ส้มโอมือ
Patriarch-
Content Count
5,036 -
Joined
-
Last visited
-
Days Won
15
Content Type
Profiles
Forums
บทความเทคนิค
Calendar
Blogs
Gallery
Downloads
Everything posted by ส้มโอมือ
-
ขอบคุณครับ
-
ขอบคุณครับ
-
ขอบคุณครับ คุณccczaa
-
ขอบคุณครับ แต่ข้อมลใหม่ดูเหมือนว่าจะต่างจากเดิมครับ ข้อมูลวันนี้จะเป็นแบบสูงกว่ากราฟครับ
-
สรุปการขึ้นของโลหะเงินในครั้งแรกนั้น ไม่ได้ขึ้นเพราะเป็นโลหะเงิน แต่ขึ้นที่มีมหาเศรษฐีใหญ่มาปั่นครับ
-
การลงทุนครั้งที่ขาดทุนมากที่สุดในชีวิตของผม ---การลงทุนครั้งที่ขาดทุนมากที่สุดของผมคือการลงทุนในโลหะเงิน ช่วงที่ผมกำลังลงทุนทองคำแบบมีกำไรสะสมมาเรื่อยๆนั้น ----เริ่มมีการพูดถึงโลหะเงิน ราคาโลหะเงินเริ่มออกตัวเเรง พุ่งไว พุ่งแรง ----มีคนเอาข้อมูลโลหะเงินมาเผยแพร่ อ่านแล้วตื่นตาตื่นใจกว่าทองมากมาย ----ทองมีช่วงราคาพุ่งแรงแบบทุกคนต้องอิจฉาอยู่2ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ40กว่าปีก่อนทองไปถึง850เหรียญก่อนทองโดนทุบหนัก(โลหะเงินไปถึง50 เหรียญ) -----ตอนทึ่ผมเริ่มศึกษาเรื่องโลหะเงิน โลหะเงินอยู่ที่32เหรียญ(รอบนี้ไปถึงประมาณ49แล้วก็โดนฆ้อนปอนด์หลายอันช่วยกันทุบ ในเวลาไม่กี่วันออกกฏเพิ่มเงินสำรองสำหรับการซื้อขายโลหะเงินหลายรอบมาก ราคาโลหะเงินย่อยยับมาถึงวันนี้) แต่ทองข้ามเส้น850เหรียญไปไกลมาก น่าจะอยู่ประมาณ1500เหรียญ ความโลภเริ่มเกิดทันที -----มีคนเคยบอกว่าจะลงทุนในหุ้นตัวไหน ต้องตอบทุกย่างเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นได้เกิน90%(จำตัวเลขไม่ได้ น่าจะประมาณนี้) -----ผมหาข้อมูลมาเก็บไว้เยอะมาก ทุกอย่างไปทิศเดียวกัน(ข้อมูลอาจมาจากจุดเดียวกันแล้วกระจายไป หลายทิศหลายทาง ผมค้นหลายทางก็ได้ข้อมูลเดียวกัน) พูดกันว่าโลหะเงินที่ขายกันตอนนี้ ราคาถูกกว่าต้นทุนมากมาย เจอผู้รู้ที่เก่งเรื่องทองคำก็จะสอบถามถึงโลหะเงินได้คำตอบว่า ตัวนี้น่าสนใจและมีอนาคต คนที่เก่งTAก็บอกว่าจากกราฟราคาไปสวยมากๆ ----คำถามสำคัญสุดคือทำไมโลหะเงินถึงยังไม่ขึ้น ----คำตอบจากทุกทิศเหมือนกันเลย ศัตรูของทองคำและโลหะเงินคือดอลลลาร์และอเมริกา พวกเขากดโลหะเงิน ----ในตลาดซื้อขายตราสารอนุพันธ์ล่วงหน้า สัญญาแทงว่าโลหะเงินจะลงมีจำนวนมหาศาล คน จำนวนมากพูดว่าถ้าถึงวันหมดสัญญา แล้วลูกค้าฝั่งซื้อเลือกรับเป็นของจริงกันเยอะมากๆ พังๆแน่ ราคาโลหะเงินจะขึ้นแรง ----คนที่ซื้อสัญญาว่าโลหะเงินจะลง ส่วนมากคือพวกธนาคาร(ลูกน้องอเมริกาแบะดอลลาร์) คนที่ซื้อสัญญาว่าโลหะเงินจะลงมากสุดและก้อนมหาศาลมากคือ เลย์แมนบาร์เธอร์ ----ช่วงที่เลย์แมนล้ม มีธนาคาร มารับช่วงสัญญาโลหะไป มีบางคนบอกว่าถ้าหาคนมารับช่วงไม่ได้ ราคาจะทะยานขึ้นเป็น100% ในช่วงเวลาแค่ข้ามคืน ------------------------------------- ความจริงที่ผมมาเจอทีหลังและไม่มีคนพูดถึง 1)40กว่าปีก่อนที่โลหะเงินขึ้นไปแรงนั้น ไม่ใช่การขึ้นโดยธรรมชาติเหมือนทอง มีคนปั่นราคาเงิน ----ทอง มีกฏหมายห้ามการปั่นทอง แต่ทองก็ยังขึ้นไปถึง850เหรียญ ----พี่น้องตระกูลฮันซ์ซึ่งรวยมากๆ อยากปั่นราคาทองแต่ผิดกฎหมาย แต่ไม่มีกฎหมายห้ามปั่นราคาโลหะเงิน 2คนพี่น้องเลยปั่นราคาโลหะเงินอย่างหนัก .สร้างกำไรมหาศาล แต่สุดท้าย2พี่น้องก็พ่ายแพ้แบบหมดเนื้อหมดตัว)
-
เทคนิคช่วยนี้ เหมาะมากกับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา
-
ประธานรอธส์ไชลด์อินเวสต์เมนท์เตือนนโยบายQEกำลังถูกทดสอบครั้งใหญ่
-
ที่เคยฟังมา ฝ่ายที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบอกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินถูกสุด ถ้าข้อมูลข่าวนี้จริงและดำเนินการได้จริง ถ้าแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันยังต้องใช้โลหะเงินเหมือนที่ผ่านมา ราคาโลหะเงินจะไปที่ราคาไหน เมื่อดูไบและเยอรมนีประมูลไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มได้ราคาต่ำกว่าผลิตจากถ่านหิน โดย ประสาท มีแต้ม 3 กรกฎาคม 2559 14:56 น. ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแหละครับว่า โลกเรานี้เปลี่ยนเร็วมากจริงๆ แม้ตัวผมเองซึ่งได้ติดตามนโยบายพลังงานหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศเยอรมนี ยังได้ตกข่าวนี้เลยครับ โชคดีที่มีเพื่อนคนหนึ่งในเฟซบุ๊กได้โพสต์ขึ้นมา ผมจึงค้นคว้าเพิ่มเติมและขอนำมาเล่าสู่กันฟังพร้อมเอกสารอ้างอิง ที่ว่าโลกเราเปลี่ยนเร็วมากก็เพราะว่า รัฐบาลประเทศเยอรมนีซึ่งได้สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจังมาตั้งแต่ ปี 2543 โดยวิธีการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มในราคากลางปี 2558 ที่อัตรา 3.40 บาทต่อหน่วยโดยไม่จำกัดจำนวน (ในขณะที่ประเทศไทยเรารับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มในราคา 5.66 บาทและจำกัดอยู่กับบางบริษัท ในราคานี้มาตั้งแต่ปี 2557และไม่ยอมรับซื้อจากหลังคาบ้านของอยู่อาศัย) มาวันนี้ประเทศเยอรมนีได้ปรับมาเป็นการประมูลแล้ว นับถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ได้ประมูลมา 4 ครั้งแล้ว (ดังแผ่นภาพ) ผู้ชนะการประมูลในครั้งที่ 4 ขนาด 128 เมกะวัตต์ได้เสนอราคาต่ำสุดเฉลี่ยที่ 2.90 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ที่ว่าผมตกข่าวก็ตรงเรื่องการประมูลนี้แหละครับ และเป็นการประมูลครั้งที่ 4 แล้ว ในขณะที่เพื่อนผมได้โพสต์การประมูลครั้งที่ 3 เอกสารที่ผมนำมาอ้างถึงเป็นขององค์กรระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยมีหน่วยงานย่อยที่ชื่อ “องค์การพลังงานสากล (IEA)” ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2517 ซึ่งเป็นปีที่ราคาน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศโอเปกได้ขึ้นราคาไป 3-4 เท่าตัวในเวลาปีเดียว ไม่เพียงแต่ประเทศเยอรมนีประเทศเดียวที่ใช้วิธีการประมูล แต่มีหลายประเทศครับ เช่น กรีซ อินเดีย อาร์เจนตินา และออสเตรเลีย เป็นต้น ในแผ่นภาพนี้ เมืองดูไบก็ใช้วิธีการประมูลขนาด 800 เมกะวัตต์ ผู้ชนะการประมูลเสนอราคา 1.05 บาทต่อหน่วยซึ่งถือว่าเป็นราคาต่ำที่สุดในโลก ผู้เสนอราคาสูงสุดในการประมูลครั้งนี้เท่ากับ 1.58 บาทต่อหน่วยซึ่งก็แพ้ไปตามระเบียบ (IEA อ้างข้อมูลจาก PV Magazine 2 พ.ค. 2559) เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มีเวลาครุ่นคิด ท่านลองเอาใบเสร็จค่าไฟฟ้ามาดูซิครับว่า ท่านได้จ่ายค่าไฟฟ้าอยู่ในราคาเท่าใด และเพื่อให้เราได้เห็นแนวโน้มของราคา ผมขอย้อนไปดูราคาผู้ชนะการประมูลของประเทศเยอรมนี 3 ครั้งที่ผ่านมา การประมูลครั้งที่ 3 เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2558 ขนาด 200 เมกะวัตต์ ผู้ชนะการประมูลเสนอขายไฟฟ้าราคา 3.03 บาทต่อหน่วย สูงกว่าครั้งที่ 4 ถึง 13 สตางค์ต่อหน่วย โดยมีผู้เข้าประมูล 170 บริษัท สำหรับครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม มีผู้เข้าประมูล 136 ราย ผู้ชนะการประมูลเสนอราคาขายไฟฟ้า 2.98 บาทต่อหน่วย (ต่ำกว่าครั้งที่ 3) ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมราคาในเมืองดูไบ (เมืองใหญ่ที่สุดของ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตะวันออกกลาง) กับราคาในประเทศเยอรมนีจึงได้แตกต่างกันมากนัก คือเกือบ 3 เท่าตัว คำตอบที่สำคัญก็คือ พลังงานแสงแดดต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตรของสองประเทศต่างกันมาก กล่าวคือในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศเยอรมนีผลิตได้ 850 หน่วยต่อหนึ่งกิโลวัตต์ (ใช้พื้นที่ประมาณ 7 ตารางเมตร) เมืองดูไบสามารถผลิตได้ถึงประมาณ 2,500 หน่วยโดยใช้พื้นที่เท่ากัน (ดังแผนที่ประกอบ) คราวนี้เราลองมาพิจารณากรณีของประเทศไทยกันบ้าง สมมติว่าต้นทุนในการผลิตต่อโครงการของประเทศไทยกับของเมืองดูไบเท่ากัน (สมมตินะครับสมมติ) โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ก็พบว่า ผู้ชนะการประมูลในเมืองดูไบน่าจะเสนอราคาในประเทศไทยได้ที่ 1.75 บาทต่อหน่วย เนื่องจากพลังแสงแดดในประเทศไทยต่ำกว่าเมืองดูไบค่อนข้างมาก ผมเชื่อว่าข้อมูลที่ผมได้นำเสนอมานี้ คงจะช็อกความรู้สึกของใครหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ถ้ามองกันในแง่ดีๆ ก็เพราะว่าคนเหล่านั้นตามโลกไม่ทันนั่นเอง มัวแต่ยุ่งอยู่กับการบริหารงานเอกสารจนหมดเวลา อ้อ ผมลืมบอกไปนิดหนึ่งว่า การประมูลของประเทศเยอรมนีที่ผ่านมา ผู้ประมูลได้จะต้องผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบภายในปี 2561 ครับ (ถ้าจำไม่ผิด) โดยต้องมีการวางเงินมัดจำเรียบร้อย ระหว่างที่ผมเขียนบทความนี้ เพื่อนคนเดิมได้ส่งข้อความมาถึงผมเป็นการส่วนตัวว่า “บางบริษัทที่ชนะการประมูลไปแล้ว ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้น รัฐบาลเยอรมนีจึงต้องมีความระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย” อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมได้ติดตามพบว่า ประเทศเยอรมนีกำลังศึกษาวิธีการและมาตรการดังกล่าวอยู่ ซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นการทดลอง ก็อย่างที่ว่าแหละครับ การประมูลมันเป็นของใหม่ของประเทศเขาเหมือนกัน ผมเองก็ใช่ว่าจะเชื่ออะไรง่ายๆ แต่ผมมีข้อมูลให้ตรวจสอบได้ทั้งจากเอกสาร และจากการสอบถามจากผู้ที่ได้ติดตั้งแล้ว ผมลองคิดให้ต่ำๆ หน่อย คือ สมมติว่าติดตั้งในประเทศไทยขนาด 10 กิโลวัตต์ ลงทุนทั้งหมด 6 แสนบาท (ความจริงไม่ควรเกิน 5 แสนบาท) ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 13,500 หน่วย ในช่วงเวลา 20 ปี (แทนที่จะเป็น15,000 หน่วย และนาน 25 ปีตามที่อ้างกัน) รวมทั้งโครงการสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 270,000 หน่วย ดังนั้น ต้นทุนเฉลี่ยตลอดโครงการ 2.22 บาทต่อหน่วยเท่านั้น ถ้านำเงินลงทุน 2.22 บาทไปฝากธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้น 2.0% ต่อปี เมื่อครบ 20 ปี ก็จะได้เงินรวม 3.30 บาท ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายในปีนี้เสียอีก สิ่งที่ผมพยายามจะบอกก็คือ การติดโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองให้ผลตอบแทนสูงกว่านำเงินไปฝากธนาคาร หรือเปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคาร คราวนี้มาดูราคารับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กันบ้าง จากข้อมูลล่าสุด ทาง กฟผ.