ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ส้มโอมือ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    5,036
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    15

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ส้มโอมือ

  1. คำพูดของคุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ที่พูดบนเวทีเสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ2 ว่า พลังงานฟอสซิลที่ประเทศเรามีอยู่ตอนนี้ควรขุดเจาะนำมาใช้ ถ้าเก็บไว้ให้ลูกหลานในอนาคต คุณค่าของพลังงานฟอสซิลณตอนนั้นจะมีประโยชน์น้อยกว่าปัจจุบันมาก เกือบทุกคนน่าจะมองว่าเป็นวาทกรรมที่คุณปิยสวัสดิ์ พูด เพื่อจะพยายามนำพลังงานฟอสซิลไปใช้ให้ได้ แต่ผมมองว่าคุณปิยสวัสดิ์ พูดด้วยมุมมองแบบนั้นจริงครับ(ผมไม่ได้บอกว่าสิ่งที่คุณปิยสวัสดิ์พูดนั้น ถูกต้อง แต่ผมกำลังบอกว่าคุณปิยสวัสดิ์น่าจะมีมุมมองแบบนั้นจริงครับ) ถ้าวันนี้คำพูดแบบเดียวกันนี้ถูกพูดด้วยคนที่เราชื่นชอบละ ผลลัพธ์อาจออกมาอีกแบบ ผมสงสัยมาหลายปีแล้วทำไมอเมริกาถึงขุดเอาพลังงานฟอสซิลของประเทศเขาออกมาใช้ อดีตที่ผ่านมาอเมริกาเอาแต่ซื้อจากประเทศอื่น พลังงานของประเทศตัวเองเก็บเอาไว้ไม่ยอมขุดเจาะ ช่วงปี2006-2008เหมือนกับอเมริกาจะเปลี่ยนนโยบายมาขุดเจาะพลังงานออกมาใช้ แล้วนะครับ ไม่เก็บไว้เหมือนที่ผ่านๆมา ข้อมูลที่เผยแพร่ของ eia Top World Oil Producers, 2012 1 Saudi Arabia 11,726,000 Barrels per Day 2 United States 11,119,000 Barrels per Day 3 Russia 10,397,000 Barrels per Day ปัจจุบัน อเมริกาขุดเจาะน้ำมันวันละ 12,352,170 Barrels per Day แซงSaudi Arabiaไปแล้ว(น่าจะขุดเจาะเป็นเบอร์1 ของโลกไปแล้วนะครับ) ดูกราฟการข้อมูลการขุดเจาะพลังงานฟอสซิลของอเมริกาที่นี่ครับ http://www.eia.gov/countries/country-data.cfm?fips=US กดเลือกที่Petroleum และNatural Gas จะมีกราฟการผลิตย้อนหลังเกิดขึ้น กดที่กราฟอีกที จะได้กราฟที่ขยายครับ ---ทำไมร็อคกีเฟลเลอร์ ให้ข่าว จะถอนทุนจากกิจการเชื้อเพลิงฟอสซิล แล้วหันไปลงทุนกับพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมhttp://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000109500 ---จะว่าเศรษฐกิจอเมริกาย่ำแย่จนต้องขุดสมบัติเก่ามาใช้ก็ไม่น่าจะใช่ ทุกวันนี้อเมริกาพิมพ์ดอลลาร์มาใช้เป็นว่าเล่นอยู่แล้ว มีปัญหามากนักก็ขยายเพดานหนี้เท่านั้น พลังงานฟอสซิลเก็บไว้เผื่อยามที่ดอลลาร์มีปัญหาอย่างน้อยมีพลังงานฟอสซิลไว้ แลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นแทนดอลลาร์ ---โซลาร์เชลล์ตอนนี้กำลังกำลังมาแรงมาก ต้นทุนการผลิตพลังงานจากโซลาร์เซลล์ลดถูกลงมาเรื่อยๆ ที่ผ่านมาได้ยินว่าต้นทุนการผลิตโซลาร์เซลล์ลดปีละ10% ถ้าเป็นแบบนี้ไปอีกช่วงใหญ่ ต้นทุนการผลิตพลังงานจากโซลาร์เซลล์อาจจะถูกกว่าต้นทุนพลังงานจากโซลารเซลล์ ***ถ้าใครดูหนังเรื่องจูมง จะเห็นว่าในสมัยก่อนเกลือมีความจำเป็นสูงมาก มีราคาแพง มีความสำคัญกับประเทศและประชาชนสูงมาก แต่เมื่อมีการพัฒนาตู้เย็นมาใช้จนกระทั่งราคาตู้เย็นไม่แพงมาก ความสำคัญของเกลือแทบจะหายไปเลย ***ผมไม่ใช่คนที่ชื่นชอบคุณปิยสวัสดิ์ ช่วงที่จะมีการแต่งตั้งคุณปิยสวัสดิ์เป็นประธานบอร์ดปตท. ผมก็เปลี่ยนรูปประจำตัวผม ค้านการแต่งตั้งคุณปิยสวัสดิ์ แต่ทุกเรื่องเราควรคุยตามเนื้อผ้าที่เห็นคำว่ารักหรือไม่ชอบควรตัดออกไป
  2. เสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ3 ช่วงที่2 2014/09/24 โดยมีหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม เป็นผู้ดำเนินรายการ
  3. เสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ2 ช่วงที่2 2014/09/24 โดยมีหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม เป็นผู้ดำเนินรายการ
  4. เสวนา ถาม-ตอบ พลังงาน รอบ2 ช่วงที่1 2014/09/24 โดยมีหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม เป็นผู้ดำเนินรายการ ช่วงที่1
  5. ใครต้องการข้อมูลพลังงานแบบเจาะลึก ลองดูที่นี่ครับ อาจมีข้อมูลที่ท่านสนใจ การชี้แจงต่างๆชัดเจนและมีเหตุผลกว่าการชี้แจงบนเวทีมาก(ฟังชี้แจงบนเวที่ และชี้แจงผ่านสื่อแล้วไม่น่าเชื่อถือในคำชี้เเจงหลายอย่าง) อ่านแล้วตัดสินใจกันเองนะครับ ผมตรวจสอบแล้วเจ้าของเฟซเป็นข้าราชการกระทรวงพลังงานครับ https://www.facebook.com/chayutpongn/notes
  6. Chayutpong Nunthanawanich ทำงานที่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๑) 18 สิงหาคม 2013 เวลา 21:10 น. ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอาจจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับราคาพลังงานที่ เป็นอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากน้ำมันที่ขุดได้ไม่ว่าจะมีต้นทุนมากน้อยเพียงใดก็จะทำการซื้อขาย กันในราคาตลาดโลก หรืออาจมีส่วนลดนิดหน่อยในกรณีอยู่ภายใต้ Thailand I แต่ก็มีปริมาณน้อยมากไม่ส่งผลต่อภาพรวม ส่วนก๊าซธรรมชาติแม้ต้นทุนสำรวจและ พัฒนาจะมีผลกับราคาขายอยู่บ้างแต่มันก็ไม่ได้สะท้อนต้นทุนตามความเป็นจริง เท่าที่ควร เนื่องจากมันถูกกำหนดเป็นสูตรราคามาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ โดยคาดการณ์เงินลงทุนล่วงหน้าเพื่อผลิตก๊าซให้ได้ปริมาณตามสัญญาและบวกผล กำไรตามสมควร โดยในสูตรราคาจะมีดัชนีทางเศรษฐศาสตร์คอยเป็นตัวปรับราคาให้ทันสมัยตามสภาพ ทางเศรษฐกิจในขณะนั้นๆ ซึ่งมันมีเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ดังนั้นพอจะกล่าวได้ว่า ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากหรือน้อยจะส่งผลต่อผลกำไรหรือขาดทุนของโครงการ มากกว่าส่งผลต่อราคาพลังงาน การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ต้องมี เงินมากพอ(เงินเย็นของตัวเองยิ่งดี) ต้องมีฝีมือ มีความรู้มีเทคโนโลยี และสุดท้าย ต้องมีดวงประกอบ ด้วย อย่างไรก็ตามในกรณีที่ประสบความสำเร็จ..แน่นอนผลตอบแทนย่อมต้องสูง..มากพอ ที่จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามารับความเสี่ยงได้ จึงเป็นธุรกิจที่ยังคงมีความ น่าสนใจตราบใดที่เรายังต้องใช้พลังงานจากปิโตรเลียม การลงทุนในกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2555) ว่ากันด้วยปริมาณเงินมากกว่า 1.6 ล้านล้านบาท หลายคนไม่เชื่อตัวเลขจำนวนนี้ อาจสงสัยว่ายกเมฆมาหรือเปล่า อ่านบทความนี้จบแล้ว..จะรู้ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร สมเหตุสมผลมากน้อยแค่ไหน... ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจนี้เสียก่อนว่าเขาทำอะไรกันบ้าง แบบย่อๆ นะครับ จะได้รู้ว่าเขาใช้เงินในช่วงไหนบ้าง ประมาณเท่าไร จะได้พอเห็นภาพ เริ่มจากขั้นตอน การสำรวจหาปิโตรเลียม ก่อน นะครับ เพราะแปลงสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานได้ไปนั้น รัฐไม่ได้รับประกันว่าจะมีสมบัติใต้ดินอยู่ด้วย แค่ยกให้แล้วไปสำรวจหาเอาเอง ความเสี่ยงมันก็อยู่ที่ตรงนี้แหล่ะครับ ปิโตรเลียมไม่ได้มีอยู่ในทุกพื้นที่ แต่จะอยู่ในบริเวณแอ่งสะสมตะกอน และจะต้องมีองค์ประกอบต่างๆ ครบ คือ มีหินต้นกำเนิด(สารอินทรีย์สะสมตัวอยู่) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาและสภาวะที่เหมาะสม(เปลี่ยนสารอินทรีย์เป็นปิโตรเลียม) มีการเคลื่อนที่ออกมาจากบริเวณนั้นเข้าไปกักเก็บอยู่ใน โครงสร้างที่ประกอบด้วยหินที่มีความพรุน และต้องมีสิ่งปิดกันไม่ ให้มันเคลื่อนที่ขึ้นสู่ผิวโลก ที่ต้องกล่าวถึงเรื่องนี้เนื่องจากมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า แอ่งสะสมตะกอนตามรูปข้างล่างซ้ายนี้เป็นแหล่งปิโตรเลียมทั้งหมด ซึ่งในความเป็นจริงพบแหล่งปิโตรเลียมแค่เพียงรูปด้านขวาเท่านั้นซึ่งเป็นพี ยงส่วนหนึ่งของแอ่งสะสมตะกอน การสำรวจในเบื้องต้นจะต้องหาโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่คาดว่าจะมี ปิโตรเลียมเสียก่อน โดยการศึกษาข้อมูลด้านธรณีวิทยาจากข้อมูลที่มีอยู่ภายในบริเวณแปลงสำรวจซึ่ง เป็นข้อมูลที่เคยมีการสำรวจไว้แล้ว ขั้นตอนนี้ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลและผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยค่าใช้จ่ายในการศึกษาข้อมูลเดิม อยู่ที่ประมาณ 0.3-3 ล้านบาท หรือถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจะทำการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 2 มิติ (1.5-3 แสนบาทต่อกิโลเมตร) หรือแบบ 3 มิติ (0.45-2.1 ล้านบาทต่อตารางกิโลเมตร) ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินลงทุนที่มีและข้อมูลที่ต้องการ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจดังกล่าวนี้จะนำไปศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาโครงสร้าง ทางธรณีวิทยาที่เหมาะสมเพื่อวางตำแหน่งหลุมสำรวจที่จะเจาะลงไปพิสูจน์ทราบ ว่ามีปิโตรเลียมอยู่หรือไม่ ข้อมูลชั้นหินต่างๆ จะรู้ได้เมื่อมีการเจาะลงไปและเก็บตัวอย่างหินในระดับความลึกที่ต้องการ เพื่อยืนยันข้อมูลเดิมและความรู้ความเข้าใจที่มีก่อนการเจาะจริง ค่าใช้จ่ายในการเจาะหลุมสำรวจจะมีราคาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ในภาคอีสานจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 200-450 ล้านบาทต่อหลุม สถิติที่ทำไว้สูงสุดประมาณ 1,300 ล้านบาท เนื่องจากเป็นหินแข็งเจาะยากใช้เวลา 3-4 เดือน บางหลุมใช้เวลาเป็นปี ในภาคกลางเจาะง่ายกว่าทำให้มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าอยู่ที่ประมาณ 60-90 ล้านบาทต่อหลุม ในบริเวณอ่าวไทยเนื่องจากราคาค่าเช่าแท่นเจาะค่อนข้างสูง ทำให้การเจาะในอ่าวไทยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 120-240 ล้านบาทต่อหลุม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ความลึก ของแต่ละหลุม รวมถึงกิจกรรมเสริมอื่นๆ เช่น การเก็บตัวอย่างหิน การทดสอบหลุม ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทำให้ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายต่างกันไป และสำหรับในทะเลอันดามันซึ่งเป็นเขตน้ำลึก ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากเป็นเงิน หลายพันล้านบาทต่อหลุม (ผมไม่มีตัวเลขสถิติ เนื่องจาก 10 กว่าปีที่ผ่านมาไม่มีการเจาะบริเวณนี้เลย) นอกจากการเจาะหลุมสำรวจ..