ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

8708_345381652231002_1266978880_n.jpg

 

 

กลางใจราษฎร์

June 7

 

"ความจงรักภักดีต่อชาตินั้น คือความสำนึกตระหนักในคุณของแผ่นดิน

อันเป็นที่เกิดที่อาศัย ซึ่งทำให้บุคคลเกิดความภูมิใจในชาติกำเนิด

และมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษา ประเทศชาติไว้ ให้เป็นอิสระมั่นคงตลอดไป"

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3 ธันวาคม พ.ศ.2529

ทรงพระเจริญ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

Peaceful Death shared Chamnongsri Hanchanlash's photo.

June 27

เรื่องของคนกลัวเจ็บ

 

 

~ เ รื่ อ ง ข อ ง ค น ก ลั ว เ จ็ บ ~

 

ถ้ามีใครพูดว่า ‘ตายไม่กลัว กลัวเจ็บ’คนวัยบ่ายคล้อยจะพากันพยักหน้าเห็นพ้อง

ในขณะที่หนุ่มเหน้าสาวน้อยจะอือออพอเป็นที เพราะความตายยังดูไกลลิบๆ

 

จำได้ว่าเมื่อยังเป็นเด็ก ข้าพเจ้าทนความเจ็บปวดทางกายได้ ถึงขนาดที่หมอยกนิ้วว่าอึดจริงๆ

สมัยนั้น(60 ปีมาแล้ว) การทำฟันทารุณมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกรอฟันด้วยเครื่องมือที่ละม้ายคล้ายเครื่องเจาะถนน...

 

กรืออ...รู้สึกเหมือนเจ้าหัวกรอเหล็กหมุนเจาะเข้าไป ฉีกประสาทเล็กประสาทน้อย จนกระจุย

เจ็บเสียวอย่าบอกใคร ยาชาก็ไม่ค่อยจะฉีดให้ “ก็แค่อุดนี่นาไม่ใช่ถอนสักหน่อย”หมอว่า

 

จำได้ว่าบีบแขนเก้าอี้ร้องบอกตัวเองในใจซ้ำ ๆ ว่าเดี๋ยวมันก็หยุดน่ะ

เดี๋ยวมันก็ต้องเสร็จ...แล้วในที่สุดก็หยุดจริงๆ เมื่อคุณหมอหน้าหวานกรอจนหนำใจแล้ว

(ในประสบการณ์ข้าพเจ้าหมอฟันล้วนแล้วแต่หน้าหวานๆ ทั้งนั้น)

 

มาวันนี้เป็นย่ายายคนกลับทนเจ็บได้น้อยลง ถามตัวเองว่า

ทำไมล่ะในเมื่อเราก็ถึงวัยที่ “ช่างมันเถอะ”

กับอะไรต่อมิอะไรได้ ยิ่งเจ็บใจยิ่งไม่มี เพราะยิ่งแก่ก็ยิ่ง “ช่างหัวมัน” เก่งขึ้นเรื่อยๆ

 

แพทย์บอกว่าความเสื่อมของร่างกาย ทำให้คนแก่ทนทานต่อความเจ็บปวดได้น้อยลง

 

นอกจากนั้นยังมีความแตกต่างกันของคนต่างวัย

สำหรับหนุ่มสาว ชีวิตมีอนาคตทอดไปไกล แต่เมื่อแก่ลงความตาย

ที่ครั้งหนึ่งดูเป็นจุดเล็กๆไกลๆก็ค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ คนอายุน้อยเชื่อว่าเจ็บแล้วก็หาย

แต่คนแก่นั้นไม่รู้ว่าความเจ็บปวดนั้น จะมีอะไรอื่นๆ ที่ไม่ดีนักตามมาหรือไม่

 

ความกลัวตายจึงเร้นมาในโฉมหน้าความกลัวเจ็บ “เจ็บ”ในที่นี้ครอบคลุมไปถึงอาการ

ปวด แสบ อึดอัด และความรู้สึกที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ

 

ความเจ็บปวดกับความตาย คล้ายกันตรงความรู้สึก ‘loss of control’

เหมือนขับรถอยู่ดีๆพวงมาลัยก็หายไปเฉยๆ ซ้ำร้ายเบรกก็เกิดหายไปซะด้วย

จิตแพทย์บอกว่า loss of control หรือการสูญเสียอำนาจควบคุม

หรืออำนาจจัดการนี่แหละ ที่มนุษย์เรากลัวนักหนา

 

พระอาจารย์ชยสาโรบอกว่า เวลาเจ็บมากๆ

จะเป็นตรงไหนก็ตามให้ตั้งใจพิจารณาความรู้สึกอย่างละเอียดซิว่า

ความเจ็บปวดนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เจ็บกายล้วนๆหรือ หรือมีส่วนของใจ

คือความกลัว และความเดือดร้อนทุรนทุราย คลุกเคล้าเข้าไปจนเป็นเจ็บคูณสาม

 