รับซื้อจากเอกชนที่ผลิตจากถ่านหินในราคา 2.69 บาทต่อหน่วย (ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นกว่านี้อีกในอนาคต) และรับซื้อจากโซลาร์ฟาร์ม (แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่) ที่ 5.66 บาทต่อหน่วยจนถึง 6.85 บาทต่อหน่วย (สำหรับผู้ผลิตจากหลังคา) ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 3 โรง ซึ่งจะเข้าสู่ระบบในปี 2562, 2565 และ 2567 รวม 3 พันเมกะวัตต์ ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประการที่นำมาอ้าง คือ (1) ต้นทุนราคาไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมีราคาถูก แต่ผมมีหลักฐานมาจากทั่วโลกแล้วว่าไม่เป็นความจริงเลย นอกจากนี้ ประเทศไทยเราไม่มีถ่านหิน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (2) เป็นโรงไฟฟ้าหลัก หรือ Base Load ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงใน 7 วันได้ ในเรื่องนี้ ผมเองในฐานะนักคณิตศาสตร์ ไม่มีความรู้ทางวิศวกรรม ผมก็เชื่อตามที่เขาอ้างมาตลอด มาวันนี้ ผมมีเอกสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลก ทั้งการปฏิบัติจริงของบางรัฐในบางประเทศ ทั้งจากการใช้คอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์(Computer Simulation) รวมทั้งจากการฟังคำบรรยายผู้เชี่ยวจากประเทศเดนมาร์กเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าไม่เป็นความจริงอีกเช่นกันครับ แนวคิดที่ต้องมี Base Load เป็นกระบวนทรรศน์เก่า ยังเป็นกระบวนทรรศน์ในยุค “เครื่องจักรไอน้ำ” ที่ใช้หลักการของ “ฟิสิกส์แบบดั้งเดิม” เมื่อ 200 ปีก่อนทำให้พลังงานร้อยละ 65% ของพลังงานที่ป้อนเข้าไปกลายเป็นความร้อน ได้ไฟฟ้าเพียง 35% เท่านั้น แม้จะมีการปรับปรุงไปบ้าง แต่ก็ถือเป็นยุคเก่าเหมือนเดิม มาวันนี้ เป็นยุค “ธุรกิจไฮเทค (Silicon Valley)” ซึ่งเป็นยุคของ “ฟิสิกส์แบบควอนตัม” ที่อิเล็กตรอนนับล้านๆ ตัวทำงานแทนเกียร์และลูกสูบได้อย่างรวดเร็วมากๆ ได้พลังงานจากแสงอาทิตย์โดยไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องใช้ไอน้ำ ไม่ปล่อยอากาศเสีย รวมทั้งไม่ปล่อยน้ำเสีย ในขณะที่เกิดการสูญเสียพลังงานประมาณ 9% เท่านั้น “ฟิสิกส์แบบควอนตัม” นี่แหละครับที่ทำให้เรามีโทรศัพท์มือถือใช้ในราคาถูกและประสิทธิภาพสูงมาก จนแยกไม่ออกว่าเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือกล้องถ่ายรูป ฯลฯ ในยุคไฮเทคที่ทำให้พลังงานหมุนเวียนที่เคยถูกละเลย ได้เพิ่มบทบาทมากขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก มากกว่าพลังงานฟอสซิลเสียอีกแนวคิดเรื่อง Base Load จึงเป็นแนวคิดที่ล้าหลัง ตกยุค แต่วันนี้ผมยังไม่ขอลงในรายละเอียดนะครับ สรุป เมื่อประมาณ 15 ปีก่อน ตอนนั้นผมยังทำงานราชการเต็มเวลากินเงินเดือนประชาชน ชาวบ้านคนหนึ่งได้บอกกับผมว่า “อาจารย์อย่าเอาแต่นอน ช่วยหาความรู้มาให้พวกฉัน แล้วพวกฉันจะคิดเอง” มาถึงวันนี้ ผมเกษียณราชการแล้ว กินเงินเดือนบำนาญ แม้การเขียนบทความจะไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ แต่ผมยังรู้สึกเป็นหนี้สังคมไทยยังจำคำเตือนที่มีค่าของชาวบ้านได้ดี ผมจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ของผมเพื่อค้นหาความรู้มาบอกเล่าให้กับสังคมไทยอย่าง ต่อเนื่องและยาวนาน ถ้าเรื่องที่ผมได้นำเสนอมาแล้วยังยากต่อการทำความเข้าใจ กรุณาเปรียบเทียบกับเรื่องที่ง่ายกว่านี้ คือราคาเอทานอล ในขณะที่ราคาในสหรัฐอเมริกาและบราซิลประมาณ 11 ถึง 14 บาทต่อลิตร แต่ราคาที่คนไทยต้องจ่าย (ซึ่งผลิตในประเทศไทย) สูงถึง 23 บาทต่อลิตร (ดูภาพประกอบ) ทำไมมันจึงเป็นเช่นนี้ ขอท่านผู้อ่านโปรดพิจารณา หรือ “คิดเอง” ว่าปัญหาด้านพลังงานซึ่งมีมูลค่าถึง 18-19% ของจีดีพีประเทศไทยเราเป็นอย่างไร และจะมีทางออกอย่างไร ถ้าเห็นด้วยก็กรุณาช่วยกันเผยแพร่ และกรุณาร่วมกันครุ่นคิดเพื่อหาทางออกให้ลูกหลานครับ
-
วันที่30/06/16ผมโพสsilver ช่วงนี้ราคาดูน่าสนใจ ณเวลาที่ผมโพสราคาsilver อยู่ที่18.36 ตอนนี้19.76เหรียญ/ออนซ์ นำข้อมูลการใช้SILVERใน โซลาร์เซลล์ มาฝากเพื่อนๆครับ --solar panel 1 ชิ้นจะใช้โลหะเงินประมาณ 15 - 20 grams ---ใน การผลิตไฟฟ้า 1 gigawatt หรือ 1 ล้าน กิโลวัตต์ ต้องใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน (1) 1 gigawattมากน้อยแค่ไหน ประเทศไทยช่วงที่พีคสุดทั้งประเทศใช้ไฟประมาณ30 gigawatt ---ค่าไฟ โรงไฟฟ้าคิดเป็น หน่วยไฟฟ้า ซึ่ง 1 หน่วย เท่ากับ 1 kWh (1000 วัตต์ ต่อ ชั่วโมง) หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ 1000 วัตต์ใช้ 1 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วย ---เครื่อง ปรับอากาศตามบ้าน จะกินไฟราว 1000-2000 วัตต์ แล้วแต่จำนวนความเย็นที่จะทำได้ หน่วยความเย็นเป็น btu (ยิ่งมาก ก็เย็นเร็ว) หากมากก็กินไฟมากตาม ค่ากระแสไฟฟ้าที่ โรงไฟฟ้าคิด (อัตตราค่าไฟ เปลี่ยนแปลงตามจำนวนการใช้ด้วย) โดยจะอยู่ ประมาณ 2.50-4.00 บาท ต่อหน่วย ---จากรายงานเรื่อง “Revolution Now” โดย กรมพลังงาน สหรัฐอเมริกา (กันยายน 2556) ได้รายงานว่า “ในปี 2555 ต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ลดลงเหลือเพียง 1% ของเมื่อ 35 ปีก่อน และนับจากปี 2551 ได้มีผู้ติดแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่าตัว คือจาก 735 เมกะวัตต์ เป็น7,200 เมกะวัตต์และในช่วงเวลาเดียวกันต้นทุนแผงได้ลดลงจาก $3.40 ต่อวัตต์ เป็น $0.80 ต่อวัตต์” ----จากการศึกษาของสถาบันเพื่อการพึ่งตนเองของท้อง ถิ่น (Institute for Local Self-Reliance, www.ilsr.org) พบว่า ภายในปี 2021 จำนวนประชากรอเมริกันประมาณ 100 ล้านคนจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากหลังคาบ้านตนเองในราคาที่ถูกกว่าราคาที่ต้องซื้อ จากบริษัทผลิตไฟฟ้า เป็นจำนวนประมาณ 6 หมื่นเมกะวัตต์(2) 6 หมื่นเมกะวัตต์ - 7,200 เมกะวัตต์ = 5.28หมื่นเมกะวัตต์ 1 gigawatt (1 * 109วัตต์) ใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน 5.28หมื่นเมกะวัตต์(52.8 * 109วัตต์)ใช้โลหะเงิน 4,224ตัน(ช่วงนี้ทั้งโลกผลิตโลหะเงินใหม่ได้ประมาณ3หมื่นตันต่อปี) ----ในต้นปี 2557 การใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ต่อกับระบบสายส่งในอินเดียได้เพิ่มขึ้นเป็น2,028 เมกกะวัตต์ จาก 17.8 เมกะวัตต์เมื่อ 4 ปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น 124 เท่าตัว(3) 2,028เมกกะวัตต์ - 17.8 เมกะวัตต์ = 2010.2เมกะวัตต์ 2010.2เมกะวัตต์(2.0102 gigawatt) ใช้โลหะเงิน 2.0102*80ตัน 160.816ตัน ----ข่าวปี2012 แอลโซลาร์ 1 ใช้งบลงทุนกว่า 800 ล้านบาท ผุดโปรเจ็กต์ “โซลาร์ฟาร์ม” ที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ประเดิมเฟสแรกกำลังผลิต 8 เมกะวัตต์ ขึ้นแท่นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่สุดในประเทศไทยที่เริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าไฟให้ กฟภ. แล้ว(4) 1 gigawatt (1,000) ใช้โลหะเงิน ~ 80 ตัน(80,000กิโลกรัม) 8 เมกะวัตต์ ใช้โลหะเงิน 640กิโลกรัม ตอนนี้กิโลกรัมประมาณ22,300*640 เป็นเงิน 14.27ล้าน เงินลงทุนโครงการ800ล้าน(เป็นการซื้อที่ดินใหม่มั้ยไม่มีข้อมูล) เป็นค่าโลหะเงิน 14.27ล้าน(เท่ากับ1.78%ของเงินลงทุน ถ้าราคาโลหะเงินเพิ่มขึ้นเป็น3เท่าของปัจจุบัน ราคาแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพราะโลหะเงิน3.56%ของเงินโครงการ(ถ้าผู้ขายแผง+ราคาแผงเพิ่มเท่าราคาโลหะเงินที่เพิ่มขึ้น) ---ข่าว6 November 2015 รัฐบาลจะมีโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้เปิดรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติด ตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 800 เมกะวัตต์ ปัจจุบันไทยมีผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 4-5 ราย กำลังผลิตรวมประมาณ 300 เมกะวัตต์ และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นไปถึง 500 เมกะวัตต์แต่เนื่องจากภาครัฐไม่มีนโยบายการสนับสนุนใช้สินค้าภายในประเทศ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์ราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถอยู่รอดได้ เห็นได้จากบริษัทเองต้องดิ้นหาตลาดใหม่ โดยหันส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาแทนปีละ 100 เมกะวัตต์(5) ส่วนเรื่องการใช้silverกับรถระบบไฮบริดและระบบไฟฟ้า แค่เคยอ่านเจอว่ามีการใช้โลหะเงินในอุปกรณ์บางชิ้นส่วน แต่มีการใช้โลหะเงินจริงมั้ยและใช้เยอะหรือเปล่าต่อคันยังหาข้อมูลไม่ได้ครับ แนวโน้มข้างหน้า10-20ปี หลายๆประเทศจะเป็นรถที่ไม่ใช้น้ำมันกันแล้ว ปัจจุบันทั่วโลกมีรถยนต์รวมกันประมาณ 1,000ล้านคัน ยอดผลิตรถยนต์ใหม่ต่อปีประมาณ80 ล้านคัน (1) http://www.usfunds.com/investor-library/frank-talk/solar-shines-on-silver-demand/#.V3bmHjUf6J5 (2) http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114433'>http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114433 (3) http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120331 (4) http://www.iurban.in.th/greenery/l-solar-the-bigest-solar-farm-in-thailand/ (5)http://www.thansettakij.com/2015/11/06/16983
-
สบายดีครับพี่ปุณณ์ ช่วงนี้ใช้เวลากับออกกำลังกายเยอะครับ เวลาที่เหลือค่อยตามข่าวเหมือนเดิม+ข่าวสารบ้านเมืองด้วยครับ
-
Seam Arsenal เมื่อวานนี้ เวลา 10:34 น. GC ทองคำเหมือนกำลังจะลง wave c ของ wave 2 รอดูอีกสัก 2 อาทิตย์