บางครั้งจำเป็นต้องเจาะหลุมประเมินผลเพื่อยืนยัน ขนาดของแหล่งก่อนทำการพัฒนาด้วย ซึ่งจะมีราคาค่าเจาะใกล้เคียงกับหลุมสำรวจ ในกรณีที่สำรวจไม่พบปิโตรเลียมตามระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ(3+3+3) จะต้องคืนแปลงสำรวจกลับมาให้รัฐ(พร้อมข้อมูลการสำรวจทั้งหมด) ซึ่งรัฐจะนำข้อมูลสำรวจที่ได้ มาทำการศึกษาวิเคราะห์และเลือกพื้นที่ที่น่าจะมีศักยภาพปิโตรเลียมกลับมา เปิดสัมปทานในรอบใหม่ต่อไป จะเห็นได้ว่า รัฐไม่จำเป็นต้องลงทุนแต่ได้รับข้อมูลสำรวจครบถ้วน ส่วน ผู้รับสัมปทานที่นำเงินมาลงทุนซึ่งขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ก็ต้องขาดทุนกลับไป ซึ่งจากสถิติที่ได้ออกสัมปทานไป 20 รอบ 155 แปลงสำรวจ มีการคืนแปลงกลับมาให้รัฐแล้ว 88 แปลง (โดยใช้เงินลงทุนสำรวจไปกว่า 71,000 ล้านบาท) คงเหลือแปลงที่ยังมีการดำเนินงานอยู่ 67 แปลง ในจำนวนนี้เป็นแปลงที่ประสบความสำเร็จแล้ว 31 แปลง และอยู่ในช่วงระยะเวลาสำรวจอีก 36 แปลง ในกรณีสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ (มีหลายแปลงเจาะพบแต่ไม่สามารถพัฒนาได้) จะเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาแหล่งเพื่อผลิตปิโตรเลียม ขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะใช้เงินลงทุนสูงกว่าขั้นตอนการสำรวจ โดยปริมาณเงินลง ทุนจะขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ค้นพบ บกบนหรือในทะเล เป็นแหล่งก๊าซหรือแหล่งน้ำมันดิบ แหล่งเล็กหรือแหล่งใหญ่ ศักยภาพปิโตรเลียมเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนด จำนวนหลุมผลิต ฐานหลุมผลิต แท่นหลุมผลิต ที่จะต้องใช้ในการผลิตปิโตรเลียม รวมถึงความยุ่งยากซับซ้อนของสถานีผลิตหรือแท่นผลิตกลาง ซึ่งต้องใช้เงินลง ทุนทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าพบแหล่งน้ำมันขนาดเล็กบนบก กรณีนี้จะใช้เงินลงทุนน้อยที่สุดเพราะสามารถใช้หลุมสำรวจที่ขุดพบน้ำมันนั้น เป็นหลุมผลิตได้เลย สถานีผลิตจะไม่ซับซ้อนและใช้จำนวนหลุมผลิตไม่มาก หรือถ้าพบแหล่งก๊าซในอ่าวไทย กรณีนี้ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก เฉพาะแท่น ผลิตกลางที่ประกอบด้วยอุปกรณ์การผลิตหลัก มีราคาประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท ค่าวางท่อขนส่ง 50-70 ล้านบาทต่อกิโลเมตร แท่นหลุมผลิตประมาณ 700-1,200 ล้านบาทต่อแท่น และค่าเจาะหลุมผลิตอีกประมาณ 50-100 ล้านบาทต่อหลุม สถิติการลงทุนสำรวจและพัฒนาแหล่ง(ล้านบาท) สัมพันธ์กับปริมาณปิโตรเลียมที่หาได้(บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน) จากกราฟจะพบว่า ปริมาณเงินลงทุนมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับปริมาณปิโตรเลียมที่ ผลิตได้ คือต้องลงทุนเพิ่มเพื่อให้ได้ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น และขั้นตอนการพัฒนาแหล่งต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าขั้นตอนการสำรวจมาก โดยในช่วง 6 ปี ที่ผ่านมานับจากปี 2550 ค่าใช้จ่ายด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาด โลกโดยมีมูลค่ารวมกันในแต่ละปีสูงกว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากเงินลงทุนด้านการสำรวจและการพัฒนาแหล่ง ยังมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ อีก คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการผลิตและขาย และ ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน โดยมีสัดส่วนตามกิจกรรมดังนี้ สัดส่วนมูลค่าการลงทุนตามกิจกรรม เงินลงทุนด้านการสำรวจปิโตรเลียม มีมูลค่าการลงทุนรวมกันประมาณ 185,500 ล้านบาท แยกตามกิจกรรมได้ดังนี้ คือ - ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาข้อมูลธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ มีมูลค่าการลงทุนรวมกันประมาณ 33,700 ล้านบาท (18.2%) - ค่าใช้จ่ายเพื่อการขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลประมาณ 151,800 ล้านบาท (81.8%) เงินลงทุนด้านการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม มีมูลค่าการลงทุนรวมกันประมาณ 962,230 ล้านบาท เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนมากที่สุด แยกเป็นกิจกรรมหลักๆ ที่สำคัญคือ - ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฐานหลุมผลิตและสถานีผลิตบนบก แท่นหลุมผลิต แท่นผลิตกลาง เรือผลิตและเรือกักเก็บในทะเล วางท่อส่งปิโตรเลียม ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้รวมกัน ประมาณ 582,800 ล้านบาท (60.5%) - ค่าใช้จ่ายในการเจาะหลุมพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยหลุมผลิตและหลุมอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น หลุมน้ำ หลุมทิ้งน้ำ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้รวมกันประมาณ 374,910 ล้านบาท (39%) เงินลงทุนด้านการดำเนินการผลิตและการขายปิโตรเลียม เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการผลิตและขาย การขนส่ง การบำรุงรักษาอุปกรณ์ และอื่นๆ รวมกันประมาณ 358,460 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน เป็นค่าใช้จ่ายสำนักงาน เงินเดือน ประกันและอื่นๆ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 120,740 ล้านบาท สถิติเงินลงทุนรายปี(กราฟแท่ง:ล้านบาท) เทียบกับ ราคาน้ำมัน(กราฟเส้น:เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) เนื่องจากการลงทุนกว่าร้อยละ 70 เป็นค่าใช้จ่ายด้านการเจาะหลุมและติดตั้งแท่นอุปกรณ์ จึงขอนำเสนอข้อมูลจำนวนหลุมเจาะและจำนวนการติดตั้งแท่นหลุมผลิตรายปี เปรียบ เทียบกับข้อมูลกราฟข้างบน เพื่อดูว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร ข้อมูลกราฟแสดงให้เห็นว่า ปริมาณงาน คือ จำนวนหลุมและจำนวนแท่นหลุมผลิต มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน กับปริมาณเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเหตุผลที่ต้องใช้จำนวนหลุม จำนวนแท่น มากมายขนาดนั้นเพราะแหล่งบ้านเราเป็นกระเปราะเล็กๆ บอกแบบนี้อาจโดนต่อว่า ได้ แต่มันเป็นเหตุผลทางด้านเทคนิคที่ตอบเป็นอย่างอื่นไม่ได้.. การ นำเสนอข้อมูลการลงทุนในกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนี้ น่าจะทำให้ผู้ที่สนใจและเคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียมจากแหล่ง ข้อมูลต่างๆ มาบ้าง คงจะได้เห็นภาพรวมและเกิดความเข้าใจมากขึ้นในธุรกิจนี้ ว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงและมีโอกาสที่จะกลับบ้านมือเปล่าค่อนข้างสูงใน ช่วงเริ่มต้นถ้าสำรวจไม่พบ หรือถ้าสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์และเข้าสู่ช่วงพัฒนาจะต้องใช้เงินลง ทุนอีกเป็นจำนวนมากและต่อเนื่องทุกปี โดยมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนเงินที่ลงไปจึงต้องมีความรู้ความชำนาญ ที่แท้จริง ถ้าใครคิดว่าธุรกิจนี้ทำแล้วมีแต่รวย ลงทุนต่ำ ค่าสัมปทานถูก ต้องลองทำดูครับ ผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจนี้ในประเทศไทย ผมขอแนะนำให้หาประสบการณ์จากการเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้รับสัมปทาน รายเดิมก่อน หรือถ้าใจร้อนต้องการเป็นผู้ดำเนินงานเอง เตรียมตัวเข้ามาแข่งขันยื่นซองประมูลแปลงสำรวจในรอบใหม่ได้นะครับ (สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21) เพราะมีหลายแปลงที่น่าสนใจ... เป็นบทวิเคราะห์และความคิดเห็นส่วนตัว ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ ข้อมูล ราคาต่อหน่วย เป็นตัวเลขโดยประมาณ แตกต่างไปตามพื้นที่และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลสถิติการลงทุนจาก กรมเชื้อเพลงธรรมชาติ https://www.facebook.com/notes/chayutpong-nunthanawanich/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%91/618526634847741
  7. chayutpong-nunthanawanich ความสำเร็จในการขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทย 8 พฤษภาคม 2013 เวลา 16:03 น. มาอีกแล้วครับ ท่าน สว. คนขยัน คราวนี้มาเรื่อง ความสำเร็จในการขุดเจาะ โดยได้กล่าวว่า " รายงานประจำปี 2553 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รายงานผลการขุดเจาะสำรวจบนบก 30 หลุม พบปิโตรเลียม 21 หลุม คิดเป็น 70% ขุดเจาะสำรวจในอ่าวไทย 35 หลุม พบปิโตรเลียม 25 หลุม คิดเป็น 71% การขุดเจาะรวม 65 หลุม พบ 46 คิดเป็น 71% บรรดา ทนายหน้าหอ นักวิชาการอุปโลกน์ ไม่ทราบว่ารับจ๊อบใครมาให้ข่าวเท็จกับประชาชนว่าความสำเร็จในการขุดเจาะ ปิโตรเลียมในประเทศตัวเองต่ำมากเฉลี่ย 3 ปี ระหว่าง 2552-2554 มีความสำเร็จเพียง 10% เท่านั้น จากรายงานประจำปี 2552 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อัตราพบปิโตรเลียม 70% ปี 2553 พบ 71% ปี 2554 พบ 68% การคำนวณความสำเร็จในการพบปิโตรเลียมจากการขุดเจาะสำรวจเฉลี่ย 3 ปี 2552-2554 อย่างไรเสียก็ต้องมากกว่า 10% แน่นอน ดิฉันจะขอนำรายงานประจำปี ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปี 2554 มาแสดงก่อน ( ส่วนรายงานปี2553 และ2552 จะนำมาลงให้ดูโดยลำดับในโอกาสต่อไป) เพื่อนมิตรจะได้ดูรายงานของจริงของกรมเชื้อเพลิงฯ ว่าระบุผลสำเร็จในการพบปิโตรเลียมในปี 54 เฉลี่ยอยู่ที่ 68% เฉพาะในอ่าวไทยพบในอัตรา 100% ในขณะที่คุณพิชิตเอาตัวเลขมาแสดงว่ามีความสำเร็จแค่ 7% เท่านั้น และเฉลี่ย 3 ปี แค่ 10% กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีธรรมชาติในการบอกข้อมูลที่คลาดเคลื่อนตลอดคือ ตัวเลขทรัพยากรในประเทศจะบอกต่ำเกินจริง ส่วนรายได้ที่เป็นส่วนแบ่งจากสัมปทานก็จะบอกสูงเกินจริงเสมอ สมควรให้คนอย่างนี้เป็นผู้จัดการมรดกของบ้านเมืองหรือไม่ " จากข้อความดังกล่าวนั้น อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ซึ่งผมขอนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อขยายความให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมาก ขึ้นดังนี้ครับ ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า ความสำเร็จในการสำรวจหาปิโตรเลียม ขึ้นมาใช้ประโยชน์นั้น ไม่ได้วัดกันที่ตัวเลขของความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเลียมเพราะการเจาะพบ ปิโตรเลียม ไม่ได้บ่งบอกถึงปริมาณปิโตรเลียมที่พบว่า พบมากน้อยแค่ไหน ผลิตขึ้นมาได้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า เจาะพบแล้วแต่ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ หรือนำขึ้นมาได้แต่ปริมาณเพียงน้อยนิดแค่พอคุ้มทุน ผู้รับสัมปทานอาจตัดสินใจไม่พัฒนาต่อ ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น สมมุตว่า ในปี 2000 เจาะหลุมสำรวจ 10 หลุม พบปิโตรเลียม 2 หลุม ประเมินแล้วมีปริมาณสำรองฯ รวมกัน 5 แสนบาร์เรล และ ในปี 2001 เจาะหลุมสำรวจ 5 หลุม พบปิโตรเลียม 4 หลุม ประเมินแล้วมีปริมาณสำรองฯ รวมกัน 5 หมื่นบาร์เรล จากตัวอย่างจะพบว่า ในปี 2000 มีอัตราความสำเร็จในการขุดพบร้อยละ 20 พบปิโตรเลียม 5 แสนบาร์เรล ในขณะที่ ปี 2001 มีอัตราความสำเร็จในการขุดพบสูงถึงร้อยละ 80 แต่กลับพบปิโตรเลียมเพียง 5 หมื่นบาร์เรล พอจะเป็นตัวอย่างยืนยันได้นะครับว่า ร้อยละความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเลียม ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณที่พบนะครับ ในรายงานประจำปีของกรมเชื้อเพลิงฯ เป็นการรายงานข้อเท็จจริงผลการเจาะหลุมซึ่งรวมหลุมหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งหลุมสำรวจ หลุมประเมินผล หลุมพัฒนาหรือหลุมผลิต และการเจาะพบปิโตรเลียมจะพบมากหรือน้อย ส่งผลต่อปริมาณสำรองฯ ของประเทศในภาพรวมหรือไม่อย่างไรนั้น ต้องนำผลการเจาะในแต่ละปีไปสัมพันธ์ เทียบดูกับข้อมูลในส่วนของปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ได้รายงานไว้ด้วยทุกปี ซึ่งพอจะดูภาพรวมของศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศได้ว่าเพิ่ม่ขึ้นลดลงมากน้อย แค่ไหนในแต่ละปี อีกทั้งปริมาณที่เจาะพบนั้น ในความเป็นจริงไม่ได้ประเมินกันด้วยหลุมเจาะสำรวจเท่านั้นนะครับ จะต้องใช้ข้อมูลจากหลุมประเมินผล หลุมผลิต และข้อมูลด้านอื่นๆ ประกอบด้วยถึงจะรู้แน่นอนว่าบริเวณนั้นๆ มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมอยู่เท่าใร ตัวเลขความสำเร็จที่ท่าน สว. ได้กล่าวถึงนั้น ถ้าท่านต้องการที่จะสื่อว่า