ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ส้มโอมือ

พลังงานไทย เป็นสมบัติของชาติไทยและของคนไทย ไม่ใช่สมบัติของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

โพสต์แนะนำ

 

Supong Chan

10 ชม. ·

 

""รายงานสรุปเสวนาปฏิรูปพลังงานของกลุ่มวิศวะจุฬาฯ "" บ่ายเมื่อวานนี้ ที่โรงแรมสุโกศล ได้ข้อมูลที่น่าสนใจมาเผยแพร่ ดังนี้:

1. ประเทศไทยมีปิโตรเลียมหรือไม่?

มีกำลังการผลิตปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเลวันละเกือบ 1 ล้านบาร์เรล

75%เป็นก๊าซธรรมชาติ 10%เป็น ก๊าซเหลว และ 15%เป็น น้ำมันดิบ

ประเทศไทยให้สัมปทานมาตั้งแต่ปี พศ.2514 ถึงปัจจุบันรวม 20 ครั้ง 110 สัมปทาน 157 แปลง ผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับที่ 25 ของโลก และอันดับ 3 ในอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย

โอกาสความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเรียม 71% จึงถือว่ามีความเสี่ยงในการลงทุนน้อย และส่วนใหญ่อยู่ในเขตน้ำตื้น ทำให้ต้นทุนในการขุดสำรวจต่ำ(ตามเอกสารของบริษัทต่างชาติ)

มีทั้งหมด 6,854 หลุม ในอ่าวไทย 5,785 หลุม ในทะเลอันดามัน 19 หลุม อยู่บนบก 1,050 หลุม

ปริมาณสำรองของประเทศคลุมเครือไม่ชัดเจน ตามเอกสารของบริษัท ปตท จำกัด “ปตท. สผ. จะไม่ถือว่าปริมาณสำรองที่สำรวจพบทั้งหมด เป็นปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว จนกว่าจะมีการทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้า และ ปตท. สผ. อาจปรับปริมาณสำรองพิสูจน์แล้วเพิ่มขึ้นเมื่อ ปตท. สผ. คาดว่าปริมาณส่วนที่เพิ่มขึ้นสามารถนำมาใช้ได้อย่างแน่นอน……” เราจึงไม่รู้ปริมาณสำรองที่แท้จริง!

เหลือเชื่อที่ไทยส่งออกน้ำมันดิบมาตั้งแต่ พศ. 2553 ทั้งที่เรามีไม่เพียงพอ ในปี พศ.2556 เราขายให้จีน สหรัฐอเมริกา และ เกาหลีใต้ 35,014 ล้านบาท โดยมีคำอธิบายว่า น้ำมันจำนวนนี้ไม่เหมาะกับโรงกลั่นภายในประเทศ แถมไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปด้วย ในปี พศ.2556 สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน ซื้อรวมกัน 386,002 ล้านบาท การส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นมาตลอดตั้งแต่ปี พศ.2535

ค่าภาคหลวงที่รัฐได้มีอัตราเท่าเดิมมา 30 ปี ในขณะที่ราคาปิโตรเรียมสูงขึ้นมาก มาเลเซีย พม่า เวียตนามได้มากกว่าเรา 4-5 เท่า

ประเทศโดยรอบประเทศไทยเปลี่ยนไปใช้ระบบสัญญาแบ่งผลประโยชน์หรือ Production Sharing กันหมดแล้ว แต่ไทยยังยึดติดกับระบบสัมปทานอยู่

 

2. ระบบท่อก๊าซธรรมชาติเป็นของใคร?

ยังมีข้อขัดแย้งการตีความทางกฎหมายของคำพิพากษาศาลปกครองระหว่างสำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดินกับกระทรวงการคลัง ซึ่งฝ่ายหลังคิดว่าจบแล้ว แต่ฝ่ายแรกไม่เห็นด้วย เพราะส่วนที่อยู่ในทะเลนอกเขตชายฝั่งเกิน 22 กิโลเมตร ยังไม่ได้คืนให้รัฐ ซึ่งอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย ตามพระบรมราชโองการประกาศโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2524 จึงต้องรอคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ขาด มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554

 

3. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยเหมาะสมเป็นธรรมหรือไม่?

ราคาน่าจะถูกกว่าสิงคโปร์เพราะค่าแรงขั้นต่ำสิงคโปร์สูงเป็น 6 เท่าของไทย แต่กลับไปอ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์

 

4. รัฐจัดสรร LPG ให้ทุกภาคส่วนอย่างไร?

ผลิตภายในประเทศ 78% นำเข้า 22%

ผู้ใช้ – ครัวเรือน 40% ปิโตรเคมี 34.44% ขนส่ง 13.52% อุตสาหกรรม 12.03% แนวโน้ม 10 ปี ครัวเรือนใช้เป็นสัดส่วนน้อยลง แต่ปิโตรเคมีใช้เป็นสัดส่วนมากขึ้น

ปัจจุบันส่วนที่ผลิตภายในประเทศ ขายให้กับภาคครัวเรือนกับปิโตรเคมีก่อน ส่วนที่เหลือและนำเข้าจึงขายให้อุตสาหกรรมและขนส่ง ควรจะจัดความสำคัญใหม่โดยเน้นภาคครัวเรือน ขนส่งและอุตสาหกรรม ก่อนภาคปิโตรเรียม

 

5. เสนอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5.1 แก้ไข พรบ.แข่งขันทางการค้า 2452 ให้ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปแล้ว และมีบทลงโทษที่แรงกว่าเดิม

5.2 ตรา พรบ. ป้องกันการผูกขาด ( Thai Antitrust Law) โดยเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระใหม่ “คณะกรรมการป้องกันการผูกขาดแห่งชาติ”

5.3 กำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 2518 เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย

การเอื้อประโยชน์กลุ่มธุรกิจพลังงาน การขัดกันแห่งผลประโยชน์

ผลประโยชน์ทับซ้อนของภาครัฐ

5.4 ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเปิดเผยสํญญาสัมปทานทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีในอนาคต เพื่อให้ตรวจสอบได้ โปร่งใสเป็นธรรม และเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของสัญญา

----------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ฉบับเต็มดูที่นี่ครับ

 

 

 

final-presentation-for-print_v2.pdf

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คำสั่งศาลปกครองฉบับเต็ม คดีท่อก๊าซ วันที่14 ธันวาคม 2550คดีท่อก๊าซ.pdf

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยิ่งค้นข้อมูลเรื่องพลังงานของไทย ยิ่งเข้าใจสาเหตุที่เราสู้แล้วไม่ชนะ ข้อมูลผิดปนถูกเยอะมาก เรื่องชัดๆที่ควรแก้ไขด่วนมีน้อยเรื่อง ถ้าสู้ในเรื่องที่ชัดเจนเราน่าชนะไปนานแล้ว

เปรียบเทียบราคาเบนซินและดีเซลของประเทศในอาเซียน ณ 1 กันยายน 2557 จะเห็นว่าราคาเบนซินไทยไม่ได้แพงกว่าลาว กัมพูชา เวียดนามมากมาย แบบที่มีคนชอบแชร์ -----แต่เราพูดความจริงแค่ครึ่งเดียว---ความจริงอีกครึ่งคือดีเซลของเรา ถูกกว่าลาว กัมพูชา เวียดนาม

ไทยเราใช้ดีเซลมากกว่าเบนซินเยอะมากนะครับ เราใช้ดีเซลวันละประมาณ60ล้านลิตรต่อวัน ส่วนเบนซินเราใช้น้อยกว่าประมาณวันละ20ล้านลิตรต่อวัน

http://www.vcharkarn.com/vblog/37277/69

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เบนซินประเทศเราใช้ประมาณ20ล้านลิตรต่อวัน เราใช้ดีเซลประมาณ60ล้านลิตรต่อวัน

 

ราคาเบนซินที่ขายในประเทศเราค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นเยอะ

http://www.globalpetrolprices.com/gasoline_prices/

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาดีเซลที่ขายในประเทศเราค่อนข้างถูกกว่าประเทศอื่นเยอะ ตามลิงค์นี้วันที่ผมโพสเป็นราคาของวันที่15/09/2014

http://www.mytravelcost.com/petrol-prices/11/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประชาชนทั้งประเทศโดนล้วงเงินออกไป จากกระเป๋าโดยกลุ่มปิโตรเคมี เขาใช้เทคนิคอย่างไร อะไรที่เขาพูดความจริงไม่หมดเพื่ออ้างความชอบธรรมในการล้วงเงินจากกระเป๋า ของคนทั้งประเทศ

 

ปี2538-2550ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกLPG ประเทศเราผลิตLPGพอใช้และมีเหลือสำหรับการส่งออก การใช้LPGในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากนโยบาย อุดหนุนLPGในราคาพิเศษ คำอ้างของเหตุผลที่อุดหนุนLPGราคาพิเศษคือ ปิโตรเคมีจะช่วยสร้างงานให้ประเทศมากมาย ธุรกิจต่างๆจะได้นำปิโตรเคมีที่ผลิตได้ไปใช้ในการผลิตสินค้า เป็นการดึงดูดให้ต่างประเทศมาตั้งโรงงานในไทยเนื่องจากมีวัตถุดิบที่พร้อมจะ ป้อนให้โรงงานเขา

ปิโตรเคมีเติบโตจนกลืนLPG ส่วนเกินที่เราผลิตได้จนหมดและยังไม่พอใช้ในปี2551 ซึ่งถ้าปิโตรเคมีต้องนำเข้าLPGเองและต้องใช้วัตถุดิบในราคาตลาดโลก เป็นสิ่งที่กลุ่มปิโตรเคมีไม่ต้องการ

 

ปลายปี2551ในสมัยนายกสมชาย(17 กันยายน 2551--2 ธันวาคม 2551) ได้กำหนดออกมาเป็นนโยบายว่า

LPG ที่ผลิตได้ในประเทศ ให้กลุ่มปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนใช้เป็นอันดับแรกถ้าLPG ที่เหลือไม่พอใช้ให้นำเข้า นโยบายแบบนี้เป็นการทุจริตทางนโยบายเพื่อเอื้อปิโตรเคมีหรือปิโตรเคมีเห็น ช่องโหว่ของนโยบายนี้ผมไม่ทราบ

นโยบายเอื้อปิโตเคมีแบบนี้ กลุ่มปิโตรเคมีต่างเพิ่มสายการผลิตเพิ่มอย่างมากมาย(วัตถุดิบราคาพิเศษแบบ นี้ไม่รีบฉวยโอกาสก็ไม่ใช่นายทุนซิ) จากปี2550ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ไทยมีการส่งออกLPG ปัจจุบันเราต้องนำเข้าLPG ถึง28%ของการใช้ทั้งประเทศ(ปิโตรเคมีใช้LPG 37%ของการใช้ทั้งประเทศ) ปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนใช้LPGราคาถูกเป็นกลุ่มแรก เมื่อไม่พอใช้ก็ต้องนำเข้าLPG ราคาตลาดโลกซึ่งราคาแพงกว่าราคาในประเทศมาก รัฐมีกำหนดราคาLPG ที่ใช้ในกลุ่มต่างๆของประเทศต่ำกว่าราคานำเข้า สุดท้ายก็ต้องมีการไปเอาเงินจากกองทุนน้ำมันมาชดเชย ซึ่งต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันปีนึงหลายหมื่นล้าน จนกองทุนน้ำมันติดลบมากมาย เมื่อกองทุนน้ำมันติดลบก็เก็บเงินจากน้ำมันเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่ม จนคนใช้น้ำมันทั่วประเทศทนไม่ไหวแล้ว เขาก็ย้ายมาเพิ่มราคาก๊าซในภาคครัวเรือนแทน อ้างว่าประชาชนใช้LPG ถูกกว่าตลาดโลกมาก ควรรับภาระช่วยเหลือกองทุนน้ำมันบ้าง สิ่งที่เขาปกปิดและให้ข้อมูลพวกเราไม่ ครบคือ

