ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ส้มโอมือ

พลังงานไทย เป็นสมบัติของชาติไทยและของคนไทย ไม่ใช่สมบัติของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

โพสต์แนะนำ

ค้นข้อมูลพลังงาน เจออันนี้มีข้อมูลพลังงานเยอะครับ เผื่อเพื่อนท่านไหนสนใจ นักศึกษานำไปทำรายงานก็น่าจะสะดวกขึ้นมาก

 

ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยวันนี้

ราคาน้ำมันของไทยรายวันย้อนหลังถึงปี 2539

http://www.eppo.go.t...ail_prices.html

http://www.eppo.go.t...il_changes.html

สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกรายสัปดาห์

สรุปสถิติการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบโลกรายสัปดาห์พร้อมบทวิเคราะห์สาเหตุ / รายละเอียดกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย

http://www.eppo.go.t...port/index.html

สถิติพลังงานของไทย

ภาพรวม & รายประเภท / การผลิต / การบริโภค / การนำเข้า

http://www.eppo.go.th/info/index.html

มติ ครม.

ทุกเรื่องย้อนหลังถึงปี 2544

http://www.eppo.go.t.../cab/index.html

สถิติ NGV

จำนวนรถ / สถานี / ยอดขาย / สถิติทั่วโลก / ราคา

http://pttweb2.pttpl...bngv/nw_sc.aspx

ปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลก

สถิติรายประเทศกว่า 200 ประเทศทั่วโลก

http://www.eia.doe.g...l/reserves.html

สถิติพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลก

รายละเอียดที่ตั้ง กำลังการผลิต ปีที่ก่อสร้าง ของโรงไฟฟ้าทุกโรงที่เดินเครื่องอยู่และกำลังก่อสร้าง / อัตราการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์รายประเทศ

http://www.nei.org/r...orldstatistics/

ข้อมูลพลังงานรายประเทศทั่วโลก

(Country Energy Profiles)

สถิติการใช้ / การผลิต / การส่งออก-นำเข้า / ข้อมูลนโยบาย กว่า 100 ประเทศทั่วโลก

http://tonto.eia.doe...untry/index.cfm

 

ราคาน้ำมันดิบโลก

ราคาน้ำมันดิบ WTI Cushing Spot ย้อนหลังรายวันถึงปี ค.ศ.1986 (พ.ศ. 2529)

http://tonto.eia.doe.../hist/rwtcd.htm

พลังงานทดแทน

สาระน่ารู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนแต่ละประเภท / สถิติการใช้ในประเทศไทย

http://www.dede.go.th/dede/

โครงการสำรวจและผลิตพลังงานของ ปตท. สผ.

รายละเอียดทุกโครงการของ ปตท. สผ. ทั้งในและต่างประเทศ

http://www.pttep.com...dPprojects.aspx

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บทความ:โลกที่ซับซ้อน โดย อ.ประสาท มีแต้ม ASTV ผู้จัดการออนไลน์

 

“เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย”

 

“น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก"

 

>>> 1. ความเป็นมา

คุณอัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนระดับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2524 (รวมเรื่องสั้นชื่อ “ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง”) ได้ตั้งคำถามกับผมในวงอาหารแห่งหนึ่ง พร้อมกับอ้างคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสคนดังระดับรองนายกรัฐมนตรีหลายสมัยว่า “จริงหรือเปล่าที่ด็อกเตอร์…บอกว่าประเทศไทยไม่ได้มีน้ำมันดิบมากอย่างที่คนเข้าใจกัน”

 

ผมได้ตอบนักเขียนผู้อาวุโสกว่าผมเกือบ 3 ปีไปอย่างสั้นๆว่า “เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย”

 

ผมได้ขยายความอีกเล็กน้อยว่า “น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก มันซับซ้อนไหมพี่”

 

“ส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายให้คนไทยด้วย” เสียงคุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ นักจัดรายการวิทยุผู้แหลมคมและมากด้วยประสบการณ์เสริมขึ้นมา

 

“แล้วทำไมคนไทยไม่ค่อยรู้กัน” คุณอัศศิริ ถามต่อ

 

“ก็เหมือนกับดีบุกในช่วง 14 ตุลาคม 2516 นั่นแหละพี่” ผมย้อนความหลังให้วงสนทนาผู้สูงวัย “กว่าที่คนไทยจะรู้เรื่อง เขาก็โกยไปเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแร่แทนทาลัมราคาสูงกว่าดีบุกหลายเท่าปนติดไปด้วยแต่เราไม่รู้ ตอนนี้ประเทศไทยส่งทองคำออกอีกแล้ว ปีละประมาณ 4 ตัน คนไทยก็ไม่รู้ แถมชาวบ้านจำนวนมากได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงจากไซยาไนด์”

 

“ที่คนไทยไม่รู้เพราะผู้ประกอบการจงใจไม่ให้เรารู้ เรื่องน้ำมันก็เหมือนกัน มีข้อมูลจริงมั่ง เท็จมั่ง และที่จงใจบิดเบือนก็มาก แต่เรื่องสำคัญคือเรื่องความเป็นธรรม” ผมกล่าวต่อไปว่า

 

“ในเรื่องความเป็นธรรมนั้น พี่คิดดู ในปี 2554 บริษัทที่ได้รับสัมปทานมีกำไรสุทธิร้อยละ 97 ของเงินลงทุนในปีนั้น ข้าราชการระดับสูงบอกกับประชาชนว่าแหล่งปิโตรเลียมเราเป็นหลุมเล็กๆ ต้นทุนในการขุดเจาะสูง จะเรียกผลตอบแทนสูงก็ไม่ได้ เหมือนลูกสาวเราไม่สวยจะเรียกสินสอดแพงๆ เดี๋ยวลูกก็ขึ้นคานหรอก”

 

“กำไรสุทธิ 97%!” เพื่อนร่วมวงอีกท่านหนึ่งอุทานออกมา

 

“ใช่ 97 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุน แต่ยอดเงินลงทุนไม่ใช่แค่ร้อยล้านพันล้านบาทนะ แต่มันคือแสนห้าหมื่นล้านบาทเชียวนะ” ผมตอบอย่างมั่นใจพร้อมกับถามกลับไปว่า

 

“มันเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรไหม? ความเสี่ยงก็น้อย สินค้าก็ไม่บูด แถมผูกขาดอีกต่างหาก”

 

เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าภาพได้เสนอจะชวนเพื่อนสนิทของเขามาคุยกับผมในเรื่องปิโตรเลียม ผมค่อนข้างจะลังเลที่จะรับนัดพร้อมกับเล่าประสบการณ์ตรงที่ผมเคยประสบว่า “ผมเคยคุยกับนักธุรกิจที่เป็นวิศวกรด้วย เป็นชาวสงขลา ตอนนั้นคุยกันเรื่องท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ทั้งๆ ที่ผมอ้างแหล่งข้อมูลของทางราชการ แต่เขาไม่เชื่อ ผมบอกให้เขาไปตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง และเอาหลักฐานประกอบตัวเลขของเขามาด้วย ปรากฏว่าเขาหายเงียบไปเลย”

 

เราแยกย้ายกันกลับเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืนพร้อมกับต้องปลุกเพื่อนร่วมวงบางคนที่กำลังกรน

 

2. ค้นข้อมูลจากภาครัฐ

 

กลับถึงบ้านแล้ว ผมรีบเปิดดูรายงานประจำปี 2555 ซึ่งเป็นรายงานปีล่าสุดของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน วันรุ่งขึ้นผมได้สรุปผลประกอบการในกิจการผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยซึ่งก็เป็นข้อมูลของทางราชการแต่ผมวิเคราะห์คนละมุม โดยเลือกมุมซึ่งเป็นความจริงที่สำคัญมากมาเสนอ ดังได้แสดงในแผ่นภาพข้างล่างนี้

 

ตัวเลขที่ผมได้เรียนต่อวงสนทนาว่า ในปี 2554 บริษัทผู้รับสัมปทานได้กำไรสุทธิคิดเป็นร้อยละ 97 ของเงินลงทุนนั้น ผมถือว่าเป็นความไม่เป็นธรรมต่อคนไทยมากแล้ว

 

แต่ข้อมูลในปี 2555 (ซึ่งเป็นรายงานออกใหม่ล่าสุดแต่ผมเพิ่งได้อ่าน-ใช่ปีล่าสุด 2555) พบว่ากำไรดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 117% เลยทีเดียว คิดเป็นตัวเงินก็ประมาณ 1.87 แสนล้านบาท มากกว่าเดิมถึง 20% โดยที่เงินลงทุนเท่ากับ 1.6 แสนล้านบาท

 

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ!

