ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รหัส 7,5,2 ทับกันก็จริง แต่สีแดงค่อนข้างจะเห็นว่า อยู่ด้านล่างนะ " ลบลง ย่อลง ของราคาทอง "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรไทยคาดค่าบาทสัปดาห์หน้า32.20-32.50/$

ข่าวเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2557 13:45น.

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ค่าเงินบาทสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหว 32.20-32.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ จับตาการเมือง ผลประชุม กนง. 12 มี.ค.นี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 - 7 มี.ค.) ว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ ที่มีสัญญาณผ่อนคลายลงบางส่วน ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ ก็พลิกกลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรของไทย นอกจากนี้ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย และยูเครน ที่ผ่อนคลายลงไปบางส่วน และทิศทางเงินหยวนที่ฟื้นตัวกลับมาก็หนุนให้เงินเอเชียในภาพรวมและเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นด้วยเช่นกัน

 

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้า (10 - 14 มี.ค.) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.20-32.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตาสถานการณ์การเมืองในประเทศ ผลการประชุม กนง. วันที่ 12 มี.ค.นี้ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ สต๊อกสินค้าภาคค้าส่ง/ภาคธุรกิจเดือน ม.ค. ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคานำเข้าและส่งออก งบประมาณของรัฐบาลกลางเดือน ก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครายงานโดยรอยเตอร์ส/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ในเบื้องต้นสำหรับเดือน มี.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

 

นอกจากนี้ ตลาดอาจจับตาสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างยูเครนและรัสเซีย รวมถึงสัญญาณความอ่อนแอของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ด้วยเช่นกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นไทย10-14มี.ค.ยังผันผวนมีแรงขายจับตากนง.

ข่าวเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2557 13:43น.

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด หุ้นไทยสัปดาห์หน้า ยังผันผวน อาจมีแรงขายทำกำไร จับตาการประชุม กนง. 12 มี.ค.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวการลงทุนในตลาดหุ้นไทยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 - 7 มี.ค.) ว่า ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในช่วงระหว่างสัปดาห์รับข่าวการคืนพื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม กปปส.ที่ช่วยคลายความกังวลของนักลงทุนลงส่วนหนึ่ง ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทยอีกครั้ง ซึ่งช่วยหนุนนำการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง

 

โดยวานนี้ (7 มี.ค.) ดัชนีปิดที่ระดับ 1,355.08 จุด เพิ่มขึ้น 2.24% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 34.38% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 32,554.20 ล้านบาท โดย นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนรายย่อย และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 391.09 จุด เพิ่มขึ้น 3.89% จากสัปดาห์ก่อน

 

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 10 - 14 มี.ค. 2557 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีอาจเผชิญกับความผันผวน และอาจมีแรงขายทำกำไร โดยต้องจับตา การประชุม กนง. ในวันที่ 12 มี.ค. 57 รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ โดยคาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,330 และ 1,319 ขณะที่ แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,366 และ 1,374 ตามลำดับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ จะมาบอกเพียงว่า เวลาของสหรัฐอเมริกามีการปรับ จาก 12 ชม. มาเป็น 11 ชม. เพราะฉะนั้น รายงานเศรษฐกิจที่ระบุ จะออกเร็วขึ้น 1 ชม. ตามเวลาไทยนะครับ 08.30. ก็จะออก 19.30 น. มีผลใช้ทันทีนะครับ

 

อ้างอิง ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ฮุสตัน,ชิคาโก้,นิวยอร์ค,วอชิงตัน ดีซี,ลาสเวกัส,ลอสแองเจอลิส จะเริ่มต้นช่วงปรับเวลาในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนมีนาคม และสิ้นสุดในวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายน

 

 

http://th.thetimenow.com/united_states

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Economic Calendar รายสัปดาห์ ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 10 มีนาคม 2557 09:08:28 น.

ปฏิทินเศรษฐกิจรอบโลกในรอบสัปดาห์

 

 

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย)

 

ญี่ปุ่น 06.50 น. ประมาณการจีดีพีไตรมาส 4/2556 ครั้งที่ 2

 

06.50 น. ดุลการชำระเงินเดือนม.ค.

 

N/A ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุมนโยบายการเงินประจำเดือนมี.ค.

 

ฝรั่งเศส 14.45 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.