-
ราคาทองคำช่วงนี้ผมให้ความสำคัญกับการเข้าซื้อของ SPDR เพราะช่วงนี้อุปสงค์ในทองคำของบางกลุ่มมีแนวแน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนและอุปทานของเหมืองก็ลดลงด้วย(ถ้าภาพรวมอุทานมากกว่้าอุปสงค์ ถึงSPDRเข้าซื้อเพิ่มผมก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไหร่) ตัวเลขอื่นกว่าจะประกาศก็ต้องรอนานเป็นเดือนและหายากด้วย แต่ยอดการถือครองทองคำSPDRประกาศทุกวัน ช่วงนี้ผมถึงดูการถือครองทองคำของSPDR --ไตรมาส4ปี2014 TOTAL SUPPLY ทองคำ1152ตัน GOLD DEMAND ไตรมาส4ปี2014 1071ตัน(อุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน) --แต่ไตรมาส4ปี2015 TOTAL SUPPLY ทองคำ1037.1ตัน GOLD DEMAND ไตรมาส4ปี2015 1117.7ตัน(อุปสงค์มากกว่าอุปทาน) ---คาดว่าไตรมาส1ปี2016 TOTAL SUPPLY ทองคำน่าจะน้อยกว่า GOLD DEMAND ครับ -- ตั้งแต่ต้นปี2016ถึง18มีนาคม2016 SPDR ซื้อทองคำเพิ่มถึง176.61ตัน ข้อมูลไตรมาส4ปี15ผลิต809.8ตัน ถ้าปี15ทั้ง4ไตรมาสผลิตได้ใกล้เคียงกัน*4 ได้3239.2ตัน 1ปีหักเสาร์และอาทิตย์และวัดหยุดสำคัญจะเหลือวันเทรดประมาณ248วัน 3239.2/248-----13.06ตัน(เหมืองมีอุปทานทองคำเฉลี่ยวันละ 13.06ตัวใน1วันทำการ บางวันSPDRซื้อเกิน10ตัน) ---ทองคำที่ขุดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ตามตัวเลขที่มีการเปิดเผยเผยประมาณว่ามียอดประมาณ180,000ตัน อยู่ในการครอบครองของธนาคารกลางประมาณ30,000-35,000ตัน ณปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีการผลิตทองคำมากที่สุดในโลก(จำนวนที่ผลิตขึ้นมาไม่พอการบริโภคของจีนต้องมีการนำเข้าเพิ่ม) จำนวนที่ขุดขึ้นมาอาจจะแจ้งน้อยกว่าที่ขุดจริงเยอะก็ได้ ปริมาณที่ถือครองโดยรัฐบาลจีนที่มีการเปิดเผยเป็นทางการมีทองคำพันกว่าตัน แต่คนจำนวนหนึ่งเชื่อว่าจีนมีการถือครองทองคำมากกว่านั้นมาก บางท่านมองว่ารัฐบาลจีนมีทองคำในการถือครองถึง50,000ตัน ---อุปสงค์และอุปทาน เป็นตัวหลักในการมองว่าราคาจะขึ้นหรือจะลง ดูตารางจากลิงค์ที่ผมอ้างอิงประกอบกับตัวเลขการถือครองทองคำของSPDRที่ผมสรุปมาให้นะครับ ---ธนาคารกลางมีแนวโน้มซื้อทองคำเพิ่ม ---ปี2016SPDR ซื้อทองคำเข้า จากที่ก่อนนี้เป็นผู้ขายหรือถือใกล้เคียงเดิม ---เหมืองผลิตทองคำลดลงประมาณ9% --หลายปีก่อนผมเคยดูผลผลิตทองคำของเหมืองทั่วโลกอยู่ประมาณปีละ2400-2500ตัน/ปี ช่วงที่ทองคำราคาขึ้น การผลิตทองคำก็ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนทะลุ3,000ตัน เอาข้อมูลไตรมาส4ปี14(893.1*4ได้3572.4ตัน) เอาข้อมูลไตรมาส4ปี15(809.8*4 ได้3239.2ตัน) อุปสงค์และอุปทานใน SPDR กองทุนทองคำ จากที่ขายออกมาหลายปีเริ่มซื้อเข้าชัดเจนในปี16 2-Jan-13 1349.92ตัน 1-Jul-13 968.3 2-Jan-14 794.62 1-Jul-14 796.39 2-Jan-15 709.02 1-Jul-15 711.44 30-Sep-15 687.42 31-Dec-15 642.37 ----------------------------------------------- SPDR จากที่ขายออกหรือถือใกล้เคียงเดิม ช่วงนี้เป็นผู้ซื้อเข้านะครับ 29-Jan-16 669.23 29-Feb-16 777.27 18-Mar-16 818.98 http://www.finnomena.com/fundtalk/premium-content/guru-pick/2016/02/12/02/gold-feb-16/ ---อุปสงค์มากกว่าอุปทานน่าจะดันราคาทองคำขึ้นไปได้ แต่ปัจจัยที่มีผลกดดันราคาทองคำในตอนนี้ คือกลุ่มนักลงทุนที่ติดดอยทองคำมาหลายปี เมื่อทองคำขยับราคาขึ้นกลุ่มที่ติดดอยทองคำจำนวนไม่น้อยก็จะขายทองคำออกมา
-
อาจมีย่อครับ Seam Arsenal 5 มีนาคม เวลา 9:41 น. ทองคำ ย่อมาได้มากสุดที่ราคา 1190$ เท่านั้นจากนั้นก็วิ่งต่อ ตอนนี้เข้าสู่ภาวะอัยตรายเเล้ว รออีกสัก 2-3 วันเพื่อ รอการยืนยันการจบขาขึ้นในระยะสั้น ตอนนี้ ถือซื้อไป
-
ดูข้อมูลการถือทองคำของspdr กองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดของโลก(ตรงHistorical data กดที่คำว่าSpreadsheet of archived data) ---จะพบว่าวันแรกของวันทำการปี2016 04/01/2016 ถือทองคำอยู่ 642.37 ตัน ---02/03/16 ถือทองคำอยู่ 788.57 ตัน สรุปปี2016 ถึงวันที่02/03/16 มีเงินไหลเข้ากองspdr จำนวน 5,829,196,141.48 $(คิดที่ 1240$ต่อออนซ์) ---ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ตั้งแต่วันที่ 04/01/2016 -02/03/16 มีวันที่ถือทองคำน้อยกว่าวันก่อนหน้าแค่3วันเท่านั้น 06/01/16 ถือลดลง 1.4 ตัน 09/02/16 ถือลดลง 1.49 ตัน 13/02/16 ถือลดลง 5.06 ตัน ที่เหลือถือเท่ากับวันก่อนหน้า หรือถือมากกว่าทั้งหมด http://www.spdrgolds...istorical-data/
-
Johnny Pereira 17 ชม. · ทอง .. จุดต่ำสุดเมื่อต้นปี อาจยังไม่ใช่จุดต่ำสุดของขาลงใหญ่.. (ขออภัยงานช่วงนี้ยุ่งมากครับ ยังไม่มีเวลาแปลแบบละเอียด เลยขอเอาลิงค์มาแปะ ให้อ่านกันก่อนครับ) สรุปคือ บทความนี้ Martin ออกมาเพื่ออธิบายย้ำครับ เพราะเข้าใจว่ามีคนเข้าใจแบบที่ผมเคยเข้าใจ (และถอดความไว้ในบทความเมื่อสัปดาห์ก่อน) เยอะมากว่า การที่จุดต่ำสุดของราคาทองเมื่อต้นปี ที่เกิดขึ้นกับเวลาใน Benchmark ของ Martin พอดียังอาจไม่ใช่จุดต่ำสุดของขาลงรอบนี้ ทั้งนี้เขาให้เหตุผลว่า ตลาดทุกตลาดยังเรียงตัว (Align) กันไม่เสร็จ ปัจจัยพื้นฐานก็ยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ prime time แต่ประโยคสุดท้ายเขาบอกงี้ครับ The end of this fiscal tragedy is not too far away. จุดจบของโศกนาฏกรรมทางการคลัง (หมายถึงการ collapse ของ Government หมายถึงการเริ่มต้นของขาขึ้นของทองคำ) อยู่ไม่ไกลเท่าไหร่แล้ว ---- สรุป Martin เตือนว่า อาจยังมี New Low ได้อีก เงินลงทุนรอก่อนครับ ตลาดยังน่าจะลงไปทำ Low อีกครั้ง ซึ่งน่าจะอีกไม่นานแล้ว จุดสังเกตของขาขึ้นทองคำ เท่าที่ผมสังเกตที่ Martin ย้ำมาตลอดคือ เหตุการณ์ในยุโรปครับ ความเชื่อมั่นต่อ Brussel พังเมื่อไหร่ (ไม่รู้ว่าจะเป็นเหตุการณ์แบบไหน) ทองเริ่มขาขึ้นของจริงเมื่อนั่นครับ อีกจุดสังเกต จากกูรูอีกท่านหนึ่ง ทองคำในสกุลเงินอื่น ทำจุดต่ำสุดไปหมดแล้วครับ (เหลือแต่สกุล $ ที่ยังไม่จบ) หมายความว่าทองคำในสกุลเงินบาทก็น่าจะมีแนวรับเดิมที่เคยบอกไว้ว่า สามารถรับได้แข็งแกร่งมาตลอดคือ 17800-18000 บาท เงินลงทุนระยะยาว ผมว่ารอเก็บ ณ ราคาตรงนั้น (หากลงมาให้เห็นอีก) น่าจะปลอดภัยสบายใจหายห่วงครับ https://www.armstrongeconomics.com/markets-by-sector/precious-metals/gold/gold-low-of-lows-or-just-a-low/
-
ช่วงนี้้มีข่าวดอยช์แบงค์ธนาคารใหญ่สุดของเยอรมันเสี่ยงล้มละลายด้วยปัญหาตราสารอนุพันธ์ที่ถือในจำนวนมหาศาล จำนวนที่ถือมากกว่าGDPของสหภาพยุโรปรวมกันหลายเท่า ตราสารพวกนี้กองทุนต่างๆก็ไปถือเยอะ กองทุนบำเหน็จบำนาญและฯลฯถือเยอะมาก ใครที่ไม่มีความรู้พวกนี้ก็จะไม่เข้าใจความรุนแรงว่าความรุนแรงเปรียบดังนิวเคลียร์ที่ทำลายโลกได้เลยครับ ตราสารอนุพันธ์พวกนี้มีจำนวนมากกว่าGDPของทั้งโลกรวมกันหลายเท่านัก ตอนแรกตั้งใจว่าจะเขียนเท่าที่ผมรู้ ซึ่งก็ต้องค้นเอกสารอ้างอิงหลายอย่างเพื่อความถูกต้อง พอค้นไปสุดท้ายเปลี่ยนใจครับ เลือกอันที่เขาเขียนได้ดีและตรงกับที่ผมรู้มาดีกว่าครับ จะได้มีเวลาหาเนื้อหาอื่นมาฝากครับ อ่านให้จนจบความคิดเห็นที่14 นะครับ จะได้มองเห็นความรุนแรงที่โลกกำลังเผชิญอยู่ http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2008/10/I7123157/I7123157.html
-
นำบทวิเคราะห์ทองคำมาฝาก สุดท้ายตัดสินใจกันเองนะครับ http://www.finnomena.com/fundtalk/premium-content/guru-pick/2016/02/12/02/gold-feb-16/
-
น้ำมัน หุ้น เศรษฐกิจโลกสัมพันธ์กันอย่างไร นำการบ้านของหลานสาวชั้นม.5มาฝาก ผมโพสไปที่เฟซผมตั้งแต่24/01/2559 มาเยี่ยมThaigold ทั้งที่เอามาฝากเพิ่มครับ น้ำมัน หุ้น เศรษฐกิจโลกสัมพันธ์กันอย่างไร ตอนที่1 น้ำมันลงและหุ้นตก สัมพันธ์กันมั้ยและคำถามเกี่ยวกับภาวะปัจจุบันมีIMFมาเกี่ยวด้วย(จำราย ละเอียดไม่ได้) เป็นเนื้อหาการบ้านของหลานสาว นักเรียนม.ปลาย งานนี้ยากมาย ถ้าไม่มีพื้นฐานหลายเรื่องและรู้มากพอจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ไม่ใช่ ผมเองเคยตามข้อมูลเรื่องพลังงานมา2ช่วง นานแล้วตามข้อมูลปริมาณการผลิต การบริโภคและปริมาณสำรองของทั้งโลก ประมาณ3ปีหลังตามอีกที่เพราะเซ็งกับข้อมูลพลังงานของไทยที่มั่วมาก ข้อมูลผิดปนถูกเยอะจริงๆ เรื่องพลังงานไทยก็ต้องบอกว่าข้อมูลของฝ่ายทวงคืนมีข้อมูลไม่จริงแฝงมาเยอะ มาก ถ้าเป็นแบบนี้ฟันธงว่าไม่สามารถทวงคืน ข้อมูลทั้งหมดต้องจริงอย่าบิดข้อมูลเพื่อไปสู่เป้าหมาย นักเรียนคงตีโจทย์การบ้านนี้ไม่แตกเพราะต้องมีพื้นฐานหลายอย่างมาก(ช่วยหลาน ให้มองภาพกว้างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตดีกว่า) การบ้านนี้ต้องมีความรู้อะไรบ้าง 1)รู้เรื่องเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค ปริมาณสำรองของน้ำมันทั้งโลก 2)รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ 3)รู้เรื่องตลาดหุ้นและตลาดเก็งกำไรที่พัฒนาในแบบทำกำไรทั้งขาขึ้นและขา ลง(ฟังดูดีแต่ส่วนมากที่เห็นคือขาดทุนทั้งขาขึ้นและขาลงมากกว่า) 4)สภาพคล่องทางการเงิน 5)ผลประกอบการของบริษัทมีผลจากปัจจัยอะไรบ้าง 6)ฯลฯ การบ้านสำหรับนักเรียนม.ปลายถ้าตั้งโจทย์แค่ว่า น้ำมันราคาตกเพราะอะไร ใครมีส่วนอย่างมากที่ทำให้น้ำมันราคาตก ถ้าเราเป็นผู้ผลิตน้ำมันทำอย่างไรราคาน้ำมันถึงจะไม่ตก โจทย์ประมาณนี้ก็ไม่ง่ายแล้วนะม.ปลาย แต่โจทย์การบ้านกว้างกว่านั้นเยอะมาก ต้องช่วยหลานพร้อมให้ความรู้บางจุดเพิ่ม ---ราคาน้ำมันขึ้นหรือลงอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง 1)ปริมาณการผลิตน้ำมันมากขึ้นหรือน้อยลง ใครผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ปัจจุบันสหรัฐฯผลิตน้ำมันเป็นอันดับ1ของโลกไปแล้ว ดูที่กราฟหน้า 3 ของเอกสารชุดนี้ https://www.krungsrisecurities.com/images.aspx?filename..