 

1)เขาอ้างว่าต้องอุ้มปิโตรเคมี เพราะปิโตรเคมีสร้างงานภายในประเทศมากมาย---ความจริงคือว่าตัวปิโตรเคมีเอง ใช้จำนวนพนักงานน้อยมาก สิ่งหลักที่ต้องใช้ในอุตสาหรรมนี้คือเครื่องจักร เงินทุนมหาศาล และเทศโนโลยีและความรู้ขั้นสูง ที่สร้างงานจำนวนมหาศาลคืออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซื้อวัตถุดิบปิโตรเคมีไปใช้---แต่ความจริงคือปีที่ผ่านมา ประเทศเราส่งออกปิโตรเคมีถึงห้าแสนล้านบาท ปิโตรเคมีส่วนเกินจำนวนมหาศาลนี้ไม่ได้สร้างงานในประเทศครับ(การผลิตปิโต เคมีใช้แรงงานคนน้อยมาก)

ปิโตรเคมีส่วนเกินที่ส่งออกมูลค่าห้าแสนล้านนี้ใช้วัตถุดิบราคาถูกในประเทศ เพื่อการค้าและแสวงหาผลกำไร แล้วต้องนำเข้าLPG ราคาตลาดโลกที่ราคาแพงมาใช้(โดยเอาเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชย)

 

2)ปิโตรเคมีของประเทศเราใช้LPG ที่ราคาเฉลี่ยประมาณ24.93 (รวมเงินจ่ายกองทุนและVATแล้ว) แต่ที่คนส่วนมากไม่รู้

-----มีกลุ่มนึงที่ซื้อLPG ที่ราคารวมทุกอย่างแล้วที่ประมาณ 21.60บาท(กลุ่มที่ซื้อที่ราคา21.60บาทใช้LPG ประมาณ72%ของการใช้ของปิโตรเคมีทั้งหมด

-----แต่ปิโตรเคมีอีกกลุ่มคือ เช่นSCG ต้องซื้อวัตถุดิบที่ราคาประมาณ30.20 บาท เรามาดูผลประกอบการของSCGกันครับ(SCGซื้อแพงกว่าอีกกลุ่มถึง8.60บาทต่อลิตร แต่SCGก็กำไรถึงหลักหมื่นล้าน ทำไมต้องเอาเงินของประชาชนทั้งประเทศไปช่วยกลุ่มแรกให้ซื้อวัตถุดิบที่ ราคา21.60บาท

เอสซีจี เคมิคอลส์ : ในปี 2556 เอสซีจี เคมิคอลส์ มีรายได้จากการขาย 209,997 ล้านบาท เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 3 จากปีก่อน มีกำไร 11,292 ล้านบาท

ผลการดำเนินงาน ปี 2557

เอสซีจี เคมิคอลส์ มีรายได้จากการขายไตรมาสที่หนึ่ง 60,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก ส่วนต่างราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 2,480 ล้านบาท

• เอสซีจี เคมิคอลส์ มีรายได้จากการขายในไตรมาสที่สอง 64,958 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จาก

ช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 2,259 ล้านบาท

 

3)เวทีปัญหาพลังงานชาติ 27/08/14 ฝ่ายปตท.บอกว่ากลุ่มที่ซื้อLPGได้ในราคาประมาณ21.60 เนื่องจากเป็นสัญญาระยะยาวตั้งแต่ปี1988 และมีบางบริษัททำสัญญาในปี2549เป็นเวลา15ปี(ถึงปี2564)

---ตกลง1988ถึง2014 26ปีแล้วสัญญาทาสยังไม่จบอีกหรือครับ ถ้ามีสัญญาผูกพันระยะยาวจริงแต่ในสัญญาก็ต้องระบุว่า ให้ซื้อในปริมาณเท่าไหร่คงไม่ใช่ระบุว่าซื้อได้ไม่อั้น จากปี2538-2550เราส่งออกLPG มาตลอด แต่การเพิ่มขึ้นการใช้ของปิโตรเคมีอย่างมหาศาลทำให้เราต้องนำเข้าเพิ่มอย่าง มากมาย ปัจจุบันเราต้องนำเข้าถึง28%ของการใช้ทั้งหมด ตกลงสัญญาทาสระยะยาวฉบับที่ทำกันนี้ อนุญาตให้ฝ่ายปิโตรเคมีซื้อในราคาถูกแบบไม่จำกัดการซื้อหรือไง สัญญาแบบนี้เอื้อกันมากมายหรือเปล่า

 

ถ้าฟังคลิปการเสวนาปัญหาพลังงานชาติ 27/08/14 จะพบว่ากลุ่มข้าราชการบนเวทีวันนั้นอยู่กลุ่มปตท.ทั้งหมด บางคนก็ให้ข้อมูลช่วยสนับสนุนว่าการอุดหนุนปิโตรเคมีแบบที่ทำนี้ เป็นประโยชน์สำหรับประเทศ ข้าราชการระดับสูงเหล่านั้นโดนปตท.และปิโตรเคมีปิดบังความจริงบางอย่างหรือมีอะไรบังตาพวกท่าน ใครอยากเห็นว่าข้าราชการท่านไหนสนับสนุนการอุดหนุนกลุ่มปิโตรเคมีบ้าง ไปดูคลิปเสวนาปัญหาพลังงานชาติ 27/08/14 ได้เลยครับ(ผมไม่โพสลิงค์ที่โพสนะ เวลาแชร์ข้อมูลแล้วเนื้อหาจะไปไม่หมด ผมจะโพสลิงค์ที่ความคิดเห็นใต้โพสนะครับ)

 

4)ราคาLPG ที่กลุ่มต่างๆใช้

---ภาคครัวเรือนประมาณ 18.13บาท

---ภาคขนส่ง ประมาณ 21.38

---ภาคปิโตรเคมีกลุ่มใหญ่(72%ของการใช้ของกลุ่มปิโตรเคมี) 21.60บาท

---ภาคอุสาหกรรมและSCG ประมาณ30.20

 

@@ภาคครัวเรือนคือคนทั้งประเทศ 60กว่าล้านคน ทุกคนมี1ปากเหมือนกัน การช่วยเหลือตรงนี้ทุกคนได้รับไม่ต่างกันมาก คนทั้ง60กว่าล้านคนเป็นเป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศ ดังนั้นคนทั้งประเทศได้ใช้ราคาถูกสมเหตุผล@@

 

@@ภาคขนส่งเกียวข้องกับคนทั้งประเทศ ถ้าราคาก๊าซของขนส่งแพงก็ต้องมาบวกในราคาสินค้าที่คนทั้งประเทศใช้ การช่วยภาคขนส่งก็คือช่วยประชาชนทั้งประเทศทางอ้อม@@

 

@@การอุดหนุนปิโตรเคมีส่วนเกินการใช้ในประเทศมูลค่าห้าแสนล้านบาท เป็นการอุดหนุนผู้ประกอบการที่แสวงหากำไรจากการค้าและข้าราชการที่เห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวมเพียงหยิบมือเดียว ถ้าจำเป็นต้องอุดหนุนปิโตรเคมีจริง ก็ควรอุดหนุนเฉพาะส่วนที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น(เพราะส่วนที่ใช้ใน ประเทศ สร้างงานในประเทศอย่างมากมาย)@@

 

5)คู่แข่งปิโตรเคมีในแถบนี้ของเราคือ สิงคโปร์และมาเลเซีย

---สิงคโปร์ไม่มีการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในประเทศเขาเลย นำเข้าก๊าซและน้ำมันดิบทั้ง100% สิงคโปร์มีโรงกลั่น(แต่LPGที่ได้จากโรงกลั่นมีต้นทุนLPGที่สูงกว่าโรงแยก ก๊าซ

---ผมรบกวนคนที่เก่งภาษาช่วยหาข้อมูลให้ผมหน่อยครับว่า

1)ในสิงคโปร์มีโรงแยกก๊าซมั้ย

2)ปิโตรเคมีของสิงคโปร์เขาได้รับการอุดหนุนด้านราคาวัตุดิบจากรัฐบาลมั้ย ถ้าอุดนั้นเขาอุดหนุนที่กี่บาทต่อลิตร

@@@รบกวนช่วยกันแชร์หน่อยนะครับ เพื่อร่วมกันตะโกนบอกกลุ่มปิโตรเคมีว่า หยุดล้วงเงินจากกระเป๋าประชาชนได้แล้ว(เฟสไหนที่เป็นเฟสปิดหรือเฟสส่วนตัว ต้องcopyข้อความไปโพสนะครับ เพราะจะแชร์ไม่ได้@@@

 

เรื่องการทวงคืนท่อก๊าซผมอ่านคำพิพากษาฉบับเต็มแล้วครับ จะรีบหาเวลาเขียนครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หาคลิปเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2 ยังไม่ได้ ฟังคลิปการแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2 ไปก่อนครับ

 

การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2 - 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 1)

 

การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2 - 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 2)

 

การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2- 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 3)

 

 

 

การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2- 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 4)

 

การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2- 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 5)

 

 

การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2- 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 6)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องท่อก๊าซ

 

เรื่องท่อก๊าซศาลพิพากษาว่า ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่4(ปตท.)

งานนี้จะมองให้ชัดว่าปัญหาอยู่ตรงไหน ต้องทำใจวางตัวเป็นกลางก่อนครับ(เหมือนเป็นเรื่องของประเทศอื่นไม่ใช่เหตุ เกิดในประเทศไทยที่รักของพวกเรา)

---ศาลตัดสินแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียไปทำการแบ่งแยกตามคำตัดสินแล้ว ผู้รับบอกรับครบแล้ว ผู้ส่งคืนบอกคืนครบแล้ว แบบนี้คดีจบแล้วนะครับ

 

1) กลุ่มทวงคืนท่อก๊าซยื่นให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความซึ่งกฤษฎีกาก็ให้ความเห็น ว่า อำนาจในการวินิจจัยว่าคืนทรัพย์สินครบถ้วนหรือไม่

เป็นอำนาจของศาล กฤษีกาไม่สามารถก้าวล่วงได้---คณะรัฐมนตรีมีมติว่าการแบ่งแยกท่อก๊าซ ถ้าการแบ่งแยกแล้วมีปัญหาในการตีความข้อกฎหมาย ให้สอบถามการตีความข้อกฎหมายจากกฤษีกา ----งานนี้ผู้รับกับผู้คืนมีความเห็นตรงกันในข้อกฎหมาย กลุ่มทวงคืนยื่นเรื่องต่อกฤษฎีกาว่าคืนท่อไม่ครบ กฤษฎีกาถึงตอบกลับไปว่าการตัดสินว่าคืนครบหรือไม่เป็นอำนาจของศาลซึ่ง กฤษฎีกาไม่อาจก้าวล่วงได้ -----ชัดเจนนะครับว่าถ้าผู้รับกับผู้โอนมีความเห็นในการตีความของคำตัดสิน ไม่ตรงกัน ให้สอบถามความเห็นการตีความคำตัดสินจากกฤษฎีกา พอกลุ่มทวงคืนมายื่นเรื่องต่อกฤษฎีกว่าคืนท่อไม่ครับ กฤษฎีกาจึงตอบว่าเป็นอำนาจของศาลกฤษฎีกาไม่มีอำนาจก้าวล่วง

 

2) กลุ่มทวงคืนยื่นฟ้องต่อศาลว่าปตท.คืนท่อก๊าซไม่ครบ แต่ศาลไม่รับฟ้องเพราะผู้ฟ้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธิ ฟ้อง(การยื่นฟ้องครั้งแรก—ซึ่งสุดท้ายศาลตัดสินให้มีการคืนท่อก๊าซนั้น ผู้พิพากษาส่วนน้อยจำนวน2ท่านยังมีความเห็นแย้งว่า ผู้ฟ้องไม่มีมีสิทธิฟ้อง

----หลังศาลตัดสินแล้ว งานนี้ยิ่งชัดกว่าเดิมครับว่ากลุ่มทวงคืนท่อก๊าซไม่มีสิทธิฟ้องเพราะไม่ใช่ ผู้เสียหายตามคำตัดสิน งานนี้ปตท.เค้าก็พูดถูกนะ เขาคืนครบตามความเห็นของเขาแล้วและผู้รับก็มีความเห็นตรงกับปตท.ว่าได้รับ คืนครบ งานนี้ปตท.ชนะใส

 

เราจะทวงคืนท่อก๊าซซึ่งเป็นสมบัติชาติได้อย่างไร?