 

อิตาลี 16.00 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.

 

วันอังคารที่ 11 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย)

 

ญี่ปุ่น 13.00 น. ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนก.พ.

 

N/A ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศผลการประชุมนโยบายการเงินเดือนมี.ค.

 

เยอรมนี 14.00 น. การค้าระหว่างประเทศเดือนม.ค.

 

อังกฤษ 16.30 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.

 

สหรัฐ 21.00 น. สต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนม.ค.

 

วันพุธที่ 12 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย)

 

ประเทศไทย 14.00 น. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 2/2557

 

ญี่ปุ่น 06.50 น. ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 1/2557

 

12.00 น. ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.

 

12.00 น. ธนาคารกลางญี่ปุ่นเผยรายงานประจำเดือนมี.ค.

 

ออสเตรเลีย 06.30 น. เวสต์แพค-สถาบันเมลเบิร์น เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.

 

อังกฤษ 16.30 น. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนม.ค.

 

อียู 17.00 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.

 

สหรัฐ 21.30 น. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)

 

01.00 น. ดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐเดือนก.พ.

(เช้าวันที่ 13 มี.ค.)

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย)

 

ญี่ปุ่น 06.50 น. ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนม.ค.

 

ออสเตรเลีย 07.00 น. ตัวเลขคาดการณ์ดัชนีราคาผู้ (CPI) เดือนมี.ค.

 

07.30 น. อัตราว่างงานเดือนก.พ.

 

เกาหลีใต้ 09.00 น. ธนาคารกลางเกาหลีใต้แถลงผลการประชุมนโยบายการเงิน

 

ฝรั่งเศส 15.45 น. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ.

 

15.45 น. OECD เปิดเผยอัตราดอกเบี้ยเดือนม.ค.

 

อิตาลี 17.00 น. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ.

 

สหรัฐ 19.30 น. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์

 

19.30 น. ยอดค้าปลีกเดือนก.พ.

 

19.30 น. ราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.พ.

 

21.00 น. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค.

 

วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2557 (ตามเวลาประเทศไทย)

 

ญี่ปุ่น 06.50 น. รายงานการประชุมนโยบายการเงินเดือนก.พ.จากธนาคารกลางญี่ปุ่น

 

11.30 น. การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีการปรับทบทวนเดือนม.ค.

 

11.00 น. ยอดค้าปลีกที่มีการปรับทบทวนเดือนม.ค.

 

เยอรมนี 14.00 น. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ.

 

อียู 17.00 น. ข้อมูลจ้างงานช่วงไตรมาส 4/2556

 

สหรัฐ 19.30 น. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ.

 

20.55 น. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนมี.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน

 

http://www.ryt9.com/s/iq24/1853126

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับ

 

ขอบคุณสำหรับข่าวสารครับป๋า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมเนจเม้นท์ แนะกลยุทธ์การลงทุนในทองคำวันนี้ (10 มีนาคม 2557) นักลงทุนระยะสั้น(เล่น 1-2 วัน) ให้ขายออกหากราคาปรับตัวลงต่ำกว่า $1,330/Oz ระหว่างวัน ส่วนนักลงทุนระยะกลาง-ยาว ให้ขายออกหากราคาปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน/$1,330/Oz

 

ภาพรวมตลาดทองคำคืนวานนี้

Gold – ราคาทองคำโลกปิดปรับตัวลง $11.40/Oz หรือ 0.84% มาอยู่ที่ $1,338.90/Oz (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบวันอยู่ที่ $1,329.19-1,352.40) ราคาทองคำปรับตัวลงหลังกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขจ้างงานสหรัฐเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าน่าจะเพิ่มขึ้นราว 150,000 ตำแหน่ง ขณะเดียวกันหากสถานการณ์ในยูเครนไม่รุนแรงขึ้น ก็คงเป็นเรื่องยากที่ทองจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนได้เข้าซื้อทองเพื่อปกป้องความเสี่ยงจากสถานการณ์ไม่แน่นอนทาง เศรษฐกิจและการเมือง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตัวเลขจ้างงานที่เป็นบวกเมื่อวันศุกร์ ต่อเนื่องมาจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเมื่อวันพฤหัสบดี ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นกดดันราคาทองคำ นอกจากนี้ ทองคำมีแนวโน้มที่จะเผชิญแรงกดดันจากหุ้นสหรัฐซึ่งยังคงเดินหน้าทำลายสถิติ อย่างต่อเนื่อง ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมากรมศุลกากรจีนเปิดเผยว่า มูลค่าการค้าต่างประเทศของจีนในเดือนก.พ.ลดลง 4.8% เมื่อเทียบรายปี แตะระดับ 2.5118 แสนล้านดอลลาร์ โดยยอดส่งออกในเดือนก.พ.2557 ร่วงลง 18.1% จากปีก่อน ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 10.1% ส่งผลให้จีนมียอดขาดดุลการค้า 2.298 หมื่นล้านดอลลาร์ เทียบกับที่เกินดุล 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ.ปีที่แล้วยังเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาทองคำเพิ่ม เติม

