ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

 

ทองคำดิ่ง$28หลังดอลล์แข็งค่า หุ้นมะกันลง-น้ำมันปิดบวก

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ธันวาคม 2556 05:04 น.

 

 

 

 

เอเอฟพี - วอลล์สตรีทวานนี้(2) ลงเล็กน้อย จากแรงคาดเดาว่าเฟดคงละระดับกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆ หลังพบข้อมูลการผลิตที่แข็งแกรง ปัจจัยนี้เองดันให้ดอลลาร์แข็งค่าและฉุดให้ทองคำดิ่งลงอย่างหนัก ขณะที่น้ำมันบวกพอสมควร เหตุซาอุดีอาระเบียบ่งชี้คงเพดานการผลิตไว้ตามเดิม

 

ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 79.31 จุด (0.49 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,007.10 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 4.96 จุด (0.27 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,800.85 จุด แนสแดค ลดลง 14.62 จุด (0.36 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,054.26 จุด

 

บิลล์ ลินช์ ผู้จัดการด้านการลงทุนของฮินส์เดล แอสโซซิเคทส์ ให้ความเห็นว่าความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นอเมริกา อาจเป็นเพราะนักลงทุนคาดหมายว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) จะลดระดับกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้ หลังดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(พีเอ็มไอ) ของภาคการผลิตในเดือนพฤศจิกายน ทะยานแตะ 57.3 จุด จาก 56.4 จุดเมื่อเดือนก่อน เหนือกว่านักวิเคราะห์คาดหมายไว้อย่างมาก

 

ปัจจัยภาคการผลิตของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน ที่แข็งแกร่งสุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง ก็ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่นั่นก็เป็นผลให้ทองคำวานนี้(2) ร่วงลงอย่างหนักเช่นกัน โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 28.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,221.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ด้านราคาน้ำมันวานนี้(2) ปิดบวกพอสมควร ก่อนหน้าการประชุมของโอเปกประจำเดือนธันวาคม ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย บ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ทางกลุ่มจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพดานการผลิตเชื้อเพลิง

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 1.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 93.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.76 ดอลลาร์ ปิดที่ 111.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นอกจากนี้ปัจจัยทางอุปทานแล้ว นักวิเคราะห์มองว่าราคาน้ำมันวานนี้(2) ยังได้แรงหนุนจากข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จีนและยุโรปด้วย

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเมืองที่บานปลายยังคงกดดันเงินบาทต่อ

 

updated: 02 ธ.ค. 2556 เวลา 18:25:53 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2556 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 32.26/27 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (29/11) ที่ระดับ 32.10/12 บาท/ดอลลาร์ โดยปัญหาความขัดแย้งของการเมืองทั้งสองขั้วยังคงเป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้ ค่าเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นการชุมนุมของทั้งสองฝ่ายทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีผู้เสียชีวิตจากการปะทะกันถึง 3 ราย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่กลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนรัฐบาลซึ่งปัก หลักที่สนามราชมังคลากีฬาสถานไม่พอใจกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ ต้องการล้มรัฐบาลจึงมีการปะทะกันเกิดขึ้น สื่อต่างประเทศรวมถึงนักลงทุนต่างชาติต่างเสียความมั่นใจในประเทศไทยและส่ง ผลถึงเสถียรภาพของเศรษฐกิจ

 

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมยังแบ่งกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อทำการเข้ายึดสถานที่ราชการและ กระทรวงต่าง ๆ อนึ่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลประกาศให้หน่วยงานราชการหยุดทำงานในวัน จันทร์ที่ 2 ธันวาคม เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน อย่างไรก็ดีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองยังคงไม่คลี่คลายถึงแม้ว่านางสาวยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ออกมาแถลงการณ์ในบ่ายวันนี้ว่ารัฐบาลยังคงจะดำเนินการปกครอง ประเทศต่อไปและขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมลดความรุนแรงลง

 

อนึ่งค่าเงิน ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักภายหลังจากทางการ จีนประกาศตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อที่ระดับ 51.4 หน่วย ซึ่งถึงแม้จะเป็นระดับเดียวกับเดือนตุลาคมแต่ระดับดังกล่าวยังสูงกว่าที่นัก วิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 51.0 หน่วย ส่งผลให้นักลงทุนหันมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงรวมถึงค่าเงินที่ให้ผลตอบแทน สูงมากขึ้น กระนั้นบริษัทเก็บข้อมูลสถิติรายหนึ่งของสหรัฐ ได้ประกาศตัวเลขการจับจ่ายของอเมริกันชนในช่วงวันหยุดเทศกาบขอบคุณพระเจ้า (Thankgiving) และ Black Friday ออกมาโดยยอดค้าปลีกขยับขึ้นกว่า 2.3% และการซื้อของทางออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 17.3% จากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดีตลาดยังคงจับตามองตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่จะประกาศใน วันศุกร์ (6/12) และการประชุมนโยบายทางการเงินของสหรัฐที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคมนี้ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 32.11-32.27 บาท/ดอลลาร์ ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 32.14/16 บาท/ดอลลาร์

