ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

หมีน้ำ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    262
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย หมีน้ำ

  1. ลงเมื่อวานก็ ตัวเลขศก.สหรัฐดี ดอลลาร์แข็ง ทองหลุดแนวรับ .... เหตุผลมักจะมาหลังราคาวิ่งเสมอ
  2. ECB & QE ข่าวที่ดูจะเป็นประเด็นมากระดับนึงในตลาดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ ECB กับการทำ QE หลังทั่นประธานดรากิส่งสัญญาณในการประชุมที่ Jackson Hole ว่า ECB อาจมีการออกมาตรการกระตุ้นศก.เพิ่มเติม เนื่องจากศก.ยุโรป(ที่บอกว่าผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และเริ่มฟื้นตัวแล้ว) ยังไม่ฟื้นตัวตามที่ต้องการหรือเท่าที่คาดการณ์ (growth น้อย , อัตรเงินเฟ้อต่ำ , การว่างงานยังสูง) ซึ่งด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำติดดินอยู่แล้ว ตัวเลือกก็คงจำกัดจำเกี่ย นโยบายที่เหลืออยู่คงไม่พ้นการอัดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นศก.โดยตรง ก็ทำให้ตลาดคาดว่า ECB น่าจะมีการประกาศทำ QE ในเร็วๆนี้ (จริงๆ ECB ก็ทำ QE แบบเล่นแร่แปรธาตุผ่านพวกกองทุน LTRO EFSF อะไรเถือกๆนี้มาหลายรอบแล้ว) ส่งผลให้ช่วงนี้ค่าเงินยูโรอ่อนด๊อกแด่ก ประกอบกับตัวเลขศก.สหรัฐออกมาดี(มั่งไม่ดีมั่ง) เลยทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนยวบไปกันใหญ่ รายละเอียดยิบย่อยคงไม่พูดถึง มาดูผลกระทบที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นกันดีกว่าถ้า ECB ออก QE จริง ปล.1 บางแห่งวิเคราะห์ว่า ECB จะยังไม่ทำ QE เท่ากับว่า ECB QE อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ปล.2 ทั้งหมดด้านล่างคือความเห็นส่วนตัว อาจมีความผิดพลาดโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ปล.3 เน้นตัวเขียวเพราะหวังว่าบางอย่างมันจะเขียวตาม (ฮา) 1. นี่เป็นครั้งแรกที่ ECB จะทำ QE แบบตรงๆโต้งๆ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ต่อตลาดมากๆ แต่เอาจริงๆมันก็คือเหล้าเก่าในขวดใหม่ นั่นล่ะครับ 2. ค่าเงินยูโร น่าจะปรับตัวลง ตามความสัมพันธ์ของนโยบายการเงินลักษณะดังกล่าว ค่าเงินดอลลาร์น่าจะแข็งขึ้นสวนทางกัน 3. ตลาดหุ้นน่าจะฮาเฮและมี upside เพิ่มขึ้นอีกขึ้นอยู่กับปริมาณเงินที่จะเข้ามาในระบบ โดยเฉพาะ emerging market อาทิ ไทยแลนด์ อินเดีย ฯลฯ รวมทั้งตลาดสหรัฐ ส่วนยุโรปลุ้นๆแต่ก็น่าจะขึ้นเช่นกัน 4. ทองคำ สินทรัพย์วัดดวง มีโอกาสทั้งขึ้นทั้งลงและหาเหตุผลตามมาที่หลัง ถ้าขึ้นน่าจะเพราะการทำ QE ทำให้เกิดความกังวลต่อเงินเฟ้อทองคำเลยปรับขึ้นตาม เพื่อป้องกันทั้งเงินเฟ้อและกระจายความเสี่ยงจากหุ้น , ถ้าลงก็คงเพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นกดดันราคาทอง รวมถึงเงินเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงเช่นหุ้น 5. Yields พันธบัตรรัฐหลายแห่งในยุโรปน่าจะปรับตัวลง ในกรณีที่ ECB เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยตรง 6. ประเทศเล็กหรือประเทศที่มีปัญหาการเงินของยุโรปอยู่แล้ว เตรียมโดนยาแรง และรอลุ้นว่าจะแพ้ยาตายรึเปล่าในอนาคต ส่วนประเทศศก.โคตรดีอย่างเยอรมันน่าจะสบายตัว จบ ดื้่อๆ ฮา
