ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ส้มโอมือ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    5,036
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    15

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ส้มโอมือ

  1. ประเทศเราผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตลอด ถ้าเอาทฤษฎีPeak Oilเข้ามาจับ ก็ต้องบอกว่าเรายังมีปริมาณก๊าซและน้ำมันดิบอีกเยอะครับ ถ้ากำลังการผลิตเรายังเพิ่มขึ้นเรื่อยแสดงว่าเรายังมีน้ำมันใช้อีกเยอะ เมื่อไหร่ยอดการผลิตมีแต่ทรงกับทรุดแสดงว่าปรืมาณของเราเริ่มโดนใช้ไปครึ่งนึงแล้ว ---เรื่องปริมาณที่ผลิตจริง เป็นตัวเลขทีเกิดขึ้นแล้วและเป็นความจริง ส่วนปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วใครเป็นคนให้ตัวเลขนี้ ถ้าเป็นตัวเลขที่ฝ่ายที่ได้รับสัมประทานเป็นคนให้ เราจะเชื่อถือตัวเลขนี้ได้มั้ย เขาจะบอกให้น้อยไว้ก่อนเพื่อประโยชน์ของเขาหรือบอกตามความจริง ถ้าบอกเยอะเขาก็กลัวเราจะเก็บค่าสัมประทานเยอะ บอกน้อยก่อนเพื่อการต่อรองไม่ให้เก็บค่าสัมประทานเยอะ ---ที่สำคัญสุดคือส่วนแบ่งสัมประทานที่เราได้รับน้อยมากเมื่อเทียบกับที่ประเทศอื่นเขาได้ ถ้าได้น้อยหยุดขุดแล้วเก็บให้ลูกหลานในอนาคตดีกว่ามั้ย ที่ทราบมาประเทศเพื่อนบ้านของเราหลายประเทศ เขาจะว่าจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญน้ำมันมาสำรวจว่ามีปริมาณน้ำมันประมาณเท่า ไหร่ก่อนให่้สัมประทาน แต่ของเราไม่ทำแบบนี้
  2. EIA สหรัฐ ระบุว่าไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ เป็นอันดับที่ 24 และ ผลิตน้ำมันได้เป็นอันดับที่ 33 ของโลก เอกสารหน้า3---ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทยอยู่ที่ 34 ---ปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทยอยู่ที่ 46 http://whereisthailand.info/2013/06/proved-reserves-of-oil-natural-gas/ ----ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย จำนวนปีที่ผลิตก๊าซธรรมชาติได้7.61ปี ---ปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย จำนวนปีที่ผลิตน้ำมันดิบได้3.51 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เรื่องปริมาณที่ผลิตจริง เป็นตัวเลขทีเกิดขึ้นแล้วและเป็นความจริง ส่วนปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วใครเป็นคนให้ตัวเลขนี้ ถ้าเป็นตัวเลขที่ฝ่ายที่ได้รับสัมประทานเป็นคนให้ เราจะเชื่อถือตัวเลขนี้ได้มั้ย เขาจะบอกให้น้อยไว้ก่อนเพื่อประโยชน์ของเขาหรือบอกตามความจริง ถ้าบอกเยอะเขาก็กลัวเราจะเก็บค่าสัมประทานเยอะ บอกน้อยก่อนเพื่อการต่อรองไม่ให้เก็บค่าสัมประทานเยอะ ----ประเทศเราผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตลอด ถ้าเอาทฤษฎีPeak Oilเข้ามาจับ ก็ต้องบอกว่าเรายังมีปริมาณก๊าซและน้ำมันดิบอีกเยอะครับ ถ้ากำลังการผลิตเรายังเพิ่มขึ้นเรื่อยแสดงว่าเรายังมีน้ำมันใช้อีกเยอะ เมื่อไหร่ยอดการผลิตมีแต่ทรงกับทรุดแสดงว่าปรืมาณของเราเริ่มโดนใช้ไปครึ่งนึงแล้ว Monday, 23 June 2008 Peak Oil ดอยน้ำมัน « หุ้นถูกเรื้อรัง | Main | Peak Energies ดอยพลังงาน » คน ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันปิโตรเลียมนั้น สิ่งหนึ่งที่จะต้องรู้ก็คือทฤษฎีสำคัญที่เป็นหัวใจของกำลังการผลิตน้ำมันของ แหล่งผลิตต่าง ๆ และของโลก เพราะนี่จะเป็นตัวชี้ที่สำคัญว่า Supply หรืออุปทานน้ำมันของโลกจะเป็นอย่างไร ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกกันง่าย ๆ ว่า Peak Oil หรือผมขอแปลตรง ๆ ว่า “ดอยน้ำมัน” และผู้ที่คิดทฤษฎีนี้ก็คือ ดร. M. King Hubbert ซึ่งเป็นนักธรณีวิทยาและเคยทำงานอยู่กับบริษัท น้ำมัน Shell มานานกว่า 20 ปี อีกทั้งได้ทำงานในฐานะของนักวิจัยให้กับหน่วยงานการสำรวจทางธรณีวิทยาของ รัฐบาลสหรัฐกว่า 12 ปี และยังมีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์และสแตนฟอร์ดอีก ต่างหาก Peak Oil คือทฤษฎีที่อธิบายว่าทำไมแหล่งน้ำมันต่าง ๆ นั้น ในตอนเริ่มทำการผลิต กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่งก็จะเพิ่มถึงจุดสุดยอด ซึ่งที่จุดนั้นก็คือจุดที่ได้มีการสูบน้ำมันออกมาจากบ่อแล้วประมาณครึ่ง บ่อ หลังจากถึงจุดที่มีกำลังการผลิตสูงสุดแล้ว กำลังการผลิตก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ อาจจะปีละ 1-2 % หรือมากกว่านั้นจนกระทั่งน้ำมันหมดบ่อ ถ้าดูเป็นเส้นกราฟของการผลิตก็จะเป็นเหมือนรูประฆังคว่ำโดยมีจุดสูงสุดอยู่ ตรงกลาง คำ อธิบายแบบง่าย ๆ ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้นก็คือ บ่อน้ำมันนั้น ในช่วงแรกที่มีการเจาะและสูบน้ำมันขึ้นมา การสูบหรือการไหลของน้ำมันจะเร็วมากเพราะว่าน้ำมันยังอัดกันเต็มภายใต้แรง ดันในบ่อ พอหลุมถูกเปิดออก น้ำมันก็แทบจะทะลักขึ้นมาเองโดยไม่ต้องทำอะไร กำลังการผลิตในช่วงแรก ๆ จึงสูงมาก ต่อมาเมื่อน้ำมันถูกดูดออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ แรงดันภายในบ่อก็จะลดลงเรื่อย ๆ หรือหมดไป น้ำมันก็ไหลออกมายากขึ้น การสูบก็ยากขึ้นเพราะน้ำมันที่เหลือก็มักจะเป็นน้ำมันที่ข้นขึ้นเพราะน้ำมัน ที่ใสและดีถูกดูดออกไปหมดแล้ว ในขั้นตอนนี้เรายังจำเป็นต้องช่วยโดยการอัดก๊าซเช่น คาร์บอนไดอ๊อกไซด์เข้าไปในหลุมและ/หรืออัดน้ำหรือสารเคมีที่จะทำให้น้ำมัน ดิบลดความข้นลงเพื่อให้น้ำมันไหลง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตของบ่อน้ำมันในช่วงหลังจากจุดสุดยอดแล้วก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนหมดในที่สุด ใน ปี 1956 หลังจากที่ ดร. Hubbert คิดทฤษฎี Peak Oil ขึ้นแล้ว เขาก็ใช้สูตรนี้ทำนายว่า สหรัฐอเมริกาจะมีกำลังการผลิตน้ำมันถึงจุดสูงสุดในปี 1970 ซึ่งทำให้เขาถูกหัวเราะเยาะจากผู้เชี่ยวชาญในวงการน้ำมันทั้งหลาย เพราะว่าตั้งแต่ปี 1956 อเมริกาสามารถผลิตน้ำมันได้เพิ่มขึ้นทุกปีและไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลย แต่แล้วทุกคนก็ต้องทึ่ง เพราะหลังจากปี 1971 เป็นต้นไป กำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐก็ลดลงทุกปีจนถึงทุกวันนี้ และในปี 1975 สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐก็ยอมรับว่าการคำนวณของเขาเกี่ยวกับการ ค่อย ๆ หมดไปของน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินั้นถูกต้อง ไม่ ใช่เฉพาะที่อเมริกาเท่านั้นที่เกิดปรากฏการณ์ Peak Oil ในแหล่งน้ำมันต่าง ๆ ทั่วโลก กำลังการผลิตน้ำมันต่างก็ลดลงเมื่อมีการผลิตไปถึงจุดหนึ่งซึ่งตามทฤษฎีก็คือ จุดยอดดอยหรือจุด Peak นั่นเอง มีการพูดกันว่าแม้แต่ในกลุ่มโอเปกเอง สมาชิกต่างก็ผลิตไปจนถึงจุดสูงสุดกันเกือบหมดแล้วยกเว้นซาอุดิอาราเบียที่ ยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่บ้างแต่ก็ใกล้ยอดดอยเต็มที นักวิชาการบางคนถึงกับพูดว่า