ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เอสแอนด์พี ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียจากระดับสเถียรภาพ เพราะวิกฤติการเมืองในไครเมียจนถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก

 

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี)ให้เหตุผลในรายงานชิ้นนี้ ก่อนที่สหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐจะประกาศมาตรการคว่ำบาตรระลอกใหม่เมื่อวันพฤหัสบดีว่า ความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองที่เพิ่มขึ้น และมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐและอียูที่เกิดขึ้นหลังจากรัสเซียพยายามแยกไครเมียมาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ อาจจะลดกระแสไหวเวียนของเงินลงทุนก้อนใหญ่ จุดชนวนให้เงินทุนไหลออก และทำให้เศรษฐกิจของรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันแย่อยู่แล้ว ย่ำแย่ลงไปอีก

 

ทั้งนี้ เอสแอนด์พี ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียเป็น BBB ซึ่งใกล้กับระดับต่ำสุดของอันดับเรตติ้งการลงทุน โดยปีที่แล้ว เศรษฐกิจรัสเซีย ขยายตัวลดลงเหลือแค่ 1.3 % ถือเป็นการขยายตัวต่ำสุด นับตั้งแต่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เข้ามาบริหารประเทศ

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 21 มีนาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงิน-หุ้นเอเชียร่วงหนัก ผวาเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด ธปท.ประเมินผลกระทบไม่รุนแรงเท่าปี 2556 ชี้แนวโน้มสหรัฐฟื้น ผลดีเศรษฐกิจไทย

 

นักวิเคราะห์เตือนรับมือตลาดเงินป่วน เข้าสู่ยุคดอลลาร์แข็งค่า-หุ้นร่วง หลังเฟดลดคิว-ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าตลาดคาดการณ์ ด้าน ธปท.ประเมินกระทบไม่รุนแรงมากเหมือนปีก่อน แต่แนวโน้มเงินทยอยไหลออก ขณะที่ "ภัทร" คาดสิ้นปีส่อแตะ 33.5 บาทต่อดอลลาร์

 

ค่าเงินในเอเชียร่วงลงแรง หลังจากที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) โดยลดซื้อพันธบัตรอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ เหลือ 55,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน ในการประชุมเมื่อวันที่ 18-19 มี.ค. ที่ผ่านมา

 

แม้ว่า การปรับวงเงินลดคิวอี เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว แต่การส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า หลังจากยุติการใช้มาตรการคิวอีนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน และตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนอย่างรุนแรง โดย ดาวโจนส์ แนสแด็ก และ เอสแอนด์พี 500 รวมถึงตลาดหุ้นเอเชีย และตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงกันถ้วนหน้า

 

ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ เปิดตลาดร่วงทันที 0.59% โดยการซื้อขายช่วงเช้าอยู่ที่ 32.31/36 จาก 32.14/16 เมื่อวันที่ 19 มี.ค. เช่นเดียวกับตลาดต่างประเทศ (offshore) เปิดการซื้อขายอยู่ที่ 32.30/34 อ่อนจากระดับ 32.14/18

 

นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟด อาจเร็วกว่าการคาดการณ์ของตลาดอยู่บ้าง จึงมีผลให้นักลงทุนหันไปถือสินทรัพย์ที่เป็นสกุลดอลลาร์ จึงทำให้ค่าเงินสกุลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอลลาร์อ่อนค่าลง รวมถึงค่าเงินบาทของไทยด้วย

 

นางรุ่ง กล่าวว่า ผลกระทบต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยนโลก รวมถึงค่าเงินบาทไทย คงไม่มีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงเท่ากับเมื่อตอนเดือนมิ.ย. 2556 ซึ่งขณะนั้น เฟดส่งสัญญาณเป็นครั้งแรก ว่า จะปรับลดขนาดของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ลง

 

"การปรับลดขนาดของคิวอีลงต่อเนื่อง เป็นเรื่องที่ตลาดได้พูดคุยกันไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ครั้งนี้ อาจจะมีประเด็นเรื่องดอกเบี้ย ที่เฟดอาจจะปรับขึ้นเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งตรงนี้คงมีผลต่อตลาดการเงินอยู่บ้าง เพียงแต่เราเชื่อว่า คงไม่แรงเท่ากับตอนที่เฟดออกมาส่งสัญญาณเป็นครั้งแรก ว่าจะเริ่มต้นลดขนาดของคิวอี" นางรุ่ง กล่าว

 

ส่งสัญญาณดีต่อเศรษฐกิจไทย

 

นางรุ่ง ประเมินว่า การที่เฟดออกมาส่งสัญญาณชัดเจนว่า อาจจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หลังจากที่มาตรการคิวอีจบลงไปแล้ว 6 เดือน น่าจะเป็นการส่งสัญญาณถึงความมั่นคงของเศรษฐกิจสหรัฐ ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็งจริง น่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทยด้วย

 

ส่วนประเด็นที่ว่า เมื่อเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยในกลางปีหน้าแล้ว จะมีผลทำให้การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของไทย มีความยากลำบากมากขึ้นหรือไม่นั้น นางรุ่ง กล่าวว่า ถ้อยแถลงของเฟดคงเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะนำมาพิจารณาในการดำเนินนโยบายด้านดอกเบี้ย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยถือเป็นเครื่องมือหลักที่ กนง. ใช้ในการดูแลเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่การเปลี่ยนแปลงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน

 

