ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ความหวังเล็กๆ ที่ราคาทองจะขยับขึ้นมาได้ ก็จากที่รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของ USD ยังคงแนวโน้มด้านอ่อนค่าของค่าเงิน จังหวะอ่อนค่าระหว่างวันย่อมมีให้เห็น หรืออาจจะช่วง 14:30-15:00 น. จากรายงานยุโรป บ่ายนี้

post-775-0-57775600-1429752877_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรปบ่ายนี้ โพลว่าดีขึ้น โอมเพี้ยง ให้ดีจริงเถอะ

post-775-0-04987400-1429752981_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถานการณ์วันนี้ ดูจากราคาปิดรายวัน รายงานเศรษฐกิจที่จะออกมา อาจมีรถไฟเหาะตีลังกา 1193-1185-1178

post-775-0-07429300-1429753236.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ที่อ่อนค่าลง อาจพยุงราคาทองไทยได้นิดเดียว 32.41 - 32.45 จากที่เมื่อวาน 32.37

post-775-0-35985300-1429753338_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในวันพุธ หลังจากมีการเปิดเผยตัวเลขยอดขายบ้านเก่าในสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และข้อมูลรายได้บริษัทจดทะเบียน...

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 22 เม.ย. ในแดนบวก โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 88.68 จุด หรือ 0.49% ปิดที่ 18038.27 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 10.67 จุด หรือ 0.51% ปิดที่ 2107.96 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กเพิ่มขึ้น 21.07 จุด หรือ 0.42% ปิดที่ 5035.17 จุด

 

สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (NAR) ของสหรัฐฯ เผยว่า ตัวเลขยอดขายบ้านเก่าแบบเทียบปีต่อปีในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 6.1% เป็น 5.19 ล้านหน่วย ซึ่งถือว่าเร็วที่สุดในรอบ 18 เดือน

 

โบอิ้ง บริษัทจดทะเบียนดาวโจนส์ หุ้นตก 1.4% แม้กำไรสุทธิของบริษัทจะเพิ่มขึ้นก็ตาม เพราะพบว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 787 เพิ่มสูงขึ้น แต่หุ้นของบริษัทอื่นๆ เช่น แมคโดนัลด์ และ โคคา-โคลา เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่บริษัทจดทะเบียนของ เอสแอนด์พี 103 บริษัทที่เปิดเผยผลประกอบการมาจนถึงตอนนี้ มีรายได้เหนือความคาดหมายถึง 78 แห่ง ตามคาด 10 แห่ง และต่ำกว่าที่คาดอีก 15 แห่ง.

 

 

 

ทีี่มา ไทยรัฐ (23 เมษายน 58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(REPEAT) สหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค.พุ่งเกินคาด สูงสุดรอบ 18 เดือน (23/04/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองในเดือนมี.ค.ดีดตัวขึ้น 6.1% สู่ระดับ 5.19 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐกำลังฟื้นตัวขึ้น หลังจากมีการขยายตัวที่อ่อนแอตั้งแต่ช่วงต้นปี

 

นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดขายบ้านมือสองในเดือนมี.ค.อยู่ที่ระดับ 5.03 ล้านยูนิต จาก 4.89 ล้านยูนิตในเดือนก.พ.

 

เมื่อเทียบรายปี ยอดขายบ้านมือสองในเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 10.4%

สำหรับราคากลางของบ้านมือสองในเดือนมี.ค.ดีดตัวขึ้น 7.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะระดับ 212,100 ดอลลาร์ต่อยูนิต

 

ที่มา สำนักข่าวอินดฟเควสท์ (23/04/58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้เชี่ยวชาญคาดจีนผ่อนคลายนโยบายกู้จำนองบ้านเพิ่มเติม หลังปรับลด RRR (23/04/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

Rong360.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลการเงินคาดว่า จีนจะผ่อนคลายนโยบายเงินกู้จำนองเพิ่มเติมหลังจากที่ธนาคารกลางได้ปรับลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงในอัตราที่สูงเกินคาดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

 

ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนประกาศลดสัดส่วนการกันสำรองต่ำสุดที่ธนาคารต้องดำรงไว้ลงอีก 1% โดยมีผลเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ธนาคารขนาดใหญ่ต้องดำรงสัดส่วนการกันสำรองที่ 18.5% ของเงินฝากภายหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

 

การปรับลด RRR ดังกล่าวนับเป็นครั้งที่ 2 ของธนาคารกลางจีนหลังจากที่ประกาศลด RRR ลงครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 4 ก.พ.