โลกเราเองก็มีกำลังการผลิตน้ำมันถึงจุดสูงสุดไปแล้ว เพราะกำลังการผลิตน้ำมันที่ประมาณ 85 ล้านบาร์เรลต่อวันที่เราใช้อยู่นี้ดูเหมือนจะเริ่มคงที่มาเป็นเวลาพอสมควร แล้ว โอกาสที่จะผลิตได้เพิ่มอาจจะยาก เพราะแม้ว่าซาอุดิอาราเบียจะยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้บ้าง แต่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นในโลกก็เริ่มถึงจุดที่ผลิตได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ซาอุผลิตได้เพิ่มก็แค่มาชดเชยกับผู้ผลิตอื่นที่ผลิตได้น้อยลง เช่นอินโดนีเซียที่ตอนนี้แม้แต่จะผลิตใช้ในประเทศก็ไม่พอ ไม่ต้องพูดถึงแหล่งผลิตในทะเลเหนือหรือแหล่งผลิตอื่นที่กำลังการผลิตถอยลงไป เรื่อย ๆ เพราะอยู่ในช่วงขาลงแล้ว ตาม การคาดการณ์ของนักวิชาการกลุ่ม Peak Oil ดูเหมือนว่าโลกเรากำลังจะขาดแคลนน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนั่นเป็นเหตุให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่หยุด เพราะปริมาณการผลิตนั้นไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกและอาจจะใกล้ถึงจุดลดลงใน ขณะที่ความต้องการน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะจากประเทศอย่างจีนและอินเดีย ในอีกด้านหนึ่งกำลังการผลิตน้ำมันจากแหล่งน้ำมันใหม่ ๆ ก็มีน้อยมาก ว่าที่จริงการค้นพบน้ำมันแหล่งใหญ่ ๆ ของโลกนั้น เกิดขึ้นครั้งสุดท้ายก็ประมาณ 30-40 ปีมาแล้วและโอกาสที่จะเจอแหล่งใหม่ ๆ ขนาดใหญ่ก็ดูมืดมน และแม้ว่าในขณะนี้จะมีการขุดเจาะน้ำมันกันมากเพราะราคาน้ำมันสูงจูงใจแต่ สิ่งที่พบนั้นดูเหมือนว่าอย่างมากก็แค่ประคองไม่ให้การผลิตน้ำมันของโลกลดลง เท่านั้น ดังนั้น ถ้าคิดถึงการเติบโตของการใช้น้ำมันที่จะเพิ่มขึ้นเฉพาะจากจีนเพียงประเทศ เดียว โอกาสที่น้ำมันจะมีเพียงพอให้ใช้ก็มีน้อยมาก ว่ากันว่าถ้าจะให้มีน้ำมันพอ เราคงต้องเจอบ่อน้ำมันขนาดเท่ากับของซาอุสัก 2- 3 ประเทศในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า ซึ่งดูแล้วคงเป็นไปไม่ได้ “ผู้ เชี่ยวชาญ” หลาย ๆ คนและในหลาย ๆ ประเทศที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันต่างก็พูดว่า น้ำมันในโลกนั้นมีกำลังการผลิตเหลือเฟือ ราคาน้ำมันที่ขึ้นไปเป็นเพราะการเก็งกำไรของนักลงทุนหรือเฮดก์ฟันด์ในตลาด สินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า นี่เป็นเรื่องจริงหรือเปล่าก็คงจะตอบได้ยาก แต่ประเด็นที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ คนเหล่านั้น หลายคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน อย่างเช่นในกลุ่มของโอเปกเอง ว่ากันว่าตัวเลขกำลังการผลิตหรือปริมาณน้ำมันสำรองของแต่ละประเทศนั้นไม่มี ความโปร่งใสเลย หลายประเทศดูเหมือนจะพยายามบอกว่าตนเองมีสำรองน้ำมันมาก เหตุผลก็คือ เวลาจัดสรรโควตาการผลิตน้ำมันเขาจะจัดกันตามปริมาณสำรองที่แต่ละประเทศมี เพราะฉะนั้น แต่ละประเทศจึงมักบอกว่าตนเองมีน้ำมันมากกว่าความเป็นจริง เช่นเดียวกัน บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดก็มักจะพยายามบอกว่าตนเองมี สำรองน้ำมันมากเพื่อที่หุ้นของตนจะได้มีราคาสูง เหล่านี้ทำให้ตัวเลขน้ำมันสำรองของโลก “เพี้ยน” และไม่น่าเชื่อถือ แต่ถ้าดูข้อเท็จจริงของตัวเลขกำลังการผลิตที่ออกมา ดูเหมือนว่าสถานการณ์น้ำมันของโลกจะเป็นไปในแนวทางของพวกที่เชื่อทฤษฎี Peak Oil มากกว่า ใน ฐานะของนักลงทุน เราคงต้องติดตามดูไปเรื่อย ๆ และตัดสินใจลงทุนด้วยความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้ ส่วนตัวผมเองนั้น คงยังไม่เชี่ยวชาญพอที่จะเสี่ยงกับสิ่งที่ตนเองมีความรู้น้อย แต่นี่ก็คงจะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนโดยรวมได้ เพราะน้ำมันหรือว่าที่จริงก็คือพลังงานนั้น มันเกี่ยวข้องกับชีวิตเราลึกซึ้งมาก นักลงทุนต้องรู้เกี่ยวกับน้ำมันทั้ง ๆ ที่เขาอาจจะไม่ได้ลงทุนในหุ้นน้ำมันเลย -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ที่ทราบมาประเทศเพื่อนบ้านของเราหลายประเทศ เขาจะว่าจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญน้ำมันมาสำรวจว่ามีปริมาณน้ำมันประมาณเท่าไหร่ก่อนให่้สัมประทาน แต่ของเราไม่ทำแบบนี้
  3. ราคาน้ำมันที่คนไทยใช้ เป็นอย่างไร ถ้าดูเฉพาะราคาขายปลีกอย่างเดียว ประเทศเราไม่ติด10อันดับแรกที่มีราคาขายปลีกสูงที่สุด แต่ถ้าเอารายได้เฉลี่ยต่อวันมาเปรียบเทียบด้วย รายได้เฉลี่ยคนไทยอยู่ที่ประมาณ507บาทต่อวัน พบว่าราคาน้ำมันเมื่อเทียบกับรายได้เราสูงเป็นอันดับ10ของโลก ประมาณว่าคนไทยจ่ายค่าน้ำมัน 25% ของรายได้ต่อวัน http://hilight.kapook.com/view/82452 ---ราคาน้ำมันที่สูงเป็นอันดับ10เมื่อเทียบกับรายได้ ถือว่าหนักมากสำหรับคนไทย ถ้าคนไทยต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันมากกว่านี้หรือต้องจ่ายค่าก๊าซแพงกว่านี้อีก จะเป็นภาระหนักของคนไทยเกินไป ถ้ากลุ่มปิโตรเคมีซื้อก๊าซในราคาตลาดโลก เงินกองทุนน้ำมันจะเหลือพอที่จะไม่ต้องขึ้นราคาก๊าซและราคาน้ำมัน --ทำไมรัฐเอื้อประโยชน์หลายหมื่นล้านต่อปี ไปช่วยคนไม่กี่คนที่เป็นเจ้าของปิโตรเคมี ช่วยอย่างมากก็น่าจะให้เขาซื้อก๊าซไม่แพงกว่าตลาดโลก ช่วยเรื่องค่าขนส่งมาไทยก็น่าจะพอแล้ว ราคาก๊าซที่กลุ่มปิโตรเคมีซื้อในราคาถูกกว่าตลาดโลกแล้ว ราคาปิโตรเคมีที่เขาผลิตและขายในไทยก็ไม่เห็นถูกลงมาเลย งานนี้เหมือนเอาเงินคนจนทั่วประเทศมาอุดหนุนคนรวยไม่กี่คนให้ร่ำรวยขึ้นไปอีก
  4. http://www.108acc.com/index.php?lite=article&qid=42071662 ทำไมบริษัทผูกขาดแบบปตท ต้องใช้งบโฆษณาขนาดนั้น ดูรายการที่4และรายการที่9ครับ
  5. ผวาเชฟรอนถอดใจผลิตก๊าซ วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2014 เวลา 10:24 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ลงทุน-อุตสาหกรรม - คอลัมน์ : ลงทุน-อุตสาหกรรม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หวั่นเชฟรอนถอนการลงทุนผลิตก๊าซฯในอ่าวไทย หลังหมดอายุสัมปทานในอีก 8 ปีข้างหน้า ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปีนี้ ว่าจะต่ออายุหรือเปิดให้มีการประมูล หวังสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาเตรียมตัวก่อน 5 ปี นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างเร่งพิจารณารายละเอียดปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีของการต่ออายุสัมปทานการผลิตปิโตรเลียมของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในอ่าวไทยที่ผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่ประมาณ 1.