ภัทรคาดบาทอ่อนปลายปี แตะ 33.5

 

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล บล.ภัทร กล่าวว่า ผลการประชุมเอฟโอเอ็มซีของเฟดครั้งนี้ มีประเด็นที่แตกต่างจากที่ตลาดคาดการณ์ไว้บ้าง ตรงที่ เฟด ส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หลังจากที่ยุติการใช้คิวอีไปแล้ว 6 เดือน ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยนโยบายของเฟด จะเริ่มปรับขึ้นตั้งแต่เดือนมี.ค. หรือเดือนเม.ย. 2558 เป็นต้นไป

 

ส่วนผลกระทบต่อตลาดเงินโลก รวมถึงค่าเงินบาทไทยนั้น เงินบาทคงมีทิศทางการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น โดย บล.ภัทร มองค่าเงินบาทไทยช่วงปลายปีนี้ไว้ที่ 33.5 บาทต่อดอลลาร์

 

"คิดว่าผลกระทบต่อค่าเงินคงมีบ้าง แต่คงไม่เกิดเหตุการณ์ช็อกรุนแรงเหมือนในอดีต เพราะเดิมทีตลาดก็คาดกันไว้บ้างอยู่แล้วว่า ดอกเบี้ยจะเริ่มเป็นทิศทางขาขึ้น เพียงแต่สัญญาณที่ส่งมาจากเฟด อาจจะขึ้นเร็วกว่าที่คาดบ้างเท่านั้น ดังนั้นในแง่ของเงินทุนเคลื่อนย้าย ก็คงมีบ้างที่จะทยอยไหลออกไป" นายพิพัฒน์ กล่าว

 

นักลงทุนขายลดเสี่ยง

 

นายศิระ คล่องวิชา ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนตราสารหนี้ บลจ.กรุงศรี กล่าวว่า การที่เฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้นั้น ในระยะสั้นตลาดตราสารหนี้สหรัฐ นักลงทุนคงขายลดความเสี่ยงหรือขยับจากตราสารหนี้ระยะยาวมาหลบในตราสารหนี้ระยะสั้นก่อนเพราะจากสัญญาณดังกล่าวแสดงว่าในช่วงต้นไตรมาส 2 ปี 2558 อาจจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว จากเดิมที่มองกันไว้ปลายปี 2558 แต่ในระยะกลางถึงยาว เป็นผลดีต่อตลาดตราสารหนี้สหรัฐ จะช่วยให้ตลาดตราสารหนี้สหรัฐ มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นและคงต้องรอให้มีการขึ้นดอกเบี้ยจริงก่อน จึงน่าจะเห็นเงินไหลกลับเข้าไปลงทุนในลาดตราสารหนี้สหรัฐมากขึ้น

 

"การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐคงทำแบบค่อยเป็นค่อยไปในปลายปีหน้าอาจจะขยับไปที่ 1% และไป 2% ในปลายปีถัดไปเพราะตอนนี้อัตราเงินเฟ้อเองยังไม่ใช่ปัญหา เว้นแต่เงินเฟ้อจะมาเร็วและแรง เพราะหากปล่อยให้ดอกเบี้ยขึ้นเร็วไป จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐได้เช่นกัน ดังนั้น เฟด เอง จึงพยายามสื่อสารกับตลาดมาตลอด ซึ่งหากทำได้ดี การเดินนโยบายต่างๆ ก็จะง่ายขึ้นด้วย"

 

หุ้นไทยคงให้น้ำหนักการเมือง

 

นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ปัจจัยที่มีน้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังคงเป็นปัจจัยในประเทศเป็นหลัก ทั้งภาวะเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งต้องติดตามการพิจารณาของศาลวันนี้ (21 มี.ค.) ว่าจะตัดสินให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่ หากการเลือกตั้งเป็นโมฆะ บรรยากาศการลงทุนที่เป็นลบอยู่แล้ว ก็จะลบอีก

 

สถานการณ์ภายนอกมีทิศทางดีขึ้น หลังจากเฟดมีความชัดเจนเรื่องมาตรการคิวอี ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐ ก็มีแนวโน้มดีขึ้น มีการติดตาม หรือมอนิเตอร์หลายปัจจัยมากขึ้น จากเดิมที่จะดูเฉพาะตัวเลขการว่างงานเท่านั้น ทั้งภาวะเงินเฟ้อ และดอกเบี้ย แสดงว่าสถานการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ

 

"ตลาดหุ้นไทย ตอบรับสถานการณ์ภายนอกไม่มาก เพราะส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว ไม่มีอะไรเซอร์ไพรส์ ประกอบกับปัจจัยที่มีน้ำหนักต่อการลงทุนในประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก"

 

หุ้นเอเชียร่วงหวั่นเฟดขึ้นดอกเบี้ย

 

ดัชนีหั่งเส็งในตลาดหุ้นฮ่องกง ร่วงลง 1.79% หรือ 386.53 จุด ที่ระดับ 21,182.16 วานนี้ (20 มี.ค.) ส่วนดัชนีนิกเคอิในตลาดโตเกียวลดลง 1.65% หรือ 238.29 จุดที่ระดับ 14,224.23 หุ้นเซี่ยงไฮ้ลดลง 1.40% หรือ 28.25 จุดที่ระดับ 1,993.48

 

