ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเลื่อนแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป หลังจากมีรายงานว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.ของสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพียง 126,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2013 และยังปรับขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 248,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนมี.ค.ทรงตัวที่ระดับ 5.5%

 

นักวิเคราะห์จากบีเอ็มโอ แคปิตอล มาร์เก็ตส์ กล่าวว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐชะลอการจ้างงานในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนเศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อไปอีกยาวนานเพียงใด ดังนั้น การที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.ตามที่ได้มีการส่งสัญญาณเอาไว้นั้น อาจจะต้องเลื่อนออกไป

 

ขณะที่นักวิเคราะห์จากหน่วยงานด้านบริหารจัดการความมั่งคั่งของดอยช์ แบงก์กล่าวว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนมี.ค.ออกมาน่าผิดหวังอย่างมาก ซึ่งทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ และอาจจะทำให้เฟดต้องเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป จากเดิมที่คาดว่าอาจจะปรับขึ้นในเดือนมิ.ย.

 

ด้านนายเดวิด สต็อคตัน อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเฟด (ช่วงปี 2543-2554 ) ซึ่งปัจจุบันเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำสถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน กล่าวว่า มีแนวโน้มมากขึ้นว่าเฟดอาจจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. พร้อมกับกล่าวว่า นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดไม่ได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ แต่กลับ “ให้ความสนใจกับตลาดแรงงานมากกว่า" ในการแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มี.ค.

 

นายสต็อคตันกล่าวว่า ตลาดแรงงานเป็นมาตรวัดการฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐที่มีความถูกต้องมากกว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และคาดว่าเฟดจะใช้ความระมัดระวังในการตัดสินใจเกี่ยวกับช่วงเวลาในการเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ย อันเนื่องมาจากการขยายตัวที่อ่อนแอในช่วงไตรมาสแรก

 

ก่อนหน้านี้ นายเบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานเฟดเคยกล่าวเตือนเกี่ยวกับการยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ย 0% (ZIRP) ที่เร็วเกินไป โดยระบุว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วเกินไป ถือเป็นการตัดสินใจที่ผิด เพราะเศรษฐกิจที่อยู่ในระยะฟื้นตัวจะไม่สามารถรับมือกับต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ เบอร์นันเก้กล่าววา มีหลายครั้งที่ธนาคารกลางต่างๆ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป และก็ต้องปรับลดลงในเวลาต่อมา เมื่อพบว่าเศรษฐกิจย่ำแย่ลง

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04/04/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผอ.IMF ขานรับกรีซยืนยันชำระคืนเงินกู้ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ (07/04/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แสดงความพอใจกับคำมั่นสัญญาที่กรีซจะชำระคืนเงินกู้แก่ IMF ในสัปดาห์นี้

 

นางลาการ์ดกล่าวหลังการพบปะกับนายยานิส วารูฟากิส รมว.คลังของกรีซเมื่อวานนี้ โดยนายวารูฟากิสระบุว่า กรีซมีเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหมดเสมอ

 

ผู้อำนวยการ IMF กล่าวในแถลงการณ์ฉบับหนึ่งว่า เธอพอใจกับคำยืนยันของนายวารูฟากิสที่ว่ากรีซจะชำระคืนหนี้สินแก่ IMF ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 9 เม.ย.นี้เป็นจำนวน 450 ล้านยูโร

 

การแสดงความคิดเห็นของนางลาการ์ดมีขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนเงินสด

 

ทั้งนี้ กรีซยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากประเทศเจ้าหนี้นับตั้งแต่เดือนส.ค.ปีที่แล้ว ทำให้รัฐบาลต้องพึ่งพาการกู้ยืมจากหน่วยงานของรัฐภายในประเทศโดยการออกพันธบัตร ขณะที่ยูโรโซนและ IMF ระงับการปล่อยกู้จนกว่ารัฐบาลกรีซจะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการปฏิรูปเศรษฐกิจกับประเทศเจ้าหนี้