ในแต่ละปีความสำเร็จในการเจาะพบมีอัตราสูง แสดงว่าประเทศไทยมีศักยภาพปิโตรเลียมสูงตามผลการเจาะไปด้วยนั้น ผมกลับมองอีกมุมหนึ่งว่า ข้อมูลดังกล่าวกลับเป็นการยืนยันในเรื่องศักยภาพปิโตรเลียมในบ้านเราเป็น อย่างดี ในแง่ที่ว่า ปิโตรเลียมที่เหลืออยู่เป็นเพียงแหล่งเล็กๆ แม้จะมีอัตราความสำเร็จในการ เจาะพบสูง แต่ผลที่ได้กลับพบปิโตรเลียมในปริมาณน้อยนิด แทบไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศอย่างมีนัย สำคัญ ดังนั้น ถ้าจะลองวัดความสำเร็จของการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในบ้านเราโดยดูจากปริมาณ ปิโตรเลียมที่พบและผลิตได้ ว่าผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งผมจะขอนำเสนอโดยแบ่งออกเป็นตามรอบสัมปทาน ดังนี้ ลองดูผลการเจาะหลุมสำรวจตามรอบสัมปทานก่อนนะครับ จากรูปนี้ ยืนยันได้นะครับ ว่าอัตราความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเลียม ไม่ได้สัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณที่ปิโตรเลียมที่พบ ตัวอย่างลองเปรียบเทียบในรอบที่ 12 มีอัตราความสำเร็จน้อยกว่าแต่กลับพบปิโตรเลียมมากกว่าในรอบที่ 18 ซึ่งรอบนี้ใช้หลุมสำรวจค่อนข้างมาก และ อัตราความสำเร็จมากกว่า แต่พบปิโตรเลียมน้อยกว่า ตามรูปต่อไปนี้ครับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปิโตรเลียมหายากขึ้น ศักยภาพปิโตรเลียมลดต่ำลง (แล้วจะเรียกร้องให้เก็บรายได้เข้ารัฐมากขึ้น...) ปริมาณสำรองที่พบ (ปริมาณผลิตสะสม + ปริมาณที่พิสูจน์แล้ว (55) ) จากภาพทั้งหมดที่นำเสนอ พอจะสรุปได้ว่า ความสำเร็จในการพบปิโตรเลียม มูลค่าการลงทุน และปริมาณการผลิต ส่วนใหญ่จะรวมกันอยู่ในแปลงสัมปทานรอบที่ 1 และ ให้สังเกตุนะครับว่า ตั้งแต่ปี 2532 (รอบที่ 13) ซึ่งมีการแก้ไขกฎหมายในการจัดเก็บรายได้ ทำให้รัฐได้สัดส่วนเพิ่มขึ้น(เฉลี่ยรวม 74:26) แต่ไม่รู้ว่าจะไปบังคับใช้กับ แปลงดีๆ ที่ไหน เพราะหลังจากรอบที่ 13 เป็นต้นมา มีการพบปิโตรเลียมน้อยมาก และภาพรวมของผลประกอบการของแต่ละรอบยังขาดทุนอยู่เลยครับ เห็นอย่างนี้แล้ว จะหาใครมาลงทุนยังยากเลย ต่อให้แก้กฎหมายเรียกเก็บรายได้รัฐเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าปิโตรเลียม ตามที่ท่าน สว. เสนอแนะ แล้วเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็ขอให้ลองจินตนาการเอาเองว่า ใครจะเข้ามาลงทุน และจะไปหาปิโตรเลียมที่ไหนมาแบ่งผลกำไรกัน อย่าไปเสียเวลา เถียงกันเรื่อง อัตราความสำเร็จในการเจาะพบปิโตรเลียมเลยครับ เพราะมันมีปัจจัยต่างๆ ที่เข้าใจไม่ตรงกันอยู่มาก เช่น ชนิดของหลุมเจาะตามความหมายที่แท้จริง ความคุ้มค่า ช่วงเวลา เป็นต้น ผมเอาข้อเท็จจริง มาให้ดูแล้ว ก็ไม่รู้ว่าท่านจะเปลี่ยนความคิด หรือจะยังยืนยันให้แก้กฎหมายก่อนเปิดสัมปทานอยู่อีก เป็นการวิเคราะห์และเป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ.... ผิดพลาดต้องขออภัย รายได้จากสัมปทานปิโตรเลียม ตามลิงค์ครับ https://www.facebook.com/notes/chayutpong-nunthanawanich/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1/572248706142201 รายได้รัฐจากระบบสัมปทานเทียบกับเพื่อนบ้าน https://www.facebook.com/notes/chayutpong-nunthanawanich/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/582621421771596
  8. ข้อมูลเรื่องพลังงานจากข้าราชการกระทรวงพลังงาน เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรจะต้องรับฟัง อย่าผลักข้าราชการว่าเป็นกลุ่มทุจริตคอร์รับชั่น อย่าตั้งแง่ว่าข้อมูลราชการบิดเบือนไม่น่าเชื่อถือ ถ้่าโกหกไม่มีทางโกหกได้ทุกจุดอ่านไปเรื่อยๆหางจะโผล่ครับ(ข้อมูลสุดท้ายจะขัดแย้งกันเอง) อย่ามองว่าข้อมูลที่แชร์ในโลกออนไลน์ของกลุ่มทวงคืนพลังงานซึ่งมีหลายกลุ่มมากถูกทั้งหมด เวลาชี้แจงอาจเยอะไม่ได้เพราะประชาชนจะไม่สนใจ ประชาชนเลยได้ข้อมูลไม่ครบ
  9. ฟังคำชี้แจงของฝ่ายราชการด้วยนะ ฟังความข้างเดียวไม่ได้ ต้องฟังทั้ง2ฝั่งอย่าไปตั้งป้อมว่าข้าราชการโกหกตั้งแต่แรกครับ ถ้าข้าราชการโกหก เดี๋ยวหลังฐานอื่นจะฟ้อง การโกหกไม่มีทางแก้เอกสารต่อเนื่องต่างๆให้ตรงกันทุกจุดได้ครับ โกหกยังไงก็จะมีหางโผล่ให้เห็นครับ ปอสาม น้อง ติดตาม · 9 ตุลาคม · แก้ไขแล้ว · · แชร์ให้ทราบโดยทั่วกันจะได้ไม่โดนหลอก การผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งบูรพาของบริษัท สยามโมเอโกะ รถที่เห็น ชาวโลกเค้าเรียกว่ารถขนส่งน้ำมันดิบมีความจุประมาณ 200 บาร์เรล (น้ำมันดิบ ไม่ใช้หน่วยเป็นลิตรนะครับ) รถทุกคันนะครับจะส่งไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจากนะครับ ประมาณ 3 คันต่อวัน หมายความว่าแหล่งนี้ผลิตได้ประมาณ 600 บาร์เรลต่อวัน (ประเทศไทยใช้น้ำมันดิบวันละ 1,000,000 บาร์เรล) ก่อนที่น้ำมันดิบจะส่งออกไปจากฐานผลิตปิโตรเลียมที่เห็นนั้นจะถูกวัดปริมาณลง seal ทุกครั้งทุกคัน แล้วไปวัดปริมาณที่ถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจนอีกครั้งที่โรงกลั่นบางจาก ถ่ายอยู่ที่แหล่งบูรพา แต่บอกรถขนน้ำมันจากแหล่งลานก ระบือ ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้ อยู่ห่างกัน และดำเนินงานกันคนละบริษัท ผู้รับสัมปทานคือ บริษัทสยามโมเอโกะนะครับ มีอัตราการผลิตวันละประมาณ 600 บาร์เรลนะครับ น้ำมันดิบที่ผลิตได้ถูกขายให้โรงกลั่นบางจากและใช้ในประเทศทั้งหมดครับ ส่วนที่บอกว่าการผลิตแสนง่ายต่อท่อแล้วดูดเหมือนน้ำบาดาล เปิดก๊อกใส่รถ คืออย่างนี้ครับการที่ไม่เห็นหัวโยก Beam Pump หรือปั๊มหัวโยกนั้น เนื่องจาก ไม่สามารถใช้ Beam Pump ได้ แต่ความจริงคือหลุมนี้มีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยในการผลิตอยู่ที่ก้นหลุมที่ไม่สามารถมองจากข้างบนได้ ซึ่งมันมีชื่อว่า Jet Pump ค่าใช้จ่ายต่อวันไม่เท่าไหร่หรอกครับ 107,250 บาทต่อหลุมต่อวันเท่านั้นเอง ซึ่งแหล่งนี้มีการติดตั้ง Jet Pump อยู่ 2 หลุม ส่วนหลุมที่ไม่ได้ติดตั้ง Jet Pump นั้นมีทั้งหมด 3 หลุม ค่าใช้จ่ายต่อวันก็ไม่สูงมากครับ แค่ 46,200 บาทต่อหลุมเอง **(ฺBeam pump and Jet pump ปกติทั่วไป หากแหล่งกักเก็บมี drive มีแรงดันขับเคลื่อนมากพอที่จะดันเอาน้ำมันดิบขึ้นมาได้ หลุมนั้น ไม่ต้องติดปั้ม แต่ผลิตไป บางแหล่ง ความดันลดไม่ไหล ก็ต้องติดปั้ม แต่อยู่ๆ จะเปิดก๊อกไหลใส่รถไปเลย ไม่ได้ ต้องมี process คือ ต้องเอาน้ำมันดิบนั้นเข้า แยกน้ำเพื่อให้มีน้ำปนในน้ำมันดิบน้อยที่สุด ตามผู้ซืีอกำหนด โดยเก็บน้ำมันไว้ใจแทงค์ หรือฉีดสารบางตัวเพื่อให้น้ำมันดิบแยกน้ำกับน้ำมันดิบได้ไวขึ้น ก่อนโหลดลงรถ) สรุปนะครับจาก 5 หลุมมีค่าใช้จ่ายต่อวันแค่ประมาณ 350,000 บาทต่อหลุมทั้งหมดเองครับ ชัดเจนนะครับที่บอกว่าต่อท่อ เปิดก๊อก ใส่รถ ไม่ยุ่งยาก ไม่ลำบาก เอากันง่ายๆ ดูดกันสบาย มันง่ายตรงไหนครับ (แค่แหล่งเดียวนะครับ อย่าเหมารวมทุกที่เข้าไปว่า Cost มันจะเท่ากันทุกที่) ส่วนที่บอกว่าราคาน้ำมันสุกขายเป็นราคานำเข้าบวกค่าขนส่งนั้น คืออย่างนี้ครับขอความกรุณาอย่าเอาหัวไว้กั้นหูนะครับ คือการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ(น้ำมันดิบ) มีการจัดเก็บค่าภาคหลวงให้ท้องที่กระทรวงการคลัง เก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมส่งกระทรวงการคลัง เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษส่งกระทรวงการคลัง ไม่มีส่วนไหนเลยที่ไปเกี่ยวข้องการราคาน้ำมันสุก ซึ่งราคาที่ขายนั้นเป็นราคาเนื้อน้ำมันรวมกับเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ค่าการตลาด ไม่มีส่วนเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันดิบในประเทศเลยครับ ซึ่งราคาน้ำมันสุกที่ขายนั้นกำหนดโดยรัฐบาลครับ โดยการที่มาอ้างเรื่องราคาน้ำมัน สุกนั้นกำหนดโดย พรบ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่บอกว่าแก้ไขมา 5 ครั้งแต่ไม่แก้ไขข้อนี้ ใช่ครับไม่แก้ไขข้อนี้ เพราะว่ามันไม่มีข้อนี้ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเลย ต่อมาคือสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย ความเป็นธรรมคืออะไร การไม่บิดเบือดข้อมูลต่างหากครับ ความถูกต้อง คือการไม่โกหกกัน เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เลิกมโน ที่ป้าบอกว่าเรามีน้ำมันดิบเป็นของตัวเองและใช้ราคาน้ำมันตลาดโลก ง่ายๆ ครับ คือที่เรามีมันไม่พอกับที่เราใช้ ดังนั้นไม่แปลกที่จะใช้ราคาตลาดโลกครับ (ผลิตได้ประมาณ 150,000 บาร์เรลต่อวัน ใช้วันละ 1,000,000 บาร์เรล) และที่บอกว่าผู้บริหารกระทรวงพลังงานบอกว่าลงทุนสูง เจาะยากอันนี้ก็ว่ากันด้วยข้อเท็จจริงดังนี้นะครับ ค่าใช้จ่ายในการผลิตของทั้ง 5 หลุมตกวันละ 350,000 บาท เงินลงทุนสิ่งปลูกสร้าง กระบวนการผลิตทั้งหมด เป็นเงินประมาณ 57,090,000 บาท เงินลงทุนส่วนนี้คงเป็นค่าใช้จ่ายที่ต่ำนะครับ น้ำมันดิบที่ขึ้นมานั้นไม่ใช่ว่าเอาไปใส่ถัง เปิดก๊อก ใส่รถและขายได้เลยนะครับ มันต้องมีกระบวนการที่มันสมองและสองตาของป้ามองไม่ออกหรอกว่า จะต้องไปผ่านกระบวนการนำน้ำและก๊าซธรรมชาติออกจากเนื้อน้ำมันดิบด้วยครับ สุดท้ายที่ทิ้งคำถามว่าอยากให้ข้าราชการกระทรวงพลังงานปล่อยให้ประเทศไทยอยู่ในสภาพแบบนี้ ตอบไปหมดแล้วนะครับ เกี่ยวกับข้อจริง แต่ที่คนที่ทำงานรู้สึกแย่คือ ปล่อยให้ประเทศไทย มีกลุ่มคนบางกลุ่มมาคอยบิดเบือนข้อมูล สร้างความสับสนให้ประชาชนทุกวัน รักนะคะ ♥♥ จาก กลุ่มบุคคลากรที่ทำงานและเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม - ความสำเร็จในการขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทย http://on.fb.me/1nwS7kC - ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๑) http://on.fb.me/1oloao5 - ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๒) http://on.fb.me/1y9sVS9 - ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๓) http://on.fb.me/1rmDT0X ที่มาของคลิปดังกล่าว https://www.facebook.com/video.php?v=957070991080238&set=vb.221317851322226&type=2&theater — กับ Pumi Ngasi, Chiraporn Morakotchinda และ Jan Janicha
  10. ระบบสัมปทานปิโตรเลียม VS ระบบแบ่งปันผลผลิต ที่เถียงกันอยู่ตอนนี้ สำส่วนตัวผลผมเลือกแบ่งปันผลผลิตครับ เหตุผลของผลที่เลือกแบ่งปันผลผลิต 1)การตรวจสอบผลผลิต การตรวจสอบผลผลิตที่ได้ง่ายสุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต หลบอย่างมากก็หลบได้ไม่มาก น้ำมันดิบไม่ไปโรงกลั่นก็ต้องส่งออกน้ำมันดิบ ยืนยันว่า2ระบบการตรวจสอบยอดการผลิตไม่ต่างครับ เหตุผลหลายอย่างที่บางท่านยกมาที่บอกว่าแบ่งปันผลิตดี ที่ผมดูระบบสัมปทานก็ตรวจสอบได้ไม่มีปัญหาครับ 2)เงินลงทุนของผู้รับสัมปทาน เป็นตัวที่ตรวจสอบยากมาก ใครจะตรวจสอบได้ หาทางบวกเพิ่ม50%หรือ100%น่าจะทำได้ไม่ยาก ในเมื่อส่วนนี้ตรวจสอบยากมาก ตัวนี้คือปัญหาครับ ประเทศไทยปี 2524 - 2554 ผลิตปิโตรเลียมได้ทั้งสิ้น 3,415,928 ล้านบาท(ตัวเลขนี้หมกเม็ดได้ไม่มากครับ) ผู้รับสัมปทานเงินลงทุนทั้งด้านการสำรวจและผลิตจำนวนทั้งสิ้น 1,459,082 ล้านบาท(ตัวเลขส่วนนี้ครับที่เล่นกลได้เยอะมาก ตัวเลขจริงอาจแค่7แสนล้านก็ได้ครับ) ระบบสัมปทาน จะเอามูลค่าปิโตรเลียมที่ผลิตได้-เงินลงทุน ได้เป็นกำไรสุทธิมาแบ่งให้รัฐอีกครั้ง การตุกติกตัวเลขการลงทุนทำได้ง่ายและเป็นส่วนตรวจสอบยากมาก บริษัท เอนรอน (Enron Corp) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าพลังงานสหรัฐ ยังปกปิดตัวเลขทางบัญชีมาได้หลายปี รู้อีกทีก็ถึงขั้นล้มละลายแล้ว ทำรายจ่ายให้สูงกว่าจริงง่ายกว่าเยอะครับ ที่ผ่านมามีบางบริษัทที่ได้รับสัมปทานขายสัมปทานที่ได้รับในราคาสูงมาก ขายให้ใคร บริษัทในเครือหรือนอมินีหรือเปล่า บริษัทใหม่เมื่อซื้อมาแพงก็จะมีต้นทุนเงินลงทุนสูงขึ้นมาก ก็จะมาหักจากกำไรได้เยอะ รัฐก็จะได้น้อยลง ----เลือกแบ่งปันผลิตดีกว่าครับ ตัวเลขการผลิตโกงได้ไม่เยอะครับ ตรวจสอบง่ายครับ รายจ่ายเป็นเรื่องของคุณทั้งหมด คราวนี้ใครจะโกงเรื่องค่าใช้จ่ายเราไม่เดือดร้อน ใครเสนอแบ่งปันผลผลิตให้รัฐมากกว่าก็ได้ไป ตั้งระบบแบ่งปันแบบขั้นบรรไดก็ดีครับ เงินก้อนแรกที่จ่ายให้รัฐทุกบริษัทจ่ายเท่ากัน ยอดผลิตระดับ1แบ่งกี่ให้รัฐกี่% ระดับ2กี่% ระดับ3กี่% ****แบ่งปันผลผลิตแล้ว การสำรวจปริมาณน้ำมันว่ามีเท่าไหร่ก่อนยื่นประมูล จำเป็นหรือเปล่าผมไม่แน่ใจครับ****
