ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

ตอนนี้เด็กสยามคงมีสภาพเช่นบทความค่ะคุณginger

ตอนนี้พี่ชายอีกคนเป็นมะเร็งในถุงน้ำดี ยอมรับว่าอึ้งเพราะพี่สะใภ้บอกว่าอยู่ในระยะแพร่กระจายแล้ว

ไม่มีการให้คีโมให้กลับบ้านได้เลย ไปหาของกินบำรุงเอา พอรู้เหมือนโดนทุบอีกรอบ มันชาไปหมด

ขนาดมีบทเรียนจากแม่แล้วแต่มันก็ไม่ชินค่ะ จะไปให้กำลังใจพี่เราเองกลับเหมือนคนเป็นง่อยซะเอง

คงต้องซ่อมแซมความรู้สึกอีกพักใหญ่ๆค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ ทั้งรูปภาพสวยๆและบทความดีๆ ตอนนี้มีแนวร่วมมาช่วยอีกแรง คุณfairyและเพื่อนๆท่าน

อื่นด้วย คงไม่มีอะไรจะคุยแล้วขอพักตั้งสติก่อนนะค่ะ

 

 

— Jovanotti

 

 

1016119_426561594117426_1479597475_n.jpg

 

สวัสดีค่ะเด็กสยาม ขอเป็นกำลังใจในช่วงเวลานี้

คงไม่ง่ายที่จะทำใจด้วยความรักความผูกพันที่มีต่อกัน และการรับรู้อย่างกระทันหัน

แม้แต่พยาลบาลอาชีพที่พบเจอกับผู้ป่วยทุกวัน

ก็ยังต้องสะเทือนใจเมื่อพี่สาวจากไป

คุณตา คุณยาย และน้าสองคนช่วยดูแลหลาน (ของลูกของพี่สาว)

และต่อมาราว ๑ ปีคุณยายก็ป่วยและพบว่าเป็นช่วงสุดท้าย โดยไม่มีอาการมาก่อน

คุณตาคือคนที่เสียใจที่สุดเพราะรักและผูกพันกับคุณยายมาก

แต่ก็ผ่านมาได้เพราะคุณตายังมีหลานๆและลูกสาวอีกสองคน

 

ฝากความรักและความห่วงใยและกอดของเพื่อนมาด้วย

แม้จะท้อแต่นี่คือด่านสำคัญที่ทุกคนสามารถเลือกว่าจะรับมืออย่างไร

แม้จะยาก......ก็คงต้องตกกระไดพลอยโจนอย่าง "คำสอนของท่านพุทธทาส"

 

ทีสำคัญที่สุด คือการใช้ช่วงเวลาที่เหลือด้วยความรักและเข้าใจ

ทำสิ่งที่อยากทำ ผ่อนคลาย

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การตายของยอดรัก...

 

 

 

by
(
) on Tuesday, September 6, 2011 at 7:13am

 

 

 

"ในกรณีของยอดรัก สลักใจ เมื่อรู้ว่ามีเวลาเหลืออยู่ไม่มาก

แทนที่เขาจะสู้กับความตายในห้องไอซียู

ยอดรักตัดสินใจกลับไปยังห้องพักเพื่อใช้เวลาน้อยนิดนั้นกับครอบครัวอย่างสงบ"

 

319469_274590539219366_5112608_a.jpg

แต่น่าเสียดายที่ความปรารถนาดังกล่าวของเขาดูจะไม่เป็นที่เข้าใจ

หรือได้รับการตอบสนองจากมิตรสหาย เพราะปรากฏว่าห้องของเขานั้นเต็มไปด้วยผู้คน

 

ในชีวิตนี้มีหลายสิ่งที่เราสามารถหนีห่างให้ไกลได้ แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่เราไม่อาจหนีพ้น ในกรณีเช่นนั้นไม่มีอะไรที่ดีกว่าการเตรียมรับมือกับมันด้วยใจสงบ ความตายเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น แต่คนจำนวนไม่น้อยกลับปฏิเสธ พยายามเบือนหน้าหนี ทำทีราวกับว่าตนจะอยู่อย่างเป็นอมตะ แม้เมื่อมันมาประชิดตัวก็ยังไม่ยอมรับความจริง คิดจะหนีต่อไปอีก

 