แนวโน้มตลาดวันนี้

Gold – หากในวันนี้ราคาปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันมีโอกาสปรับตัวลงได้โดยมีแนวรับต่อไปที่ระดับ $1,315/Oz เพราะเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ในกราฟวัน มองกรอบราคาทองคำในวันนี้ที่ $1,315-1,355/Oz

 

 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (10/03/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินหยวนอ่อนตัว 0.27% แตะ 6.145 หยวนต่อดอลลาร์ เมื่อเวลา 10.23 น.ตามเวลาเซี่ยงไฮ้ ภายหลังจากที่ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดอัตราอ้างอิงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2555 รวมทั้งยอดส่งออกของจีนเดือนก.พ.ที่ปรับตัวลงสวนทางกับคาดการณ์

 

ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดอัตราอ้างอิงรายวันลง 0.18% แตะ 6.1312 หยวนต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.

 

กรมศุลกากรจีนเปิดเผยว่า มูลค่าการค้าต่างประเทศของจีนในเดือนก.พ.ลดลง 4.8% เมื่อเทียบรายปี แตะระดับ 2.5118 แสนล้านดอลลาร์ จากปัจจัยเทศกาลตรุษจีน

 

ยอดส่งออกในเดือนก.พ.2557 ร่วงลง 18.1% จากปีก่อน ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 10.1% ส่งผลให้จีนมียอดขาดดุลการค้า 2.298 หมื่นล้านดอลลาร์ เทียบกับที่เกินดุล 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ.ปีที่แล้ว และ 3.186 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค.ปีนี้

 

 

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10/03/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10 มี.ค.57 มีรายงานข่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 12 มี.ค.57 คาดว่า จะมีการลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 2.00% และคาดว่า กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่อไปอีก 0.25% เหลือ 1.75% ในช่วงกลางปี 2557 ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่ความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมคม เป็นต้นมา GDP ไตรมาสที่ 4/56 ขยายตัวเพียง 0.6% YoY ดัชนีเศรษฐกิจหลักรายเดือนทุกดัชนีหดตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อน ขณะที่ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจถดถอยลงต่อเนื่องเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการ ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มแย่ลงต่อเนื่องที่จะส่งผลให้อัตราการขยายตัว GDP ไตรมาสที่ 1/57 ใกล้ 0% บวกกับดัชนีเศรษฐกิจรายเดือนยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องในครึ่งแรกของปี จะยังเป็นปัจจัยหลักที่มีผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงไปสู่ระดับต่ำสุดของ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาลงที่ 1.75% กลางปี 2557

 

ดอกเบี้ยนโยบายลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดลง

หลังจากน้ำท่วมเข้านิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเดือนตุลาคมปี 2554 เราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยได้เข้าสู่ช่วงขาลงแล้ว และ กนง. จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 3.50% ในการประชุมวันที่ 19 ตุลาคม 2554 จากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงไปสู่ระดับต่ำสุดของทิศทางอัตราดอกเบี้ยขา ลงที่ 1.75% ในช่วงกลางปี 2557

 

ความขัดแย้งภาคการเมืองที่ยาวนานและรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญในวงกว้าง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะกดดันให้ กนง จะปรับลดอัตรดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 12 มีนาคม โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคือ

 

-ดัชนีเศรษฐกิจหลักรายเดือนในเดือนมกราคมหดตัวแรง (รูปที่ 1 – 3) โดยผลผลิตภาคอุตสหกรรมหดตัว 6.4% YoY ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัว 1.5% YoY ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัว 8.6% YoY มูลค่าส่งออกหดตัว 1.5% YoY