\uploads\2015\02\S_ENERGY_150219.pdf จะเห็นว่าประมาณปี2008 สหรัฐฯผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ5ล้านบาร์เรลต่อวัน ในกราฟเกือบ10ล้านบาร์เรล/วัน(ที่รู้มาเกิน10ล้านบาร์เรลต่อวันไปแล้ว เวลาดูเอกสารพวกนี้บางครั้งจะวุ่นครับ บางที่ก็เอาก๊าซมารวมด้วย บางคร้งก็ไม่เอามารวมทำให้ข้อมูลสับสน) กำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นถึง5ล้านบาร์เรลต่อ1วันเมื่อเทียบกับ ปี2008 1บาร์เรลเท่ากับ159.11ลิตร ****ชัดเจนนะครับว่าผู้ที่ทำให้การผลิตน้ำมันของทั้งโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก มายคือสหรัฐฯ ส่วนปริมาณการบริโภคของทั้งโลกต่อวันใกล้เคียงเดิมประมาณ85ล้านบาร์เรลต่อ วัน**** น้ำมัน หุ้น เศรษฐกิจโลกสัมพันธ์กันอย่างไร ตอนที่ 2 ทำไมประเทศซาอุและกลุ่มโอเปกไม่ลดกำลังการผลิตน้ำมันลง เพื่อพยุงราคาน้ำมัน ? ? ? ถ้าวันนี้ผมและกลุ่มเพื่อนผลิตสินค้า A ออกมาจำหน่าย สินค้าขายดีมากกำไรต่อชิ้นก็สูง สุดท้ายก็ต้องมีผู้ผลิตรายอื่นมาทำสินค้าขาย เมื่อมีผู้ผลิตมากรายขึ้นจำนวนของซัพพลายก็มากขึ้นจนเกินความต้องการ ถ้ายังอยากขายราคาเดิมได้ก็ต้องลดปริมาณการผลิตลง ใครจะลด ถ้าผมและกลุ่มเพื่อนลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงราคาให้สูงเท่าเดิม ยอดขายผมก็จะลดลง กำไรต่อชิ้นที่ยังสูงมากก็จะทำให้เจ้าใหม่ที่เข้ามาไม่นานเพิ่มกำลังการผลิต ขึ้นไปอีก เจ้าใหม่ๆก็สนใจมาทำเพราะกำไรต่อชิ้นสูงมาก สุดท้ายถ้าผมและกลุ่มเพื่อนลดกำลังผลิตไปเรื่อยๆเพื่อพยุงราคาตลาดให้สูง เท่าเดิม ขนาดของกิจการผมกับเพื่อนๆก็จะเล็กลงไปเรื่อยจนไม่มีเงินเลี้ยงดูองค์กร ตลาดเสรีก็คือทุกฝ่ายสู้กัน ใครต้นทุนถูกกว่าอยู่รอดใครต้นทุนแพงก็ล้มไป ราคาที่ตั้งขายจะบวกสูงมากเกินเหตุก็ไม่ได้เพราะถ้ากำไรสูงมาก ก็จะมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆกระโจนเข้ามาในธุรกิจ การผลิตน้ำมันที่ผมเข้าใจ(อาจคลาดเคลื่อนจากความจริงเพราะไม่ใช้ผู้เชียวชาญหรือเข้าใจผิด) ขอแบ่งเป็น3แบบ 1)แบบเดิมที่เคยขุดมาในอดีต แบบนี้ต้นทุนขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันว่าหลุมเล็กหรือใหญ่ เกรดของน้ำมัน ฯลฯ ซาอุและโอเปกเป็นแบบนี้ ต้นทุนต่อบาร์เรลของซาอุประมาณ30เหรียญต่อบาร์เรล ต้นทุนที่ว่าไม่แน่ใจว่ารวมค่าอะไรบ้าง เช่นต้องแบ่งปันเงินจากยอดขายให้รัฐเท่าไหร่ก็เป็น1ในต้นทุนด้วย คุ้นๆว่าต้นทุนของรัสเซียประมาณ40เหรียญต่อบาร์เรล 2)หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน อันนี้ปตท.สผ.มีไปซื้อกิจการส่วนนี้ที่แคนาดา ลงทุนไปเยอะและช่วงนี้คงขาดทุนเยอะมาก ต้นทุนการผลิตกลุ่มนี้ประมาณ70เหรียญ/บาร์เรล 3)shale oil เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการขุดไปเอาน้ำมันจากในชั้นหินดินดาน มีการทำ shale oil ในสหรัฐเยอะ ต้นทุนส่วนนี้ประมาณ70เหรียญ/บาร์เรล สูงหรือต่ำขึ้นกับความยากง่ายในการขุดเจาะ ปริมาณของน้ำมันที่ขุดพบ shale oil ประมาณว่าจะขุดเจาะได้ประมาณ3ปีต่อหลุม ถ้าโอเปกพยุงราคาน้ำมันให้สูงระดับ100เหรียญโดยลดกำลังการผลิตลง กลุ่มที่2และ3ก็จะยังขายมีกำไรและไม่ลดกำไรการผลิต เผลอๆอาจเพิ่มด้วย สิ่งที่ซาอุและกลุ่มโอเปกทำคือฆ่ากลุ่ม2และ3ให้ตายและเลิกกิจการไปเลย เมื่อเหลือผู้ผลิตน้ำมันน้อยรายเหมือนในอดีตก็คุมปริมาณการผลิตไม่ให้ล้นก็ จะคุมราคาได้ ความเห็นผมโอเปกควรคุมการผลิตให้ราคาไม่เกิน50เหรียญก็พอแล้ว ราคาประมาณ50เหรียญกลุ่ม2และ3เขาก็ไม่ดำเนินการขุดเจาะหลุมใหม่ๆแล้ว เขาแค่ดูดจากหลุมที่ดำเนินการไปแล้วเท่านั้น กดลงไปถูกมากๆก็อาจไม่ช่วยอะไรมากกว่านี้ เพราะรายจ่ายส่วนใหญ่หมดไปกับช่วงแรกๆ ถึงถูกมากแต่การดูดจากหลุมที่ดำเนินการเสร็จไปแล้วอาจคุ้มกว่าการหยุดไปเลย หลังจากนั้นค่อยดันราคาน้ำมันให้อยู่ประมาณ70-80เหรียญ เพื่อไม่ให้กลุ่ม2และ3กลับมาเกิดอีก น้ำมัน หุ้น เศรษฐกิจโลกสัมพันธ์กันอย่างไร ตอนที่ 3 ถ้าไมการผลิตน้ำมันถึงเกินในช่วงไม่กี่ปีหลัง 1)ราคาน้ำมันที่พุ่งแรงเกิด100เหรียญ(มีขึ้นไปถึง140กว่าเหรียญอยู่ช่วงนึง) ราคาระดับนี้ทำให้มีการหาพลังงานทดแทนอย่างอื่นมาแทนน้ำมัน การนำแอลกอฮอล์มาผสมในน้ำมันในประเทศไทยก็น่าจะเป็นช่วงนั้น กรรมวิธีที่จะได้น้ำมันจากแหล่งที่มีต้นทุนสูงก็เริ่มจะคุ้มค่าในในการลงทุน 2)ทำไมหลังปี2008สหรัฐฯถึงเร่งการผลิตน้ำมันจนกลายเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมัน เป็นอันดับ1ของโลก เป็นเรื่องการผลิตเพื่อการค้าปกติหรือว่าสหรัฐมองว่าจะมีพลังงานอื่นจะมาทด แทนน้ำมัน ไม่จำเป็นต้องเก็บสำรองไว้อีกแล้ว น้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใช้ได้อีกประมาณ60ปี ส่วนที่ยังไม่ได้พิสูจน์น่าจะมีอีกเยอะมาก น้ำมัน หุ้น เศรษฐกิจโลกสัมพันธ์กันอย่างไร ตอนที่ 4 ราคาน้ำมันโลกลดลงมากมาย กระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร 1)ทั้งโลกใช้น้ำมันรวมกันประมาณ 85 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถ้าคิดว่าที่ผ่านมาน้ำมันมีค่าเฉลี่ย100เหรียญต่อบาร์เรล ตอนนี้ราคาลดไปถึง70กว่าเหรียญเหลือราคาที่ซื้อขายต่ำกว่า30เหรียญ 85ล้านบาร์เรล*70*365 ยอดเงินที่หายไปจากราคาน้ำมันที่ตกลงมีมูลค่าถึง 2.17ล้านล้านเหรียญ(จีดีพีโลกปี2556 อยู่ที่75.59ล้านล้านเหรียญ) 2)ธุรกิจที่ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบจะมีต้นทุนที่ถูกลงอันนี้เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ 3)บริษัทน้ำมันจำนวนมากน่าจะผิดนัดชำระหนี้ ก่อน หน้านี้ บริษัทเหล่านี้ได้กู้เงินเพื่อมาขยายกิจกรรมการขุดเจาะหาแหล่งพลังงานที่ ต้องลงทุนกันค่อนข้างสูง โดยได้แรงจูงใจมาจากอัตราดอกเบี้ยที่เคยอยู่ระดับต่ำ ตอนนี้รายได้จากน้ำมันหายไปเยอะมาก การผิดชำระหนี้ก็คงเกิดขึ้นเยอะซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น 4)ประเทศที่ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลักจะมีรายรับน้อยลงอย่างมากมาย สุดท้ายต้องตัดลดรายจ่ายของประเทศลงก็เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจโลก 5)บริษัทน้ำมันเริ่มมีการลดรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งลดจำนวนพนักงาน น้ำมัน หุ้น เศรษฐกิจโลกสัมพันธ์กันอย่างไร ตอนที่ 5 ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง 1)เศรษฐกิจที่ดีหรือสภาพคล่องของระบบเงินที่สูงมีผลบวกต่อตลาดหุ้น ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไม่ดีแต่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษและกลุ่มยูโรโซนอัดเงินเข้าไปในระบบตั้งแต่ปี2008 มา มียอดรวมประมาณ9ล้านล้านเหรียญ เงินส่วนนี้ไหลเข้าตลาดหุ้นอย่างมหาศาลซึ่งทำให้ราคาหุ้นขึ้นอยู่มากมาย แต่เมื่อไหร่เงินส่วนนี้โดยดึงกลับจะสงผลร้ายต่อตลาดหุ้นอย่างหนัก 2)เศรษฐกิจที่ไม่ดีหรือการขาดสภาพคล่องของระบบเงินมีผลต่อตลาดหุ้น เดือนธันวาคม 2558 ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มขึ้นดอกเบี้ยและดึงเงินออกจากระบบ มีการให้ข่าวว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกหลายครั้ง ตลาดหุ้นนอกประเทศสหรัฐน่าจะกระทบหนักมาก ส่วนหุ้นในสหรัฐน่าจะกระทบน้อยกว่าประเทศอื่นหรืออาจขึ้นก็ได้ 3)ตัวบริษัทเอง เช่นธุรกิจที่ทำธุรกิจน้ำมันช่วงนี้จะเสียหายหนักมาก 4)ธนาคารที่ปล่อยกู้ให้บริษัททำธุรกิจน้ำมัน คงมีหนี้เสียเยอะ ส่งผลลบต่อผลประกอบการของธนาคาร 5)เศรษฐกิจทั่วโลกซบเซาส่งผลต่อยอดขายสินค้าเกือบทุกชนิด ส่งผลลบต่อกำไรของบริษัท มีผลลบต่อราคาหุ้น 7)สินค้าเกษตรทั่วโลกราคาตก เกษตรกรขาดเงินที่จะใช้ในการจับจ่ายใช้สอย ส่งผลเสียต่อยอดการบริโภคของสินค้าต่างๆ 9)ตลาดอนุพันธ์ เป็นตัวที่ส่งผลกระทบหนักมากเวลาหุ้นตก โดยเฉพาะคนที่ลงทุนเกินตัวเมื่อผิดทางมีโอกาสถูกบังคับขายจนหมดตัวและยังมี หนี้สินอีกจำนวนมาก สรุป---น้ำมันลงคือเรื่องของธุรกิจน้ำมัน หุ้นน้ำมันลงสมเหตุสมผล ---ธนาคารที่ปล่อยกู้ให้ธุรกิจน้ำมัน หนี้เสียจะสูงขึ้นมีผลต่อราคาหุ้น ---ผู้มีรายได้หลักจากธุรกิจน้ำมัน เมื่อขาดสภาพคล่องอาจขายหุ้นที่ตัวเองถือครองอยู่ ---ส่วนหุ้นธุรกิจอื่นที่ตก อาจเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ซึ่งเรื่องที่กระทบหนักจริงๆคือเศรษฐกิจของทั้งโลกซบเซาและธนาคารกลางสหรัฐ ขึ้นดอกเบี้ยรวมทั้งดึงเงินกลับ ทำให้สภาพคล่องของระบบเงินตราหายไปเยอะมาก
-
ผมเริ่มหาความรู้จากบ้านหลังนี้ เริ่มจากไม่รู้อะไรเลย ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหรือมีข้อมูลอะไรน่าสนใจ ผมต้องมาส่งข่าวที่ห้องนี้แน่นอนครับ ---ที่นี่คือห้องเรียนแห่งแรกหลังจากพ้นจากรั้วมหาวิทยาลัยของผม ช่วงสำคัญผมจะแวะมาครับ
-