หุ้นเกาหลีใต้ลดลง 0.94% หรือ 18.16 จุด ที่ระดับ 1,919.52 หุ้นไต้หวันร่วงลง 1.06% หรือ 92.13 จุด ที่ระดับ 8,597.33 หุ้นฟิลิปปินส์ลดลง 0.70% หรือ 45.14 จุด ที่ระดับ 6,417.35

 

หุ้นยุโรปเปิดตลาดวานนี้ ลดลงในการซื้อขายช่วงแรก โดยดัชนีเอฟทีเอสอี 100 ในตลาดลอนดอน ลดลง 0.40% ดัชนีซีเอซีในกรุงปารีส ลดลง 0.76% ดัชนีดีเอเอกซ์ในตลาดแฟรงก์เฟิร์ต ลดลง 0.66%

 

ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดวันพุธ (19 มี.ค.) ลดลง 0.70% หรือ 114.02 จุด

 

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุม 2 วันว่าเฟดจะลดการเข้าซื้อพันธบัตรลงอีกเดือนละ 10,000 ล้านดอลลาร์ อันเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้แล้ว แต่นางเยลเลนสร้างความปั่นป่วนแก่ตลาดด้วยการระบุว่ากรอบเวลาสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยอาจอยู่ในราว 6 เดือน หลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยุติลง

 

แนวโน้มที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) จะสิ้นสุดลงภายในปีนี้ ทำให้นักวิเคราะห์ตีความว่าคำพูดของนางเยลเลน หมายความว่าสหรัฐอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเริ่มตั้งแต่ต้นปีหน้า อันเป็นการสวนทางกับการคาดหมายของนักวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ ที่คาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยปลายปีหน้า

 

อัตราดอกเบี้ยที่สูงมักเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่ง แต่มีแนวโน้มที่จะถ่วงตลาดหุ้น

 

นักวิเคราะห์ชี้จุดเริ่มต้นดอลลาร์แข็ง

 

นายฮิโรมิชิ ชิรากาวา นักวิเคราะห์แห่งบริษัทเครดิตสวิส กล่าวว่า นางเยลเลน อาจไม่ใช่ผู้กำหนดนโยบายสายพิราบอย่างที่คาดกัน และตลาดควรพุ่งความสนใจไปที่ความเป็นไปได้ที่ยุคของเงินดอลลาร์แข็งค่าและการอ่อนค่าของหุ้นจะเริ่มต้นขึ้น ทั้งนี้ เงินดอลลาร์พุ่งไปอยู่ที่ 102.32 เยนต่อดอลลาร์ในนิวยอร์ก จาก 101.51 เยนในตลาดโตเกียว

 

ด้าน นายไมเคิล เจมส์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เวดบุชซิเคียวริตีส์ กล่าวว่า กรอบเวลาการขึ้นดอกเบี้ยสะท้อนว่าการเปลี่ยนแปลงจากยุคดอกเบี้ยต่ำมาก อาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาดหมายกันไว้

 

นายฮิโรมิชิ ทามูระ นักยุทธศาสตร์แห่งโนมูระซิเคียวริตีส์ กล่าวว่า การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของญี่ปุ่นในวันที่ 1 เม.ย. และความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน มีผลต่อบรรยากาศในตลาดหุ้นเช่นกัน

 

แต่ นายฮิวจ์ จอห์นสัน แห่งบริษัทฮิวจ์จอห์นสันแอดไวเซอร์ กล่าวว่า ตลาดตีความคำพูดของนางเยลเลนผิดไป และนักลงทุนก็มีปฏิกิริยามากเกินไป การเทขายชะลอตัวลงเมื่อตลาดสรุปได้ว่านางเยลเลนไม่ได้พูดอะไรที่แตกต่างไปจากที่ตลาดคาดหมายมากนัก

 

ชี้ราคาทองอ่อนตัวระยะสั้น

 

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลง หลุดแนวรับสำคัญที่ 1,345 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มาอยู่ที่ 1,328 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งถือว่าเป็นการอ่อนตัวเกินความคาดหมาย เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกกับข่าวการลดวงเงินคิวอี และแนวโน้มข่าวการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำออกมา

 

ขณะที่ราคาทองคำในประเทศปรับตัวลดลง 100 บาทต่อบาททองคำ จาก 20,450 บาท เหลือ 20,350 บาทต่อ 1 บาททองคำ และจะเห็นว่าอัตราการปรับลดลงไม่สูงนัก เพราะค่าเงินบาทมีความผันผวนแรง และมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ซึ่งโดยปกติหากราคาทองคำปรับตัวลดลงในระดับ 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองคำไทยควรจะลดลงระดับ 200 บาทขึ้นไป

 

"แนวโน้มราคาทองคำในระยะสั้น อาจจะอ่อนค่าลงมาหลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ระยะกลางถึงระยะยาว ประเมินว่า ราคาทองคำยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยความเสี่ยงเรื่องของความวุ่นวายในยูเครน ถือว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปยืนในระดับ 1,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ภายในปีนี้ ซึ่งประเมินว่ากรอบการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ จะอยู่ในระดับ 1,170 ดอลลาร์ ถึง 1,450 ดอลลาร์ต่อออนซ์ "

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์และระมัดระวังการลงทุน เพราะมองว่าราคาทองคำจะอ่อนตัวระยะสั้นเท่านั้น

