ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
little devil

เช็กสุขภาพเศรษฐกิจโลก ครึ่งปีหลัง 2549 (1) มะกันใกล้ Dangerous Zone

โพสต์แนะนำ

เช็กสุขภาพเศรษฐกิจโลก ครึ่งปีหลัง 2549 (1) มะกันใกล้ Dangerous Zone

 

เขียนโดย ระพิน ใจดี

วันอังคารที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๙

 

ประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3800

 

แม้ มิถุนายนจะเป็นเดือนสุดท้ายของครึ่งปีแรกของปี 2549 แต่นักวิเคราะห์หลายสำนักมักจะคอยสังเกต และติดตามสัญญาณเตือนที่ปรากฎขึ้นในเดือนนี้อย่างใกล้ชิด เพราะเชื่อว่าจะเป็นตัว "นำทาง" สภาวการณ์ที่จะเกิดขึ้นในครึ่งปีถัดไป ได้อย่างแม่นยำนำทาง" สภาวการณ์ที่จะเกิดขึ้นในครึ่งปีถัดไป ได้อย่างแม่นยำ

ยก ตัวอย่าง รายงานการสำรวจแนวโน้มธุรกิจ ประจำเดือนมิถุนายน 2549 ของ Duke University ร่วมกับนิตยสารดัง CFO magazine เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง จากวงการธุรกิจและนักวิเคราะห์ทั่วโลก เพราะสะท้อนมุมมองของหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน หรือ chief financial officers : CFO ของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ต่อประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ และตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อเศรษฐกิจ

 

น่าสนใจ ว่า ผลสำรวจชิ้นนี้ได้สะท้อนปัจจัย "ร่วม" หลายๆ ตัว ที่อยู่ในความกังวลของพวกเขา อาทิ เศรษฐกิจสหรัฐ โดยซีเอฟโอส่วนใหญ่เริ่มกังวลกับแนวโน้มของเศรษฐกิจสหรัฐ มากกว่าผลสำรวจครั้งก่อน โดยพบว่ามีเพียง 24% ของกลุ่มตัวอย่าง มองเศรษฐกิจสหรัฐในด้านดี ลดลงอย่างฮวบฮาบจาก 42% ในครั้งก่อน ที่น่าสนใจคือ มีซีเอฟโอที่มองแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในด้านบวกน้อยลง เพิ่มขึ้นเป็น 46% ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้

 

ทำไม พวกเขาจึงมองเศรษฐกิจสหรัฐในด้านบวกน้อยลง

 

ประการ แรก หากฟังจากคำอธิบายของอาจารย์สายการเงิน จาก Duke University จะพบว่า เป็นเพราะซีเอฟโอส่วนใหญ่เชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังเข้าใกล้จุดที่มีความเสี่ยง หรือ dangerous zone มากขึ้นทุกทีแล้ว

 

เนื่องจากซีเอฟโอ โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างที่มาจากบริษัทอเมริกัน ยอมรับว่า พวกเขาอาจจำเป็นต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 3.1% ภายใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งหมายความว่าเงินเฟ้อจะต้องขยับตาม ซึ่งหากการขยับราคาสินค้าของสหรัฐ ดันเงินเฟ้อขึ้นไปที่ 3.5% เมื่อใด

 

ระดับนั้นคือ จุดอันตรายของเศรษฐกิจสหรัฐ เพราะจะเป็นระดับที่ผลกำไรของภาคธุรกิจเอกชนจะถูกกระทบอย่างแรง

 

จุดอันตรายของเศรษฐกิจสหรัฐจะมาเร็วขึ้น หากราคาน้ำมันดิบโลกขยับขึ้นไปเหนือระดับ 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

บังเอิญ เช่นกันว่า ในวันเดียวกับที่เผยแพร่ผลสำรวจนี้ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ ได้ส่งสัญญาณเตือนว่า โลกเริ่มอยู่ในจุดที่เปราะบางมากยิ่งขึ้นที่จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน แพง ซึ่งผู้ผลิตน้ำมันควรจะเร่งสูบน้ำมันดิบออกมาให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ ในอนาคต

 

ที่สำคัญ กรีนสแปนยังส่งคำเตือนโดยตรงมายังผู้บริโภคอเมริกันว่า แม้ว่านับจากทศวรรษ 1940 เป็นต้นมา ชาวอเมริกันจะสามารถแบกรับภาระน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างสบายมือ แต่ "ภูมิคุ้มกัน" ต่อผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงกำลังจะหมดลง

 

คำเตือนของ กรีนสแปน มีขึ้นระหว่างที่เขาเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศประจำวุฒิสภา ซึ่งถือเป็นการแสดงความเห็นครั้งแรก นับจากที่เขาอำลาตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

 

"การปรับเพิ่มขึ้นไปมากๆ ของราคาน้ำมันดิบโลกจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ ครั้งมโหฬาร" กรีนสแปนกล่าว

 

ทั้ง นี้ นับจากต้นปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันพุ่งทะยานขึ้นไปแล้วกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากระดับเมื่อ 4 ปีก่อน เฉพาะปี 2547 ปีเดียว ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นเป็น 2 เท่า

 