  11. อาจารย์Decharut Sukkumnoed ถามมาว่าอยู่แถวไหนครับ จะได้แนะนำที่ใกล้ให้ครับ จำไม่ได้แล้วว่าพี่ปุณณ์อยู่จังหวัดอะไร
  12. ล่าสุดอาจารย์Decharut Sukkumnoed บอกว่าเดี๋ยวจะส่งข้อมูลให้ครับ
  13. Vinai Kall รายได้รัฐจากกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ตั้งแต่ปี 2524- 2556 สรุปได้ดังนี้ 1.1 รายได้รัฐทางตรง จัดเก็บโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ. 2514 รายได้ส่วนนี้ประกอบด้วยประกอบด้วย - ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม จำนวน 0.554 ล้านบาท - เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) จำนวน 0.047 ล้านบาท 1.2 รายได้รัฐทางตรง จัดเก็บโดยกรมสรรพากรภายใต้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 - ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม รวม 0.912 ล้านบาท ดังนั้นรายได้รัฐรวมทั้งรายได้ทางตรงจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และจากกรมสรรพสามิต จำนวน 1.518 ล้านล้านบาท 1.3 รายได้รัฐทางอ้อม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากยอดขายปิโตรเลียม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคลที่ให้บริการรับจ้างแก่ผู้รับสัมปทาน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของพนักงาน/บุคคล ที่ได้รับค่าจ้างจากผู้รับสัมปทาน ตั้งแต่ผลิตมาถึง 2556 สรุปได้ดังนี้ มูลค่าขายปิโตรเลียมจำนวน 4.465 ล้านล้านบาท เงินลงทุนจำนวน 1.830 ล้านล้านบาท กำไร จำนวน 2.635 ล้านล้านบาท รัฐได้ 1.518 ล้านล้านบาท ผู้ประกอบการได้ 1.117 ล้านล้านบาท ผลตอบแทนของรัฐ Government Take ตามความหมายสากล หมายถึงอัตราส่วนรายได้ต่อกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐได้ 58% ส่วนผู้ประกอบการได้ 42 % ถ้าเรามองผลตอบแทนของรัฐกับผู้ประกอบจะเห็นว่ารัฐได้มากกว่าผู้ประกอบการ บางกลุ่มมองว่ารัฐไม่ได้ลงทุนเป็นเงิน แต่บางกลุ่มมองว่ารัฐลงทุนในรูปแบบทรัพย์ในดิน บางกลุ่มมองว่าปิโตรเลียมใต้ดินยังตีเป็นมูลค่าการลงทุนไม่ได้เพราะเจ้าของ คือรัฐยังไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ใหน สุดท้ายยังหาจุดสรุปไม่ได้ 21 นาที · เลิกถูกใจ · 1 Vinai Kall เอาแค่เปิดสัมปทานรอบ ที่ 20 ยังไม่คืนทุน ดังนั้นมองแค่ปีเดียวไม่ได้_____________ เส้นทางสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยใช่ว่าโรยไปด้วยกลีบกุหลาบ ตั้งแต่ ปี 2543 ถึง 2555 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เปิดสัมปทานปิโตรเลียมไปแล้ว 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อ 2550 รวมระยะเวลา 12 ปี จำนวนสัมปทานที่เปิด 49 สัมปทาน หรือจำนวน 235 แปลง แต่มีผู้ได้รับสัมปทานจำนวน 63 แปลงเท่านั้น หรือ 26.8 % เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่เปิด และปัจจุบัน ปี2555 เหลือแปลงสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานคงถือไว้ 56 แปลง หรือ 88.9 % ของแปลงสัมปทานที่ได้รับ เนื่องจากมีการคืนสัมปทานพื้นที่มีศักยภาพปิโตรเลียมต่ำ แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มความรุ่งเรือง ยุคทองด้านปิโตรเลียมกำลังจะริบรี่ กรณี ที่จำแนกตามพื้นที่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเปิดสัมปทานให้แก่ผู้สนใจจำนวน 1.126 ล้าน ตร.กม. แต่มีผู้ได้รับพื้นที่เพียง 0.359 ล้าน ตร.กม เท่านั้น หรือ 31.9 % ซึ่งต่อมามีการคืนพื้นที่เหลือจำนวน 0.213 ล้าน ตร.กม หรือ 59.3 % เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน มีการสงวนพื้นที่ไว้เป็นพื้นสำหรับการผลิตจำนวน 1,308 ตร.กม หรือ 0.36 % เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ได้สัมปทาน กรณี จำแนกตามเงินลงทุนซึ่งตลอดเวลา 12 ปี ที่เปิดสัมปทานมา 3 ครั้ง ผู้รับสัมปทานได้ลงทุนไปแล้ว 78,982 ล้านบาท มีการผลิตทั้งก๊าชและน้ำมันมูลการขาย 77,212 ล้านบาท รายได้เป็นของรัฐเท่ากับ 22,993 ล้านบาท หรือ 29.1 % เปรียบเทียบกับเงินลงทุน ซึ่งรวมทั้งค่าภาคหลวง ภาษี และ SRB ส่วนรายได้ของผู้รับสัมปทานยังติดลบ -24,763 ล้านบาท หรือ -31.35 % ถ้า พิจารณาด้านปริมาณสำรอง พบว่าปริมาณสำรองก๊าชธรรมชาติเพิ่มขึ้น 78.1 พันล้าน ลบ ฟุต และปริมาณสำรองน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 144.8 ล้าน บาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนหลุมสำรวจ 100 หลุม หลุมประเมินจำนวน 66 หลุม และหลุมผลิตจำนวน 223 หลุม จาก การเปิดสัมปทานมาตั้งแต่ครั้งที่ 18 เมื่อปี 2543 ถึงปัจจุบันได้เปิดสัมปทานมาแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลาตั้งแต่เปิดสัมปทานถึง 2555 รวมระยะเวลา 12 ปี พบว่าแนวโน้มของปริมาณสำรองที่พบหรือเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างมาก พร้อมกับความคุ้มทุนของผู้รับสัมปทานยิ่งน้อยลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนอย่างมาก และเป็นความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
  14. Vinai Kall ผลตอบแทนภาครัฐจากกิจการปิโตรเลียม จากรายงาน ประจำปี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ประจำปี 2554ตั้งแต่เริ่มมีการผลิตปิโตรเลียม ปี 2524 - 2554 ผลิตปิโตรเลียมได้ทั้งสิ้น 3,415,928 ล้านบาท ผู้รับสัมปทานเงินลงทุนทั้งด้านการสำรวจและผลิตจำนวนทั้งสิ้น 1,459,082 ล้านบาท จากมูลค่าและค่าใช้จ่ายเป็นกำไรก่อนหักภาษีจำนวน 1,956,846 ล้านบาท และต้องเสียภาษี 50 % เป็นเงินทั้งสิ้น 695,765 ล้านบาท และต้องเสียค่าภาคหลวงตั้งแต่ 5-15 % รวมทั้งผลตอบแทนพิเศษอื่นๆจำนวน 464,257 ล้านบาท รัฐได้จากการผลิตปิโตรเลียมจำนวน 1,160,022 (695,765 + 464,257 ) ล้านบาท และผู้รับสัมทานได้จำนวน 796,824 (3,415,928 - 1,459,082 -695,765 -464,257 ) ล้านบาท ถ้าพิจารณาผลตอบแทนทั้งภาครัฐและผู้รับสัมปทาน สรุปได้ดังนี้ 1.เมื่อเปรียบเทียบกับ ผลกำไรก่อนหักภาษี จำนวน 1,956,846 ล้านบาท รัฐได้ผลตอบแทน 59% และผู้รับสัมทานได้ผลตอบแทน 41% 2.เมื่อ เปรียบเทียบกับ เงินลงทุน จำนวน 1,459,082 ล้านบาท รัฐได้ผลตอบแทน 79% และผู้รับสัมทานได้ผลตอบแทน 55% ส่วนนี้ถ้ามองให้ดีจะเห็นว่ารัฐไม่ได้ลงทุนอะไร จะคิดว่าน้ำมันอยู่ใต้ดินคือทุนไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ใหน การที่หาว่ามันอยู่ที่ให้เพื่อให้เป็นปริมาณที่พสูจน์แล้วต้องลงทุน 3.เมื่อเปรียบเทียบกับ มูลค่าปิโตรเลียม จำนวน 3,415,928 ล้านบาท รัฐได้ผลตอบแทน 34% และผู้รับสัมทานได้ผลตอบแทน23% 2 ชม. · ถูกใจ Vinai Kall เมื่อ พิจารณาจากข้อมูลดังกล่าวพบว่ารัฐผลตอบแทน 59:41 เมื่อเทียบกับผลกำไร 79:55 เมื่อเทียบกับเงินลงทุน 34:23 เมื่อเทียบกับมูลค่าปิโตรเลียม ข้อเรียกร้อง ต้องการให้แก้ พรบ ปิโตรเลียมเพื่อให้ค่าภาคหลวงเป็น 80 % ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้ จากข้อมูลที่กล่าวมา เมื่อเทียบกับเงินลงทุนผลตอบแทนเท่ากับ 34:23 คือรัฐได้ 34 ผู้ประกอบการได้ 23 และเงินลง 43 เพื่อให้จินตนาการได้ง่ายขึ้น ถ้าลงทุนร่วมค้ากันลงทุนไป 43 บาท ขายสินค้าได้ 100 เหลือกำไร 57 บาท มาแบ่งสรรปันส่วนกันอย่างไร ถ้ารัฐจัดเก็บ 80 % หรือ 80 บาทจากมูลค่า 100 บาท จะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะว่าได้กำไรเพียง 57 บาทเท่านั้นเมื่อพิจารณาจากข้อมูลดังกล่าวพบว่ารัฐผลตอบแทน 59:41 เมื่อเทียบกับผลกำไร 79:55 เมื่อเทียบกับเงินลงทุน 34:23 เมื่อเทียบกับมูลค่าปิโตรเลียมข้อเรียกร้อง ต้องการให้แก้ พรบ ปิโตรเลียมเพื่อให้ค่าภาคหลวงเป็น 80 % ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้ จากข้อมูลที่กล่าวมา เมื่อเทียบกับเงินลงทุนผลตอบแทนเท่ากับ 34:23 คือรัฐได้ 34 ผู้ประกอบการได้ 23 และเงินลง 43 เพื่อให้จินตนาการได้ง่ายขึ้น ถ้าลงทุนร่วมค้ากันลงทุนไป 43 บาท ขายสินค้าได้ 100 เหลือกำไร 57 บาท มาแบ่งสรรปันส่วนกันอย่างไร ถ้ารัฐจัดเก็บ 80 % หรือ 80 บาทจากมูลค่า 100 บาท จะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะว่าได้กำไรเพียง 57 บาทเท่านั้น ทั้งหมดเป็นข้อมูลจริง พวกที่เบี่ยงเบน ยังแถต่อไปว่า มูลค่าปิโตรเลียมคือ เงินลงทุนของรัฐ ดังนั้นรัฐต้องได้มากกว่านี้จากข้างบน อ่านให้ดี มันเหลือ 57 % จะแบ่งกันอย่างไร จะเอาทั้งหมดรัฐก็ยังได้เพียง 57 %
  15. บทความ:โลกที่ซับซ้อน โดย อ.ประสาท มีแต้ม ASTV ผู้จัดการออนไลน์ “เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย” “น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก" >>> 1. ความเป็นมา คุณอัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนระดับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2524 (รวมเรื่องสั้นชื่อ “ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง”) ได้ตั้งคำถามกับผมในวงอาหารแห่งหนึ่ง พร้อมกับอ้างคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสคนดังระดับรองนายกรัฐมนตรีหลายสมัยว่า “จริงหรือเปล่าที่ด็อกเตอร์…บอกว่าประเทศไทยไม่ได้มีน้ำมันดิบมากอย่างที่คนเข้าใจกัน” ผมได้ตอบนักเขียนผู้อาวุโสกว่าผมเกือบ 3 ปีไปอย่างสั้นๆว่า “เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย” ผมได้ขยายความอีกเล็กน้อยว่า “น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก มันซับซ้อนไหมพี่” “ส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายให้คนไทยด้วย” เสียงคุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ นักจัดรายการวิทยุผู้แหลมคมและมากด้วยประสบการณ์เสริมขึ้นมา “แล้วทำไมคนไทยไม่ค่อยรู้กัน” คุณอัศศิริ ถามต่อ “ก็เหมือนกับดีบุกในช่วง 14 ตุลาคม 2516 นั่นแหละพี่” ผมย้อนความหลังให้วงสนทนาผู้สูงวัย “กว่าที่คนไทยจะรู้เรื่อง เขาก็โกยไปเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแร่แทนทาลัมราคาสูงกว่าดีบุกหลายเท่าปนติดไปด้วยแต่เราไม่รู้ ตอนนี้ประเทศไทยส่งทองคำออกอีกแล้ว ปีละประมาณ 4 ตัน คนไทยก็ไม่รู้ แถมชาวบ้านจำนวนมากได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงจากไซยาไนด์” “ที่คนไทยไม่รู้เพราะผู้ประกอบการจงใจไม่ให้เรารู้ เรื่องน้ำมันก็เหมือนกัน มีข้อมูลจริงมั่ง เท็จมั่ง และที่จงใจบิดเบือนก็มาก แต่เรื่องสำคัญคือเรื่องความเป็นธรรม” ผมกล่าวต่อไปว่า “ในเรื่องความเป็นธรรมนั้น พี่คิดดู ในปี 2554 