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 21 มีนาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาด TFEX ดีเดย์ปีนี้เปิดช่องนักเล่นโกลด์ฟิวเจอร์สถือครบอายุสัญญา เพิ่มทางเลือกเปลี่ยนเป็นทองคำแท่งได้ ยอมรับแม้ราคาทำธุรกรรมจะแพงกว่าซื้อตรงที่ร้านทองตู้แดง ฟากร้านค้าทองเสียงแตก แบ่งฟากชี้ข้อดี-ช้อเสียเป็นหนังคนละม้วน

 

นาง เกศรา มัญชุศรี รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ภายในปีนี้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) จะเปิดช่องให้นักลงทุนสามารถนำสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (Gold Futures) ที่สิ้นสุดอายุสัญญา มาเปลี่ยนเป็นทองคำแท่งได้ ซึ่งแนวคิดนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างทางเลือกให้นักลงทุนมีเครื่องมือในการบ ริหารพอร์ตลงทุนมากขึ้น จากเดิมที่นักลงทุนทำได้เพียงรับส่วนต่างผลกำไรหรือขาดทุนจากการลงทุนใน โกลด์ ฟิวเจอร์สเท่านั้น

 

ทั้งนี้เบื้องต้นวิธีการของการเปลี่ยน โกลด์ฟิวเจอร์ส เป็นทองคำแท่งนั้น นักลงทุนจะต้องแจ้งไปยังโบรกเกอร์ เพื่อให้ทำการชำระราคาซื้อขาย (เคลียริ่ง) ที่เกิดขึ้นตามสถานะในวันสุดท้ายที่ถือครอง หลังจากนั้น จะต้องเพิ่มเงินให้ได้ตามราคาทองที่ซื้อขายจริงในตลาด โดยข้อสรุปทั้งหมดของรายละเอียดการแลกเปลี่ยนนี้ ทางตลาด TFEX ยังอยู่ในกระบวนการศึกษา แต่คาดว่าจะบังคับใช้ได้ภายในปีนี้

 

"กระบวน การเปลี่ยนจากโกลด์ ฟิวเจอร์ส ที่สิ้นอายุมาเป็นทองคำแท่ง ก็อาจจะมีราคาแพงกว่านิดหน่อย เมื่อเทียบกับการไปซื้อทองคำโดยตรงที่ร้าน แต่ที่ตลาด TFEX ต้องทำก็เพราะเราอยากให้นักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้นสำหรับการลงทุนโกลด์ ฟิวเจอร์ส หากนักลงทุนอยากเปลี่ยนสถานะมาเป็นทองคำจริงก็ควรทำได้ ซึ่งตลาดอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น จีน อินเดีย ไต้หวัน ก็เปิดช่องทางให้ทำได้เช่นกัน" นางเกศรากล่าว

 

แหล่งข่าวจากวงการค้า ทองรายหนึ่งกล่าวว่า แนวคิดการเปลี่ยนจากโกลด์ ฟิวเจอร์สมาเป็นทองคำแท่ง ไม่น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากนัก เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนสถานะจากโกลด์ ฟิวเจอร์ส มาเป็นทองคำแท่งมีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อทองคำเองโดยตรง อีกทั้งนักลงทุนที่ลงทุนใน โกลด์ ฟิวเจอร์ส ก็เป็นนักลงทุนประเภทเก็งกำไร ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับนักลงทุนที่ซื้อทองคำแท่ง ดังนั้นไม่เห็นด้วยกับแนวทางตลาด TFEX นัก

 

"ถ้าเปลี่ยนจากโกลด์ ฟิวเจอร์ส มาเป็นทองคำแท่งแล้วต้นทุนสูงกว่า นักลงทุนก็คงไม่สนใจในประเด็นนี้ เราเลยไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่หาก TFEX จะปรับเปลี่ยน ซึ่งเท่าที่คุยกับค้าทองด้วยกันก็พบว่าหลายรายไม่สนับสนุนไอเดียนี้" แหล่งข่าวกล่าว

 

นายแพทย์กฤชรัตน์ หิรัณยศิริ ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ แม่ทองสุก จำกัด กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิด ของทางตลาด TFEX เพราะช่องทางดังกล่าวช่วยให้โบรกเกอร์ค้าทองที่มีธุรกิจค้าทองได้ประโยชน์ใน แง่ของการจำหน่ายทองคำด้วย ส่วนโบรกเกอร์ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซึ่งไม่มีธุรกิจค้าทองก็ไม่น่าจะมีอุปสรรค เพราะหากลูกค้า ต้องการนำสัญญาโกลด์ ฟิวเจอร์สที่สิ้นสุดอายุมาเปลี่ยนเป็นทองคำ ก็ทำได้ด้วยการโอนมาให้ร้านค้าทองที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางได้

 

"การ ดำเนินการเรื่องนี้ไม่ได้ลำบากเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโบรกเกอร์โกลด์ฟิวเจอร์สที่มีธุรกิจร้านค้าทองแบบแม่ ทองสุก ก็จะทำให้สามารถเปลี่ยนจากทองกระดาษมาเป็นทองจริง แทบจะทำได้ทันที (T+0) หากนักลงทุนต้องการ ส่วนความวุ่นวายของการดำเนินการก็อาจจะมีบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องของระบบที่ต้องปรับกันเล็กน้อย ไม่ได้ต้องใช้เงินลงทุนอะไรมาก" นายแพทย์กฤชรัตน์กล่าว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**เงินบาทปิด 32.36/38 แกว่งแคบ คาดเปิดต้นสัปดาห์ 32.25-32.50