 

1)สตง.เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคดีนี้ เพราะมีมติคณะรัฐมนตรีให้สตง.เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของการคืน ท่อก๊าซ กรณีสตง.เห็นว่าคืนท่อไม่ครบและมีหนังสือแย้งไปแล้วแต่ไม่มีการดำเนินการต่อ ถ้าสตง.ไม่ทำอะไรต่อสตง.อาจมีความผิดได้ ดังนั้นสตง.เป็นผู้เสียหายถ้าไม่ทำอะไรต่อ สตง.จึงน่าจะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ สตง.ควรเป็นผู้ยื่นฟ้องต่อศาลว่าปตท.คืนท่อก๊าซไม่ครบ

 

2)กลุ่มทวงคืนท่อก๊าซฟ้องกระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์ ปฎิบัติหน้าที่มิชอบทำให้ชาติเสียหาย แต่กว่าจะฟ้องจนเสร็จแล้วค่อยให้กรทรวงการคลังมาฟ้องปตท.อีก คงหมดสิทธิเรียกคืนท่อก๊าซจากปตท.แล้ว

 

3)กระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์ฟ้องต่อศาลว่าปตท.คืนท่อไม่ครับ ซึ่งยากมากเพราะทั้ง2หน่วยงานบอกว่าคืนครบแล้ว ยกเว้นเปลี่ยนหัวเรือของหน่วยงานทั้ง2 หาหัวเรือใหม่ที่มองว่าคืนท่อก๊าซไม่ครบ เมื่อได้หัวเรือใหม่แล้วค่อยฟ้องทวงคืนท่อก๊าซจากปตท.(เปลี่ยนหัวเรือใหม่คง ยาก)

 

$$-ท่อก๊าซบนบกมีการคืนแค่50%เท่านั้น ส่วนท่อก๊าซในทะเลไม่มีการคืนเลย

$$-ท่อบนบกที่มีการเวนคืนที่ดินเอกชนหรือมีการรอนสิทธิเอกชน ส่วนนี้น่าจะแบ่งแยกคืนรัฐหมดแล้ว ทีมีปัญหาในการตีความคือท่อที่มีการรอนสิทธิเหนือที่ดินของรัฐ ส่วนนี้ต้องคืนรัฐมั้ย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องท่อก๊าซ ดูเหมือนว่ากระทรวงการคลังไม่อยากได้ท่อก๊าซมาตั้งแต่ปี2544

 

ก่อนการแปรรูปปตท.นั้น มติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อ 2กรกฎาคม 2544ก่อนการแปรรูปมีมติให้ ปตท.ในสมัยที่ยังเป็น"การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย" ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ100% ไปแบ่งแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกมาจากกิจการจัดหาและจัดจำหน่ายก่อนการ แปรรูป

 

แต่รัฐบาลนายกทักษิณ มีมติ ครม.เลือกที่จะแยกระบบท่อออกจาก ปตท.ภายในหนึ่งปีหลังแปรรูป

เงื่อนไขการแยกท่อก๊าซภายใน1ปี จึงปรากฏอยู่ในหนังสือชี้ชวนของการกระจายหุ้น ปตท.ในตลาด

หลักทรัพย์ (IPO) พ.ย. 2544 เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544

 

 

---หลังจากปตท.เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ทางกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง กลับใส่เกียร์ว่าง ไม่รีบดำเนินการให้มีการแยกท่อก๊าซให้เสร็จภายใน1ปี การใส่เกียร์ว่างแบบนี้

 

ทำให้อาจคิดไปได้ว่ากระทรวงการคลังไม่ต้องการรับคืนท่อก๊าซคืนจากปตท.(มี อะไรแอบแฝงมั้ย) ยิ่งกว่านั้นเมื่อศาลมีคำตัดสินให้มีการแบ่งแยกท่อก๊าซที่สร้างก่อนปี2544 กระทรวงพลังงานก็รีบรับแบบไม่สนใจที่จะหารือกฎษฎีกาว่าควรจะได้ท่อมากกวาที่ ปตท.จะคืนมั้ย มีส่วนไหนอีกบ้างที่กฤษฎีกามองว่ารัฐควรได้เพิ่ม บอกว่าครบแล้วโดยไม่สนใจคำท้วงติงจากสตง. ทำให้ข้อสงสัยว่าการที่กระทรวงการคลังไม่อยากได้ท่อก๊าซมาตั้งแต่ปตท.เข้า ตลาดหลักทรัพย์ดูมีน้ำหนักมากขึ้น

 

ท่อก๊าซที่สร้างก่อนแปรรูปปตท.ที่กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังไม่ดำเนิน การแบ่งแยกให้เสร็จ ภายใน1ปี มีมูลค่ามหาศาลขนาดที่ว่า ค่าเช่าท่อในเวลา6ปีที่ปตท.ได้รับมีมูลค่าถึง128,086ล้านบาท(นับตั้งแต่ ปี2544 ถึงปี2550ที่ศาลมีคำตัดสินให้มีการแบ่งแยกท่อก๊าซ) มูลค่ามหาศาลแบบนี้ไงที่ทำให้ปตท.พยายามคืนท่อก๊าซให้น้อยที่สุด

 

$$$เพิ่งเจอเอกสารว่า ในปี2546(2ปีหลังปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์) รัฐบาลทักษิณยกเลิกนโยบายการแยกท่อก๊าซฯคืนจากปตท. ทำให้หมัดเด็ดที่ผมว่ากระทรวงการคลังไม่ต้องการรับคืนท่อก๊าซมาตลอดตั้งแต่ ปี2544 จนถึงวันที่ศาลมีคำตัดสินให้มีการแบ่งแยกท่อก๊าซในปี2550มีน้ำหนักลดลง $$$

 

$$$นายกทักษิณเล่ห์ เหลี่ยมมากมายจริง ช่วงที่จะเอาปตท.เข่าตลาดหลักทรัพย์ก็บอกว่าจะทำการแยกท่อก๊าซให้เสร็จภา นใน1ปี สุดท้ายก็ไม่ดำเนินการ และเมื่อผ่านมา2ปี) รัฐบาลทักษิณยกเลิกนโยบายการแยกท่อก๊าซฯคืนจากปตท.$$$

 

$$ ในปี2546(2ปีหลังปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์) รัฐบาลทักษิณยกเลิกนโยบายการแยกท่อก๊าซฯคืนจากปตท. ทำให้เซียนหุ้นท่านนึงกำไรประมาณ 700 ล้านบาท แล้วฝ่ายรัฐบาลที่ออกนโยบายจะมีใครแอบใช้นอมีนีไปซื้อหุ้นก่อนออกนโยบา บมั้ย$$$

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"การปฏิรูปพลังงานอย่างยั่งยืน ต้องนำกิจการท่อก๊าซทั้งระบบกลับมาเป็นสมบัติของแผ่นดิน"

รายการเสวนาถามตอบเรื่องพลังงานวันนี้ (24 กันยายน) ที่สโมสรกองทัพบก ทางฝ่ายประ ชาชนได้เสนอข้อมูลที่สำคัญหลายประเด็น แม้จะถูกกีดกัน ตัดบท ไม่ให้เวลาในการอธิบายเพื่อให้ประชาชนคนฟังได้รับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วน หรือไม่ให้ทักท้วงเมื่อมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากอีกฝ่าย จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

 

และยิ่งมาอ่านข่าวออนไลน์ในข่าวของสำนักข่าวต่างๆ ก็ยิ่งประหลาดใจที่พบว่ามีการรายงานเฉพาะเนื้อหาของฝ่ายปตท.ฝ่ายเดียวอย่าง ชััดเจน บางฉบับถึงกับนำข้อมูลเก่าที่สัมภาษณ์ไปก่อนหน้านั้นที่ไม่ได้อยู่ในการ เสวนามาลงขยายความให้อีกด้วย ราวกับมีบ.ก กำหนดแนวการเขียนข่าวและแจกข่าวไปยังทุกสำนักพิมพ์ ส่วนข้อมูลของฝ่ายประชาชน ไม่มีการรายงานในส่วนที่เป็นสาระหลักให้ครบถ้วนเลยแม้แต่เรื่องเดียว

ยกตัวอย่างภาพกราฟฟิกที่ดิฉันนำมาแสดงในงานเสวนา ก็ไม่มีสำนักข่าวใดนำมารายงานข่าว ภาพดังกล่าว เป็นการคำนวณตัวเลขจากข้อมูลในรายงาน 56-1ของปตท.ที่ส่งตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2544-2556 จึงขอนำมาลงให้เพื่อนมิตรดู ภาพกราฟฟิกนี้เป็นการเปรียบเทียบ การเก็บเงินค่าผ่านท่อของปตท. เทียบกับค่าเช่าท่อก๊าซที่ปตท.จ่ายให้รัฐ จะเห็นความแตกต่างราวฟ้ากับเหว ท่อก๊าซที่สร้างจากภาษีของประชาชนเอาไว้ให้ปตท.เช่าถูกๆ แต่การเก็บค่าผ่านท่อจากประชาชนสูงเมื่อเทียบกับค่าเช่าที่รัฐได้สูงกว่ากัน มากกว่า 7,000%ทีเดียว

เมื่อศาลปกครองสูงสูงได้ตัดสินให้ผู้ถูกร้องคือคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน และ บมจ.ปตท.ไปแบ่งแยกทรัพย์สินที่ได้มาโดยอำนาจมหาชน ซึ่งประกอบด้วยระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ อันรวมถึงระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติคืนให้รัฐ

