ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

Sakai

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    35
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

12 ดี

เกี่ยวกับ Sakai

  • คะแนนนิยม
    ขาประจำ

Profile Information

  • เพศ
    ชาย
  • ที่อยู่
    ลำพูน
  1. ขอบคุณทุกท่าน ที่นำข้อมูลข่าวสารดีๆมาแบ่งปัน
  2. ฮือฮา! “กรีซ” กลายเป็นชาติแรกของโลก สูญเสียสถานะ “ประเทศพัฒนาแล้ว” หลัง ศก.ทรุด-หนี้ท่วม โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2556 17:32 น. เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์- “รัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์ส” บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนชื่อดังซึ่งมีฐานอยู่ที่นครซีแอตเติลของสหรัฐฯ ประกาศลดสถานะของกรีซ ประเทศสมาชิกกลุ่มยูโรโซนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จากการเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” เหลือเพียงกลุ่มประเทศ “เศรษฐกิจเกิดใหม่” รายงานข่าวซึ่งอ้างคำแถลงของบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนดังกล่าวที่รับผิด ชอบสินทรัพย์ทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 71.4 ล้านล้านบาท) ระบุว่า เศรษฐกิจกรีซได้กลายเป็น “ศูนย์รวมแห่งความวิตกกังวล” ของทั่วทั้งโลก นับตั้งแต่ที่มีการเปิดเผยยอดหนี้สินจำนวนมหาศาลของประเทศในปี 2009 และในขณะนี้ กรีซได้สูญเสียศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับของประเทศพัฒนาแล้วไปจนหมดสิ้น ทั้งในด้านของรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร ปริมาณการค้า ยอดรวมการลงทุน ความสามารถของรัฐในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ฯลฯ นับเป็นครั้งแรกที่กรีซสูญเสียสถานะดังกล่าว นับตั้งแต่ถูกยกให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเต็มตัวเมื่อปี 2001 แม็ต ลีสทรา นักวิเคราะห์อาวุโสของ รัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์สให้ความเห็นว่า ระดับหนี้สินที่สูงลิ่วของกรีซจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเปราะบางและไร้ เสถียรภาพนั้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้กรีซกลายเป็นประเทศแรกของโลก ที่ต้องสูญเสียสถานะการเป็นดินแดนที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี คำแถลงของรัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์ส ยืนยันว่า แม้สเปนและโปรตุเกสซึ่งต่างเป็นสมาชิกยูโรโซน หรือกลุ่ม 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินตราสกุลหลัก จะประสบภาวะวิกฤตด้านหนี้สินที่ร้ายแรงไม่แพ้กับกรีซ แต่ศักยภาพโดยรวมของเศรษฐกิจสเปนและโปรตุเกสยังคงแข็งแกร่งกว่า ดังนั้น ทั้ง 2 ประเทศจึงยังไม่ถูกถอดจากการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการปลดกรีซออกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีขึ้นในช่วง เดียวกับที่ทางเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพิ่งเดินทางกลับไปเยือนกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซเมื่อวันอาทิตย์ (3) เพื่อประเมินความก้าวหน้าของกรีซ ในการปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัดอันเข้มงวด ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ผู้นำของกลุ่ม “ทรอยกา” หรือเจ้าหนี้ 3 ฝ่าย ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนจากอียู ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีกำหนดพบหารือกับยานนิส สตูร์นาราส รัฐมนตรีคลังของกรีซเกี่ยวกับความคืบหน้าของรัฐบาลเอเธนส์ในการแปรรูปรัฐ วิสาหกิจ การปฏิรูปภาษี การเพิ่มทุนของภาคธนาคาร และการลดจำนวนพนักงานของรัฐลงให้ได้ราว 150,000 คนภายในปี 2015 เพื่อลดค่าใช้จ่าย หลังจากที่เศรษฐกิจกรีซต้องประสบภาวะถดถอยเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