 

จากข้อมูลในแผ่นภาพดังกล่าวมีข้อน่าสนใจ 2 ประการคือ

 

(1) ค่าภาคหลวงที่รัฐได้คิดเป็นร้อยละ 12.15 ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งเดิมทีกฎหมายได้กำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 12.5% แต่ได้ถูกแก้ไขเป็นช่วง 5-15% เมื่อประมาณปี 2532

 

(2) ภาษีเงินได้ ตามกฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิแต่ไม่เกินร้อยละ 60 แต่ผมไม่เข้าใจครับว่าทำไมจึงมีการเก็บจริงที่อัตราร้อยละ 50 มาตลอด

 

สำหรับในแผ่นภาพนี้พบว่า ภาษีเงินได้คิดเป็นเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีบริษัทจำนวนมากที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในช่วง 8 ปีแรก รวมทั้งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วย หลังจาก 8 ปีแล้วก็ยังมีสิทธิพิเศษเรื่องภาษีอีกแต่ผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว

 

ผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่า ทำไมต้องลดภาษีให้กับนักลงทุนสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม เพราะว่าปิโตรเลียมที่ขายให้กับคนไทยก็เป็นราคาตลาดโลก (และบวกค่าขนส่ง-ทั้งๆ ที่ไม่มีการขนส่งจริง) ในเมื่อเราซื้อจากต่างประเทศก็มีราคาถูกกว่าเสียด้วยซ้ำ

 

ขณะเขียนบทความนี้ ผมนั่งฮัมเพลง “ตายสิบเกิดแสน” ของน้าหงา คาราวาน นอกจากจะนำมาเป็นชื่อบทความ (ซึ่งผมจำได้แม่น) แล้ว ตอนหนึ่งของเพลงกล่าวว่า

 

มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…

 

ผมว่าเรื่องนี้ คสช.ก็รู้ว่า “ผู้คนแค้น” กันมากทั้งแผ่นดิน แต่ คสช.จะสามารถจัดความคิดให้เป็นระบบและแยกถูกแยกผิดได้หรือไม่ ผมว่าไม่นานคนไทยจะได้เห็นกัน (หมายเหตุ ความตั้งใจดีของ คสช.อย่างเดียวคงไม่พอสำหรับเรื่องที่ซับซ้อนมากเช่นนี้ครับ ท่านต้องพึ่งประชาชนที่บริสุทธิ์ จึงจะสามารถจัดการกับเรื่องเลวๆ บาปๆ แบบนี้ได้)

 

3. การบิดประเด็นของภาครัฐ

 

แทนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานจะตั้งคำถามว่า การที่บริษัทผู้รับสัมปทานลงทุน 1.6 แสนล้านบาท โดยได้กำไรสุทธิ 1.9 แสนล้านบาท เป็นการประกอบการที่ได้กำไรมากเกินไปหรือไม่ แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกลับมีคำอธิบายให้กับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรต้องหลงประเด็นไปว่า “รัฐมีรายได้มากกว่าเอกชนผู้ประกอบการ” ดังข้อความในหน้าที่ 89 ซึ่งผมตัดมาให้ดูดังภาพ

 

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ!

 

สิ่งที่กรมเชื้อเพลิงนำไปประชาสัมพันธ์ก็คือ “รัฐได้รับผลประโยชน์มากกว่าเอกชน”

 

วิธีคิดของหน่วยราชการนี้ก็คือ นำมูลค่าปิโตรเลียมมาหักต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะ โดยบริษัทคิดต้นทุนทั้งหมดของตนเองออกไปก่อน ที่เหลือก็นำมาแบ่งเป็นสองส่วน ใหญ่ๆ คือรายได้รัฐ (ซึ่งประกอบด้วย ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ และ ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ในปี 2555 ได้รวมกัน 177,645 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัทได้รับสุทธิ 187,343 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนพบว่า รัฐได้รับร้อยละ 49 ผู้ประกอบการเอกชนได้ร้อยละ 51 ซึ่งเอกชนได้มากกว่ารัฐ

 

วิธีคิดของทางราชการไทยก็คือคิดว่า รัฐไทยไม่มีต้นทุนใดๆ ในทรัพยากรปิโตรเลียมนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายทางการทหารที่ดูแลรักษาทรัพยากรนี้มาหลายร้อยปี ไม่คิดถึงชีวิตและเลือดเนื้อของคนไทยที่เสียสละเพื่อรักษาดินแดนไว้จนมาถึงวันนี้ ไม่คิดคุณค่าของ “อำนาจอธิปไตย” เหนือแผ่นดินดังกล่าวเลย

 

ผมไม่เชื่อว่าทหารไทยและคนไทยทั่วไปจะคิดแบบนี้

 

4. วิธีคิดที่เป็นธรรมกว่า

 

ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นค่าภาคหลวงในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ในส่วนของรัฐบาลกลาง กล่าวคือได้ขึ้นค่าภาคหลวงจากร้อยละ 12.5 เป็น 16.67 (ข้อมูลจาก GAO-07-676R Oil and Gas Royalties)

 

ประเทศนอร์เวย์ คิดอัตราค่าภาคหลวงตามราคาปิโตรเลียม เช่น ถ้าราคาปิโตรเลียมไม่ถึง $30 ต่อบาร์เรล จะไม่คิดค่าภาคหลวงเลย แต่ถ้าราคาเกินกว่านี้จะคิดอัตราค่าภาคหลวง 30% ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งราคาน้ำมันดิบได้เกิน $30 ต่อบาร์เรลมานานกว่า 10 ปีแล้ว (ดูรูปล่างสุด)

 

แต่ที่มีความเป็นธรรมต่อประเทศและผู้ประกอบการมากกว่านั้นก็คือระบบที่เรียกว่า “ระบบการแบ่งปันผลผลิต” ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศได้เปลี่ยนมาจากระบบเดิมที่เรียกว่า “ระบบสัมปทาน” ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่เดี๋ยวนี้ ในทางวิชาการเขาถือว่าระบบสัมปทานเป็นระบบเมืองขึ้นที่เจ้าอาณานิคมมีสิทธิทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการจัดการ การเพิ่มหรือลดการผลิต การส่งออกทั้งๆที่ประเทศไทยมีน้ำมันไม่พอใช้ เป็นต้น

 

5. ราคาปิโตรเลียมต้นน้ำในประเทศไทยเทียบกับราคาตลาดต่างประเทศ

 

เพื่อให้ได้รายละเอียดที่สำคัญเพิ่มเติม ในหัวข้อนี้ผมจึงขอเสนอข้อมูล 2 ชุดครับ

 

ชุดแรกเป็นข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยในปี 2555 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ ที่แหล่งการผลิต ที่ที่เขาคิดค่าภาคหลวงกัน พบว่ามีการผลิตปิโตรเลียมคิดเป็นมูลค่า 524,858 ล้านบาท (ประมาณ 5% ของจีดีพี) โดยที่ก๊าซธรรมชาติมีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมามาคือน้ำมันดิบร้อยละ 34 และคอนเดนเสท (น้ำมันเหลวที่ได้จากการเจาะก๊าซ) อีกร้อยละ 21

 

สำหรับทางด้านขวามือของตารางดังกล่าวเป็นราคาต่อหน่วย เอาไว้เปรียบเทียบกับราคาในตลาดโลก (ในข้อมูลชุดที่สอง) พร้อมกับการเปรียบเทียบราคาของปี 2554 กับ 2555 ด้วย

 

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ!