แต่การคืนท่อก๊าซของปตท. คืนเพียงท่อบางส่วนบนบก ซึ่งสตง.ตรวจสอบแล้วพบว่าปตท.คืนท่อก๊าซเพียงประมาณ 30%ของท่อทั้งระบบที่สร้างก่อนปี2544 และใช้เงินก่อสร้างจากปตท.( สมัยที่ยังเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นของรัฐ100%) จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อการใช้ร่วมกันของคนในชาติ จึงต้องคืนมาทั้งหมด โดยส่วนที่ยังไม่ได้คืนอีก70% ประกอบด้วยท่อในทะเลและท่อบนบก ซึ่งปตท.ยังไม่ได้คืนให้รัฐตามคำพิพากษา

หลังคำพิพากษาของศาลฯ บมจ.ปตท.แบ่งแยกท่อก๊าซคืนมาประมาณ30% และจ่ายเงินค่าเช่าย้อนหลัง6ปี (2544-2550)ให้รัฐเฉพาะท่อส่วนที่คืนรัฐเพียง 1,597ล้านบาท แต่เก็บเงินค่าผ่านท่อ6ปีซึ่งรวมอยู่ในค่าก๊าซและค่าไฟฟ้าถึง 128,086ล้านบาทสูงกว่าค่าเช่าท่อถึง 7,920%

ถ้าคำนวณว่าท่อก๊าซที่คืนมาให้รัฐ 30% ก็ควรได้ค่าเช่าในสัดส่วน30%จากค่าผ่านท่อ128,086ล้านบาทที่เก็บจากประชาชน จึงควรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า30,000ล้านบาท แต่รัฐกลับได้ค่าเช่าย้อนหลังเพียง1,597ล้านบาท

หลังจากนั้นปตท.จ่ายค่าเช่าให้รัฐสูงสุดเพียงปีละ 550ล้านบาท แต่เก็บค่าผ่านท่อจากประชาชนปีละ22,000 - 30,000ล้านบาทรวม12ปีหลังการแปรรูป ปตท.เก็บเงินจากค่าผ่านท่อรวมแล้ว 295,074ล้านบาท แต่รัฐได้รายได้ใน12ปีเพียง 4,897ล้านบาท

ท่อส่งก๊าซทั้งระบบเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ต้องคืนกลับมาเป็นของรัฐ เพราะเป็นทรัพย์สินที่ศาลปกครองสูงสุดระบุว่าเป็นทรัพย์สินที่ไม่ตกอยู่ภาย ใต้การบังคับคดี (คือถูกยึดทรัพย์ไม่ได้ตามกฎหมาย) จึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องแบ่งแยกคืนให้รัฐ

การที่บมจ.ปตท.อ้างว่าท่อในทะเลเป็นของบมจ.ปตท.กลายเป็นว่าท่อก๊าซในทะเล เป็นทรัพย์สินที่ต้องถูกบังคับคดีได้ ใช่หรือไม่? ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง สมมติว่าบมจ.ปตท. เกิดล้มละลาย ท่อส่งก๊าซในทะเลก็สามารถถูกเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ได้ ถ้าท่อในทะเลถูกยึดทรัพย์ได้ ท่อทั้งหมดบนบกก็เป็นอันใช้การไม่ได้ทั้งระบบ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดได้ใช้คำว่า "ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อซึ่งรวมระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ" เป็นทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ ไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับคดี ที่ต้องแบ่งแยกคืนให้กับรัฐทั้งระบบ

หากมีการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อ 2กรกฎาคม 2544ก่อนการแปรรูปที่มีมติให้ ปตท.ในสมัยที่ยังเป็น"การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย" ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ100% ไปแบ่งแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกมากิจการจัดหาและจัดจำหน่ายก่อน

การแปรรูป และให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) ถือไว้ 100% หมายความว่าในเจตนาเดิมก่อนการแปรรูปปตท. รัฐเห็นว่า โครงข่ายท่อส่งก๊าซเป็นทรัพย์สินที่ขายหรือโอนให้เอกชนไม่ได้ เพราะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องให้แบ่งแยกกิจการท่อส่งก๊าซออกมา และให้เป็นของรัฐ100% หากมีการปฏิบัติเช่นนั้นต้ังแต่ก่อนแปรรูป กิจการก๊าซก็จะไม่ใช่กิจการมุ่งหากำไรสูงสุดอย่างในปัจจุบัน

ค่าผ่านท่อจะถูกลงมากกว่านี้ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงให้ราคาก๊าซและราคาค่าไฟถูกลง หรือถ้ารัฐเก็บในอัตราเท่าที่บมจ.ปตท.เก็บ รายได้เกือบ3แสนล้านบาทก็จะเป็นรายได้ของแผ่นดินทั้งหมด สามารถนำไปใช้เพื่อการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆให้กับประชาชน

รสนา โตสิตระกูล

อดีต ส.ว กทม.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นปตท.เข้ามาเทรดในตลาด วันที่ 6 ธันวาคม 2544 ขึ้นไป High ที่ราคา 38.25 บาท แล้วถูกกดลงมาปิดที่ราคา 35.75 บาท หุ้นปตท.วิ่งในลักษณะ ไซด์เวย์อยู่นานเป็นปี (2545-กลางปี 2546) จากราคาจอง 35 บาท ราคาหุ้นลงไปต่ำสุด 28.75 บาท ในวันที่ 30 เมษายน 2545 แล้วไล่ขึ้นไป 38 บาท ในวันที่ 12 มิถุนายน 2545 จากนั้นก็กดราคาลงมาอีกทีเหลือ 34 บาท ในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 ต่อจากนั้นราคาก็เคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ 38 – 45 บาท นานอีกหลายเดือน จนถึงกลางเดือนเมษายน 2546 ราคาหุ้นปตท.ทะยานขึ้นไปเร็วมาก ขึ้นไป 78 บาท ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2546

ผมหาราคาหุ้นย้อนหลังได้ถึงปี 2547 ซึ่งราคาหุ้นปตท.อยู่ที่ประมาณ170บาท

http://blog.krajong.com/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-10-%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-the-winner-1/

http://blog.krajong.com/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-11-%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-the-winner-2/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าไม่รีบเปิดสัมประทานพลังงานรอบที่21 ประเทศเราพังแน่ครับ สัมประทานพลังงานรอบที่21เราช้ามาประมาณ2ปีแล้ว

ความจริงที่ควรรู้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุ่มเสี่ยงด้านพลังงานสูงติด5อันดับแรกของโลก

 

Thailand, India, South Korea and the Netherlands rank with Ukraine among the bottom five countries on the energy security index.(อยู่ที่2บรรทัดสุดท้ายของหน้านี้ครับ http://www.ibtimes.com/us-lowering-global-energy-risk-ukraine-faces-highest-risk-energy-security-report-1559263

 

--ถ้าอันนี้ประเทศไทยเสี่ยงเป็นอันดับ2รองจากยูเครน(ตรงกลางภาพตรงเปลวไฟครับ) http://www.zerohedge.com/sites/default/files/images/user3303/imageroot/2014/08/20140811_gas.png

 

ช่วงนี้มีการ เรียกร้องให้หยุดเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 บางท่านไปไกลถึงขนาดปิดบ่อน้ำมันและบ่อก๊าซในประเทศให้หมด เพื่อเก็บทรัพยากรปิโตรเลียมอันมีค่าเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลาน ไม่ต้องรีบร้อนเปิดสัมปทานไปหรอก เพราะถ้าพบน้ำมันหรือก๊าซธรรมขาติ คนไทยก็ต้องใช้ในราคาตลาดอยู่ดี สู้เก็บเอาไว้เป็นสมบัติให้ลูกหลานดีกว่า อีก 20-30 ปีค่อยขุดขึ้นมาใช้ ถึงตอนนั้นมูลค่าจะเพิ่มขึ้นกว่านี้อีกมาก ตอนนี้ก็ซื้อเขามาใช้ไปก่อน

ปัจจุบันเรานำเข้าน้ำมันและก๊าซอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านบาท/ปี ก็จะเพิ่มเป็น 1.7 ล้านล้านบาท/ปี รายได้จากสัมปทานและภาษีปิโตรเลียมที่ได้จากการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมปี ละ 200,000 ล้านบาทก็จะขาดหายไปด้วย(ขาดส่วนนี้ไปรัฐถังแตกทันที)ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ตามมาก็คือค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอย่างมาก

---นำมันดิบเรานำเข้า85% จะปรับเป็นนำเข้าทั้ง100% ขบวนการขนส่งต่างๆไม่น่ามีปัญหา

---แต่การนำเข้าก๊าซเป็นงานใหญ่สุดๆ ทุกวันนี้เราผลิตก๊าซธรรมชาติได้เองประมาณ 72% ของความต้องการทั้งหมดของประเทศ ถ้าปิดหลุมผลิตก๊าซทั้งหมด นั่นหมายความว่าเราจะต้องหันไปนำเข้าก๊าซปริมาณมากมายมหาศาลจากต่างประเทศ และการนำเข้าก๊าซในปริมาณมากมายขนาดนั้น ไม่มีประเทศเพื่อนบ้านรายไหนเขามีศักยภาพที่จะมาต่อท่อก๊าซขายให้เรา นั่นหมายความว่าเราจะต้องนำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติอัดเหลวหรือที่เรียกว่า ก๊าซแอลเอนจีที่ขนส่งกันทางเรือเท่านั้น แค่แหล่งJDAหยุดจ่ายก๊าซปิดซ่อมเท่านั้นก็แย่แล้ว (ที่ยุโรปแข็งข้อกับรัสเซียมากไม่ได้ก็เพราะต้องพึ่งก๊าซที่ต่อท่อมาจา กรัสเซีย หนาวนี้ถ้ารัสเซียหยุดส่งก๊าซคงมีประชากรหนาวตายไม่น้อยเลย)

---ทุกวันนี้ราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เราต่อท่อไปที่โรงไฟฟ้าเพื่อใช้ ผลิต ไฟฟ้านั้น ราคามันแค่ 9-10 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู (310 บาท/ล้านบีทียู) แต่ราคานำเข้าก๊าซแอลเอนจีมันอยู่ที่ 16-17 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู (550 บาท/ล้านบีทียู) แพงกว่ากันเกือบเท่าตัว นั่นย่อมหมายความว่าถ้าเราปิดบ่อก๊าซ บ่อน้ำมันกันหมดประเทศจริงๆ สิ่งที่จะต้องแพงขึ้นและไปกระทบกับประชาชนทันทีก็คือค่าไฟฟ้า ทุกวันนี้เราใช้ไฟกันหน่วยละ 3.91 บาท เราก็ร้องกันจะแย่อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมาปั่นไฟทั้งหมด คิดดูก็แล้วกันว่าค่าไฟจะขึ้นไปเป็นหน่วยละเท่าไร คงไม่ต่ำกว่าหน่วยละ 6 บาท

---ราคาก๊าซหุงต้ม ก๊าซที่ใช้ในขนส่ง LPGที่ใช้ในอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีจะแพงอีกเยอะมาก ค่าครองชีพจะเป็นอย่างไร เงินเฟ้อจะขึ้นไปเท่าไร ธุรกิจอุตสาหกรรมจะอยู่ได้ไหม SME จะอยู่รอดหรือเปล่า ธุรกิจและอุตสาหกรรมของเราจะแข่งขันกับคนอื่นเขาได้หรือเปล่า สินค้าเราจะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้หรือไม่

