ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

Sakai

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    35
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย Sakai

  1. ขอบคุณทุกท่าน ที่นำข้อมูลข่าวสารดีๆมาแบ่งปัน
  2. ฮือฮา! “กรีซ” กลายเป็นชาติแรกของโลก สูญเสียสถานะ “ประเทศพัฒนาแล้ว” หลัง ศก.ทรุด-หนี้ท่วม โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2556 17:32 น. เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์- “รัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์ส” บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนชื่อดังซึ่งมีฐานอยู่ที่นครซีแอตเติลของสหรัฐฯ ประกาศลดสถานะของกรีซ ประเทศสมาชิกกลุ่มยูโรโซนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จากการเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” เหลือเพียงกลุ่มประเทศ “เศรษฐกิจเกิดใหม่” รายงานข่าวซึ่งอ้างคำแถลงของบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนดังกล่าวที่รับผิด ชอบสินทรัพย์ทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 71.4 ล้านล้านบาท) ระบุว่า เศรษฐกิจกรีซได้กลายเป็น “ศูนย์รวมแห่งความวิตกกังวล” ของทั่วทั้งโลก นับตั้งแต่ที่มีการเปิดเผยยอดหนี้สินจำนวนมหาศาลของประเทศในปี 2009 และในขณะนี้ กรีซได้สูญเสียศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับของประเทศพัฒนาแล้วไปจนหมดสิ้น ทั้งในด้านของรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร ปริมาณการค้า ยอดรวมการลงทุน ความสามารถของรัฐในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ฯลฯ นับเป็นครั้งแรกที่กรีซสูญเสียสถานะดังกล่าว นับตั้งแต่ถูกยกให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเต็มตัวเมื่อปี 2001 แม็ต ลีสทรา นักวิเคราะห์อาวุโสของ รัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์สให้ความเห็นว่า ระดับหนี้สินที่สูงลิ่วของกรีซจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเปราะบางและไร้ เสถียรภาพนั้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้กรีซกลายเป็นประเทศแรกของโลก ที่ต้องสูญเสียสถานะการเป็นดินแดนที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี คำแถลงของรัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์ส ยืนยันว่า แม้สเปนและโปรตุเกสซึ่งต่างเป็นสมาชิกยูโรโซน หรือกลุ่ม 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินตราสกุลหลัก จะประสบภาวะวิกฤตด้านหนี้สินที่ร้ายแรงไม่แพ้กับกรีซ แต่ศักยภาพโดยรวมของเศรษฐกิจสเปนและโปรตุเกสยังคงแข็งแกร่งกว่า ดังนั้น ทั้ง 2 ประเทศจึงยังไม่ถูกถอดจากการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการปลดกรีซออกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีขึ้นในช่วง เดียวกับที่ทางเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพิ่งเดินทางกลับไปเยือนกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซเมื่อวันอาทิตย์ (3) เพื่อประเมินความก้าวหน้าของกรีซ ในการปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัดอันเข้มงวด ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ผู้นำของกลุ่ม “ทรอยกา” หรือเจ้าหนี้ 3 ฝ่าย ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนจากอียู ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีกำหนดพบหารือกับยานนิส สตูร์นาราส รัฐมนตรีคลังของกรีซเกี่ยวกับความคืบหน้าของรัฐบาลเอเธนส์ในการแปรรูปรัฐ วิสาหกิจ การปฏิรูปภาษี การเพิ่มทุนของภาคธนาคาร และการลดจำนวนพนักงานของรัฐลงให้ได้ราว 150,000 คนภายในปี 2015 เพื่อลดค่าใช้จ่าย หลังจากที่เศรษฐกิจกรีซต้องประสบภาวะถดถอยเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