 

จากตารางจะเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบในปี 2555 เฉลี่ยเท่ากับลิตรละ 21.34 บาท โดยเพิ่มมาจากปี 2554 ร้อยละ 5.3 สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไมราคาก๊าซจึงเพิ่มขึ้นถึง 21% ในปีเดียว

 

สำหรับข้อมูลชุดที่สองเป็นราคาน้ำมันดิบในตลาด West Texas (ซึ่งวิกิพีเดียขยายความว่าเป็นน้ำมันเบาและมีกำมะถันต่ำ) และตลาด Brent (มาจากอักษรย่อของ 5 คำ) จากแผ่นภาพดังกล่าวพบว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในปี 2555 ของตลาดทั้งสองลิตรละ 20.02 บาท ในขณะที่ราคาที่ผลิตจากประเทศไทยเท่ากับ 21.34 บาท และเมื่อน้ำมันดิบพวกนี้เข้าโรงกลั่นก็จะถูกคิดค่าการกลั่นแพงอีกทอดหนึ่ง (หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นกลางเดือนมกราคม มิถุนายน และธันวาคม เท่ากับ 26.55, 23.50 และ 24.49 บาทต่อลิตร ตามลำดับ – ผมสุ่มมา 3 เดือนเพราะกระทรวงพลังงานไม่มีข้อมูลสรุป)

 

เห็นแล้วใช่ไหมว่า สำหรับน้ำมันแล้วราคานำเข้าถูกกว่าที่ผลิตเอง

 

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ!

 

อนึ่ง ราคาก๊าซหุงต้มในข้อมูลชุดแรกปี 2555 กิโลกรัมละ 9.49 บาท แต่ราคาที่ขายหน้าโรงกลั่นกิโลกรัมละ 10.51 บาท และราคาเมื่อรวมภาษีและอื่นๆ แล้วราคาขายปลีก (สำหรับปรุงอาหาร) กิโลกรัมละ 18.13 บาท

 

6. สรุป

 

ที่กล่าวมาแล้วคือ “ความจริงที่สำคัญ” ครับ ในขณะที่ข้อโต้แย้งของด็อกเตอร์ผู้อาวุโสที่ว่า ประเทศไทยมีน้ำมันดิบไม่ได้มากอย่างที่คนเข้าใจก็เป็นความจริง แต่เป็น “ความจริงที่ไม่สำคัญ” ครับ

 

ผมเห็นโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งบอกในตอนท้ายๆ ว่า “เสนอความจริง” ผมคิดว่าเป็นคำโฆษณาที่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนครับ เราต้องเสนอ “ความจริงที่สำคัญ” เรื่องต้นกล้วยออกปลีตรงกลางลำต้น เรื่องควายหาย หมีตั้งท้องก็เป็น “ความจริง” แต่ “ไม่สำคัญ” ครับ แต่การปล้นทรัพยากรปิโตรเลียมเป็น “ความจริงที่สำคัญ” ครับ แต่ไม่มีสื่อใดนำเสนออย่างเกาะติด

 

อะไรมาบังตาสื่อส่วนใหญ่ในประเทศนี้ครับ ทั้งๆ ที่คนจำนวนมากขึ้นทุกทีได้ “มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…”

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084864

 

— กับ Poppe Chatchawan, ไกรสร เชาวนระบิน, ไม่เคยลัก แบริเออร์, ประสาท มีแต้ม และ Kamolpan Cheewapansri

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บทความ:โลกที่ซับซ้อน โดย อ.ประสาท มีแต้ม ASTV ผู้จัดการออนไลน์

 

“เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย”

 

“น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก"

 

>>> 1. ความเป็นมา

คุณอัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนระดับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2524 (รวมเรื่องสั้นชื่อ “ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง”) ได้ตั้งคำถามกับผมในวงอาหารแห่งหนึ่ง พร้อมกับอ้างคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสคนดังระดับรองนายกรัฐมนตรีหลายสมัยว่า “จริงหรือเปล่าที่ด็อกเตอร์…บอกว่าประเทศไทยไม่ได้มีน้ำมันดิบมากอย่างที่คนเข้าใจกัน”

 

ผมได้ตอบนักเขียนผู้อาวุโสกว่าผมเกือบ 3 ปีไปอย่างสั้นๆว่า “เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย”

 

ผมได้ขยายความอีกเล็กน้อยว่า “น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก มันซับซ้อนไหมพี่”

 

“ส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายให้คนไทยด้วย” เสียงคุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ นักจัดรายการวิทยุผู้แหลมคมและมากด้วยประสบการณ์เสริมขึ้นมา

 

“แล้วทำไมคนไทยไม่ค่อยรู้กัน” คุณอัศศิริ ถามต่อ

 

“ก็เหมือนกับดีบุกในช่วง 14 ตุลาคม 2516 นั่นแหละพี่” ผมย้อนความหลังให้วงสนทนาผู้สูงวัย “กว่าที่คนไทยจะรู้เรื่อง เขาก็โกยไปเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแร่แทนทาลัมราคาสูงกว่าดีบุกหลายเท่าปนติดไปด้วยแต่เราไม่รู้ ตอนนี้ประเทศไทยส่งทองคำออกอีกแล้ว ปีละประมาณ 4 ตัน คนไทยก็ไม่รู้ แถมชาวบ้านจำนวนมากได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงจากไซยาไนด์”

 

“ที่คนไทยไม่รู้เพราะผู้ประกอบการจงใจไม่ให้เรารู้ เรื่องน้ำมันก็เหมือนกัน มีข้อมูลจริงมั่ง เท็จมั่ง และที่จงใจบิดเบือนก็มาก แต่เรื่องสำคัญคือเรื่องความเป็นธรรม” ผมกล่าวต่อไปว่า

 

“ในเรื่องความเป็นธรรมนั้น พี่คิดดู ในปี 2554 บริษัทที่ได้รับสัมปทานมีกำไรสุทธิร้อยละ 97 ของเงินลงทุนในปีนั้น ข้าราชการระดับสูงบอกกับประชาชนว่าแหล่งปิโตรเลียมเราเป็นหลุมเล็กๆ ต้นทุนในการขุดเจาะสูง จะเรียกผลตอบแทนสูงก็ไม่ได้ เหมือนลูกสาวเราไม่สวยจะเรียกสินสอดแพงๆ เดี๋ยวลูกก็ขึ้นคานหรอก”

 

“กำไรสุทธิ 97%!” เพื่อนร่วมวงอีกท่านหนึ่งอุทานออกมา

 

“ใช่ 97 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุน แต่ยอดเงินลงทุนไม่ใช่แค่ร้อยล้านพันล้านบาทนะ แต่มันคือแสนห้าหมื่นล้านบาทเชียวนะ” ผมตอบอย่างมั่นใจพร้อมกับถามกลับไปว่า

 

“มันเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรไหม? ความเสี่ยงก็น้อย สินค้าก็ไม่บูด แถมผูกขาดอีกต่างหาก”

