ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ไม่เตือน ผมก็เลยลืม 555 แมร่งออก 95

ถ้าซื้อก็ถูกกินอีก รอซื้อทองแท่งดีกว่า ถ้าราคาลงก็เอามากอดจูบรูปคลําไปพลาง :uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาคการผลิตสหรัฐฯชะลอตัวฉุดหุ้นดิ่งเหว-น้ำมันลงแรง ทองคำปิดสวนทาง

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กุมภาพันธ์ 2557 05:32 น.

 

เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - วอลล์สตรีทดิ่งเหวและน้ำมันตลาดหุ้นสหรัฐฯลงแรงวานนี้(3) หลังรายงานภาคการผลิตอเมริกาอ่อนแอผิดคาดหมาย จุดชนวนเทขายท่ามกลางความกังวลต่อภาวะความเข้มแข็งเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามปัจจัยนี้ก็ผลักให้ทองคำปิดบวกอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนหันไปถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ

 

ดาวโจนส์ ลดลง 326.05 จุด (2.08 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,372.80 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 40.70 จุด (2.28 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,741.89 จุด แนสแดค ลดลง 106.92 จุด (2.61 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,996.96 จุด

 

แรงเทขายมีขึ้นตามหลังการเผยแพร่รายงานๆหนึ่งที่พบว่าภาคการผลิตของสหรัฐฯ เติบโตแบบชะลอตัวอย่างรุนแรงในเดือนมกราคม โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของสถาบันจัดการอุปทาน ลดลงสู่ 51.3 จุด จาก 56.5 จุดในเดือนธันวาคม ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว

 

 

 

ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 56 จุดเป็นอย่างมาก รวมไปถึงต่ำกว่าแม้กระทั่งตัวเลขคาดการณ์ต่ำสุดที่ 54.2 จุด อย่างไรก็ดี ค่าดัชนีที่สูงกว่า 50 ก็ยังบ่งชี้ถึงการขยายตัว

 

ปัจจัยข้างต้นนี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันวานนี้(3) ขยับลงพอสมควร ด้วยความกังวลว่าเศรษฐกิจที่อ่อนแอจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ทางพลังงานภายในชาติผู้บริโภครายใหญ่ของโลก

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมีนาคม ลดลง 1.06 ดอลาร์ ปิดที่ 96.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 36 เซนต์ ปิดที่ 106.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

อย่างไรก็ตามความผิดหวังต่อข้อมูลการผลิตของสหรัฐฯ กลับผลักให้ราคาทองคำวานนี้(3) ปิดบวกแรงกว่า 20 ดอลลาร์ ด้วยนักลงทุนแห่ช้อนซื้อโลหะมีค่าชนิดนี้เพื่อลดความเสี่ยง หลังวอลล์สตรีทปรับลดอย่างหนัก โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 20.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,259.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 หลังจากเส้นดำเส้นแดงตัดกัน บ่งบอกสัญญานนำทางเป็นด้านลบ แต่เมื่อคืนนี้ ราคาทองดันพุ่งขึ้น 20 กว่าเหรียญ จากตัวเลข ISM ที่ออกมาไม่ดีตอน 4 ทุ่ม แต่ในภาพรวม ตามรหัส 5,35,9 แบบ สัญญานนำทาง ก็ยังไม่เปลี่ยน ยังไม่มีตัดกันรอบใหม่ ก็ต้องถือว่า อยู่ด้านลบ ต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 7,5,2 ราคาทองถึงแม้จะเด้งขึ้นมา 20 เหรียญ ก็ไม่ได้ทำให้สัญญานเปลี่ยน เส้นแดงยังอยู่ด้านล่าง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัสสองเส้น มีนัยยะ

 

กลัวครับกลัว ตลาดเจ้าปั่น

 

ขอบคุณป๋านะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

image-4D0B_52EB0FBD.gif

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 07:29:42 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 3 ก.พ. 2557

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักกว่า 2% เมื่อคืนนี้ (3 ก.พ.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงต่ำกว่าระดับ 4,000 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2556 หลังมีรายงานว่าภาคการผลิตของสหรัฐและจีนชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,372.80 จุด ร่วงลง 326.05 จุด หรือ -2.08% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,741.89 ลดลง 40.70 หรือ -2.28% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,996.96 จุด ดิ่งลง 106.92 จุด หรือ -2.61%

