ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

หวัดดีตอนบ่ายคับคุณginger ตู้เย็น ดอกเหมย เพื่อน

 

 

ผลกระทบของเขื่อนต่อคุณภาพชีวิต

 

มนุษย์ได้มีความคิดที่จะเก็บกักน้ำโดยใช้หินและดินเป็นกำแพงกั้นน้ำตั้งแต่สมัยโบราณ

เมื่อนักประวัติศาสตร์ได้พบว่า เมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ ปีก่อนนี้ คนชาวอียิปต์ได้รู้จักสร้างเขื่อนกั้นทางเดินของแม่น้ำ Wadi Gerraive ด้วยกำแพงอิฐที่หนา ๙๐ เมตร และยาว ๑๒๕ เมตร และในอีก ๑,๐๐๐ ปีต่อมา วิศวกรชาวอียิปต์ก็ได้รู้จักสร้างทะเลสาบเทียมชื่อ Homs ซึ่งมีพื้นที่ ๕๐ ตารางกิโลเมตร ในบริเวณหุบเขา Orantes ในซีเรีย ส่วนชาวโรมันและชาวกรีกก็ได้รู้จักสร้างเขื่อนเช่นกัน ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า จักรพรรดิ Nero แห่งโรม ได้ทรงมีพระราชบัญชาให้วิศวกรชาวโรมันสร้างเขื่อน

เพื่อเนรมิตทะเลสาบถวายพระองค์ให้ทรงพระเกษมสำราญและวิศวกรได้ใช้คอนกรีตชนิดหนึ่งที่เรียกว่า pozzolana ซึ่งคอนกรีตนี้ทำจากดินภูเขาไฟ

จนถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ เมื่อ Joseph Aspidin ชาวอังกฤษได้รู้จักทำซีเมนต์ซึ่งมีความแข็งแรงทนทานยิ่งกว่าหินและดินทั่วไป วิศวกรจึงได้หันมานิยมใช้ซีเมนต์ในการสร้างเขื่อนตั้งแต่นั้นมา

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้มนุษย์นิยมสร้างเขื่อนก็คือ ความคิดที่ว่าเขื่อนสามารถบันดาลพลังงานไฟฟ้าให้มนุษย์ได้ใช้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น เพราะเพียงแต่ปล่อยให้น้ำไหลผ่านเครื่องยนต์ turbine เท่านั้นเอง ทุกคนก็จะมีไฟฟ้าใช้กันได้เรื่อย กระบวนการได้พลังงานมาใช้โดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย และการสร้างไฟฟ้าโดยไม่สร้างมลภาวะ เช่นการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมานี้ ดูเป็นความคิดที่ประเสริฐ นอกจากเหตุผลนี้แล้ว สมาคมท่องเที่ยวก็มักจะมองเห็นว่า ทะเลสาบประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว และให้ประชาชนที่ทำมาหากินอยู่ในบริเวณนั้นมีน้ำใช้อย่างพอเพียงด้วย

จะอย่างไรก็ตาม การสร้างเขื่อนก็มีโทษบ้างเหมือนกัน ผลกระทบที่ร้ายที่สุดคือ เขื่อนทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง และทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องอพยพย้ายที่ทำมาหากิน เมื่อ ๖ ปีก่อนนี้ ธนาคารโลกได้ประมาณว่าเขื่อนขนาดใหญ่ประมาณ ๓,๐๐๐ เขื่อนที่โลกมี ได้ทำให้ผู้คน ๔ ล้านคนต้องอพยพย้ายที่พักอาศัย และคนเหล่านี้มีปัญหาในการปรับตัวในถิ่นที่อยู่ใหม่

แต่ถึงแม้จะมีข้อเสียหลายประการก็ตาม บรรดาประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศในโลกก็มีความเชื่อมั่นว่า เขื่อนเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการผลิตกระแสไฟฟ้า การสร้างเขื่อนจะทำให้คนนับหมื่นมีงานทำ และเขื่อนเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของชาติตน ส่วนผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมและต่อประชากรนั้น รัฐบาลและวิศวกรผู้สร้างเขื่อนมักไม่ได้วิเคราะห์ และเจาะลึกแต่อย่างใด

มาบัดนี้ประชาชนในประเทศต่าง ๆ เริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นในความประเสริฐของเขื่อนแล้ว การประท้วงการสร้างมีมากขึ้นและบรรดานักอนุรักษ์ธรรมชาติทั้งหลายได้พากันออกมาคัดค้านมากยิ่งขึ้น