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06/04/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คอลัมน์ เลียบรั้่วเลาะโลก โดย ขวัญใจ เตชเสนสกุล ผอ.ฝ่ายวิจัยธุรรกิจ EXIM BANK

 

 

เริ่มต้นปี 2558 มาได้หนึ่งไตรมาส สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่หลายฝ่ายคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2557 กลับยังมีทิศทางการฟื้นตัวไม่ชัดเจนนัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรปที่มีแนวโน้มชะลอลง จนทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เริ่มอัดยาแรงด้วยการใช้มาตรการ QE ตามรอยญี่ปุ่นและสหรัฐ

 

ทั้งนี้หลายฝ่ายเห็นว่า การประกาศใช้มาตรการ QE ของ ECB นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามค่าเงินรอบล่าสุด โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เป็นเป้าหมายของเม็ดเงินลงทุนในการเข้ามาแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า ทำให้ค่าเงินของประเทศเกิดใหม่หลายสกุลแข็งค่าขึ้นทันที

 

ขณะเดียวกัน ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมากขึ้น ทำให้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 มีธนาคารกลางกว่า 20 ประเทศผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยเฉพาะการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศและชะลอการแข็งค่าของเงินสกุลตนเอง เพื่อช่วยพยุงภาคส่งออกให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน

 

ผู้เขียนเห็นว่ากระแสที่ประเทศต่าง ๆ พร้อมใจกันผ่อนคลายนโยบายการเงินจนกลายเป็นสงครามค่าเงินอยู่ในขณะนี้ มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้น ๆ และไม่น่าจะรุนแรงกว่าที่เป็นอยู่มากนัก เนื่องจาก

 

(1) ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 หลังเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งผลก็คือเม็ดเงินลงทุนมีแนวโน้มไหลกลับไปสหรัฐมากขึ้น และทำให้ค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ประกอบกับบางประเทศที่มีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลการคลังเรื้อรัง อาทิ อินโดนีเซีย อินเดีย อียิปต์ ตุรกี และแอฟริกาใต้ อาจเผชิญกับการไหลออกของเงินทุนที่รวดเร็วจนกระทบเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ทำให้การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมในกลุ่มประเทศดังกล่าวมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

 

(2) ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ราว 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้หลายฝ่ายมองว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และราคาจะค่อย ๆ กระเตื้องขึ้นในครึ่งปีหลังตามทิศทางเศรษฐกิจโลก สำหรับปัญหาอุปทานส่วนเกินที่จะค่อย ๆ บรรเทาลง หลังจากมีผู้ผลิตในบางประเทศโดยเฉพาะสหรัฐ เริ่มลดกำลังการผลิตเพราะไม่คุ้มทุน ประกอบกับความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ยังช่วยพยุงไม่ให้ราคาน้ำมันลดต่ำลงกว่าที่เป็นอยู่มากนัก ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ช่องว่างในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมมีน้อยลง

 

(3) การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการเข้ามาเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งจะเร่งให้เกิดปัญหาฟองสบู่และเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในประเทศที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง อาทิ รัสเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ปัจจัยต่าง ๆ ทำให้การลดดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ในระยะถัดไปมีข้อจำกัดมากขึ้น

 

แม้ประเมินได้ว่าสงครามค่าเงินรอบใหม่นี้อาจจะกินเวลาไม่นาน แต่การที่หลายประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่แข็งแกร่ง อาทิ มีหนี้สาธารณะสูง มีปัญหาขาดดุลบัญชีต่าง ๆ เรื้อรัง รวมทั้งมีทุนสำรองระหว่างประเทศไม่เพียงพอในการรักษาเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน เริ่มดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวในระยะยาว และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในที่สุด เรียกได้ว่าการดำเนินนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศอาจมีผลได้ไม่คุ้มเสีย

 

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก หากพิจารณาค่าเงิน 3 สกุลหลักที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ยังพบว่ามีทิศทางที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว เนื่องจากเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันมาก และการดำเนินนโยบายการเงินก็เป็นไปคนละทิศคนละทาง

 

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทในปัจจุบันเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นราว 1% เมื่อเทียบกับต้นปี 2558 ขณะที่เงินบาทเทียบกับเงินยูโรแข็งค่าขึ้นกว่า 12% และยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อจากมาตรการ QE ที่ยุโรปนำมาใช้ ซึ่งยังไม่นับรวมประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ที่ค่าเงินเคลื่อนไหวแตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นความยากลำบากของทั้งผู้ที่มีหน้าที่หลักในการดูแลค่าเงิน รวมถึงผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน

 

สิ่งที่ผู้เขียนค่อนข้างแน่ใจ คือ เราจะติดอยู่ในภาวะที่ค่าเงินเต็มไปด้วยความผันผวนต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงอยากฝากถึงผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs ที่ควรเตรียมเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับความผันผวนที่มีแนวโน้มรวดเร็วและรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ

 

Disclaimer : คอลัมน์นี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 6 เมษายน 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

 

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 เม.ย.) เนื่องจากข้อมูลแรงงานที่อ่อนแอของสหรัฐส่งผลให้นักลงทุนแห่ซื้อสัญญาทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 17.7 ดอลลาร์ หรือ หรือ 1.47% ปิดที่ 1,218.60 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 40.9 เซนต์ ปิดที่ 17.11 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ทะยานขึ้น 25.9 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,180.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 22.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 768.80 ดอลลาร์/ออนซ์

 

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 126,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2013 จากระดับ 264,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 5.5% ในเดือนมี.ค.

 

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานที่ซบเซาของสหรัฐอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นายเดวิด สต็อคตัน อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเฟด (ช่วงปี 2543-2554 ) ซึ่งปัจจุบันเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำสถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ปีเตอร์สัน กล่าวว่า นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดไม่ได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ แต่กลับ “ให้ความสนใจกับตลาดแรงงานมากกว่า" ในการแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มี.ค.

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 7 เมษายน 2558)

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โบรกฯเตือนปลาย เม.ย.-พ.ค. ตลาดหุ้นผันผวนรุนแรงอีกรอบ จับตาหลัง บจ.จ่ายปันผล ผู้ถือหุ้นต่างชาติเตรียมขนเงินกลับกว่า 7 หมื่น ล. กดดัน "บาทอ่อน" สัญญาณสหรัฐขึ้นดอกเบี้ย ก.ย.นี้ฝรั่งเทขายหุ้นต่อ สภาธุรกิจตลาดทุนชี้ดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุน "วูบหนัก" จากปัจจัยเสี่ยง "เศรษฐกิจ-การเมือง"

 

 

 

จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 1 เม.ย. 2558 นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิกว่า 10,660.16 ล้านบาท และหลังจากประกาศยกเลิกใช้กฎอัยการศึกตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 ทำให้คาดหมายว่า สถานการณ์ตลาดหุ้นจะดีขึ้น โดยวันที่ 2 เม.ย. นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 762.48 ล้านบาท ด้วยมูลค่าซื้อขายรวม 43,331.25 ล้านบาท

 

นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า ผลสำรวจความคิดเห็นนักลงทุนประจำเดือนเมษายน 2558 ต่อดัชนีความเชื่อมั่นในอีก3 เดือนข้างหน้า (เม.ย.-มิ.ย.) พบว่า ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 78.90 จากเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 118.64 หรือลดลง 33.5% เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าทิศทางการซื้อขายในตลาดจะค่อนข้างซบเซา โดยปัจจัยที่นักลงทุนให้ความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนมากที่สุด คือ สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ รองลงมาก็คือ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล, สถานการณ์ต่างประเทศ และปัจจัยการเมือง

 

 

ผวาต่างชาติขนเงินปันผลออก

 