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นเมื่อคืนนี้ (3 ก.พ.) เนื่องจากข้อมูลภาคการผลิตที่น่าผิดหวังและการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐ ได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 20.1 ดอลลาร์ หรือ 1.62% ปิดที่ 1,259.9 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 28.9 เซนต์ ปิดที่ 19.409 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 10.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,386.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 50 เซนต์ ปิดที่ 702.70 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (3 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าการชะลอตัวของภาคการผลิตของจีนและสหรัฐ อาจทำให้ความต้องการน้ำมันดิบลดน้อยลงด้วย

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 1.06 ดอลลาร์ หรือ 1.1% ปิดที่ 96.43 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 36 เซนต์ ปิดที่ 106.04 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- -ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (3 ก.พ.) อันเนื่องมาจากข้อมูลการผลิตของสหรัฐที่อ่อนแรง

 

ค่าเงินยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3532 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3488 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ระดับ 1.6302 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.6437 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 100.86 เยน จากระดับ 102.30 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9007 ฟรังค์ จากระดับ 0.9068 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8753 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8744 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (3 ก.พ.) หลังจากสหรัฐรายงานข้อมูลภาคการผลิตที่ชะลอลง

ดัชนี FTSE 100 ปิดลดลง 44.78 จุด หรือ 0.69% ที่ 6,465.66 จุด

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 ก.พ.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาคการผลิตสหรัฐ นอกจากนี้ การร่วงลงของหุ้นลอยด์ แบงกดิ้ง กรุ๊ป ยังได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มธนาคารดิ่งลงด้วย

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.3% ปิดที่ 318.21 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,107.75 จุด ลดลง 57.97 จุด หรือ -1.39% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,186.52 จุด ลดลง 119.96 จุด หรือ -1.29% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,465.66 จุด ลดลง 44.78 จุด หรือ -0.69%

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 15,372.80 จุด ลดลง 326.05 จุด -2.08%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 3,996.96 จุด ลดลง 106.92 จุด -2.61%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,741.89 จุด ลดลง 40.70 จุด -2.28%

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,107.75 จุด ลดลง 57.97 จุด -1.39%

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,186.52 จุด ลดลง 119.96 จุด -1.29%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,465.66 จุด ลดลง 44.78 จุด -0.69%

 

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 20,209.26 จุด ลดลง 304.59 จุด -1.48%

 

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 2,990.95 จุด ลดลง 36.27 จุด -1.20%

 

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,386.26 จุด ลดลง 32.50 จุด -0.74%

 

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,015.30 จุด ลดลง 25.89 จุด -0.43%

 

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,919.96 จุด ลดลง 21.19 จุด -1.09%

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 14,619.13 จุด ลดลง 295.40 จุด -1.98%

 

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,187.90 จุด ลดลง 2.10 จุด -0.04%

 

* หมายเหตุ: ตลาดหุ้นจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย ปิดทำการวันจันทร์ที่ 3 ก.พ.เนื่องในเทศกาลตรุษจีน

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองปิดพุ่ง $20.1 เหตุวิตกภาคการผลิตสหรัฐชะลอตัว

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 06:26:33 น.

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นเมื่อคืนนี้ (3 ก.พ.) เนื่องจากข้อมูลภาคการผลิตที่น่าผิดหวังและการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐ ได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 20.1 ดอลลาร์ หรือ 1.62% ปิดที่ 1,259.9 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 28.9 เซนต์ ปิดที่ 19.409 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 10.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,386.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 50 เซนต์ ปิดที่ 702.70 ดอลลาร์/ออนซ์

 

นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงอย่างรุนแรง และหลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของสหรัฐชะลอตัวลง โดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า การขยายตัวของดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค.ของสหรัฐชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 51.3 จากเดือนธ.ค.ที่ระดับ 56.5 เนื่องจากยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคอุตสาหกรรมร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 33 ปี

 

ขณะที่มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐลงแตะ 53.7 ในเดือนม.ค. หลังจากที่พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนที่ 55.0 ในเดือนธ.ค. โดยมาร์กิตระบุว่าปัจจัยที่ทำให้ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐชะลอตัวลงนั้น มาจากอุปสงค์และการผลิตในต่างประเทศชะลอตัวลง

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รายงาน ภาวะการเงินในช่วงเดือนธันวาคม 2556ว่าอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 อยู่ที่ 32.86 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง 2.3 %เมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยเป็นผลจาก 1) ความกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศ 2) การประกาศแผนการลดธุรกรรมอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) ของสหรัฐฯที่จะเริ่มดำเนินการในช่วงต้นปี 2557 ส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรของไทย ประกอบกับปริมาณธุรกรรมค่อนข้างเบาบางในช่วงดังกล่าว ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วและอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินภูมิภาค

 

ค่าเงินบาทในปี2556 เคลื่อนไหวผันผวนตามการดำเนินนโยบายการเงินของเศรษฐกิจประเทศหลักและปัจจัย พื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยโดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายเดือนเมษายนเงินบาทแข็ง ค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากนักลงทุนมี ความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยก่อนจะปรับอ่อนค่าลงต่อเนื่องจนถึง ช่วงปลายปี ตามการคาดการณ์ของตลาดถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะลดการทำธุรกรรม อัดฉีดสภาพคล่อง ประกอบกับเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง ช่วงต้นปี 2557 เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในรอบ4 ปีที่ระดับ 33.11 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557 ก่อนจะกลับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยและทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปี 2556 โดย ณ วันที่ 27 มกราคม 2557 ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ 32.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เดือนธันวาคม 2556 อยู่ที่ 102.95 อ่อนค่าลง1.5% จากเดือนก่อน จากการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินยูโร และเงินหยวนเป็นสำคัญและหากเทียบจากปลายปี2555 NEER อ่อนค่าลง 0.2%ส่วนดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) เดือนพฤศจิกายน 2556 อยู่ที่103.46 อ่อนค่าลง 0.9%จากเดือนก่อนตามการอ่อนค่าของดัชนีค่าเงินบาท และหากเทียบจากปลายปี 2555อ่อนค่าลง1.3%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีหุ้นสหรัฐฯในวันจันทร์ร่วงเกินกว่า 2% หลังจากข้อมูลการผลิตของสหรัฐฯอ่อนแออย่างน่าประหลาดใจ จุดประการให้เกิดการเทขาย ท่ามกลางกระแสความกังวลในเศรษฐกิจโลก...

 

ตลาด หุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 3 ก.พ. ในแดนลบ โดยดัชนีดาวโจนส์ลดลง 326.05 จุด หรือ 2.08% ปิดที่ 15,372.80 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 40.70 จุด หรือ 2.28% ปิดที่ 1741.89 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 106.92 จุด หรือ 2.61% ปิดที่ 3996.96 จุด

 

นักลงทุนเทขายหุ้นหลังจากมีการ เปิดเผยข้อมูล การผลิตของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นการชะลอตัวอย่างหนักในเดือนม.ค. โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ลดลงเหลือ 51.3 จุด จาก 56.5 จุด ในเดือนธ.ค. 2013 ไม่ห่างจากระดับ 50 จุด ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัว

 

อย่างไรก็ตาม นายปีเตอร์ คาร์ดิญโญ่ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายการตลาดของบริษัท 'ร็อกเวลล์ โกลบอล แคปิตอล' กล่าวว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีเลย แต่ความอ่อนแอนี้อาจเป็นผลมาจากการที่สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับอากาศหนาวสุดขั้วจากอิทธิพลของมวลอากาศเย็น จนทำให้การบริโภคและกิจกรรมอื่นๆลดลงก็เป็นได้.

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (04/02/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกลับเข้ามาหลังจากนักลงทุนผิดหวัง รายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อคืนนี้ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน ราคาทองคำจึงดีดตัวกลับหลังจากอ่อนตัวลงในการซื้อขายช่วง 2-3 วันก่อนหน้า สวนทางกับตลาดหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ซึ่งเมื่อคืนนี้โดยรวมแล้วปรับตัวลดลงในปริมาณค่อนข้างมาก โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ 1,256.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 12.60 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,240 และ 1,265 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ

 

ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 19,450 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,350 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 793.16 ตัน

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืน นี้ปรับตัวลดลงในปริมาณค่อนข้างมาก หลังจากดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ หดตัวลงมากกว่าที่ตลาดประเมินโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) รายงานเมื่อคืนนี้ว่า อัตราการขยายตัวของภาคการผลิตสหรัฐฯ ได้หดตัวลงในเดือนมกราคมเนื่องจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้กิจกรรมภาคโรงงานโดยทั่วไปร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน โดยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 51.3 จุดในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 โดยลดลงจากระดับ 56.5 จุด ในเดือนธันวาคม และเป็นระดับที่ต่ำกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ 56 จุด