 

ทั้งนี้ การปรับลด RRR มีจุดประสงค์เพื่อให้ธนาคารปล่อยเงินกู้เพิ่มขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพการเติบโตของเศรษฐกิจและเพื่อผ่อนคลายกฎระเบียบเกี่ยวกับเงินกู้จำนองเพิ่มเติม

 

รายงานของ Rong360.com ระบุว่า การผ่อนคลายนโยบายเงินกู้จำนองจะช่วยกระตุ้นยอดขายบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่อันดับหนึ่งและอันดับสองที่ตลาดกำลังร้อนแรง รวมทั้งส่งผลให้ราคาบ้านปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า ในบรรดาธนาคาร 525 แห่งของจีนที่ Rong360.com ติดตามข้อมูล มี 223 แห่งที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก ซึ่งมีสัดส่วน 42.56% ของจำนวนทั้งหมด สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22/04/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลสำรวจชี้ศก.สหรัฐขยายตัวมากขึ้นใน Q2 แต่ดอลล์แข็งจำกัดการเติบโต (23/04/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ผลการสำรวจนักวิเคราะห์พบว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวมากขึ้นในไตรมาส 2 แต่การแข็งค่าของดอลลาร์จะเป็นปัจจัยจำกัดการเติบโต และส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยอาจปรับขึ้นอย่างเร็วที่สุดในเดือนก.ย. แทนที่จะเป็นเดือนมิ.ย.

 

ทั้งนี้ จากการสำรวจนักวิเคราะห์ 85 ราย พบว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัว 3.1% ในไตรมาส 2 ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ในเดือนที่แล้วที่ระดับ 3.0% ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 2.8% ในปีนี้

 

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวในไตรมาส 1 ลงสู่ระดับ 1.2% จาก 2.3% ที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้

 

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังได้ระบุว่าการแข็งค่าของดอลลาร์ ซึ่งได้ปรับตัวขึ้นมากกว่า 20% นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยคาดว่าจะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างน้อย 0.5% ในปีนี้ ซึ่งจะทำให้เฟดชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินออกไป โดยจะไม่ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนเดือนก.ย.

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22/04/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอชเอสบีซี โฮลดิงส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนในเดือนเม.ย.ลดลงแตะ 49.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือน จาก 49.6 ในเดือนมี.ค.

 

ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว และดัชนีที่สูงกว่า 50 จะบ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตของจีนมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า

 

นางแอนนาเบล ฟิดเดส นักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซี กล่าวในแถลงการณ์ว่า ภาวะการดำเนินงานในภาคการผลิตจีนในเดือนเม.ย.ย่ำแย่ลงเล็กน้อยเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นในเดือนเม.ย.ปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี

 

นางฟิดเดสกล่าวว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ธุรกิจใหม่ๆลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน อุปสงค์ที่ค่อนข้างอ่อนแอก็ได้ตอกย้ำถึงแรงกดดันด้านเงินฝืดที่รุนแรงขึ้นในภาคการผลิต โดยราคาวัตถุดิบและผลผลิตต่างก็ปรับตัวลงในอัตราที่รวดเร็วมากขึ้น

 

ขณะเดียวกัน บริษัทในภาคการผลิตมีการจ้างงานลดลงเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 เมษายน 2558)

post-775-0-78413000-1429755798_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (22 เม.ย.) แม้มีการเปิดเผยข้อมูลยอดขายบ้านมือสองในสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนที่แล้ว

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0742 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.0735 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5045 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4925 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.87 เยน เทียบกับระดับ 119.70 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9696 ฟรังก์ จาก 0.9551 ฟรังก์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7772 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7707 ดอลลาร์

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนแรงลง แม้มีข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส โดยสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ยอดขายบ้านมือสองในเดือนมี.ค.ดีดตัวขึ้น 6.1% สู่ระดับ 5.19 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐกำลังฟื้นตัวขึ้น หลังจากมีการขยายตัวที่อ่อนแอตั้งแต่ช่วงต้นปี

 

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ายอดขายบ้านมือสองในเดือนมี.ค.อยู่ที่ระดับ 5.03 ล้านยูนิต จาก 4.89 ล้านยูนิตในเดือนก.พ.

