ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
thidarat

ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ !!

โพสต์แนะนำ

     เชื่อว่าคนทุกคนเกิดมาก็อยากมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีชีวิตที่มีความสุขในทุก ๆ วัน แต่ก็ต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่า คนเรายิ่งมีอายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายทุกด้านย่อมเสื่อมโทรมลงตามวัย และอาจมีโรคภัยหลาย ๆ อย่างมารุมเร้าได้เช่นกัน อย่างโรคที่เกี่ยวกับระบบสมองที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่าเส้นเลือดในสมองตีบ หรือเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน หากผู้สูงวัยที่คุณดูแลใกล้ชิดอยู่ ท่านมีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง และบางครั้งมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ สงสัยว่าจะเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ ? บทความนี้เราได้นำความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง จากทางศูนย์สมองและระบบประสาทของ โรงพยาบาลนครธนมาฝากกัน เพื่อให้ท่านได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถสังเกตอาการและคอยช่วยเหลือนำพาท่านให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ตามไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ

1485212529_1.jpg.9e0f9eeabccc6dbe4b3f20a78dbbd3f3.jpg

     โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดและออกซิเจนที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น
2 ชนิด คือ
1.หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke)
2.หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)

โรคหลอดเลือดสมอง มีอาการอย่างไร?
- มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า
- มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก
- มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
- พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด
- มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น
- มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ
- มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน
- มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่

- อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
- เพศ ผู้ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าผู้หญิง
- เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่

- ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
- โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ
- รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด
- โรคอ้วน และภาวะนอนกรน
- การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด
- ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

- การซักประวัติอาการของผู้ป่วย
- การตรวจร่างกายเบื้องต้น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain)

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
    การรักษาโรคหลอดเลือดสมองด้วยวิธีที่เหมาะสมกับอาหารของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างทันท่วงที จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับความรุนแรงของโรค ได้แก่

- การรักษาโดยการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (IV rt-PA)
- การรักษาโดยลากสวนลิ่มเลือดออกจากสมอง (Mechanical Thrombectomy)
- การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgery)

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
     โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ
2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามันของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก
- ลดอาหารรสเค็ม อาหารคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
- กรณีมีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะและรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเสมอ

     ทั้งหมดนั้นคือข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง จากทางศูนย์สมองและระบบประสาทโรงพยาบาลนครธน หากคุณหรือผู้สูงวัยที่คุณดูแลใกล้ชิดอยู่ ท่านมีอาการเสี่ยงอย่างที่เรากล่าวมา แนะนำว่าให้รีบเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อลดอัตราการเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในอนาคตไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมาก มีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคหลอดเลือดสมอง-stroke-ตีบแตกตันอันตราย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...