  3. เท่าที่ทราบเมืองไทยยังไม่มีเจ้าไหนนำเข้ามาขายครับ ต้องซื้อตรงจาก valcambi เลย
  4. เพิ่มนี่ส่วนมากจะทำให้รูด แต่ลดนี่ส่งผลได้สองทางครับขึ้นอยู่กับว่ารายใหญ่หรือเจ้าจะพาไปทางไหน ยกตัวอย่าง แต่เดิมมีฝั่งตั้งซื้ออยู่ 2 สัญญา ถ้า margin เดิมรายใหญ่หรือเจ้าอาจซื้อได้ 1 สัญญา พอลด margin เค้าอาจซื้อได้ทั้ง 2 สัญญาเลย หรือเรียกว่าการลด margin ทำให้คนที่เงินจำนวนมากสามารถกำหนดทิศทางของราคาได้มากขึ้นครับเพราะเงินเท่าเดิมซื้อได้เยอะขึ้่น สวนทางกับเวลาขึ้น margin เพราะถ้าขึ้น margin นอกจากเงินเท่าเดิมซื้อได้น้อยลงแถมบางทีสถานะเดิมที่มีอยู่อาจโดน call หรือ เรียกหลักประกันเพิ่มด้วย ทำให้บางทีคนมีสถานะก็ขายหรือซืื้อคืนเพื่อ settle สัญญาออกมาก่อน
  5. สวัสดีครับคุณ Milo ผมก็วนๆเวียนๆอยุ่แถวนี้่ล่ะครับ คือเมื่อวาน cme ประกาศลด margin ในการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสินค้ากลุ่มโลหะมีค่าลงน่ะครับ คือ เงินจำนวนเท่าเดิมสามารถซื้อหรือขายสัญญาล่วงหน้าได้มากขึ้นครับ อย่างของเมืองไทยช่วงนึง margin ขึ้นไปตัวละเกือบแสน ตอนนี้ลดลงมาเหลือ 4 หมื่นกว่าๆ สำหรับคนอยากรับส่งมอบ+เงินเยอะจะได้เปรียบครับ
  6. แก้เกมใหม่ครับ ลด margin ตลาดโลหะ CME ทั้งตลาดเมื่อวานนี้
  7. สวัสดีครับทุกท่าน (^ ^) สบายดีกันมั้ย
  8. ช่วงหน้า 1260 ++ ก็มีพุดกันบ้างแล้ว ส่วนคลิปนี้ผมดูแล้วครับ (^ ^) แต่...
  9. จริงๆยินดีมากๆครับ แต่ก็เกรงว่าความเห็นส่วนใหญ่จะไม่ตรงกันน่ะซิครับ ><"
  10. ไทยสกัดทองได้ 143 ตันนี่น่าจะไม่ใช่แล้วรึเปล่าครับ (- -*) 143 ตันนี่มากพอๆกับแอฟริกาใต้ แคนนาดา เลยนะครับ ส่วนเรื่องพลังงานผมพอจะมีความรู้ในระดับนึง แต่ก็นะ.... (^ ^)
  11. ข่าวเดียวกันเนื้อหาคล้ายกัน แต่พาดหัวคนละอย่าง - -* ตลกดีแท้
  12. BOFA : Sell gold 1337 , risking 1346 , target 1270 , potentially 1185 BOFA : into 1351/1368 is top and sell zone with downside and bearish
  13. รายงานการประชุม FOMC เดือนล่าสุด FED ระบุว่า ตัวเลขศก.ปัจจุบัน(จนถึงการประชุมเดือนมกราคม) ยังดีอยู่ และยังคงมีโอกาสที่จะลด QE ลง 10 Billion ลงทุกเดือนที่มีการประชุมหากไม่มีอะไรผิดพลาด , จบข่าว FOMC ต่อไปขอสาระแนพูดถึงประเด็นที่กำลังเป็นข่าวและกระแสในช่วงนี้ นั่นคือ..