 

เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าภาพได้เสนอจะชวนเพื่อนสนิทของเขามาคุยกับผมในเรื่องปิโตรเลียม ผมค่อนข้างจะลังเลที่จะรับนัดพร้อมกับเล่าประสบการณ์ตรงที่ผมเคยประสบว่า “ผมเคยคุยกับนักธุรกิจที่เป็นวิศวกรด้วย เป็นชาวสงขลา ตอนนั้นคุยกันเรื่องท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ทั้งๆ ที่ผมอ้างแหล่งข้อมูลของทางราชการ แต่เขาไม่เชื่อ ผมบอกให้เขาไปตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง และเอาหลักฐานประกอบตัวเลขของเขามาด้วย ปรากฏว่าเขาหายเงียบไปเลย”

 

เราแยกย้ายกันกลับเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืนพร้อมกับต้องปลุกเพื่อนร่วมวงบางคนที่กำลังกรน

 

2. ค้นข้อมูลจากภาครัฐ

 

กลับถึงบ้านแล้ว ผมรีบเปิดดูรายงานประจำปี 2555 ซึ่งเป็นรายงานปีล่าสุดของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน วันรุ่งขึ้นผมได้สรุปผลประกอบการในกิจการผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยซึ่งก็เป็นข้อมูลของทางราชการแต่ผมวิเคราะห์คนละมุม โดยเลือกมุมซึ่งเป็นความจริงที่สำคัญมากมาเสนอ ดังได้แสดงในแผ่นภาพข้างล่างนี้

 

ตัวเลขที่ผมได้เรียนต่อวงสนทนาว่า ในปี 2554 บริษัทผู้รับสัมปทานได้กำไรสุทธิคิดเป็นร้อยละ 97 ของเงินลงทุนนั้น ผมถือว่าเป็นความไม่เป็นธรรมต่อคนไทยมากแล้ว

 

แต่ข้อมูลในปี 2555 (ซึ่งเป็นรายงานออกใหม่ล่าสุดแต่ผมเพิ่งได้อ่าน-ใช่ปีล่าสุด 2555) พบว่ากำไรดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 117% เลยทีเดียว คิดเป็นตัวเงินก็ประมาณ 1.87 แสนล้านบาท มากกว่าเดิมถึง 20% โดยที่เงินลงทุนเท่ากับ 1.6 แสนล้านบาท

 

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ!

 

จากข้อมูลในแผ่นภาพดังกล่าวมีข้อน่าสนใจ 2 ประการคือ

 

(1) ค่าภาคหลวงที่รัฐได้คิดเป็นร้อยละ 12.15 ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งเดิมทีกฎหมายได้กำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 12.5% แต่ได้ถูกแก้ไขเป็นช่วง 5-15% เมื่อประมาณปี 2532

 

(2) ภาษีเงินได้ ตามกฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิแต่ไม่เกินร้อยละ 60 แต่ผมไม่เข้าใจครับว่าทำไมจึงมีการเก็บจริงที่อัตราร้อยละ 50 มาตลอด

 

สำหรับในแผ่นภาพนี้พบว่า ภาษีเงินได้คิดเป็นเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีบริษัทจำนวนมากที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในช่วง 8 ปีแรก รวมทั้งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วย หลังจาก 8 ปีแล้วก็ยังมีสิทธิพิเศษเรื่องภาษีอีกแต่ผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว

 

ผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่า ทำไมต้องลดภาษีให้กับนักลงทุนสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม เพราะว่าปิโตรเลียมที่ขายให้กับคนไทยก็เป็นราคาตลาดโลก (และบวกค่าขนส่ง-ทั้งๆ ที่ไม่มีการขนส่งจริง) ในเมื่อเราซื้อจากต่างประเทศก็มีราคาถูกกว่าเสียด้วยซ้ำ

 

ขณะเขียนบทความนี้ ผมนั่งฮัมเพลง “ตายสิบเกิดแสน” ของน้าหงา คาราวาน นอกจากจะนำมาเป็นชื่อบทความ (ซึ่งผมจำได้แม่น) แล้ว ตอนหนึ่งของเพลงกล่าวว่า

 

มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…

 

ผมว่าเรื่องนี้ คสช.ก็รู้ว่า “ผู้คนแค้น” กันมากทั้งแผ่นดิน แต่ คสช.จะสามารถจัดความคิดให้เป็นระบบและแยกถูกแยกผิดได้หรือไม่ ผมว่าไม่นานคนไทยจะได้เห็นกัน (หมายเหตุ ความตั้งใจดีของ คสช.อย่างเดียวคงไม่พอสำหรับเรื่องที่ซับซ้อนมากเช่นนี้ครับ ท่านต้องพึ่งประชาชนที่บริสุทธิ์ จึงจะสามารถจัดการกับเรื่องเลวๆ บาปๆ แบบนี้ได้)

 

3. การบิดประเด็นของภาครัฐ

 

แทนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานจะตั้งคำถามว่า การที่บริษัทผู้รับสัมปทานลงทุน 1.6 แสนล้านบาท โดยได้กำไรสุทธิ 1.9 แสนล้านบาท เป็นการประกอบการที่ได้กำไรมากเกินไปหรือไม่ แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกลับมีคำอธิบายให้กับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรต้องหลงประเด็นไปว่า “รัฐมีรายได้มากกว่าเอกชนผู้ประกอบการ” ดังข้อความในหน้าที่ 89 ซึ่งผมตัดมาให้ดูดังภาพ

 

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ!

 

สิ่งที่กรมเชื้อเพลิงนำไปประชาสัมพันธ์ก็คือ “รัฐได้รับผลประโยชน์มากกว่าเอกชน”

 

วิธีคิดของหน่วยราชการนี้ก็คือ นำมูลค่าปิโตรเลียมมาหักต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะ โดยบริษัทคิดต้นทุนทั้งหมดของตนเองออกไปก่อน ที่เหลือก็นำมาแบ่งเป็นสองส่วน ใหญ่ๆ คือรายได้รัฐ (ซึ่งประกอบด้วย ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ และ ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ในปี 2555 ได้รวมกัน 177,645 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัทได้รับสุทธิ 187,343 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนพบว่า รัฐได้รับร้อยละ 49 ผู้ประกอบการเอกชนได้ร้อยละ 51 ซึ่งเอกชนได้มากกว่ารัฐ

 

วิธีคิดของทางราชการไทยก็คือคิดว่า รัฐไทยไม่มีต้นทุนใดๆ ในทรัพยากรปิโตรเลียมนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายทางการทหารที่ดูแลรักษาทรัพยากรนี้มาหลายร้อยปี ไม่คิดถึงชีวิตและเลือดเนื้อของคนไทยที่เสียสละเพื่อรักษาดินแดนไว้จนมาถึงวันนี้ ไม่คิดคุณค่าของ “อำนาจอธิปไตย” เหนือแผ่นดินดังกล่าวเลย

 

ผมไม่เชื่อว่าทหารไทยและคนไทยทั่วไปจะคิดแบบนี้

 

4. วิธีคิดที่เป็นธรรมกว่า

 

ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นค่าภาคหลวงในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ในส่วนของรัฐบาลกลาง กล่าวคือได้ขึ้นค่าภาคหลวงจากร้อยละ 12.5 เป็น 16.67 (ข้อมูลจาก GAO-07-676R Oil and Gas Royalties)

 

ประเทศนอร์เวย์ คิดอัตราค่าภาคหลวงตามราคาปิโตรเลียม เช่น ถ้าราคาปิโตรเลียมไม่ถึง $30 ต่อบาร์เรล จะไม่คิดค่าภาคหลวงเลย แต่ถ้าราคาเกินกว่านี้จะคิดอัตราค่าภาคหลวง 30% ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งราคาน้ำมันดิบได้เกิน $30 ต่อบาร์เรลมานานกว่า 10 ปีแล้ว (ดูรูปล่างสุด)