นายกิจพล ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าแม้ในช่วงเดือน เม.ย. ภาพรวมตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนเป็นบวกแต่สัญญาณความผันผวนรุนแรงของตลาดหุ้นไทย คาดว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายเดือน เม.ย.นี้ เนื่องจากมีแรงกดดันจากปัจจัยนักลงทุนต่างชาติที่เป็นบริษัทข้ามชาติ จะทยอยรับเงินปันผลตั้งแต่เดือน เม.ย.-พ.ค.ของทุกปี ซึ่งการนำเงินออกนอกประเทศจำนวนมากจะมีผลกระทบต่อค่าเงินบาทที่อ่อนค่า จึงเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนต่างชาติบางส่วนที่วิตกกังวลต่อการอ่อนค่าของเงินบาท เร่งขายหุ้นออกมาก่อนเพื่อล็อกกำไรบางส่วนไว้

 

ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลของฝ่ายวิจัยของ บล.กสิกรไทยระบุว่า ในปีนี้บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทยประกาศจ่ายปันผลรวมกว่า 2.17 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินปันผลของผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติประมาณ 7.7 หมื่นล้านบาท โดยประเมินว่านักลงทุนต่างชาติน่าจะนำเงินปันผลออกนอกประเทศประมาณ 7.3 หมื่นล้านบาท จึงมีโอกาสที่จะกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

 

ตปท.ชิงขายหุ้นหนี "บาทอ่อน"

 

นายกิจพลกล่าวว่า นอกจากนี้ทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐที่คาดจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.ย.นี้ ยังถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่อาจส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเตรียมปรับพอร์ตลงทุนล่วงหน้าประมาณ 3-5 เดือน น่าจะเริ่มเห็นตั้งแต่เดือน พ.ค.เป็นต้นไป จึงอาจส่งผลต่อทิศทางตลาดหุ้นอ่อนตัวลงอย่างมาก มีแนวโน้มที่ดัชนีจะปรับลดลง แต่ไม่น่าจะต่ำกว่าระดับ 1,440 จุด

 

"สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 2 ยังคงมีทิศทางผันผวนรุนแรง แม้ช่วงเข้าสู่เดือน เม.ย. ดัชนีอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นระดับ 1,540-1,560 จุด ถือว่าให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ จากปัจจัยหนุนของตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกที่น่าจะออกมาดีกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้ แต่หลังจากช่วงปลายเดือน เม.ย.ถึงเดือน มิ.ย. คาดว่าภาพรวมตลาดหุ้นน่าจะออกแนวเป็นลบมากขึ้น" นายกิจพลกล่าว

 

นายกิจพลแนะนำว่า นักลงทุนควรฉวยโอกาสในช่วงต้นเดือน เม.ย.ที่ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นในการปรับพอร์ตการลงทุนใหม่ โดยการ "ขายหุ้น" ออกมาเพื่อ "ลดพอร์ต" การลงทุน และถือเงินสดมากขึ้น สัดส่วนประมาณ 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด จากเดิม 30% เพื่อรับมือกับความผันผวนข้างหน้าในช่วงปลายเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2558

 

 

ปัจจัยการเมืองกลับมาร้อนแรง

 

นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ยังถูกกดดันจากปัจจัยการเมืองและภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้า แม้ว่าจะมีการยกเลิกใช้กฎอัยการศึกและเปลี่ยนมาใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 อาจทำให้ดูภาพภาวะการเมืองมีโอกาสกลับมาร้อนแรงมากขึ้น

 

"อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ Sentiment การลงทุน จึงต้องติดตามว่าการใช้มาตราดังกล่าวจะกระทบต่อภาคธุรกิจมากน้อยแค่ไหน" นายประกิตกล่าว

 

ส่วนทิศทางฟันด์โฟลว์หลังการยกเลิกกฎอัยการศึกมองว่า การที่จะดึงให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติกลับเข้ามาได้มากหรือไม่ ขณะนี้ยังไม่ปรากฏสัญญาณการไหลเข้ามาอย่างชัดเจน แต่ในทางตรงกันข้ามยังเห็นแรงขายสุทธิออกในวันที่ 1 เม.ย.กว่า 2.2 พันล้านบาท ซึ่งอาจเป็นเพราะจุดสนใจหลักของนักลงทุนมองข้ามไปดูที่สถานการณ์ที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งแล้ว

