ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddum

ถ้าวันหนึ่งเงินบาทแข็งค่าเป็น 25 บาท/ดอลลาร์ !?

โพสต์แนะนำ

สัปดาห์ นี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเป็น 29.955 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นช่วงเวลาที่ค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดในรอบ 13 ปีที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าเงินบาทไม่มีทีท่าว่าจะหยุดแข็งค่าได้

 

เงินบาทตอนเมื่อปลายปี 2551 ที่รัฐบาลชุดนี้เพิ่งเข้ามาบริหารประเทศอยู่ที่ประมาณ 34.98 ต่อเหรียญสหรัฐ แต่ เมื่อเวลาผ่านไปถึงสัปดาห์นี้ 2 ปี 10 เดือน เงินบาทก็มาอยู่ที่ 29.955 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็แปลว่านับตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแล้ว 14.37%

 

แต่ในความเป็นจริงเงินบาทก็ไม่ได้แข็งค่าอยู่เพียงประเทศเดียว แต่เมื่อเทียบกับประเทศสำคัญ ในช่วงเวลา 2 ปี 10 เดือนเหมือนกัน ก็จะพบค่าเงินของอีกหลายประเทศสำคัญๆที่ทยอยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงิน ดอลลาร์สหรัฐเช่นเดียวกัน ดังนี้

 

เงินวอน(เกาหลีใต้)แข็งค่าขึ้นประมาณ 17.94% เงินบาทแข็งค่าขึ้น 14.37 % เงินริงกิต(มาเลเซีย)แข็งค่าขึ้นประมาณ 12.75% เงินสิงคโปร์ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นประมาณ 11.38% เงินเยน(ญี่ปุ่น)แข็งค่าขึ้นประมาณ 9.79% เงินรูปีย์(อินเดีย)แข็งค่าขึ้นประมาณ 8.34%

 

2 ปี 10 เดือนที่ผ่านมาบางประเทศใช้วิธีฝืนค่าเงินตัวเองไล่ตามเกาะเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างเหนียวแน่น แต่เมื่อมีแรงกดดันก็ตัดสินใจให้มีการแข็งค่าเพียงเล็กน้อยเป็นพิธีแต่พองาม อันได้แก่ เงินหยวน (จีน)แข็งค่าขึ้นเพียงแค่ 2.32% ในขณะที่ฮ่องกงดอลลาร์เกาะติดกับเงินดอลลาร์สหรัฐมาเกือบตลอดก็เปลี่ยนแปลง เล็กน้อยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์เหรียญสหรัฐประมาณ 0.07% มิพักต้องพูดถึงเวียดนามที่ใช้วิธีประกาศลดค่าเงินของตัวเองไปหลายระลอกแล้ว

 

แม้แต่ยุโรปที่เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีนัก เงินยูโร ก็ยังแข็งค่าขึ้นประมาณ 2.96% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในรอบ 2 ปี 10 เดือนที่ผ่านมา

 

ปัญหาหลักในเวลานี้ก็คือเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าดิ่งลงไม่ หยุด สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจที่เสมือนเป็นการรุกฆาตและหาทางออก ไม่ได้

 

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้บริโภคนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาอย่างยาวนาน และแก้ไขปัญหาของตัวเองด้วยการออกพันธบัตรกู้เงินจากต่างประเทศทั่วโลกมา อย่างต่อเนื่อง ต้นปีที่ผ่านมาอัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาพุ่งทะยานสูงขึ้นอยู่ทีประมาณ 9.7% ภาคเอกชนชะลอการลงทุน โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากย้ายฐานการผลิตไปในประเทศที่แรงงานถูกกว่าไม่ว่าจะ เป็น จีน อินเดีย เวียดนาม ทำให้ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาต้องประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของตัวเอง

 

ผลการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งหลังสุดของ สหรัฐอเมริกาที่เข้าใกล้ 0% ได้ทำให้นักลงทุนทั่วโลกที่ถือเงินดอลลาร์สหรัฐ ต้องเทเงินเหรียญสหรัฐออกไปจากมือ เพราะด้านหนึ่งค่าเงินเหรียญสหรัฐก็อ่อนค่าไม่หยุด อีกด้านหนึ่งก็ได้รับผลอัตราดอกเบี้ยที่ไม่คุ้มค่า

 

ปัจจุบันจีนมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดประมาณ 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่นตามมาเป็นอันดับที่ 2 ประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเงินพันธบัตรของสหรัฐอเมริกาเอาไว้จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอันดับที่ 12 ประมาณ 175,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งยังมากกว่าสหรัฐอเมริกาที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงประมาณ 129,392 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

ลองจินตนาการดูว่าทุนสำรองของทุกประเทศทั่วโลกซึ่งมีอยู่รวม กันประมาณ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ถือเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาจำนวนมหาศาล รัฐบาลทุกประเทศย่อมอยากจะเปลี่ยนไปเป็นเงินสกุลอื่นที่มีแนวโน้มค่าเงินที่ แข็งค่าขึ้น หรือไม่ก็มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

 

และแน่นอนว่าปรากฏการณ์ที่เงินสกุลยูโรได้อ่อนค่าใกล้เคียงกับเงิน เหรียญสหรัฐ ก็แสดงสัญญาณภาวะเศรษฐกิจย้ายฐานการลงทุนไปในเอเชียอย่างมหาศาล ในขณะที่ประเทศในยุโรปหลายประเทศก็กำลังเผชิญหน้ากับการแบกรับต้นทุนความ เป็นรัฐสวัสดิการในภาวะที่เศรษฐกิจฝืดเคืองด้วยความยากลำบาก

 

นั่นเป็นสาเหตุที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปพยายามกดดันให้จีนต้องให้ค่า เงินหยวนแข็งค่าขึ้น เพื่อหวังจะให้เงินทุนไหลกลับมาที่สหรัฐอเมริกา และยุโรปอีกครั้ง

แต่การพัฒนาของทุนของจีนที่กำลังเติบโตเป็นฟองสบู่ร้อนแรงแบบก้าว กระโดดอย่างต่อเนื่องได้ทำให้จีนไม่สามารถจะถอยการสร้างงานให้กับจำนวน ประชากรมหาศาลของชาวจีนได้ ดังนั้นสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงยืนหยัดที่จะใช้นโยบายค่าเงินหยวนให้อ่อนค่า ลงไปใกล้เคียงดอลลาร์สหรัฐต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อนักลงทุน กองทุนต่างๆในโลก และรัฐบาลในหลายประเทศคิดปรับพอร์ตการลงทุนและการถือทรัพย์สินครั้งใหญ่ พร้อมๆกัน จึงเกิดปรากฏการณ์หลั่งไหลเข้ามาถือทรัพย์สินประเภทอื่นที่มีโอกาสให้ผลตอบ แทนมากกว่าการถือทรัพย์สินในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐที่กำลังด้อยค่าลงอย่าง ต่อเนื่อง รวมถึงทองคำและเงินสกุลต่างๆทั่วโลกที่เป็นระบบค่าเงินลอยตัวและมีแนวโน้ม ที่จะเก็งกำไรให้เงินสกุลนั้นแข็งค่าขึ้นได้

 

เงินกำลังไหลทะลักเข้ามาสู่เอเชียมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อยๆ เข้ามาถือทรัพย์สินในสกุลเงินอื่นๆที่ไม่ใช่ทั้งดอลลาร์สหรัฐ หรือเงินยูโร ด้วยเหตุนี้ค่าเงินของหลายประเทศจึงแข็งค่าขึ้น เพราะปริมาณเงินสกุลในหลายประเทศก็เป็นที่ต้องการมากขึ้นไม่เว้นแม้แต่เงิน บาทของไทย ที่ทยอยเข้ามาลงทุนมากในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น

เมื่อพิจารณาดูแล้วก็ต้องถือว่าค่าเงินบาทของประเทศไทยไม่ได้แข็งค่า อยู่เพียงชาติเดียว แต่ปัญหามีอยู่ว่าเงินบาทของไทยค่อนข้างแข็งค่าเกินหน้าไปในระดับแนวหน้า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เพราะประเทศไทยไม่เคยมีเป้าหมายทิศทางค่าเงินของประเทศควรจะกำหนดยุทธศาสตร์ ที่ชัดเจนกับเรื่องค่าเงินบาท จริงหรือไม่?

 

ค่าเงินบาทแข็งค่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือทำให้นำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรถูกลง ประชาชนใช้น้ำมันถูกลงกว่าเพื่อนบ้าน หนี้ต่างประเทศมีมูลค่าน้อยลง แต่ข้อเสียก็คือทำให้การส่งออกสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศมีความยากลำบาก ขึ้นในเรื่องราคา

 

แท้ที่จริงแล้วเงินบาทแข็งค่าเกินกว่าภูมิภาคไม่ได้กระทบตัวเลขการ ส่งออกในภาพรวมมากนัก เพราะสินค้าประเภทส่งออกที่มีสัดส่วนสำคัญเช่นรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หรือแผงวงจรไฟฟ้า ล้วนแล้วแต่ใช้วัตถุดิบนำเข้าทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็จะได้รับอานิสงฆ์จากการนำเข้าซึ่งเป็นต้น ทุนสำคัญถูกลงไปด้วย ส่วนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าเพื่อนบ้านก็น่าจะ เป็นสินค้าส่งออกที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นสัดส่วนสำคัญมากกว่า

 

ปัญหาคือที่รัฐบาลไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องไปกำหนดทิศทาง เพื่อตอบคำถามให้ชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรกับเงินบาทท่ามกลางกระแสไหลเชี่ยว กรากของเงินทั่วโลก ดังนี้

 

1. ค่าเงินบาทเป็นเรื่องของแบงก์ชาติที่ต้องทำงานเป็นอิสระ หรือเป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องทำงานตัดสินใจร่วมกับแบงก์ชาติเพราะถือว่ามี ผลกระทบต่อทุกคนในประเทศที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ

 

2. ระบบการลอยค่าเงินบาทแบบมีการจัดการนั้น แท้ที่จริงแล้วประเทศไทยมีความสามารถบริหารจัดการได้โดยมีเป้าหมายของชาติ หรือไม่ และมีมาตรการที่สามารถต้านทานกระแสทุนเก็งกำไรค่าเงินที่กำลังไหลเปลี่ยนทิศ มาในภูมิภาคนี้ได้จริงหรือไม่ และกล้าทำหรือไม่? หากมีเป้าหมายของชาติแต่บริหารจัดการไม่ได้ ระบบลอยค่าเงินที่เป็นอยู่เหมาะสมกับประเทศไทยในภาวะนี้อยู่ต่อไปหรือไม่?

 

3. การหลั่งไหลของทุนเข้ามาในประเทศในระลอกนี้ ประเทศไทยยอมเห็น “เงินบาท”ถูกเก็งกำไรได้หรือไม่แค่ไหนอย่างไร รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยต้อนรับทุนแบบไร้ขอบเขต หรือควรต้อนรับทุนที่อยู่ในประเทศระยะยาวเป็นหลัก หรือยอมรับได้กับทุนเก็งกำไรค่าเงินระยะสั้นแบบตีหัวเข้าบ้านเพื่อทำความ เสียหายให้กับประเทศหรือไม่ ?

 

4. ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่มีสูงถึง 175,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5.3 ล้านล้านบาท และบัญชีทุนสำรองเงินตราประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท รัฐบาลได้บริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้วจริงหรือไม่ ?

 

5. รัฐบาลได้สร้างกลไกเอื้ออำนวยให้เอกชนสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้เพียงพอ แล้วจริงหรือไม่? ทั้งระบบธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศ และโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน และระบบภาษี ดีพอแล้วหรือไม่?

 

เพราะถ้าปล่อยไปตามยถากรรมและยังไม่มีมาตรการใดๆเพิ่มเติม วันหนึ่งในอีกไม่นาน เราอาจเห็นค่าเงินบาทกลับไปแข็งค่าที่ 25 บาท/ดอลลาร์ เหมือนก่อนปี 2540 ก็ได้ ใครจะไปรู้

 

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000141672

ถูกแก้ไข โดย pornsook

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐบาลทำตัวเองทั้งนั้น ค่าเงินบาทแข็งค่าขี้นแทนที่จะมาควบคุมราคาสินค้าปัจจัยพื้นฐาน เช่น น้ำมัน ไฟฟ้าหรือของอุปโภค บริโภคที่ได้รับอานิสงค์จากค่าเงิน ให้ลดตามอัตราส่วนที่ควรจะเป็น ลดอัตราภาษีบางอย่างเพื่อเป็นการคืนเงินให้ประชาชนทางตรงโดยไม่มีการสูญเสียจากการคอรัปชั่น เงินเฟ้อก็จะเกิดน้อยลง ธปท.ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย เงินก็แข็งค่าช้าลง ผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ก็สามารถลดราคาสินค้าลงมาได้การแข่งขันกับต่างประเทศก็จะทำได้ดีขึ้น แต่อนิจจาเมืองไทย การเมืองก็คือ ตัวก รู ของก รู :angry: :angry: :angry:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้สึกว่า ...เราทำได้อย่างเดียว คือรอๆๆๆ และหวังว่ารัฐมนตรีคลังของเราและรัฐบาลนยุคนี้คงไม่หน่อมเแน้ม ให้พวกต่างชาติมาฉกฉวยผลประโยชน์จากประเทศของเราไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เย้ ถ้าดอลล์ละ 25 เมื่อไรจะไปเที่ยวเมกา 07baa27a.gif

ไม่รู้ว่าจะเครียดไปทำไมเน๊าะ มันจะแข็งก็คิดว่าทำไงเราจะมีความสุขดีกว่า70bff581.gifเครียดไปมันก็แข็งอยู่ดี (ถ้าไม่แข็งอาจเครียดกว่านี้ก็ได้em309.gif)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เย้ ถ้าดอลล์ละ 25 เมื่อไรจะไปเที่ยวเมกา 07baa27a.gif

ไม่รู้ว่าจะเครียดไปทำไมเน๊าะ มันจะแข็งก็คิดว่าทำไงเราจะมีความสุขดีกว่า70bff581.gifเครียดไปมันก็แข็งอยู่ดี (ถ้าไม่แข็งอาจเครียดกว่านี้ก็ได้em309.gif)

เดาว่าคุณหมอได้ไปเที่ยวอเมริกาปี2012ครับ เชื่อว่า2012อเมริกาเลอะครับ วันศุกร์ที่ผ่านมาราคาสินค้าเกษตรขึ้นแรงมากๆครับคุณหมอ(แต่ราคาNAVจะขึ้นช้ากว่าที่ควรจะเป็นประมาณ2วัน) สินค้าเกษตรผมยังถืออยู่ครบครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...