  3. “โอบามา” ลงนามคำสั่งตัดงบอัตโนมัติ $85,000 ล้าน หลังเจรจาคองเกรสล้มเหลว โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2556 12:10 น. ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แถลงข่าวเรื่องมาตรการตัดงบแบบเหมารวมอัตโนมัติ (sequestration) หลังสิ้นสุดการเจรจากับผู้นำคองเกรสที่ทำเนียบขาว วานนี้(1) รอยเตอร์ - ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐลงทั้งระบบ เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา(1) หลังการเจรจากับฝ่ายรีพับลิกันเพื่อบรรลุข้อตกลงหลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าว ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งการหั่นรายจ่ายแบบเหมารวมนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเติบโตของ เศรษฐกิจสหรัฐฯ และบั่นทอนความพร้อมของกองทัพ “การตัดงบประมาณอาจยังไม่มีผลกระทบต่อทุกฝ่ายในทันที แต่ความเดือดร้อนจะเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปครอบครัวชนชั้นกลางจะเริ่มสัมผัสได้ถึงความยาก ลำบาก” โอบามา ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว หลังเสร็จสิ้นการประชุมกับบรรดาผู้นำเดโมแครตและรีพับลิกันในสภาคองเกรส เมื่อคืนวานนี้(1) โอบามาลงนามประกาศใช้มาตรการตัดงบแบบเหมารวม หรือ “ซีเควสเตรชัน” (sequestration) ซึ่งจะมีผลให้หน่วยงานภาครัฐทั้งหมดถูกตัดงบรวมทั้งสิ้น 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่วันนี้(2) ไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม โดยครึ่งหนึ่งจะมาจากงบของกระทรวงกลาโหม ชัค เฮเกล ผู้นำเพนตากอนคนใหม่ กล่าวเตือนว่า การหั่นงบกองทัพครั้งนี้จะทำให้ภารกิจด้านการทหารทั้งหมดตกอยู่ในความเสี่ยง แม้คองเกรสและ โอบามา จะยังพอมีเวลาอีกหลายสัปดาห์ที่จะยับยั้งมาตรการซีเควสเตรชัน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาคองเกรสเมื่อปี 2011 เพื่อแก้ไขวิกฤตงบประมาณสหรัฐฯในช่วงนั้น ทว่าทั้ง 2 ฝ่ายก็ยังไม่มีท่าทีรอมชอมกันได้ พรรคเดโมแครตประเมินว่า การตัดงบประมาณทั้งระบบจะก่อปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการสัญจรทางอากาศ, กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยอาหารที่ช้าลง อันจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเนื้อสัตว์ในตลาด, การยกเลิกสัญญาระหว่างเอกชนกับภาครัฐ และความเสียหายต่อเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งฐานทัพต่างๆ หัวใจของวิกฤตงบประมาณครั้งนี้ก็คือความเห็นไม่ลงรอยระหว่างฝ่ายเดโม แครตกับรีพับลิกันเกี่ยวกับวิธีที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะ 16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีที่มาจากการทำสงครามต่อเนื่องหลายปีในอิรักและอัฟกานิสถาน รวมถึงเม็ดเงินที่รัฐบาลใช้อัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โอบามา ต้องการให้รัฐตัดงบประมาณบางส่วนควบคู่ไปกับการขึ้นภาษี ขณะที่รีพับลิกันก็ไม่ปรารถนาที่จะอ่อนข้อในเรื่องภาษีอีก หลังจากที่เคยยอมไปแล้วครั้งหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยง “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff) เมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ความโกรธเกรี้ยวจากสังคมน่าจะเป็นแรงกระตุ้นที่ดีที่สุดที่จะทำให้ รัฐบาลและคองเกรสยอมหันหน้าเข้าหากัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการตัดงบประมาณที่จะแผ่ซ่านไปทั่วทุกภาคส่วนภายใน อีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า การตัดงบอัตโนมัติ 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯอาจฟังดูไม่มากมายเมื่อเทียบกับงบรายจ่ายรวมของรัฐบาล สหรัฐฯที่สูงถึง 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี แต่เนื่องจากโครงการสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพต้องได้รับการปกป้องไว้ ทำให้ภาระส่วนใหญ่จะไปตกอยู่กับพนักงานรัฐมากกว่าประชาชนที่ได้รับการอุด หนุนโดยตรง รัฐบาลสหรัฐฯถือเป็นนายจ้างรายใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่พลเรือนในสังกัดราว 2.7 ล้านคน ซึ่งหากการตัดงบอัตโนมัติยังคงมีผลบังคับต่อไป พนักงานรัฐกว่า 800,000 คนอาจถูกลดวันทำงานและตัดเงินค่าจ้าง ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน หน่วยงานต่างๆเริ่มประกาศเตือนเรื่องการปลดพนักงานตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ที่ผ่านมา และแจ้งเตือนไปอย่างทั่วถึงเมื่อวานนี้(1) หลังเป็นที่แน่นอนแล้วว่า การเจรจาโค้งสุดท้ายระหว่าง โอบามา กับผู้นำคองเกรสล้มเหลวแน่ ผลสำรวจออนไลน์โดยรอยเตอร์/อิปซอส เมื่อวานนี้(1) พบว่า ชาวอเมริกันร้อยละ 28 โทษว่าเป็นความผิดของรีพับลิกันที่ทำให้การหลีกเลี่ยงมาตรการตัดงบรายจ่าย อัตโนมัติไม่เป็นผล, ร้อยละ 18 คิดว่าเป็นความผิดของ โอบามา, ร้อยละ 4 โทษฝ่ายเดโมแครต แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 37 คิดว่าผิดด้วยกันทุกฝ่าย