 

 

ศก.ฟื้นช้า-กินบุญเก่าได้อีก 2 ปี

 

ส่วนปัจจัยเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้าในช่วงที่ผ่านมา นายประกิตกล่าวว่า ยังอาจส่งผลต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วงไตรมาส 1/2558 ออกมาไม่ดีนัก ซึ่งกดดันให้นักวิเคราะห์ต้องปรับลดประมาณการลง และจะกดดันภาวะตลาดหุ้นไทยลดลงได้ จึงแนะนำให้นักลงทุน "ทยอยลด" พอร์ตการลงทุนลงเหลือ 30% และถือเงินสดราว 70% โดยคาดว่าดัชนีน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,480- 1,530 จุด

 

ด้านนายกิติชัย เตชะงามเลิศ นักลงทุนรายใหญ่ กล่าวว่า ปัจจัยที่รัฐบาลใช้มาตรา 44 ในการบริหารประเทศ ไม่ได้เป็นปัจจัยบวกหรือลบต่อนักลงทุนต่างชาติที่จะเทขายหุ้นไทย แต่คิดว่าน่าจะเป็นผลจากที่ประเทศไทยเป็นคนป่วยของเอเชีย รองจากประเทศญี่ปุ่น โดยจีดีพีปี 2557 ที่เติบโตเพียง 0.7% เป็นภาพสะท้อนพื้นฐานเศรษฐกิจไทยย่ำแย่ ถึงแม้ราคาน้ำมันลดลงมาก แต่ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ขณะที่ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง และยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตอีก จนทำให้ภาคส่งออกดูมืดมน ซึ่งเวลานี้ก็หวังเพียงกลจักรของภาครัฐบาลที่จะใช้จ่ายช่วยเศรษฐกิจเท่านั้น

 

"ภายใต้โครงสร้างเศรษฐไทยปัจจุบันนี้ก็คิดว่าไปได้ เพราะกินบุญเก่าได้อีก 1-2 ปี แต่ในมุมนักลงทุน ถ้าเปรียบประเทศไทยเป็นหุ้นตัวหนึ่งของโลก ก็เรียกว่าพื้นฐานไม่ดี และอนาคตในระยะ 3-5 ปี ก็ไม่แน่ใจว่าจะดีหรือไม่ ซึ่งเทียบกับฟิลิปปินส์ที่น่าสนใจลงทุนกว่า ส่วนแรงขายต่างชาติคิดว่าคงเหลือไม่เยอะแล้ว เพราะ 2 ปีก่อนขายไปมาก ซึ่งช่วงนี้ที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมองว่าระยะสั้นอยู่แถว 1,530-1,550 จุด ก็จะมีการปรับฐานอีกรอบ หากต่างชาติจะกลับมาซื้อหุ้นไทยอีก ก็คงต้องดูว่ามีสตอรี่อะไรที่กระตุ้นให้ต่างชาติหันมา" นายกิติชัยกล่าว

 

 

อุ๋ยเชื่อ ม.44 ดีกว่าอัยการศึก

 

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวในงานสัมมนา SCB Investment Symposium 2015 ว่า การที่รัฐบาลใช้มาตรา 44 น่าจะดีกว่ากฎอัยการศึก และทำให้การท่องเที่ยวของไทยค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น และน่าจะช่วยทดแทนการส่งออกที่ติดลบได้บ้าง ซึ่งปีนี้คาดว่าส่งออกไทยไม่ขยายตัว หรือโตแค่ 0% ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

 

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มองไปในระยะข้างหน้าเห็นคลื่นลูกใหญ่อาจก่อตัวในตลาดการเงินโลก คือ ความผันผวนจากทิศทางการดำเนินนโยบายที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่การคาดการณ์ของนักเศรษฐกิจศาสตร์ที่ว่า ขณะนี้เศรษฐกิจโลกกำลังปรับตัวเข้าหาจุดสมดุลหลังตกอยู่ในภาวะชะงักงัน นับตั้งแต่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