การเปิดสัมประทานพลังงานรอบที่21ที่ช้ามา2ปี เพราะมีฝ่าย1ทักท้วงว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วเราได้ส่วนแบ่งสัมประทาน รวมทั้งหมดแล้วประมาณ30% ซึ่งน้อยกว่าหลายๆใกล้ๆเรา ฝ่ายที่2บอกว่าแหล่งปิโตรเลียมของเราเป็นกระเปาะเล็กๆ ทำให้การขุดเจาะมีต้นทุนที่สูง หลายครั้งเจาะไปเจอกระเปาะเล็กเกินไปจนไม่คุ้มในการทำ เรื่องค่าสัมปทานเท่าไหร่ที่ประเทศเราควรได้ ผมไม่รู้จะค้นข้อมูลจากไหน แต่เรื่องที่แหล่งปิโตรเคมีของเราเป็นกระเปาเล็กๆแต่ของมาแลเซียเป็นแหล่ง จริงครับ แหล่งทาปิสของมาเลเซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่ คือประมาณ 600 ล้านบาเรล (3-4เท่าของแหล่งสิริกิติ์) ปริมาณการผลิตสูงสุดเมื่อปี 2523 คือ วันละ 80,000 บาเรล เมื่อปี 2542 ลดเหลือ 29,000 จากหลุมผลิต 38 หลุม เทียบกับ 340 หลุมผลิตของแหล่งบงกช) จำนวนหลุมที่เยอะก็มี่ค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกเยอะ

ข้อมูลฝ่ายไหนผิดหรือฝ่ายไหนถูกคงต้องไปว่ากันในช่วงต่อไป แต่ที่สำคัญสุดตอนนี้ ประเทศเราขาดแคลนพลังงานไม่ได้ ยังไงช่วยถอยกันคนละก้าว

---ข้าราชการกระทรวงพลังงานที่ดีและรักประเทศมีเยอะครับ แต่ข้าราชการต้องทำงานตามนโยบายของรัฐ ถ้าอะไรไม่ถูกต้องก็ต้องไปแก้ที่นโยบาย ข้าราชการไม่มีสิทธิทำนอกกฎหรือระเบียบที่กำหนดได้ เราอย่าไปผลักข้าราชการไปฝั่งตรงข้าม สิ่งที่ควรทำคือไปเรียกร้องรัฐบาลหรือรัฐมนตรีให้แก้ไขนโยบายให้ถูกต้อง

***ข้อมูลบางส่วนเอามาจากบทความของคุณ Manoon Siriwan คือช่วงจะเรียบเรียงเขียนส่วนที่ผมรู้ ก็ต้องค้นข้อมูลและตัวเลขบางอย่างบ้าง ก็เลยไปเห็นบทความของคุณManoon Siriwan ซึ่งเนื้อหาส่วนที่ผมเอามาตรงกับที่ผมรู้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทำไมที่ผ่านมาการทวงคืนพลังงานของประชาชนไม่ได้ผล มีอะไรผิดฝาผิดตัวบ้าง ยาวแต่อยากให้อ่านครับ ความเข้าใจเรื่องพลังงานของไทยจะได้สับสนน้อยลง

 

เราควรจัดทัพและรายละเอียดการเรียกคืนพลังงานไทยกันก่อนที่จะเดินหน้าทวงคืนพลังงานกันต่อ

 

เราเรียกร้องว่าจะทวงคืนพลังงานมานานพอสมควรแล้ว เรียกร้องมานานแล้วแต่ไม่มีผลคืบหน้า ถ้าเราทำกระบวนการอะไรไปเป็นระยะเวลานานพอแล้วไม่ได้ผล เราต้องหยุดและมาคิดทบทวนขบวนการนั้นใหม่ทั้งหมด เพราะถ้าเรายังทำเหมือนเดิมก็คงได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม(HISTORY REPEAT IT SELF) คนอยู่วงนอกการทวงคืนพลังงานอาจเห็นอะไรที่คนคลุกปัญหาไม่เห็น ผม เอาเทปเสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติมาดูทบทวนเรื่องต่างๆ ผมมองว่ามีเรื่องที่เราควรทบทวนดังนี้ ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยข้อไหนก็พิจารณากันนะครับ ผมแค่มองจากคนวงนอก

 

1)เราชกทุกเป้าและถูกจุดมั้ย ในเวทีเสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ ฝ่ายปตทและฝ่ายข้าราชการบอกหลายครั้งว่า ต้องไปแก้ที่นโยบายของรัฐ ข้าราชการมีหน้าที่ทำตามนโยบายของรัฐเท่านั้น บนเวทีกำลังบอกว่ามาคุยกับปตทและข้าราชการไม่มีประโยชน์ ข้าราชการไม่มีอำนาจทำนอกนโยบายที่รัฐกำหนดมาแล้วได้

 

1.1)เรื่องท่อก๊าซเมื่อศาลตัดสินมาแล้ว ปตท.ตีความเข้าข้างตัวเองเป็นเรื่องปกติ(มีคู่กรณีไหนบ้าง ตีความให้ตัวเองเสียประโยชน์) ที่ผิดปกติคือกระทรวงการคลังตีความเข้าข้างปตท.มากไป กระทรวงการคลังควรตีความปกป้องสมบัติของรัฐไว้ก่อน อะไรไม่แน่ใจหรือแค่มีบางคนท้วงติงว่าท่อส่วนนี้ควรเป็นของรัฐ ควรมองว่าเป็นของรัฐไว้ก่อน ถ้าความเห็นไม่ตรงกับปตท. ควรส่งกฤษฎีกาตีความหรือถ้าเรื่องไหนควรยื่นต่อศาลให้พิจารณาคดีอีกครั้งก็ ควรทำ แต่กระทรวงการคลังเห็นตามปตท.ง่ายเกินไป สตง.ทักท้วงก็ไม่ฟัง งานนี้ปตท.ทำถูกต้องครบถว้นแล้ว คืนท่อให้รัฐแล้ว กระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้รับบอกว่าครบแล้ว งานนี้ปตท.ทำถูกต้องครบทุกอย่างแล้ว โวยวายปตท.ไม่ได้ครับ

***สิ่งที่กลุ่มทวงคืนพลังงานควรทำ

๑)เรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการให้กระทรวงการคลัง ยื่นเรื่องนี้ไปที่กฤษฏีกาเพื่อพิจารณารายละเอียดของคำตัดสินว่าที่ถูกต้อง ตามคำตัดสิน ท่อในทะเลทั้งหมดต้องคืนรัฐมั้ย ท่อบนบกอีกครึ่งนึงต้องคืนรัฐมั้ย กรณีจำเป็นตั้งคณะทำงานเพื่อยื่นเรื่องต่อศาลพิจารณาว่าท่อส่วนไหนควรคืนรัฐ บ้าง

 

๒)อีกทางเลือกคือเรียกร้องให้สตง.ฟ้องเรียก ท่อก๊าซคืน เพราะมติคณะรัฐมนตรีให้สตง.เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของการคืนท่อก๊าซ ดังนั้นถ้าเห็นว่าการคืนท่อก๊าซไม่ถูกต้องแล้วสตง.ไมทำอะไรก็อาจมีความผิด ได้ สตง.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนี้โดยตรง จึงน่าจะมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลได้

 

1.2เรื่องราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรง กลั่นของไทย ที่กำหนดให้เท่ากับราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์+(+ค่าขนส่งจากสิงคโปร์มาไทย+ ค่าประกันความเสียหาย+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง) สิ่งที่อยู่ในวงเล็บทั้งหมดไม่เกิดขึ้นจริง ควรเรียกร้องทางรัฐบาลและรัฐมนตรีพลังงานให้แก้เรื่องนี้

---สิ่งที่ควรเป็นคือราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทยไม่ให้ขาย แพงกว่าราคาหน้าโรงกลั่นของสิงคโปร์ เพราะต้นทุนเริ่มต้นไทยถูกกว่าสิงคโปร์ สิงคโปร์ต้องน้ำเข้าน้ำมันดิบทั้ง100% แต่ไทยน้ำเข้า85%เท่านั้นอีก15%ไม่มีค่าขนส่ง แค่ขายเท่าโรงกลั่นสิงคโปร์ผู้ประกอบการไทยก็กำไรต่อหน่วยมากกว่าสิงคโปร์ เยอะแล้ว

 

---ข้าราชการต้องทำตามนโยบายของรัฐที่ประกาศแล้วเท่านั้น ไม่ทำตามมีบทลงโทษตามระเบียบข้าราชการ

---รัฐออกกฎมาเอื้อปตท. ปตท.ไม่ใช้สิทธิตามที่รัฐกำหนด ผู้บริหารปตท.ก็โดนผู้ถือหุ้นฟ้อง

 

1.3)เรื่องที่มีมติของคณะรัฐมนตรีในอดีต ให้ปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ก๊าซที่ขุดขึ้นมาใช้ ถ้าไม่พอให้มีการนำเข้า

---เรื่องให้ภาคครัวเรือนใช้ก่อน เป็นการช่วยเหลือประชาชนทั้งประเทศ รัฐช่วยเหลือประชาชนเป็นสิ่งถูก

---รัฐให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นอันดับแรกๆด้วย ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วย แต่เหตุผลของฝ่ายรัฐที่บอกว่าปิโตรเคมีจะช่วยสร้างงานต่อเนื่องในประเทศมาก มาย ก็มีน้ำหนักบ้างเหมือนกัน แต่กลุ่มปิโตรเคมีถือโอกาสจากมติอันนี้ ขยายการผลิตปิโตรเคมีเพื่อการส่งออกมากมาย ใช้ก๊าซราคาถูกกว่าตลาดโลกมากมาย จนปี2556ไทยส่งออกปิโตรเคมีประมาณ500,000ล้าบาท ปิโตรเคมีจ้างงานน้อยมากครับ นำเข้าเครื่องจักรทันสมัยจากนอกเป็นหลัก ดังนั้นการส่งออกปิโตรเคมีถึง500,000ล้านบาท ไม่สร้างงานในประเทศตามวัตถุประสงค์เริ่มต้น แต่สร้างความร่ำรวยใหนายทุนอย่างมากมาย ทำให้กองทุนน้ำมันติดลบมหาศาล

 

----SCGซึ่งซื้อLPGแพงกว่าปิโตรเคมีกลุ่มอื่นประมาณ9บาทต่อลิตร ยังมีกำไรมากมาย ปี2556 SCG มีกำไร 11,292 ล้านบาท

 

****กลุ่มทวงคืนพลังงานต้องกดดัน ให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงมติเดิมเรื่องการช่วยเหลือปิโตรเคมี อาจช่วยเหลือแบบจำกัดส่วนที่ผลิตและใช้ในประเทศเท่านั้น ส่วนที่ผลิตส่งออกช่วยอย่างมากก็แค่ค่าขนส่งเพื่อไม่ให้ต้นทุนวัตถุดิบ แพงกว่าตลาดโลก

1.4พิจารณาว่ามีเรื่องไหนอีกที่ชกไม่ตรงเป้า คู่ชกผิดฝาผิดตัว

 

2)เรื่องการแปรรูปปตท.เป็นปตท.มหาชน เป็นต้นเหตุให้น้ำมันแพง ส่วนตัวผมว่าไม่ใช่นะครับ ถ้าหลังการแปรรูปแล้วรัฐไม่ออกกฎหรือนโยบายบางอย่างออกมา ปตท.จะมีอำนาจอะไรไปทำให้น้ำมันแพงแบบปัจจุบัน ปตท.แปรรูปปี2544

 