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.36/38 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.40/42 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตลอดทั้งวัน ถึงแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะก็ไม่ได้มีผลต่อการเคลื่อนไหวของเงินบาทมากนัก อาจเป็นได้ว่าผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามที่ตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้แล้ว

"ที่ศาลตัดสินเรื่องเลือกตั้ง 2 ก.พ.โมฆะ แทบจะไม่มี effect อะไรกับค่าเงิน อาจจะไม่ได้นอกเหนือความคาดหมาย และไม่มีเหตุการณ์อะไรที่มากไปกว่าจุดนี้ เพราะวันนี้ธนาคารกลางสหรัฐเป็นประเด็นหลักในตลาดมากกว่า" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เปิดตลาดต้นสัปดาห์หน้า เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.25-32.50 บาท/ดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เพื่อไทย ออกแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วย คำตัดสินศาล รธน.ขัดหลักนิติธรรม และยิ่งสร้างปัญหาให้กับบ้านเมืองมากกว่าเดิม เชิญชวน ปชช.ร่วมสู้อำนาจนอกระบบ

 

เลขาฯกกต. เรียกประชุมผู้บริหารสนง. หลังศาลชี้เลือกตั้งโมฆะ

 

 

เวลา 14.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการกกต. เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งใหม่ ภายหลังหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าเลือกตั้ง 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

นายภุชงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รายงานผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้ทราบทุกคนแล้ว ซึ่ง กกต. ทั้ง 5 คนน้อมรับและพร้อมดำเนินการตามคำวินิจฉัย แต่ทั้งนี้ยังคงรอคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ เพื่อพิจาณาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าที่ผ่านมาดำเนินการในการจัดการเลือกตั้ง ตามกฏหมายทุกประการ

 

นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับทราบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใดๆกับสื่อมวลชน โดยนายศุภชัย กล่าวเพียงสั้นๆว่า ยังไม่พร้อมที่จะให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าว เนื่องจากต้องฟังผลในการหารือของผู้บริหาร สำนักงาน กกต. ก่อนรวมถึงต้องรอผลคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการด้วย

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปธ.กกต.น้อมรับคำตัดสินศาล ยันเลือกตั้งไม่สำเร็จไม่ใช่ความผิดกกต.

 

 

เวลา 15.45 น. นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต.แถลงน้อมรับคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เลือกตั้ง 2 กพ.เป็นโมฆะ เนื่องจากวันเลือกตั้งไม่ใช่วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร คาดว่าจะได้รับคำวินิจฉัยเลือกตั้งโมฆะจากศาลในสัปดาห์หน้า กกต.จะประชุมว่าจะดำเนินการต่ออย่างไร ทั้งนี้การจัดการเลือกตั้งไม่สำเร็จไม่ใช่ความผิดของกกต. เพราะเขตที่ไม่มีผู้สมัครลงเลือกตั้ง เกิดจากมีผู้ขัดขวางการรับสมัคร เตือนคนที่จะฟ้องร้องกกต ว่ากกต.ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายทุกขั้นตอน ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งทางแพ่งและอาญา สื่อถามหากเลือกตั้งครั้งหน้าอาจจะเกิดเหตุการณ์แบบเดิม นายศุภชัย ตอบว่า หวังว่าเวลาผ่านไปความคิดคนเราจะเปลี่ยน ขอทุกฝ่ายคำนึงถึงประโยชน์ของชาติเป็นหลัก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐ-EUคว่ำบาตรรัสเซีย อายัดทรัพย์คนสนิทปูติน

 

 

ประธานาธิบดีบารัก โอบามามีคำสั่งเมื่อวานประกาศคว่ำบาตรระลอกสองต่อรัสเซียโดยพุ่งเป้าที่คนใกล้ชิดประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และเจ้าหน้าที่อีก 19 คน โดยคนเหล่านี้จะถูกอายัดทรัพย์สินที่มีอยู่ในสหรัฐ ถูกห้ามดำเนินธุรกิจในสหรัฐ และทำธุรกรรมด้วยเงินดอลลาร์ไม่ได้ ในรายชื่อผู้ที่ถูกคว่ำบาตรมีทั้ง เซอร์เก อิวานอฟ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดี และเกนนาดี ทิมเชงโก้ มหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจน้ำมันรายใหญ่ของโลกและเพื่อนเก่าของปูติน นอกจากนี้ธนาคารแบงก์ รอสซินา ที่เชื่อว่าหนุนหลังปูติน ก็อยู่ในรายชื่อผู้ถูกคว่ำบาตรด้วย

 

ขณะเดียวกันโอบามาออกประกาศคำสั่งอนุญาตให้คว่ำบาตรต่อภาคธุรกิจสำคัญของรัสเซียได้ด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่าโอบามาอาจใช้อำนาจนี้หากกองกำลังรัสเซียรุกคืบเข้าไปยังจังหวัดทางภาคตะวันออกของยูเครน นอกเหนือจากการควบคุมดินแดนในคาบสมุทรไครเมีย ที่ลงมติแยกตัวเป็นเอกราชจากยูเครนเมื่อวันอาทิตย์และลงนามสนธิสัญญาผนวกรวมดินแดนกับรัสเซียเมื่อวันอังคาร ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาสหภาพยุโรปมีมติเพิ่มการคว่ำบาตรรอบสองต่อรัสเซีย โดยเพิ่มรายชื่อผู้ที่ถูกคว่ำบาตรอีก 12 คน

 