 

"ความเสี่ยงจากความผันผวนในช่วงที่ตลาดเงินปรับตัวจะยังคงอยู่กับเราไป อีกระยะหนึ่ง จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ทุกองคาพยพของเศรษฐกิจต้องเตรียมวางแผนและ ปรับตัวเพื่อป้องกันและรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นธปท.ก็มีหน้าที่สร้าง ความน่าเชื่อถือความมั่นใจให้กับนักลงทุน และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมได้ทันท่วงที ภายใต้กรอบเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น" นายประสารกล่าว

 

นายประสารกล่าวถึงรัฐบาลใช้มาตรา 44 บริหารประเทศว่า คงส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนบางประเทศบ้าง เนื่องจากมาตรา 44 อำนาจจะผูกขาดกับตัวบุคคล ซึ่งจะไม่มีการคานอำนาจในส่วนของสถาบัน ซึ่งบางประเทศอาจไม่คุ้นเคยกับการบริหารประเทศแบบนี้ จึงควรอธิบายให้ต่างชาติเข้าใจถึงกรณีพิเศษและเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น และประเทศไทยกำลังพยายามที่จะดำเนินการเพื่อให้เข้าสู่ระบบที่มีรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง โดยต้องอธิบายถึงกรอบเวลาให้ชัดเจนด้วย

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 6 เมษายน 2558)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

NEW YORK/SINGAPORE: Gold rose to a seven-week high on Monday, climbing for the second straight session after US jobs rose at the slowest pace in more than a year, fueling expectations the US Federal Reserve could postpone an anticipated rate increase.

Nonfarm payrolls rose by 126,000 last month, less than half February’s increase and the smallest gain since December 2013, the Labor Department said on Friday.

The data pushed the US dollar lower early, making dollar-denominated gold cheaper for holders of other currencies, but gold prices pared gains as the greenback later turned higher.

That data could prod the US central bank to delay a rate increase that analysts hadexpected to come in June or September amid signals from the Fed it was ready to tighten monetary policy in view of a strengthening labor market.

“I think people are feeling comfortable being long gold after the payrolls data,” said Yuichi Ikemizu, branch manager at Standard Bank in Tokyo. Spot gold was up 0.6 percent at $ 1,217.66 an ounce at 2:08 p.m. EDT (1808 GMT), after rising 1.2 percent to the highest since Feb. 17 at $ 1,224.10.

US gold for June delivery settled up $ 17.70, or 1.5 percent, at $ 1,218.60 an ounce.

A delay in the first US rate increase since 2006 would burnish gold’s draw as a safe-haven asset.

Eli Tesfaye, senior market strategist for RJO Futures in Chicago, said market participants are now expecting a rate increase in September or later this year.

“The sentiment is changing so they’re probably going to be forced to push interest rates further down the road if the numbers are not looking as good, so you get interest buyers coming in to push the market,” Tesfaye said, noting short-covering.

Technical buying also lifted prices above $ 1,200, Tesfaye said.

The Fed may postpone its rate hike after Friday’s employment report, said Mizuho Bank. “What’s more, it implies that the pace of tightening may be more gradual,” the bank said in a note.

Financial firm Markit said its final reading of its Purchasing Managers Index for the services sector rose in March to the highest since August.

Other precious metals rallied, with spot silver up 0.3 percent at $ 17.05 per ounce. Spot palladium jumped 3.8 percent to $ 768.50 an ounce and platinum climbed 1.7 percent to $ 1,175 an ounce after hitting a one-month high of $ 1,184.25 earlier.