การถอนเงินจากธนาคารสีชมพู อันนี้ไม่ขอพูดถึงการถอนการฝากนะครับ ใครใคร่ถอนถอนใครใคร่ฝากฝาก แล้วแต่บุคคลเลย ขอพูดถึงกรณีสภาพคล่องธนาคารอย่างเดียว เหมือนเดิมครับผิดตรงไหนแก้ไข เสนอแนะ แนะนำได้เลย Q : เอาแบบรวมรัดเลย ถ้าคนถอนเงินกันเยอะๆธนาคารชมพูมีโอกาสจะล้มหรือเจ๊งเลยมั้ย A : มีครับ ไม่ต้องสีชมพูก็ได้ครับ จริงๆทุกธนาคารล่ะครับ ถ้ามีคนแห่มาถอนเงินกันเยอะมีโอกาสล้มหรือเจ๊งทั้งหมด เพียงแต่ก่อนจะล้มจะเจ๊งมันก็มีขั้นตอน(หนีตาย)ก่อน ในสถานะการณ์ปกติโอกาสเกิดขึ้นไม่เยอะมากเท่าไหร่ครับ Q : อ้าว งั้นแบบนี้เงินฝาก สลาก พันธบัตร ของออมสินที่ผมมีจะเป็นไงล่ะครับ A : เนื่องจากธนาคารชมพู เป็นธนาคารรัฐ เพราะฉะนั้นรัฐจะรับประกันเงินฝากให้ 100% ต่อให้เปลี่ยนรัฐบาลหรือใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็เป็นหน้าที่/ภาระ ผูกผันที่ต้องคืนเงินทั้งหมดครับ ส่วนดอกเบี้ยจะได้รึเปล่าก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการเงินของธนาคารชมพูครับ บางทีอาจไม่ได้ดอกเลยก็ได้ Q : เอ.. แต่รัฐบาลยังค้างเงินชาวนาอยู่เลยนะ แถมช่วงนี้คนไปถอนก็ไม่ได้เงินสดด้วย ถ้าธนาคารชมพูของรัฐล้มผมจะเชื่อได้ไงว่าจะได้เงิน แล้วถ้าได้เนี่ยจะได้เมื่อไหร่ A : อันนี้แยกเป็นประเด็นเลยนะครัช 1. ค้างเงินชาวอันนี้เพราะรัฐบาลไม่มีเงินอย่า่งแท้จริงครับ ตอนนี้เป็นรัฐบาลรักษาการเลยทำอะไรบางอย่างหรือเล่นแร่แปรธาตุหาเงินเพิ่มเติมไม่ได้ จริงๆถึงจะเป็นรัฐบาลเต็มตัวแต่เงินมันหมดยังไงก็หมดไม่ต่างกัน ต้องใช้วิชาแล่นแร่แปรธาตุหรือหาเงินด้วยวิธีอื่นเพิ่มมาอยู่ดี 2. คนไปถอนเงินธนาคารชมพูแล้วไม่ได้เงิน เอาจริงๆ อันนี้ก็ถือไม่แปลกนะครับ ปกติธนาคารสาขาจะไม่ได้สำรองเงินสดไว้เยอะๆครับ ถ้าถอนกันปริมาณมากๆยังไงยังไงก็ไม่พอถ้าธนาคารไม่ได้สำรองเผื่อไว้ก่อน ธนาคารสาขาบางแห่งถ้าไม่ใช่สำนักงานใหญ่ถอนเกินล้านบางที่ก็ไม่มีให้นะครับ บางสาขาฝากเข้าต่างสาขาเกินล้านก็ไม่รับฝากด้วย จะถอนเงินสดหลักล้านหรือมากกว่าล้านต้องแจ้งล่วงหน้า เพราะฉะนั้นถ้าได้ยินข่าวว่าคนถอนเงินเยอะแล้วไม่มีเงินสดให้นี่ก็ถือว่าไม่ได้แปลกเกินคาดการณ์เท่าไหร่ 3. ตามหลักการ คือ ถ้าธนาคารชมพูจะล้มหรือเจ๊งจริงโดยการไล่ถอนเงินเนี่ย มันไม่ได้อยู่จะล้มในวันสองวันสามวันมันต้องมีความต่อเนื่องระยะนึง ระหว่างทางมันก็แล้วก็ขึ้นอยู่กับวิธีการรับมือของผู้บริหารครับ เช่น กู้ Interbank , ขายสินทรัพย์สภาพคล่องสูง , ขายสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ถ้าสุดท้ายมันไม่รอดจริงๆ ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็น การระดมทุน , การให้รัฐอุ้ม , การแปรรูป , การควบรวมกิจการ ฯลฯ ผู้ฝากก็จะได้รับเงินจากขั้นตอนข้างต้นล่ะครับ Q : สรุปคือรัฐบาลรับประกันเงินฝาก ยังไงผมก็จะได้คืน งั้นผมก็ไม่มีความจำเป็นต้องถอนใช่มั้ยครับ A : ไม่ใช่แบบนั้น 100% ครับ คือ รัฐบาลรับประกันเงินฝากและขั้นตอนตามหลักธนาคาร เงินมันก็ควรจะกลับมาหมดตามแนวข้อ 3 ด้านบน ใช่มั้ยครับ แต่ถ้าธนาคารชมพูหาเงินได้ช้า เรื่องระยะเวลามันจะกำหนดคืนตายตัวลำบาก แต่คงไม่เกินเดือน ใครไม่แน่ใจหรือไม่มั่นคงก็ถอนออกได้ครับ ใครใคร่ถอนถอนใครใคร่ฝากฝาก พิจารณากันเองครับ Q : ธนาคารชมพูเจ๊งไปจะส่งผลต่อธนาคารอื่นมั้ยครับ ถ้าผมถอนจากธนาคารชมพูไปฝากธนาคารอื่นจะปลอดภัยมั้ย A : มีแน่นอนครับ ส่วนจะมากหรือน้อยนั้นแล้วแต่กรณี ขึ้นอยู่กับแนวทางการแก้ไขของธนาคารชมพู แบบกระทบเยอะๆอันนี้น่าจะซับซ้อนและเกิดขึ้นได้หลายแบบขอละไว้ก่อน แต่แบบน้อยสุดคือเหมือนโยกเงินฝากธนาคารเท่านั้นครับ ไม่กระทบอะไรเท่าไหร่ จบดื้อๆแบบนี้ล่ะครับ