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบประมาณ 4 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จะหมดอายุลงในอีก 8 ปีข้างหน้าหรือช่วงปี 2565 ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะไม่สามารถต่ออายุสัมปทานได้อีก ทำให้ต้องมาพิจารณาว่า เมื่อหมดอายุสัมปทานแล้วจะมีการต่ออายุสัมปทานให้อีกหรือไม่ หรือจะต้องดำเนินการเปิดประมูลใหม่ ซึ่งจะต้องศึกษาในรายละเอียดถึงผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ การปรับปรุง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จหรือเห็นภาพชัดเจนภาย ใน 1-2 ปีนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาเตรียมตัว ซึ่งจากประสบการณ์ของต่างประเทศได้มีการประกาศล่วงหน้าไว้ถึง 5 ปี ก่อนที่อายุสัมปทานจะหมดลง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและมีระยะเวลาเตรียมตัวที่จะ ตัดสินใจลงทุนผลิตปิโตรเลียมหรือไม่ หากไม่มีความชัดเจนในข้อกฎหมายเกิดขึ้น จะส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่มีเวลาเตรียมตัวพอและอาจจะถอนการลงทุนออกไปได้ นายทรงภพ กล่าวอีกว่า แม้การทำอีเอชไอเอจะผ่านความเห็นชอบแล้วก็ตาม แต่มีระยะเวลานานถึง 5 ปี จึงทำให้เชฟรอนประกาศยุติโครงการดังกล่าวเมื่อปี 2555 ด้วยเหตุผลความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอายุสัมปทานของแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยเหลือไม่ถึง 10 ปี และหากลงทุนไปแล้วก็ยังไม่ทราบว่าจะได้ต่ออายุสัมปทานอีกหรือไม่ ทำให้เชฟรอนต้องถอนโครงการออกไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับ ประชาชนท่าศาลา "สิ่งที่กังวลขณะนี้หากข้อกฎหมายยังไม่มีความชัดเจน และเชฟรอนถอนการผลิตก๊าซจากอ่าวไทยออกไป จะส่งผลให้ปริมาณก๊าซหายไปจากระบบประมาณ 1.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือครึ่งหนึ่งของกำลังผลิตที่ผลิตได้ ผลที่ตามมาจะทำให้ประเทศต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีจากต่างประเทศเข้ามาจำนวน มากเพื่อมาทดแทน ซึ่งมีราคาสูงกว่า 2-3 เท่า จะทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในราคาที่สูงขึ้นตาม และประเทศจะมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงพลังงานเกิดขึ้นสูงตามมาด้วย" จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,933 วันที่ 23 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ส่วนตัวมองว่า เหมือนหน่วยงานรัฐอยากจะยกสัมประทานให้เขาอย่างง่ายดาย จากที่ผมตามข้อมูลมาพบว่า การผลิตก๊าซของเซฟรอนของประเทศไทยนั้น มากเป็นอันอันดับ2ของเซฟรอนเลยนะ ส่วนมากหลุมในอ่าวไทยจะให้ก๊าซเป็นส่วนมาก เซฟรอนเป็นบริษัทพลังงานระดับโลก ถ้าการผลิตก๊าซของเซฟรอนในเมืองไทยสูงเป็นอันดับ2ของเซฟรอน ต้องถือว่าเป็นจำนวนมหาศาลเลยนะ สัมประทานขุดเจาะน้ำมันของเรา ประมาณครึ่งนึงเป็นของบริษัทของอเมริกา อีกประมาณ25%เป็นของบริษัทในตะวันออกกลาง ส่วนอีกประมาณ25%เป็นของปตท.สผ. ทำไมปตทสผ. ไม่รับสัมประทานไว้เอง แล้วที่ไปลงทุนซื้อกิจการพลังงานของแคนาดาจำนวนมหาศาล จ่ายเงินเยอะขนาดนั้นจะคุ้มมั่้ย http://www.bangkokbi...3%A9%D2%B9.html
  6. จากข้อมูลที่ผมหามา ก่อนปี54 กลุ่มปิโตเคมีไม่เคยจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเลย เขาใช้ราคาก๊าซตลาดเมืองไทยซึ่งราคาถูกกว่าราคาตลาดโลกมาก ในการสร้างผลกำไร จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี2554หลังจากโดนท้วงติงมากขึ้น ก็บอกว่าจะจ่ายเงินเข้าด้วยนิดหน่อย แต่ก็เห็นเป็นเอกสารว่าค้างจ่ายอยู่นาน ถึงตอนนี้คงไม่ค้างจ่ายแล้วมั้ง ---การเป็นรัฐวิสาหกิจ กับการเป็นเอกชน การตรวจสอบการรั่วไหลของเงินแตกต่างกันมาก ส่วนตัวสงสัยว่ากลุ่มปิโตรเคมี น่าจะสร้างผลกำไรมากกว่าที่เขาแจ้งมากมาย เงินกองทุนน้ำมันที่นำไปอุ้มราคาก๊าซหลายหมื่นล้านบาทต่อปี กำไรกลุ่มนี้น่าจะมหาศาลซิ รายชื่อบริษัทในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) http://goodtimes.of-cour.se/2012/06/07/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD/ รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทย http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
  7. LPG_BOOK-final_OK.pdf pdfไฟล์ชุดนี้เป็นเอกสารจากทางปตท ผมนำมาจากเวป http://www.pttplc.co...m-Business.aspx เลื่อนลงมาสุด จะเห็นข้อความว่า LPG story ---บริษัทผมมีการใช้เม็ดพลาสติคอยู่บ้าง ช่วงที่ราคาน้ำมันลงได้คุยกับฝ่ายที่สั่งเม็ดพลาสติคว่าราคาเม็ดลงมั้ย เขาบอกว่าส่วนมากไม่ลง เพราะเม็ดพลาสติคในไทยโดนคุมโดยบริษัทใหญ่ๆไม่กี่เจ้า ราคาที่ขายในเมืองไทยหลายตัวจะแพงกว่าต่างประเทศ แต่ถ้านำเข้ามาก็เสียค่าใช้จ่ายหลายอย่างอาจไม่คุ้ม และถ้ามีคนนำเข้าก็อาจโดนบริษัทใหญ่กดราคาสั่งสอนได้ หน้า8---กว่าที่เราจะค้นพบ LPG กว่าที่ LPG จะถูกแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี กว่าที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะถูกผลิตออก มาเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ มากมาย ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 3 แสนคน------แต่คนทั้งประเทศที่ใช้น้ำมัน ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน มันถูกต้องมั้ย หน้า9--ในปี 2552 ประเทศไทยสามารถสรา้งรายได้คิดเป็นมูลค่า ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในส่วนของผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมีประมาณ 4.6 แสนล้านบาทหรือ 5.1% ของ GDP โดยเป็นการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีโดยตรงประมาณ 1.7แสนล้านบาทหรือ 1.9% ของ GDP และจากอุตสาหกรรม ต่อเนื่องประมาณ 2.9 แสนล้านบาทหรือ 3.2% ของ GDP ---ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำนวนมาก ผู้ประกอบการจำนวนมากทำให้มีการแข่งขัน ราคาก๊าซที่ถูกก็จะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ ---ภาคครัวเรือน เกี่ยวกับประชาชนทั้งประเทศ ราคาก๊าซที่ถูก ทำให้ประชาชนทั้งประเทศได้ประโยชน์ ---ปิโตรเคมี เป็นเอกชนที่ร่ำรวยไม่กี่เจ้า พวกเขามีเงินถุงเงินถัง ราคาก๊าซตลาดเมืองไทยที่ถูกกว่าราคาตลาดโลกมาก เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มปิโตรเคมีมหาศาล วัตถุดิบต่างๆที่กลุ่มปิโตรเคมีผลิตและจำหน่ายก็ในเมืองไทยก็ไม่ได้ราคาถูกกว่าต่างประเทศตามต้นทุนก๊าซที่เขาได้ราคาถูก เขาผลิตไปขายต่างประเทศโดยเอากำไรเข้ากระเป๋าเขามากมาย ตกลงพวกเราจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่ออุ้มกลุ่มปิโตรเคมีที่เป็นเอกชนและเป็นกลุ่มที่ร่ำรวยมหาศาล นโยบายแบบนี้ของรัฐบาลเรารับได้มั้ย
