ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สวัสดียามเช้า / รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง ส่งสัญญานในด้านขาย นะจ๊ะ เส้นดำโชว์เด่นอยู่ด้านล่างเส้นแดง แบบห่างกันมากกกกกกก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 7,5,2 เส้นสีแดงอยู่ด้านล่างเส้นดำ ว่ากันตามรูปแบบเส้น ราคาทองก็ยังคงย่อลงต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาทผันผวนมากวันนี้ จนกว่า ศาล รธน. จะตัดสินการเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ในวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 32.15-32.45

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานเศรษฐกิจ / สหรัฐ ตัวเลขตกงาน โพลว่า เพิ่มขึ้น แต่ตอนนี้ หิมะตกลดน้อยลง น่าจะลดลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นสหรัฐ-ทองคำร่วงหลังเฟดส่อร่นเวลาขึ้นดอกเบี้ย น้ำมันปิดบวก

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มีนาคม 2557 05:27 น.

 

 

 

 

 

เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันนิวยอร์กวานนี้(19) ขยับขึ้น พบคลังเชื้อเพลิงสำรองสหรัฐฯ ณ ส่งมอบสำคัญลดลง ส่วนสอลล์สตรีทและทองคำร่วงหนัก หลังธนาคารกลางสหรัฐฯตัดลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและร่นกรอบเวลาในการขึ้นดอกเบี้ย

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 67 เซนต์ ปิดที่ 100.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 94 เซนต์ ปิดที่ 105.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นักวิเคราห์บอกว่าปัจจัยที่สนับสนุนราคาน้ำมันเมื่อวันพุธ(19) ได้แก่รายงานคลังน้ำมันสำรองรายสัปดาห์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ที่พบว่าสต๊อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง มลรัฐโอคลาโฮมา ศูนย์ส่งมอบสำคัญ ลดลง 200,000 บาร์เรล สู่ระดับ 29.8 ล้านบาร์เรล บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(19) ปิดลบพอสมควร หลังนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) ให้กรอบเวลาคร่าวๆที่เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 

ดาวโจนส์ ลดลง 114.02 จุด (0.70 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,222.17 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 11.48 จุด (0.61 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,860.77 จุด แนสแดก ลดลง 25.71 จุด (0.59 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,307.60 จุด

 

ดัชนีทั้ง 3 ตัวไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างมีนัย หลังคำแถลงเบื้องต้น ตัดลดโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนลงอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ของเฟด เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ทว่าความเห็นของนางเยเลน ที่เปิดแถลงข่าวหลังจากนั้น ก็ส่งผลให้ตลาดหุ้นร่วงลงทันควัน

 

นางเยลเลน บอกว่ากรอบเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะอยู่ราวๆ 6 เดือนหลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่คาดหมายกันว่าเฟดจะยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนในช่วงสิ้นปีนี้

 

ส่วนราคาทองคำในวันพุธ(19) ขยับลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากเฟดตัดลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุมทั้ง 3 ครั้งหลังสุด โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 17.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,341.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟดมีมติตัดลดQEอีก10,000ล้านดอลลาร์-จับตาสถานการณ์ยูเครน

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มีนาคม 2557 04:11 น.

 

 

 

 

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานคนใหม่ของเฟด

 

เอเอฟพี/รอยเตอร์ส - ธนาคารกลางสหรัฐฯเมื่อวันพุธ(19) มีมติตัดทอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลงอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน แม้เมื่อเร็วๆนี้เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่ก็เป็นผลจากสภาพอากาศที่เลวร้าย ขณะเดียวกันทาง เจเน็ต เยลเลน หัวเรือใหญ่ เผยเฟดกำลังจับตาสถานการณ์ในยูเครนอย่างใกล้ชิด

 

ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน(FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ(FED) เห็นชอบลดการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน เหลือเดือนละ 55,000 ล้านดอลลาร์ ด้วยบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็งทางรากฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวในตลาดแรงงาน

 

อย่างไรก็ตามนางเจเน็ต เยลเลน ประธานคนใหม่ของเฟดบอกว่าธนาคารกลางแห่งนี้ยังคงไม่มองถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วๆนี้ ตราบใดที่อัตราคนว่างงานยังอยู่ในระดับสูงและเงินเฟ้ออยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้อาจเริ่มขึ้นดอกเบี้ยราว 6 เดือนหลังยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ขณะที่คาดหมายกันว่าเฟดจะสิ้นสุดโครงการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงสิ้นปีนี้

 

ในผลการประชุมพิจารณาเงื่อนไขต่างๆช่วงเร็วๆนี้และนโยบายการเงินของทางธนาคาร คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศเติบโตแบบชะลอตัวในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเหน็บ และปัจจัยดังกล่าวก็เป็นผลให้การฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ ขณะเดียวกันเครื่องบ่งชี้ต่างๆของตลาดแรงงานก็มีทั้งทางบวกและลบ อย่างไรก็ตามการที่พวกมันอยู่ในสภาพที่คงที่ก็บอกถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้น

 

แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ FOMC เล็งเห็นว่าความก้าวหน้าสะสมในเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน สนับสนุนการตัดลดมาตรการโครงการเข้าซื้อพันธบัตรอีกรอบ หลังจากเริ่มลดระดับเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม ซึ่งในเวลานั้นเฟด อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์

 

ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้าลงเล็กน้อย แต่ก็บอกว่าอัตราคนว่างงานน่าจะลดลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนธันวาคม

 

เฟดบอกว่าเศรษฐกิจอเมริกาน่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8-3.0 ในปี 2004 และ 3.0-3.2 ในปี 2015 เพิ่มขึ้นจากเดิมในแต่ละปีร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ตามธนาคารกลางแห่งนี้คาดหมายว่าอัตราคนว่างงานในปีนี้จะลดลงสู่ร้อยละ 6.1-6.3 หลังคราวก่อนประมาณการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.3-6.6 ส่วนปี 2015 ประมาณการณ์ว่าน่าจะลดลงเหลือร้อยละ 5.6-5.9

 

ในส่วนของ เยลเลน บอกกับผู้สื่อข่าวด้วยว่าทางธนาคารกลางสหรัฐฯ กำลังจับตาสถานการณ์ในยูเครนอย่างใกล้ชิดท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่ลุกลามบานปลายขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามเธอบอกว่าจนถึงตอนนี้ทางคณะกรรมการกำหนดนโยบาย ยังไม่เห็นว่ามันจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยต่อเศรษฐกิจ

 

"มันเป็นอะไรบางสิ่งที่เรากำลังจับตาอย่างใกล้ชิด" เธอกล่าว "การเชื่อมโยงทางการค้าโดยตรงหรือผิวเผินของระบบธนาคารสหรัฐฯกับยูเครนและรัสเซียไม่ใหญ่นัก แต่แน่นอนว่ามีความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่นั่น มันสำคัญมากที่เราต้องให้ความสนใจและจับตาอย่างใกล้ชิด"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเอฟพี/รอยเตอร์ส - ธนาคารกลางสหรัฐฯเมื่อวันพุธ(19) มีมติตัดทอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลงอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน แม้เมื่อเร็วๆนี้เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่ก็เป็นผลจากสภาพอากาศที่เลวร้าย ขณะเดียวกันทาง เจเน็ต เยลเลน หัวเรือใหญ่ เผยเฟดกำลังจับตาสถานการณ์ในยูเครนอย่างใกล้ชิด

 

ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน(FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ(FED) เห็นชอบลดการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน เหลือเดือนละ 55,000 ล้านดอลลาร์ ด้วยบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็งทางรากฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวในตลาดแรงงาน

 