  14. ไม่ถึงกับโล่งซะทีเดียวครับ ต้องรอดูขั้นต่อไปครับว่า สว. จะให้ผ่านรึเปล่า เพียงแต่ที่เค้าคาดกันคือน่าจะผ่านไปได้
  15. ไม่น่าจะใช่การยึดครับ เหมือนเปลี่ยนนโยบายการลงทุนไปลงทุนพันธบัตรสหรัฐโดยตรงมากกว่า ส่วน myRa เหมือนกองทุนเกษียณอายุอีกกองที่มีเข้ามาเพิ่มในตลาดครับ
  16. เหมือนล่าสุด จีนเตรียมยุทธศาสตร์ใหม่ ด้วยการเน้นเพิ่มรายได้เฉลี่ยของคนในประเทศแล้วด้วยครับ จะเอา GDP รวมให้แค่ประมาณ 7% ต่อปีเท่านั้นพอ
  17. ** สุดท้ายและน่าจะจบในโพสนี้แล้วครับเรื่องอาร์เจนติน่าจัง เช่นเดิมครับ ถ้าผมผิดตรงไหนท้วงติง แก้ไข เสนอแนะ ได้เลยครับ - การแก้ปัญหาของประเทศไทยหลังเจอวิกฤติด้านการเงิน(แบบไม่คร่าวๆ)ครับ ยกสูตร GDP มาอีกรอบ GDP = รายจ่ายเพื่อการบริโภค+รายจ่ายเพื่อการลงทุน+รายจ่ายของรัฐบาล+(ส่งออก-นำเข้า) ประเทศไทยตอนนั้น(รัฐบาล+ธนาคารแห่งประเทศไทย) ก็ต้องหามาตรการทั้งนโยบายรัฐ นโยบายภาคการเงินคลัง นโยบายภาคการเงินเข้ามาร่วมกัน ให้ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น ในกรณีประเทศไทยก็มีมาตรการและนโยบายหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น การออกกฎหมายใหม่ๆ+การผ่อนปรนด้านภาษีสำหรับต่างชาติ เพื่อจูงใจให้เข้ามาลงทุน การลงทุนของรัฐบาลในด้านสาธารณูปโภค เร่งอุปทานด้านการผลิตเพื่อการส่งออก เพิ่มงบประมาณขาดดุล เพิ่มปริมาณสินเชื่อ ฯลฯ จะเห็นว่านโยบายทั้งหมดด้านหน้าเนี่ยมันส่งผลโดยตรงกับ GDP และบางมาตรการบางนโยบาย(ส่วนใหญ่)ส่งผลต่อสิ่งที่เรียกว่า "Money Supply" หรือปริมาณเงินในระบบ ที่จะส่งผลต่อสิ่งที่เรียกว่า "เงินเฟ้อ" ต่ออีกที - ในกรณีของประเทศไทยรวมทั้งประเทศในโซนเอเชียที่เจอปัญหาวิกฤติการเงินทั้งหมดก็มีแนวทางในการแก้ปัญหาคล้ายๆกัน ช่วงแรกๆหลังเจอปัญหาค่าเงินก็เปิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นก่อนจะ่ค่อยๆปรับลดลงในปีถัดๆไป จริงๆแล้ว IMF ค่อนข้างกังวลกับเงินเฟ้อจากกรณีข้างต้นมากๆๆๆ เพราะหากเงินเฟ้อคุมไม่อยู่ สินค้ามันจะปรับตัวขึ้นเรื่อยๆจนควบคุมไม่ได้ ประเทศที่กู้ยืนเงินเลยมักจะถูกข้อจำกัดเรื่องการใช้จ่ายในภาคส่วนต่างๆตามแผนงานของ IMF และอาจค่อยๆผ่อนคลายลงหากเงินเฟ้อลดลง ประเทศไทยตอนนั้นก็สามารถคุมเงินในระบบรวมทั้งเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ไม่มากเกินไป ส่วนนึงเป็นเพราะตัวนโยบายที่ออกมาไม่ได้สุดโต่งจนเกินไป จึงควบคุมดูแลทั้งสองอย่างและกลับมาเป็นระดับปกติได้ - จบเรื่องเมืองไทยแบบสั้นๆ แล้วกรณี อาร์เจนติน่าจังล่ะ มันเกิดอะไรขึ้นทำไมถึงต้องย้อนความซะเยอะแยะ - คำตอบคือย้อนเพราะผมอยากใส่น้ำให้มันเยอะๆ (ฮา) ไม่ใช่ครับจริงๆย้อนเพราะอยากให้นึกภาพตามกันได้พอครบจบแล้วมีสรุปสั้นมากให้เลย - เข้าเรื่อง+คำตอบของคำถามหลักล่ะครับ หลังช่วงปี 1998-2002 อาร์เจนติน่าก็ทำแบบประเทศไทยนั่นล่ะครับ คือ ออกมาตรการ+นโยบายต่างๆ เพื่อช่วยศก.