  8. Thai_Energy_2012_Lowres.pdf pdfไฟล์ชุดนี้เป็นเอกสารจากทางปตท ผมนำมาจากเวป http://www.pttplc.co...m-Business.aspx เลื่อนลงมานิดหนึ่ง จะมีข้อควมว่า พลังงานไทย…ไม่ใช่ของใคร…ของไทยทั้งมวล… ผมdownload จากตรงนี้ ในเมื่อเอกสารนี้เป็นเอกสารของปตท ฝ่ายปตทคงมาออกความเห็นไม่ได้ว่าเอกสารไม่ถูกต้อง ผมมีข้อมูลที่จะโพสอยู่นานแล้ว แต่ที่ติดขัดเพราะต้องการเอกสารที่ฝ่ายปตทมาเถียงไม่ได้มายืนยันครับ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ผมเคยเกริ่นว่าเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันของเบนซิน95 อยู่ที่7.10บาท ค่ากลางตลาดเข้าปตท4.16บาท ----ดีเซลไม่เก็บเงินเข้ากองทุน น้ำมัน(ดีเซลส่วนมากจะเก็บน้อยหรือไม่เก็บ บางครั้งกองทุนยังจ่ายเงินเข้ามานิดหน่อยเพื่อให้ราคาถูกลง) ค่าการตลาดเก็บ1.46บาท ----ตัวที่รัฐใช้เงินกองทุนอุดหนุนต่อลิตรสูงคือแก๊สโซฮอล์95 E85 ถึงลิตรละ12.50บาท แต่ตัวนี้ยอดขายน้อย ไม่ส่งผลต่อกองทุนน้ำมัน *****สรุปเลยนะครับ เงินที่เก็บเข้าและจ่ายอุดหนุนน้ำมันของกองทุนน้ำมัน ถ้าใช้ดูแลเฉพาะน้ำมันตามภาพที่เห็น ต่อปีจะมีเงินเหลืออยู่ในกองทุนในระดับหมื่นล้านครับ แต่ปัจจุบันนี้กองทุนน้ำมันติดลบหลายพันล้าน เงินหายไหน รัฐนำไปอุดหนุนใครบ้าง เงินที่นำไปอุดหนุนประชาชนของประเทศได้ประโยชน์หรือเอกชนบางกลุ่มได้ ประโยชน์มหาศาล ต้องตามอ่านต่อครับ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ เอกสารปตท รูปหน้าที่2 ก๊าซธรรมชาติที่เราใช้ทั้งหมดเป็นการนำเข้าประมาณ 21%ส่วนผลิตเองในประเทศ79% หน้า21---ในอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ภาครัฐใช้เงินจากกองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิงเป็นกลไกในการ ควบคุมราคาก๊าซ LPG ทำ�ให้ราคาตํ่ากว่าตลาดโลกและตํ่ากว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น (ปัจจุบันราคา LPGตลาดโลกอยู่ที่ 1,001 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ต.ค. 55) ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำ�หน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญสหรัฐ/ตัน) หน้า22---หากย้อนไปในปี 2538 นอกจากไทยไม่ต้องนำ�เข้า LPG แล้วยังเป็นผู้ส่งออก LPG ติดต่อกันถึง 13 ปี ตั้งแต่ปี 2538-2550 แต่เมื่อความ ต้องการใช้ LPG ภายในประเทศไม่เพียงพอและเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยจึงกลายเป็นผู้นำ�เข้า LPG ตั้งแต่เมษายน 2551 เป็นต้นมา โดยในปี 2554 ไทยผลิตก๊าซฯ LPG ได้ประมาณ 5 ล้านตัน/ปี ในขณะที่มีปริมาณการใช้สูงถึงเกือบ 6.5 ล้านตัน/ปี จากรูปหน้า22--จากภาพลองดูข้อมูลในปี2550 จะพบว่ากลุ่มปิโตรเคมี(สีน้ำเงินเข้ม)ใช้LPG750,000ตัน ปี2550เป็นปีสุดท้ายที่เรามีการส่งออกLPG จากกราฟปี2554กลุ่มปิโตรเคมีมีการใช้LPGประมาณ 2,700,000ตัน(เพิ่มจากเดิมมากกว่า200%) จากข้อมูลบอกเราว่าปริมาณLPGที่เราผลิตได้นั้น เพียงพอสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง ภาคครัวเรือน ----ถ้าเราต้องนำเข้าLPG 1.5ล้านตันต่อปี ที่ราคา 1,001 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ต.ค. 55) ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำ�หน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญสหรัฐ/ตัน) จะต้องมีเงินชดเชย (1001-333)*1,500,000*32(ให้1เหรียญเท่ากับ32บาท) = 32,064ล้านบาท ถ้าคิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งLPGเข้ามาในประเทศอีก จะสูงกว่านี้อีกครับ -----เวลาจะทวงคืนปตท ก็จะบอกว่าปตทเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว ทำไมต้องทวงคืน กระทรวงการคลังถือหุ้นเกิน51.11%(เกิน50%) กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)ถือ 7.45% กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)ถือ7.45% ตอนยังไม่แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนก็กำไรไม่มากมาย ผมเห็นด้วยว่าไม่สมควรทวงคืนปตท แต่ต้องควบคุมปตทมากกว่าปัจจุบัน ----แต่กลุ่มปิโตรเคมีไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ(บางบริษัทปตทถือหุ้นเยอะพอสมควร แต่พอคิด%แล้วกระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่าลงไปเยอะครับ) เขาเป็นเอกชนที่ร่ำรวยมีเงินถุงเงินถัง ปิโตรเคมีใช้ก๊าซในราคาตลาดเมืองไทยซึ่งถูกกว่าเมืองนอกมาก ----หน้า23--ที่สำ�คัญราคาจำ�หน่ายก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบให้ภาคปิโตรเคมี เป็นไปตามกลไกตลาดไม่เคยได้รับการอุดหนุน หรือชดเชยจากภาครัฐนับตั้งแต่อดีต------เป็นคำพูดที่เนียนมากครับ แต่จริงๆแล้วก็คือซื้อในราคาตลาดเมืองไทยซึ่งถูกกว่าตลาดโลกมากมาย แล้วเราต้องนำเข้าปิโตรเคมีในราคาตลาดโลกรวมค่าขนส่ง ค่าใช่จ่ายส่วนนี้กองทุนน้ำมันรับผิดชอบเต็มๆ
  9. วันนี้มีการประชุมG20 งานนี้บอยคอตรัสเซียไม่ง่ายเหมือนตอนประชุมG8 10เมษาชี้ชะตาอำนาจการเงิน-การเมืองโลก
  10. 10เมษาชี้ชะตาอำนาจการเงิน-การเมืองโลก
  11. เพื่อนผมที่เรียนจบมาด้วยกัน เขายืนยันมาแล้วนะว่าเป็นเรื่องจริง เพราะเขาใช้มาแล้วครับ
  12. เพื่อนผมที่เรียนจบมาด้วยกัน เขายืนยันมาแล้วนะว่าเป็นเรื่องจริง เพราะเขาใช้มาแล้วครับ
  13. Thanong Fanclub ได้แชร์ลิงก์ 20 ชั่วโมงที่แล้ว ซีรี่ส์ระบบการเงินโลก 10. ECBเตรียมทำQE เหมือนUS Federal Reserve, Bank of England, Bank of Japan European Central Bank หรือ ECBกำลังพิจรณามาตรการQEหรือการพิมพ์เงินยูโรเข้าไปในระบบการเงินเพื่อเพิ่ม สภาพคล่องผ่านการซื้อสินทรัพย์เข้ามาในงบดุลของECB ECBมีการลดดอกเบี้ยลงมาเหลือ0.25%เท่ากับUS Federal Reserveแล้ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากจะคิดทำQEแล้ว ECBยังคิดที่จะดำเนินนโยบายดอกเบี้ยติดลบสำหรับธนาคารที่เอาเงินยูโรมาฝาก กับECB เพื่อที่จะบังคับไปในตัวให้ธนาคารพมนิชน์เพิ่มการปล่อยเงินกู้ แทนที่จะเอาเงินมาฝากแช่เย็นเฉยๆ ที่น่าแปลกใจคือทางJens Weidmann ผู้ว่าการBundesbankของเยอรมัน และหนึ่งในเสียงของสายเหยี่ยวหลักของECBมีทีท่าที่อ่อนลงไปกับนโยบายการทำQE เขาบอกว่ามีความเป็นไปได้ที่ECBที่จะทำQE ด้วยการดูเครื่องมือทางการเงินต่างๆเช่นซื้อพนัธบัตรรัฐบาลยุโรป หรือซื้อทรัพย์สินที่มีค่าจากพวกเอกชน ก่อนหน้านี้ Weidmannแสดงความเห็นโดยตลอดว่าการซื้อสินทรัพย์ของECBจะเพิ่มความเสี่ยงของ เงินเฟ้อ และที่ทำคัญจะเป็นการไฟแนนซ์การคลังของรัฐบาลทางอ้อม ทำให้รัฐบาลไม่มีวินัยทางด้านการเงิน ในเมื่อECBซึ่งกำลังจะมีการประชุมกันอาทิตย์หน้ากำลังพิจรณาที่ทำQEแสดงว่า เศรษฐกิจยุโรปที่ออกข่าวว่ามีการฟื้นตัวเป็นระยะๆ หรือผ่านจุดที่ต่ำสุดแล้วเป็นข่าวที่เล่นกับจิตวิทยานักลงทุน เพราะว่ายุโรปกำลังเผชิญกับภาวะเงินฝืด โดยที่เงินเฟ้อสูงไม่ถึง1% และอัตราการว่างงานยังสูงและเรื้อรัง ยุโรปเจอภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตั้งแต่ปี2009 โดยได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพังของระบบการเงินWall Streetของสหรัฐฯ ถ้าECBตัดสินใจจริง จะได้เห็นแก๊งพิมพ์เงินของโลกทำงานประสานกันเหมือนวงQuartet หรือวงดนตรีที่มีผู้เล่น4คน คือมีECB, Bank of England, Bank of Japan และ US Federal Reserve