รัสเซียยังคงเดินหน้าดำเนินการผนวกดินแดนไครเมียต่อไปท่ามกลางเสียงคัดค้านของชาติตะวันตก โดยสภาผู้แทนราษฎรรัสเซียลงมติเมื่อวานให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาผนวกดินแดนแล้ว และนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย แนะนำยูเครนด้วยว่า หากต้องการสร้างเสถียรภาพในชาติ ควรเปลี่ยนแปลงสู่ระบบสาธารณรัฐ หลังจากไครเมีย ที่เคยเป็นเขตปกครองตนเองของยูเครน ไม่ยอมรับอำนาจของรัฐบาลใหม่ยูเครนที่ขึ้นสู่อำนาจผ่านการประท้วงและการโค่นล้มประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ล่าสุดกระทรวงต่างประเทศคีร์กิซสถานประกาศเมื่อวานรับรองผลการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชของไครเมียแล้ว ส่วนสถานการณ์ในไครเมียยังตึงเครียด โดยกองกำลังฝักใฝ่รัสเซียเข้ายึดเรือ 2 ลำของกองทัพเรือยูเครนที่อ่าวคูรินยา ในเมืองเซวาสโตโพลเมื่อวาน และนายกรัฐมนตรีอาร์เซนี ยาเซนยุค ของยูเครนประกาศว่า พร้อมใช้กำลังทหารตอบโต้ หากรัสเซียพยามยึดดินแดนส่วนอื่นในภาคตะวันออกของยูเครน แต่นายเซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย ยืนยันจะไม่ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปในพื้นที่อื่นของยูเครน และสหภาพยุโรปกำลังพิจารณาส่งผู้สังเกตการณ์นานาชาติหลายร้อยคนไปยูเครน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองได้ถึงเป้าหมายที่ 3 ขายาว เป็นที่เรียบร้อย ตั้งแต่บ่าย

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Gold: Support at 1334.60/1328.84, resistance at 1344.69/1350.19

Fri, Mar 21 2014, 09:33 GMT

by Richard Perry | Hantec Markets

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองปิดสัปดาห์แถว 1334 ยังไม่อยากเดา ว่า อาทิตย์หน้าจะเป็นแบบไหน เสาร์ไปหาของทานดีกว่า วันนี้เช้านี้ มี รายการของบัตรเครดิต ใช้คะแนนสะสมแลกรับส่วนลด 50% ร้านอาหารฯ ตลุยเลย ลุ้นที่หน้าร้านฯ ใครจะได้รับบัตรคิวที่หน้าร้านฯ ที่ร่วมรายการ ผมไปร้านแหลมเจริญ ดีกว่า ชั้น 3 หรือชั้น 4 ก็รีบถึงตอน 10.00 น. เพื่อคิว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันขึ้นจากวิกฤตไครเมีย หุ้นมะกันปิดลบ-ทองคำบวก

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2557 05:29 น.

 

 

 

 

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันวานนี้(21) ขยับขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนเกี่ยวกับวิกฤตไครเมีย ส่วนวอลล์สตรีท ลงเล็กน้อยจากการขายทำกำไรของนักลงทุน ขณะที่ทองคำปิดบวก หลังดอลลาร์อ่อนค่า

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 56 เซนต์ ปิดที่ 99.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 47 เซนต์ ปิดที่ 106.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นักลงทุนจับตาสถานการณ์ในยุโรปตะวันออกอย่างใกล้ชิด หลังจากสหรัฐฯและสหภาพยุโรปแถลงมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อมอสโกเมื่อวันพฤหัสบดี(20) ต่อกรณีผนวกไครเมียเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ทั้งนี้ในมาตรการคว่ำบาตรของอเมริกา ได้ขึ้นบัญชีดำนายเกนนาดี ทิมเชนโก บุคคลสำคัญในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย ด้วยบริษัท Gunvor ของเขาคือผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่แดนหมีขาว

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(21) ปิดลบในกรอบแคบๆ จากการขายทำกำไรก่อนวันหยุดและความกังวลต่อวิกฤตยูเครน

 

ดาวโจนส์ ลดลง 28.28 จุด (0.17 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,302.77 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 5.49 จุด (0.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,866.52 จุด แนสแดค ลดลง 42.50 จุด (0.98 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,276.79 จุด

 

ส่วนราคาทองคำในวันศุกร์(21) ฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 วัน จากแรงหนุนของดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 5.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,336.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชี้การเมืองไทยป่วนเศรษฐกิจอีกนาน คลังห่วงตั้งรัฐบาลไม่ได้

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 22 มีนาคม 2557 06:00:00 น.

 

ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โอด “การเมือง” ทำให้ไทยเสียโอกาสในหลายๆ เรื่อง ไม่กล้าฟันธงว่าปีนี้จะได้ตั้งรัฐบาลใหม่ ขณะที่ ผู้บริหาร สอท. ยังลุ้นตั้งได้ในไตรมาส 2 ด้าน “แบงก์ชาติ” ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงตามคาด

 

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ว่าที่ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) แสดงความเห็นกรณี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ให้การเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น หากการเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นไปได้อย่างราบรื่น และมีรัฐบาลใหม่ได้ในไตรมาส 2 นี้ ภาคเอกชนจะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างแน่นอน อาจทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าที่หลายๆ หน่วยงานประมาณการไว้ก็เป็นไปได้เช่นกัน เพียงแต่ขอให้วิกฤติการเมืองจบลงจริงๆ เท่านั้น

 