  3. “โอบามา” ลงนามคำสั่งตัดงบอัตโนมัติ $85,000 ล้าน หลังเจรจาคองเกรสล้มเหลว โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2556 12:10 น. ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แถลงข่าวเรื่องมาตรการตัดงบแบบเหมารวมอัตโนมัติ (sequestration) หลังสิ้นสุดการเจรจากับผู้นำคองเกรสที่ทำเนียบขาว วานนี้(1) รอยเตอร์ - ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐลงทั้งระบบ เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา(1) หลังการเจรจากับฝ่ายรีพับลิกันเพื่อบรรลุข้อตกลงหลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าว ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งการหั่นรายจ่ายแบบเหมารวมนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเติบโตของ เศรษฐกิจสหรัฐฯ และบั่นทอนความพร้อมของกองทัพ “การตัดงบประมาณอาจยังไม่มีผลกระทบต่อทุกฝ่ายในทันที แต่ความเดือดร้อนจะเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปครอบครัวชนชั้นกลางจะเริ่มสัมผัสได้ถึงความยาก ลำบาก” โอบามา ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว หลังเสร็จสิ้นการประชุมกับบรรดาผู้นำเดโมแครตและรีพับลิกันในสภาคองเกรส เมื่อคืนวานนี้(1) โอบามาลงนามประกาศใช้มาตรการตัดงบแบบเหมารวม หรือ “ซีเควสเตรชัน” (sequestration) ซึ่งจะมีผลให้หน่วยงานภาครัฐทั้งหมดถูกตัดงบรวมทั้งสิ้น 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่วันนี้(2) ไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม โดยครึ่งหนึ่งจะมาจากงบของกระทรวงกลาโหม ชัค เฮเกล ผู้นำเพนตากอนคนใหม่ กล่าวเตือนว่า การหั่นงบกองทัพครั้งนี้จะทำให้ภารกิจด้านการทหารทั้งหมดตกอยู่ในความเสี่ยง แม้คองเกรสและ โอบามา จะยังพอมีเวลาอีกหลายสัปดาห์ที่จะยับยั้งมาตรการซีเควสเตรชัน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาคองเกรสเมื่อปี 2011 เพื่อแก้ไขวิกฤตงบประมาณสหรัฐฯในช่วงนั้น ทว่าทั้ง 2 ฝ่ายก็ยังไม่มีท่าทีรอมชอมกันได้ พรรคเดโมแครตประเมินว่า การตัดงบประมาณทั้งระบบจะก่อปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการสัญจรทางอากาศ, กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยอาหารที่ช้าลง อันจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเนื้อสัตว์ในตลาด, การยกเลิกสัญญาระหว่างเอกชนกับภาครัฐ และความเสียหายต่อเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งฐานทัพต่างๆ หัวใจของวิกฤตงบประมาณครั้งนี้ก็คือความเห็นไม่ลงรอยระหว่างฝ่ายเดโม แครตกับรีพับลิกันเกี่ยวกับวิธีที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะ 16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีที่มาจากการทำสงครามต่อเนื่องหลายปีในอิรักและอัฟกานิสถาน รวมถึงเม็ดเงินที่รัฐบาลใช้อัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โอบามา ต้องการให้รัฐตัดงบประมาณบางส่วนควบคู่ไปกับการขึ้นภาษี ขณะที่รีพับลิกันก็ไม่ปรารถนาที่จะอ่อนข้อในเรื่องภาษีอีก หลังจากที่เคยยอมไปแล้วครั้งหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยง “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff) เมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ความโกรธเกรี้ยวจากสังคมน่าจะเป็นแรงกระตุ้นที่ดีที่สุดที่จะทำให้ รัฐบาลและคองเกรสยอมหันหน้าเข้าหากัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการตัดงบประมาณที่จะแผ่ซ่านไปทั่วทุกภาคส่วนภายใน อีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า การตัดงบอัตโนมัติ 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯอาจฟังดูไม่มากมายเมื่อเทียบกับงบรายจ่ายรวมของรัฐบาล สหรัฐฯที่สูงถึง 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี แต่เนื่องจากโครงการสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพต้องได้รับการปกป้องไว้ ทำให้ภาระส่วนใหญ่จะไปตกอยู่กับพนักงานรัฐมากกว่าประชาชนที่ได้รับการอุด หนุนโดยตรง รัฐบาลสหรัฐฯถือเป็นนายจ้างรายใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่พลเรือนในสังกัดราว 2.7 ล้านคน ซึ่งหากการตัดงบอัตโนมัติยังคงมีผลบังคับต่อไป พนักงานรัฐกว่า 800,000 คนอาจถูกลดวันทำงานและตัดเงินค่าจ้าง ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน หน่วยงานต่างๆเริ่มประกาศเตือนเรื่องการปลดพนักงานตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ที่ผ่านมา และแจ้งเตือนไปอย่างทั่วถึงเมื่อวานนี้(1) หลังเป็นที่แน่นอนแล้วว่า การเจรจาโค้งสุดท้ายระหว่าง โอบามา กับผู้นำคองเกรสล้มเหลวแน่ ผลสำรวจออนไลน์โดยรอยเตอร์/อิปซอส เมื่อวานนี้(1) พบว่า ชาวอเมริกันร้อยละ 28 โทษว่าเป็นความผิดของรีพับลิกันที่ทำให้การหลีกเลี่ยงมาตรการตัดงบรายจ่าย อัตโนมัติไม่เป็นผล, ร้อยละ 18 คิดว่าเป็นความผิดของ โอบามา, ร้อยละ 4 โทษฝ่ายเดโมแครต แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 37 คิดว่าผิดด้วยกันทุกฝ่าย