บริษัทที่ได้รับสัมปทานมีกำไรสุทธิร้อยละ 97 ของเงินลงทุนในปีนั้น ข้าราชการระดับสูงบอกกับประชาชนว่าแหล่งปิโตรเลียมเราเป็นหลุมเล็กๆ ต้นทุนในการขุดเจาะสูง จะเรียกผลตอบแทนสูงก็ไม่ได้ เหมือนลูกสาวเราไม่สวยจะเรียกสินสอดแพงๆ เดี๋ยวลูกก็ขึ้นคานหรอก” “กำไรสุทธิ 97%!” เพื่อนร่วมวงอีกท่านหนึ่งอุทานออกมา “ใช่ 97 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุน แต่ยอดเงินลงทุนไม่ใช่แค่ร้อยล้านพันล้านบาทนะ แต่มันคือแสนห้าหมื่นล้านบาทเชียวนะ” ผมตอบอย่างมั่นใจพร้อมกับถามกลับไปว่า “มันเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรไหม? ความเสี่ยงก็น้อย สินค้าก็ไม่บูด แถมผูกขาดอีกต่างหาก” เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าภาพได้เสนอจะชวนเพื่อนสนิทของเขามาคุยกับผมในเรื่องปิโตรเลียม ผมค่อนข้างจะลังเลที่จะรับนัดพร้อมกับเล่าประสบการณ์ตรงที่ผมเคยประสบว่า “ผมเคยคุยกับนักธุรกิจที่เป็นวิศวกรด้วย เป็นชาวสงขลา ตอนนั้นคุยกันเรื่องท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ทั้งๆ ที่ผมอ้างแหล่งข้อมูลของทางราชการ แต่เขาไม่เชื่อ ผมบอกให้เขาไปตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง และเอาหลักฐานประกอบตัวเลขของเขามาด้วย ปรากฏว่าเขาหายเงียบไปเลย” เราแยกย้ายกันกลับเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืนพร้อมกับต้องปลุกเพื่อนร่วมวงบางคนที่กำลังกรน 2. ค้นข้อมูลจากภาครัฐ กลับถึงบ้านแล้ว ผมรีบเปิดดูรายงานประจำปี 2555 ซึ่งเป็นรายงานปีล่าสุดของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน วันรุ่งขึ้นผมได้สรุปผลประกอบการในกิจการผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยซึ่งก็เป็นข้อมูลของทางราชการแต่ผมวิเคราะห์คนละมุม โดยเลือกมุมซึ่งเป็นความจริงที่สำคัญมากมาเสนอ ดังได้แสดงในแผ่นภาพข้างล่างนี้ ตัวเลขที่ผมได้เรียนต่อวงสนทนาว่า ในปี 2554 บริษัทผู้รับสัมปทานได้กำไรสุทธิคิดเป็นร้อยละ 97 ของเงินลงทุนนั้น ผมถือว่าเป็นความไม่เป็นธรรมต่อคนไทยมากแล้ว แต่ข้อมูลในปี 2555 (ซึ่งเป็นรายงานออกใหม่ล่าสุดแต่ผมเพิ่งได้อ่าน-ใช่ปีล่าสุด 2555) พบว่ากำไรดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 117% เลยทีเดียว คิดเป็นตัวเงินก็ประมาณ 1.87 แสนล้านบาท มากกว่าเดิมถึง 20% โดยที่เงินลงทุนเท่ากับ 1.6 แสนล้านบาท มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ! จากข้อมูลในแผ่นภาพดังกล่าวมีข้อน่าสนใจ 2 ประการคือ (1) ค่าภาคหลวงที่รัฐได้คิดเป็นร้อยละ 12.15 ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งเดิมทีกฎหมายได้กำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 12.5% แต่ได้ถูกแก้ไขเป็นช่วง 5-15% เมื่อประมาณปี 2532 (2) ภาษีเงินได้ ตามกฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิแต่ไม่เกินร้อยละ 60 แต่ผมไม่เข้าใจครับว่าทำไมจึงมีการเก็บจริงที่อัตราร้อยละ 50 มาตลอด สำหรับในแผ่นภาพนี้พบว่า ภาษีเงินได้คิดเป็นเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีบริษัทจำนวนมากที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในช่วง 8 ปีแรก รวมทั้งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วย หลังจาก 8 ปีแล้วก็ยังมีสิทธิพิเศษเรื่องภาษีอีกแต่ผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว ผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่า ทำไมต้องลดภาษีให้กับนักลงทุนสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม เพราะว่าปิโตรเลียมที่ขายให้กับคนไทยก็เป็นราคาตลาดโลก (และบวกค่าขนส่ง-ทั้งๆ ที่ไม่มีการขนส่งจริง) ในเมื่อเราซื้อจากต่างประเทศก็มีราคาถูกกว่าเสียด้วยซ้ำ ขณะเขียนบทความนี้ ผมนั่งฮัมเพลง “ตายสิบเกิดแสน” ของน้าหงา คาราวาน นอกจากจะนำมาเป็นชื่อบทความ (ซึ่งผมจำได้แม่น) แล้ว ตอนหนึ่งของเพลงกล่าวว่า มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป… ผมว่าเรื่องนี้ คสช.ก็รู้ว่า “ผู้คนแค้น” กันมากทั้งแผ่นดิน แต่ คสช.จะสามารถจัดความคิดให้เป็นระบบและแยกถูกแยกผิดได้หรือไม่ ผมว่าไม่นานคนไทยจะได้เห็นกัน (หมายเหตุ ความตั้งใจดีของ คสช.อย่างเดียวคงไม่พอสำหรับเรื่องที่ซับซ้อนมากเช่นนี้ครับ ท่านต้องพึ่งประชาชนที่บริสุทธิ์ จึงจะสามารถจัดการกับเรื่องเลวๆ บาปๆ แบบนี้ได้) 3. การบิดประเด็นของภาครัฐ แทนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานจะตั้งคำถามว่า การที่บริษัทผู้รับสัมปทานลงทุน 1.6 แสนล้านบาท โดยได้กำไรสุทธิ 1.9 แสนล้านบาท เป็นการประกอบการที่ได้กำไรมากเกินไปหรือไม่ แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกลับมีคำอธิบายให้กับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรต้องหลงประเด็นไปว่า “รัฐมีรายได้มากกว่าเอกชนผู้ประกอบการ” ดังข้อความในหน้าที่ 89 ซึ่งผมตัดมาให้ดูดังภาพ มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ! สิ่งที่กรมเชื้อเพลิงนำไปประชาสัมพันธ์ก็คือ “รัฐได้รับผลประโยชน์มากกว่าเอกชน” วิธีคิดของหน่วยราชการนี้ก็คือ นำมูลค่าปิโตรเลียมมาหักต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะ โดยบริษัทคิดต้นทุนทั้งหมดของตนเองออกไปก่อน ที่เหลือก็นำมาแบ่งเป็นสองส่วน ใหญ่ๆ คือรายได้รัฐ (ซึ่งประกอบด้วย ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ และ ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ในปี 2555 ได้รวมกัน 177,645 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัทได้รับสุทธิ 187,343 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนพบว่า รัฐได้รับร้อยละ 49 ผู้ประกอบการเอกชนได้ร้อยละ 51 ซึ่งเอกชนได้มากกว่ารัฐ วิธีคิดของทางราชการไทยก็คือคิดว่า รัฐไทยไม่มีต้นทุนใดๆ ในทรัพยากรปิโตรเลียมนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายทางการทหารที่ดูแลรักษาทรัพยากรนี้มาหลายร้อยปี ไม่คิดถึงชีวิตและเลือดเนื้อของคนไทยที่เสียสละเพื่อรักษาดินแดนไว้จนมาถึงวันนี้ ไม่คิดคุณค่าของ “อำนาจอธิปไตย” เหนือแผ่นดินดังกล่าวเลย ผมไม่เชื่อว่าทหารไทยและคนไทยทั่วไปจะคิดแบบนี้ 4. วิธีคิดที่เป็นธรรมกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นค่าภาคหลวงในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ในส่วนของรัฐบาลกลาง กล่าวคือได้ขึ้นค่าภาคหลวงจากร้อยละ 12.5 เป็น 16.67 (ข้อมูลจาก GAO-07-676R Oil and Gas Royalties) ประเทศนอร์เวย์ คิดอัตราค่าภาคหลวงตามราคาปิโตรเลียม เช่น ถ้าราคาปิโตรเลียมไม่ถึง $30 ต่อบาร์เรล จะไม่คิดค่าภาคหลวงเลย แต่ถ้าราคาเกินกว่านี้จะคิดอัตราค่าภาคหลวง 30% ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งราคาน้ำมันดิบได้เกิน $30 ต่อบาร์เรลมานานกว่า 10 ปีแล้ว (ดูรูปล่างสุด) แต่ที่มีความเป็นธรรมต่อประเทศและผู้ประกอบการมากกว่านั้นก็คือระบบที่เรียกว่า “ระบบการแบ่งปันผลผลิต” ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศได้เปลี่ยนมาจากระบบเดิมที่เรียกว่า “ระบบสัมปทาน” ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่เดี๋ยวนี้ ในทางวิชาการเขาถือว่าระบบสัมปทานเป็นระบบเมืองขึ้นที่เจ้าอาณานิคมมีสิทธิทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการจัดการ การเพิ่มหรือลดการผลิต การส่งออกทั้งๆที่ประเทศไทยมีน้ำมันไม่พอใช้ เป็นต้น 5. ราคาปิโตรเลียมต้นน้ำในประเทศไทยเทียบกับราคาตลาดต่างประเทศ เพื่อให้ได้รายละเอียดที่สำคัญเพิ่มเติม ในหัวข้อนี้ผมจึงขอเสนอข้อมูล 2 ชุดครับ ชุดแรกเป็นข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยในปี 2555 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ ที่แหล่งการผลิต ที่ที่เขาคิดค่าภาคหลวงกัน พบว่ามีการผลิตปิโตรเลียมคิดเป็นมูลค่า 524,858 ล้านบาท (ประมาณ 5% ของจีดีพี) โดยที่ก๊าซธรรมชาติมีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมามาคือน้ำมันดิบร้อยละ 34 และคอนเดนเสท (น้ำมันเหลวที่ได้จากการเจาะก๊าซ) อีกร้อยละ 21 สำหรับทางด้านขวามือของตารางดังกล่าวเป็นราคาต่อหน่วย เอาไว้เปรียบเทียบกับราคาในตลาดโลก (ในข้อมูลชุดที่สอง) พร้อมกับการเปรียบเทียบราคาของปี 2554 กับ 2555 ด้วย มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ! จากตารางจะเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบในปี 2555 เฉลี่ยเท่ากับลิตรละ 21.34 บาท โดยเพิ่มมาจากปี 2554 ร้อยละ 5.3 สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไมราคาก๊าซจึงเพิ่มขึ้นถึง 21% ในปีเดียว สำหรับข้อมูลชุดที่สองเป็นราคาน้ำมันดิบในตลาด West Texas (ซึ่งวิกิพีเดียขยายความว่าเป็นน้ำมันเบาและมีกำมะถันต่ำ) และตลาด Brent (มาจากอักษรย่อของ 5 คำ) จากแผ่นภาพดังกล่าวพบว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในปี 2555 ของตลาดทั้งสองลิตรละ 20.02 บาท ในขณะที่ราคาที่ผลิตจากประเทศไทยเท่ากับ 21.34 บาท และเมื่อน้ำมันดิบพวกนี้เข้าโรงกลั่นก็จะถูกคิดค่าการกลั่นแพงอีกทอดหนึ่ง (หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นกลางเดือนมกราคม มิถุนายน และธันวาคม เท่ากับ 26.55, 23.50 และ 24.49 บาทต่อลิตร ตามลำดับ – ผมสุ่มมา 3 เดือนเพราะกระทรวงพลังงานไม่มีข้อมูลสรุป) เห็นแล้วใช่ไหมว่า สำหรับน้ำมันแล้วราคานำเข้าถูกกว่าที่ผลิตเอง มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ! อนึ่ง ราคาก๊าซหุงต้มในข้อมูลชุดแรกปี 2555 กิโลกรัมละ 9.49 บาท แต่ราคาที่ขายหน้าโรงกลั่นกิโลกรัมละ 10.51 บาท และราคาเมื่อรวมภาษีและอื่นๆ แล้วราคาขายปลีก (สำหรับปรุงอาหาร) กิโลกรัมละ 18.13 บาท 6. สรุป ที่กล่าวมาแล้วคือ “ความจริงที่สำคัญ” ครับ ในขณะที่ข้อโต้แย้งของด็อกเตอร์ผู้อาวุโสที่ว่า ประเทศไทยมีน้ำมันดิบไม่ได้มากอย่างที่คนเข้าใจก็เป็นความจริง แต่เป็น “ความจริงที่ไม่สำคัญ” ครับ ผมเห็นโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งบอกในตอนท้ายๆ ว่า “เสนอความจริง” ผมคิดว่าเป็นคำโฆษณาที่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนครับ เราต้องเสนอ “ความจริงที่สำคัญ” เรื่องต้นกล้วยออกปลีตรงกลางลำต้น เรื่องควายหาย หมีตั้งท้องก็เป็น “ความจริง” แต่ “ไม่สำคัญ” ครับ แต่การปล้นทรัพยากรปิโตรเลียมเป็น “ความจริงที่สำคัญ” ครับ แต่ไม่มีสื่อใดนำเสนออย่างเกาะติด อะไรมาบังตาสื่อส่วนใหญ่ในประเทศนี้ครับ ทั้งๆ ที่คนจำนวนมากขึ้นทุกทีได้ “มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…” http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084864 — กับ Poppe Chatchawan, ไกรสร เชาวนระบิน, ไม่เคยลัก แบริเออร์, ประสาท มีแต้ม และ Kamolpan Cheewapansri