สถิติที่ได้จากการสำรวจพบว่า เขื่อน Kainji ที่แม่น้ำ Niger ในทวีปแอฟริกาได้ทำให้ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรกรรมลดลง ๑๘% จำนวนปลาในแม่น้ำลดลง ๖๐-๗๐% เพราะน้ำที่เขื่อนยังได้นำเกลือจากใต้แม่น้ำขึ้นมา ทำให้ดินบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำทำการเพราะปลูกไม่ได้ และเมื่อพืชที่ขึ้นริมฝั่งแม่น้ำล้มตายปลาซึ่งไม่มีพืชจะบริโภค และต้องอาศัยอยู่ในน้ำที่เค็มผิดปกติต้องลดจำนวนลงแต่ปัญหาที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือ การอพยพของชาวบ้านที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงไปอยู่สถานที่ใหม่

เพราะบ้านที่อยู่อาศัยของตนถูกน้ำท่วม นักสังคมศาสตร์มักพบว่า บุคคลเหล่านี้มักมีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใหม่ และมีคนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ในวารสาร Science เมื่อ ๔ ปีก่อนนี้ ได้มีรายงานการศึกษาสถานภาพของเขื่อนต่าง ๆ ในประเทศสวีเดน และผลกระทบที่เกิดจากเขื่อนเหล่านั้น C. Nilsson แห่งมหาวิทยาลัย Umea ได้พบว่า บริษัทวิศวกรที่สร้างเขื่อนมักจะชี้แจงว่า สภาพแวดล้อมในบริเวณเขื่อนจะไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่ในความเป็นจริงนั้น การศึกษาเขื่อนที่มีอายุประมาณ ๗๐ ปีของ Nilsson ได้ทำให้เขาพบว่าจำนวนชนิดของพืชในบริเวณเขื่อนได้ลดลง ๑๕% บริเวณที่สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ก็ลด และถ้าเขื่อนที่มีขนาดใหญ่มากเพียงใด จำนวนชนิดของสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ยิ่งมีแนวโน้มจะลดลงมากเพียงนั้น

ในประเทศจีนก็มีการสร้างเขื่อนมากเช่นกัน เมื่อ ๓ ปีก่อนนี้ จีนได้อนุมัติโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ Yangtze ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสามของโลก โดยมีจุดมุ่งหมายจะทำให้การคมนาคมทางน้ำดีขึ้น และประชากรของจีนมีไฟฟ้าใช้มากขึ้น โครงการราคา ๑.๒ ล้านล้านบาทนี้จะแล้วเสร็จในอีก ๒ ปีนี้ เขื่อน Three Gorges เขื่อนนี้จะสูง ๑๘๕ เมตร ยาว ๑,๖๐๐ เมตร และต้องใช้คนสร้างประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ๑๘,๒๐๐ เมกะวัตต์

การดำริสร้างเขื่อน Three Gorges เป็นความคิดที่ได้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยเมาเซตุงเป็นผู้นำจีน เมื่อเมาเซตุงได้รู้ว่าใน พ.ศ. ๒๕๐๒ นั้น คนจีน ๓๐,๐๐๐ คน ได้ถูกน้ำในแม่น้ำแยงซีท่วมตาย จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลจีนก็ได้อนุมัติโครงการสร้างเขื่อนแม่น้ำแยงซีอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางเสียงคัดค้านจำนวนมากในสภา ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติเพราะรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนไม่ชอบการคัดค้านใด ๆ โดยฝ่ายค้านให้เหตุผลว่า เมือง Chongging ซึ่งเป็นเมืองท่าใหญ่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแยงซี จะประสบปัญหาดินตะกอนมาทับถมมากจนทำให้การเดินเรือน้ำลึกสู่เมืองท่าทำไม่ได้ และเมื่อดินตะกอนถูกเขื่อนกั้นมากเข้า ๆ การถมทับของดินตะกอนซึ่งมากถึง ๑๒๐ ล้านตัน/ปี จะทำให้น้ำจากแม่น้ำ Jialing ไม่สามารถไหลรวมกับน้ำในแม่น้ำแยงซีได้อีกต่อไป หนทางเดียวที่จะลดความรุนแรงของปัญหานี้ได้คือ ต้องลดระดับความลึกของน้ำในเขื่อน แต่ถ้าลดปริมาณน้ำลง ๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าก็จะลดต่ำลงด้วยถึง ๑๓% และน้ำที่มีน้อย จะทำให้เรือขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าที่ Chongging ไม่ได้ นอกจากนี้ การลดระดับน้ำลงจะทำให้พื้นที่ที่จะถูกน้ำท่วมลด ซึ่งจะมีผลทำให้คน ๕ แสนคน ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานใหม่ แต่รัฐบาลจีนยังคงยืนยันจะให้ระดับน้ำลึกเท่าเดิม การมีน้ำลึกจะทำให้ธุรกิจเดินเรือของจีนเพิ่มขึ้น ๔ เท่าตัว และค่าโดยสารต่าง ๆ ก็สามารถลดลงได้ถึง ๓๐%