 

-GDP ไตรมาสที่ 3/56 ขยายตัวในระดับต่ำมากเพียง 0.6% YoY (รูปที่ 4) ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัว 5.4% YoY ในไตรมาสที่ 1/56 และลดลงเหลือ 2.7% YoY ในไตรมาสที่ 3/56

 

-ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและการบริโภคโดยรวมแย่ลงในช่วงที่ผ่านมา

 

ดอกเบี้ยลงเพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดลงเร็ว

แม้ว่าเรายังไม่ปรับประมาณการอัตราการขยายตัว GDP ปี นี้ที่ 3.0% แต่ความขัดแย้งภาคการเมืองที่ยังดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเมื่อไร ทำให้โอกาสที่ GDP จะขยายตัวต่ำกว่า 3.0% มีมากขึ้นเข้าใกล้ 2.2% มากขึ้น เราคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง) จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุม กนง วันที่ 12 มีนาคม เหลือ 2.00% และคาดว่ากนง จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่อไปอีก 0.25% เหลือ 1.75% ในช่วงกลางปี 2557 เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและประคองเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดตัว

 

ที่มา: แนวหน้า(วันที่ 10 มีค.57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินเฟ้อลดลง ราคาทองชอบเงินเฟ้อ

 

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยายตัว 2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนก.พ.2557 ซึ่งเป็นสถิติที่ลดลงจากระดับ 2.5% ในเดือนม.ค. 2557

 

โดยเงินเฟ้อในเมืองต่างๆ เพิ่มขึ้น 2.1% และเงินเฟ้อในพื้นที่ชนบทสูงขึ้น 1.7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

 

ราคาอาหาร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของการคำนวณดัชนี CPI ของจีนนั้น สูงขึ้น 2.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะทที่ราคาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร เพิ่มขึ้น 1.6% จากระดับปีที่แล้ว

 

เมื่อเทียบเป็นรายเดือนแล้ว ดัชนี CPI ขยับขึ้น 0.5% ในเดือนก.พ. จากระดับเดือนม.ค. ส่วนราคาอาหารเพิ่มขึ้น 1.7% และราคาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารยังคงทรงตัว

 

เงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงนี้ สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะความต้องการด้านอาหารที่หดตัวลง หลังจากที่ผ่านพ้นเทศกาลตรุษจีนไปแล้ว สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา: อินโฟเควสท์(วันที่ 10 มีค.57)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาทเปิดตลาด 32.39-32.43 บาท/ดอลล์ อ่อนค่า หลังตัวเลขจ้างงานสหรัฐดีขึ้น ประเมินกรอบเคลื่อนไหวที่ 32.20-32.50 บาท/ดอลลาร์

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.39-32.43 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าขึ้นจากที่ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์นี้ที่ระดับ 32.26-32.29 บาท/ดอลลาร์ จาก หลังคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการประกาศตัวเลขการจ้างงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐ เพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่ง ซึ่งออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 150,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมา

 

สำหรับวันนี้ คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.20-32.50 บาท/ดอลลาร์ โดยในวันพุธนี้ให้จับตาดู การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ซึ่งตลาดคาดการณืว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25%

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (10/03/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีที เวลธ์ สรุปภาวะ Gold Futures ภาคเช้าวันนี้ (10 มีนาคม 2557) ราคาทองคำในตลาดโลกเช้านี้ปรับลดล US$ 10.89 ต่อออนซ์ ปิดที่ระดับ US$1,339.85ต่อออนซ์ (Gold spot)

 

ราคาดิ่งลงหลังสหรัฐฯประกาศข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรออกมาดีกว่าที่คาด โดยเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. หลังจากเพิ่มขึ้น 129,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค. แม้ว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 6.7% จาก 6.6% เนื่องจากคนอเมริกาเริ่มกลับเข้ามาสู่ตลาดแรงงานกันมากขึ้น บรรเทาความกังวลจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐฯช่วงก่อนหน้า ซึ่งเป็นการตอกย้ำแนวโน้มการปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดในระยะ ต่อไป อย่างไรก็ดีทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยยังคงได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์ความ ตึงเครียดในประเทศยูเครนที่ยังมีปัญหา หลังไครเมียจะทำประชามติเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย SPDR รายงานการถือครองทองเพิ่มขึ้น 1.5 ตัน ที่ระดับ 805.20 ตัน