Johnny Pereira 2 ชม. · ทอง (ขยายความจากบทความก่อนหน้าที่แปะไว้) *** จบขาลงใหญ่*** Gold has blown through the daily channel resistance so there is a gap on our reversals between 1209 and 1309. Gold should now press higher to fill that gap. ทองทะลุกรอบแนวต้านระดับวันขึ้นมา และน่าจะทำให้วิ่งต่อไปจนถึง 1309 ** The low came on the first benchmark right on target at 1045 ($1 from our number at 1044) and was 51.6 months from the 2011 high. ** จุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นในเดือน ม.ค. ปีนี้ ตรงกับรอบ 51.6 เดือนนับจากจุดสูงสุดที่ทำไว้ในปี 2011 พอดิบพอดี ** ดูตามกราฟแนบครับ ที่แรเงาไว้คือ 51.6 เดือนพอดี (ตามแนวคิดของ MA ตัวเลขที่สำคัญของ Cycle คือ 8.6 จำนวน 51.6 เดือนคือ 6 รอบของ 8.6 ถือเป็น 1 cycle ใหญ่) --- ถึงตรงนี้ผมต้องสารภาพผิด Martin บอก Benchmark สำหรับผู้ชำระเงินซื้อบทความเขาเท่านั้น --- หมายความว่า Martin ไม่ใช่คนที่บอกว่า Benchmark คือเดือน มี.ค. นี้ เท่าที่จำได้เขาพูดคร่าวๆ แค่ ไตรมาสแรกของ 2017 เป็นผมเองที่พยายาม หาคำตอบ และได้รู้จัก กูรูอีกท่าน ที่ใช้ระบบ Cycle ใกล้เคียงกับของ Martin และเป็นกูรูท่านนี้ที่เชื่อว่า (และยังคงยืนยันความเชื่อ) ตามระบบของเขา เดือน มี.ค. คือเดือนที่ทองน่าจะทำจุดต่ำสุด http://invst.ly/12pn9 The year-end closing ABOVE 1044 warned that gold was “not as weak as it may appear.” การที่ราคาปิดของปีที่แล้วปิดที่ 1044 เตือนเราว่า ราคาทองปีนี้ไม่น่าจะลงต่ำลงไปมาก (แบบที่กลัวกันแต่ทีแรก) The top of the channel on the Monthly level where the longer-term trend is really defined stands at the 1411.64 level. Gold would need to exceed that level and then find support on the top of that channel to say it is ready for prime time. กรอบบนของกราฟระดับเดือนอยู่ที่ 1411.64 ทอง "ต้อง" ทะลุกรอบตรงนี้ได้ และยืนได้แข็งแกร่ง จะเป็นการยืนยันถึง Prime time ที่เรารอคอยมาแสนนาน (มีต่อ) All of this set the stage for gold to rally strongly as the Dow also hit a 13-year high after closing lower in 2015 than 2014. The markets are talking to us, yelling if you will, that a correction is in the wind on a global basis. The culmination of the trend will NOT be 2017, but pushed off into 2020 with 2017 looking like the start of the trend where confidence collapses in government. ตลาดโดยรวมกำลังส่งสัญญาณว่าทองกำลังจะวิ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ตลาดกำลังตะโกนบอกเรา ว่าจะมีการปรับฐานใหญ่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่จุดหมายปลายทาง (แย่สุดๆ) ไม่ใช่มี 2017 แต่เป็นปี 2020 โดยมีปี 2017 ดูเหมือนจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพังทลายลงในความเชื่อมั่นของประชาชนที่มี ต่อรัฐ (ยุโรป >> ญี่ปุ่น >> US) Eventually, we need an alignment to set the stage for what may be the unwinding of western civilization after governments have managed to collapse before our eyes. ในที่สุดแล้วตลาด (หลายๆ ตลาด) จะจัดเรียงตัว เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น "การล่มสลายของอารยธรรม" ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อหน้าตอตาของคนรุ่นเรา The gold analysts at Yahoo News touted: “Gold, which is seen as an inflation hedge and a defensive asset in times of economic stress, surged to its highest level in over eight months, following speculation that the Federal Reserve could find it tough to raise interest rates further this year. It gained over 2 percent to trade around $1,227 per troy ounce.” Others are touting a Great Depression that will cause the stock market to fall 90% — so buy gold. The truth remains intact. Gold will rise because governments’ structured with endless debts will come to an end. That is the “rise” in interest rates that will unfold as the FREE MARKET stops buying their paper. นักวิเคราะห์ทัวไปอาจพูดไร้สาระ (ขออนุญาตข้ามตรงนี้ไป) เพื่อเชียร์ให้ทองขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ทองก็จะขึ้นอยู่ดี โดยไม่สนใจคำพูดไร้สาระเหล่านั้น เพราะเหตุผลที่แท้จริงที่ทองคำจะขึ้นต่อไป ก็เพราะรัฐบาลทั้งหลายยังสะสมหนี้ เพราะเขาคิดว่าจะ Rollover หนี้ไปได้จนตราบฟ้าดินสลาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง การก่อหนี้ของรัฐบาลทั้งหลายกำลังมาถึงจุดสิ้นสุด จนทำให้รัฐบาลทั้งหลายต้องขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น มากขึ้น เพื่อชักจูง ให้ประชาชนมาซื้อพันธบัตร มากขึ้น มากขึ้น (แต่ประชาชนก็จะยังซื้อน้อยลง เพราะกลัวเจ๊ง) February was the Panic Cycle. It appears to be on target. The Monthly Bullish stands up at 1362. That is what we need to elect to suggest that a change in trend is possible. Otherwise, be cautious. We are looking at all markets pushing to their extremes. This is the prelude to the chaos coming in 2017. เดือน ก.พ. นี้ ตรงกับ Panic Cycle ซึ่งดูจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ผ่านมาก็ต้องบอกว่าระบบทำนายได้แม่นยำ แนวต้านของกราฟระดับเดือนอยู่ที่ **1362** แนวต้านนี้คือแนวต้านสำคัญของกราฟระดับเดือน ที่ทองต้องผ่านไปให้ได้ เพื่อที่ยืนยันว่า มีการเปลี่ยนแนวโน้มสำเร็จแล้ว ....... หาไม่แล้ว ให้เพิ่มความระมัดระวัง เพราะตลาดต่างๆ กำลังเคลื่อนไหวอย่างผันผวนรุนแรงสุดโต่ง เป็นการส่งสัญญาณเตือนของความโกลาหล ที่จะเกิดขึ้นในปี 2017 Johnny Pereira สรุป... 1. การที่จุดต่ำสุดเกิดขึ้นในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับ Benchmark ของ Martin 51.6 เดือนแบบพอดิบพอดี น่าจะเป็นการบอกเราว่า ขาลงใหญ่ ที่กินเวลาทั้งสิ้น 51.6 เดือนนั้น "จบไปแล้ว" 2. การจบขาลง ไม่ได้หมายความว่า เราจะพบกับขาขึ้นในทันที ตลาดอาจเลือกที่จะทำ Sideway (โดยไม่มี new low) อีกได้นานเท่าที่ตลาดต้องการ 3. การที่จะคอนเฟริม์ขาขึ้น ราคาต้องสามารถเอาชนะแนวต้านและสามารถยืนเหนือแนวต้านนั้นได้อย่างแข็งแกร่ง จะขึ้นระดับ day แนวต้านระดับ day ต้องโดนทำลาย ระดับ week month year ก็เป็นในแบบเดียวกัน 4. ณ. ปัจจุบันแนวต้านระดับ day แตกไปเรียบร้อยแล้ว กราฟวีคแตกแล้ว แต่ต้องรอให้ราคาปิดคืนนี้ยืนยันว่าจะไม่ลงไปยืนต่ำ กว่าแนวต้าน ด่านระดับเดือนยังไม่แตก คือด่าน 1362-1411 ตามที่ได้แปลไว้ใน Status ด้านบน ด่านระดับปี ก็ต้องรอดูราคาปิดปลายปีนี้อีกที โดยสรุป ของสรุป ผมเชื่อว่า เราจะไม่ได้เห็นราคาทองที่ต่ำกว่า $1045 อีกแล้ว และเรากำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนถ่ายเพื่อเข้าสู่ขาขึ้นใหญ่ เงินลงทุนระยะยาว รับความเสี่ยงได้ ซื้อ 100% (อาจมีย่อ หรือ อาจไม่มีย่อ ไม่สามารถทราบได้) ระยะสั้นให้เพิ่มความระมัดระวัง เพราะตลาดผันผวนสูงมากๆ ครับ ปล. เป็นความเชื่อส่วนบุคคล เงินทองเป็นของท่าน โปรดใช้ความระมัดระวัง ตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของท่าน หากท่านกำไร ผมดีใจด้วย หากท่านขาดทุนอย่าด่าผมนะ 555 Johnny Pereira ขอออกตัวก่อน เพราะเป็นครั้งแรกที่บอกให้ซื้อ 55
-
QE กับทฤษฏีเงินเฟ้อ 1 "อะไรที่ผลิตมามากเกินไป มันจะด้อยค่าลงเสมอ" นี่คือกฏเศรษฐศาสตร์พื้นฐานที่พวกเราคุ้นกันดีอยู่ เมื่อน้ำมันล้นโลก น้ำมันก็ราคาตก, เมื่อคนวัยทำงานล้นประเทศ ค่าแรงก็จะถูกกด และเมื่อรัฐบาลทั่วโลกพิมพ์เงินในชื่อของ QE กันมาตลอด 3-4 ปีนี้ ตามคำแนะนำของนักเศรษฐศาสตร์สาย Keynesian จนเกิดสภาวะเงินล้นโลก นักเศรษฐศาสตร์สาย Austrian ที่ไม่ชอบการแทรกแซงเศรษฐกิจของภาครัฐจึงเชื่อมั่นว่าเงินจะต้องถูกลงมากๆ หรือเกิดวิกฤตการณ์อภิมหาเงินเฟ้อ (Hyperinflation) ซึ่งความเป็นจริงในโลกที่เกิดขึ้นมันห่างไกลกับที่นักเศรษฐศาสตร์สาย Austrian คาดกันไว้อย่างมาก ไม่ใช่ว่านักเศรษฐศาสตร์สาย Keynesian ถูก แล้วสาย Austrian คิดผิดหรอกครับ ความจริงมันผิดกันทั้งคู่นั่นแหละ บางคนบอกว่าเรากำลังอยู่ในยุคของเงินฝืด (Deflation) บางคนบอกว่าเรากำลังอยู่ในยุคของเงินเฟ้อ (Inflation) ถูกทั้งคู่ครับ..!! เงินฝืด ไม่ใช่ขั้วตรงข้ามของเงินเฟ้อนะครับ เงินฝืดและเงินเฟ้อสามารถเกิดขึ้นได้พร้อมๆ กัน สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันอยู่ในสภาวะเงินฝืด (การหมุนเวียนของเงินลดลงเป็นอย่างมาก) แต่ข้าวของกลับแพงขึ้น (เงินเฟ้อ) ในอดีต เราเชื่อกันว่า เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี คนไม่มีเงิน ข้าวของขายไม่ได้ สุดท้ายราคาสินค้าจะลดลงถึงจุดที่คนสามารถซื้อได้ นั่นหมายถึงว่าเมื่อเงินหาได้ยากขึ้น เงินจึงมีมูลค่ามากขึ้น เมื่อเทียบกับสินค้าจึงสามารถใช้เงินจำนวนน้อยซื้อสินค้าจำนวนมากได้ นี่คือเงินฝืดที่คนกลัวกัน เอาเข้าจริงทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มันถูกเปลี่ยนไปมากในโลกยุคปัจจุบัน แม้จะมีการพิมพ์เงินออกมาอย่างมากจาก QE ของรัฐบาล แต่เงินกลับไปไม่ถึงมือของประชาชน ดังนั้นไม่มีใครรู้สึกว่าเงินหาได้ง่าย แม้ปริมาณเงินจะเยอะก็ตาม เราจึงไม่รู้สึกว่าเงินถูกลง และเมื่อประชาชนหาเช้ากินค่ำยังรู้สึกว่าเงินหาได้ยากมากขึ้นๆ ไม่ว่ารัฐบาลจะพิมพ์ออกมามากเท่าไหร่ก็ไม่ถึงมือพวกเค้า อะไรก็ตามที่หายาก มักจะต้องถูกกักตุน (hoarding) แน่นอนคนส่วนใหญ่กักตุนเงิน เพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคต ทำให้เงินยิ่งหายากมากขึ้นไปใหญ่ สถานการณ์นี้คือปรากฏการณ์เงินฝืด ที่กำลังเกิดอย่างรุนแรงทั่วโลก แต่.. แต่.. แต่.. เงินฝืดในยุคนี้ไม่ได้ทำให้ข้าวของราคาลดลงได้เหมือนอย่างในทฤษฏี เงินฝืดยุคนี้คนขายของลดราคาของลงไม่ได้แล้ว เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทุกวัน ข้าวของแพงขึ้นในขณะที่เกิดเงินฝืด เราเรียกกันในอดีตว่า Stagflation (มาจาก Stagnation + Inflation) แต่ Stagflation ในปี 2015 ต่างกับ Stagflation ในปี 1983 เยอะครับ ในช่วง 1983 ช่วงนั้นราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์จากการปฏิวัติภายในอิหร่าน (Iranian Revolution) ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นทั่วโลกโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่ปี 2015 ราคาน้ำมันลงต่ำถึง 50% แต่ทำไมของค่าครองชีพของเราไม่ได้ลดลงเลย ต้นเหตุมันคือความล้มเหลวของการบริหารงานของภาครัฐครับ ธนาคารพิมพ์เงินอย่างมันส์มือ ทำให้ต้นทุนของรัฐสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่กลับไม่ ไม่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ก่อให้เกิดผลิตผล สุดท้ายแล้วสิ่งที่จะเกิดต่อจากนี้คือ ภาระหนี้ที่รัฐบาลจะต้องแบกหนักขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจจอมพิมพ์เงินอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และล่าสุดก็คือกลุ่มยูโร ต้นทุนของรัฐที่สูงขึ้นนี่แหละที่กดดันทำให้แทบทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้กลับแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่เรายังห่างไกลกับคำว่าอภิมหาเงินเฟ้อ (Hyperinflation) การเกิดอภิมหาเงินเฟ้อนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพิมพ์เงินไม่จำกัดของรัฐบาลอย่างที่หลายๆ คนเชื่อกัน แต่ความจริงมันเกิดจากความล่มสลายในความเชื่อมั่นในรัฐบาลต่างหาก ก่อนเวลานั้นจะมาถึงเราจะต้องเข้าสู่ขาดแคลนเงินที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ (หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคืออเมริกาพิมพ์เงินมาตลอด 4 ปี แต่เงินดอลล่าห์กลับแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ส่วนราคา Commodity ก็ไม่เข้าใกล้คำว่า Bullish เลย ไม่ว่าจะเป็นทองคำหรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ไม่มีแนวโน้มของสภาวะ Hyperinflation ที่เงินจะต้องถูกมากๆ และ Commodity จะต้องแพงเลย) แล้วถ้าเงินที่รัฐพิมพ์ออกมามันไม่ถึงมือประชาชน คำถามคือ เงินปริมาณมากๆ นี้มันไปอยู่ที่ไหนในเศรษฐกิจโลกล่ะ..? หัวใจสำคัญของทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ในโลกยุคนี้จึงควรโฟกัสไปที่เรื่องของ Capital flow มากกว่า จะเข้าใจจิ๊กซอว์ "เศรษฐศาสตร์ใหม่" ทั้งหมด เราคงต้องคุยกันยาวถึงเรื่อง Hyperinflation, Capital Flow, Deflation, Interest Rate Policy, Exchange Rate ผมจะทยอยเขียนมาให้อ่านเรื่อยๆ ครับ https://storylog.co/story/557d3909c0285ad5b277bb4c QE กับทฤษฏีเงินเฟ้อ 2: Hyperinflation นิยามของ Hyperinflation คืออะไร..? Hyperinflation คือ สถานการณ์ที่ "เงินด้อยค่ามากจนไม่มีใครอยากได้" เมื่อคุณได้รับเงินมาคุณจะรีบเปลี่ยนมันไปเป็นสินทรัพย์ใดๆ ก็ได้ให้เร็วที่สุด ความเชื่อมั่นของรัฐพังทลาย ไม่มีใครอยากได้เงินแล้ว ดังนั้น ราคาสินค้าจึงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ไข่หนึ่งฟองจากที่เคยขาย 5 บาท ถ้าเงินมันไร้ค่าขนาดนั้นฟองละ 1 ล้านก็ยังไม่มีใครอยากขาย เศรษฐีที่มีเงินฝากธนาคารล้านบาทจะเหลือมูลค่าเพียงซื้อข้าวได้แค่ 1 มื้อเพียงพริบตา ทุกคนจะแห่ทิ้งเงินสด เพราะไม่มีใครเชื่อมั่นว่าเงินจะมีค่าใช้แลกเปลี่ยนได้อีก และพวกเขาจะกักตุน (hoarding) สินทรัพย์ใดๆ ก็ตามสามารถที่เอาไปแลกปัจจัย 4 ดำรงชีวิตได้ ใครคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง ผมอยากให้ลองไปศึกษาประวัติศาสตร์โลก มี Hyperinflation เกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วนบนโลกใบนี้ นับตั้งแต่ - ไวมาร์ (เยอรมัน) หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สถิติเงินเฟ้อ 21% ต่อวัน - ยูโกสลาเวียตอนแตกประเทศปี 1994 สถิติเงินเฟ้อ 65% ต่อวัน - ซิมบับเวช่วงพิมพ์เงินปี 2008 สถิติเงินเฟ้อ 98% ต่อวัน..!! - ฮังการีช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สถิติเงินเฟ้อ 207% ต่อวัน..!! ข้อมูลพวกนี้หาอ่านได้จากอินเทอร์เนตครับ สิ่งที่ผมอยากจะเล่าก็คือ ทฤษฏีเงินเฟ้อบอกไว้ว่าการพิมพ์เงิน QE ของมหาอำนาจโลก จะทำให้ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาเกิด Hyperinflation และเงินดอลล่าห์จะล่มสลายในที่สุด หลายปีก่อนผมเคยเชื่ออย่างนั้นครับ.. แต่ตอนนี้ผมยอมรับโดยดุษฏีว่าผมคิดผิด ผมจึงอยากมาแชร์มุมมอง เป็นทางเลือกของข้อมูลอีกซักแหล่งเพื่อที่พวกเราจะมองเห็นภาพที่ชัดมากขึ้นของ "เศรษฐศาสตร์ใหม่" ที่ทฤษฏีเดิมๆ ในหนังสือใช้ไม่ได้อีกต่อไป ซิมบับเวพิมพ์เงินอย่างหนักจนประเทศล่มสลาย เมื่อสหรัฐอเมริกากำลังดำเนินรอยตามซิมบับเว ทำไมผลลัพธ์ถึงแตกต่างกัน..? ก่อนอื่นเราจำเป็นจะต้องนิยามคำว่า "อภิมหาเงินเฟ้อ" หรือ Hyperinflation ให้เข้าใจตรงกันก่อนว่ามันคืออะไร..? สำหรับผม มันคือการ "หมด" ความเชื่อมั่นของเงินสกุลใดสกุลหนึ่ง มันไม่ใช่แค่เงินเฟ้อรุนแรงธรรมดาอย่างที่เคยเกิดในโลกช่วงทศวรรษที่ 80 (เงินอาจจะเฟ้อถึง 20% หรือ 100%) ตราบใดที่ประชาชนยังเชื่อมั่นในรัฐ ยังต้องการครอบครองเงิน เมื่อนั้นไม่ใช่ Hyperinflation Hyperinflation คือช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่พร้อมใจทิ้งเงินไปถือสินทรัพย์อื่นอย่างไม่ใยดี ความเชื่อมั่นของรัฐพังทลาย เมื่อนั้นสินทรัพย์ทุกอย่างจะราคาสูงขึ้นในอัตราเร่งไม่ใช่เพราะมูลค่ามันมากขึ้น แต่เป็นเพราะมูลค่าของเงินมันลดต่ำลงจนเหลือ 0 หลังวิกฤติ Hyperinflation จะเกิดการปฏิรูประบบการเงินของประเทศขึ้นใหม่เสมอ มันเป็นจุดที่สกุลเงินเดิมล่มสลายอย่างถาวรแล้ว ค่าเงินสกุลใหม่จะถูกสร้างขึ้นทดแทน ยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศสหลังสงครามปฏิวัติที่เปลี่ยนรากฐานการปกครองของประเทศในปี 1641 ก็เกิด Hyperinflation จนเงินสกุลเดิม Livre tournois ล่มสลาย รัฐบาลใหม่ของฝรั่งเศสประกาศใช้เงินสกุล Franc ในปี 1795 มาต่อเนื่องหลายร้อยปีจนกระทั่งยกเลิกเงิน Franc เปลี่ยนเป็นเงิน Euro ในปี 1999 ถ้าพูดในศัพท์เศรษฐศาสตร์ การเกิด Hyperinflation คือการเปลี่ยนมือของเงินที่รวดเร็วมากถึงขีดสุด (Velocity of Money เพิ่มสูงขึ้น) หลังการพิมพ์เงิน แต่เรามามองค่าเงินดอลล่าห์กันบ้าง Velocity of Money ของสหรัฐอเมริกาทุกวันนี้ตกต่ำสุดในประวัติศาสตร์ 100 ปี เงินดอลล่าห์ในปี 2015 เปลี่ยนมือช้ามากกว่ายุค The Great Depression ในปี 1929 ซะอีก (ดูรูป http://static.safehaven.com/authors/mauldin/14462_b.png) มันตรงข้ามกัน..!! สหรัฐอเมริกา QE ไม่อั้น แต่คนก็ยังถือครองดอลล่าห์อยู่ สาเหตุหลักๆ มาจากหลายประการครับ ที่สหรัฐอเมริกาไม่ใกล้เคียงกับสถานการณ์ Hyperinflation 1. ทุกคนยังยึดถือดอลล่าห์ - คุณรู้จักเปโตรดอลล่าห์ไหมครับ..? ข้อตกลงของสหรัฐกับกลุ่ม OPEC ที่บีบบังคับให้ทุกประเทศซื้อขายน้ำมันกันด้วยเงินดอลล่าห์เท่านั้น ใครแตกแถวต้องโดนวอร์ ตราบใดที่น้ำมันยังเป็นพลังงานหลักของโลก และการซื้อขายยังอยู่ในรูปเงินดอลล่าห์ Hyperinflation หรือการโยนดอลล่าห์ทิ้งคงไม่เกิดขึ้น 2. ตลาดพันธบัตรยังคงอยู่ - ถ้าคุณเป็นเจ้าหนี้สหรัฐ คุณจะยอมให้สหรัฐล้มละลายไหมครับ..? เงินดอลล่าห์ที่คุณปล่อยให้สหรัฐกู้จะสูญหายไปในพริบตาที่เกิด Hyperinflation..!! ประเทศในโลกที่สามอย่างซิมบับเวเกิด Hyperinflation ได้ง่ายเพราะรัฐบาลพิมพ์เงินออกมาล้างหนี้ ไม่เหลือเจ้าหนี้ ก็ไม่มีใครอยากเห็นค่าของเงินสกุลนี้อีก แต่สหรัฐอเมริกา (ณ ตอนนี้) ไม่ใช่ เจ้าหนี้จะบีบคอลูกหนี้ ตะโกนใส่หน้าว่า เมิงต้องทำทุกวิถีทางที่จะหาเงินให้ได้มากขึ้นมาจ่ายกรู ขึ้นภาษีสิ หารายได้สิ รีดเงินจากประชาชนสิ ดึงเงินจากธุรกิจสิ ทำยังไงก็ได้ หลังจากนี้วิกฤติหนี้ยุโรปน่าจะเริ่มรุนแรงขึ้น เงินยูโรจะถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงจากปัญหาวิกฤติหนี้ภาครัฐที่มีแต่จะหนักขึ้นเรื่อยๆ Capital flow จากยุโรปและทั่วโลกจะไหลบ่าเข้าไปที่ดอลล่าห์สหรัฐ ดอลล่าห์จะแข็งค่าขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงวิกฤติการณ์ยุโรป (ผมไม่คิดว่าหยวนของจีนจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ มังกรจีนขึ้นแท่นอันดับหนึ่งแน่นอนครับ แต่ยังต้องใช้เวลาสั่งสมบารมี) ช่วงเวลาเดียวกับที่ยุโรปพังทลาย ตลาดทุนของประเทศอื่นๆ ก็จะย่ำแย่เนื่องจาก Capital flow ไหลบ่าออกไปถือดอลล่าห์ ทองคำจะราคาตกอย่างรุนแรงอาจจะหลุด $1,000 ต่อออนซ์ (ผมยังเชื่อมั่นในทองคำ แต่ในเวลานี้ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ทองคำจะต้องตกหนักอย่างแรงในช่ว deflation ก่อนจะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้หลังวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐมาถึง) ลูกหนี้อย่างประเทศในโลกที่สามประสบภาวะเงินฝืดที่รุนแรงมากขึ้นจากภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการกู้เงินสกุลดอลล่าห์ โลกเราไม่ได้เสี่ยงกับวิกฤติ Hyperinflation อย่างที่กลัวกันหรอกครับ แต่ตรงกันข้าม พวกเรากำลังจะเผชิญกับวิกฤติ Extreme Deflation หรือสภาวะเงินฝืดอย่างรุนแรงในระบบเศรษฐกิจโลก จนถึงจุดหนึ่ง Deflation พุ่งขึ้นในระดับสูงสุด แล้วหลังจากนั้นลูกตุ้มนาฬิกาจึงจะหมุนเหวี่ยงกลับไปอีกด้าน หลายปีให้หลัง หลังจากที่ Capital flow ไหลบ่าเข้าสหรัฐ สหรัฐจะประสบปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ยุโรปที่ล่มสลายไปแล้วเคยประสบมา และน่าจะเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ 250 ปี ระบบการเงินของโลกใหม่จะเกิดขึ้นภายในทศวรรษที่จะถึงนี้ แต่จะก่อนหรือหลังวิกฤติสหรัฐอันนี้ผมไม่อาจทราบได้ เพราะตัวแปรในระบบเศรษฐกิจยังมีอีกเยอะมากทั้งจีน รัสเซีย ที่ยังไม่ได้พูดถึง แต่ทุกประเทศมหาอำนาจที่จะประสบวิกฤติหลังจากนี้ จะเกิดจาก "วิกฤติหนี้ภาครัฐ (Soverign Debt Crisis)" ล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา (ผมขอยกเว้นประเทศญี่ปุ่นเอาไว้ประเทศนึง) มีเวลาผมจะมาเล่าต่อกันครับ ถึงประเด็นหลักของวิกฤติหนี้ภาครัฐ ที่มีที่มาจากตลาดพันธบัตรและอัตราดอกเบี้ย ต่อด้วยระบบการเงินของโลกใหม่ที่น่าจะเกิดขึ้นจากวิกฤติหนี้ทั่วโลก https://storylog.co/story/557d47829c058cdcb56c8757 QE กับทฤษฏีเงินเฟ้อ 3: ทำไมอเมริกาต้องขึ้นดอกเบี้ย..? (บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม แต่เงินลงทุนเป็นเงินของท่าน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ใดๆ) “เงิน” ในระบบเศรษฐกิจโลกยุคนี้มีความผิดปกติอยู่หลายเรื่อง 1. ปริมาณเงินในโลกนี้มันเพิ่มขึ้นเยอะมากจาก QE แต่ “บทบาทที่แท้จริงของเงิน” ในยุคนี้ที่พิมพ์ออกมากลับไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อการซื้อขายสินค้า แต่มีไว้เพื่อเป็นอาวุธในการเก็งกำไร 2. ดังนั้นเมื่อเราพยายามคาดการณ์อนาคต โดยยึดติดกับ “บริบทของเงิน” ในอดีต ผลลัพธ์จึงผิดพลาด เพราะเงินที่พิมพ์ออกมามันไม่ได้ไหลมาสู่โลกแห่งการซื้อขายสินค้า แต่กลับไหลไปอยู่ในโลกอีกฟากหนึ่งที่พวกเราไม่คุ้นเคย (พิมพ์เงินแต่เงินกลับไม่เฟ้อ เศรษฐกิจกลับไม่ฟื้น) 3. แถมยุคนี้เงินมันไม่ได้ไหลเวียนอยู่ในประเทศๆ เดียวเหมือนในอดีต แต่มันหมุนเวียนไหลไปมาในระบบเศรษฐกิจโลกจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งในคลิกเดียว ตามผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนตลาดทุนในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ เช่น การที่หุ้นจะขึ้นหรือจะลงในยุคนี้ ในระยะสั้นมันแทบไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ หรือพื้นฐานของบริษัทอีกแล้ว แต่มันมาจากผลลัพธ์ของ capital flow ที่ไหลเข้าไหลออกตามสถานการณ์ต่างหาก (ดังนั้นในระยะสั้น ถ้าคุณเป็น VI คุณจะต้องทนความผันผวนที่มากยิ่งกว่าที่เคยเจอในอดีตให้ได้) เมื่อเงินไหลไปอยู่ในโลกการลงทุน แทนที่ QE จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ เลยกลับทำให้เงินฝืดอย่างรุนแรงไปแทน เมื่อโลกพลิกกลับตาลปัตรแบบนี้ อนาคตของโลกจะไปทางไหน..? เศรษฐกิจโลกจะมีปัญหาไม่ใช่จากการด้อยค่าของเงินที่พิมพ์ออกมาจำนวนมากหรอกครับ แต่ระเบิดเวลา มันอยู่ที่หนี้ภาครัฐที่มากจนเกินกว่าที่จะจัดการได้ต่างหาก สหรัฐอเมริกามีหนี้ในและนอกงบประมาณงอกมามากกว่า $90 ล้านล้าน ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะ $10 ล้านล้าน กลุ่มยูโรมีหนี้สาธารณะมากกว่า €12 ล้านล้าน และทุกประเทศหนี้สินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีทีท่าว่าจะชลอ รัฐบาลส่วนใหญ่ ทำยังไงกับปัญหานี้..? เมื่อคุณต้องขอยืมเงินคนอื่นจำนวนมากๆ แบบรัฐบาลทั่วโลกเป็นอยู่ขณะนี้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดภาระให้คุณได้ก็คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ควรจะต้องต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ อัตราดอกเบี้ยของโลกยุคนี้จึงต่ำติดดิน สหรัฐอเมริกามีอัตราดอกเบี้ย 0.25% ญี่ปุ่นมีอัตราดอกเบี้ย 0% เยอรมันมีอัตราดอกเบี้ย 0.05% สวิสเซอแลนด์มีอัตราดอกเบี้ย -0.75%..!! (หรือพูดอีกแง่ ถ้าคุณให้รัฐบาลสวิสกู้เงิน คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้รัฐ!!?!) โลกเรากำลังเข้าใกล้ยุคแห่ง NIRP: Negative Interest Rate Policy เข้าไปทุกทีๆ แล้วครับ พออัตราดอกเบี้ยถูก รัฐบาลก็กู้สนุกมือ แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำนานหลายๆ ปีเข้า ความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจก็จะตามมาครับ เพราะจะมีแต่การกู้ๆๆ จนหนี้สินท่วมล้นพ้นตัว ไม่มีปัญญาจะใช้คืน (ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน) เมื่อหนี้มาก เศรษฐกิจก็เปราะบาง และหากเกิดปัญหาอะไรมากระทบเพียงเล็กน้อยฟองสบู่หนี้ก็สามารถแตกได้ทุกเมื่อ (เช่นไทยตอนต้มยำกุ้ง พอลอยค่าเงินบาท พวกหนี้สินที่เป็นเงินดอลล่าห์ก็เพิ่มพรวดหนึ่งเท่าตัวทันที เอกชนจำนวนมากล้มทั้งยืน) กลับมาเรื่องอเมริกาต่อ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากขนาดนี้มาเป็นเวลาร่วมๆ สิบปี ทำให้เกิดการส่งออก (ปล่อยกู้) ดอลล่าห์จำนวนมากไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มรัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนามีการกู้ดอลล่าห์จำนวนมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ไม่มีทางที่อเมริกาจะรักษาอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำขนาดนี้ไว้ได้นานๆ ปัญหาแรกที่อเมริกาจะเจอคือ พวกกองทุนสวัสดิการของรัฐจะประสบปัญหาเรื่องผลตอบแทน คือโดยปกติกองทุนเหล่านี้จะต้องเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นการให้เงินรัฐบาลกู้ (คือซื้อพันธบัตรรัฐบาลนั่นเอง) แต่ผลตอบแทนของพันธบัตรที่ต่ำมาก ทำให้กองทุนสวัสดิการเหล่านี้มีความเสี่ยงจะล้ม เพราะไม่สามารถเพิ่มฐานทุนได้มากพอที่จะรองรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในสังคมแห่งผู้สูงอายุที่รายจ่ายสวัสดิการจะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ครับ เพราะประชาชนคนอเมริกันจำนวนมากที่เอาชีวิตแขวนบนสวัสดิการรัฐ อเมริกาจะยอมให้สถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะความเชื่อมั่นในรัฐบาลจะถูกทำลาย และอาจจะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ตามมา แถมการพิมพ์เงินของ FED ก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดเงินเฟ้ออย่างที่ควรจะเป็น เพราะแทนที่ปริมาณเงินที่มากขึ้นจะไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา มันกลับไหลออกไปเก็งกำไรในตลาดทั่วโลก การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ผลอย่างที่คาดไว้ หนักไปกว่านั้น ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจอเมริกายังไม่ฟื้นตัวอย่างที่ควรจะเป็น ตลาดหุ้นกลับร้อนแรง จากสภาพคล่องที่ล้นเหลือที่เกิดจากการพิมพ์เงิน (เงินไม่ถูกอัดฉีดไปที่ real sector เพราะความเสี่ยงสูง แต่กลับถูกอัดฉีดเข้าไปที่ตลาดหุ้นแทน เศรษฐกิจแย่ แต่หุ้นขึ้น) อาการนี้คล้ายๆ กับสถานการณ์ที่เกิดในอเมริกาช่วงก่อนวิกฤติ The Great Depression ที่ FED ลดดอกเบี้ยจากระดับ 7% มาเหลือ 3% ในระหว่างปี 1921-1927 หุ้นใน Wall Street วิ่งอย่างร้อนแรงตลอดหลายปีติดต่อกัน FED จึงเจอปัญหาสองทาง ทางแรกคือ ต้องป้องกันฟองสบู่ที่จะเกิดกับอเมริกา และต้องช่วยเหลือพวกกองทุนสวัสดิการให้อยู่รอดให้ได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ด้วยการ “ขึ้นดอกเบี้ย” ตามทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ เมื่อขึ้นดอกเบี้ย ต้นทุนทางการเงินของธุรกิจและรัฐก็จะสูงขึ้น จะช่วยลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจได้ เงินทั้งหลายจะถูกดูดซับออกจากระบบเศรษฐกิจ และเมื่อดอกเบี้ยขึ้น กองทุนสวัสดิการทั้งหลายก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น รอดพ้นจากภาวะล้มละลาย แต่ปัญหาที่ตามมาคือ การขึ้นดอกเบี้ย มันจะเป็นทางแก้ปัญหาจริงหรือไม่..? อัตราดอกเบี้ยของ FED กับเงินทุนทั่วโลกมันเกี่ยวข้องกันยังไง ไว้ผมจะมาเล่าต่อให้ฟังครับ https://storylog.co/story/55976fac77dc06295c186fee QE กับทฤษฏีเงินเฟ้อ 4: Capital Flow (จบซักที) (บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม แต่เงินลงทุนเป็นเงินของท่าน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ใดๆ) ปัญหาหลักที่ตามมาจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED คืออะไร..? ผมไม่พูดถึงต้นทุนของหนี้ภาครัฐของอเมริกาที่จะเพิ่มขึ้นเพราะการขึ้นดอกเบี้ย เพราะสหรัฐอเมริกาแต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยสนใจเรื่องภาระหนี้สินอยู่แล้ว (ไม่งั้นคงไม่ปรับเพดานหนี้มีไม่รู้กี่สิบครั้งโดยไม่สะทกสะท้าน) แต่พวกประเทศโลกที่สามที่กู้เงินในรูปแบบดอลล่าห์ต่างหากครับ ที่จะเจอปัญหาภาระหนี้สินที่หนักขึ้นจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และมีบางคน (เช่นมาร์ติน อาร์มสตรอง ซึ่งเป็นเจ้าของทฤษฏีเงินฝืด แนวคิดหลักที่ผมศึกษาและมาบอกเล่าให้ฟัง) เชื่อว่า อเมริกาจะไม่ค่อยๆ เพิ่มดอกเบี้ยแบบหน่อมแน้ม อาจจะจำเป็นกระชากอัตราดอกเบี้ยขึ้นสูงในเวลาสั้นๆ ซึ่งผมค่อนข้างเห็นต่างในประเด็นนี้ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นจริง ประเทศที่กู้เงินจำนวนมากในรูปของดอลล่าห์ เจอปัญหาใหญ่แน่ๆ ครับ ก่อนหน้านี้ภาระหนี้สูงเกิดกับพวกประเทศพัฒนาแล้ว แต่ถ้าเกิดการขึ้นดอกเบี้ยพรวดพราดจริง อีกไม่กี่ปีหลังจากนี้ประเทศในโลกที่สามจะเกิดปัญหาจากภาระหนี้ที่พุ่งขึ้นตามๆ กันไป กลายเป็นหนี้สูงทั้งโลกแบบเลี่ยงไม่ได้ ลองคิดภาพประเทศส่วนใหญ่ในโลกเริ่มมีสภาวะแบบกรีซในปัจจุบันดูนะครับ กู้เพิ่มเรื่อยๆ หนี้เดิมจ่ายไม่ไหว เพราะจ่ายไปเท่าไหร่ก็ลดได้แค่ดอกเบี้ย แต่เงินต้นพอกพูน นอกจากนี้ผมจะพูดถึงปัญหาของฟองสบู่ที่เกิดจากเงินทุนไหลเข้าอีกเรื่อง ตัวอย่างมีให้เห็นมาแล้ว ตอน The Great Depression ปี 1929 หลังอัตราดอกเบี้ยต่ำมาหลายปี FED ถูกกดดันให้ขึ้นดอกเบี้ย เพื่อชะลอความร้อนแรงของตลาดหุ้นและภาวะฟองสบู่ ดอกเบี้ยขึ้นจาก 4% ไปที่ 6% แต่ปรากฏว่า Dow Jones กลับไม่ได้ลดความร้อนแรงลงเลย อ้าว ไหนทฤษฏีบอกว่า เมื่อขึ้นดอกเบี้ย เศรษฐกิจจะลดความร้อนแรงลงไง เพราะต้นทุนกู้สูงขึ้น ธุรกิจก็ขยายตัวลำบาก แถมเมื่อดอกเบี้ยสูงคนกลุ่มหนึ่งจะเลิกเล่นหุ้น เอาเงินไปฝากแบงค์แทน ไหงตลาดหุ้นวิ่งเพิ่มอีกเท่าตัว..?!? นักลงทุนกลุ่มหนึ่งเลิกลงทุนครับ ย้ายเงินจากตลาดหุ้นไปฝากธนาคารจริง แต่สัดส่วนของเงินตรงนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินทุน (capital flow) ไหลบ่ากลับเข้าอเมริกาจากการขึ้นดอกเบี้ย (ตอนอเมริกาลดดอกเบี้ยช่วงก่อนนั้นเพราะเงินดอลล่าห์แข็งมาก เงินทุนไหลเข้าอเมริกาต่อเนื่อง อเมริกาพยายามไล่ capital flow กลับยุโรป ด้วยการลดดอกเบี้ยจาก 7% เหลือ 3% ในช่วง 1921-1927 ตามที่ผมเล่าให้ฟังในตอนที่แล้ว) ปี 1927เมื่อขึ้นดอกเบี้ย เงินทุนไหลกลับมามากกว่าส่วนที่ถูกดูดซับออกจากระบบ กลับทำให้ Dow Jones ทำ new all time high ที่แถวๆ 390 จุด ก่อนฟองสบู่จะแตก และเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศหลังจากนั้น Dow Jones พังทลายจาก 390 จุดเหลือประมาณ 40 จุด หรือพูดง่ายๆ ตกไป 90% ถ้านึกภาพนรก 90% ไม่ออก ลองจินตนาการเอาก็ได้ครับ ว่าถ้า SET ยุคนี้พังทลายเหมือน Dow Jones ตอน The Great Depression ตลาด SET จะร่วงจาก 1,500 จุดไปอยู่ที่ 150 จุด เลวร้ายกว่าตอนต้มยำกุ้งเยอะ!! และ capital flow ยุคนี้ปริมาณมหาศาลกว่ายุค 1929 เยอะ และ capital flow ยุคนี้สภาพคล่องไหลลื่นกว่ายุค 1929 เยอะ เมื่อเงินจำนวนมากจะไหลเข้าอเมริกา สิ่งที่จะเกิดตามมาอีกเรื่องคือ ค่าเงินดอลล่าห์ เมื่อประเทศใหญ่อย่างสหรัฐขึ้นดอกเบี้ย ในภาวะที่ยุโรปยังมีความไม่แน่นอนเรื่องปัญหาหนี้ สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ เงินทุนน่าจะเริ่มไหลออกจากยุโรปเข้าไปที่สหรัฐอเมริกามากขึ้น