“ภาคเอกชนก็ขอวิงวอนให้ทุกพรรคการเมือง ทุกพรรค ลงมาในสนามเลือกตั้ง และต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง ที่ไม่ว่าใครแพ้และใครชนะได้จัดตั้งรัฐบาล คนแพ้ก็ต้องยอมรับกติกาของระบอบประชาธิปไตย เพราะกลไกของประชาธิปไตยที่ถูกต้อง คือการเลือกตั้งและขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จัดเลือกตั้งให้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลที่สามารถบริหารประเทศได้”

 

ขณะที่ นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า การที่ประเทศไทยยังตั้งรัฐบาลใหม่ไม่ได้ จะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ไม่ถึง 3% ต่อปี ค่อนข้างแน่นอน แต่จะต่ำกว่า 2% ต่อปี หรือไม่ คงต้องว่าจะตั้งรัฐบาลใหม่ได้ภายในปีนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากอดีตที่ผ่านมาปัญหาการเมืองไม่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจกิจ เพียงแต่ทำให้ขยายตัวได้น้อยหรือไม่ขยายตัวเท่านั้น

 

“ปัญหาการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้เศรษฐกิจไทยเสียโอกาสในหลายๆ เรื่อง อาทิ การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การแก้ปัญหาความยากจน สศค. คาดว่าจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญในปีนี้ อาจส่งผลให้มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจครั้งต่อไปได้” นายสมชัย กล่าว

 

ทั้งนี้ สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2557 นี้ ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุปสงค์ในประเทศ บ่งชี้เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชนที่บ่งชี้สัญญาณชะลอตัว อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลงต่อเนื่อง

 

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แถลงเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ได้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะขยายตัวที่ 2.7% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวไม่ถึง 3%

 

สำหรับในด้านการส่งออกได้เริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจคู่ค้าต่างประเทศ คาดว่าในปีนี้การส่งออกจะขยายตัวได้ 4.5% จากเมื่อปีที่แล้วขยายตัว 4.2% ขณะที่การใชัจ่ายภาครัฐยังคงล่าช้าจากเหตุผลทางการเมือง และมีการยุบสภา ซึ่งทำให้การอุปโภคและลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.5% จากปีที่ผ่านมา ขยายตัว 3.8% เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่มองว่ายังคงติดลบ -0.5% และการบริโภคภาคเอกชน 0.3% ส่วนเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาอาหาร และการปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.5% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.5%

 

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายได้ในครึ่งปีแรก ในครึ่งปีหลังก็อาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ ด้านการท่องเที่ยวดีขึ้น การใช้จ่ายก็กลับมาโดยได้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2558 ว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นได้ ซึ่งจะขยายตัวได้ที่ 4.8% แต่ก็ยังมองว่าการจัดสรรเงินงบประมาณปี 2558 อาจจะดำเนินการได้ล่าช้า 1 ไตรมาส และอาจส่งผลกระทบได้บ้างในด้านการลงทุน

 

“ยังมีสิ่งที่จะต้องจับตาดูทั้งในเรื่องของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในต่างประเทศ ที่อาจจะมีความผันผวนได้ จากเศรษฐกิจโลกที่มีตลาดเกิดใหม่บางประเทศ

 

ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า การเลือกตั้งเป็นโฆฆะนั้น ทางคณะกรรมการกนง.ยังไม่ได้นำปัจจัยนี้มาพิจารณาในครั้งนี้ ซึ่งอาจจะนำเข้ามาทบทวนอีกทีในครั้งหน้า

 

http://www.ryt9.com/s/nnd/1862395

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์แข็งกลางสัปดาห์รับเฟดเดินหน้าลดคิวอีต่อ

 

updated: 21 มี.ค. 2557 เวลา 18:15:31 น.

 

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่าภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันที่ 17-21 มีนาคม 2557 ค่าเงินดอลลาร์เปิดตลาดในวันจันทร์ (17/3) อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักต่าง ๆ ในตลาด อาทิ ค่าเงินยูโร, ปอนด์ และเยน หลังจากในช่วงคืนวันศุกร์ (14/3) ที่ผ่านมามีการเปิดเผยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนมีนาคมซึ่งปรับตัวลดลงสู่ระดับ 79.9 จากระดับ 81.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 82.0 รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งปรับตัวลดลง 0.1% จากเดือนก่อนตรงข้ามกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% นอกจากนั้นแล้ว ค่าเงินดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนเริ่มคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในยูเครน และการลงประชามติของเขตปกครองไครเมียที่เป็นไปอย่างราบรื่นและไม่มีเหตุการณ์รุนแรง โดยรัฐสภาไครเมียได้ประกาศอิสรภาพจากยูเครน หลังจากผลการลงประชามติระบุว่า ชาวไครเมีย 96.77% ต้องการแยกตัวออกจากยูเครนและไปรวมกับรัสเซีย โดยล่าสุดนั้นประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้ทำการลงนามในสนธิสัญญาเพื่อผนวกสาธารณรัฐไครเมียทางตอนใต้ของยูเครนและเมืองเซวาสโตโพลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า โดยในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอให้สภานิติบัญญัติของรัสเซียให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้ปูตินได้ออกแถลงการณ์ต่อสาธารณชนว่าทางรัสเซียไม่มีแผนที่จะยึดแคว้นอื่น ๆ ของยูเครน หรือทำให้ยูเครนแตกแยกแต่อย่างใด

 