 

จากรายงาน ดังกล่าวส่งผลให้เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นติดต่อกันหลายวันกลับอ่อนค่าลง และเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ราคาทองคำเมื่อคืนนี้ดีดตัวขึ้น อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของราคาทองในระหว่างวันยังมีแนวโน้มที่จะเคลื่อน ไหวในกรอบแคบเนื่องจากตลาดการเงินของหลายประเทศในเอเชียยังคงปิดทำงานในช่วง เทศกาลตรุษจีน และนักลงทุนต่างรอติดตามการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ซึ่งเป็นประเด็นหลักสำหรับสัปดาห์นี้

 

ส่วนใน ช่วงค่ำวันนี้จะมีรายงานยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานของสหรัฐฯเดือนธันวาคม ซึ่งผลสำรวจประเมินว่าจะปรับตัวลดลง 1.1% หลังจากในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวขึ้น 1.8% และสำหรับภาพเทคนิคของราคาทองซึ่งวานนี้ราคาทองคำดีดตัวขึ้นจากแนวรับบริเวณ 1,235 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่งผลให้ภาพการเคลื่อนไหวของราคาทองคำยังมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นต่อ และหากสามารถผ่านขึ้นไปยืนเหนือแนวต้านบริเวณ 1,275-1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ คาดว่าการฟื้นตัวจะมีความต่อเนื่องมากขึ้น ส่วนแนวรับสำหรับซื้อเก็งกำไรในระหว่างวันยังคงอยู่ที่บริเวณ 1,235 และ 1,245 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ.

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (04/02/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 32.94/96 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.94/95 บาท/ดอลลาร์

 

เปิดตลาดช่วงเช้ามีการขายดอลลาร์จึงทำให้บาทแข็งค่าลงมาถึงระดับ 32.90 บาท/ดอลลาร์ค่อนข้างเร็ว เนื่องจากในช่วงเช้าตลาดยังเบาบาง แต่มีผู้ประกอบการรอซื้อดอลลาร์อยู่ที่ระดับนี้ เพื่อทำกำไรช่วงสั้นๆ จึงทำให้ล่าสุดเงินบาทอยู่ที่ 32.92/93 บาท/ดอลลาร์

 

"ทิศทางเงินบาทวันนี้มีโอกาสจะแข็งค่าได้มากกว่า เพราะด้านบนติดมาพักใหญ่แล้ว ต่อให้ขึ้นไปจริงๆ ก็คงชนฟิกเกอร์(33.00) ซึ่งไม่น่าจะผ่าน ดูแล้วคงแข็งค่ามากกว่า แต่ระหว่างวันคงไม่ขยับไปไหนไกล" นักบริหารเงิน ระบุ

พร้อมคาดว่า วันนี้เงินบาทจะแกว่งในกรอบแคบๆ ที่ 32.85-32.95 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยในประเทศตอนนี้คงพักไว้ก่อน ตลาดหันกลับมาดูตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ รวมทั้งเงินทุนไหลเข้า-ออกมากกว่า

 

* ปัจจัยสำคัญ

- เปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.23 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 101.88 เยน/ดอลลาร์

 

- ส่วนเงินยูโรเช้านี้ อยู่ที่ระดับ 1.3516 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.3511 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 32.9090 บาท/ดอลลาร์

 

- นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย ยันเลือกตั้งผ่านไปแต่ปัญหายังอยู่กับที่ ซ้ำร้ายเลือกตั้งอาจจะโมฆะ ยิ่งกระแทกเศรษฐกิจซ้ำอีก "ศศินทร์"เผยวิกฤตการเมืองกระทบความเชื่อมั่นผู้บริโภค ชี้เศรษฐกิจปี 2557 ขึ้นอยู่กับการเมืองไทย ด้านภาคอสังหาฯ คาดวิกฤตการเมืองลากยาวถึงกลางปี ด้านศูนย์ข้อมูลฯ ประเมิน อสังหาฯปี 57 ซึมยาว ชี้เป็นโอกาสดีในการปรับฐานธุรกิจ หลังปี 56 ตลาดใกล้โอเวอร์ซัปพลาย

 

- กกร.ตั้งวงถกผลกระทบการเมือง กังวลปัญหาลากยาวถึง 6 เดือน ฉุดจีดีพีลดฮวบ 1.5-2% เม็ดเงินหายจากระบบ 1.2 แสนล้านบาท ชี้ลามทั้งภาคท่องเที่ยว ลงทุนและส่งออก มองแม้เศรษฐกิจไทยแกร่งแต่ห่วงกระทบเชื่อมั่น ภาคท่องเที่ยวหวั่นปีนี้รายได้ต่ำกว่า 2 ล้านล้าน