ค่าเงินดอลล่าห์มีแนวโน้มจะต้องแข็งขึ้นอย่างรุนแรง ถ้าดอลล่าห์แข็งขึ้นเมื่อไหร่ อเมริกาจะเริ่มประสบปัญหาคล้ายๆ กับญี่ปุ่นในช่วงปี 1985 สาเหตุนึงที่ทำให้เศรษฐกิจเกิดฟองสบู่แตก ญี่ปุ่นพังแล้วไม่ฟื้นจากนั้นเป็นต้นมา ผมจะเล่าให้ฟัง ต้นเหตุมันก็มาจาก capital flow เช่นกัน ก่อนหน้าปี 1985 เศรษฐกิจญี่ปุ่นรุ่งเรืองมากครับ หลังจากปฏิรูปตัวเองหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้นค่าเงินญี่ปุ่นอ่อนตัว ค่าเงินสหรัฐแข็ง (ช่วง 1980s เกิดวิกฤติเงินเฟ้อทั่วโลกจากปฏิวัติในอิหร่าน ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มกระฉูด จนสหรัฐอเมริกาต้องเพิ่งกระชากอัตราดอกเบี้ยรวดเดียวเกือบ 20% ยื้อชีวิตค่าเงินดอลล่าห์ ทำให้เงินสหรัฐแข็งค่าอย่างรวดเร็วตามที่ผมเล่าไว้ในตอนก่อนๆ) ทำให้การส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นเติบโตติดๆ กันหลายปี พร้อมนวัตกรรมใหม่ๆ ของประเทศญี่ปุ่นที่ส่งขายดีไปทั่วโลก ทั้งรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้ช่วงนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นดูมีอนาคตสดใสมาก ดัชนีหุ้นร้อนแรงสุดขีด หลังจากแพ้สงครามโลก ปี 1950 หนังสือพิมพ์ Nikkei (Nihon Keizai Shimbun) เริ่มคำนวนดัชนีนิคเคอิ โดยนำหุ้นใหญ่ 225 ตัวใน Tokyo Stock Exchange มาคำนวนดัชนี (อารมณ์ก็คล้ายๆ SET50 ของไทยครับ) ดัชนีนิคเคอิเริ่มต้นในปี 1950 ที่ 100 จุดเหมือนกับดัชนีอื่นๆ ทั่วโลก ผ่านไป 35 ปี นิคเคอิวิ่งจาก 100 จุดไปทะลุ 10,000 จุด หรือเพิ่มขึ้น 100 เท่าตัว..!! (เทียบกับปู่ SET ผ่านมา 40 ปี วิ่งจาก 100 จุดไป 1,500 จุด) กลับกันกับอเมริกาเมื่อสู้เพื่อยื้อชีวิตดอลล่าห์สำเร็จ ต้องแลกมาด้วยเศรษฐกิจที่ตกต่ำเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และค่าเงินดอลล่าห์ที่แข็งขึ้น คนจำนวนมากเชื่อมั่นว่าญี่ปุ่นน่าจะแซงสหรัฐอเมริกาขึ้นเป็นเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกด้วยซ้ำ เพราะช่วงนั้นอเมริกาเพิ่งฟื้นเมาหมัดจากวิกฤติเงินเฟ้อ อาการยังลูกผีลูกคน อเมริกายอมไม่ได้หรอกครับ ญี่ปุ่นลูกหม้อตัวเอง จู่ๆ จะมาเป็นอันดับหนี่งของโลกแทนที่ เหยียบหน้ากันชัดๆ ประเทศญี่ปุ่นจึงโดนสหรัฐอเมริกาบีบด้วยข้อตกลง Plaza Accord ให้ต้องปรับค่าเงินตัวเองให้แข็งขึ้นเท่าตัว (พูดง่ายๆ ว่าเงินดอลล่าห์เมื่อเทียบกับเงินเยนอ่อนลงถึง 50% แบบผิดธรรมชาติ - ลอง Google อ่านเรื่อง Plaza Accord นะครับ เป็นเรื่องน่าสนใจที่คนไทยส่วนนึงไม่ค่อยรู้) 1 ดอลล่าห์ในช่วง 1985 แลกได้ 260 เยนครับ พอโดน Plaza Accord เข้าไป 3 ปี 1 ดอลล่าห์แลกได้เพียง 120 เยน..!! โหดแบบสลัดๆ (ดูรุปที่นี่ครับ http://1ドル円.com/img/usdjpy1980_1989.png) พอเงินเยนแข็งเริ่มขึ้นพรวดพราด ปัญหาที่น่าตกใจที่เกิดขึ้นเกิดจากผู้รายตัวเดิม capital flow..!! เงินทุนทั่วโลกไหลบ่าเข้าไปที่ญี่ปุ่นอย่างรุนแรง เหมือนห่าธนูมืดฟ้ามัวดินที่ระดมยิงเข้าสู่ญี่ปุ่น ตลาดนิคเคอิจากเดิมที่ร้อนแรงโคตรๆ อยู่แล้ว ร้อนแรงสุดขีดหนักกว่าเดิม พุ่งขึ้นจาก 10,000 จุดในปี 1985 ไปสู่ all time high 38,916 จุดในช่วง 1989 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว นี่คือสภาวะฟองสบู่ของประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดจาก capital flow (จินตนาการไม่ออกเลยครับ ว่าถ้า SET วิ่งไปที่ 38,000 จุด จะเป็นยังไง) สวนทางกับปัจจัยพื้นฐานของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นรวยได้จากการส่งออก รวยได้จากเงินที่อ่อน พอเงินแข็งเท่าตัว ของก็ขายได้ไม่ดีเหมือนก่อน real sector กำลังเริ่มประสบปัญหา แต่ตลาดหุ้นกลับวิ่งสวนทางแบบบ้าเลือดสุดขั้ว เมื่อความขัดแย้งถึงขีดสุด สุดท้ายฟองสบู่เศรษฐกิจทั้งตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่นก็เข้าวงจรพังทลาย ฟองสบู่นิคเคอิระเบิดแตกออก ดับความรุ่งเรืองของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับที่ 2 ของโลก ตั้งแต่ Plaza Accord ผ่านมาร่วม 30 ปี ญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัวเลยจนถึงตอนนี้ นี่คือความน่ากลัวของ capital flow ที่เป็นเหมือนระเบิดเวลาที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา คำเตือนนะครับ ผมไม่ได้บอกว่าหลังขึ้นดอกเบี้ย ตลาดหุ้นอเมริกาจะร้อนแรงเหมือนนิคเคอิยุคนั้น ไม่ใช่ว่าอ่านบทความผมจบรีบไปซื้อหุ้นอเมริกานะ เราคงไม่สามารถบอกได้ว่าประวัติศาสตร์จะต้องซ้ำรอยญี่ปุ่นช่วงฟองสบู่ เพราะปัจจัยต่างๆ ในเศรษฐกิจยุคนี้ของอเมริกาแตกต่างจากยุคนั้นของญี่ปุ่นมาก ญี่ปุ่นตอนนั้นเศรษฐกิจดีมากด้วยปัจจัยพื้นฐานของประเทศ เมื่อทุนไหลเข้าตลาดหุ้นจึงร้อนแรงหนักไปกว่าเดิม แต่อเมริกาตอนนี้ไม่ใช่ เศรษฐกิจยังเปราะบางมากๆ ต่างกับญี่ปุ่นยุคนั้นอย่างชัดเจน แต่เมื่อดอลล่าห์แข็งจาก capital flow สภาวะเงินฝืดทั่วโลกจะรุนแรงมากขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ อาจจะตกลงสวนทางดอลล่าห์ (ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ) เมื่อเงินฝืดรุนแรงขึ้น ประชาชนคนอเมริกาจะเริ่มประสบปัญหา เศรษฐกิจจะยิ่งไม่ฟื้น ทั้งๆ ที่ตลาดหุ้นอาจจะวิ่งฉิวจาก capital flow รัฐต้องพยายามหารายได้ให้มากขึ้นๆ ด้วยการขูดรีดภาษีทุกบาททุกสตางค์ (นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าเงินในอนาคตอาจจะอยู่ในรูปแบบเงินอิเลคโทรนิค เพื่อให้รัฐบาลควบคุมการไหลของเงินและภาษีได้ทุกบาททุกสตางค์ไม่มีเล็ดรอด) ภาระหนี้มหาศาลและการพิมพ์เงินของอเมริกา จะไม่ทำให้เกิดปัญหาอะไรเลย ตราบใดที่อเมริกายังทำให้ประชาชน “เชื่อมั่น” แต่เมื่อไหร่ ประชาชนลำบากมากขึ้น ความเชื่อมั่นหดหาย เมื่อนั้นหายนะจะมาเยือน บาปทั้งหลายที่เคยก่อไว้ มันจะเริ่มตามมาหลอกหลอน ทั้งการพิมพ์เงิน หนี้สิน ฯลฯ ภาวะ Hyperinflation ไม่ได้เกิดจากการพิมพ์เงินนะครับ แต่เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาลอย่างรุนแรง ประเทศเล็กๆ อย่างซิมบับเว พิมพ์เงินแล้วเกิด Hyperinflation ก็เพราะคนหมดความเชื่อมั่นในรัฐบาลทันทีที่พิมพ์ แต่อเมริกาพิมพ์เงินได้ ตราบใดที่คนยังเชื่อมั่นอยู่ แต่การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ ระยะสั้นดูเหมือนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเข้าใจว่า อเมริกากลับมาแล้ว เศรษฐกิจพลิกฟื้นแล้ว แต่ในระยะยาวอาจจะเป็นตัวจุดชนวนอะไรหลายๆ อย่างที่อาจจะทำลายความเชื่อมั่นของคนอเมริกันที่มีต่อรัฐบาลได้ เมื่อนั้นแหละครับ ที่วิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะตามมาและ ระเบิดเวลาของภาระหนี้สหรัฐจะเริ่มจุดชนวน แต่มันไม่น่าจะเกิดในเร็ววันครับ ช่วงเวลาคงจะไม่ต่ำกว่า 5-6 ปีหลังจากนี้ ซึ่งน่าจะพอดีกับช่วงเวลาที่หยวนกับจีน คงเสริมกำลังจนเข้มแข็งพร้อมผงาดอย่างเต็มที่ มหาอำนาจเศรษฐกิจโลกคงจะเริ่มเปลี่ยนมือในช่วงนั้น ที่เขียนมาซะยาว 4 ตอนนี้ ผมอยากเล่าให้เห็นภาพว่า นักเศรษฐศาสตร์สายเงินฝืด (Deflationist) มองต่างกับสายเงินเฟ้อ (Inflationist) การขึ้นอัตราดอกเบี้ย, เงินทุนไหลเข้า และค่าเงิน มันมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งในรูปแบบที่เป็นพลวัตซึ่งกันและกัน ในขณะปริมาณเงิน (Money Supply) นั้นถือเป็นตัวแปรที่มีผลไม่มากนัก ผมเคยเป็นสายเงินเฟ้อมาก่อนหลายปี แต่ผลลัพธ์ของเศรษฐกิจโลกจากยุค QE มาถึงปัจจุบัน ทำให้ผมเริ่มเปลี่ยนความคิด จนกระทั่งมาศึกษาศาสตร์ด้านสายเงินฝืดแล้วนำความรู้ทั้งสองสายมาผสมผสานกัน ในระยะสั้นสายเงินฝืดจะแม่นครับ แต่ระยะยาว ผมเชื่อมั่นว่าสายเงินเฟ้อจะถูกต้อง (ถ้าไม่เกิดสงคราม reset เศรษฐกิจโลกซะก่อนนะ) ระยะยาว ทุกอย่างจะสะท้อนความเป็นจริง คุณพิมพ์เงินมั่วซั่วตามใจฉัน สุดท้ายเงินจะต้องด้อยค่า แต่สิ่งที่คนมักจะเข้าใจผิดกัน คือเงินมันจะไม่ได้ด้อยค่าจากปริมาณเงินที่พิมพ์ออกมามากๆ แต่มันจะด้อยค่าจากความเชื่อมั่นของประเทศที่หดหายในระยะยาว แต่ระยะสั้น มันไม่ใช่ คนที่เชื่อมั่นเรื่อง Hyperinflation จะรักทองคำมาก ผมก็เคยรักทองมาก ในขณะที่ตอนนี้ผมกลับเชื่อว่าปีนี้ทองคำอาจจะมีโอกาสร่วงหนักไปหลุด $1,000 ต่อออนซ์ จากการแข็งค่าของดอลล่าห์ (ผมมองว่าเป็นโอกาสเข้าซื้อนะ ช่วงปลายปี ถ้ามันหลุด $1,000 ต่อออนซ์จริงๆ) ผมไม่ฟังธง แค่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้พวกคุณลองมองโลกอีกด้าน คิดและวิเคราะห์ กัน ผมอาจจะผิดก็ได้ เราต้องรอดูกันไป แต่สิ่งที่ผมอยากจะชี้ให้คุณเห็นคือ อัตราดอกเบี้ย ในระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่ควบคุมต้นทุนการกู้ของภาครัฐและเอกชน หรือดูดซับปริมาณเงินในระบบอย่างที่พวกเราเคยเข้าใจกันจากหนังสือเรียนครับ อัตราดอกเบี้ยนี่แหละครับ ที่เป็นหนึ่งตัวแปรที่จะทำให้เกิด capital flow ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ เมื่อ capital flow มากขึ้นเรื่อยๆ แบบท่วมทวีคูณจากการพิมพ์เงิน ภาพทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ที่เราเคยเข้าใจมันเลยบิดเบี้ยวมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะต้องเข้าใจและตามมันให้ทัน เขียนมาซะยาว จบได้แล้วครับ ขอบคุณมากที่ติดตามอ่านกัน https://storylog.co/story/55a169650258336be17e516e
-
เงินสำหรับซื้อทองคำ ผมเข้าครบ100%แล้วนะ Seam Arsenalการลงทุนด้วยระบบ II 13 นาที · ทองคำ จุดตัดสินใจ กำลังจะเลือกทางว่ามีอะไรจะทำให้ราคาทองคำ พุ่งได้หรือไม่ เเต่ทาง เทคนิคมีสัญญาณมายืนยันเเล้ว TF Week
-
ในเมื่อคนส่วนมากมองว่า สหรัฐฯเป็นส่วนเดียวในตอนนี้ที่ฟื้น เฟดก็อาจยังไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยก็ได้ แค่เชื่อว่าสหรัฐฯฟื้นแล้วก็สามารถทุบสิ่งที่อยากจะทุบได้แล้ว ถ้ากิจการไหนบอกว่ากิจการของเขาฟื้นแล้ว เพราะมีการใช้จ่ายต่างๆของบริษัทเพิ่มขึ้น เงินที่นำมาใช้จ่ายก็เป็นเงินที่กู้มาเพิ่ม ไม่ใช่เพราะมีกำไรเพิ่มขึ้น คุณจะเชื่อมั้ยว่าบริษัทนี้ฟื้นแล้วจริง