระยะยาวมาตรการนี้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม จากผลการศึกษาของสถาบันแมคคินซีย์ โกลบอลพบว่า ผู้ได้รับอานิสงส์สูงสุดจากการพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบคือภาครัฐ เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมลดลง อีกกลุ่มคือคนรวย เพราะมูลค่าสินทรัพย์สูงขึ้น ส่วนผู้เสียประโยชน์คือผู้ออมเงินและผู้อาศัยเงินบำนาญ ซึ่งต้องประสบปัญหารายได้ที่แท้จริงลดลง เช่นเดียวกับพนักงานลูกจ้างทั่วไปที่ต้องแบกรับราคาสินค้าที่สูงขึ้นโดยไม่มีการเพิ่มค่าจ้าง

 

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยุโรปเชื่อว่ากลุ่มคนที่หนุนให้ใช้ QE ไม่ตระหนักถึงเสถียรภาพที่ฟื้นตัวในยูโรโซน เห็นได้จากโปรตุเกสมีอัตราการเติบโตเป็นบวก 2 ไตรมาสติดต่อกัน เศรษฐกิจสเปนขยายตัวครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี ภาวะหดตัวในกรีซลดเหลือเพียง 3% สร้างความหวังว่าการเติบโตจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้งในปีหน้า ด้านไอร์แลนด์ก็แสดงความเชื่อมั่นว่าจะออกจากโปรแกรมเงินกู้ช่วยเหลือของยุโรปได้ในเร็ว ๆ นี้

 

ยิ่งไปกว่านั้น นักเศรษฐศาสตร์บางสำนักชี้ว่าการให้พุ่งความสนใจไปที่ฝั่งดีมานด์มากเกินไปทำให้วินิจฉัยโรคของยูโรโซนผิดพลาด เพราะจากบทวิเคราะห์ของแมคคินซีย์ โกลบอลพบว่าความรุนแรงของวิกฤตเศรษฐกิจในแถบยุโรปใต้สะท้อนถึงนโยบายที่ล้มเหลวก่อนเกิดวิกฤตมากกว่าจะชี้ถึงความผิดพลาดในปัจจุบัน อีกทั้งอิตาลีและโปรตุเกสเองก็ไม่เติบโตมานับทศวรรษแล้วก่อนวิกฤตปะทุ ส่วนการเติบโตในไอร์แลนด์ สเปน และกรีซก็ขับเคลื่อนด้วยฟองสบู่ในภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นเหมือนระเบิดเวลารอวันแตก

 

บทวิเคราะห์ดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ใจกลางของปัญหาในยูโรโซนอยู่ที่ฝั่งซัพพลายไม่ใช่ดีมานด์ การเติบโตถูกโครงสร้างที่ไม่ยืดหยุ่นในยูโรโซนขัดขวาง จนระบบเศรษฐกิจไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้กับเซ็กเตอร์ที่ขับเคลื่อนการเติบโตได้ อาทิ กฎระเบียบการจ้างงานที่เข้มงวด การให้สวัสดิการมากเกินควร ระบบธนาคารที่ไร้ประสิทธิภาพ ระบบราชการที่ยุ่งยากซับซ้อน ระบบภาษีที่ไม่สมดุล ตลอดจนระบบยุติธรรมที่เต็มไปด้วยช่องโหว่

 

ถ้าปัญหาเชิงโครงสร้างข้างต้นไม่ได้รับการแก้ไข การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการจัดสรรทรัพยากรที่ไร้ประสิทธิภาพอยู่ก่อนแล้ว และยังอาจกระตุ้นให้วิกฤตหนี้รุนแรงขึ้น การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างจึงเป็นทางออกที่สมเหตุสมผลที่สุดสำหรับประเทศแถบยุโรปใต้

 

ข่าวดีคือการส่งออกในไอร์แลนด์กำลังฟื้นตัว สเปนรวมถึงโปรตุเกสส่งสัญญาณว่าการปรับโครงสร้างอาจสำเร็จเร็วกว่าที่คาด ความจำเป็นที่อีซีบีต้องผุดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงลดความจำเป็นลง

 

อย่างไรก็ตาม แม้อีซีบีมีเหตุผลมากมายที่จะเมิน QE แต่ก็ไม่น่าแปลกใจที่ ปีเตอร์ แพรต นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารดังกล่าวจะเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่อีซีบีอาจใช้มาตรการซื้อตราสารการเงินในอนาคต เพราะในภาวะที่ดอกเบี้ยนโยบายใกล้แตะ 0% และอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าเป้าหมาย มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 2 ประการที่อีซีบีต้องรับมือ

 

ประการแรก มาจากอิตาลีที่ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจพร้อม ๆ กับที่สัดส่วนหนี้สาธารณะแตะ 130% ของจีดีพี ภาคธุรกิจหมดหวังกับรัฐบาลผสมที่มุ่งรักษาผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่าขับเคลื่อนการพัฒนา ถ้าปัญหาทางการเมืองยังไร้ทางออก เขตเศรษฐกิจอันดับ 3 ของยูโรโซนอาจเป็นตัวฉุดการฟื้นตัวของทั้งภูมิภาค

 

อีกประการเป็นปัจจัยภายนอก ยิ่งญี่ปุ่น สหรัฐ และอังกฤษใช้มาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบนานเท่าไหร่ ค่าเงินยูโรก็ยิ่งแข็งขึ้นเท่านั้น บั่นทอนการส่งออก และท่องเที่ยว ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากถึงจุดที่เศรษฐกิจยูโรโซนรับไม่ไหว อีซีบีก็อาจต้องหาทางดึงค่าเงินยูโรให้อ่อนด้วย QE

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (20 พ.ย.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

 

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9180 ฟรังค์ จากระดับของวันอังคารที่ 0.9115 ฟรังค์ แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 100.09 เยน จากระดับ 100.19 เยน

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.3420 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3531 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.6092 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6118 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.9330 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9416 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากรายงานการประชุมของเฟดระบุว่า คาดว่าภาวะในตลาดแรงงานจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นและอาจจะเป็นเหตุผลอันควรที่เฟดจะเริ่มลดขนาด QE

 

ก่อนหน้านี้นายชาร์ส พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียกล่าว่วา เฟดควรจะยุติมาตรการ QE หรือโครงการซื้อสินทรัพย์ซึ่งปัจจุบันมีวงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน

 

ขณะที่นายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์กกล่าวว่า เขามีมุมมองที่เป็นบวกอย่างมากต่อเศรษบกิจหสหรัฐ และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวแข็งแกร่งขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าเขาอาจจะเรียกร้องให้เฟดชะลอการใช้ QE

 

อย่างไรก็ตาม เบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ระบุว่า เฟดจะคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินตราบนานเท่าที่จำเป็น และต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนก่อนที่จะเริ่มชะลอนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเจ้าหน้าที่เฟดจะพิจารณาความคืบหน้าโดยรวมนับแต่เริ่มใช้มาตรการ QE3 ในช่วงปลายปี 2555 พร้อมกับประเมินแนวโน้มของตลาดแรงงานด้วย

 

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีผลต่อภาวะการซื้อขายในตลาดเงินนิวยอร์กนั้น กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ ปรับตัวลดลง 0.1% ในเดือนต.ค. เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร่วงลง 2.9% ส่วนราคาอาหารขยับขึ้น 0.1%

 

สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนต.ค.ปรับตัวลดลง 3.2% สู่ระดับ 5.12 ล้านยูนิต เนื่องจากราคาบ้านอยู่ในระดับสูงจนทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อไม่พอ โดยราคากลางของบ้านปรับตัวสูงขึ้น 12.8% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี แตะระดับ 199,500 ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...