ของประเทศ IMF ที่มีประสบการณ์จากวิกฤติการเงินในเอเชียมารอบนึแล้ว ครั้งนี้เริ่มต้นคล้ายๆกันการแก้ปัญหาก็ไม่น่าต่างกันมากจริงมั้ยครับ ในการแก้ปัญหายกแรกเหมือนกับว่าอาร์เจนจะชนะเพราะปีแรกหลังเกิดปัญหาตัวเลข GDP GNP เพิ่มขึ้นอย่างมาก มีพระเอกตัวจริงคือภาคการส่งออกที่ช่วยให้ประเทศได้กำไรจากการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงการรัฐสามารถเก็บภาษีได้ แต่สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร เพราะเรื่องของอาร์เจนติน่าจังมันไม่ง่ายขนาดจะจบง่ายๆขนาดนั้น - แต่ต่างกรรมก็ต่างวาระ เพราะรัฐบาลอาร์เจนติน่าก็ต้องช่วยเหลือและเอาใจประชาชนจากวิกฤติการเงินของประเทศด้วย เนื่องจากประเทศเคยมีปัญหาด้านการคอรัปชั่นโดยเฉพาะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้ค่าใช้จ่ายบางส่วนค่อนข้างสูง รัฐบาลเลยทำการเข้าแทรกแซงด้วยการให้เงินสนับสนุนบริการบางอย่างเพื่อให้มีราคาถูกกว่าราคาจริง ช่วยเหลือสมาคม/สหภาำพแรงงานให้แข็งแกร่ง เพื่อช่วยการสร้างงาน ฯลฯ ทั้งหมดล้วนเป็นรายจ่ายของรัฐทั้งสิ้น แต่ IMF ก็ไม่ได้เข้าควบคุมโดยตรง เพราะคาดว่าเงินเฟ้อจะคุมได้คล้ายในเอเชียและอาร์เจนตินาเองก็สามารถใช้หนี้ IMF ได้ในเวลาไม่นานหลังจากนั้น GDP ก็โตโดยมีการส่งออก+การใช้จ่ายของรัฐเป็นตัวนำ เรื่องมันก็น่าจะจบคล้ายประเทศในเอเ้ชีย แต่ที่ไหนได้มันไม่เหมือนกัน เพราะจากนโยบายบางส่วนทำให้เงินเฟ้อของอาร์เจนตินาไม่ลดลงตามคาดการณ์ "กีร์ชเน" ที่เป็นปธน. ณ ตอนนั้น เลยแก้ปัญหาด้วยการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปใน ธนาคารกลางและออกรายงานตัวเลขเงินเฟ้อแบบหลอกๆให้ต่ำกว่าความจริงมันซะเลย **** ยังไม่จบอีกนิดเดียว เด๋ยวมา edit ต่อพรุ่งนี้ครับ - การแก้(โกง)ตัวเลขเงินเฟ้อนี่ล่ะครับที่ส่งผลให้เกิดปัญหาใหญ่ต่ออาร์เจนตอนนี้ ช่วงแรกๆมันอาจจะยังไม่เห็นผลมากนัก แต่พอนานเข้ามันก็ส่งผลกระทบหลายต่อหลายชิ่ง เพราะมันทำให้การประเมินการเติบโตของศก.ที่แท้จริงและการวางแผนด้านต่างๆผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ตามหลักของนโยบายการเงินทั่วไปหากเกิดเงินเฟ้อและเงินในระบบมากเกินไปธนาคารกลางจะทำขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมระดับเงินเฟ้อไม่ให้พุ่งมากเกินไป โดยเฉพาะประเทศที่ลอยตัวค่าเงินใหม่ๆ จำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญของเงินเฟ้ออย่างมาก เพราะการลอยตัวค่าเงิน(ใหม่)ส่วนมากการใช้จ่ายจะยังเท่าเดิม ขณะที่การนำเข้าจะแพงขึ้น มีการกักตุนสินค้าของผู้ผลิิตและผู้บริโภค ผลที่เกิดต่อราคาสินค้าในตลาดคือปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การแก้ตัวเลขเงินเฟ้อยังทำให้คาดการณ์ดัชนีตัวอื่นๆผิดเพี้ยนไปจากความจริงหมด