  16. บทความ:โลกที่ซับซ้อน โดย อ.ประสาท มีแต้ม ASTV ผู้จัดการออนไลน์ “เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย” “น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก" >>> 1. ความเป็นมา คุณอัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนระดับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2524 (รวมเรื่องสั้นชื่อ “ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง”) ได้ตั้งคำถามกับผมในวงอาหารแห่งหนึ่ง พร้อมกับอ้างคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสคนดังระดับรองนายกรัฐมนตรีหลายสมัยว่า “จริงหรือเปล่าที่ด็อกเตอร์…บอกว่าประเทศไทยไม่ได้มีน้ำมันดิบมากอย่างที่คนเข้าใจกัน” ผมได้ตอบนักเขียนผู้อาวุโสกว่าผมเกือบ 3 ปีไปอย่างสั้นๆว่า “เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย” ผมได้ขยายความอีกเล็กน้อยว่า “น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก มันซับซ้อนไหมพี่” “ส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายให้คนไทยด้วย” เสียงคุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ นักจัดรายการวิทยุผู้แหลมคมและมากด้วยประสบการณ์เสริมขึ้นมา “แล้วทำไมคนไทยไม่ค่อยรู้กัน” คุณอัศศิริ ถามต่อ “ก็เหมือนกับดีบุกในช่วง 14 ตุลาคม 2516 นั่นแหละพี่” ผมย้อนความหลังให้วงสนทนาผู้สูงวัย “กว่าที่คนไทยจะรู้เรื่อง เขาก็โกยไปเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแร่แทนทาลัมราคาสูงกว่าดีบุกหลายเท่าปนติดไปด้วยแต่เราไม่รู้ ตอนนี้ประเทศไทยส่งทองคำออกอีกแล้ว ปีละประมาณ 4 ตัน คนไทยก็ไม่รู้ แถมชาวบ้านจำนวนมากได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงจากไซยาไนด์” “ที่คนไทยไม่รู้เพราะผู้ประกอบการจงใจไม่ให้เรารู้ เรื่องน้ำมันก็เหมือนกัน มีข้อมูลจริงมั่ง เท็จมั่ง และที่จงใจบิดเบือนก็มาก แต่เรื่องสำคัญคือเรื่องความเป็นธรรม” ผมกล่าวต่อไปว่า “ในเรื่องความเป็นธรรมนั้น พี่คิดดู ในปี 2554 บริษัทที่ได้รับสัมปทานมีกำไรสุทธิร้อยละ 97 ของเงินลงทุนในปีนั้น ข้าราชการระดับสูงบอกกับประชาชนว่าแหล่งปิโตรเลียมเราเป็นหลุมเล็กๆ ต้นทุนในการขุดเจาะสูง จะเรียกผลตอบแทนสูงก็ไม่ได้ เหมือนลูกสาวเราไม่สวยจะเรียกสินสอดแพงๆ เดี๋ยวลูกก็ขึ้นคานหรอก” “กำไรสุทธิ 97%!” เพื่อนร่วมวงอีกท่านหนึ่งอุทานออกมา “ใช่ 97 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุน แต่ยอดเงินลงทุนไม่ใช่แค่ร้อยล้านพันล้านบาทนะ แต่มันคือแสนห้าหมื่นล้านบาทเชียวนะ” ผมตอบอย่างมั่นใจพร้อมกับถามกลับไปว่า “มันเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรไหม? ความเสี่ยงก็น้อย สินค้าก็ไม่บูด แถมผูกขาดอีกต่างหาก” เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าภาพได้เสนอจะชวนเพื่อนสนิทของเขามาคุยกับผมในเรื่องปิโตรเลียม ผมค่อนข้างจะลังเลที่จะรับนัดพร้อมกับเล่าประสบการณ์ตรงที่ผมเคยประสบว่า “ผมเคยคุยกับนักธุรกิจที่เป็นวิศวกรด้วย เป็นชาวสงขลา ตอนนั้นคุยกันเรื่องท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ทั้งๆ ที่ผมอ้างแหล่งข้อมูลของทางราชการ แต่เขาไม่เชื่อ ผมบอกให้เขาไปตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง และเอาหลักฐานประกอบตัวเลขของเขามาด้วย ปรากฏว่าเขาหายเงียบไปเลย” เราแยกย้ายกันกลับเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืนพร้อมกับต้องปลุกเพื่อนร่วมวงบางคนที่กำลังกรน 2. ค้นข้อมูลจากภาครัฐ กลับถึงบ้านแล้ว ผมรีบเปิดดูรายงานประจำปี 2555 ซึ่งเป็นรายงานปีล่าสุดของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน วันรุ่งขึ้นผมได้สรุปผลประกอบการในกิจการผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยซึ่งก็เป็นข้อมูลของทางราชการแต่ผมวิเคราะห์คนละมุม โดยเลือกมุมซึ่งเป็นความจริงที่สำคัญมากมาเสนอ ดังได้แสดงในแผ่นภาพข้างล่างนี้ ตัวเลขที่ผมได้เรียนต่อวงสนทนาว่า ในปี 2554 บริษัทผู้รับสัมปทานได้กำไรสุทธิคิดเป็นร้อยละ 97 ของเงินลงทุนนั้น ผมถือว่าเป็นความไม่เป็นธรรมต่อคนไทยมากแล้ว แต่ข้อมูลในปี 2555 (ซึ่งเป็นรายงานออกใหม่ล่าสุดแต่ผมเพิ่งได้อ่าน-ใช่ปีล่าสุด 2555) พบว่ากำไรดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 117% เลยทีเดียว คิดเป็นตัวเงินก็ประมาณ 1.87 แสนล้านบาท มากกว่าเดิมถึง 20% โดยที่เงินลงทุนเท่ากับ 1.6 แสนล้านบาท มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ! จากข้อมูลในแผ่นภาพดังกล่าวมีข้อน่าสนใจ 2 ประการคือ (1) ค่าภาคหลวงที่รัฐได้คิดเป็นร้อยละ 12.15 ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งเดิมทีกฎหมายได้กำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 12.5% แต่ได้ถูกแก้ไขเป็นช่วง 5-15% เมื่อประมาณปี 2532 (2) ภาษีเงินได้ ตามกฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิแต่ไม่เกินร้อยละ 60 แต่ผมไม่เข้าใจครับว่าทำไมจึงมีการเก็บจริงที่อัตราร้อยละ 50 มาตลอด สำหรับในแผ่นภาพนี้พบว่า ภาษีเงินได้คิดเป็นเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีบริษัทจำนวนมากที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในช่วง 8 ปีแรก รวมทั้งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วย หลังจาก 8 ปีแล้วก็ยังมีสิทธิพิเศษเรื่องภาษีอีกแต่ผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว ผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่า ทำไมต้องลดภาษีให้กับนักลงทุนสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม เพราะว่าปิโตรเลียมที่ขายให้กับคนไทยก็เป็นราคาตลาดโลก (และบวกค่าขนส่ง-ทั้งๆ ที่ไม่มีการขนส่งจริง) ในเมื่อเราซื้อจากต่างประเทศก็มีราคาถูกกว่าเสียด้วยซ้ำ ขณะเขียนบทความนี้ ผมนั่งฮัมเพลง “ตายสิบเกิดแสน” ของน้าหงา คาราวาน นอกจากจะนำมาเป็นชื่อบทความ (ซึ่งผมจำได้แม่น) แล้ว ตอนหนึ่งของเพลงกล่าวว่า มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป… ผมว่าเรื่องนี้ คสช.ก็รู้ว่า “ผู้คนแค้น” กันมากทั้งแผ่นดิน แต่ คสช.จะสามารถจัดความคิดให้เป็นระบบและแยกถูกแยกผิดได้หรือไม่ ผมว่าไม่นานคนไทยจะได้เห็นกัน (หมายเหตุ ความตั้งใจดีของ คสช.อย่างเดียวคงไม่พอสำหรับเรื่องที่ซับซ้อนมากเช่นนี้ครับ ท่านต้องพึ่งประชาชนที่บริสุทธิ์ จึงจะสามารถจัดการกับเรื่องเลวๆ บาปๆ แบบนี้ได้) 3. การบิดประเด็นของภาครัฐ แทนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานจะตั้งคำถามว่า การที่บริษัทผู้รับสัมปทานลงทุน 1.6 แสนล้านบาท โดยได้กำไรสุทธิ 1.9 แสนล้านบาท เป็นการประกอบการที่ได้กำไรมากเกินไปหรือไม่ แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกลับมีคำอธิบายให้กับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรต้องหลงประเด็นไปว่า “รัฐมีรายได้มากกว่าเอกชนผู้ประกอบการ” ดังข้อความในหน้าที่ 89 ซึ่งผมตัดมาให้ดูดังภาพ มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ! สิ่งที่กรมเชื้อเพลิงนำไปประชาสัมพันธ์ก็คือ “รัฐได้รับผลประโยชน์มากกว่าเอกชน” วิธีคิดของหน่วยราชการนี้ก็คือ นำมูลค่าปิโตรเลียมมาหักต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะ โดยบริษัทคิดต้นทุนทั้งหมดของตนเองออกไปก่อน ที่เหลือก็นำมาแบ่งเป็นสองส่วน ใหญ่ๆ คือรายได้รัฐ (ซึ่งประกอบด้วย ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ และ ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ในปี 2555 ได้รวมกัน 177,645 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัทได้รับสุทธิ 187,343 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนพบว่า รัฐได้รับร้อยละ 49 ผู้ประกอบการเอกชนได้ร้อยละ 51 ซึ่งเอกชนได้มากกว่ารัฐ วิธีคิดของทางราชการไทยก็คือคิดว่า รัฐไทยไม่มีต้นทุนใดๆ ในทรัพยากรปิโตรเลียมนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายทางการทหารที่ดูแลรักษาทรัพยากรนี้มาหลายร้อยปี ไม่คิดถึงชีวิตและเลือดเนื้อของคนไทยที่เสียสละเพื่อรักษาดินแดนไว้จนมาถึงวันนี้ ไม่คิดคุณค่าของ “อำนาจอธิปไตย” เหนือแผ่นดินดังกล่าวเลย ผมไม่เชื่อว่าทหารไทยและคนไทยทั่วไปจะคิดแบบนี้ 4. วิธีคิดที่เป็นธรรมกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นค่าภาคหลวงในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ในส่วนของรัฐบาลกลาง กล่าวคือได้ขึ้นค่าภาคหลวงจากร้อยละ 12.5 เป็น 16.67 (ข้อมูลจาก GAO-07-676R Oil and Gas Royalties) ประเทศนอร์เวย์ คิดอัตราค่าภาคหลวงตามราคาปิโตรเลียม เช่น ถ้าราคาปิโตรเลียมไม่ถึง $30 ต่อบาร์เรล จะไม่คิดค่าภาคหลวงเลย แต่ถ้าราคาเกินกว่านี้จะคิดอัตราค่าภาคหลวง 30% ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งราคาน้ำมันดิบได้เกิน $30 ต่อบาร์เรลมานานกว่า 10 ปีแล้ว (ดูรูปล่างสุด) แต่ที่มีความเป็นธรรมต่อประเทศและผู้ประกอบการมากกว่านั้นก็คือระบบที่เรียกว่า “ระบบการแบ่งปันผลผลิต” ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศได้เปลี่ยนมาจากระบบเดิมที่เรียกว่า “ระบบสัมปทาน” ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่เดี๋ยวนี้ ในทางวิชาการเขาถือว่าระบบสัมปทานเป็นระบบเมืองขึ้นที่เจ้าอาณานิคมมีสิทธิทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการจัดการ การเพิ่มหรือลดการผลิต การส่งออกทั้งๆที่ประเทศไทยมีน้ำมันไม่พอใช้ เป็นต้น 5. ราคาปิโตรเลียมต้นน้ำในประเทศไทยเทียบกับราคาตลาดต่างประเทศ เพื่อให้ได้รายละเอียดที่สำคัญเพิ่มเติม ในหัวข้อนี้ผมจึงขอเสนอข้อมูล 2 ชุดครับ ชุดแรกเป็นข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยในปี 2555 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ ที่แหล่งการผลิต ที่ที่เขาคิดค่าภาคหลวงกัน พบว่ามีการผลิตปิโตรเลียมคิดเป็นมูลค่า 524,858 ล้านบาท (ประมาณ 5% ของจีดีพี) โดยที่ก๊าซธรรมชาติมีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมามาคือน้ำมันดิบร้อยละ 34 และคอนเดนเสท (น้ำมันเหลวที่ได้จากการเจาะก๊าซ) อีกร้อยละ 21 สำหรับทางด้านขวามือของตารางดังกล่าวเป็นราคาต่อหน่วย เอาไว้เปรียบเทียบกับราคาในตลาดโลก (ในข้อมูลชุดที่สอง) พร้อมกับการเปรียบเทียบราคาของปี 2554 กับ 2555 ด้วย มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ! จากตารางจะเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบในปี 2555 เฉลี่ยเท่ากับลิตรละ 21.34 บาท โดยเพิ่มมาจากปี 2554 ร้อยละ 5.3 สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไมราคาก๊าซจึงเพิ่มขึ้นถึง 21% ในปีเดียว สำหรับข้อมูลชุดที่สองเป็นราคาน้ำมันดิบในตลาด West Texas (ซึ่งวิกิพีเดียขยายความว่าเป็นน้ำมันเบาและมีกำมะถันต่ำ) และตลาด Brent (มาจากอักษรย่อของ 5 คำ) จากแผ่นภาพดังกล่าวพบว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในปี 2555 ของตลาดทั้งสองลิตรละ 20.02 บาท ในขณะที่ราคาที่ผลิตจากประเทศไทยเท่ากับ 21.34 บาท และเมื่อน้ำมันดิบพวกนี้เข้าโรงกลั่นก็จะถูกคิดค่าการกลั่นแพงอีกทอดหนึ่ง (หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นกลางเดือนมกราคม มิถุนายน และธันวาคม เท่ากับ 26.55, 23.50 และ 24.49 บาทต่อลิตร ตามลำดับ – ผมสุ่มมา 3 เดือนเพราะกระทรวงพลังงานไม่มีข้อมูลสรุป) เห็นแล้วใช่ไหมว่า สำหรับน้ำมันแล้วราคานำเข้าถูกกว่าที่ผลิตเอง มองดูความจริงซิพี่น้องผองเพื่อน : เรื่องสัมปทานปิโตรเลียมไทยหลุมเล็กๆ! อนึ่ง ราคาก๊าซหุงต้มในข้อมูลชุดแรกปี 2555 กิโลกรัมละ 9.49 บาท แต่ราคาที่ขายหน้าโรงกลั่นกิโลกรัมละ 10.51 บาท และราคาเมื่อรวมภาษีและอื่นๆ แล้วราคาขายปลีก (สำหรับปรุงอาหาร) กิโลกรัมละ 18.13 บาท 6. สรุป ที่กล่าวมาแล้วคือ “ความจริงที่สำคัญ” ครับ ในขณะที่ข้อโต้แย้งของด็อกเตอร์ผู้อาวุโสที่ว่า ประเทศไทยมีน้ำมันดิบไม่ได้มากอย่างที่คนเข้าใจก็เป็นความจริง แต่เป็น “ความจริงที่ไม่สำคัญ” ครับ ผมเห็นโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งบอกในตอนท้ายๆ ว่า “เสนอความจริง” ผมคิดว่าเป็นคำโฆษณาที่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนครับ เราต้องเสนอ “ความจริงที่สำคัญ” เรื่องต้นกล้วยออกปลีตรงกลางลำต้น เรื่องควายหาย หมีตั้งท้องก็เป็น “ความจริง” แต่ “ไม่สำคัญ” ครับ แต่การปล้นทรัพยากรปิโตรเลียมเป็น “ความจริงที่สำคัญ” ครับ แต่ไม่มีสื่อใดนำเสนออย่างเกาะติด อะไรมาบังตาสื่อส่วนใหญ่ในประเทศนี้ครับ ทั้งๆ ที่คนจำนวนมากขึ้นทุกทีได้ “มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…” http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084864 — กับ Poppe Chatchawan, ไกรสร เชาวนระบิน, ไม่เคยลัก แบริเออร์, ประสาท มีแต้ม และ Kamolpan Cheewapansri