อย่างไรก็ตามนางเจเน็ต เยลเลน ประธานคนใหม่ของเฟดบอกว่าธนาคารกลางแห่งนี้ยังคงไม่มองถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วๆนี้ ตราบใดที่อัตราคนว่างงานยังอยู่ในระดับสูงและเงินเฟ้ออยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้อาจเริ่มขึ้นดอกเบี้ยราว 6 เดือนหลังยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ขณะที่คาดหมายกันว่าเฟดจะสิ้นสุดโครงการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงสิ้นปีนี้

 

ปล. เริ่มมีการกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน ผูกเงื่อนไปมาในอัตราการจ้างงาน การตกงาน ของทั้งดอกเบี้ย และ วงเงิน QE เป็นความห่วงของนักลงทุนต่อการลงทุนทองคำที่อาจลดลง เพราะไม่มีเงินทุนมาปั่นราคาเพิ่มขึ้น แล้วนะ แล้วราคาทองก็ไต่ขึ้นมาสูงแล้วนะ อาจต้องขายทิ้ง ขายทิ้ง เพื่อเอาเงินทุนกลับคืนสู่สหรัฐฯ เพื่อพยุงกระตุ้นเศรษฐกิตต่อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองปิดร่วง $17.7 หลังปธ.เฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2557 07:09:37 น.

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทำการ นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการส่งสัญญาณดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เฟดมีมติปรับลดขนาดมาตรการ QE ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในการประชุมครั้งล่าสุด

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 17.7 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 1,341.3 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 3.6 เซนต์ ปิดที่ 20.826 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ลดลง 10 ดอลลาร์ ปิดที่ 1451.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 3.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 768.20 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาทองคำร่วงลงหลังจากนางเยลเลนกล่าวว่า อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกหลังจากที่เฟดยุติการใช้มาตรการ QE ไปแล้วราว 6 เดือน ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับลดขนาดมาตรการ QE ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการประชุมล่าสุด ส่งผลให้วงเงินการซื้อพันธบัตรปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยจะเริ่มดำเนินการดังกล่าวในเดือนเม.ย.ปีนี้

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq31/1860681

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นสหรัฐ-ทองคำร่วงหลังเฟดส่อร่นเวลาขึ้นดอกเบี้ย น้ำมันปิดบวก

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มีนาคม 2557 05:27 น.

 

 

blank.gif 557000003261601.JPEG blank.gif เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - ราคาน้ำมันนิวยอร์กวานนี้(19) ขยับขึ้น พบคลังเชื้อเพลิงสำรองสหรัฐฯ ณ ส่งมอบสำคัญลดลง ส่วนสอลล์สตรีทและทองคำร่วงหนัก หลังธนาคารกลางสหรัฐฯตัดลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและร่นกรอบเวลาในการขึ้น ดอกเบี้ย

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 67 เซนต์ ปิดที่ 100.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 94 เซนต์ ปิดที่ 105.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นักวิเคราห์บอกว่าปัจจัยที่สนับสนุนราคาน้ำมันเมื่อวันพุธ(19) ได้แก่รายงานคลังน้ำมันสำรองรายสัปดาห์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ที่พบว่าสต๊อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง มลรัฐโอคลาโฮมา ศูนย์ส่งมอบสำคัญ ลดลง 200,000 บาร์เรล สู่ระดับ 29.8 ล้านบาร์เรล บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(19) ปิดลบพอสมควร หลังนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) ให้กรอบเวลาคร่าวๆที่เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 

ดาวโจนส์ ลดลง 114.02 จุด (0.70 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,222.17 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 11.48 จุด (0.61 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,860.77 จุด แนสแดก ลดลง 25.71 จุด (0.59 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,307.60 จุด

 

ดัชนีทั้ง 3 ตัวไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างมีนัย หลังคำแถลงเบื้องต้น ตัดลดโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนลงอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ของเฟด เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ทว่าความเห็นของนางเยเลน ที่เปิดแถลงข่าวหลังจากนั้น ก็ส่งผลให้ตลาดหุ้นร่วงลงทันควัน