  4. ขอบคุณทุกท่าน ที่มีข้อมูลข่าวสารดีๆมาแบ่งปัน
  5. แบงก์ชาติหมีขาวกว้านซื้อทองคำมหาศาล 5.7 แสนกิโล ในยุค “ปูติน” ชี้ทองคำของรัสเซียหนักกว่า “เทพีเสรีภาพ” 3 เท่า โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กุมภาพันธ์ 2556 12:50 น. รัสเซียในยุคปูติน กลายเป็นประเทศผู้ซื้อทองคำรายใหญ่สุดของโลก เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยข้อมูลที่ระบุว่า ธนาคารกลางของรัสเซียได้กว้านซื้อทองคำจำนวนมหาศาลกว่า 570 เมตริกตัน หรือกว่า 570,000 กิโลกรัม ไปถือครองไว้ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้รัสเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กลายเป็นเจ้าของสถิติประเทศผู้กว้านซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดในโลกอีกตำแหน่ง ข้อมูลของไอเอ็มเอฟซึ่งถูกรวบรวมโดย “บลูมเบิร์ก” สื่อด้านการเงินและธุรกิจชื่อดังของสหรัฐฯ ระบุว่า ธนาคารกลางของรัสเซียทำการซื้อทองคำจำนวนกว่า 570,000 กิโลกรัมไปถือครองไว้ ตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้รัสเซียกลายเป็นผู้กว้านซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก ทิ้งห่างสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ตามมาในอันดับที่ 2 มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ปริมาณทองคำที่รัสเซียกว้านซื้อยังมีน้ำหนักรวมคิดเป็นเกือบ 3 เท่าตัวของ อนุสาวรีย์ “เทพีเสรีภาพ” อันโด่งดังของสหรัฐฯ อีกด้วย เยฟเกนี เฟโดรอฟ สมาชิกรัฐสภารัสเซีย สังกัดพรรค “ยูไนเต็ด รัสเซีย” ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเผยที่กรุงมอสโก โดยระบุ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีปริมาณทองคำในความครอบครองมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลให้ประเทศนั้นมีความมั่นคงทางอธิปไตยมากขึ้นเท่านั้น หากเกิด “หายนะ” ใดๆขึ้นกับเงินสกุลดอลลาร์ของสหรัฐฯ เงินยูโรของยุโรป เงินปอนด์ของอังกฤษ หรือเงินสกุลอื่นๆ ในอนาคต ข้อมูลของไอเอ็มเอฟระบุปริมาณการกว้านซื้อทองคำของรัฐบาลมอสโกเพิ่มสูงขึ้น เกือบ “400 เปอร์เซ็นต์” ในยุคที่วลาดิมีร์ ปูตินครองอำนาจ ทั้งในช่วง 2 สมัยแรกของปูตินระหว่างปี ค.ศ. 2000 – 2008 รวมถึงการกลับมาครองตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 3 นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน มีข้อมูลว่า ทองคำในความครอบครองของรัสเซียราว 2 ใน 3 ถูกเก็บไว้ภายในกรุงมอสโก อย่างไรก็ดี แม้รัสเซียในยุคของปูตินจะมีการกว้านซื้อทองคำจำนวนมหาศาลมาถือครอง แต่ปริมาณทองคำล่าสุดที่อยู่ในความครอบครองของรัฐบาลมอสโก ตามของข้อมูลของสภาทองคำโลก (WGC) ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาระบุว่า มีทั้งสิ้น 958 ตัน ทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีทองคำในครอบครองสูงเป็นลำดับที่ 8 ของโลก ขณะที่สหรัฐฯและเยอรมนียังคงครองตำแหน่งดินแดนที่มีทองคำในครอบครองสูงที่ สุดของโลกที่ 8,134 ตันและ3,391 ตันตามลำดับ ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นผู้ถือครองทองคำอันดับ 3 ของโลกด้วยปริมาณ 2,814 ตัน ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลของไอเอ็มเอฟระบุว่า สวิตเซอร์แลนด์ กลายเป็นประเทศที่ต้องนำทองคำสำรองของตนออกขายมากที่สุดในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณกว่า 877 ตัน (คิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)รองลงมาคือ ฝรั่งเศส ที่ต้องขายทองคำของตนออกไปกว่า 589 ตันตามมาด้วยสเปน เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส ที่ต่างต้องนำทองคำในความครอบครองของตนออกมาขาย คิดเป็นปริมาณชาติละมากกว่า 200 ตัน ทองคำในความครอบครองของรัสเซีย มีน้ำหนักมากกว่าเทพีเสรีภาพของสหรัฐฯเกือบ 3 เท่าตัว
  6. ขอบคุณครับ คุณส้มโอมือ เห็นด้วยกับบทความครับ แต่มีปัญหาเรื่องที่เก็บนี่แหละครับ เคยมีสมาชิกตั้งกระทู้เรื่องที่เก็บแล้ว หลายท่านมีวิธี โน่น นี่ นั่น โดยเฉพาะวิธีของคุณหมอเล็ก เห็นแล้วหนาวครับ! แต่ละวิธียากจริงๆ ปีใหม่แล้ว ขอให้ทุกท่้านมีความสุข ร่ำรวยเงินทอง(จริงๆ(Physical)) เฮงๆ ตลอดปีครับ!