ถ้าจัดการกับใจได้แค่ไหน ก็จะทนความเจ็บกายได้ง่ายขึ้นแค่นั้น

ถ้าสามารถปล่อยวางความกลัว และความเดือดร้อนทุรนทุรายใจได้ในระดับหนึ่ง

สมองก็จะหลั่งสารให้ความเจ็บลดน้อยลงโดยธรรมชาติ แพทย์หลายคนบอกข้าพเจ้า

ว่าสมาธิและการปล่อยวาง ทำให้ความต้องการมอร์ฟีนลดน้อยลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

 

“ปล่อยวาง” ในที่นี้คือ “ปล่อย” ใจให้น้อมรับความเป็นจริงว่า

เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา

แม้ความเจ็บก็ไม่คงที่ เดี๋ยวมากเดี๋ยวน้อย และ “วาง” ความเคยชินที่จะควบคุมสภาวะที่ควบคุมไม่ใด้

ให้เป็นไปตามที่ต้องการ

 

เป็นเรื่องที่พูดง่าย ทำยาก แต่ก็คงจะต้องฝึกการ"ปล่อย" และ "วาง" ไปเรื่อยๆ

1009756_536006683127323_1970381128_n.jpgเพื่อให้ค่อยๆชำนาญขึ้นทีละน้อย ได้แค่ไหนก็แค่นั้น

 

เรื่อง : จำนงศรี หาญเจนลักษณ์ (ป้าศรี) จากหนังสือ “เข็นครกลงเขา”

เครดิตภาพ : w w w.wallpaperhi.com

โพสโดยผู้ช่วยป้าศรีค่ะ

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ใช่หรือไม่ว่าทุกวันนี้ "ความตาย" กำลังจะเป็นคำอุจาดไปแล้ว

หลายคนไม่กล้าพูดคำนี้หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนใกล้ตัวหรือตนเอง

แต่เลี่ยงไปใช้คำว่า "หมดลม" บ้าง "จากไป" บ้าง

 

ตราบใดที่ไม่สามารถฟังคำนี้ได้ด้วยใจปกติ ก็ยากที่จะต้อนรับความตายได้เมื่อมันมาอยู่ต่อหน้า

 

จากหนังสือ "สุขกับชีวิต เป็นมิตรกับความตาย" โดยพระไพศาล วิสาโล

 

 

1013056_621317037880046_131158312_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

Peaceful Death

Thursday

 

การใช้คำกับการเรียนรู้เรื่องความตาย

--------------------------------------

 

เมื่อทีมงานเผชิญความตายอย่างสงบเสนอว่า

"จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระตุ้นให้สังคมตื่นรู้เรื่องการเผชิญความตายอย่างสงบ"

แทบทุกคนพยักหน้าเห็นด้วย

 

แต่เมื่อจะต้องพูดถึงความตายจริงๆ กับผู้คนในวงกว้าง ในวงสนทนามีความกังวลเรื่องการใช้คำ และมีความเห็นออกเป็น 2 กลุ่ม

 

กลุ่มแรกเห็นว่า หากจะสื่อสารให้คนเข้าใจเรื่องความตาย

และการเตรียมตัวตายก็น่าจะใช้คำที่ตรงไปตรงมา เช่น "ตายดี" "ตายสงบ"

เพื่อสื่อสารให้ตรง เข้าใจง่าย และเป็นการยอมรับความตายในตัว

 

อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่า ถ้าจะพูดถึงความตายตรงๆ สังคมไทยอาจจะยังรับไม่ได้

เพราะยังรู้สึกหวาดเสียว หวาดหวั่นเกินกว่าจะมาเรียนรู้ว่าความตายคืออะไร

จะเตรียมรับมือได้อย่างไร ทางออกคือใช้คำที่นุ่มนวลลงมา เช่น

"การจากไป" "การเดินทางครั้งสุดท้าย"

 

เพื่อนๆ ล่ะคะ คิดอย่างไรกับความเห็นของคนทั้งสองกลุ่มนี้ ?

 

 

1010986_625552017456548_1935181290_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

541177_368776103173097_374214556_n.jpg

เรื่องเล่าวันหยุด

น้องชายคนเล็กของครอบครับหนึ่งซึ่งที่พี่ชายทั้งหมดสี่คน

เริ่มบริจาคเลือดเป็นเวลาเกือบสิบปีมาแล้ว

วันหนึ่งขณะที่คุยกันแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยเค้าก็บอกเราว่า "พี่ผมบริจาคตัวเป็นอาจารย์ใหญ่แล้วนะ"

เราตอบไปว่า "ดีแล้ว สบายใจดี"

-----ความตายกลายเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อละแล้วแม้แต่ร่างกาย

จะมีอะไรต้องกลัวตายอีกล่ะ

ขอบคุณโลกกลมๆใบนี้

ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

945309_10151691953059653_831962132_n.jpg

Somewhere between joys and griefs

These two angels play

Far away are tropical reefs

still connected, everyday

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...