 

แต่ที่มีความเป็นธรรมต่อประเทศและผู้ประกอบการมากกว่านั้นก็คือระบบที่เรียกว่า “ระบบการแบ่งปันผลผลิต” ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศได้เปลี่ยนมาจากระบบเดิมที่เรียกว่า “ระบบสัมปทาน” ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่เดี๋ยวนี้ ในทางวิชาการเขาถือว่าระบบสัมปทานเป็นระบบเมืองขึ้นที่เจ้าอาณานิคมมีสิทธิทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการจัดการ การเพิ่มหรือลดการผลิต การส่งออกทั้งๆที่ประเทศไทยมีน้ำมันไม่พอใช้ เป็นต้น

 

5. ราคาปิโตรเลียมต้นน้ำในประเทศไทยเทียบกับราคาตลาดต่างประเทศ

 

เพื่อให้ได้รายละเอียดที่สำคัญเพิ่มเติม ในหัวข้อนี้ผมจึงขอเสนอข้อมูล 2 ชุดครับ

 

ชุดแรกเป็นข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยในปี 2555 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ ที่แหล่งการผลิต ที่ที่เขาคิดค่าภาคหลวงกัน พบว่ามีการผลิตปิโตรเลียมคิดเป็นมูลค่า 524,858 ล้านบาท (ประมาณ 5% ของจีดีพี) โดยที่ก๊าซธรรมชาติมีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมามาคือน้ำมันดิบร้อยละ 34 และคอนเดนเสท (น้ำมันเหลวที่ได้จากการเจาะก๊าซ) อีกร้อยละ 21

 

สำหรับทางด้านขวามือของตารางดังกล่าวเป็นราคาต่อหน่วย เอาไว้เปรียบเทียบกับราคาในตลาดโลก (ในข้อมูลชุดที่สอง) พร้อมกับการเปรียบเทียบราคาของปี 2554 กับ 2555 ด้วย

 

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ!

 

จากตารางจะเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบในปี 2555 เฉลี่ยเท่ากับลิตรละ 21.34 บาท โดยเพิ่มมาจากปี 2554 ร้อยละ 5.3 สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไมราคาก๊าซจึงเพิ่มขึ้นถึง 21% ในปีเดียว

 

สำหรับข้อมูลชุดที่สองเป็นราคาน้ำมันดิบในตลาด West Texas (ซึ่งวิกิพีเดียขยายความว่าเป็นน้ำมันเบาและมีกำมะถันต่ำ) และตลาด Brent (มาจากอักษรย่อของ 5 คำ) จากแผ่นภาพดังกล่าวพบว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในปี 2555 ของตลาดทั้งสองลิตรละ 20.02 บาท ในขณะที่ราคาที่ผลิตจากประเทศไทยเท่ากับ 21.34 บาท และเมื่อน้ำมันดิบพวกนี้เข้าโรงกลั่นก็จะถูกคิดค่าการกลั่นแพงอีกทอดหนึ่ง (หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นกลางเดือนมกราคม มิถุนายน และธันวาคม เท่ากับ 26.55, 23.50 และ 24.49 บาทต่อลิตร ตามลำดับ – ผมสุ่มมา 3 เดือนเพราะกระทรวงพลังงานไม่มีข้อมูลสรุป)

 

เห็นแล้วใช่ไหมว่า สำหรับน้ำมันแล้วราคานำเข้าถูกกว่าที่ผลิตเอง

 

มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ!

 

อนึ่ง ราคาก๊าซหุงต้มในข้อมูลชุดแรกปี 2555 กิโลกรัมละ 9.49 บาท แต่ราคาที่ขายหน้าโรงกลั่นกิโลกรัมละ 10.51 บาท และราคาเมื่อรวมภาษีและอื่นๆ แล้วราคาขายปลีก (สำหรับปรุงอาหาร) กิโลกรัมละ 18.13 บาท

 

6. สรุป

 

ที่กล่าวมาแล้วคือ “ความจริงที่สำคัญ” ครับ ในขณะที่ข้อโต้แย้งของด็อกเตอร์ผู้อาวุโสที่ว่า ประเทศไทยมีน้ำมันดิบไม่ได้มากอย่างที่คนเข้าใจก็เป็นความจริง แต่เป็น “ความจริงที่ไม่สำคัญ” ครับ

 

ผมเห็นโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งบอกในตอนท้ายๆ ว่า “เสนอความจริง” ผมคิดว่าเป็นคำโฆษณาที่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนครับ เราต้องเสนอ “ความจริงที่สำคัญ” เรื่องต้นกล้วยออกปลีตรงกลางลำต้น เรื่องควายหาย หมีตั้งท้องก็เป็น “ความจริง” แต่ “ไม่สำคัญ” ครับ แต่การปล้นทรัพยากรปิโตรเลียมเป็น “ความจริงที่สำคัญ” ครับ แต่ไม่มีสื่อใดนำเสนออย่างเกาะติด

 

อะไรมาบังตาสื่อส่วนใหญ่ในประเทศนี้ครับ ทั้งๆ ที่คนจำนวนมากขึ้นทุกทีได้ “มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…”

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084864

 

— กับ Poppe Chatchawan, ไกรสร เชาวนระบิน, ไม่เคยลัก แบริเออร์, ประสาท มีแต้ม และ Kamolpan Cheewapansri

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Vinai Kall ผลตอบแทนภาครัฐจากกิจการปิโตรเลียม

จากรายงาน ประจำปี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ประจำปี 2554ตั้งแต่เริ่มมีการผลิตปิโตรเลียม ปี 2524 - 2554 ผลิตปิโตรเลียมได้ทั้งสิ้น 3,415,928 ล้านบาท ผู้รับสัมปทานเงินลงทุนทั้งด้านการสำรวจและผลิตจำนวนทั้งสิ้น 1,459,082 ล้านบาท จากมูลค่าและค่าใช้จ่ายเป็นกำไรก่อนหักภาษีจำนวน 1,956,846 ล้านบาท และต้องเสียภาษี 50 % เป็นเงินทั้งสิ้น 695,765 ล้านบาท และต้องเสียค่าภาคหลวงตั้งแต่ 5-15 % รวมทั้งผลตอบแทนพิเศษอื่นๆจำนวน 464,257 ล้านบาท รัฐได้จากการผลิตปิโตรเลียมจำนวน 1,160,022 (695,765 + 464,257 ) ล้านบาท และผู้รับสัมทานได้จำนวน 796,824 (3,415,928 - 1,459,082 -695,765 -464,257 ) ล้านบาท ถ้าพิจารณาผลตอบแทนทั้งภาครัฐและผู้รับสัมปทาน สรุปได้ดังนี้

 

1.เมื่อเปรียบเทียบกับ ผลกำไรก่อนหักภาษี จำนวน 1,956,846 ล้านบาท รัฐได้ผลตอบแทน 59% และผู้รับสัมทานได้ผลตอบแทน 41%

2.เมื่อ เปรียบเทียบกับ เงินลงทุน จำนวน 1,459,082 ล้านบาท รัฐได้ผลตอบแทน 79% และผู้รับสัมทานได้ผลตอบแทน 55% ส่วนนี้ถ้ามองให้ดีจะเห็นว่ารัฐไม่ได้ลงทุนอะไร จะคิดว่าน้ำมันอยู่ใต้ดินคือทุนไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ใหน การที่หาว่ามันอยู่ที่ให้เพื่อให้เป็นปริมาณที่พสูจน์แล้วต้องลงทุน