ทั้ง ๆ ที่ในยามนี้สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรก ก็คือ ยอมรับมันว่าเป็นความจริงที่จะต้องเกิดขึ้นกับตน การยอมรับเช่นนี้แหละคือ ขั้นตอนสำคัญที่สุดของของการเตรียมใจรับมือกับความตาย อีกทั้งเป็นเงื่อนไขประการแรกของการนำความสงบมาสู่จิตใจในยามวิกฤต

 

1.ยอดรัก สลักใจ เป็นผู้หนึ่งที่ยอมรับความจริงได้เมื่อรู้ว่าตนเองเป็นมะเร็งในขั้นร้ายแรง แทนที่จะเป็นทุกข์หรือตีโพยตีพายในชะตากรรม เขายังสามารถมองในแง่บวกว่า

“โชคดีเสียอีกที่รู้วันตายของตัวเอง” เพราะมีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าจะต้องตายเมื่อใด

แม้เขาอายุเพียง 52 ปี แต่เขาก็มองว่าตัวเอง “มีกำไรมากกว่าพ่อ” เพราะบิดาจากไปด้วยวัย 50 ปีเท่านั้น

 

สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย เขาน่าจะหวงแหนชีวิตเอาไว้จนถึงที่สุด

แต่เมื่อรู้ว่าเป็นไปได้ยาก เขาก็ดูจะไม่อาลัยอาวรณ์ชีวิต กลับบอกว่า ตายเมื่อไรก็สบายเมื่อนั้น

เพราะเขารู้ดีว่าชีวิตของคนเด่นดังนั้นก็เช่นเดียวกับคนทั่วไป ไม่ได้มีแต่สุขอย่างเดียว

แต่ยังเต็มไปด้วยความทุกข์และภาระ

 

แน่นอนหากเลือกได้ยอดรักย่อมเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่เมื่อเลือกไม่ได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

ก็ควรหาประโยชน์จากมันให้ได้ อย่างน้อยก็มองให้ได้ว่ามันมีแง่ดีอย่างไรบ้าง

ดีกว่าที่จะเห็นแต่ความเลวร้ายของมัน หรือมัวก่นด่าชะตากรรมและคร่ำครวญว่า

“ทำไมถึงต้องเป็นฉัน” การทำเช่นนั้นมีแต่จะซ้ำเติมตัวเองให้ทุกข์ใจนอกเหนือจากทุกข์กาย

ซึ่งก็มีมากอยู่แล้ว เพราะโรคภัยไข้เจ็บ

 

มีหญิงสูงอายุผู้หนึ่งเข้าออกโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ โดยไม่รู้ว่าตนเป็นโรคอะไร

แล้ววันหนึ่งหมอก็บอกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า “ป้าเป็นมะเร็งตับนะ อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน”

ผู้ป่วยถึงกับตกตะลึง ไม่เชื่อสิ่งที่ได้ยิน ปรากฏว่าเธออยู่ได้เพียง 12 วันก็ถึงแก่ความตาย

สาเหตุที่เธอจากไปอย่างรวดเร็วเช่นนั้นไม่ใช่เพราะก้อนมะเร็งเป็นสำคัญ

แต่เป็นเพราะใจที่ยอมรับความจริงไม่ได้ต่างหาก ที่ทำให้ร่างกายทรุดลงอย่างรวดเร็ว

จนตายเร็วกว่าที่หมอพยากรณ์

 

2.ยอดรักได้ใช้การรักษาหลายวิธี ทั้งสมุนไพรและการแพทย์แผนใหม่

เคยใช้วิธีเคมีบำบัด แต่ก็ต้องเลิกไป เพราะเจ้าตัวทนฤทธิ์และผลข้างเคียงไม่ไหว

เมื่อร่างกายทรุดหนักก็ต้องเข้าโรงพยาบาล หมอก็ได้แต่รักษาตามอาการ

ในที่สุดเมื่ออาการใกล้ขั้นวิกฤตจึงถูกนำเข้าห้องไอซียู

 

แต่เมื่อรู้ว่ามะเร็งลุกลามอย่างหนักเกินกว่าจะเยียวยาได้แล้ว

ยอดรักและครอบครัวได้ตัดสินใจที่จะไม่รับการรักษาใดๆ เพื่อยืดชีวิตอีกต่อไป

ไม่ว่าด้วยการปั๊มหัวใจ ใช้กระแสไฟฟ้าช็อต หรือเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ

แม้ว่าชีพจรจะเต้นต่ำลง ก็จะไม่ให้มีการกระทำใดๆ กับยอดรักอีก

หากแต่ให้เยียวยาตามอาการเท่านั้น ดังนั้นจึงมีการนำยอดรักออกจากห้องไอซียู

เพื่อใช้เวลาช่วงสุดท้ายกับครอบครัวที่ห้องผู้ป่วย

 

การตัดสินใจดังกล่าวของยอดรักและครอบครัว

นับว่าทวนกระแสค่านิยมของผู้คนในสังคมปัจจุบัน

ที่มักเรียกร้องให้ยื้อชีวิตผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีนานาชนิดจนถึงวินาทีสุดท้าย

ผลก็คือห้องไอซียูกลายเป็นห้องจบชีวิตของคนเป็นอันมาก

เกิดเป็นความเชื่อที่แพร่หลายว่า

ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ตายในห้องไอซียูถือว่าญาติไม่ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างถึงที่สุด

 

แต่หารู้ไม่ว่า การยื้อชีวิตผู้ป่วยเช่นนั้นอาจเป็นการสร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วย

แทนที่จะเป็นการยืดชีวิตหรือต่อลมหายใจ

กลับกลายเป็นการยืดกระบวนการตายให้ทอดยาวออกไป

ซึ่งไม่เป็นผลดีทั้งต่อผู้ป่วยและญาติเอง

 

การยื้อชีวิตผู้ป่วยเพื่อรอคอยการสะสางความในใจระหว่างผู้ป่วยกับญาติมิตร

หรือเพื่อให้ผู้ป่วยได้พบกับใครบางคนที่มีความหมายต่อชีวิตของเขา

(แม้เขาจะไม่รู้สึกตัวแล้ว แต่ก็ยังสามารถรับรู้ได้)

ก่อนที่เขาจะสิ้นลมนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อจิตใจของผู้ป่วยก็จริง

แต่การยื้อชีวิตของเขาเพียงเพราะญาติอยากให้เขามีลมหายใจนานที่สุด

หรือเพียงเพื่อให้ญาติได้ชื่อว่าเป็นคนกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนั้น

อาจจะกลายเป็นการทำร้ายเขาโดยไม่รู้ตัว ไม่เพียงทำให้เขาทุกข์ทรมานขณะมีลมหายใจเท่านั้น

แต่ยังอาจทำให้เขาไปสู่ทุคติได้

 

ในทางพุทธศาสนาถือว่าอาสันนกรรมหรือกรรมจวนเจียนนั้นสำคัญมาก

สามารถส่งผลถึงภพภูมิข้างหน้าได้ หากจิตก่อนตายนั้นเป็นอกุศล

เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

(เช่นจากการแทรกแซงของเทคโนโลยีต่าง ๆ) ก็ย่อมเข้าสู่ทุคติภูมิได้เลยทันทีที่ตาย

 

เรามักเข้าใจว่า การยื้อชีวิตผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีนานาชนิดในยามใกล้ตายนั้น

เป็นวิธีการที่ดีที่สุดเท่าที่ญาติและหมอจะทำได้

แต่นั่นเป็นการมองเฉพาะในแง่กายภาพ ผู้ป่วยไม่ได้มีแต่กายเท่านั้น

หากยังมีจิตใจด้วย ผู้คนส่วนใหญ่คิดแต่จะเยียวยากาย แต่กลับลืมจิตใจของผู้ป่วย

ซึ่งก็ต้องการการดูแลรักษาเช่นเดียวกัน

 

ในขณะที่ร่างกายของผู้ป่วยนั้น เมื่อมาถึงจุดหนึ่งก็ยากแก่การเยียวยาให้ดีขึ้นได้

แต่จิตใจของเขานั้นยังสามารถเยียวยาฟื้นฟูได้เสมอ แม้เขาจะอยู่ในภาวะโคม่าหรือไม่รู้สึกตัว

(จากสายตาของเรา) แล้วก็ตาม แทนที่จะระดมเทคโนโลยีนานาชนิดเพื่อกระตุ้นสัญญาณชีพ

เช่น ชีพจร การหายใจ การเต้นของหัวใจ ฯลฯ

 

ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเกินกว่าจะรักษาได้แล้ว ไม่เป็นการดีกว่าหรือ

หากเราจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ช่วยให้เขาได้พบกับความสงบในจิตใจ

ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าที่สุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงได้รับในยามนี้

 

3.มีผู้ป่วยคนหนึ่งซึ่งไตวายขณะที่อวัยวะส่วนอี่นทยอยเสียไปทีละส่วน ลูก ๆ

ได้ขอร้องให้หมอทำทุกอย่างเพื่อยืดชีวิตของแม่ รวมทั้งการล้างไตอย่างต่อเนื่อง

และหากหัวใจของแม่หยุดเต้น ก็ขอให้หมอปั๊มหัวใจแม่ขึ้นมา

 

คุณหมอสุมาลี นิมมานนิตย์ ซึ่งเป็นเจ้าของไข้และผู้เชี่ยวชาญโรคไต

เห็นว่าการทำเช่นนั้นนอกจากจะไม่ช่วยคนไข้แล้ว

กลับก่อผลเสียต่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ ของคนไข้ จึงแนะนำลูก ๆ ว่า

ยังมีวิธีอื่นที่ดีกว่านั้นที่ลูก ๆ สามารถทำให้แก่แม่ได้ นั่นก็คือ ช่วยให้แม่ได้รับความสงบใจ

 

เพราะความสงบใจในวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญมาก

คำแนะนำดังกล่าวทำให้ลูกๆ ได้คิด และหันไปใช้เวลาช่วงที่เหลือนั้นในการอยู่กับแม่

พูดคุยกับแม่ถึงสิ่งที่แม่ศรัทธาและการกระทำที่แม่ภาคภูมิใจ รวมทั้งพูดถึงความรู้สึกดี ๆ

ที่ได้รับจากแม่ ในที่สุดลูก ๆ ก็มาบอกกับคุณหมอสุมาลีว่าหากแม่เป็นอะไรก็ไม่ต้องปั๊มหัวใจแม่แล้ว

 

ผู้คนมักคิดแต่การยื้อชีวิตด้วยเทคโนโลยี นอกจากเป็นเพราะยอมรับความตายของผู้ป่วยไม่ได้แล้ว

ยังเพราะคิดว่านั่นคือสิ่งเดียวที่ญาติสามารถทำได้ให้แก่ผู้ป่วย

แต่หากญาติรู้ว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่านั้น ซึ่งตนสามารถทำได้

(และทำได้ดีกว่าหมอและพยาบาลด้วย) อันได้แก่การช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้รับความสงบทางจิตใจ

 

การเรียกร้องให้พาผู้ป่วยเข้าห้องไอซียูสถานเดียว ก็จะกลายเป็นเรื่องรองไป

แต่นั่นก็หมายความว่าญาติ ๆ ก็ต้องพร้อมจะให้เวลากับคนไข้

รวมทั้งศึกษาหาวิธีที่จะช่วยให้คนไข้มีใจที่สงบ เช่น การน้อมใจให้เขานึกถึงสิ่งดี ๆ

ให้ความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขแก่เขา ช่วยเขาปลดเปลื้องภาระหรือสิ่งค้างคาใจ

และที่สำคัญไม่น้อยก็คือ การสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ

 

ในกรณีของยอดรัก สลักใจ เมื่อรู้ว่ามีเวลาเหลืออยู่ไม่มาก

แทนที่เขาจะสู้กับความตายในห้องไอซียู ยอดรักตัดสินใจกลับไปยังห้องพัก

เพื่อใช้เวลาน้อยนิดนั้นกับครอบครัวอย่างสงบ

 

แต่น่าเสียดายที่ความปรารถนาดังกล่าวของเขาดูจะไม่เป็นที่เข้าใจ

หรือได้รับการตอบสนองจากมิตรสหาย เพราะปรากฏว่าห้องของเขานั้นเต็มไปด้วยผู้คน

ต่างพูดคุยสังสรรค์กัน บางคนถึงกับหัวเราะเป็นที่สนุกสนาน

จนหมอเจ้าของไข้ต้องมาขอร้องผ่านสื่อมวลชน ขอให้เพื่อน ๆ

อย่ารบกวนคนไข้ ควรให้คนไข้ได้ใช้เวลาที่ยังเหลืออยู่กับลูกและภรรยาให้มากที่สุด

 