นอกจากนี้ การสร้างเขื่อนจะทำให้จีนสามารถประหยัดถ่านหินได้ถึง ๕๐ ล้านตันต่อปี และลดการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง ๑๐๐ ล้านตันด้วย

ถึงผลกระทบของเขื่อนแยงซีจะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ แต่การสร้างเขื่อนก็ยังคงดำเนินต่อไป

ในรายงานที่ World Commission on Dams ของ World Bank ฉบับเดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๔๓ ได้มีการประเมินสถานภาพของเขื่อนต่าง ๆ ในโลกเป็นครั้งแรกว่า ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ทุ่มเทเงินจำนวนมหาศาลเพื่อสร้างเขื่อน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเมื่อ ๒๐ ปีก่อนนี้ประเทศต่าง ๆ ได้ใช้เงินมากถึง ๑.๖ แสนล้านบาทต่อปีเพื่อสร้างเขื่อน และการสร้างเขื่อนได้ทำให้คน ๘๐ ล้านคนต้องอพยพที่อยู่อาศัย

แต่ประเด็นที่รายงานกล่าวถึงที่น่าประหลาดใจที่สุดคือ ประเทศต่าง ๆ ที่สร้างเขื่อนมักไม่ได้กระทำคือ การติดตามผลที่เกิดขึ้นจากการสร้าง ซึ่งหมายถึงผลได้และผลเสียของเขื่อนต่าง ๆ

เพราะตัวเลขได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ๒๕% ของเขื่อนที่สร้างแล้วให้น้ำได้น้อยกว่า ๕๐% ของเป้าหมาย และ ๑๐% ของเขื่อนที่ตะกอนดินโคลนมากจนทำให้ปริมาตรน้ำมีน้อยกว่าครึ่งของที่ตั้งเป้าไว้ อนึ่งการกักการไหลของตะกอนเหล่านี้ได้ทำให้บริเวณฝั่งของแม่น้ำที่เขื่อนกั้นขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีผลทำให้การกสิกรรมและเกษตรกรรมมิสามารถให้ผลดี

ส่วนข้อดีของการสร้างเขื่อนก็มีเช่น ทำให้เกิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำซึ่งสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้โรงงานและบ้านเรือน แต่คนจนก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะซื้อความสะดวกสบายลักษณะนี้ ดังนั้น เขาจึงไม่ได้ผลประโยชน์อันใดจากเขื่อนเลย

รายงานยังชี้แจงอีกว่าเขื่อนบางเขื่อนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันอุทกภัยแต่กลับทำให้อุทกภัยทวีความรุนแรง นอกจากนี้ เขื่อนยังทำให้นก ปลา และสัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ และผู้คนนับแสนไร้ที่อยู่อาศัยอีกด้วย นอกจากปัญหาพื้นฐานเหล่านี้แล้ว ปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่นในโครงการมูลค่านับล้านล้านบาท ก็เป็นปัญหาใหญ่ในการสร้างเขื่อนในประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะ ณ วันนี้ โครงการมูลค่า ๘ แสนล้านบาท ที่จะสร้างเขื่อนแยงซีของจีนกำลังมีปัญหาเรื่องนี้ครับ

ผู้เขียน ศ. ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิทยาศาสตร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี yot ตู้เย็น ดอกเหมย ขวด ทิพย์ เด็กสยาม juy เพื่อนๆ

http://pantip.com/topic/31024160

 

ที่ยวเชิงอนุรักษ์เดินป่าบันทึกนักเดินทางภาพถ่าย[

เขียนไม่ค่อยเก่ง เรื่องข้อมูลก็ไม่ค่อยถนัดนัก

ให้รูปเล่าเรื่องแล้วกันนะคะ emoticon-smile.png

 

ทั้งหมดถ่ายเมื่อ ๒๑ กันยาย ๒๕๕๖

ทั้งบริเวณ ฝั่งนครสวรรค์ และ ฝั่งกำแพงเพชรค่ะ

 

** เมื่อกี้ตั้งกระทู้ผิดห้อง ไปโผล่ห้องกล้อง Mirrorless เลยต้องมาโพสใหม่ อีกสักครู่จะไปลบที่หห้องเดิมค่ะ**

1380012500-DSC3992JPG-o.jpg

1380013894-2JPG-o.jpg

บริเวณแก่งผานางคอยค่ะ1380013924-3JPG-o.jpg]