Copyright Reuters, 2015 (07/04/2015)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับป๋า

 

ใกล้จะหยุดยาวแล้ว

 

:uu :uu :uu :uu :uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถึงป๋า ขอบคุณที่ แปะ โปร เบอร์เกอร์คิงให้ ไปใช้แล้ว ของลดราคา เค้าคงลดขนาดลงรึป่าว ชิ้นเล็กเท่าแมคเลย อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

LONG GOLD above 1208 SL 1205 TP 1222-1228-1234-1238-1246-1252

SHORT GOLD below 1198 SL 1201 TP 1192-1188-1178-1166

 

มาเริ่มยามค่ำคืนกัน เริ่มจากจุดต้าน 1208 จะเป็นยังไง ในเมื่อรหัส 5,35,9 ยังคงสัญญานแนวโน้มบวกต่อราคาทอง

post-775-0-47847000-1428409864.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้มาตอนเกือบค่ำ เข้าห้องฯ ไม่ได้ ออกจากระบบไป เพราะเข้าเวปฯ ไม่ได้ พอจะลองเข้ามา ลืม Username ที่เข้าระบบ 555

 

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางราคาทอง ยังคงมีแนวโน้มบวก เพราะเส้นดำเส้นแดง ยังไม่ได้มีการตัดกันครั้งใหม่ แนวรับ 1208 แนวงงงวย 1198-1208

post-775-0-26250500-1428488916_thumb.jpg

post-775-0-96075500-1428488931_thumb.jpg

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์ สัญญานนำทางยังคงแนวโน้มอ่อนค่า เพราะเส้นดำเส้นแดงยังไม่ตัดกันอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนแนว ดังนั้น ยังเหมือนเดิม

post-775-0-99578200-1428489139_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก มองราคาทองคำผันผวน หลังเด้งรับข่าวเชิงบวกอดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตือนการขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไปจะกระทบต่อเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นบวกกับธนาคาร กลางยุโรปประกาศเพิ่มเพดานเงินกู้ให้กรีซ ทำให้ความน่าสนใจของสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำลดน้อยลงไป จึงมองกลยุทธ์ทยอยเลือกเปิดสถานะ Long Gold Futures ในทุก Series และหากราคาต่ำกว่าแนวรับ 1190 เหรียญต่อทอยออนซ์ แนะ Cut Loss

 

บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินแนวโน้มทองคำประจำสัปดาห์นี้ว่า ราคาทองเริ่มมีการปรับลงเพื่อพักฐานระยะสั้นหลังจากขึ้นมาต่อเนื่องจบรูปแบบ V-SHAPE ขาขึ้น แต่คาดว่าการปรับลงจะเกิดขึ้นชั่วคราว เพื่อลดความร้อนแรงหลังจบแนวขึ้น V-SHAPE เท่านั้น จากสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1,208.76 เหรียญต่อทอยออนซ์ ภายหลังจากนายเบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเตือนเกี่ยวกับการยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ย 0% (ZIRP) เร็วเกินไป

 

โดยระบุว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปจะเป็นการกระทำที่ผิด เพราะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และกำลังฟื้นตัวจะไม่สามารถรับมือกับต้นทุนการกู้ยืมที่มากขึ้นได้ ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 189,000 รายในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 225,000 ราย และ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 126,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2013 จากระดับ 264,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 5.5% ในเดือนมี.ค.ที่แสดงถึงความอ่อนแอในตลาดแรงงานทำให้เฟดอาจมีการพิจารณา เลื่อนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป

 

นอกจากนี้ทองคำได้รับความสนใจในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยลดลงเนื่องจากธนาคาร กลางยุโรป (ECB) ประกาศเพิ่มเพดานเงินกู้ฉุกเฉินให้แก่กรีซเป็น 7.18 หมื่นล้านยูโร จาก 7.11 หมื่นล้านยูโร เพื่อเปิดทางให้ภาคธนาคารของกรีซสามารถกู้ยืมเงินภายใต้โครงการให้ความช่วย เหลือฉุกเฉินทางการเงินได้ทำให้กรีซจะไม่ผิดนัดชำระหนี้

 