3.เมื่อเปรียบเทียบกับ มูลค่าปิโตรเลียม จำนวน 3,415,928 ล้านบาท รัฐได้ผลตอบแทน 34% และผู้รับสัมทานได้ผลตอบแทน23%

2 ชม. · ถูกใจ

10624750_734711616576140_8187905966118301349_n.jpg?oh=27c20bfe0b37ca83c5882822f3895234&oe=54C00402&__gda__=1421733419_edb5c3e119bd6ffed6b0b139a231a5fb

Vinai Kall เมื่อ พิจารณาจากข้อมูลดังกล่าวพบว่ารัฐผลตอบแทน 59:41 เมื่อเทียบกับผลกำไร 79:55 เมื่อเทียบกับเงินลงทุน 34:23 เมื่อเทียบกับมูลค่าปิโตรเลียม

ข้อเรียกร้อง ต้องการให้แก้ พรบ ปิโตรเลียมเพื่อให้ค่าภาคหลวงเป็น 80 % ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้ จากข้อมูลที่กล่าวมา เมื่อเทียบกับเงินลงทุนผลตอบแทนเท่ากับ 34:23 คือรัฐได้ 34 ผู้ประกอบการได้ 23 และเงินลง 43 เพื่อให้จินตนาการได้ง่ายขึ้น ถ้าลงทุนร่วมค้ากันลงทุนไป 43 บาท ขายสินค้าได้ 100 เหลือกำไร 57 บาท มาแบ่งสรรปันส่วนกันอย่างไร ถ้ารัฐจัดเก็บ 80 % หรือ 80 บาทจากมูลค่า 100 บาท จะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะว่าได้กำไรเพียง 57 บาทเท่านั้นเมื่อพิจารณาจากข้อมูลดังกล่าวพบว่ารัฐผลตอบแทน 59:41 เมื่อเทียบกับผลกำไร

79:55 เมื่อเทียบกับเงินลงทุน 34:23 เมื่อเทียบกับมูลค่าปิโตรเลียมข้อเรียกร้อง ต้องการให้แก้ พรบ ปิโตรเลียมเพื่อให้ค่าภาคหลวงเป็น 80 % ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้ จากข้อมูลที่กล่าวมา เมื่อเทียบกับเงินลงทุนผลตอบแทนเท่ากับ 34:23 คือรัฐได้ 34 ผู้ประกอบการได้ 23 และเงินลง 43 เพื่อให้จินตนาการได้ง่ายขึ้น ถ้าลงทุนร่วมค้ากันลงทุนไป 43 บาท ขายสินค้าได้ 100 เหลือกำไร 57 บาท มาแบ่งสรรปันส่วนกันอย่างไร ถ้ารัฐจัดเก็บ 80 % หรือ 80 บาทจากมูลค่า 100 บาท จะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะว่าได้กำไรเพียง 57 บาทเท่านั้น ทั้งหมดเป็นข้อมูลจริง พวกที่เบี่ยงเบน ยังแถต่อไปว่า มูลค่าปิโตรเลียมคือ เงินลงทุนของรัฐ ดังนั้นรัฐต้องได้มากกว่านี้จากข้างบน อ่านให้ดี มันเหลือ 57 % จะแบ่งกันอย่างไร จะเอาทั้งหมดรัฐก็ยังได้เพียง 57 %

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Vinai Kall รายได้รัฐจากกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ตั้งแต่ปี 2524- 2556 สรุปได้ดังนี้

1.1 รายได้รัฐทางตรง จัดเก็บโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ. 2514 รายได้ส่วนนี้ประกอบด้วยประกอบด้วย

 

- ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม จำนวน 0.554 ล้านบาท

 

- เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) จำนวน 0.047 ล้านบาท

 

1.2 รายได้รัฐทางตรง จัดเก็บโดยกรมสรรพากรภายใต้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514

 

- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม รวม 0.912 ล้านบาท

 

ดังนั้นรายได้รัฐรวมทั้งรายได้ทางตรงจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และจากกรมสรรพสามิต จำนวน 1.518 ล้านล้านบาท

 

1.3 รายได้รัฐทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากยอดขายปิโตรเลียม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคลที่ให้บริการรับจ้างแก่ผู้รับสัมปทาน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของพนักงาน/บุคคล ที่ได้รับค่าจ้างจากผู้รับสัมปทาน

 

ตั้งแต่ผลิตมาถึง 2556 สรุปได้ดังนี้

 

มูลค่าขายปิโตรเลียมจำนวน 4.465 ล้านล้านบาท

 

เงินลงทุนจำนวน 1.830 ล้านล้านบาท

 

กำไร จำนวน 2.635 ล้านล้านบาท

 

รัฐได้ 1.518 ล้านล้านบาท

 

ผู้ประกอบการได้ 1.117 ล้านล้านบาท

 

ผลตอบแทนของรัฐ Government Take ตามความหมายสากล หมายถึงอัตราส่วนรายได้ต่อกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐได้ 58% ส่วนผู้ประกอบการได้ 42 % ถ้าเรามองผลตอบแทนของรัฐกับผู้ประกอบจะเห็นว่ารัฐได้มากกว่าผู้ประกอบการ บางกลุ่มมองว่ารัฐไม่ได้ลงทุนเป็นเงิน แต่บางกลุ่มมองว่ารัฐลงทุนในรูปแบบทรัพย์ในดิน บางกลุ่มมองว่าปิโตรเลียมใต้ดินยังตีเป็นมูลค่าการลงทุนไม่ได้เพราะเจ้าของ คือรัฐยังไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ใหน สุดท้ายยังหาจุดสรุปไม่ได้

21 นาที · เลิกถูกใจ · 1

10624750_734711616576140_8187905966118301349_n.jpg?oh=27c20bfe0b37ca83c5882822f3895234&oe=54C00402&__gda__=1421733419_edb5c3e119bd6ffed6b0b139a231a5fb

Vinai Kall เอาแค่เปิดสัมปทานรอบ ที่ 20 ยังไม่คืนทุน ดังนั้นมองแค่ปีเดียวไม่ได้_____________

เส้นทางสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยใช่ว่าโรยไปด้วยกลีบกุหลาบ

 

ตั้งแต่ ปี 2543 ถึง 2555 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เปิดสัมปทานปิโตรเลียมไปแล้ว 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อ 2550 รวมระยะเวลา 12 ปี จำนวนสัมปทานที่เปิด 49 สัมปทาน หรือจำนวน 235 แปลง แต่มีผู้ได้รับสัมปทานจำนวน 63 แปลงเท่านั้น หรือ 26.8 % เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่เปิด และปัจจุบัน ปี2555 เหลือแปลงสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานคงถือไว้ 56 แปลง หรือ 88.9 % ของแปลงสัมปทานที่ได้รับ เนื่องจากมีการคืนสัมปทานพื้นที่มีศักยภาพปิโตรเลียมต่ำ แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มความรุ่งเรือง ยุคทองด้านปิโตรเลียมกำลังจะริบรี่

 

กรณี ที่จำแนกตามพื้นที่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเปิดสัมปทานให้แก่ผู้สนใจจำนวน 1.126 ล้าน ตร.กม. แต่มีผู้ได้รับพื้นที่เพียง 0.359 ล้าน ตร.กม เท่านั้น หรือ 31.9 % ซึ่งต่อมามีการคืนพื้นที่เหลือจำนวน 0.213 ล้าน ตร.กม หรือ 59.3 % เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน มีการสงวนพื้นที่ไว้เป็นพื้นสำหรับการผลิตจำนวน 1,308 ตร.กม หรือ 0.36 % เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ได้สัมปทาน

 