ไม่ว่าเสียงหัวเราะหรือร้องไห้ รวมทั้งเสียงพูดคุยโต้เถียงของญาติมิตรรอบเตียง

ตลอดจนเสียงโทรทัศน์ที่ญาติดูในระหว่างเฝ้าไข้ ล้วนมีผลเสียต่อจิตใจของผู้ป่วยทั้งสิ้น

ญาติมิตรควรช่วยกันสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้ผู้ป่วยน้อมใจในทางกุศล

ภาคภูมิใจในชีวิตที่ผ่านมา ไม่มีเรื่องติดค้างใจ

และดียิ่งกว่านั้นคือมีสติที่รู้เท่าทันและยอมรับทุกขเวทนาได้

 

สภาพจิตดังกล่าวล้วนจำเป็นต่อการช่วยให้สามารถเผชิญความตายได้อย่างสงบ

และยังสามารถทำให้นาทีสุดท้ายก่อนตายเป็น “นาทีทอง”ของชีวิต

ดังคำของท่านอาจารย์พุทธทาสได้

 

4.ความตายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งเลวร้ายไปเสียหมด มันเป็นวิกฤตก็จริง

แต่ก็เป็นโอกาสได้เช่นกัน นั่นคือโอกาสที่จะเข้าถึงความสงบในจิตใจอันเกิดจากการปล่อยวาง

และอาจทำให้เกิดความสว่างแห่งปัญญาได้ด้วยหากเห็นสัจธรรมจากความตายว่า

สังขารทั้งหลายไม่มีอะไรที่น่ายึดถือได้สักอย่างเดียว ทุกอย่างล้วนเป็นทุกข์

จิตที่ปล่อยวางจากความยึดถือในสิ่งทั้งปวงย่อมบรรลุถึงธรรมขั้นสูง

ชนิดที่สามารถอยู่เหนือทุกข์ทั้งปวง นี้คือสภาวะที่อยู่เหนือความตายอย่างแท้จริง

 

แม้ว่าเรายังไม่สามารถพัฒนาจิตไปถึงขั้นนั้นได้ แต่หากเราเข้าใจความตายอย่างแท้จริง

ก็จะรู้ว่าความตายไม่ใช่สิ่งน่ากลัว ความกลัวตายต่างหากที่น่ากลัวกว่าความตาย

ความตายนั้นไม่จำเป็นต้องมาพร้อมกับความเศร้าโศก

แต่สามารถเรียกน้ำตาแห่งความปลาบปลื้มปีติได้ หากเป็นการตายดี

 

ผู้ป่วยคนหนึ่งเป็นมะเร็งเต้านม ต่อมาอาการลุกลาม

ซ้ำยังมีโรคแทรกคือตับเป็นพิษ เมื่อรู้ว่าอาการหนัก เธอปฏิเสธการรักษา

และกลับมาอยู่ที่บ้านเพราะต้องการใช้เวลาที่เหลืออยู่กับครอบครัวอย่างสงบ

ทุกวันแม่และสามีกับลูก ๆ รวมทั้งพี่น้องมาเป็นกำลังใจให้เธอ ชวนเธอสวดมนต์ รำลึกถึงพระรัตนตรัย

นั่งสมาธิ และถวาสังฆทาน วันสุดท้ายก่อนตายญาติได้ชวนเธอขอขมาซึ่งกันและกัน

 

รวมทั้งขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร ตลอด 7 วันเธอมีความรู้สึกตัวโดยตลอด

วันสุดท้ายญาติ ๆ ได้พากันสวดมนต์ให้เธอเป็นภาษาจีนสั้น ๆ 1,000 จบ ระหว่างนั้นเธอยังรู้สึกตัวอยู่

แต่เมื่อสวดได้ถึง 600 จบ ก็พบว่าเธอสิ้นลมแล้ว

เป็นการจากไปอย่างสงบราวกับใบไม้ปลิดจากขั้ว

แต่ทุกคนก็สวดต่อจนจบครบพัน ถือว่าเป็นการให้ของขวัญสุดท้ายแก่เธอ

 