 

นางเยลเลน บอกว่ากรอบเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะอยู่ราวๆ 6 เดือนหลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่คาดหมายกันว่าเฟดจะยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนในช่วงสิ้นปี นี้

 

ส่วนราคาทองคำในวันพุธ(19) ขยับลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากเฟดตัดลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในการประชุมทั้ง 3 ครั้งหลังสุด โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 17.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,341.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

KBANK คาดบาทอ่อนค่า 33.50 ช่วง Q2/57-ลงทุนยังชะลอหลังการเมืองไม่นิ่ง-จับตาศก.ตปท.

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 19 มีนาคม 2557 18:36:07 น.

 

นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) กล่าวในงานสัมมนา "แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย"ว่า แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้มีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทยอยจ่ายเงินปันผล ซึ่งมีผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งเป็นนักลงทุนต่างประเทศ โดยรวมแล้วคาดว่าจะต้องมีการจ่ายเงินปันผลประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จึงจะส่งผลลบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยและมีผลให้เงินบาทอ่อนค่าได้ในช่วงดังกล่าว

 

ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทย มองว่าประเด็นการเมืองที่ยังไม่สามารถมีข้อสรุปได้ขณะนี้ได้ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาค Real sector โดยเฉพาะแนวโน้มการลงทุนในระยะต่อไป ซึ่งทำให้ภาคเอกชนต่างรอดูสถานการณ์การเมืองไทยให้นิ่ง ประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้แนวโน้มการลงทุนไม่สดใส

 

นอกจากนี้ ยังมองว่าสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ มีโอกาสที่จะพิจารณาปรับลดเครดิตของประเทศไทยลง หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ ซึ่งในจุดนี้จะมีผลต่อต้นทุนการกู้ยืมของไทยในอนาคต และทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นไปได้ยากขึ้น และอาจทำให้ไทยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ในช่วงครึ่งปีแรก

 

ด้านนายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระทางด้านเศรษฐกิจ คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ราว 2.5-3% เนื่องจากการมีรัฐบาลรักษาการที่ถือว่าเป็นสูญญากาศทางการเมืองส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐชะลอตัวจนถึงขั้นติดลบ จากปัญหาทางการเมืองในประเทศที่ยังคงยืดเยื้อและไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 

ขณะที่มองว่าการส่งออกของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 5-6% ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทที่ 32 บาท/ดอลลาร์ ตามเป็นปัจจัยบวกของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นทั้งสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3% สหภาพยุโรปขยายตัวได้ประมาณ 1% ญี่ปุ่นขยายตัว 1.5% และจีนขยายตัวได้ 7.5%

 

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังมีความเสี่ยงสำคัญ คือ หากปีนี้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้ไม่ถึง 7% จะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมาทั้งอาเซียนไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น โดยผลกระทบจะมีต่อทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนของไทย

 

"หากเศรษฐกิจจีนโตได้ต่ำกว่า 7% ผลกระทบก็จะตามมาเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เราพึ่งพาจีนถึง 12%...หากเศรษฐกิจโตช้าก็จะมีผลต่อทั้งการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนของทั้งอาเซียน แต่ ณ ตอนนี้จีนยังโอเคอยู่ แต่ก็อย่ามองโลกแง่ดีเกินไป ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง" นายสมชาย กล่าว

 

ส่วนที่รัฐบาลประกาศยกเลิกพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกลับไปใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น ส่งผลดีในแง่จิตวิทยาที่ช่วยให้ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะเรียกความเชื่อมั่นกลับขึ้นมาได้

 

พร้อมมองว่าสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งดำเนินการ คือการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้กลับมาโดยเร็ว ซึ่งการใช้นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2% นั้นเป็นการช่วยลดภาระหนี้ของประชาชนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนให้กลับมาลงทุน เพราะสิ่งที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนคือการเมืองที่ต้องมีเสถียรภาพ