กรณี จำแนกตามเงินลงทุนซึ่งตลอดเวลา 12 ปี ที่เปิดสัมปทานมา 3 ครั้ง ผู้รับสัมปทานได้ลงทุนไปแล้ว 78,982 ล้านบาท มีการผลิตทั้งก๊าชและน้ำมันมูลการขาย 77,212 ล้านบาท รายได้เป็นของรัฐเท่ากับ 22,993 ล้านบาท หรือ 29.1 % เปรียบเทียบกับเงินลงทุน ซึ่งรวมทั้งค่าภาคหลวง ภาษี และ SRB ส่วนรายได้ของผู้รับสัมปทานยังติดลบ -24,763 ล้านบาท หรือ -31.35 %

 

ถ้า พิจารณาด้านปริมาณสำรอง พบว่าปริมาณสำรองก๊าชธรรมชาติเพิ่มขึ้น 78.1 พันล้าน ลบ ฟุต และปริมาณสำรองน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 144.8 ล้าน บาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนหลุมสำรวจ 100 หลุม หลุมประเมินจำนวน 66 หลุม และหลุมผลิตจำนวน 223 หลุม

 

จาก การเปิดสัมปทานมาตั้งแต่ครั้งที่ 18 เมื่อปี 2543 ถึงปัจจุบันได้เปิดสัมปทานมาแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลาตั้งแต่เปิดสัมปทานถึง 2555 รวมระยะเวลา 12 ปี พบว่าแนวโน้มของปริมาณสำรองที่พบหรือเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างมาก พร้อมกับความคุ้มทุนของผู้รับสัมปทานยิ่งน้อยลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนอย่างมาก และเป็นความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ระบบสัมปทานปิโตรเลียม VS ระบบแบ่งปันผลผลิต ที่เถียงกันอยู่ตอนนี้ สำส่วนตัวผลผมเลือกแบ่งปันผลผลิตครับ เหตุผลของผลที่เลือกแบ่งปันผลผลิต

 

1)การตรวจสอบผลผลิต การตรวจสอบผลผลิตที่ได้ง่ายสุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต หลบอย่างมากก็หลบได้ไม่มาก น้ำมันดิบไม่ไปโรงกลั่นก็ต้องส่งออกน้ำมันดิบ ยืนยันว่า2ระบบการตรวจสอบยอดการผลิตไม่ต่างครับ เหตุผลหลายอย่างที่บางท่านยกมาที่บอกว่าแบ่งปันผลิตดี ที่ผมดูระบบสัมปทานก็ตรวจสอบได้ไม่มีปัญหาครับ

 

2)เงินลงทุนของผู้รับสัมปทาน เป็นตัวที่ตรวจสอบยากมาก ใครจะตรวจสอบได้ หาทางบวกเพิ่ม50%หรือ100%น่าจะทำได้ไม่ยาก ในเมื่อส่วนนี้ตรวจสอบยากมาก ตัวนี้คือปัญหาครับ

 

ประเทศไทยปี 2524 - 2554 ผลิตปิโตรเลียมได้ทั้งสิ้น 3,415,928 ล้านบาท(ตัวเลขนี้หมกเม็ดได้ไม่มากครับ) ผู้รับสัมปทานเงินลงทุนทั้งด้านการสำรวจและผลิตจำนวนทั้งสิ้น 1,459,082 ล้านบาท(ตัวเลขส่วนนี้ครับที่เล่นกลได้เยอะมาก ตัวเลขจริงอาจแค่7แสนล้านก็ได้ครับ)

 

ระบบสัมปทาน จะเอามูลค่าปิโตรเลียมที่ผลิตได้-เงินลงทุน ได้เป็นกำไรสุทธิมาแบ่งให้รัฐอีกครั้ง การตุกติกตัวเลขการลงทุนทำได้ง่ายและเป็นส่วนตรวจสอบยากมาก

 

บริษัท เอนรอน (Enron Corp) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าพลังงานสหรัฐ ยังปกปิดตัวเลขทางบัญชีมาได้หลายปี รู้อีกทีก็ถึงขั้นล้มละลายแล้ว ทำรายจ่ายให้สูงกว่าจริงง่ายกว่าเยอะครับ

 

ที่ผ่านมามีบางบริษัทที่ได้รับสัมปทานขายสัมปทานที่ได้รับในราคาสูงมาก ขายให้ใคร บริษัทในเครือหรือนอมินีหรือเปล่า บริษัทใหม่เมื่อซื้อมาแพงก็จะมีต้นทุนเงินลงทุนสูงขึ้นมาก ก็จะมาหักจากกำไรได้เยอะ รัฐก็จะได้น้อยลง

 

----เลือกแบ่งปันผลิตดีกว่าครับ ตัวเลขการผลิตโกงได้ไม่เยอะครับ ตรวจสอบง่ายครับ รายจ่ายเป็นเรื่องของคุณทั้งหมด คราวนี้ใครจะโกงเรื่องค่าใช้จ่ายเราไม่เดือดร้อน

ใครเสนอแบ่งปันผลผลิตให้รัฐมากกว่าก็ได้ไป ตั้งระบบแบ่งปันแบบขั้นบรรไดก็ดีครับ เงินก้อนแรกที่จ่ายให้รัฐทุกบริษัทจ่ายเท่ากัน ยอดผลิตระดับ1แบ่งกี่ให้รัฐกี่% ระดับ2กี่% ระดับ3กี่%

 

****แบ่งปันผลผลิตแล้ว การสำรวจปริมาณน้ำมันว่ามีเท่าไหร่ก่อนยื่นประมูล จำเป็นหรือเปล่าผมไม่แน่ใจครับ****

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ2 ช่วงที่1 2014/09/24

 

โดยมีหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม เป็นผู้ดำเนินรายการ ช่วงที่1

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ2 ช่วงที่2 2014/09/24

 

โดยมีหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ3 ช่วงที่2 2014/09/24

 

โดยมีหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม เป็นผู้ดำเนินรายการ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ4 ช่วงที่2 2014/09/24

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
ความต่างของค่าใช้จ่ายและเงินลงทุน.pdf ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอามุมมองเรื่องพลังงานฟอสซิลมาฝากครับ

 

คำพูดของคุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ที่พูดบนเวทีเสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ2 ว่า พลังงานฟอสซิลที่ประเทศเรามีอยู่ตอนนี้ควรขุดเจาะนำมาใช้ ถ้าเก็บไว้ให้ลูกหลานในอนาคต คุณค่าของพลังงานฟอสซิลณตอนนั้นจะมีประโยชน์น้อยกว่าปัจจุบันมาก เกือบทุกคนน่าจะมองว่าเป็นวาทกรรมที่คุณปิยสวัสดิ์ พูด เพื่อจะพยายามนำพลังงานฟอสซิลไปใช้ให้ได้ แต่ผมมองว่าคุณปิยสวัสดิ์ พูดด้วยมุมมองแบบนั้นจริงครับ(ผมไม่ได้บอกว่าสิ่งที่คุณปิยสวัสดิ์พูดนั้น ถูกต้อง แต่ผมกำลังบอกว่าคุณปิยสวัสดิ์น่าจะมีมุมมองแบบนั้นจริงครับ) ถ้าวันนี้คำพูดแบบเดียวกันนี้ถูกพูดด้วยคนที่เราชื่นชอบละ ผลลัพธ์อาจออกมาอีกแบบ

ผมสงสัยมาหลายปีแล้วทำไมอเมริกาถึงขุดเอาพลังงานฟอสซิลของประเทศเขาออกมาใช้ อดีตที่ผ่านมาอเมริกาเอาแต่ซื้อจากประเทศอื่น พลังงานของประเทศตัวเองเก็บเอาไว้ไม่ยอมขุดเจาะ ช่วงปี2006-2008เหมือนกับอเมริกาจะเปลี่ยนนโยบายมาขุดเจาะพลังงานออกมาใช้ แล้วนะครับ ไม่เก็บไว้เหมือนที่ผ่านๆมา ข้อมูลที่เผยแพร่ของ eia Top World Oil Producers, 2012