 

ทั้งนี้ นักลงทุนยังคงจับตาดูสถานการณ์ความคืบหน้าประเด็นหนี้สินกรีซ ขณะที่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนจะประชุมกันในวันศุกร์นี้เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อกรีซ แม้จะมีการคาดการณ์กันว่าที่ประชุมจะยังคงไม่มีข้อตกลงใดๆเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีการประชุมยูโรกรุ๊ปในวันที่ 11 พ.ค.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 23 เมษายน 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยิ่งเข้าใกล้วันครบกำหนดชำระหนี้เข้ามาเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูเหมือนว่าการเจรจาระหว่างกรีซกับสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อกดดันให้กรีซเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศก็ยิ่งเข้าสู่สภาวะที่กลืนไม่ เข้า คลายไม่ออกมากยิ่งขึ้น

 

 

โดยเฉพาะความกังวลในประเด็นที่ว่า กรีซอาจจะล้างหนี้ทั้งหมด และตัดสินใจออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซน

 

สถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่เสถียรภาพ และหากเดินเกมผิดไปก็อาจจะเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของระบบสกุลเงินยูโรที่อียูสร้างขึ้นมาในเวลาหลายสิบปี และยังคุกคามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคด้วย

 

โดยในวันที่ 24 เมษายนนี้ รัฐมนตรีคลังจากชาติสมาชิกอียูทั้งหมดมีกำหนดการพบกันในเมืองริกาของลัตเวีย เพื่อหาทางออกในการช่วยเหลือให้กรีซชำระหนี้ หลังจากที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เจ้าหนี้รายใหญ่ทั้ง 2 รายของกรีซ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยอมยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ของกรีซออกไปอีก 4 เดือน จากเดิมที่จะครบกำหนดในเดือนพฤษภาคมนี้

 

อย่างไรก็ตาม ท่าทีของรัฐบาลกรีซ ที่นำโดย นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส และ นายยานิส วาโรฟาคิส รัฐมนตรีคลัง ที่ไม่ยอมรับข้อเสนอในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจในประเทศ น่าจะนำไปสู่ความล้มเหลวในการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายอีกครั้ง

 

ส่วน นายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รัฐมนตรีคลังของเยอรมนีเชื่อว่า การเจรจาในวันศุกร์นี้ ไม่น่าจะได้ข้อสรุปที่คืบหน้าจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่แต่อย่างใด ขณะที่นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า หากเจ้าหนี้ของกรีซไม่ยอมอ่อนข้อ กรีซน่าจะประสบปัญหาในการชำระหนี้มูลค่า 763 ล้านดอลลาร์ให้กับไอเอ็มเอฟ ในวันที่ 12 พ.ค.นี้ รวมทั้งหนี้อื่น ๆ อีกมูลค่า 11,800 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีกำหนดชำระในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมด้วย

 

ความกลัวที่ว่า หากอียูดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวต่อกรีซมากเกินไป จะยิ่งเป็นการบีบให้กรีซออกจากสถานภาพการเป็นสมาชิกยูโรโซน และผิดนัดชำระหนี้ ขณะที่รัฐมนตรีคลังจากอียูได้แต่มองสถานการณ์ต่าง ๆ ในเชิงบวก และหวังว่ากรีซจะยินยอมแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดย นายมาริโอ ดรากิส ประธานอีซีบีระบุว่า "ไม่ว่าความช่วยเหลือจากอียูจะส่งผ่านไปอย่างไร แต่กรีซจะต้องดำเนินบทบาทแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยตนเอง"

 

ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ นางมาเรียหลุยส์ อัลบูเกร์เก รัฐมนตรีคลังโปรตุเกสที่ระบุว่า แม้ว่าอียูจะเป็นฝ่ายหยิบยื่นทางออกให้กับกรีซ แต่กรีซต้องเป็นฝ่ายตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร ขณะที่นายเจอโรน ไดเซลบลูม รัฐมนตรีคลังเนเธอร์แลนด์ระบุว่า "ประธานาธิบดีอเล็กซิส ซีปราสเป็นที่นิยมในหมู่ชาวกรีซ แต่เขาต้องเลือกดำเนินนโยบายที่เด็ดขาดในการปฏิรูป"