 

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีหน้า นายสมชาย มองว่า จะได้รับผลกระทบจากการจัดทำงบประมาณปี 2558 ที่ล่าช้า ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยหลังจากวิกฤติต้มยำกุ้งมาจนถึงปัจจุบันก็เติบโตเฉลี่ยเพียงปีละประมาณ 4% เท่านั้น ถือว่าต่ำสุดในอาเซียน รวมทั้งไม่มีการปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และขาดการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ใช้สิทธิประโยชน์จากการเข้าร่วมใน AFTA ให้เต็มที่เท่าที่ควร ดังนั้น หากไทยต้องการแข่งขันได้ในอนาคตจะต้องปรับโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และนวัตกรรม รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนงบประมาณในแต่ละปีอย่างเหมาะสม

 

น.ส.นลิน ฉัตรโชติธรรม ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุนอาวุโส KBANK กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่า ขณะนี้ทิศทางเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐฯ มีพัฒนาการแตกต่างกัน โดยเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น เช่น อัตราการจ้างงาน และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่กลับมาอยู่ในระดับสูงช่วงเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินโลก นอกจากนี้ผลประกอบการของภาคเอกชนในสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นแรงหนุนให้เกิดการขยายตัวด้านการลงทุนได้ในระยะต่อไป ขณะที่ภาครัฐผ่อนคลายการใช้มาตรการรัดเข็มขัดเรื่องค่าใช้จ่าย

 

ขณะที่เศรษฐกิจของจีนมีสัญญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะภาคการผลิตและการส่งออก แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยการบิดเบือนเรื่องฤดูกาล นอกจากนี้ผู้กำหนดนโยบายยังหันไปให้ความสนใจกับการปฏิรูปมากขึ้น เช่น การขยายกรอบการซื้อขายเงินตราให้กว้างขึ้นมาอยู่ที่บวกหรือลบ 2% ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการเข้าสู่ตลาดแบบเสรี

 

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปอาจมีผลให้แรงส่งต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจแผ่วตัวลงบ้าง โดยผู้นำของจีนคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวที่ระดับ 7.5%

 

ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังมีสัญญาณที่เป็นบวก โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตามคือ การพัฒนาด้านเงินเฟ้อ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายของกลุ่มสหภาพยุโรปมองว่าอัตราเงินเฟ้อระดับต่ำในปัจจุบันมาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่จะไม่ประสบภาวะเงินฝืดเหมือนญี่ปุ่น ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยประเมินว่า สหภาพยุโรปพยายามเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำนโยบายการเงินให้ส่งผ่านไปยังภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงให้มากขึ้น

 

สิ่งที่ต้องจับตามมองสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นคือ การปรับขึ้นภาษีบริโภคจาก 5% เป็น 8% ในต้นเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับเข้าสู่ภาวะเงินฝืดอีกครั้งหรือไม่

 

สำหรับประเทศไทยนั้นปัญหาการเมืองที่ยังไม่ได้ข้อยุติส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะแนวโน้มการลงทุน จากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 2% น่าจะเป็นการปรับลดครั้งสุดท้าย และคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไว้จนถึงปลายปี แต่ก็มองเห็นโอกาสที่อาจจะมีการปรับดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นได้เช่นกัน

อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq03/1860639

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาทองยามบ่ายกล่าวว่า ทองได้วิ่งจาก 1345 มาที่ 1325 ภายใน 24 ชัวโมง และยังมีแรงขายอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะถึง 1306-1308 แค่มีความหวังว่า 1306-1308 จะเป็นช่วงที่มีฐานอันหนักแน่น แล้วจะสามารถ Rebound เด้งขึ้นชั่วคราวอีกหน 1345-1350 แค่หวังจะเป็นแบบนี้ พร้อมแนทางขาเสียง ดังนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...