ตลกร้ายกว่านั้นรัฐบาลอาร์เจนนอกจากเข้าไปยุ่ง(โกง)ตัวเลขเงินเฟ้อและยังเล่นแร่แปลธาตุเข้ากู้เงินผ่านธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์เพื่อเอาเงินมาอุดหนุนนโยบายภาครัฐหลายนโยบายอีก - กลับมาดูที่ตัวเลข GDP อีกรอบ พอลอยตัวค่าเงิน+นโยบายการเงินการคลังของรัฐบาลอาร์เจน ตัวเลข GDP อาร์เจนมันเลยสวยหรูตั้งแต่ปีแรกหลังลอยตัวค่าเงินเพราะมันเพิ่มเกือบทั้งหมด ช่วงแรกๆตัวเลขเงินเฟ้ออาจนำ GDP และยังไม่มีท่าทีจะลดลง แต่จากการเข้าไปแทรกแซงธนาคารกลางในปี 2007 ตัวเลขเงินเฟ้อก็กลับลงมาใกล้เคียง GDP ซึ่งแปลว่า ศก.โตแบบมีเสถียรภาพในระดับนึง นักลงทุนก็กลับมาลงทุนในอาร์เจนอีก GDP มันก็เลยไล่เพิ่มมาทุกปี รัฐก็ดำเนินนโยบายขาดดุล ธนาคารกลางก็ยังออกตัวเงินเฟ้อหลอกๆต่อไป ซึ่งช่วงนั้นคาดว่าจริงๆแล้วเงินเฟ้ออาร์เจนติน่าพุ่งขึ้นอยู่ที่ระดับ 25-30% เลยทีเดียว - โชคดี(ชั่วคราว)ของอาร์เจนติน่าที่ช่วงปี 2007 เกิดวิกฤติ Sub prime ขึ้นเงินเฟ้อของอาร์เจนก็เลยลดลง(ชั่วคราว) แต่ความซวยยังไม่จบเท่านั้น เพราะอาร์เจนติน่าเป็นประเทศส่งออก พอศก.ชะลอตัวภาคการส่งออกก็ชะลอตัว แต่การใช้จ่ายของรัฐยังไ่ม่ลดลง GDP เลยไม่ปรับลดลงมากเท่าไหร่ เงินเฟ้อก็ยังทำหลอกออกมาอยู่ พอสหรัฐทำ QE เงินทุนก็หาลงที่ลง หวยก็มาออกที่อาร์เจนอีกเพราะตัวเลขศก.ยังมีความเป็นไปได้ว่าจะเติบโตได้ เงินในระบบเลยเพิ่มเข้ามายกใหญ่ พอเกิดปัญหาของแพงจากเงินเฟ้อช่วงปลายปี 2008 รัฐบาลอาร์เจนเลยแก้ปัญหาด้วยการขึ้นเงินเดือนและเพิ่ม Money Supply ในระบบมันซะเลย เท่านั้นล่ะครับ เงินที่มันเฟ้ออยู่แล้วมันเลยเฟ้อกันใหญ่ รัฐบาลก็ยังแก้ปัญหาด้วยการขึ้นเงินเดือนต่ออีก นอกจากนี้ยังเข้าแทรกแซงราคาสินค้าในตลาดด้วยการเข้าไปตรึงราคาสินค้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระของประชาชน เงินทุนสำรองของรัฐเลยลดลงทุกปีทั้งจากการแทรกแซงราคาสินค้าในตลาดและแทรกแซงค่าเงินเปโซ พอสหรัฐจะเริ่มลด QE เงินทุนก็ไหลออกอีกเงินทุนสำรองยิ่งลดลงไปกันใหญ่ สุดท้ายรัฐบาลอั้นไม่ไหว จึงต้องประกาศลดค่าเงินเปโซช่วงปลายสัปดาห์ก่อนนั่นล่ะ............. - จบล่ะครับสรุปในประโยค(ยาว)ประโยคเดียวคือ อาร์เจนติน่ามีปัญหาเงินเฟ้อ จากนโยบายศก.แบบขยายตัวของรัฐ รวมถึงการแทรกแซงการทำงานของธนาคารกลางและออกตัวเลขศก.โดยเฉพาะเงินเฟ้อต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ตลาดคาดการณ์และวิเคราะห์การขยายตัวของศก.ในประเทศผิด นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาการเงินด้วยการเพิ่มเงินในระบบเข้ามาเพิ่ม สุดท้ายก็ใช้เงินทุนสำรองแทรกแซงราคาสินค้าในตลาดที่ปรับขึ้นจากเงินเฟ้อที่มีทั้งก่อขึ้นเองและจากภายนอก พอไม่ไหวก็เลยต้องประกาศลดค่าเงินลงนั่นเอง