1 Saudi Arabia 11,726,000 Barrels per Day

2 United States 11,119,000 Barrels per Day

3 Russia 10,397,000 Barrels per Day

ปัจจุบัน อเมริกาขุดเจาะน้ำมันวันละ 12,352,170 Barrels per Day แซงSaudi Arabiaไปแล้ว(น่าจะขุดเจาะเป็นเบอร์1 ของโลกไปแล้วนะครับ)

ดูกราฟการข้อมูลการขุดเจาะพลังงานฟอสซิลของอเมริกาที่นี่ครับ

http://www.eia.gov/countries/country-data.cfm?fips=US

กดเลือกที่Petroleum และNatural Gas จะมีกราฟการผลิตย้อนหลังเกิดขึ้น กดที่กราฟอีกที จะได้กราฟที่ขยายครับ

---ทำไมร็อคกีเฟลเลอร์ ให้ข่าว จะถอนทุนจากกิจการเชื้อเพลิงฟอสซิล แล้วหันไปลงทุนกับพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมhttp://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000109500

---จะว่าเศรษฐกิจอเมริกาย่ำแย่จนต้องขุดสมบัติเก่ามาใช้ก็ไม่น่าจะใช่ ทุกวันนี้อเมริกาพิมพ์ดอลลาร์มาใช้เป็นว่าเล่นอยู่แล้ว มีปัญหามากนักก็ขยายเพดานหนี้เท่านั้น พลังงานฟอสซิลเก็บไว้เผื่อยามที่ดอลลาร์มีปัญหาอย่างน้อยมีพลังงานฟอสซิลไว้ แลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นแทนดอลลาร์

---โซลาร์เชลล์ตอนนี้กำลังกำลังมาแรงมาก ต้นทุนการผลิตพลังงานจากโซลาร์เซลล์ลดถูกลงมาเรื่อยๆ ที่ผ่านมาได้ยินว่าต้นทุนการผลิตโซลาร์เซลล์ลดปีละ10% ถ้าเป็นแบบนี้ไปอีกช่วงใหญ่ ต้นทุนการผลิตพลังงานจากโซลาร์เซลล์อาจจะถูกกว่าต้นทุนพลังงานจากโซลารเซลล์

***ถ้าใครดูหนังเรื่องจูมง จะเห็นว่าในสมัยก่อนเกลือมีความจำเป็นสูงมาก มีราคาแพง มีความสำคัญกับประเทศและประชาชนสูงมาก แต่เมื่อมีการพัฒนาตู้เย็นมาใช้จนกระทั่งราคาตู้เย็นไม่แพงมาก ความสำคัญของเกลือแทบจะหายไปเลย

***ผมไม่ใช่คนที่ชื่นชอบคุณปิยสวัสดิ์ ช่วงที่จะมีการแต่งตั้งคุณปิยสวัสดิ์เป็นประธานบอร์ดปตท.

ผมก็เปลี่ยนรูปประจำตัวผม ค้านการแต่งตั้งคุณปิยสวัสดิ์ แต่ทุกเรื่องเราควรคุยตามเนื้อผ้าที่เห็นคำว่ารักหรือไม่ชอบควรตัดออกไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐฯ อนุญาตส่งออก “น้ำมันดิบ” เป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2557 10:03 น.

 

 

 

blank.gif 557000007369501.JPEG blank.gif blank.gif

เอเจนซีส์ - รัฐบาลสหรัฐฯ อนุญาตให้บริษัทพลังงาน 2 แห่งในรัฐเทกซัสส่งออกน้ำมันดิบได้เป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของการผ่อนคลายกฎระเบียบว่าด้วยการส่งออกน้ำมันดิบ ของอเมริกา หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงาน วานนี้ (24 มิ.ย.)

 

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะอนุญาตให้บริษัทน้ำมัน 2 แห่งในรัฐเท็กซัสส่งออกน้ำมันดิบชนิด อัลตรา-ไลต์ คอนเดนเสต ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นแก๊สโซลีน, น้ำมันเครื่องบิน หรือน้ำมันดีเซลได้ หลังสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันประเภทนี้ได้มากขึ้น สืบเนื่องจากการนำเทคโนโลยี hydraulic fracturing หรือ fracking เข้ามาใช้ในการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ

 

แหล่งข่าวใกล้ชิดเปิดเผยว่า การส่งออกน้ำมันดิบให้ผู้ซื้อต่างชาติอาจเริ่มต้นภายในเดือนสิงหาคม แต่ในปริมาณที่ไม่มากนัก

 

ช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีกระแสเรียกร้องให้วอชิงตันยกเลิกกฎหมายห้ามส่งออกน้ำมันดิบที่ ประกาศใช้เมื่อทศวรรษ 1970 ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่มีความสำคัญยิ่งต่อชาติที่พึ่ง พาน้ำมันนำเข้าเป็นหลักอย่างสหรัฐฯ

 

เทคโนโลยี hydraulic fracturing ซึ่งถูกนำมาใช้สกัดน้ำมันและก๊าซจากแหล่งหินน้ำมัน (shale) แถบรัฐนอร์ทดาโกตา และเทกซัส ช่วยให้ความต้องการนำเข้าน้ำมันของสหรัฐฯลดลงมาก และยังมีน้ำมันดิบเหลือพอที่จะจำหน่ายได้อีก

 

ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันจึงเสนอให้รัฐบาลอนุญาตการส่งออกน้ำมันดิบจากอ่าวเม็กซิโก แม้ว่าประเทศจะยังนำเข้าน้ำมันดิบผ่านทางท่าเรือบริเวณชายฝั่งตะวันออกก็ตาม

 

อย่างไรก็ดี มีเสียงคัดค้านจากบรรดาโรงกลั่นน้ำมันและผู้บริโภคบางรายที่เกรงว่า หากสหรัฐฯ เข้าไปแข่งขันในตลาดส่งออกน้ำมันดิบอาจจะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น และสุดท้ายชาวอเมริกันเองก็จะต้องจ่ายค่าเชื้อเพลิงที่แพงขึ้นตามไปด้วย

 

แม้จะเผชิญแรงกดดันทั้งจากสภาคองเกรสและอุตสาหกรรมพลังงาน แต่สหรัฐฯ ก็ยังไม่ยกเลิกกฎหมายห้ามส่งออกน้ำมันดิบโดยสิ้นเชิง โดยกระทรวงพาณิชย์เพียงประกาศคำสั่งพิเศษให้ส่งออกน้ำมันดิบ อัลตรา ไลต์ คอนเดนเสต ได้บางส่วน เนื่องจากผลิตได้ในปริมาณมากพอที่จะส่งออก แม้จะยังไม่ผ่านการกลั่นก็ตาม

 

วอลล์สตรีทเจอร์นัลระบุว่า สองบริษัทที่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้ส่งออกน้ำมันดิบคอนเดนเสต ได้แก่ บริษัท ไพโอเนียร์ รีซอร์เซส ในเมืองเออร์วิง รัฐเทกซัส และบริษัท เอ็นเตอร์ไพรซ์ โปรดักส์ พาร์ตเนอร์ส แอลพี ในเมืองฮุสตัน แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าทั้งสองบริษัทนี้จะสามารถส่งออกน้ำมันดิบใน ปริมาณมากน้อยเพียงใด

 

ปัจจุบัน สหรัฐฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ผ่านการกลั่นไปยังต่างประเทศในปริมาณมาก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...