1380014079-4JPG-o.jpg

1380014092-5JPG-o.jpg

1380014104-6JPG-o.jpg

1380014120-7JPG-o.jpg

1380014151-8JPG-o.jpg

1380014166-9JPG-o.jpg

1380014180-10JPG-o.jpg

1380014193-11JPG-o.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตรงนี้ค่ะ เขาสบกก

ที่จะใช้เป็นแนวสันเขื่อน

1380014478-21JPG-o.jpg

1380014490-22JPG-o.jpg

1380014505-23JPG-o.jpg

1380014518-24JPG-o.jpg

1380014529-25JPG-o.jpg

1380014541-26JPG-o.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข้างล่างนั้นคือ แม่เรวาค่ะ

ตรงนั้นน้ำจะท่วมทั้งหมด หากมีเขื่อน

1380015095-49JPG-o.jpg

1380015107-50JPG-o.jpg

1380015120-51JPG-o.jpg

จุดนี้หละค่ะ ที่บรรดาสัตว์ต่างๆ เสือสิงห์ กระทิง กวาง ฯลฯ

มากินน้ำ เล่นน้ำกัน

1380015134-52JPG-o.jpg

1380015151-53JPG-o.jpg

1380015161-54JPG-o.jpg

Cr พิมปะการัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาดูอีกฝั่งของมออิหืดนะคะ

ข้างล่างนั่นคือ บ้านแม่เลย์ ซึ่งจะถูกเวนคืนเพื่อขุดเอาดินมาใช้ในการสร้างเขื่อน

1380015232-55JPG-o.jpg

ในแนวเดียวกันที่เห็นลิบๆไปสุดเขตเขาข้างหน้า คือ บริเวณบ้านเขาชนกัน

ซึ่งมีบ้านเรือนห่างๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ คือไร่มันสำปะหลัง ไร่ข้าวโพด

ถ้าจะทำเขื่อนกันจริงๆ ไปทำไปสร้างกันตรงโน้นดีกว่าไหมคะ

จะลำบากมาสร้างกันข้างบนทำไม

1380015266-56JPG-o.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆตามพื้นดินกันบ้างค่ะ

1380015300-57-o.jpg

1380015313-58-o.jpg

1380015325-59JPG-o.jpg

1380015337-60JPG-o.jpg

1380015350-61-o.jpg

1380015366-62-o.jpg

1380015377-63-o.jpg

1380015391-64-o.jpg

1380015402-65-o.jpg

1380015417-66JPG-o.jpg

1380015428-67JPG-o.jpg

1380015441-68JPG-o.jpg

1380015454-69JPG-o.jpg

ตอบกลับ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นกยูงงงงงงงง

รูปไม่ค่อยชัดนะคะ อยู่ไกลๆ และก็ค่อนข้างมืดค่ะ

ครอปเอาแล้วก็มาปรับให้สว่าง

1380015617-70JPG-o.jpg

1380015629-71JPG-o.jpg

1380015643-72JPG-o.jpg

Cr พิมปะการัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จบการนำเสนอแต่เพียงเท่านี้ค่ะ

ไม่มีอะไรมาก แค่อยากให้เห็น

ขอบคุณที่เข้ามาชมนะคะemoticon-smile.png

1380015701-73JPG-o.jpg

1380015713-75-o.jpg

ต้นสักที่บริเเวณเขาสบกกค่ะ ที่เขาว่ามีแต่ต้นเท่าลำแขนเด็ก

จึงต้องไปดูของจริง พบว่า ทั้งลาน มีแต่ต้นประมาณนี้แหละค่ะ

เล็กกว่านี้บ้าง ใหญ่กว่านี้บ้าง ปะปนกันไป

แต่โดยเฉลี่ย คือ ประมาณนี้

1380015724-74-o.jpg

Cr พิมปะการัง

http://pantip.com/topic/31024160

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1184843_709702212378539_1929031736_n.jpg

 

ครัว พริกหวาน หัวใจแจ๋วๆ

 

1002201_707498129265614_572178738_n.jpg

ชอบมากเลยค่ะ คุณขิง ขอบคุณค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดี juy โชคดี สบายใจ ทั้งคุณแม่ คุณลูกนะคะ

 

556554_627427790635481_1747500091_n.jpg

 

1044615_583850558326538_2072232416_n.jpg

DIY รดต้น ลดโลกร้อน เที่ยวบายใจ

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...