กรีนสแปนวิจารณ์ประเทศผู้ผลิต น้ำมันว่า นอกเหนือจากซาอุดีอาระเบียแล้ว แทบจะไม่มีประเทศผู้ผลิตรายใด มองเห็นอันตรายจากราคาน้ำมันแพง ที่มีต่อเศรษฐกิจ ตลอดจนผลกระทบ ต่อความสามารถที่จะขายน้ำมันของพวกเขาเอง

 

ที่น่าสนใจคือ คำเตือนของกรีนสแปนในเรื่อง ภูมิต้านทานของสหรัฐ ไม่ใช่เป็นการกล่าวเกินจริงอะไรนัก เพราะเมื่อไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ได้ตีแผ่ผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงลิ่ว ต่อบริษัทต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาน้ำมันเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์ ไล่ตั้งแต่กลุ่มปิโตรเคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก เรื่อยมาจนถึงผู้ผลิตลิปสติก ยาระงับกลิ่นตัว ชุดกีฬา และเครื่องนอนต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า

 

น้ำมันแพงได้ทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทเหล่านี้ถีบตัวสูงขึ้น ทำให้แต่ละบริษัทต่างพยายามหาทางลดผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการปรับราคาสินค้า ลดปริมาณการผลิต แต่เมื่อราคาน้ำมันดิบยังคงแกว่งตัวในระดับสูงเป็นเวลานาน หลายบริษัทจำเป็นต้องเลือกการแช่แข็งเงินเดือน หรือปรับให้เป็นเปอร์เซ็นต์เล็กน้อย ขณะที่บางรายได้ตัดใจลดจำนวนพนักงาน และปิดสายการผลิตบางส่วน

 

อาทิ บริษัทคอนติเนนตัล ไทร์ ที่ตัดสินใจปลดพนักงานออก 481 ตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ขณะที่ดูปองต์เลือกการขึ้นราคาสินค้าเป็นทางออก โดยประกาศปรับราคาสินค้าในระดับที่แตกต่างกันไป แต่ที่น่าสนใจคือ นี่ไม่ใช่การขึ้นราคาสินค้าครั้งแรกของผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 และไตรมาสแรกของปีนี้ ดูปองต์ได้ปรับราคา สินค้าไปแล้วเฉลี่ย 5% และ 3% ตามลำดับ

 

อย่างไรก็ตาม จุดอันตรายของเศรษฐกิจสหรัฐ ไม่ได้อยู่ปัจจัยน้ำมันและเงินเฟ้อ แต่การปะทุของสองปัจจัยแรก จะกลายเป็นแรงกดดันสำคัญที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ ไม่สามารถยุติภาวะขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้ดังที่คาดหวังไว้

 

นัก ธุรกิจกังวลกับตัวแปรดอกเบี้ยมากพอๆ กับเงินเฟ้อ เพราะทุกปัจจัยในสหรัฐล้วนแต่สัมพันธ์ และมีผลซึ่งกันและกันทั้งสิ้น ในผลสำรวจของ Duke/CFO ระบุชัดว่า ซีเอฟโอส่วนใหญ่อยากให้เฟดหยุดขึ้นดอกเบี้ยได้แล้ว เพราะหากดอกเบี้ย ยังขยับจากระดับ 5% ในปัจจุบัน ขึ้นไปถึง 5.5% เมื่อใด จะส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งหากดอกเบี้ยยืนอยู่เหนือ 6% จะส่งผล กระทบต่อตัวเลขผลประกอบการของพวกเขา อย่างรุนแรง

 

ผลเสียหาย ที่ตามมาเป็นลูกโซ่ ไม่ได้จำกัดแค่ในแวดวงธุรกิจ แม้แต่ในตลาดทุน ก็มักจะเป็นเหยื่อรายแรกๆ หากเฟดส่งสัญญาณชัดว่า แนวโน้มขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะยังไม่ยุติลงง่ายๆ

 

ดังที่ ดัชนีดาวโจนส์ของตลาดหุ้นนิวยอร์ก ทรุดตัวต่อเนื่อง 3 วันติดต่อกัน อันเนื่องมาจากการส่งสัญญาณของเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดคนใหม่ที่แสดงความวิตกต่อเงินเฟ้อออกมาอย่างไม่ปิดบัง

 

เฉพาะ การซื้อขายระหว่างวันเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ดาวโจนส์ดิ่งฮวบลงกว่า 100 จุด ก่อนจะขยับขึ้นมาติดลบ 71.24 จุด หรือลดลง 0.65% ต่อเนื่องจากเมื่อวันจันทร์ ที่ดาวโจนส์ ทรุดตัวไปก่อนหน้าแล้วเกือบ 200 จุด

 

รวม 3 วันทำการ ดาวโจนส์ปรับตัวลงกว่า 316 จุด และส่งผลให้ปรอทวัดอุณหภูมิตลาดหุ้นสหรัฐ ลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 11,000 จุด เป็นครั้งแรก นับจากวันที่ 9 มีนาคม

 

สิ่งเหล่านี้คือสัญญาณที่น่า เป็นห่วง และต้องเฝ้าติดตามอย่างระวัง เพราะการแกว่งของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่ามากถึง 12 ล้านล้านดอลลาร์นั้น หากเกิดขึ้นอย่างรุนแรงเมื่อใด ย่อมหมายถึงเศรษฐกิจทั่วโลก ย่อมจะต้องแกว่งตาม

 

ที่มา: http://www.matichon.co.th/prachachart/prachachart_detail.php?s_tag=02for01120649&day=2006/06/12

{moscomment}

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...