ระบบการเงินโลกอยู่ในมือของธนาคารกลาง4แห่งนี้ ที่ดำเนินนโยบายประสานกัน หรือไปในทิศทางที่เอื้อกัน ๊US Federal ReserveทำQEก่อนเพื่อนหลังวิกฤติการเงินของWall Street ด้วยการพิมพ์เงินซื้อสินทรัพย์mortgage backed securities และUS Treasuries มีผลให้งบดุลจากก่อนวิกฤติที่$800,000ล้าน $4ล้านล้านกว่า ตอนนี้เฟดลดการทำQEเหลือเดือนละ $55,000ล้าน กดดอกเบี้ยที่0.25% Bank of EnglandทำQEแล้ว 375,000ล้านปอนด์ช่วงวิกฤติการเงินที่ผ่านมา และได้หยุดนิ่งๆที่ระดับนี้ โดยรักษาดอกเบี้ยเอาไว้ที่0.50% Bank of JapanทำQEมาหลายรอบแล้วหลังเสณาฐกิจฟองสบู่พังเมื่อปี1990-1991 Abenomicsสั่งให้ทำเพิ่มรอบใหม่อีก$1.4ล้านล้าน ดอกเบี้ยกดเอาไว้ที่0.10% ยังไม่มีใครทราบว่าECBจะทำQEในปริมาณเท่าใดอย่างแน่ชัด แต่มีการคาดการว่าอาจจะพิมพ์เงินเพื่อซื้อทรัพย์สินประมาณ300,000-500,000 ล้านยูโร หรือ$415,000 -$690,000ล้าน ในระยะแรก วงQuartetวงนี้ เวลาใครโซโล่ หรือสลับเล่นเดี่ยวจะสร้างความกระเพื่อมให้ระบบการเงินโลก เป็นการสร้างสงครามการเงิน พิมพ์เงินกระดาษfiat moneyที่ไม่มีหลักทรัพย์อะไรหนุน เพราะอิงกันไปอิงกันมาเหมือนปราสาทสำรับไพ่House of Cards การพิมพ์เงินในลักษณะนี้จะหยุดไม่ได้ เพราะว่ารายได้จากการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ไม่พอกับการจ่ายภาระหนี้เพราะว่าหนี้โลกโดยรวมอยู่ที่$100ล้านล้าน สูงขึ้นจาก$70ล้านล้านเพื่อปี2007 ในขณะที่จีดีพีโลกอยู่ที่$75ล้านล้าน ทำให้ระบบการเงินจบลงอย่างน่าเกลียด เมื่อQEไปต่อไม่ได้ เพราะเมื่อดอกเบี้ยขึ้น ภาระการจ่ายหนี้จะพุ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเพิ่มการทำQEไปเรื่อยๆจนค่าเงินเสื่อมค่า ทำให้เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง กลุ่มประเทศBRICSได้เตรียมการที่จะปลดแอกจากแก๊งค์พิมพ์เงินนี้ ถ้าปลดแอกไม่ได้ จะพากันลงเหวกันไปหมด thanong 28/3/2014 http://www.cnbc.com/id/101527175 Thanong Fanclub ได้แชร์ลิงก์ 20 ชั่วโมงที่แล้ว ซีรี่ส์ระบบการเงินโลก 11. วันที่10 เมษายนวันชี้ชะตาอำนาจการเงินและการเมืองโลกของสหรัฐฯ จะมีอำนาจได้ ต้องมีเงิน และเมื่อมีอำนาจแล้วต้องควบคุมได้ ถ้าไม่มีความสามารถในการควบควบ อำนาจก็ไม่มีความหมาย ในวันที่10เมษยน ที่จะถึงนี้เราจะได้เห็นว่าสหรัฐฯมีอำนาจเหนือระบบการเงินและการเมืองโลกจริงๆหรือไม่ เพราะว่าสหรัฐฯจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมกลุ่มG-20ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ต้องจับตาดูว่าการประชุมครั้งนี้จะดำเนินไปอย่างเรียบร้อยหรือไม่ เพราะว่าต้องวัดใจดูว่าสหรัฐฯและพวกแก๊งค์ยุโรปกล้าบล๊อคไม่ให้รัสเซียเข้าไปร่วมประชุมหรือไม่ เพราะว่าถ้ามีการboycottรัสเซีย รับรองเรื่องต้องยุ่งแน่ๆ และG-20ที่จะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาจจะถึงต้องล้มไปก็ได้ ประการแรก สหรัฐฯเป็นหัวหอกในการboycott การประชุมG-8ที่เมืองSochi อยู่ที่ทะเลดำ ประเทศรัสเซีย หลังจากที่ประธานาธิบดีปูตินส่งทหารเข้าไปยึดไครเมียร์และผนวกเอาดินแดนไครเมียร์เป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียไปเรียบร้อยแล้ว การล้มประชุมG-8ถือว่าเป็นการหักหน้าปูตินเป็นอันมาก และเป็นการโดดเดี่ยวรัสเซียออกจากประชาคมโลก นอกจากนี้มีมาตรการแซงชั่นกันไปมาระหว่างสหรัฐฯและรัสเซียทั้งการทูต และการเงิน G-8ประกอบด้วย สหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น และรัสเซีย ซึ่งเพิ่งจะได้รับการเชิญเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะว่าเดิมทีมีแค่G-7 ในการประชุมที่กรุงHague เรื่องนิวเคลียร์ที่ผ่านมาสดๆร้อนๆอาทิตย์นี้ มีผู้นำที่สำคัญๆมาประชุมกันเกือบทั่วโลก โอบามาเล่นเกมบี้ปูตินหนักขึ้นไปอีก ด้วยการจัดประชุมนอกรอบของผู้นำG-7 เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่ารัสเซียโดนโดดเดี่ยวแล้ว เพราะมีการกระทำการที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการรุกรานเพื่อนบ้านที่อ่อนแอกว่าคือยูเครน แล้วก็ยึดดินแดนของไครเมียไป โอบามาบอกว่าที่ปูตินยึดไครเมีย เป็นการแสดงออกของความอ่อนแอ ไม่ใช่เป็นการแสดงออกของความแข็งแรง เพราะว่ามีวิธีการอื่นๆในการดำเนินนโยบายกับยูเครนมากกว่าการใช้ดำลังทางทหาร สหรัฐฯเองก็ใช้มาตรการอื่นๆกับเพื่อนบ้านไม่ได้ใช้กำลังทางทหารทั้งๆที่ใช้ได้ พูดแบบนี้สื่อรัสเซียแขวะกลับว่า อ้าวเกิดอะไรขึ้นกับอิรัค ลิเบีย ใครยกทัพไปถล่มประเทศเขาจนย่อยยับมาถึงทุกวันนี้ การแซงชั่นรัสเซีย ทำให้มีข่าวว่าใช้บัตรเครดิตVisa, Mastercard รูดเงินไม่ได้ ทำให้รัสเซียเตรียมการสร้างระบบการชำระเงินของตัวเอง ประการที่สอง ที่เราจะต้องจับตาดูกันคือสหรัฐฯจะสามารถบล๊อคไม่ให้รมวคลัง และผู้ว่าการธนาคารของรัสเซียเข้าร่วมประชุมG-20ที่กรุงวอชิงตันได้หรือไม่ ข่าวออกมาแล้วว่าหลายๆประเทศในซีกประเทศเกิดใหม่ หรือมหาอำนาจใหม่ใน G-20 เช่นจีน อินเดีย บราซิล แอฟริกาใต้จะไม่ยอมให้เรื่องนี้เกิดขึ้น แสดงว่ากลุ่มBRICS (Brazil, Russia, India, China, South Africa) รวมตัวกันเหนี่ยวแน่น G-20ประกอบด้วย Argentina, Australia, Brazil, Canada, China, France, Germany, India, Indonesia, Italy, Japan, Republic of Korea, Mexico, Russia, Saudi Arabia, South Africa, Turkey, United Kingdom, United States, European Union. กลุ่มนี้รวมกันมีจีดีพีเทียบเท่า80%ของโลก G-20ตั้งขึ้นมาสมัยGeorge Bushหลังวิกฤติสหรัฐฯปี2008 เพราะว่าสหรัฐฯเจ้งแล้วทางการเงิน เลยต้องดึงเอาประเทศอื่นๆมาร่วมกันรับผิดชอบด้วย ตอนที่สหรัฐฯรวยคนเดียวก็ไม่ได้สนใจใคร หรือเห็นใครในสายตา G-20ถือได้ว่าเป็นพิมพ์เขียวของOne World Governmentในการดูแลระเบียบโลกปัจจุบัน และในอนาคต แต่ก็ไม่ใช่ว่าสหรัฐฯจะสามารถต้อนให้G-20เข้าคอกได้หมดทุกประเทศ เพราะว่ากลุ่มBRICSรวมตัวกันแน่น ไม่แตกแถว ดังเห็นได้จากข่าวในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า จีน อินเดีย บราซิลและแอฟริกาใต้ไม่เห็นด้วยที่สหรัฐฯจะกันไม่ให้ปูตินเข้าร่วมประชุมผู้นำสุดยอดของG-20ที่ทางออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพเดือนพฤศจิการยนปีนี้ พูดง่ายๆถ้าไม่ให้ปูตินมา พวกBRICSจะไม่มาประชุมด้วย G-20เลยอาจจะเหลือG-15 หรือน้อยกว่านั้น ถ้าตุรกีตามมาด้วย ตอนนี้ตุรกีจับปลาสองมือ เป็นสมาชิกนาโต้ แต่มีใจโน้มเอียงมาทางรัสเซียมาก ก่อนสงกรานต์บ้านเราจะได้เห็นว่าG-20จะแซงชั่นรัสเซีย หรือG-20จะโดนBRICSเตะออกจากลุ่ม ต้องคอยดูว่าใครจะแน่กว่ากัน thanong 28/3/2014 http://articles.econ...ountries-crimea http://www.zerohedge...ut-g-7-out-g-20 Thanong Fanclub ได้แชร์ลิงก์ 6 ชั่วโมงที่แล้ว ซี่รี่ส์ระบบการเงินโลก 12. G-20 จะเปลี่ยนIMFได้หรือไม่ David Morgan ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในsilver แย้มออกมาว่าให้จับตาดูการประชุมG-20ที่กรุงวอชิงตัน ในวันที่10 เมษายนนี้ ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงกับทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือIMFหรือไม่ อย่างที่ได้เขียนในตอนที่แล้ว ถ้าสหรัฐฯกีดกันไม่ให้รัสเซียเข้าร่วมประชุมG-20 ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลาง เพราะปัญหาเรื่องไครเมีย ทางสมาชิกมุ้งBRICS หรือบราซิล จีน อินเดียและแอฟริกาใต้จะไม่ยอม ยุ่งแน่ๆ อีกประการหนึ่ง ทางG-20ต้องการมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้นในการกำหนดทิศทางหรือนโยบายของIMF ต้องเข้าใจว่าIMFเป็นเด็กของสหรัฐฯ และสหรัฐฯมีอิทธิพลเหนือระบบการเงินโลกผ่านIMF, World BankและFederal Reserve ที่ผ่านมาสหรัฐฯสั่งIMFซ้ายหันขวาหันได้ ระบบการโหวตของIMFแบบโควต้าให้สิทธิ์สหรัฐฯและพวกยุโรปมาก จีนพยายามแทรกตัวเข้าไปในIMFแต่ว่ายังทำได้ไม่ถนัด ในขณะเดียวกันทางสมาชิกประเทศอื่นๆของG-20ต้องการมีเสียงมากขึ้นในIMF ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลระเบียบการเงินโลกในปัจจุบัน ต้องคอยดูว่าIMFจะยังคงมีอำนาจเหมือนเดิมหรือไม่ เพราะว่าG-20ต้องการมีอิทธิพลเหนือการกำกับการเงินโลกของIMF David Morganบอกว่านี้คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประวัติศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์การเงินโลกและการเมืองโลก ซึ่งจะเปิดประเด็นใหม่ เพราะว่าดอลล่าร์อาจจะสูญเสียตำแหน่งเงินสกุลหลักของโลก ยังไม่ชัดว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของG-20จะแผลงฤทธิ์อย่างไร David Morganบอกว่า เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่สหรัฐฯส่งออกเงินเฟ้อให้โลกผ่านเงินดอลล่าร์ที่พิมพ์ออกมามากมาย พิมพ์แค่ใหนก็ได้ ดอลล่าร์ไหลเข้าไปในตลาดต่างประเทศ เข้าไปในญี่ปุ่น จีนยุโรป หรือทั่วโลก ประเด็นคือดอลล่าร์ที่ไหลท่วมโลกนี้อาจจะถูกส่งกลับสหรัฐฯ มันเป็นคอนเซ็บง่ายๆทางเศรษฐศาสตร์ ซับพลายดอลล่าร์มีมาก สหรัฐฯยังไม่รู้สึกถึงเงินเฟ้อมาก แต่เมื่อคนถือดอลล่าร์บอกว่า ต้องออกจากดอลล่าร์แล้ว เพื่อซื้อทรัพย์สินที่จับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ อสังหาฯ ทอง เงินฯลฯ ประเทศต่างๆจะไม่ต้องการดอลล่าร์อีกต่อไป ถ้าหากว่าไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำมันเป็นดอลล่าร์อีกต่อไป เมื่อมีการทิ้งดอลล่าร์ มันจะเหมือนการบินย้ายถิ่นฐานของฝูงนก และเมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในระบบการเงินโลกแบบชั่วข้ามคืน thanong 28/3/2014 http://usawatchdog.c...e-david-morgan/
  14. นอกเรื่องทองคำ แต่มีประโยชน์มาก สำหรับคนที่เป็นหนี้กู้บ้าน โปรดอ่าน Somkiat Osotsapa ถ้าใครกู้เงินธนาคารมาผ่อนซื้อบ้าน เมื่อครบสามปี คุณมีสิทธิเดินเข้าไปขอลดดอกเบี้ยเงินกู้ ได้เช่น ตอนที่คุณกู้มาดอกเบี้ยเท่ากับดอกลูกค้าชั้นดีลบหนื่งเปอร์เซนต์ เขาอาจลดให้คุณได้ถืง ลบ สองจุดเจ็ดห้าเปอร์เซนต์ เป็นล้านบาทนะครับอย่าพลาดโอกาส ทุุกธนาคาร ให้เดินเข้าไปขอลดดอกเบี้ย เขา มีนโยบายช่วยลูกค้า ดืงดูดลูกค้าออกมาเป็นระยะ โดยไม่มีประกาศ ต้องถามครับ
  15. นอกเรื่องน้ำมัน แต่มีประโยชน์มาก สำหรับคนที่เป็นหนี้กู้บ้าน โปรดอ่าน Somkiat Osotsapa ถ้าใครกู้เงินธนาคารมาผ่อนซื้อบ้าน เมื่อครบสามปี คุณมีสิทธิเดินเข้าไปขอลดดอกเบี้ยเงินกู้ ได้เช่น ตอนที่คุณกู้มาดอกเบี้ยเท่ากับดอกลูกค้าชั้นดีลบหนื่งเปอร์เซนต์ เขาอาจลดให้คุณได้ถืง ลบ สองจุดเจ็ดห้าเปอร์เซนต์ เป็นล้านบาทนะครับอย่าพลาดโอกาส ทุุกธนาคาร ให้เดินเข้าไปขอลดดอกเบี้ย เขา มีนโยบายช่วยลูกค้า ดืงดูดลูกค้าออกมาเป็นระยะ โดยไม่มีประกาศ ตองถามครับ
  16. ผมยังไม่ได้ดูครับ ผมมีคำว่าแต่ก่อนดูครับก็เลยรอช่วงว่างดีกว่า แตช่วงสงกรานต์ซึ่่งพอมีเวลาจะเปิดฟังครับ
  17. ----ก่อนมาใช้มาตรฐานยูโร4 มาตรฐานเดิมของไทยกำหนดกำมะถันไม่เกิน350 PPM ของใหม่เมื่อมีการปรับปรุงเครื่องกลั่นให้ผลิตเข้ามาตรฐานกำหนดไม่เกิน50 PPM แต่ของมาเลเซียน้ำมันดิบ ของเขาคุณภาพดี เมื่อกลั่นโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนเครื่องกลั่นเลย ก็จะไดค่ากำมะถันที่น้อยกว่า350PPMเยอะพอควร เขาเลยไม่คิดจะเสียเงินเพิ่มเพื่อปรับปรุงโรงกลั่นให้ลดค่ากำมะถันลงไปอีก ---ปรับปรุงคุณภาพเหมือนที่ขายในประเทศคือยูโร4 แต่ไม่ได้คิดค่าปรับปรุงในการส่งออกครับ เพราะหลายประเทศกฎหมายเขาไม่กฎหนดให้ใช้น้ำมันคุณภาพระดับบยูโร4 ---ส่วนตัวผม ถ้าลดกำมะถัน แต่ราคาแพง ผมว่าดี ส่วนปัญหาฉ้อฉลต้องไปแก้ที่การตรวจสอบบังคับใช้กม. ----ผมตั้งข้อสังเกตุว่าถ้าหน่วยงานรัฐสนใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจริง ทำไมหลายเรื่องประชาชนจะตายอยู่แล้วเนื่องจากอนุญาตให้ใช้สารพิษไซยาไนด์สกัดทองคำซึ่งเป็นวิธีที่อันตรายมากและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมแต่ต้นทุนถูก แต่ก็ยังเพิ่มสัมประทานให้ผู้ขอเพิ่มอีก โรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่---ยอมรับว่าไฟ้่ฟ้าเราไม่พอใช้และจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า แต่จังหวัดน่ารักและเป็นจังหวัดท่องเที่ยวพังแน่ ผมเลยตั้งข้อสงสัยว่าห่วงใยสุขภาพประชาชนหรือมีผลประโยชน์แอบแฝงอะไรบางอย่างหรือเปล่า แค่ข้อสงสัยเท่านั้นครับไม่ได้บอกว่าจริง
  18. ---ช่วงนี้มีงานของบริษัทที่จะต้องรีบทำให้เสร็จ คงต้องหยุดโพสช่วงนึง แล้วจะมาเขียนต่อนะครับ ----ช่วงสงกรานต์ผมพอมีเวลาเยอะ จะพยายามหาข้อมูลด้านพลังงานมาให้เพื่อนๆนะครับ
  19. เวลาเรามองปัญหาเรื่องนึง ถ้ามองจากคนละมุมมอง ผลลัพธ์แตกต่างกันอย่างมาก ถ้ามองว่าทองคำเป็นcommodityตัวนึง ยังไงผมก็ไม่สนใจซื้อทองคำเก็บ แต่ถ้ามองในอีกมุมที่ว่าทองคำเป็นเงินตราอีกสกุล1 และทองคำเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้มีค่าในตัวเอง แต่เงินกระดาษมีค่าอยู่เพราะความน่าเชื่อถือ เมื่อไหร่ความน่าเชื่อถือหายไปเงินกระดาษก็คือแค่กระดาษพิมพ์น้ำหมึกเท่านั้น ตอนนี้อเมริกาพิมพ์เงินออกมาอย่างมากมาย ญี่ปุ่นก็พิมพ์เงินออกมามาก อังกฤษก็พิมพ์ ระบบเงินตราที่เราใช้อยู่ปัจจุบันจะทนได้นานแค่ไหน ผมมองจากมุมนี้ผมถึงสนใจทองคำ --ปัญหาไฟใต้ทำไมยังไม่จบ ส่วนตัวผมมองว่าปัญหาไฟใต้จบยากมาก เพราะมีเรื่องของผลประโยชน์มหาศาลจากงบประมาณที่ลงไป ของหนีภาษีตามชายแดนและอย่างอื่น ถ้าไฟใต้จบลงจะมีกลุ่มคนบางกลุ่มสูญเสียผลประโยชน์ที่เคยได้ไปมหาศาลครับ --เรื่องน้ำมัน ต้องมองผู้เกี่ยวข้องให้ครบ ขาดผู้เกี่ยวข้องไป จะมองปัญหาไม่แตกว่าทำไมถึงออกกฎบางอย่างที่แปลกๆ ผมขอใช้ทฤษฎีGame Theory มามองเรื่องพลังงานนะครับ ผู้เกี่ยวข้องมีใครบ้างและมีปัจจัยใดบ้างที่เอื้อให้ผู้มีอำนาจได้ประโยชน์(ทั้งหมดนี้ผมไม่ยืนยันว่าประเทศเราจะเป็นอย่างนี้นะ แต่ผมมองภาพให้สอดคล้องกับGAME THEORY คือเอาปัจจัยทุกด้านมามองให้หมด ถึงมองว่าเรื่องนั้นไม่น่าจะเกิดก็ตัดปัจจัยนั้นออกไปไม่ได้ 1)ผู้ลงทุนต้องการกำไรสูงสุด ถ้าต้องจ่ายใต้โต๊ะบ้างเพื่อสร้างกำไรมหาศาล เชื่อว่าเขาน่าจะทำ 2)ผู้แทนของรัฐซึ่งควรจะมีหน้าที่หลักคือดูแลผลประโยชน์ให้รัฐสูงสุด แต่ถ้าผู้แทนของรัฐสวมหมวก4ใบละ 2.1หมวกใบแรกเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ หน้าที่ต้องดูและประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก 2.2หมวกใบที่2 เป็นบอร์ดของบริษัทพลังงานและรายได้จากส่วนนี้มากกว่ารายได้จากที่รับจากรัฐมากมาย จะเอียงข้างมั้ย 2.3หมวกใบที่3รับใช้ผู้มีอำนาจที่ให้ตำแหน่งเขาและอาจดีงอำนาจเขาออกไปได้ กฎอะไรบ้างที่จะเอื้อให้ผู้มีอำนาจตัวจริงที่คุมอำนาจรัฐสูงสุดณเวลานั้น ได้ประโยชน์สูงสุด ถ่ายเทสินทรัพย์ส่วนกลางไปเป็นของส่วนตัวได้(ผมไม่ได้บอกว่ามีจริงนะครับ แต่Game Theory ต้องมองให้ครบทุกด้านถึงจะมีความเป็นไปได้น้อย) 2.4หมวกของความเป็นมนุษย์ ที่ต้องกินต้องใช้ มนุษย์ทุกคนอยากมีเงินมากมาย เพื่อซื้อบ้านหลังโตๆ สิ่งอำนาจความสะดวกทุกอย่าง อาหารแสนอร่อย แสวงหาความชอบ ในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ *****น้ำมันสำเร็จรูปส่งออก เราใช้ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์-ค่าขนส่ง-ค่าประกัน-ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง0.5%ของCIFและไม่บวกค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน *****น้ำมันสำเร็จของเราขายหน้าโรงกลั่นในประเทศ ใช้ ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสียระหว่างการขน ส่ง0.5%ของCIF+ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน น้ำมันส่งออกเราต้องตัดลดกำไรขนานนั้นทำไม ผมมองได้2ด้านครับ 1)น้ำมันในตลาดโลกแข่งขันเรื่องราคากันหนักมาก ต้องลดกำไรเยอะเพื่อแข่งขันได้ แต่ตลาดเมืองไทยไม่ต้องแข่งขันบวกกำไรสูงสุดเลย 2)ส่วนต่างระหว่างนำเข้าและส่งออก ถ้าต่างมาก ถ้าตุกติกทางเอกสารและหลักฐาน บางส่วนไม่ได้ส่งออกจริงและจำหน่ายในเมืองไทยในราคาตลาดเมืองไทย ผลประโยขน์จะเข้ากระเป๋าส่วนตัวไอ้โม่งจำนวมหาศาล 2.1)แปลกใจมั้ยว่าประเทศไทยมีเรื่องอันตรายและน่าแก้ไขมากกว่ามาตรฐานยูโร4มากมายทำไมไม่ทำ ในเอเซียตอนนี้มีกี่ประเทศกันที่ใช้มาตรฐานยูโร4 ที่ผมทราบมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ส่วนมาเลเซียยังไม่ใช้มาตรฐายยูโร4 สัมประทานทองคำของเมืองไทยทำร้ายประชาชนในพื้นที่อย่างมากมาย ร้องเรียนเท่าไหร่ก็ไม่สนใจ มีการสร้างม็อบมาชนกับผู้เดือดร้อน การใช้มาตรฐานยูโร4 สุดท้ายผู้จ่ายเพิ่มคือประชาชน มาตรฐานยูโร4จะทำให้ราคาน้ำมันที่เราใช้ในประเทศและน้ำมันที่เราส่งออกยิ่งต่างกันมากขึ้น ถ้าเรื่องน้ำมันที่ส่งออกบางส่วนไม่ได้ออกไปแต่ขายในประเทศเป็นเรื่องจริง ยิ่งราคาส่งออกกับราคาในเมืองไทยต่างกันมาก ผู้กอบโกยประโยชน์จากส่วนนี้ถ้ามีจริงจะได้กำไรอีกมาก ****น้ำมันดิบที่ส่งออก และนำเข้าก็มีหลายเกรดและหลายราคามาก นำเข้าจากใคร ส่งออกให้ใคร ส่งออกบอกว่าน้ำมันเราเกรดต่ำกว่าที่เป็นจริงนิดหน่อยก็มีผลต่างแล้ว นำเข้าก็ซื้อในราคาเกรดที่บอกแต่ของจริงเกรดต่ำกว่าที่กำหนดนิดหน่อย เงินก็ไหลออกเข้ากระเป๋าไอ้โม่งได้แล้ว
  20. นำรูปของคุณleo_attack ทีเคยลงไว้มาโพสต่อครับ(ลูกศรกดที่รูปจะได้ภาพที่ใหญ่ขึ้นครับ) จากรูปจะเห็นว่า นอกจากค่าการตลาดและต้นทุนน้ำมันที่เข้าปตท ส่วนอื่นก็ส่งเงินต่อไปยังตามชื่อของหน่วยงานที่จัดเก็บครับ ยืนยันนั่งยันได้เลยครับว่าไม่ได้เข้าปตทโดยตรง แต่เมื่อเงินไปถึงหน่วยงานรัฐแล้ว เงินจะไปเอื้อปตทตามนโยบายฉ้อฉลโดยนโยบายของรัฐหรือเปล่าค่อยว่ากัน ----จากรูปจะเห็นว่าเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันของเบนซิน95 อยู่ที่7.10บาท ค่ากลางตลาดเข้าปตท4.16บาท ----ดีเซลไม่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน(ดีเซลส่วนมากจะเก็บน้อยหรือไม่เก็บ บางครั้งกองทุนยังจ่ายเงินเข้ามานิดหน่อยเพื่อให้ราคาถูกลง) ค่าการตลาดเก็บ1.46บาท ----ตัวที่รัฐใช้เงินกองทุนอุดหนุนต่อลิตรสูงคือแก๊สโซฮอล์95 E85 ถึงลิตรละ12.50บาท แต่ตัวนี้ยอดขายน้อย ไม่ส่งผลต่อกองทุนน้ำมัน *****สรุปเลยนะครับ เงินที่เก็บเข้าและจ่ายอุดหนุนน้ำมันของกองทุนน้ำมัน ถ้าใช้ดูแลเฉพาะน้ำมันตามภาพที่เห็น ต่อปีจะมีเงินเหลืออยู่ในกองทุนในระดับหมื่นล้านครับ แต่ปัจจุบันนี้กองทุนน้ำมันติดลบหลายพันล้าน เงินหายไหน รัฐนำไปอุดหนุนใครบ้าง เงินที่นำไปอุดหนุนประชาชนของประเทศได้ประโยชน์หรือเอกชนบางกลุ่มได้ประโยชน์มหาศาล ต้องตามอ่านต่อครับ
  21. ปัจจุบันประเทศเราเรามีการปรับมาใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ดูรายละเอียดของน้ำมันยูโร4 ที่นี่ครับ http://aqnis.pcd.go.th/node/2084 ---จากข้อมูลที่เห็นตัวสำคัญจริงๆที่ต้องการลดคือการลดปริมาณกำมะถันลง จากมาตรฐานเดิมที่350เป็นไม่เกิน50PPMซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชน ---ไทยออยล์เคยให้ข่าวว่า ต้นทุนการผลิตยูโร 4 มีต้นทุนที่สูง เนื่องจากต้องใช้แรงดันสูงเพื่อลดกำมะถัน โดยในส่วนของไทยออยล์มีการลงทุนปรับปรุงโรงกลั่นประมาณ 1,300 ล้านบาท และจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อลดกำมะถันในอัตรา 800-1,000 ล้านบาทต่อปี จะทำให้ต้นทุนการจำหน่ายน้ำมันในประเทศ เพิ่มขึ้นตามไปด้วยและมีผลต่อราคาต่อประชาชน http://www.manager.c...D=9540000129009 ---การปรับมาใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 4 น่าจะทำให้ต้นทุนน้ำมันเพิ่มอีกประมาณ0.5-1บาท ซึ่งต้นทุนส่วนนี้ประชาชนต้องเป็นผู้จ่าย ---แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากเรา เขายังใช้มาตรฐานน้ำมันต่ำกว่ายูโร4 อีกอย่างน้ำมันดิบของมาเลเซียส่วนมากเป็นน้ำมันที่มีค่ากำมะถันค่อนข้างต่ำ เมื่อกลั่นแล้วจะได้น้ำมันที่มีกำมะถันค่อนข้างต่ำ สุดยอดของการแข่งขันคือขายได้แต่กำไรน้อยดีกว่าขายไม่ได้เลย ---น้ำมันสำเร็จรูปเกรดยูโร4ของเรา เมื่อขายไปประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่คิดราคาค่าปรับปรุงคุณภาพสำหรับการส่งออก *****น้ำมันสำเร็จรูปส่งออกเรา ใช้ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์-ค่าขนส่ง-ค่าประกัน-ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง0.5%ของCIFและไม่บวกค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน *****น้ำมันสำเร็จของเราขายหน้าโรงกลั่นในประเทศ ใช้ ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสียระหว่างการขน ส่ง0.5%ของCIF+ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ---เคยมีผู้ที่เป็นรู้จักกันดีของกลุ่มมวลชนท่านนึงพูดว่า