  18. ต่างกันในแง่ของวิธีการครับ คำตอบมีด้านล่างนี้ล่ะครับ ่ ใช่ครับเพราะเมคตัวเลขเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญด้วยครับ ** ต่อครับต่อ เหมือนเดิมครับ ถ้าผมผิดตรงไหนท้วงติง แก้ไข เสนอแนะ ได้เลยครับ - อย่างที่ว่าไว้ครับ คือ อาร์เจนติน่าจัง ตอนปี 2002 เจอวิกฤติด้านการเงิน ศก.ก็เลยชะลอตัวและมีปัญหา สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคงไม่พ้นการฟื้นฟูศก. สร้างความน่าเชื่อถือให้นานาชาติ เรียกเงินทุนที่ไหนออกกลับมา (นี่ล่ะครับเป็นข้อเสียเปรียบของประเทศกำลังพัฒนาและอยากรีบพัฒนา ชิส์) แถมยังต้องใช้เงินกู้ IMF อีก เรื่องมันก็เลยได้ง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปากซะเท่าไหร่ - แล้วไอ่การที่ ศก.ของประเทศประเทศนึงมันจะดีขึ้นเนี่ย มันจะดูกันที่อะไร .......... ไม่น่าจะยากใช่มั้ยครับ ............. แต่น แตน แต๊น ............. คำตอบคือ "ตัวเลขเศรษฐกิจ" ครับพ้ม ซึ่งตัวเลขที่ดูง่ายสุดและนิยมใช้ก่อนเพื่อนคือตัวเลข GNP GDP ตำราส่วนใหญ่ก็ให้ดูเป็นหลักว่า ศก.จะขยายตัวหรือหดตัวเนี่ยให้ดูตัวเลข GDP เป็นหลักก่อนแล้วค่อนไปไล่ดูไส้ในหรือตัวเลขส่วนอื่นๆตามมา - ทีนี้มาดูสูตรของ GDP ว่ามันมีที่ไปที่มาอย่างไร สูตร GDP คือ GDP = รายจ่ายเพื่อการบริโภค+รายจ่ายเพื่อการลงทุน+รายจ่ายของรัฐบาล+(ส่งออก-นำเข้า) จากสูตรข้างบนนี้ ประเทศที่มีปัญหาด้านการเงินใหม่ๆ ค่าเงินมักจะอ่อนก่อนเลย และมันมักเป็นผลบวกต่อตัวหลังสุดคือช่วยเรื่องการส่งออกจากค่าเงินที่อ่อนค่า (แต่ต้องเป็นประเทศที่ส่งออกและสามารถผลิตสินค้าโดยไม่ต้องนำเข้ามากนะครับ เพราะเงินอ่อนเวลานำเข้าเราก็จะแพง) แต่พอเจอวิกฤติมาส่วนมากมันจะส่งผลลบต่อตัวเลขสามตัวหน้าครับคือ รายจ่ายเพื่อการบริโภคจะลดน้อยลงเนื่องจากศก.ชะลอตัวและมีปัญหาประชาชนก็จะไม่ค่อยใช้จ่ายหรืออาจไม่มีรายได้มาใช้จ่าย รายจ่ายเพื่อการลงทุนก็เช่นเดียวกันทั้งในและนอกประเทศอาจยังไ่ม่กล้ารีบลงทุน ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลไม่ต้องพูดถึงเลยครับ ประเทศเพิ่งเป็นหนี้รัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่าย - พักเรื่องอาร์เจนไว้นิดและกลับมาดูที่ประเทศโซนนี้ก่อนครับ พอเกิดปัญหาด้านการเงินเราแก้ไขด้วยวิธีอะไร .............ขอติดไว้ต่อพรุ่งนี้หรือดึกๆคืนนี้ครับ ><' แต่ใครพอจะตอบหรืออธิบายได้ก่อนชิงตอบได้ก่อนเลยครับ
  19. ขอตอบเท่าที่พอรู้นะครับ (ปกติผมก็จะถาม พูดคุย ขอความรู้ จากคนอื่นมาอีกทีเหมือนกันครับ) เหมือนเดิมครับ ที่ตอบอาจมีผิดพลาดได้ เสนอแนะ ท้วงติง แนะนำ ได้ตามสะดวกครับ (^ ^) - ปัญหารอบล่าสุดของ อาร์เจนติน่าจัง พระเอก(ผู้ร้าย)ตัวจริงก็คล้ายๆกับหลายประเทศที่ประสบปัญหาด้านการเงินล่ะครับ คือ สี่หัวใจแห่งขุนเขา "เงินเฟ้อ นโยบายการคลัง นโยบายการเงิน นโบายภาครัฐ" ที่ดูจะแตกต่างจากชาวบ้านและตลาดเล่นข่าวกันเยอะคงเป็นเรื่องเงินเฟ้อ แต่ทั้งหมดทั้งมวลมันก็เหมือนเป็นโดมิโนเกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้องกันหมด แถมด้วยปัญหาเก่าๆของอาร์เจนเองก็ยังไม่ได้แก้ไขให้หายขาดด้วย