 

ส่วน นายวารูฟาคิส รัฐมนตรีคลังของกรีซได้ออกมาส่งสัญญาณว่าไม่ต้องการออกจากยูโรโซนเช่นกัน โดยระบุกับผู้สื่อข่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า "ความคิดที่จะตัดประเทศใดประเทศหนึ่งออกจากยูโรโซน และหวังว่าส่วนที่เหลือจะไปต่อได้นั้นเป็นความคิดที่เล่นกับไฟ"

 

ขณะที่เจ้าหนี้ทุกคนของกรีซยืนยันหนักแน่นว่า จะไม่ยอมเลื่อนกำหนดเวลาชำระหนี้ให้กับกรีซอีกต่อไป กรีซจึงมีทางเลือกไม่มาก และต้องเร่งปฏิบัติตนตามเงื่อนไขการปฏิรูปให้เร็วที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนกลับเชื่อว่า ทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของกรีซคือ การยุติการกดดันจากอียูและไอเอ็มเอฟโดย นายอโชกา โมดี อดีตเศรษฐกรจากไอเอ็มเอฟ ที่กำกับดูแลโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในไอร์แลนด์ระบุว่า

 

"ทุกฝ่าย (อียู สหรัฐ ไอเอ็มเอฟ) ต้องยุติการกดดันการปฏิรูปในกรีซ และเงื่อนไขนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการยุติปัญหาเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ และการกดดันกรีซมากไป จะยิ่งเป็นการบีบให้สถานการณ์และความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายแย่ลง"

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 23 เมษายน 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายเกียรติก้อง เดโช นักกลยุทธ์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะรีบาวน์ขึ้นหลังจากที่เมื่อวานนี้ดัชนีฯได้ปรับตัวลงแรงจากแรงขายของกองทุนที่คาดว่าพอถึงทริกเกอร์ก็ขายออกมา แต่ตลาดฯก็มีสัญญาณดีจากนักลงทุนต่างชาติได้กลับมาซื้อ ดังนั้นการปรับฐานของตลาดฯมองว่าเป็นกาปรับฐานเพื่อที่จะไปต่อ

 

ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะปรับตัวขึ้นตามดาวโจนส์ที่เมื่อคืนที่ผ่านมาดีดตัวขึ้น โดยพรุ่งนี้ให้ติดตามการเจรจาหนี้ของกรีซกับทางกลุ่มเจ้าหนี้ แต่ขณะนี้บรรยากาศดูเหมือนจะผ่อนคลายลง หลังจากทางกรีซมีเงินเพียงพอที่จะเลี้ยงคนในประเทศ และมีจ่ายหนี้ไปได้ถึงมิ.ย. และยังมีการขยายวงเงินปล่อยกู้ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นด้วย ตรงนี้แม้ว่าการเจรจาจะไม่สำเร็จแต่ก็ไม่น่าเป็นกังวล

 

พร้อมให้แนวรับ 1,548-1,544 จุด ส่วนแนวต้าน 1,560-1,565 จุด

 

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน

 

- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(22 เม.ย.58)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 18,038.27 จุด เพิ่มขึ้น 88.68 จุด(+0.49%), ดัชนี

 

NASDAQ ปิดที่ 5,035.17 จุด เพิ่มขึ้น 21.07 จุด(+0.42%),ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,107.96 จุด เพิ่มขึ้น 10.67 จุด(+0.51%)

 

- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 93.38 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน เพิ่มขึ้น 16.00 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 178.53 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 42.30 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 13.05 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 8.21 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 6.48 จุด

 

- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(22 เม.ย.58)1,552.01 จุด ลดลง 17.34 จุด(-1.10%)

 

- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 851.63 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 เม.ย.58

 

- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(22 เม.ย.58) ปิดที่ 56.16 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 45 เซนต์

 

- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(22 เม.ย.58)ที่ 7.15 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

 

- เงินบาทเปิด 32.39/40 คาดวันนี้แกว่งกรอบ มองกรอบ 32.36-32.44

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...