  4. ขอบคุณทุกท่าน ที่มีข้อมูลข่าวสารดีๆมาแบ่งปัน
  5. แบงก์ชาติหมีขาวกว้านซื้อทองคำมหาศาล 5.7 แสนกิโล ในยุค “ปูติน” ชี้ทองคำของรัสเซียหนักกว่า “เทพีเสรีภาพ” 3 เท่า โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กุมภาพันธ์ 2556 12:50 น. รัสเซียในยุคปูติน กลายเป็นประเทศผู้ซื้อทองคำรายใหญ่สุดของโลก เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยข้อมูลที่ระบุว่า ธนาคารกลางของรัสเซียได้กว้านซื้อทองคำจำนวนมหาศาลกว่า 570 เมตริกตัน หรือกว่า 570,000 กิโลกรัม ไปถือครองไว้ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้รัสเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กลายเป็นเจ้าของสถิติประเทศผู้กว้านซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดในโลกอีกตำแหน่ง ข้อมูลของไอเอ็มเอฟซึ่งถูกรวบรวมโดย “บลูมเบิร์ก” สื่อด้านการเงินและธุรกิจชื่อดังของสหรัฐฯ ระบุว่า ธนาคารกลางของรัสเซียทำการซื้อทองคำจำนวนกว่า 570,000 กิโลกรัมไปถือครองไว้ ตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้รัสเซียกลายเป็นผู้กว้านซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก ทิ้งห่างสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ตามมาในอันดับที่ 2 มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ปริมาณทองคำที่รัสเซียกว้านซื้อยังมีน้ำหนักรวมคิดเป็นเกือบ 3 เท่าตัวของ อนุสาวรีย์ “เทพีเสรีภาพ” อันโด่งดังของสหรัฐฯ อีกด้วย เยฟเกนี เฟโดรอฟ สมาชิกรัฐสภารัสเซีย สังกัดพรรค “ยูไนเต็ด รัสเซีย” ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเผยที่กรุงมอสโก โดยระบุ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีปริมาณทองคำในความครอบครองมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลให้ประเทศนั้นมีความมั่นคงทางอธิปไตยมากขึ้นเท่านั้น หากเกิด “หายนะ” ใดๆขึ้นกับเงินสกุลดอลลาร์ของสหรัฐฯ เงินยูโรของยุโรป เงินปอนด์ของอังกฤษ หรือเงินสกุลอื่นๆ ในอนาคต ข้อมูลของไอเอ็มเอฟระบุปริมาณการกว้านซื้อทองคำของรัฐบาลมอสโกเพิ่มสูงขึ้น เกือบ “400 เปอร์เซ็นต์” ในยุคที่วลาดิมีร์ ปูตินครองอำนาจ ทั้งในช่วง 2 สมัยแรกของปูตินระหว่างปี ค.ศ. 2000 – 2008 รวมถึงการกลับมาครองตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 3 นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน มีข้อมูลว่า ทองคำในความครอบครองของรัสเซียราว 2 ใน 3 ถูกเก็บไว้ภายในกรุงมอสโก อย่างไรก็ดี แม้รัสเซียในยุคของปูตินจะมีการกว้านซื้อทองคำจำนวนมหาศาลมาถือครอง แต่ปริมาณทองคำล่าสุดที่อยู่ในความครอบครองของรัฐบาลมอสโก ตามของข้อมูลของสภาทองคำโลก (WGC) ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาระบุว่า มีทั้งสิ้น 958 ตัน ทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีทองคำในครอบครองสูงเป็นลำดับที่ 8 ของโลก ขณะที่สหรัฐฯและเยอรมนียังคงครองตำแหน่งดินแดนที่มีทองคำในครอบครองสูงที่ สุดของโลกที่ 8,134 ตันและ3,391 ตันตามลำดับ ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นผู้ถือครองทองคำอันดับ 3 ของโลกด้วยปริมาณ 2,814 ตัน ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลของไอเอ็มเอฟระบุว่า สวิตเซอร์แลนด์ กลายเป็นประเทศที่ต้องนำทองคำสำรองของตนออกขายมากที่สุดในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณกว่า 877 ตัน (คิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)รองลงมาคือ ฝรั่งเศส ที่ต้องขายทองคำของตนออกไปกว่า 589 ตันตามมาด้วยสเปน เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส ที่ต่างต้องนำทองคำในความครอบครองของตนออกมาขาย คิดเป็นปริมาณชาติละมากกว่า 200 ตัน ทองคำในความครอบครองของรัสเซีย มีน้ำหนักมากกว่าเทพีเสรีภาพของสหรัฐฯเกือบ 3 เท่าตัว
  6. ขอบคุณครับ คุณส้มโอมือ เห็นด้วยกับบทความครับ แต่มีปัญหาเรื่องที่เก็บนี่แหละครับ เคยมีสมาชิกตั้งกระทู้เรื่องที่เก็บแล้ว หลายท่านมีวิธี โน่น นี่ นั่น โดยเฉพาะวิธีของคุณหมอเล็ก เห็นแล้วหนาวครับ! แต่ละวิธียากจริงๆ ปีใหม่แล้ว ขอให้ทุกท่้านมีความสุข ร่ำรวยเงินทอง(จริงๆ(Physical)) เฮงๆ ตลอดปีครับ!
  7. ขอบคุณครับ คุณwcg ซาเวซ.....นายแน่มาก!
  8. อ่านแล้ววางไม่ลง ตาสว่างขึ้้นเยอะ! ขอบคุณครับ! คุณส้มโอมือ
×
×
  • สร้างใหม่...