---ก่อนกระจายหุ้นปตท.ในตลาดหลักทรัพย์ มีมติว่าแปรรูปไปก่อนเลยแล้วไปทำการแยกท่อก๊าซให้เร็จภายใน1ปี 1ปีนั้นก็ไม่แยก พอปี2546ออกมติใหม่ว่าไม่ต้องคืนท่อก๊าซแล้ว ปัจจุบันศาลสั่งให้แบ่งแยกท่อคืนต่อก็ยังเถียงกันไม่จบว่าคืนครบหรือยังไม่ ครบ ปี2544-2550 ปตท.เก็บเงินค่าผ่านท่อ 6 ปี เป็นจำนวนเงินถึง 128,086 ล้านบาท

 

----ปี2551กำหนดให้ภาคปิโตรเคมีและภาคครัว เรือนใช้ก๊าซที่ผลิตได้เป็นกลุ่มแรก ถ้าไม่พอให้มีการนำเข้า เมื่อนำเข้าก๊าซซึ่งมีราคาแพงกว่าในประเทศมาก ก็ต้องเอาเงินกองทุนพลังงานมาชดเชย ปี2538-2550ประเทศไทยไม่เคยนำเข้าก๊าซและส่งออกก๊าซด้วย ปัจจุบันการนำเข้าก๊าซต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันหลายหมื่นล้านบาต่อปี

 

---หลังแปรรูปปตท.แล้ว มีการออกกฎมาว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทยให้อิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ รายละเอียดการอิงกลายเป็น+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง ซึ่งไม่เกิดขึ้นจริง อันนี้ควรแก้เป็นว่าราคาหน้าโรงกลั่นของไทยไม่แพงกว่าราคาหน้าโรงกลั่น สิงคโปร์

---เงินกองทุนน้ำมันและภาษีต่างๆที่เก็บเยอะมาก ไม่ได้เขาปตท.ครับ

---สมัยยังเป็นปั้ม3ทหารผมว่าบริการและเรื่องอื่นรวมทั้งกำไรก็ไม่ดีกว่าปตท .ตอนนี้ ปตท.มีกระทรวงการคลังถือหุ้นถึง51.11% กองทุนวายุภักษ์ถืออีก15.26%(ถึงแม้ว่ารัฐจะลงทุนในกองวายุภักษ์แค่30%) กำไรของปตท.ก็ส่งเข้ารัฐมากแล้วนะ ดูขสมก.เป็นตัวอย่างเป็นของรัฐ100%แล้วขาดทุนมหาศาล

---เรื่องน้ำมันแพงเพราะแปรรูปปตท.อาจเป็นเรื่องการเมืองไปแล้ว เพราะแปรรูปในสมัยนายกทักษิณ(แต่เรื่องนี้เดินเรื่องมาตั้งแต่รัฐบาลประชา ธิปปัตย์แล้ว) ความจริงแพงเพราะออกกฎและนโยบายอื่นๆตามมาทำให้แพงครับ ตามไปแก้ไขกฎหลายอย่างที่ออกมาหลังแปรรูปปตท.ดีกว่าครับ

---ศาลตัดสินเรื่องแปรรูปปตท.ไปแล้ว เคารพการตัดสินของศาลดีกว่าครับ ถ้าศาลตัดสินแล้วประชาชนไม่ฟังประเทศมีแต่วุ่นวายครับ ถ้าเราเรียกร้องตรงเป้าแต่แรกไม่ร้องจะเอาปตท.กลับคืนมา แต่แก้กฎที่ออกมาทีหลัง กฎที่เอื้อเอกชนล้วงเงินฝากกระเป๋าประชาชน

 

3)เรื่องที่เรียกร้องและต่อสู้อันไหนสำคัญน้อยตัดออกไปก่อน เหลือเรื่องที่จำเป็นจริงและประชาชนได้ประโยชน์ไว้ ต่อสู้มากเรื่องเกินไปจะทำให้การต่อสู้เดินหน้าได้ช้ามาก

3.1)เรื่องระบบสัมปทานปิโตรเลียม VS ระบบแบ่งปันผลผลิต สำหรับผมพยายามคิดหลายรอบและหลายตลบแล้ว ผมลัพธ์ที่ได้ต่างกันน้อยมาก(เฉพาะในมุมมองของผม) ทราบมาว่าเรื่องนี้เถียงกันมานานร่วม4ปีแล้ว ทั้งในโซเชียลมีเดีย และในรายการโทรทัศน์ต่างๆ สุดท้ายก็ไร้ข้อสรุปว่าแบบไหนดีกว่ากัน ผมไม่แน่ใจว่ามีใครพยายามดึงความสนใจจากกลุ่มทวงคืนพลังงาน ไปเรื่องต่างๆที่สำคัญน้อยหรือเปล่า เรื่องที่น่าสนใจเช่นเรื่องแอลกอฮอล์พูดกันน้อยมาก

ส่วนตัวมองว่าสุดท้ายประเทศได้ผลลัพธ์แตกต่างกันน้อยมาก แค่ปรับรายละเอียดที่จะอุดช่องโหว่ที่กังวลนิดหน่อยก็น่าจะจบ ทางเลือไม่ใช่มีแค่2นะ

๑)ระบบสัมปทานปิโตรเลียม ๒)ระบบแบ่งปันผลผลิต ๓) ระบบสัมปทานปิโตรเลียม แบบเดิมแต่ออกข้อกำหนดมาอุดช่องโหว่ที่กังวลก็พอแล้ว

 

---- เราอาจเปิดสัมปทานรอบที่21ได้เร็วขึ้น ถ้าเรื่องระบบสัมปทานปิโตรเลียม VS ระบบแบ่งปันผลผลิตมีข้อสรุปชัดเจน จะทำให้เราผลิตน้ำมันมาชดเชยหลุมเก่าๆที่กำลังการผลิตน้อยลงไม่ทัน การเปิดสัมปทานรอบที่21ช้าจะสร้างความเสียหายกับประเทศมากครับ

---ระบบแบ่งปันผลผลิต ถ้ารัฐมีโรงกลั่นของตัวเองและมีขนาดใหญ่พอที่จะกลั่นส่วนที่ได้รับแบ่งมา ทั้งหมดได้ก็ง่ายขึ้น แต่ในเมื่อรัฐไม่มีโรงกลั่นของตัวเอง ได้มาก็ต้องรีบขาย จะขายในประเทศหรือส่งออก จะต้องมามีคนมาดูแลเรื่องนี้จำนวนไม่น้อย

4)เรื่องที่เรียกร้องและแชร์กันไปในโซเชียลมีเดีย มีผิดปนถูก ข้อมูลไม่ครบก็มีเยอะ ควรหาทีมงานมาจัดทำให้เรียบร้อย เพราะการเรียกร้องที่ถูกต้องควรอยู่บนฐานข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ประชาชนจะได้ไม่สับสนในข้อมูล

--เช่นไทยเราผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสตมากกว่าบรูไน1.3เท่า ถ้าบอกเพียงแค่นี้ถือว่าข้อมูลไม่ครบข้อมูลที่ควรจะบอกด้วยคือ พื้นที่ประเทศไทยเรามากกว่าบรูไน90เท่า ประชากรไทยมากกว่าบรูไนประมาณ162เท่า

5)ประเด็นที่คุยกันไม่จบเพราะหัวข้อที่คุยไม่ชัดเจนในการเปรียบเทียบหรือ เปล่า เรื่องเดียวกันอาจมีตัวชี้วัดมากกว่า1ตัว ลองเลือกตัวชี้วัดอื่นที่ชัดเจนในการเปรียบเทียบอาจทำให้การพูดคุยกันง่าย ขึ้น

5.1)กลุ่มทวงคืนพลังงานบอกว่าเราได้ส่วนแบ่งสัมปทานรวมทั้งหมดแล้วประมาณ30% ซึ่งน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก แต่ฝ่ายปตทให้ข้อมูลว่าเรามีปิโตรเลียมน้อย เป็นกระเปาะเล็กๆไม่เป็นแหล่งใหญ่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะสูงกว่า เพื่อนบ้านมาก ถ้าเรียกค่าสัมปทานสูงจะไม่มีใครมาประมูล ถ้าคุยแบบนี้ผมว่าเถียงกันยาวนานและอาจไม่มีข้อสรุป(ฝ่ายเรียกร้องต้องมีผู้ มีความรู้เรื่องธรณีวิทยาอย่างสูงซึ่งหายากมาก) ถ้าปรับหัวข้อในการคุยใหม่ว่า

----สัมปทานทานกำไรกี่%เมื่อเทียบกับเงินลงทุนในประเทศไทย และในประเทศเพื่อนบ้านผู้รับสัมปทานทานกำไรกี่%เมื่อเทียบกับเงินลงทุน ถ้าเทียบแล้วประเทศเราได้มากกว่าก็ควรปรับเพิ่มค่าสัมปทาน ถ้าผู้รับสัมปทานในไทยได้น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็คงส่วนแบ่งแบบเดิมก็ได้ ประเทศเราน้ำมันและก๊าซแต่ละแหล่งผลิตได้เท่าไหร่ มีข้อมูลอยู่แล้ว ค่าใช้จ่ายต่างๆของบริษัทขุดเจาะน้ำมันต้องมีการแจ้งตลอด เพราะใช้ในการคำนวณแบ่งเงินให้รัฐช่วงกำไรสุทธิในรอบสุดท้าย ข้อมูลพวกนี้รัฐมีอยู่แล้ว ทำเรื่องขอได้

***สัมปทานทานกำไรกี่%เมื่อเทียบกับเงินลงทุน ต้องเอาข้อมูลย้อนหลังหลายๆปีมาเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อน เอาแค่1-2มาเปรียบเทียบไม่ได้

6)ข้าราชการคือพนักงานของ คณะรัฐมนตรี ดังนั้นหน้าที่ของข้าราชการคือทำตามนโยบายของรัฐที่ประกาศและกำหนดเป็น ระเบียบปฎิบัติแล้ว เราจะไปโจมตีหรือผลักข้าราชการที่ทำหน้าที่อย่างถูกต้องตามนโยบายของรัฐ เป็นฝ่ายปตท.เป็นสิ่งที่ไม่ควร ข้าราชการที่รักประเทศและห่วงใยประชาชนมีเยอะ

ควรดึงข้าราชการมาเป็นพวกแทนที่จะผลักเขาไปอีกฝั่ง หารือและขอข้อมูลด้านพลังงานจากข้าราชการว่าอะไรไม่ถูกไม่ควร แล้วกดดันรัฐบาลแก้ไขนโยบายที่เอื้อนายทุนเอาเปรียบประชาชน

*****เป้า หมายคือ ความสุขของประชาชนส่วนรวม ดังนั้น การที่เรามีข้อมูลเรื่องพลังงานแล้ว เราไม่จำเป็นต้องตีกรอบเป้าหมาย หรือ ข้อเสนอเพียงเรื่องพลังงาน ควรมีข้อเสนอทางอื่นที่ สามารถทำได้ในระยะสั้นด้วย เช่น การลดต้นทุนด้านอื่นๆให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน หากผู้บริหารทราบว่า เกิดปัญหาจากนโยบายเก่าแล้ว และ ยังไม่สามารถยกเลิกนโยบายเก่าได้จนกว่าถึงช่วงเวลานึงแล้วถึงแก้ได้