ขณะที่ราคามีแนวโน้มจะสร้างรูปแบบกลับตัวในรูปแบบหัวและไหล่ขาขึ้นตามมา หลังจากแนวรับเส้นค่าเฉลี่ย 5 และ 10 วันยังรองรับการปรับลงของราคาได้และทำให้เกิดแนวรับในรูปแบบไหล่ขวาตามมา อย่างไรก็ตามค่าสัญญาณ FAST STOCHASTICS ที่เกิดสัญญาณ BEARISH DIVERGENCE จะสร้างแรงกดดันให้ราคามีแนวโน้มพักตัวลงอีกระยะหนึ่ง แต่จะเป็นการพักตัวออกข้างมากกว่าปรับลงต่อเนื่อง เนื่องจากแรงหนุนจากแนวรับไหล่ขวา และค่าสัญญาณ RSI ที่เป็นบวกยังเป็นแรงหนุนอยู่ และมีแนวโน้มผลักดันให้ราคาปรับขึ้นรอบใหม่ตามแนวไหล่ขวาขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อยืนยันการขึ้นตามรูปแบบราคาต้องไม่ปรับลงต่ำกว่าแนวรับ 1190 เหรียญต่อทอยออนซ์ หากต่ำกว่าจะหักล้างแนวขึ้นและมีโอกาสปรับลงต่อเพื่อหาฐานราคารอบใหม่

 

ดังนั้นแนะนำกลยุทธ์การลงทุนทองคำเป็น ทยอยเลือกเปิดสถานะ Long Gold Futures ในทุก Series ยกเว้นลงมาต่ำกว่าแนวรับ 1190 เหรียญต่อทอยออนซ์ ให้ Cut Loss หรือกลับมาเปิดสถานะ Short Gold Futures แทน โดยให้แนวต้านไว้ที่ระดับ 1225 - 1240 เหรียญต่อทอยออนซ์ โดยปัจจัยที่น่าสนสนใจติดตามต่อ คือการรายงานประชุมเฟด และยอดผู้ขอรับสวัสดิการของสหรัฐในวันนี้ และการรายงานตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อของจีน และดัชนีราคาผู้ผลิตจีน ในวันศุกร์นี้

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 8 เมษายน 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"โมเบียส"ชี้ตลาดหุ้นจีนมีแนวโน้มปรับตัวลง 20% หลังจากพุ่งร้อนแรงเกินไป

 

 

มาร์ค โมเบียส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทมเพิลตัน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต กรุ๊ป ซึ่งมีทรัพย์สินภายใต้การบริหารประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นจีนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วจนเกินไป หลังจากที่ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงที่สุดในโลกจนส่งผลให้ค่าดัชนีพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี

นายโมเบียสระบุว่า การปรับตัวลดลง 20% ของดัชนีเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดยดัชนีเซี่ยงไฮ้ตลาดหุ้นจีนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 89% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในโลกในบรรดาตลาดหุ้นใน 92 ประทศที่มีการติดตามข้อมูล

แม้ว่าตลาดหุ้นจีนจะยังคงซื้อขายกันอย่างคึกคัก แต่ตัวเขาเองก็เริ่มใช้ความระมัดระวังในระยะใกล้นี้ หลังจากที่นักลงทุนแห่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใหม่จนสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ยอด margin debt ก็แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน ตลาดหุ้นจีนคงจะยังไม่ถูกนำไปคำนวณในดัชนีของบริษัท MSCI Inc. ในปีนี้ ซึ่งเป็นการจำกัดอุปสงค์จากนักลงทุนต่างประเทศ

"ดัชนีปรับตัวขึ้นสูงและเร็วจนเกินไป" เขากล่าว

ทั้งนี้ นักลงทุนจีนมียอดเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่ 1.7 ล้านบัญชีในสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 27 มี.ค. และมียอดกู้เงินสดเพื่อมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์รวมกันสูงกว่า 1 ล้านล้านหยวน (1.61 แสนล้านดอลลาร์)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นึกว่า ป๋า เที่ยวก่อนใคร ๆ

 

ขอบคุณนะครับ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...