อย่างไรก็ดีค่าเงินดอลลาร์ได้ปรับตัวกลับขึ้นมาแข็งค่าขึ้นอย่างมากอีกครั้งหนึ่งในช่วงคืนวันพุธ (19/3) ไปถึงช่วงปลายสัปดาห์ภายหลังจากที่การประชุมทางธนาคารกลางสหาฐเสร็จสิ้นลง โดยนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เฟดจะเดินหน้าแผนการปรับลดการซื้อพันธบัตรที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐลงต่อไป โดยอาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตรในฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้ และอาจเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยราว 6 เดือนหลังจากนั้น พร้อมทั้งยกเลิกการใช้อัตราการว่างงานที่ระดับ 6.5% เป็นตัววัดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้หากมีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวจริงซึ่งจะถือว่าเป็นการปรัวบเพิ่มที่เร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

 

ทางด้านของค่าเงินบาท ค่าเงินบาทเปิดตลาดในวันจันทร์ (17/3) ที่ระดับ 32.27/29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (14/3) ที่ระดับ 32.31/33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินสกุลหลักทั่วโลกจากการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ค่าเงินบาทยังได้รับแรงหนุนหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.บ.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม ถึงวันที่ 30 เมษายน 2557 เพื่อดูแลการชุมนุมกลุ่มต่อต้านรัฐบาล โดยค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าสุดในช่วง 3 เดือนกว่าที่ระดับ 32.10 บาท/ดอลลาร์ในวันพุธ (19/3) ก่อนที่จะกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งหนึ่งตามสกุลเงินหลักอื่น ๆ ในช่วงคืนวันเดียวกันภายหลังจากที่การประชุมทางธนาคารกลางสหรัฐเสร็จสิ้นลง ทั้งนี้ ระหว่างสัปดาห์ ค่าเงินบาทมีเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.11-32.44 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะปิดตลาดในวันศุกร์ (21/3) ที่ระดับ 32.41/43 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญต่อการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ในช่วงเช้าวันศุกร์ซึ่งมีมติ 6 ต่อ 3 เสียง วินิจฉัยว่าการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ขัดต่อรัฐธรมนูญและเป็นโมฆะ แทบจะไม่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงท้ายสัปดาห์

 

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดในวันจันทร์ (17/3) ที่ระดับ 1.3901/03 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (14/3) ที่ 1.3878/79 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยค่าเงินยูโรได้รับแรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐอเมริกาในช่วงคืนวันศุกร์ (14/3) ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนที่ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยอัตราการจ้างงานของประเทศในกลุ่มยูโรโซนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส จากระดับเดิมในไตรมาสที่ 3 ปี 2013 ที่ 0.0% ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศยูโรโซนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ค่าเงินยูโรเริ่มอ่อนค่าลงอีกครั้งระหว่างสัปดาห์หลังจากการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยูโรโซนในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.4% ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่จัดทำโดยสถาบัน ZEW ในเดือนมีนาคมของยูโรโซนก็ปรับตัวลดลงจาก 68.5 สู่ระดับ 61.5 โดยระดับเงินเฟ้อที่ต่ำเช่นนี้อาจส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรปประกาศมาตรการผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ค่าเงินยูโรได้อ่อนค่าลงไปต่ำกว่าระดับ 1.3800 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ในช่วงคืนวันพฤหัสดบี (20/3) เช่นเดียวกับค่าเงินหลักอื่น ๆ ภายหลังจากที่ทางเฟดส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาด โดยระหว่างสัปดาห์ค่าเงินยูโรมีการเคลื่อนไหวในกรอบ 1.3748-1.3947 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนจะปิดตลาดในวันศุกร์ (21/3) ที่ระดับ 1.3767/74 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

 

ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ค่าเงินเยนเปิดตลาดในวันจันทร์ (17/3) ที่ระดับ 101.39/41 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจากระดับปิดตลาดในคืนวันศุกร์ (14/3) ที่ระดับ 101.55/57 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินเยนยังคงปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ขณะรอผลการประชุมเฟด ขณะที่ทางการญี่ปุ่นไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจเพิ่มเติมนอกจากการออกมาให้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ต่อยอดการส่งออกของญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มลดลง โดยนายโตชิโร มูโตะ อดีตรองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นและนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขของไตรมาสที่ 2 ที่จะออกมาในเดือนกรกฎาคมทั้งจีดีพีและอัตราเงินเฟ้อ น่าจะแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจญี่ปุ่น เนื่องจากจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ทางบีโอเจอาจจะมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางเพิ่มเติม ทั้งนี้ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งหนึ่งเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่น ๆ ภายหลังจากที่เฟดจบการประชุม โดยระหว่างสัปดาห์ค่าเงินเยนมีการเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 101.23-102.68 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะปิดตลาดในวันศุกร์ (21/3) ที่ระดับ 102.06/09 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395400196

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง ก็ยังไม่คิดจะขึ้น ยังคิดแต่จะย่อลง ขึ้นไปได้ ก็ย่อลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 7,5,2 และแล้ว ความยาวของเส้นดำก็วิ่งขึ้นไล่ตามเส้นแดงได้ทัน ( ราคาทองปรับตัวเพิ่มขึ้น ) แต่ยังไง มองตามเส้น เส้นแดงก็ยังอยู่ด้านล่าง คราวนี้ ราคาทองคงไม่ดีดเพิ่มแล้วล่ะ มีแต่จะย่อลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...