7)เรื่องที่สมควรสอบถามเพราะมีความสำคัญแต่พูดกันน้อยมาก

7.1เรื่องเอทานอลที่ผสมในน้ำมัน ผมมีข้อมูลแต่ยังหาหลักฐานไม่ไดว่า ราคาเอทานอลในสหรัฐอเมริกาและบราซิลซึ่ง ผลิตได้ถึง 80% ของโลก มีราคา กุมภาพันธ์ 57)ที่ 15 บาทต่อลิตร แต่ราคาในประเทศไทย 27 บาท แถมไทยเป็นประเทศส่งออก ถ้าส่งออกในราคา 27 บาทไม่มีใครซื้อแน่ ราคาที่ส่งออกน่าจะใกล้เคียงราคาตลาดโลก

----ราคาเอทานอลที่ขายในไทยซึ่งสูงกว่าตลาดโลกใครได้ประโยชน์มหาศาลอันนี้ไป เกษตรไม่ได้ประโยชน์นี้แน่ครับ

***อาจต้องมีปรับเพิ่มหรือแก้ไขเพิ่มเติมอีกนะครับ อันนี้เพิ่งเขียนเท่าที่นึกได้ครับ******

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หลายวันก่อนอ่านบทความของคุณมนูญ ศิริวรรณ ที่บอกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นไทย ที่เท่ากับราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์+ค่าขนส่ง +ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง+ค่าประกันจากสิงคโปร์ นั้นสมเหตุผลแล้ว เพราะน้ำมันดิบส่วนมากมาจากตะวันออกกลาง ต้องผ่านสิงคโปร์ก่อนมาถึงมาไทย ต้นทุนน้ำมันดิบที่ขนเข้ามาถึงแพงกว่า ผมจำพิกัดบทความนั้นไม่ได้ แต่ผมขอมองต่างนะครับ

 

ที่คุณมนูญมองประมาณนี้ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น ปตท ควรเท่ากับราคานำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ และต้องบวกค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าสูญเสียจากสิงคโปร์มาไทยเข้าไปด้วย เพราะน้ำมันนำดิบของไทยส่วนมากมาจากตะวันออกกลางซึ่งจะผ่านช่องแคบมะละกา ผ่านสิงคโปร์ และมาไทย (การขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันวันออกกลาง จะผ่านสิงคโปร์ก่อนถึงไทย ดังนั้นต้นทุนน้ำมันดิบนำเข้าของสิงคโปร์จะถูกกว่าต้นทุนน้ำมันดิบนำเข้าของ ไทย

 

1)ตะวันออกกลาง-----ผ่านสิงคโปร---ปลายทางประเทศไทย

2)ตะวันออกกลาง-----ผ่านสิงคโปร์

******1 ลบ2 คือค่าใช้จ่าย ที่ขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสีย ที่เกิดจากสิงคโปร์มาไทย ดังนั้นส่วนนี้ควรบวกเข้าไปในราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทย

 

**ผมขอมองต่างแบบนี้

1)ค่าขนส่ง ค่าประกัน ค่าสูญเสีย ที่จ่ายจริงเมื่อมาไทยแล้วขนน้ำมันเข้าโรงกลั่นเพียงครั้งเดียว น่าจะถูกกว่า การขนส่ง 2ครั้ง

ครั้งที่1)ตะวันออกกลาง มาสิงคโปร์ ขนน้ำมันดิบขึ้นโรงกลั่นสิงคโปร์

ครั้งที่2)ขนน้ำมันจากสิงคโปร์ลงเรืออีกครั้ง ซึ่งถ้ามาไทยเลยจะไม่มีการขนขึ้นและการขนลงเรืออีกรอบก่อนมาไทย

2)ผมไปดูแผนที่โลกแล้ว วัดด้วยสายตาคร่าวๆ ระยะทางจากสิงคโปร์มาไทยไม่ถึง20% ของการเดินทางทั้งหมดจากตะวันออกกลางมาไทย การเดินทาง10,000กิโลเมตรด้วยเรือ1ลำแล้วตรงมาไทยเลย ราคาน่าจะถูกกว่าใช้เรือ2ลำมาไทย ลำแรก8,000กิโลเมตรมาสิงคโปร์ ว่าจ้างเรือลำใหม่จากสิงคโปร์มาไทย(ต้องมีการขนน้ำมันลงเรือลำใหม่อีกรอบ กรณีมาลำเดียวไม่ต้องขนน้ำมันลงเรืออีกรอบ (ตัวเลข10,000กิโลเมตรเป็นตัวเลขสมมติเพื่อประกอบคำอธิบาย

3)สิงคโปร์ต้องนำเข้าน้ำมันดิบทั้ง100% แต่ของไทยน้ำเข้าแค่85% 15%ที่ผลิตในไทยไม่มีการขนส่งจากตะวันออกกลางมาไทย ไม่ต้องขนลงเรือและขึ้นจากเรือ

หมายเหตุ---เรื่องการขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางมาไทย มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าจากตะวันออกกลางมาสิงคโปร์

เรื่องนี้เคยมีการคุยกับเพื่อนร่วมบริษัทมาแล้ว แต่ผมมองว่าส่วนของน้ำดิบที่ผลิตในไทยซึ่งไม่มีการขนส่ง น่าจะชดเชยส่วนนี้ได้

---น้ำมันดิบนำเข้า 70กว่า%มาจากตะวันออกกลาง ประมาณ8%มาจากยุโรป 8%จากประเทศแถบอาเซียน

ที่เหลือจากแหล่งต่างๆ

---น้ำมันดินที่นำเข้าจากตะวันออกกลาง ส่วนมากขนขึ้นที่แหลมฉบังและมาบตาพุด ซึ่งมีระยะขนส่งที่ไกลกว่าตะวันออกกลางมาสิงคโปร์

---ค่าสูญเสียจากการขนส่ง มิใช่เกิดจากค้างเรือ อย่างเดียว ระเหย แต่จริงๆแล้ว ตอนรับสินค้า เขาใช้มาตรวัดของผู้ขาย ใส่ลงเรือ จากนั้นเรือจะวัดอีกที ผลต่างต้องไม่เกินมาตฐาน loss control ส่วนนี้ไม่เกิน 2 % จากนั้นเรือออกเดินทาง น้ำที่อยู่ในน้ำมัน นานวันก็ตกตะกอน ถึงท่ารับ วัดหาน้ำในท้องเรือ ดูดน้ำออกก่อน จากนั้นขนถ่ายน้ำมัน ส่วนต่างจากต้นทางมาปลายทาง จะเห็นว่าแม้ระยะทางเท่ากันแต่ loss ต่างกัน ขึ้นกับ batch นั้นๆดังนั้นไม่มีสูตรตายตัว การ loss เกิดขึ้นเที่ยวต่อเที่ยว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Arisa Jam กับ ประสาท มีแต้ม และคนอื่นๆ อีก 4 คน

เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร: กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย

“ถ้าคุณต้องการจะปกครองโลก คุณจำเป็นต้องควบคุมน้ำมันให้ได้ทั้งหมดและทุกหนทุกแห่งด้วย” (“If you want to rule the world, you need to control oil. All the oil. Anywhere.” Michel Collon, Monopoly)

 

ผมทราบจากคอลัมนิสต์หลายคนมานานแล้วว่า ราคาน้ำมันดิบที่ขายกันอยู่ในตลาดโลกที่ประมาณ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลนั้น เงินจำนวนประมาณครึ่งจะเข้าสู่กระเป๋าของนักเล่นหุ้นในตลาดวอลล์สตรีท โดยที่ในแต่ละวันชาวโลกบริโภคน้ำมันประมาณ 100 ล้านบาร์เรล แต่ผมก็นึกไม่ออกว่ามันเข้าไปสู่กระเป๋าคนเหล่านั้นได้อย่างไร และทำไมจึงมากมายถึงขนาดนั้น มาวันนี้ ผมเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นจากตัวอย่างการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยเรานี่เอง

แต่ก่อนจะไปตรงนั้น มาดูผลกำไรของผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลกกันสักนิด ข้อมูลจากภาพข้างล่างนี้คือกำไรในช่วง 3 เดือนแรกในปี 2554 ของ 5 บริษัทปิโตรเลียม (จากบทความของ Erik Curren, http://transitionvoice.com) กำไรดังกล่าวถ้าคิดทั้งปีก็ประมาณสองเท่าของงบประมาณแผ่นดินประเทศไทยทั้งปี

เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย

คราวนี้มาถึงเรื่องของประเทศไทยครับ ซึ่งผมจะขอแบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลัก คือ (1) วิธีการให้สัมปทานปิโตรเลียม (2) การปั่นราคาน้ำมันจากการขายสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งหนึ่งในภาคอีสาน และ (3) ทุนน้ำมันกับผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก

วิธีการให้สัมปทานปิโตรเลียมกับการประกวดนางสาวไทย

ถ้าเปรียบเทียบวิธีการพิจารณาผู้ขอรับสัมปทานปิโตรเลียมกับวิธีการคัดเลือก นางสาวไทยพบว่ามีทั้งสิ่งที่เหมือนและสิ่งที่ต่างกัน

สิ่งที่เหมือนกันได้แก่ ผู้ขอรับสัมปทานปิโตรเลียมต้องเป็นบริษัท ต้องมีทุน เครื่องจักร อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญที่พอจะผลิต สำรวจ และขายปิโตรเลียมได้ แต่ในกรณีที่มีทุนไม่เพียงพอหรือครบถ้วน ถ้ามีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือรับรองที่จะให้ทุน ก็สามารถขอสัมปทานได้เหมือนกัน ฯลฯ (ข้อ 4 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. 2555) โดยต้องซื้อแบบฟอร์มในราคาชุดละ 1 หมื่นบาท

ในกรณีนางสาวไทยเท่าที่ผมเคยดูทางโทรทัศน์ พบว่าต้องมีสโมสรหรือสมาคมส่งเข้าประกวด จะเดินดุ่ยๆ ไปสมัครคนเดียวโดยไม่มีใครส่งเข้าประกวดไม่ได้ ผมเข้าใจว่าผู้สมัครนางสาวไทยก็ต้องกรอกแบบฟอร์มและเสียค่าสมัครเหมือนกัน แต่จะกี่บาทนั้นผมไม่ทราบ

การกรอกใบสมัครของผู้ขอสัมปทาน ต้องระบุปริมาณเงินและปริมาณงานสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละ แปลง ผู้ขอสัมปทานจะเสนอให้ผลประโยชน์พิเศษ เช่น การให้เงินทุนการศึกษา เงินอุดหนุน เงินให้เปล่าในการลงนามในสัมปทาน หรือเงินให้เปล่าในการผลิต นอกเหนือไปจากเงื่อนไขที่ทางราชการได้กำหนดให้เป็นผลประโยชน์พิเศษไว้ในการ ประกาศยื่นคำขอสัมปทานก็ได้

การตัดสินก็ใช้ความเห็นของคณะกรรมการปิโตรเลียม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ก้อนใหญ่ที่สุดที่ประเทศจะได้รับ เพราะทุกบริษัทจะต้องจ่ายค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ ผลประโยชน์พิเศษในอัตราที่อยู่ในกฎหมายเท่ากันอยู่แล้ว ดังนั้น การตัดสินจึงขึ้นอยู่กับอำนาจการวินิจฉัยของกรรมการเท่านั้น

การประกวดนางสาวไทย ก็มีลักษณะคล้ายกัน หลังจากการคัดเลือกหน้าตา ทรวดทรงองค์เอว (ตามความเห็นของคณะกรรมการ) แล้ว ตอนสุดท้ายยังมีการตอบคำถาม เพื่อแสดงทัศนะ เช่น รักเด็ก รักสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