การจากไปของเธอได้เรียกน้ำตาแห่งความปลาบปลื้มจากแม่ สามี ลูก ๆ และพี่น้อง

เพราะดีใจที่เธอจากไปอย่างสงบ ไม่มีอาการแห่งความโศกเศร้า เพราะทุกคนรู้ว่าเธอไปดี

 

ทุกคนสามารถตายดีและไปดีได้ทั้งนั้น ขอเพียงแต่พร้อมเผชิญความตายอย่างสงบ

โดยไม่ต่อต้านขัดขืน หวาดกลัว หรือคิดแต่จะหนีความตายสถานเดียว

 

เรื่อง : พระไพศาล วิสาโล (เครือข่ายพุทธิกา www.budnet.info

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

3431_510162422382327_930133568_n.jpg

บัว

บัว ผุดขึ้นจากตม

ตูม คลี่บาน

เผยอกลีบ กลิ่นกรุ่น

บานรับ ตะวัน

สายลม พริ้วผ่าน

ฝนโปรย กลีบร่วง

เกษรคง หอมระรื่น

ไร้เกษร เมล็ดแทน

มิสิ้น ตัดบัวเหลือใบ

ราก เหง้า ใช้ให้คุณ

ค้ำคุน ใจจินต์

มองบัว เห็นซึ่งสัจธรรม

ginger

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หลักการเตรียมตัว เพื่อจากไปอย่างสงบ

971481_619308078089264_924176715_n.jpg

 

1360586759_quote.png คำถาม: มีหลักการอะไรบ้างที่ใช้เพื่อเตรียมตัวเพื่อให้จากไปอย่างสงบ

คำตอบ: แบ่งเป็น ๒ ส่วน

ภาวะปกติ คือ ในยามที่ไม่มีเรื่องเดือดร้อนในชีวิต ให้ทำความดีสม่ำเสมอ

จะช่วยให้เราไม่ต้องเดือดร้อนใจเมื่อเกิดวิกฤติ หรือเวลาใกล้ตายก็ไม่มีอะไรที่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจว่าเราได้ทำความชั่วหรือเบียดเบียนใคร และหมั่นเจริญมรณสติเสมอว่าความตาย

เป็นของแน่นอน แต่เราไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไหร่ จะตายอย่างไร ที่ไหน ด้วยสาเหตุอะไร จึงต้องพิจารณาและเตรียมใจว่าความตายมาเยือนเราได้เสมอ

หรืออาจพิจารณาความตายในสื่อให้มองว่ามันอาจเกิดขึ้นกับเราไม่วันใดก็วันหนึ่ง

รวมทั้งเวลาไปเยี่ยมผู้ป่วย ไปงานศพ ก็ให้น้อมเข้ามาใส่ตัวว่าวันหนึ่งเราอาจเป็นอย่างเขา

และคิดว่าถ้าจะเป็นหรือไม่เป็นอย่างเขาเราจะทำอย่างไร ให้เป็นการบ้านที่สอนใจเราอยู่ตลอด

 

ภาวะไม่ปกติ คือ เวลาเจ็บป่วย พลัดพราก สูญเสีย ให้มองว่าความเจ็บปวด พลัดพราก

สูญเสียนั้นเป็นการซักซ้อมของความตาย อย่าตีโพยตีพายหรือทุกข์กับมัน

ควรรักษาใจให้เป็นปกติ ฝึกสติให้เห็นความเจ็บแต่ไม่ใช่ผู้เจ็บ

จะทำให้เราแคล่วคล่องว่องไวเมื่อเผชิญความทุกข์ในวาระสุดท้ายได้

 

- See more at: http://www.budnet.org/sunset/node/87#sthash.djHu7x2T.dpuf

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดาวน์โหลดหนังสือ

 

 

 

-A

 

 

 

 

 

Clip.jpg

สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต Palliative Care

ผู้เขียน: พญ.ดาริน จตุรภัทรพร

ผู้จัดทำ: เครือข่าย Palliative Care ในโรงเรียนแพทย์

ผู้สนับสนุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),

เครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวภาคใต้

>> หน้าเว็บไซต์ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สสส.

>> ดาวน์โหลดไฟล์ pdf

- See more at: http://www.budnet.org/sunset/node/131#sthash.XTofEDif.dpufh.XTofEDif.dpuf

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...