 

สำหรับค่า เงินยูโรนั้นเปิดตลาดที่ระดับ 1.3592/94 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (29/11) ที่ระดับ 1.3616/17 ดอลลาร์/ยูโร โดยความเห็นของนักวิเคราะห์ที่มีต่อการดำเนินนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ส่อเค้าลดน้อยลงภายหลังที่อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศสมาชิกยูโรโซนปรับตัว เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 0.8% ในเดือนกันยายนสู่ระดับ 1.0% ในเดือนตุลาคม ถึงแม้ว่าอัตราการว่างงานของประเทศอิตาลียังคงที่ที่ระดับ 12.5% ในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ระหว่างวันมีการประกาศตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของกลุ่ม ประเทศสมาชิกยูโรโซนที่ระดับ 51.6 หน่วย ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้และเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.5 หน่วย ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1.3543-1.3616 ยูโรโซน/ดอลลาร์ ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 1.3556/57 ยูโร/ดอลลาร์

 

ส่วน ค่าเงินเยนนั้นเปิดตลาดที่ระดับ 102.41/43 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (29/11) ที่ระดับ 102.25/28 เยน/ดอลลาร์ โดยค่าเงินเยนนั้นยังคงมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนตุลาคมยังคงรักษาระดับเดิมที่ 1.1% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อถัวเฉลี่ยประจำปียังคงอยู่ที่ระดับ 1.1% เช่นกัน อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อยกเว้นอาหารและพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% เทียบกับเดือนกันยายนที่ระดับ 0.0%สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เริ่มเห็นผลชัดเจน ทั้งนี้ตลาดยังคงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะทำการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเร็ววันนี้ อนึ่งค่าเงินเยนเคลื่อนไหวระหว่าง 102.23-102.81 เยน/ดอลลาร์ ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 102.68/70 เยน/ดอลลาร์

 

ในสัปดาห์นี้ตลาดรอ ติดตามการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ดัชนี ISM Manufacturing ประจำเดือนพฤศจิกายนของสหรัฐ ถ้อยคำแถลงของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรับ ถ้อยคำแถลงของนายคุโรตะ ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่นในเย็นวันนี้ (2/12) ยอดการขายบ้านใหม่ของสหรัฐ (4/12) อัตราการจ้างงานนอกภาคการเกษตรและอัตราการว่างงานของสหรัฐ (6/12)

 

อัตรา ป้องกันความเสี่ยง (Swap point) 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +4.5/4.75 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +14.0/17.0 สตางค์/ดอลลาร์

 

 

 

ติดตาม ความเคลื่อนไหวข่าวหุ้น ตลาดหุ้น การเงิน การลงทุน และบทวิเคราะห์หุ้น ที่ประชาชาติธุรกิจ http://www.prachachat.net/category.php?catid=09

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำดิ่ง$28หลังดอลล์แข็งค่า หุ้นมะกันลง-น้ำมันปิดบวก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ธันวาคม 2556 05:04 น.

 

 

ทองคำดิ่ง$28หลังดอลล์แข็งค่า หุ้นมะกันลง-น้ำมันปิดบวก

เอเอฟพี - วอลล์สตรีทวานนี้(2) ลงเล็กน้อย จากแรงคาดเดาว่าเฟดคงละระดับกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆ หลังพบข้อมูลการผลิตที่แข็งแกรง ปัจจัยนี้เองดันให้ดอลลาร์แข็งค่าและฉุดให้ทองคำดิ่งลงอย่างหนัก ขณะที่น้ำมันบวกพอสมควร เหตุซาอุดีอาระเบียบ่งชี้คงเพดานการผลิตไว้ตามเดิม

 

ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 79.31 จุด (0.49 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,007.10 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 4.96 จุด (0.27 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,800.85 จุด แนสแดค ลดลง 14.62 จุด (0.36 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,054.26 จุด

 

บิลล์ ลินช์ ผู้จัดการด้านการลงทุนของฮินส์เดล แอสโซซิเคทส์ ให้ความเห็นว่าความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นอเมริกา อาจเป็นเพราะนักลงทุนคาดหมายว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) จะลดระดับกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้ หลังดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(พีเอ็มไอ) ของภาคการผลิตในเดือนพฤศจิกายน ทะยานแตะ 57.3 จุด จาก 56.4 จุดเมื่อเดือนก่อน เหนือกว่านักวิเคราะห์คาดหมายไว้อย่างมาก