 

- แบงก์เฝ้าระวังลูกค้าเอสเอ็มอี-รายย่อย มองเป็นกลุ่มเสี่ยงจากผลกระทบทั้งเศรษฐกิจและการเมือง รับเริ่มเห็นชะลอการจ่ายหนี้ สภาพคล่องตึงตัว หลังยอดขายสินค้าอืด ลงพื้นที่ประกบติดช่วยแก้ปัญหา

 

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ล่าสุดของระบบสถาบันการเงินไทยสิ้นปี 56 โดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 3 ปี 56 ยังไม่เห็นการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียของสถาบันการเงินอย่างชัดเจน ส่วนหนึ่งเพราะประชาชนเริ่มชะลอการขอสินเชื่อครัวเรือนใหม่ เนื่องจากมีหนี้เดิมที่ต้องจ่ายจนเต็มความสามารถในการชำระแล้ว

 

- ตลาดหลักทรัพย์ฯให้อำนาจบอร์ดสั่งห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีเกิดจลาจล ก่อการร้าย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ป้องกันความเสียหายที่เกิดกับประชาชน เศรษฐกิจ

 

- ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้(3 ก.พ.) อันเนื่องมาจากข้อมูลการผลิตของสหรัฐที่อ่อนแรง

 

- โดยดอลลาร์สหรัฐฯ ได้รับแรงกดดัน หลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่ากิจกรรมการผลิตของสหรัฐในเดือนม.ค.ที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่หดตัวลงอย่างมาก

 

- ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 51.3 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2556 โดยลดลงจากระดับ 56.5 ในเดือนธ.ค.

 

- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.0 ในเดือนม.ค. จากระดับ 52.7 ในเดือนธ.ค. โดยดัชนีที่มีการเปิดเผยล่าสุดถือเป็นการยืนยันให้เห็นว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.54

 

- ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นหดตัวลงอย่างหนัก โดยดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วงลง 1.9% เมื่อเวลา 09.59 น.ตามเวลาโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปร่วงลงเมื่อ คืนนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์

 

- นางเจเน็ต เยลเลน เข้าพิธีสาบานตนเพื่อรับตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) คนใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะเข้ามาสานต่อภารกิจการปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และปรับนโยบายการเงินของสหรัฐให้เข้าสู่ภาวะปกติเหมือนกับในช่วงก่อนวิกฤต การเงินในปี 2551

 

นางเยลเลน มีกำหนดจะแถลงรายละเอียดนโยบายการเงินต่อคณะกรรมธิการบริการด้านการเงินของ รัฐสภาครั้งแรกในวันที่ 11 ก.พ. จากนั้นในวันที่ 22-23 ก.พ. นางเยลเลนมีกำหนดจะเข้าร่วมการประชุม G20 ที่กรุงซิดนีย์ เพื่อแถลงนโยบายการเงินของสหรัฐ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โบรกฯคาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับลดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ ขณะที่การเมืองในประเทศยังกดดันต่อเนื่อง คาดกรอบ 1,275-1,300 จุด

 

 

นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเช้านี้ได้ปรับตัวลงราว 1% ขึ้นไปในแต่ละตลาด เนื่องจากปัจจัยต่างประเทศเวลา นี้เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายหลังจากที่ตัวเลข ISM ภาคการผลิตงวดเดือนม.ค.ออกมาต่ำสุดในรอบ 8 เดือน และยังมีกังวลความผันผวนของค่าเงินใน Emerging Market ด้วย รวมทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ 10 ปี มาอยู่ที่ 2.59% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ทำให้นักลงทุนเห็นถึงความเสี่ยง

 

ด้านตลาดบ้านเราก็ยังมีความวุ่นวายจากการเมืองอยู่ โดยล่าสุดทางพรรคประชาธิปัตย์ก็จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญขอให้พิจารณาการเลือก ตั้งเป็นโมฆะ อีกทั้งผู้ชุมนุมก็เริ่มมีการยกระดับขับไล่นายกรัฐมนตรีมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกัน

 

พร้อมให้แนวรับ 1,275-1,280 จุด แนวต้าน 1,295-1,300 จุด

 

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (04/02/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...