ถ้าให้ซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นนอกประเทศ มาขายในประเทศไทยได้ โดยโครงสร้างภาษีเดียวกัน เขาสามารถขายน้ำมันได้ถูกกว่าเพื่อน อันนี้เป็นไปได้ครับ ผมไม่แน่ใจว่ามีโรงกลั่นประเทศใกล้เราประเทศไหนขายน้ำมันยูโร4ในราคาขายเท่าเรามั้ย แต่ถ้าเปลี่ยนคำพูดนิดหน่อยว่าถ้าอนุญาตให้เขา ซื้อน้ำมันจากนอกประเทศ มาขายในประเทศไทยได้ โดยโครงสร้างภาษีเดียวกัน เขาสามารถขายน้ำมันได้ถูกกว่าเพื่อน อันนี้ชัวร์เลยครับกำไรแน่ๆ ดักซื้อน้ำมันที่เราส่งไปขายที่เขมรหรือพม่าบริเวณชายแดนแบบไม่ต้องถ่ายน้ำมันออก ยังไงรถก็ต้องกลับไทยอยู่แล้ว เขมรและพม่าไม่ต้องทำอะไรเลย กินหัวคิวแค่ลิตรละ10-20สตางค์ก็พอ น้ำมันส่วนนี้จะมีต้นทุนที่ถูกกว่าน้ำมันที่ขายหน้าโรงกลั่นเมืองไทยหลายบาทครับ ----นอกจากบอกว่าถ้าซื้อจากนอกประเทศมาขายจะได้กำไรมากมาย อาจสื่อนัยอื่นแฝงก็ได้ครับ อาจสื่อว่าผู้มีอำนาจก็อาจตุกติกโดยทำเอกสารเท็จว่ามีการส่งออก แต่มีน้ำมันสัก10-30%ไม่ออกไปจริงและขายในเมืองไทยในราคาปกติ กินกำไรจากผลต่างมหาศาลก็อาจเป็นไปได้ครับ
  22. ถ้าไม่ปูพื้นก่อนแล้วพูดที่เกี่ยวกับ ปตท ก็คงสับสนแบบที่เป็นกันอยู่ครับ ถึงผมจะยังรู้น้อยแต่ก็น่าจะช่วยได้บ้าง และที่สำคัญนอกจากปตทแล้ว ต้องดูว่ารั่วไหลจากปตทเยอะมากมั้ย ใครใช้ปตทหาผลประโยชน์และใช้ในการเอื้อประโยชน์ให้บริวาร เงินที่ผ่านมือปตทมากกว่างบประมาณของทั้งประเทศอีก เงินผ่านมือปตทประมาณ30%GDPทั้งประเทศ ปตทเป็นบริษัทผูกขาดแต่ทำไมใช้งบสำหรับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์บริษัทมากเป็นอันดับ2 ของประเทศ ทำไมคำตัดสินของอัยการสูงสุดของเรา ที่ผ่านมาส่วนมากสร้างความผิดหวังให้ประชาชน อัยการสูงสุดเกือบทุกท่านเป็นบอร์ดที่ไหนบ้าง และเมื่อได้เป็นบอร์ดแล้วได้เงินตอบแทนมากกว่าเงินเดือนที่รับอยู่กี่เท่า ประธานบอร์ดปตทคนปัจจุบันก็มาจากพรรคการเมือง นายตำรวจที่ใช้กำลังสลายประชาชนก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นบอร์ดปตทแต่ต้านแรงต้านไม่ไหวประกาศไม่รับตำแหน่ง เหตุที่ผมเชื่อว่าชินและAIS ยังเป็นของเจ้าของเดิม เพราะคนของคนชินและAIS หลายท่านมาเป็นบอร์ดของปตทและบริษัทในเครือ แม้แต่คนของแสนสิริยังมาเป็นบอร์ดเลย ถ้าเป็นของสิงคโปร์ไปแล้ว เราจะเอาคนของสิงคโปร์มาเป็นบอร์ดทำไม ทำไมถึงวันนี้สิงคโปร์ยังใช้ทีมบริหารชุดเดิมๆเป็นหลัก
  23. ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของประเทศไทยต้องอ้างอิงตามราคาตลาดกลางฯของสิงคโปร์และ+อย่างอื่นเข้าไปอีก ---ส่วนตัวผมยอมรับราคากลางของน้ำมันสำเร็จรูปหน้าตลาดสิงคโปร์ได้บ้าง +บวกอย่างอื่นเข้าไปตรงนี้ต้องมากระเทาะเปลือกกันก่อนครับ และถ้าราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่เราส่งออกไปแข่งในตลาดโลก เราจำหน่ายที่ราคาถูกกว่าราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ เราจะยอมรับกันได้มั้ย(ทำให้ผมบอกว่าผมยอมรับราคากลางของน้ำมันสำเร็จรูปหน้าตลาดสิงคโปร์ได้บ้าง ---มีสินค้า1ตัวที่เรามีความต้องการใช้มาก สินค้าตัวนี้มีราคาประมาณ20บาท แต่ต้องนำเข้าจากสิงคโปร์ทำให้ราคาต้นทุนขยับเป็น22บาท(แพงขึ้น10% ราคาที่เพิ่ม10%เป็นตัวเลขตั้งมาเพื่อประกอบการเข้าใจนะครับ ) วัตถุดิบในการผลิตสินค้าตัวนั้นจริงๆก็สามารถปลูกในไทยได้แต่ยังไม่มีใครปลูกเพราะยังไม่มีบริษัทรับซื้อ สุดท้ายบริษัทAก็ตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้าตัวนั้นขึ้นมาเอง แต่เนื่องจากเงินลงทุนสูงมากๆ บริษัทจึงยื่นเรื่องต่อรัฐว่า ขอรับสิทธิผูกขาดในการผลิตสินค้าตัวนี้แต่เพียงผู้เดียวไปตลอดแบบคนอื่นมาผลิตแข่งไม่่ได้ ส่วนราคาที่จะขายนั้นขอสิทธที่จะขายในราคา20 +ค่าขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง0.5%ของCIFตามราคานำเข้าเดิมตลอด สินค้าที่จะผลิตในอนาคตไม่ว่าวัตถุดิบนั้นจะมีการปลูกในไทยบางส่วนซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ก็ขอตั้งราคาเหมือนการนำเข้าหมดทั้ง ยังไงการปลูกในไทยก็ไม่พออยู่ดีต้องนำเข้ามากกว่าเยอะ ---รัฐควรจะอนุญาตเงื่อนไขแบบนี้ตลอดชีพมั้ย หรืออนุญาตเงื่อนไขนี้ช่วงเวลา1เท่านั้นเพื่อให้โรงงานคืนทุนเร็วขึ้นและเป็นแรงจูงใจให้มีการสร้างโรงงาน เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ให้คิดต้นทุนตามต้นทุนจริงส่วนไหนไม่มีการนำเข้าก็ห้ามคิดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า อย่าลืมนะครับสิทธิผูกขาดแต่ผู้เดียวจะไม่มีการแข่งขัน ประชาชนจะเป็นผู้เสียเปรียบ ---เมื่อสินค้าA ผลิตไปถึงจุด1 ยอดการผลิตเริ่มมากกว่าการใช้เองในประเทศ ราคาที่ขายในประเทศจะแพงกว่าราคาจำหน่ายในต่างประเทศเพราะได้สิทธิผูกขาดแต่ผู้เดียว แต่การขายไปต่างประเทศถ้าไม่ลดราคามาแข่งขันก็จะขายไม่ได้ ราคาขายในประเทศเป็นราคาหน้าโรงงานสิงคโปร์+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง0.5%ของCIF ---ถ้าจะแข่งกับตลาดโลก ต้องถูกกว่าเพราะต้องแข่งกับหลายประเทศ ปัจจุบันหลายประเทศก็ผลิตได้แล้วไม่ใช่สิงคโปร์ผลิตได้เจ้าเดียวเหมือนก่อน ถ้าจะขายสินค้าสำเร็จรูปราคาหน้าโรงงานสิงคโปร์-ค่าขนส่ง-ค่าประกัน-ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง0.5%ของCIF(รัฐอนุญาตให้ส่งออกในราคานี้ซึ่งต่ำกว่าราคาขายในประเทศได้) บริษัทก็ยังมีกำไร ในเมื่อตลาดนอกต้องแข่งขัน ถึงกำไรน้อยแต่มีกำไรก็สู้ด้วยราคาที่ถูกลง ---น้ำมันของเราเข้าข่ายสินค้าAเลยครับ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ---ประเทศไทยต้องกินข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้าประเทศไทยต้องนำเข้าข้าวทั้ง100%จากสิงคโปร์ที่ราคากิโลกรัมละ40บาท(ราคาจำหน่ายสิงค์โปร์บวกค่าใช้จ่ายนำเข้าทุกอย่าง) สุดท้ายมีคนยื่นเรื่องว่าขอสิทธิปลูกข้าวแต่เพียงผู้เดียวและขอจำหน่ายข้าวที่ปลูกในราคาเท่าการนำเข้า โดยให้เหตุผลว่าถ้าไม่มีการปลูกข้าวในเมืองไทยเลย เวลาเกิดเหตุการณ์บางอย่างประเทศเราจะไม่มีข้าวกินกันเลยนะ ถ้าเขาได้สิทธิแต่ผู้เดียวและไม่ต้องแข่งกับใคร เขาก็จะขายเท่าราคานำเข้าหรือถูกกว่านำเข้านิดหน่อยพอ แต่ถ้าปล่อยให้มีผู้ปลูกมากเจ้าแข่งขันกันปลูกได้ สุดท้ายราคาที่ขายในเมืองไทยก็จะมาใกล้ราคาที่จำหน่ายในสิงคโปร์แบบไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำเข้า หรือถ้าเเข่งกันมากอาจขายที่ราคาถูกกว่าราคาที่จำหน่ายในสิงคโปร์ก็ได้ เพราะตลาดมีการแข่งขัน แต่ถ้าตลาดผูกขาดเจ้าเดียวละ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เรามีการปรับมาใช้มาตรฐานยูโร 4 น่าจะปี2555 ส่งผลต้อง+ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมันอีกเข้าไปอีก(แต่ส่งออกเราไม่บวกส่วนนี้ครับ) ส่งผลกระทบอะไรบ้าง ก่อนจะพูดส่วนนี้เรามารู้จักน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 กันก่อนครับ http://aqnis.pcd.go.th/node/2084
×
×
  • สร้างใหม่...