เหมือนคนป่วยแล้วป่วยอีก แถมตอนจะหายป่วยคน(ประเทศ)อื่นก็ดันป่วยเลยไม่หายซักที ถ้าให้สรุปในข้อความเดียวปัญหาของอาร์เจนติน่าเกิดจาก "ปัญหาเงินเฟ้อ จากเงินในระบบที่มากเกินไป เนื่องจากนโยบายการเงิน การคลัง และ นโยบายของรัฐ" - ย้อนแบบสั้นนิดหน่อย คือ อาร์เจนตินาเกิดปัญหาวิกฤติการเงินหนักในช่วงปี 1998-2002 ซึ่งจริงๆแล้วอาร์เจนเคยมีปัญหาด้านการเงินมายาวนานและหลายครั้งแล้วด้วย เรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิกฤติด้านการเงินระดับประเทศเลย แต่ไม่ใช่ในแง่การแก้ปัญหาเก่งนะครับ ในแง่การเกิดปัญหาบ่อย แต่ในช่วงปี 1998-2002 มันใกล้สุด จริงๆวิกฤติการเงินรอบล่าสุดของอาร์เจนก็มีความคล้ายคลึงกับประเทศที่เรารู้จักแถวๆนี้ล่ะครับ คือ ก่อนหน้านั้น รัฐแทรกแซงตลาดการเงินด้วยนโยบายการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสุดท้ายพอมันไม่ไหวก็ต้องประกาศลอยตัว หนี้ที่มีอยู่มันก็เลยพุ่งและทำให้วิกฤติด้านการเงิน (ฟังดูคุ้นๆมั้ยครับ แต่ของอาร์เจนมันมีมาเยอะกว่านั้นก่อนหน้านี้แล้วด้วย) ผลที่ตามหลังจากนั้นคือ ค่าเงินของประเทศที่มีวิกฤติทางการเงินมักจะอ่อนตัวลง (ซึ่งจริงๆแล้วการอ่อนตัวของค่าเงินมันก็พอจะมีประโยชน์ได้บ้างในเรื่องของการส่งออก) ติดไว้ก่อนครับ พรุ่งนี้หรือซักพักมาตอบต่อ
  20. ช่วงบ่ายๆ มีข่าวว่าอินเดียเตรียมผ่อนผันนโยบายการจำกัดการนำเข้าทองคำลง โดยน่าจะเริ่มจากการลดภาษีการนำเข้า(ที่ขึ้นมาช่วงหลายปีหลัง) รวมถึงมาตรการอื่นๆที่เคยออกมาด้วย
  21. บรรยาย สัมนา ปราศรัย สุนทรพจร์ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ของ Bernanke ในฐานะประธาน FED http://www.zerohedge.com/news/2014-01-16/bernankes-farewell-speech-post-mortem-fed-did-right-thing-i-hope zerohedge สรุปไว้่เป็นเรื่องๆเยอะพอสมควร มีทั้งเรื่องน่าสนใจและเรื่องเดิมๆรวมกันไป หลังจากนี้ลุงก็ทิ้งเผือกร้อนถึงร้อนมากไว้ให้ Yellen รับหน้าเสื่อต่อไป (^ ^) และคงลุงแกคงถูกขุดขึ้นมาด่าเป็นระยะๆ
  22. ไอปิโตรเลียม มูบาดาลาลาล่า นี่ได้สัมปทานตั้งแต่ปี 2548-50 แล้วครับ ขอสัมปทานปี 2548 (หน้าเหลี่ยม) อนุมัติให้ปี 2550 (ขิงแก่) พื้นที่ที่เป็นข่าวหรือนงเยาว์ คือ G11/48 บริษัทที่ได้รับสัมปทานคือ บ.เพิลออย แต่ไอเพิลออยก็เหมือนนอมินีของกลุ่ม มูบาชะลาล่า ล่ะัครับ(เจ้าของกลุ่มเดียวกัน) พอสำรวจแล้วว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะมีน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ ก็เลือกว่าจะขายสัมปทานหรือจะดำเนินการขุดเอง ในกรณีนี้ก็คือให้กลุ่มมูบาชะลาล่ามาดำเินินโครงการผลิตร่วมทุนกับ KrisEnergy พื้นที่ G11/48 นี่สำรวจตั้งแต่ต้น-กลางปี 2550 ถึง กลางปี 2556 ถึงพบว่ามีพลังงานและเดินเรื่องทำแท่นขุดเจาะเพื่อนำขึ้นมาใช้
  23. เมกาเองยังมีปัญหาเรื่องการเมืองภายในอยู่เลยครับ ล่าสุดยักเข้ายักออกเงินนโยบายของสวัสดิการการว่างงานกัน
×
×
  • สร้างใหม่...