 

ราคาทองคำโลกเช้านี้ (Gold Spot) เคลื่อนไหวเหนือบริเวณ US$1,330 โกลด์ฟิวเจอร์สัญญาสิ้นสุดอายุเดือนเมษายน 2557 (GFJ14) ราคาเปิดเช้านี้ที่ 20,740 บาท ส่วนราคาทองคำที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำวันนี้ ราคาเสนอซื้อ 20,400 บาท ราคาเสนอขาย 20,500 บาท ลดลง 50 บาท

 

แนวโน้มทองคำ นายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัดและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวว่า ราคาอ่อนตัวลงอีกครั้งช่วงท้ายสัปดาห์หลังรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร สหรัฐฯ ที่ปรับสูงขึ้นกว่าที่คาด แม้อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นแต่เป็นการเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีว่างงานขอเข้า สู่การหางานเพิ่ม ทางเทคนิคยังมองว่าราคาทองคำมีโอกาสย่อตัวหลังเกิด Reversal pattern ในกราฟรายวัน แนวรับ US$1,330 และ US$1,310

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 10 มีค.57)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำปรับตัวลดลงในปริมาณค่อนข้างมาก ในการซื้อขายช่วงค่ำของวันศุกร์ หลังมีรายงานข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าผลสำรวจที่ออกมาในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาทอง ซึ่งปรับตัวขึ้นติดต่อกันหลายวันเริ่มมีการปรับฐาน

 

ราคา ทองปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 1,339.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง 10.90 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,329 และ 1,352 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ

 

ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ขายออกที่บาทละ 20,550 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 20,450 บาท กองทุน SPDR รายงานว่า ได้เพิ่มปริมาณการถือครองทองคำขึ้น 1.5 ตัน โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำ รวม 805.20 ตัน

 

ราคาทองคำปรับตัวขึ้น ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 โดยมีปัจจัยบวกจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งมีสัญญาณชะลอตัว และปัญหาการเมืองระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย แต่สำหรับราคาทองในประเทศปรับขึ้นน้อยกว่าปกติจากผลกระทบของการแข็งค่าของ เงินบาท โดยราคาทองคำอ่อนตัวลงในการซื้อขายช่วงค่ำของวันศุกร์ หลังมีรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดประเมิน โดยในเดือนกุมภาพันธ์มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.75 แสนตำแหน่ง จากผลสำรวจที่ประเมินไว้ที่ 1.49 แสนตำแหน่ง

 

สำหรับอัตราการว่างงาน เดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม ที่ 6.6% มาอยู่ที่ 6.7% และในสัปดาห์นี้ยังคงต้องติดตามประเด็นปัญหาการเมืองระหว่างรัสเซียและ ยูเครน ที่แม้จะเริ่มคลี่คลายภายหลังมีการถอนกำลังทหารกลับเข้าสู่ที่ตั้งในสัปดาห์ ก่อน แต่ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลท้องถิ่นของพื้นที่ที่เป็นกรณีพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครน มีมติให้มีการทำประชามติจากประชาชนว่าจะเลือกว่าจะเป็นเขตปกครองตนเองของ ยูเครนต่อไป หรือจะกลับเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ซึ่งอาจนำมาสู่การเผชิญหน้าและใช้กำลังทางทหารได้อีกครั้ง

 

ขณะที่ ภาพการเคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทองอ่อนตัวลง ซึ่งในการซื้อขายช่วงค่ำของวันศุกร์ราคาอ่อนตัวลงไปเคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับ ของวันศุกร์ บริเวณ 1,340 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ยังประคองตัวเหนือจุดต่ำสุดของสัปดาห์ก่อน บริเวณ 1,330 ดอลลาร์ต่อออนซ์ การเคลื่อนไหวในวันนี้จึงยังมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหว ระหว่าง 1,330-1,350 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่อไป และกรณีที่ราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 1,320 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็จะเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาอ่อนตัวลงสู่แนวรับบริเวณ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่อไป

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (10/03/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...