  7. ขอบคุณครับ คุณwcg ซาเวซ.....นายแน่มาก!
  8. อ่านแล้ววางไม่ลง ตาสว่างขึ้้นเยอะ! ขอบคุณครับ! คุณส้มโอมือ
  9. ถึงบางอ้อเลย! (หลงอยู่บางพลัดตั้งนาน) วิธีการเดียวกันกับปล้นน้ำมันอิรัก เป๊ะ!เลย ขอบคุณ คุณcwg
  10. ขอบคุณ คุณเน็กซ์ สวัสดีปีใหม่ 2556 ทุกๆท่านครับ
  11. ด้วยความยินดีครับ รออยู่ครับ
  12. คิดถึงคุณเน็กซ์เช่นกันครับ
  13. อัตราว่างงานสเปนไตรมาสสองพุ่ง 24.63 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดในหมู่ชาติอุตสาหกรรม โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กรกฎาคม 2555 17:17 น. เอเอฟพี/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-อัตราการว่างงานของแดนกระทิงดุ สเปน พุ่งสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมาแตะระดับร้อยละ 24.63 ขณะที่ยอดแรงงานวัยหนุ่มสาวของสเปนที่ว่างงานมีถึงร้อยละ 53 แม้ในขณะนี้จะเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่สเปนเคยทำเงินเข้าประเทศได้ปีละ เป็นกอบเป็นกำก็ตาม ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุดของรัฐบาลสเปนในวันนี้ (27) ข้อมูลของทางการสเปนระบุว่า จำนวนผู้ไม่มีงานทำในสเปนล่าสุดมีเกือบ 5.7 ล้านคนแล้ว และในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมายังมีคนตกงานอีกราว 53,500 คน ส่งผลให้อัตราการว่างงานของสเปนในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เพิ่มร้อยละ 24.63 สูงขึ้นจากช่วงไตรมาสแรกซึ่งตัวเลขการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 24.4 ทำให้สเปนกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับบรรดาประเทศอุตสาหกรรมด้วยกัน แต่ที่เลวร้ายยิ่งกว่า คือ อัตราการว่างงานในหมู่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในแดนกระทิงดุ หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปี ซึ่งล่าสุดมีถึงร้อยละ 53.27 ในไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 52.01 นอกจากนั้น จำนวนครัวเรือนของสเปนที่สมาชิกทุกคนในบ้านเป็นผู้ว่างงาน ล่าสุดมีมากกว่า 1.73 ล้านครอบครัวแล้ว หลังจากสเปนต้องเผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นครั้งที่ 2 ภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี รวมถึงภาวะ “ฟองสบู่แตก”ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งช่วยซ้ำเติมตัวเลขด้านแรงงานให้เลวร้ายยิ่งขึ้น การประกาศตัวเลขด้านแรงงานล่าสุดของสเปน มีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราฮอย ประกาศจะตัดลดการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อประหยัดงบประมาณให้ได้ราว 65,000 ล้านยูโร (ราว 2.5 ล้านล้านบาท) ภายใน 3 ปี รวมถึงเตรียมพิจารณาขึ้นภาษี ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาตรการดังกล่าวจะยิ่งซ้ำเติมชาวสเปนให้ต้อง มีชีวิตอย่างยากลำบากยิ่งกว่าเดิม
×
×
  • สร้างใหม่...