 

ปัจจัยภาคการผลิตของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน ที่แข็งแกร่งสุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง ก็ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่นั่นก็เป็นผลให้ทองคำวานนี้(2) ร่วงลงอย่างหนักเช่นกัน โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 28.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,221.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ด้านราคาน้ำมันวานนี้(2) ปิดบวกพอสมควร ก่อนหน้าการประชุมของโอเปกประจำเดือนธันวาคม ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย บ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ทางกลุ่มจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพดานการผลิตเชื้อเพลิง

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 1.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 93.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.76 ดอลลาร์ ปิดที่ 111.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นอกจากนี้ปัจจัยทางอุปทานแล้ว นักวิเคราะห์มองว่าราคาน้ำมันวานนี้(2) ยังได้แรงหนุนจากข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จีนและยุโรปด้วย

 

http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000149416

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางยุโรปออกรายงานเตือนความเสี่ยงจากการลดขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศในยูโรโซนเตรียมการรับมือกับความผันผวนของตลาดใน กรณีดังกล่าว

เดอะ ไฟแนนเชียล ไทม์ส รายงานว่า ในรายงานเสถียรภาพทางการเงินฉบับล่าสุดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ทางธนาคารกล่าวว่าความเสี่ยงต่อระบบการเงินของยูโรโซนจากภายนอกมีมากขึ้นนับ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จากการพูดคุยถึงโอกาสในการลดขนาดการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ลงจาก 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน

"นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม มีการปรับราคาในตลาดพันธบัตรโลกอย่างมาก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากความคาดหมายว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินใน สหรัฐฯ โดยมีความผันผวนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความตึงเครียดจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่" อีซีบีกล่าว

มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะเริ่มปรับลดขนาดการซื้อพันธบัตรตั้งแต่เดือน ธันวาคม ถ้ารายงานตัวเลขการจ้างงานซึ่งจะเปิดเผยในสัปดาห์หน้ามีความแข็งแกร่งมากพอ พยุงตลาดแรงงานสหรัฐฯ

หลังจากสร้างความตื่นตระหนกให้กับตลาดการเงินทั่วโลกเมื่อช่วงไม่กี่เดือน ที่ผ่านมาด้วยการกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการลดขนาดการซื้อพันธบัตร เฟดถูกกดดันจากนานาชาติให้สื่อสารด้วยความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีภาระหน้าที่ของเฟดที่ต้องให้ความสำคัญกับตัวเลขการจ้างงานและ เงินเฟ้อในสหรัฐฯ หมายความว่าเฟดไม่นำผลกระทบที่อาจเกิดต่อเนื่องไปยังต่างประเทศเข้ามา พิจารณา

อีซีบีกล่าวว่า ผู้ลงทุนสถาบันในยูโรโซนมีความเสี่ยงต่อตลาดพันธบัตรมากกว่าธนาคารในภูมิภาค แต่ยากที่จะรู้ว่าความเสี่ยงสูงสุดตกอยู่ที่ใด พร้อมกับแนะนำว่านโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพและคาดเดาได้จากรัฐบาล ประเทศสมาชิกยูโรโซน รวมถึงมาตรการ เช่น การเปิดเผยแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าต่อตลาดของอีซีบี จะช่วยให้การทยอยลดการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางเป็นไปได้อย่างราบรื่น มากขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดการปรับเพิ่มของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอย่างกะทันหัน

รายงานฉบับล่าสุดของอีซีบียังระบุด้วยว่า ความเสี่ยงต่อความผันผวนจากภายในยูโรโซนมีลดน้อยลงไปนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แม้ว่าจะมีความผันผวนที่เกิดขึ้นจากคำกล่าวของนายเบน เบอร์นานคี ประธานเฟด ว่าสหรัฐฯ จะเริ่มลดการซื้อพันธบัตรลงเมื่อเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้เกือบเต็มที่

อีซีบีกล่าวว่า กำไรของธนาคารพาณิชย์ที่อ่อนแอและการแบ่งแยกของระบบการเงิน (financial fragmentation) ยังคงเป็นความเสี่ยงต่อความมีเสถียรภาพ โดยการจัดตั้งสหภาพธนาคาร (Banking Union) จะมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

อีซีบีกล่าวด้วยว่า สถานการณ์โดยรวมที่ดีขึ้นส่วนหนึ่งสะท้อนถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจาก ผลของการปฏิรูปโครงสร้างและด้านการคลัง กระนั้นหากไม่มีการเดินหน้าปฏิรูปต่อไป จะก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะลบล้างสถานการณ์ที่ดีขึ้นเหล่านี้ และเพิ่มแรงกดดันต่อตลาดพันธบัตรรัฐบาล

เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน อีซีบีสร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุนด้วยการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย ลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 0.25% เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง พร้อมกับกล่าวว่าทางธนาคารยังมีเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ ได้

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 3 ธค.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**เงินบาทปิดตลาด 32.16/17 ยังรอดูสถานการณ์ทางการเมือง

 

 

นักบริหารเงิน กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.16/17 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจากช่วงเช้าที่ระดับ 32.18/19 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันไปทำไฮที่ระดับ 32.23 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามกระแสข่าวลือในประเทศ

"ปิดตลาดที่ระดับโลว์สุด ระหว่างวันเคลื่อนไหวตามกระแสข่าวในประเทศ" นักบริหารเงิน กล่าว

ทิศทางเงินบาทในวันพรุ่งนี้น่าจะยังคงไปตามสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ส่วนปัจจัยต่างประเทศรอดูการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.00-32.30 บาท/ดอลลาร์

"สถานการณ์ทางการเมืองยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูในช่วงนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 12,26,9 แบบดั้งเดิม เหมือนทุกๆ วันที่ผ่านมา ให้นิ่งดูกันอย่างเดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง เส้นดำเส้นแดง ยังไม่ตัดกัน ยังไม่ส่งสัญญานนำทางให้เข้าซื้อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

น้ำมันขึ้นแรง หุ้นมะกันลง-ทองคำทรงตัว จับตาเฟดลดกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 ธันวาคม 2556 05:33 น.

 

 

 

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันนิวยอร์กวานนี้(3)พุ่งแรง ตามข่าวเตรียมเปิดใช้งานบางส่วนของท่อลำเลียงใหม่เดือนหน้า ส่วนวอลล์สตรีทและทองคำปิดลบ จับตาข้อมูลทางเศรษฐกิจซึ่งจะบ่งชี้ทิศทางของมาตรการกระตุ้นของธนาคารกลางอเมริกา

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 2.22 ดอลลาร์ ปิดที่ 96.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.17 ดอลลาร์ ปิดที่ 112.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ตลาดน้ำมันนิวยอร์กขยับขึ้น หลังทรานส์แคนาดา บริษัทรับเหมาแคนาดาที่กำลังดำเนินการก่อสร้างท่อลำเลียงเชื้อเพลิงคีย์สโตน ระบุในเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ว่าบางส่วนของท่อคีย์สโตนจะเริ่มลำเลียงน้ำมันดิบจากคลังเชื้อเพลิงไปยังโรงกลั่นริมฝั่งเทกซัส ได้ในวันที่ 3 มกราคม

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(3) ปิดลบ 2 วันติด ท่ามกลางข่าวลือที่หนาหูขึ้นเรื่อยๆว่าธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) จะเริ่มลดระดับการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนเร็วๆนี้

 

ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 94.40 จุด (0.59 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,914.37 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 5.81 จุด (0.32 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,795.09 จุด แนสแดค ลดลง 8.06 จุด (0.20 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,037.20 จุด

 

ข่าวลือเกี่ยวกับการลดระดับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีขึ้นตามหลังข้อมูลทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่เผยแพร่ออกมาในวันจันทร์(2) อันย้อนให้นึกถึงถ้อยแถลงของเฟดว่าจะดำเนินการลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนเมื่อเห็นว่าตลาดแรงงานมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

 

ส่วนราคาทองคำวานนี้(3) ปรับลงในกรอบแคบๆ ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำสุดรอบ 5 เดือน นักลงทุนเฝ้ารอข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมช่วงกลางสัปดาห์ ในนั้นรวมถึงตัวเลขการจ้างงานรายเดือน ซึ่งจะบ่งชี้ทิศทางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟด โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 1.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,220.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดือนนี้จะลงทั้งเดือนเลยมั๊งป๋า...มีแต่ข่าวกดดันน้องทอง..เซ็ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดือนนี้จะลงทั้งเดือนเลยมั๊งป๋า...มีแต่ข่าวกดดันน้องทอง..เซ็ง

ในส่วนตัว ของผม ไม่มองแบบนั้น เพราะผมเล็งเห็นว่า 3 อาทิตย์สุดท้ายของปีนี้ จะเป็นการดันราคาขึ้นของทองคำ จากอะไร ? จากเทศกาลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น ปีใหม่ฝรั่ง และ ตรุษจีน และคนภาคพื้นเอเชียจะเพิ่มความต้องการในการซื้อ เพราะเห็นว่า ราคาทอง อยู่ในระดับที่น่าซื้อ ด้วยความเคารพที่เห็นแย้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...