แต่สิ่งที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็คือ ผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยจะเป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ไม่สามารถโอนให้ใครอื่นได้ หรือจะขายต่อให้ใครก็ไม่ได้ และมีอายุแค่ 1 ปี ในขณะที่ผู้ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมนั้นสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ ในราคาที่มีกำไรนับหลายพันล้านบาท โดยที่อายุสัมปทาน 20 ปี และในกรณีที่ผลิตปิโตรเลียมไม่ทันภายใน 20 ปี ก็ขอต่อระยะเวลาผลิตได้อีก 10 ปี ยังไม่รวมช่วงการสำรวจอีก 9 ปี ทั้งหมดรวมก็ 39 ปี

เกี่ยวกับระบบการเก็บผลประโยชน์ของรัฐจากปิโตรเลียมนี้ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และอื่นๆ ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต คือนำผลผลิตมาแบ่งกัน ดังนั้น การขึ้นลงของราคาน้ำมันจะไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเจ้าของ ประเทศกับบริษัท

สหรัฐอเมริกาเองก็ใช้ระบบการให้สัมปทาน โดยคิดค่าภาคหลวง 12.5% แต่ต่อมาโดยการริเริ่มของสมาชิกสภา ได้มีการศึกษาพบว่า “สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศของโลกที่รัฐได้ผลประโยชน์น้อยที่สุด” (Government Accountability Office found that the U.S. government “receives one of the lowest government takes in the world.”) และต่อมาได้มีการขยับจาก 12.5% เป็น 16.75-18.75% แต่ของประเทศไทยเราก็เคยเก็บ 12.5% แต่กลับแก้ไขใหม่อย่างมีเงื่อนไข แล้วผลลัพธ์สุดท้ายรัฐกลับได้รับลดลง

การปั่นราคาน้ำมันจากการขายสัมปทานปิโตรเลียม

ผมใช้เวลาสืบค้นข้อมูลโดยการเริ่มต้นจากข้อมูลรายงานประจำปี 2554 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในที่สุดก็พบเอกสารของบริษัท Pan Orient Energy (บริษัทชาวแคนาดา) เป็นข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม 2556 ผมตัดบางส่วนของข้อความมาลงไว้ในที่นี้

เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย

สาระสำคัญในแผ่นสไลด์นี้ก็คือ ประวัติการสร้างมูลค่าในแหล่งสัมปทานบนบก L44 และ L33 ในประเทศไทย (ดูแผนที่ข้างล่างประกอบ) โดยซื้อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2550 ในราคา 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และขายต่อไปในเดือนมิถุนายน 2555 ในราคา 172 ล้านเหรียญสหรัฐ

หลังจากค้นเพิ่มเติมได้ความว่า หลังจากหักต้นทุนดำเนินการ (ประมาณ 8 ล้านเหรียญสหรัฐ) และจ่ายภาษีแล้วบริษัทมีกำไร 162 ล้านเหรียญสหรัฐ (http://finance.yahoo.com/news/pan-orient-energy-corp-sale-150118468.html) คิดเป็นเงินไทยก็เกือบ 5 พันล้านบาท โดยมีอัตรากำไรประมาณ 22 เท่าของเงินลงทุน ภายในเวลา 5 ปี

เงินกำไรจำนวนนี้นอกจากรัฐไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นต้นทุนเพื่อใช้ในการหักภาษีเงินได้ปิโตรเลียมให้กับผู้รับซื้อ สัมปทานใหม่ได้ด้วย

สิ่งที่ผมกระหายใคร่รู้ก็คือ บริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ ซื้อมาจากใครและขายไปให้ใคร ทำไมจึงมีกำไรเยอะขนาดนี้ และมีน้ำมันดิบสำรองเท่าใด ฯลฯ

ผมจึงเริ่มสืบค้นการให้สัมปทานโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงขอสรุปมาเป็นตาราง ดังนี้

เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย

สำหรับตำแหน่งที่ตั้งของแหล่ง L33/43 และ L44/43 อยู่ใน 3 อำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ครับ

เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย

ข้อมูลที่ผมได้จากรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่ตรงกับข้อมูลในเว็บไซต์ ของบริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ กล่าวคือ ข้อมูลแรก บริษัทในเครือของแพน มีสัดส่วนการลงทุน 100% แต่ข้อมูลหลังระบุว่าแปลงที่ขายไปบริษัทมีหุ้นแค่ 60% แต่ก็ไม่ยอมระบุว่าซื้อจากใครและขายให้ใคร

ดังนั้น ในตอนนี้ผมขอสันนิษฐานว่า บริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ซื้อมาจากบริษัทลูกของตนเองในราคา 7.5 ล้านเหรียญ เมื่อเดือนตุลาคม 2550 (โดยผู้ขายลงทุนไปจำนวนหนึ่ง แต่ผมไม่ทราบนอกจากค่าธรรมเนียมการขอสัมปทานหนึ่งหมื่นบาท)

สำหรับตอนที่ขายออกไป ผมค้นได้แล้วว่าขายไปให้กับบริษัท Towngas ซึ่งเป็นบริษัทของชาวฮ่องกงและชาวจีน (http://www.towngas.com) โดยบริษัทนี้ระบุว่าแหล่งนี้มีน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้ว (1P) จำนวน 10 ล้านบาร์เรล และสำรองที่ค่อนข้างแน่นอน(2P) อีก 30 ล้านบาร์เรล โดยคาดว่ายังสามารถผลิตต่อไปได้อีก 20 ปีนับจากปี 2555

ด้วยปริมาณสำรองจำนวนนี้ และด้วยการซื้อขายเปลี่ยนมือสัมปทานกันในราคานี้เพียงอย่างเดียว ได้ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นถึง 5-6 เหรียญต่อบาร์เรลแล้ว ดังนั้น เรื่องที่ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ถูกปั่นไปเท่าตัวก็เป็นเรื่องที่พอ เข้าใจได้ เพราะไม่ได้มีขั้นตอนเดียว

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2556 (ข้อมูลล่าสุด) แหล่ง L33/43 และ L44/43 ผลิตน้ำมันดิบได้จำนวน 11.3 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 24,571 ล้านบาท โดยรัฐได้ค่าภาคหลวง 1,537 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 6.3 หมายเหตุ กฎหมายเดิมเคยได้ 12.5% แต่หลังจากปี 2532 เป็นต้นมาได้มีการแก้กฎหมายเป็นร้อยละ 5-15 ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่มีแหล่งเล็กๆ โดยจ่ายแค่ 6.3%)

สิ่งที่คนไทยเราอยากจะทราบก็คือ บริษัทนี้จ่ายภาษีเงินได้ให้รัฐเท่าใด ผมไม่มีข้อมูลครับ แต่การที่บริษัท Towngas ซื้อมาในราคา 172 ล้านเหรียญ (5,160 ล้านบาท) ก็ถือว่าเป็นต้นทุนของบริษัท Towngas ที่สามารถนำไปหักเป็นต้นทุนจากเงินรายได้ของบริษัท แม้แต่ในกรณีหนี้สูญก็สามารถคิดเป็นต้นทุนได้

หรืออาจกล่าวได้ว่า นี่คือต้นทุนเทียมที่มีผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น โดยที่เจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมไม่ได้ประโยชน์ใดๆ โดยสรุปก็คือ ยิ่งมีการซื้อ-ขายสัมปทานกันบ่อยครั้งเท่าใด ราคาน้ำมันก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และปรากฏการณ์ในประเทศไทยเรานี้ เป็นเรื่องปกติของวงการค้าน้ำมันโลก

ทุนน้ำมันกับผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก

การที่ใครคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกิดมีทุนมากๆ ขึ้นมาแล้วจะมีผลอย่างไร ผมว่าไม่ต้องไปดูตัวอย่างที่ไหนหรอก “ระบอบทักษิณ” นี่แหละชัดเจนที่สุดแล้ว และได้ตอกย้ำโดยการเปิดเผยของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ว่ามีการ “ซื้อ ส.ว. สั่งสื่อมวลชนให้ช่วยคนของตนชนะการเลือกตั้ง สั่งสภาแก้กฎหมายเพื่อให้ตนขายหุ้นได้ประโยชน์มากขึ้น” เป็นต้น

แต่ถ้าเป็นเรื่องทุนน้ำมันโดยตรงนั้น ตัวอย่างที่ชัดเจนและจำกันได้ง่ายๆ เช่น กรณี ส่งครามอ่าวเปอร์เซีย และการบุกอิรักของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2546 ซึ่งคนของสหรัฐอเมริกาเองได้เปิดเผยในเวลาต่อมาว่า “เพื่อคุมแหล่งน้ำมัน”

มีนักลงทุนชาวเบลเยียมท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “พ่อค้าน้ำมันนั้นก็เหมือนแมว คือเราไม่สามารถรู้ได้เลยโดยการฟังเสียงร้องของมันว่ามันกำลังจะต่อสู้กัน หรือกำลังจะผสมพันธุ์กัน” พ่อค้าน้ำมันก็เช่นเดียวกัน การส่งเสียงคำรามและการใช้อาวุธเข่นฆ่ากันนั้น บางครั้งก็เป็นการประสานผลประโยชน์ของพ่อค้าน้ำมันเอง

ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังมีปัญหาว่า ผลการเลือกตั้งและนโยบายของรัฐบาลไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนเลย

นอกจากนี้ ข้อมูลจากกลุ่ม “ยึดวอลล์สตรีท (Occupy Wall Street)” ระบุว่า “ผู้ชนะการเลือกตั้ง 90% ในทุกระดับของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ใช้เงินหรือรับเงินเป็นจำนวนมาก”

น้ำมันไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะต่อระบอบประชาธิปไตยของคนทั่วโลกเท่านั้น แต่ที่สำคัญยังมีผลต่อระบบสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย ปรากฏการณ์ที่อากาศหนาวสุดๆ ในประเทศไทยและทั่วโลกในขณะนี้ ก็มีสาเหตุสำคัญที่สุดมาจากการเผาปิโตรเลียมและถ่านหินซึ่งได้กลายเป็น สินค้าผูกขาดของกลุ่มพ่อค้าพลังงานหยิบมือเดียว

ผมแปลกใจมากๆ ว่า ในขณะที่คนบางกลุ่มยึดมั่นต่อการเลือกตั้งอย่างเดียวเป็นสรณะ แต่ไม่ได้สนใจทุนสามานย์ข้ามชาติที่สามารถเคลื่อนไปที่ไหนก็ได้โดยที่ ประชาชนในประเทศนั้นๆ ไม่ได้เลือก การเลือกตั้งเป็นเพียง 1 ใน 4 ของวิธีการที่จะนำสังคมไปสู่สิ่งที่ต้องการ อีก 3 วิธีที่เหลือ ที่ทุนสามานย์พยายามปิดบังมาตลอดคือ (2) การมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของประชาชน (3) การเคารพสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และ (4) การใช้หลักนิติรัฐและนิติธรรม

โดยสรุป ปัจจุบันนี้ทุนสามานย์ที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนได้มีอิทธิพล เหนือรัฐบาลทั่วโลกที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งประเทศไทยที่เราเห็นกันอยู่อย่างโทนโท่แล้ว ครับผม!

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000009831

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...