  17. ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินครับ เอกสารฉบับนี้ของกระทรวงพลังงาน บอกว่าไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติ ดีกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน น้ำมัน และนิวเคลียร์อย่างไร(ทำไมยังพยายามใช้ถ่านหินที่ทำลายธรรมชาติและทำลาย ชีวิตพี่น้องที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าถ่านหินกันอีก) โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติมีต้นทุนต่ำ ผลิตไฟฟ้าได้ถูก o ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า o ใช้เวลาก่อสร้างสั้นกว่า o มีความเสี่ยงด้านการเงินน้อยกว่า o ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ทำให้มีการแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้ราคาของก๊าซในตลาดต่ำและมีความผันผวนน้อย • โรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติเป็นมิตรกัลป์ชุมชนและสิ่งแวดล้อม o ไม่มีฝุ่นออกไซด์ของกำมะถันและไนโตรเจน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม o ไม่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ของฝนกรดต่อชุมชนโดยรอบ • โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติมีประสิทธิภาพดีกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือน้ำมัน o โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติมีประสิทธิภาพสูงถึง 60% ในขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินหรือน้ำมัน มีประสิทธิภาพเพียง 40% ซึ่งประสิทธิภาพที่สูงถึง 60% ทำให้โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติสามารถประหยัดเงินค่าใช้จ่ายได้ถึง 40,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 25 ปี เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น o โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติใช้เงินลงทุนต่ำกว่าจึงผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในราคาที่ต่ำกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ o โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติมีต้นทุน และค่าใช้จ่ายถูกกว่าพลังงานชนิดอื่นๆ ข้อเปรียบเทียบของโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ • ด้านเงินลงทุนต่อกำลังการผลิต 1 กิโลวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติไม่ต้องลงทุน ในเรื่องคลังกักเก็บเชื้อเพลิง เพราะก๊าซจัดส่งมาตามท่อ • ด้านค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาของโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติ ถูกกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินและพลังงานนิวเคลียร์เนื่องจาก o ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาคลังกักเก็บเชื้อเพลิง o มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในการซ่อมบำรุงวัสดุอุปกรณ์ o ไม่ต้องหยุดเดินเครื่องเพื่อทำความสะอาดบ่อย เพราะก๊าซเป็นพลังงานสะอาด • โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติและพลังงานความร้อนมีต้นทุนต่ำสุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด • โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม http://www.energy.go.th/index.php?q=node/386
  18. ค้นข้อมูลพลังงาน เจออันนี้มีข้อมูลพลังงานเยอะครับ เผื่อเพื่อนท่านไหนสนใจ นักศึกษานำไปทำรายงานก็น่าจะสะดวกขึ้นมาก ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยวันนี้ ราคาน้ำมันของไทยรายวันย้อนหลังถึงปี 2539 http://www.eppo.go.t...ail_prices.html http://www.eppo.go.t...il_changes.html สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกรายสัปดาห์ สรุปสถิติการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบโลกรายสัปดาห์พร้อมบทวิเคราะห์สาเหตุ / รายละเอียดกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย http://www.eppo.go.t...port/index.html สถิติพลังงานของไทย ภาพรวม & รายประเภท / การผลิต / การบริโภค / การนำเข้า http://www.eppo.go.th/info/index.html มติ ครม. ทุกเรื่องย้อนหลังถึงปี 2544 http://www.eppo.go.t.../cab/index.html สถิติ NGV จำนวนรถ / สถานี / ยอดขาย / สถิติทั่วโลก / ราคา http://pttweb2.pttpl...bngv/nw_sc.aspx ปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลก สถิติรายประเทศกว่า 200 ประเทศทั่วโลก http://www.eia.doe.g...l/reserves.html สถิติพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลก รายละเอียดที่ตั้ง กำลังการผลิต ปีที่ก่อสร้าง ของโรงไฟฟ้าทุกโรงที่เดินเครื่องอยู่และกำลังก่อสร้าง / อัตราการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์รายประเทศ http://www.nei.org/r...orldstatistics/ ข้อมูลพลังงานรายประเทศทั่วโลก (Country Energy Profiles) สถิติการใช้ / การผลิต / การส่งออก-นำเข้า / ข้อมูลนโยบาย กว่า 100 ประเทศทั่วโลก http://tonto.eia.doe...untry/index.cfm ราคาน้ำมันดิบโลก ราคาน้ำมันดิบ WTI Cushing Spot ย้อนหลังรายวันถึงปี ค.ศ.1986 (พ.ศ. 2529) http://tonto.eia.doe.../hist/rwtcd.htm พลังงานทดแทน สาระน่ารู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนแต่ละประเภท / สถิติการใช้ในประเทศไทย http://www.dede.go.th/dede/ โครงการสำรวจและผลิตพลังงานของ ปตท. สผ. รายละเอียดทุกโครงการของ ปตท. สผ. ทั้งในและต่างประเทศ http://www.pttep.com...dPprojects.aspx
  19. Arisa Jam กับ ประสาท มีแต้ม และคนอื่นๆ อีก 4 คน เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร: กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย “ถ้าคุณต้องการจะปกครองโลก คุณจำเป็นต้องควบคุมน้ำมันให้ได้ทั้งหมดและทุกหนทุกแห่งด้วย” (“If you want to rule the world, you need to control oil. All the oil. Anywhere.” Michel Collon, Monopoly) ผมทราบจากคอลัมนิสต์หลายคนมานานแล้วว่า ราคาน้ำมันดิบที่ขายกันอยู่ในตลาดโลกที่ประมาณ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลนั้น เงินจำนวนประมาณครึ่งจะเข้าสู่กระเป๋าของนักเล่นหุ้นในตลาดวอลล์สตรีท โดยที่ในแต่ละวันชาวโลกบริโภคน้ำมันประมาณ 100 ล้านบาร์เรล แต่ผมก็นึกไม่ออกว่ามันเข้าไปสู่กระเป๋าคนเหล่านั้นได้อย่างไร และทำไมจึงมากมายถึงขนาดนั้น มาวันนี้ ผมเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นจากตัวอย่างการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยเรานี่เอง แต่ก่อนจะไปตรงนั้น มาดูผลกำไรของผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลกกันสักนิด ข้อมูลจากภาพข้างล่างนี้คือกำไรในช่วง 3 เดือนแรกในปี 2554 ของ 5 บริษัทปิโตรเลียม (จากบทความของ Erik Curren, http://transitionvoice.com) กำไรดังกล่าวถ้าคิดทั้งปีก็ประมาณสองเท่าของงบประมาณแผ่นดินประเทศไทยทั้งปี เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย คราวนี้มาถึงเรื่องของประเทศไทยครับ ซึ่งผมจะขอแบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลัก คือ (1) วิธีการให้สัมปทานปิโตรเลียม (2) การปั่นราคาน้ำมันจากการขายสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งหนึ่งในภาคอีสาน และ (3) ทุนน้ำมันกับผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก วิธีการให้สัมปทานปิโตรเลียมกับการประกวดนางสาวไทย ถ้าเปรียบเทียบวิธีการพิจารณาผู้ขอรับสัมปทานปิโตรเลียมกับวิธีการคัดเลือก นางสาวไทยพบว่ามีทั้งสิ่งที่เหมือนและสิ่งที่ต่างกัน สิ่งที่เหมือนกันได้แก่ ผู้ขอรับสัมปทานปิโตรเลียมต้องเป็นบริษัท ต้องมีทุน เครื่องจักร อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญที่พอจะผลิต สำรวจ และขายปิโตรเลียมได้ แต่ในกรณีที่มีทุนไม่เพียงพอหรือครบถ้วน ถ้ามีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือรับรองที่จะให้ทุน ก็สามารถขอสัมปทานได้เหมือนกัน ฯลฯ (ข้อ 4 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. 2555) โดยต้องซื้อแบบฟอร์มในราคาชุดละ 1 หมื่นบาท ในกรณีนางสาวไทยเท่าที่ผมเคยดูทางโทรทัศน์ พบว่าต้องมีสโมสรหรือสมาคมส่งเข้าประกวด จะเดินดุ่ยๆ ไปสมัครคนเดียวโดยไม่มีใครส่งเข้าประกวดไม่ได้ ผมเข้าใจว่าผู้สมัครนางสาวไทยก็ต้องกรอกแบบฟอร์มและเสียค่าสมัครเหมือนกัน แต่จะกี่บาทนั้นผมไม่ทราบ การกรอกใบสมัครของผู้ขอสัมปทาน ต้องระบุปริมาณเงินและปริมาณงานสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละ แปลง ผู้ขอสัมปทานจะเสนอให้ผลประโยชน์พิเศษ เช่น การให้เงินทุนการศึกษา เงินอุดหนุน เงินให้เปล่าในการลงนามในสัมปทาน หรือเงินให้เปล่าในการผลิต นอกเหนือไปจากเงื่อนไขที่ทางราชการได้กำหนดให้เป็นผลประโยชน์พิเศษไว้ในการ ประกาศยื่นคำขอสัมปทานก็ได้ การตัดสินก็ใช้ความเห็นของคณะกรรมการปิโตรเลียม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ก้อนใหญ่ที่สุดที่ประเทศจะได้รับ เพราะทุกบริษัทจะต้องจ่ายค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ ผลประโยชน์พิเศษในอัตราที่อยู่ในกฎหมายเท่ากันอยู่แล้ว ดังนั้น การตัดสินจึงขึ้นอยู่กับอำนาจการวินิจฉัยของกรรมการเท่านั้น การประกวดนางสาวไทย ก็มีลักษณะคล้ายกัน หลังจากการคัดเลือกหน้าตา ทรวดทรงองค์เอว (ตามความเห็นของคณะกรรมการ) แล้ว ตอนสุดท้ายยังมีการตอบคำถาม เพื่อแสดงทัศนะ เช่น รักเด็ก รักสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่สิ่งที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็คือ ผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยจะเป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ไม่สามารถโอนให้ใครอื่นได้ หรือจะขายต่อให้ใครก็ไม่ได้ และมีอายุแค่ 1 ปี ในขณะที่ผู้ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมนั้นสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ ในราคาที่มีกำไรนับหลายพันล้านบาท โดยที่อายุสัมปทาน 20 ปี และในกรณีที่ผลิตปิโตรเลียมไม่ทันภายใน 20 ปี ก็ขอต่อระยะเวลาผลิตได้อีก 10 ปี ยังไม่รวมช่วงการสำรวจอีก 9 ปี ทั้งหมดรวมก็ 39 ปี เกี่ยวกับระบบการเก็บผลประโยชน์ของรัฐจากปิโตรเลียมนี้ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และอื่นๆ ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต คือนำผลผลิตมาแบ่งกัน ดังนั้น การขึ้นลงของราคาน้ำมันจะไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเจ้าของ ประเทศกับบริษัท สหรัฐอเมริกาเองก็ใช้ระบบการให้สัมปทาน โดยคิดค่าภาคหลวง 12.5% แต่ต่อมาโดยการริเริ่มของสมาชิกสภา ได้มีการศึกษาพบว่า “สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศของโลกที่รัฐได้ผลประโยชน์น้อยที่สุด” (Government Accountability Office found that the U.S. government “receives one of the lowest government takes in the world.”) และต่อมาได้มีการขยับจาก 12.5% เป็น 16.75-18.75% แต่ของประเทศไทยเราก็เคยเก็บ 12.5% แต่กลับแก้ไขใหม่อย่างมีเงื่อนไข แล้วผลลัพธ์สุดท้ายรัฐกลับได้รับลดลง การปั่นราคาน้ำมันจากการขายสัมปทานปิโตรเลียม ผมใช้เวลาสืบค้นข้อมูลโดยการเริ่มต้นจากข้อมูลรายงานประจำปี 2554 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในที่สุดก็พบเอกสารของบริษัท Pan Orient Energy (บริษัทชาวแคนาดา) เป็นข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม 2556 ผมตัดบางส่วนของข้อความมาลงไว้ในที่นี้ เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย สาระสำคัญในแผ่นสไลด์นี้ก็คือ ประวัติการสร้างมูลค่าในแหล่งสัมปทานบนบก L44 และ L33 ในประเทศไทย (ดูแผนที่ข้างล่างประกอบ) โดยซื้อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2550 ในราคา 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และขายต่อไปในเดือนมิถุนายน 2555 ในราคา 172 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากค้นเพิ่มเติมได้ความว่า หลังจากหักต้นทุนดำเนินการ (ประมาณ 8 ล้านเหรียญสหรัฐ) และจ่ายภาษีแล้วบริษัทมีกำไร 162 ล้านเหรียญสหรัฐ (http://finance.yahoo.com/news/pan-orient-energy-corp-sale-150118468.html) คิดเป็นเงินไทยก็เกือบ 5 พันล้านบาท โดยมีอัตรากำไรประมาณ 22 เท่าของเงินลงทุน ภายในเวลา 5 ปี เงินกำไรจำนวนนี้นอกจากรัฐไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นต้นทุนเพื่อใช้ในการหักภาษีเงินได้ปิโตรเลียมให้กับผู้รับซื้อ สัมปทานใหม่ได้ด้วย สิ่งที่ผมกระหายใคร่รู้ก็คือ บริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ ซื้อมาจากใครและขายไปให้ใคร ทำไมจึงมีกำไรเยอะขนาดนี้ และมีน้ำมันดิบสำรองเท่าใด ฯลฯ ผมจึงเริ่มสืบค้นการให้สัมปทานโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงขอสรุปมาเป็นตาราง ดังนี้ เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย สำหรับตำแหน่งที่ตั้งของแหล่ง L33/43 และ L44/43 อยู่ใน 3 อำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ครับ เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย ข้อมูลที่ผมได้จากรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่ตรงกับข้อมูลในเว็บไซต์ ของบริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ กล่าวคือ ข้อมูลแรก บริษัทในเครือของแพน มีสัดส่วนการลงทุน 100% แต่ข้อมูลหลังระบุว่าแปลงที่ขายไปบริษัทมีหุ้นแค่ 60% แต่ก็ไม่ยอมระบุว่าซื้อจากใครและขายให้ใคร ดังนั้น ในตอนนี้ผมขอสันนิษฐานว่า บริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ซื้อมาจากบริษัทลูกของตนเองในราคา 7.5 ล้านเหรียญ เมื่อเดือนตุลาคม 2550 (โดยผู้ขายลงทุนไปจำนวนหนึ่ง แต่ผมไม่ทราบนอกจากค่าธรรมเนียมการขอสัมปทานหนึ่งหมื่นบาท) สำหรับตอนที่ขายออกไป ผมค้นได้แล้วว่าขายไปให้กับบริษัท Towngas ซึ่งเป็นบริษัทของชาวฮ่องกงและชาวจีน (http://www.towngas.com) โดยบริษัทนี้ระบุว่าแหล่งนี้มีน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้ว (1P) จำนวน 10 ล้านบาร์เรล และสำรองที่ค่อนข้างแน่นอน(2P) อีก 30 ล้านบาร์เรล โดยคาดว่ายังสามารถผลิตต่อไปได้อีก 20 ปีนับจากปี 2555 ด้วยปริมาณสำรองจำนวนนี้ และด้วยการซื้อขายเปลี่ยนมือสัมปทานกันในราคานี้เพียงอย่างเดียว ได้ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นถึง 5-6 เหรียญต่อบาร์เรลแล้ว ดังนั้น เรื่องที่ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ถูกปั่นไปเท่าตัวก็เป็นเรื่องที่พอ เข้าใจได้ เพราะไม่ได้มีขั้นตอนเดียว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2556 (ข้อมูลล่าสุด) แหล่ง L33/43 และ L44/43 ผลิตน้ำมันดิบได้จำนวน 11.3 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 24,571 ล้านบาท โดยรัฐได้ค่าภาคหลวง 1,537 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 6.3 หมายเหตุ กฎหมายเดิมเคยได้ 12.5% แต่หลังจากปี 2532 เป็นต้นมาได้มีการแก้กฎหมายเป็นร้อยละ 5-15 ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่มีแหล่งเล็กๆ โดยจ่ายแค่ 6.3%) สิ่งที่คนไทยเราอยากจะทราบก็คือ บริษัทนี้จ่ายภาษีเงินได้ให้รัฐเท่าใด ผมไม่มีข้อมูลครับ แต่การที่บริษัท Towngas ซื้อมาในราคา 172 ล้านเหรียญ (5,160 ล้านบาท) ก็ถือว่าเป็นต้นทุนของบริษัท Towngas ที่สามารถนำไปหักเป็นต้นทุนจากเงินรายได้ของบริษัท แม้แต่ในกรณีหนี้สูญก็สามารถคิดเป็นต้นทุนได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า นี่คือต้นทุนเทียมที่มีผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น โดยที่เจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมไม่ได้ประโยชน์ใดๆ โดยสรุปก็คือ ยิ่งมีการซื้อ-ขายสัมปทานกันบ่อยครั้งเท่าใด ราคาน้ำมันก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และปรากฏการณ์ในประเทศไทยเรานี้ เป็นเรื่องปกติของวงการค้าน้ำมันโลก ทุนน้ำมันกับผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก การที่ใครคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกิดมีทุนมากๆ ขึ้นมาแล้วจะมีผลอย่างไร ผมว่าไม่ต้องไปดูตัวอย่างที่ไหนหรอก “ระบอบทักษิณ” นี่แหละชัดเจนที่สุดแล้ว และได้ตอกย้ำโดยการเปิดเผยของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ว่ามีการ “ซื้อ ส.ว. สั่งสื่อมวลชนให้ช่วยคนของตนชนะการเลือกตั้ง สั่งสภาแก้กฎหมายเพื่อให้ตนขายหุ้นได้ประโยชน์มากขึ้น” เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเรื่องทุนน้ำมันโดยตรงนั้น ตัวอย่างที่ชัดเจนและจำกันได้ง่ายๆ เช่น กรณี ส่งครามอ่าวเปอร์เซีย และการบุกอิรักของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2546 ซึ่งคนของสหรัฐอเมริกาเองได้เปิดเผยในเวลาต่อมาว่า “เพื่อคุมแหล่งน้ำมัน” มีนักลงทุนชาวเบลเยียมท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “พ่อค้าน้ำมันนั้นก็เหมือนแมว คือเราไม่สามารถรู้ได้เลยโดยการฟังเสียงร้องของมันว่ามันกำลังจะต่อสู้กัน หรือกำลังจะผสมพันธุ์กัน” พ่อค้าน้ำมันก็เช่นเดียวกัน การส่งเสียงคำรามและการใช้อาวุธเข่นฆ่ากันนั้น บางครั้งก็เป็นการประสานผลประโยชน์ของพ่อค้าน้ำมันเอง ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังมีปัญหาว่า ผลการเลือกตั้งและนโยบายของรัฐบาลไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนเลย นอกจากนี้ ข้อมูลจากกลุ่ม “ยึดวอลล์สตรีท (Occupy Wall Street)” ระบุว่า “ผู้ชนะการเลือกตั้ง 90% ในทุกระดับของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ใช้เงินหรือรับเงินเป็นจำนวนมาก” น้ำมันไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะต่อระบอบประชาธิปไตยของคนทั่วโลกเท่านั้น แต่ที่สำคัญยังมีผลต่อระบบสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย ปรากฏการณ์ที่อากาศหนาวสุดๆ ในประเทศไทยและทั่วโลกในขณะนี้ ก็มีสาเหตุสำคัญที่สุดมาจากการเผาปิโตรเลียมและถ่านหินซึ่งได้กลายเป็น สินค้าผูกขาดของกลุ่มพ่อค้าพลังงานหยิบมือเดียว ผมแปลกใจมากๆ ว่า ในขณะที่คนบางกลุ่มยึดมั่นต่อการเลือกตั้งอย่างเดียวเป็นสรณะ แต่ไม่ได้สนใจทุนสามานย์ข้ามชาติที่สามารถเคลื่อนไปที่ไหนก็ได้โดยที่ ประชาชนในประเทศนั้นๆ ไม่ได้เลือก การเลือกตั้งเป็นเพียง 1 ใน 4 ของวิธีการที่จะนำสังคมไปสู่สิ่งที่ต้องการ อีก 3 วิธีที่เหลือ ที่ทุนสามานย์พยายามปิดบังมาตลอดคือ (2) การมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของประชาชน (3) การเคารพสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และ (4) การใช้หลักนิติรัฐและนิติธรรม โดยสรุป ปัจจุบันนี้ทุนสามานย์ที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนได้มีอิทธิพล เหนือรัฐบาลทั่วโลกที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งประเทศไทยที่เราเห็นกันอยู่อย่างโทนโท่แล้ว ครับผม! http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000009831
  20. Vinai Kall เขาว่าประเทศไทยเรามีบ่อน้ำมันดิบมากถึง 6,000 บ่อ ฟังดูแล้วมันโคตะระมากเลย เรารวยด้วยจำนวนบ่อน้ำมัน ก่อน อื่นจะช่วยปรับแนวความคิดว่า อย่าเรียกว่าบ่อน้ำมันเลย ฟังแล้วเหมือนน้ำที่เปิดกว้างๆ ให้เรียกเสียใหม่นะว่า หลุมน้ำมันดิบ หลุมก๊าชธรรมชาต ฟังแล้วจะได้รู้สึกว่ารู้เรื่องบ้าง ไม่ใช่อ้างว่าเชี่ยวชาญเรื่องปิโตรเลียม เพราะขนาดกว้างแค่ 12 นิ้วประมาณ ลึก 2 กิโลเมตรกว่าๆ เขา ตั้งโจทย์ไว้แล้วว่า ต้องตีข่าวอย่างไรเพื่อหลอกประชาชนว่า เรามีน้ำมันมาก เพราะเรามีน้อยจึงจึงซ่อนความคิดไว้แค่บอกจำนวนหลุมมากๆเข้าไว้ จากนั้นปล่อยให้คนฟังคิดเอาเองว่าน้ำมันต้องมากตามมาแน่ เขาบอกไม่ครบ มันเป็นวาทกรรมที่พวกบิดเบือนข้อมูล เอาไว้หลอกมวลชน ถามว่าหลุมน้ำมันมีมากไหม ตอบว่ามีมากถึงเกือบ 6,000 หลุม เพราะมันเป็นความจริง มันเป็นหลุมทั้งหมดที่มีอยู่ แต่เปิดผลิตได้เพียงประมาณ 50 % ของจำนวนหลุมทั้งหมด เขาเรียกว่า active well ส่วนหลุมปิดอยู่ เรียกว่า inactive well ปิดไว้เพื่อรอเปิดสลับกัน เอาแบบง่ายๆคือหลุมจะเปิดปิดสลับกัน อาจจะ 15 วัน เพื่อสร้างดันรอบใหม่ ทำให้หลุมสามารถผลิตได้นาน เรามีหลุมน้ำมันดิบทั้งหมด 2,600 แต่เปิดผลิต 1,300 หลุม แต่สามารถ ผลิตได้เพียง 1.5 แสนบาร์เรล เรามีหลุมก๊าช 3,000 บ่อ แต่เปิดผลิต 1,400 หลุม แต่ ผลิตได้เพียง 3,000 ล้าน ลบ ฟุต เมื่อ พูดถึงการผลิตต่อหลุมเป็นอย่างไรบ้าง มากน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับของประเทศพม่า เขาผลิตก๊าชจากหลุมเพียง 12 บ่อ ผลิตได้ 1,000 ล้าน ลบ ฟุต ดังนั้นจำนวนหลุมมากไม่ได้บอกว่าเรามีน้ำมันมาก กลับสวนทางกันเสียอีกว่าเราต้องลงทุนเจาะหลุมมาก ทำให้ต้นทุนยิ่งสูงขึ้นไปอีก
  21. หลายวันก่อนอ่านบทความของคุณมนูญ ศิริวรรณ ที่บอกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นไทย ที่เท่ากับราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์+ค่าขนส่ง +ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง+ค่าประกันจากสิงคโปร์ นั้นสมเหตุผลแล้ว เพราะน้ำมันดิบส่วนมากมาจากตะวันออกกลาง ต้องผ่านสิงคโปร์ก่อนมาถึงมาไทย ต้นทุนน้ำมันดิบที่ขนเข้ามาถึงแพงกว่า ผมจำพิกัดบทความนั้นไม่ได้ แต่ผมขอมองต่างนะครับ ที่คุณมนูญมองประมาณนี้ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น ปตท ควรเท่ากับราคานำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ และต้องบวกค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าสูญเสียจากสิงคโปร์มาไทยเข้าไปด้วย เพราะน้ำมันนำดิบของไทยส่วนมากมาจากตะวันออกกลางซึ่งจะผ่านช่องแคบมะละกา ผ่านสิงคโปร์ และมาไทย (การขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันวันออกกลาง จะผ่านสิงคโปร์ก่อนถึงไทย ดังนั้นต้นทุนน้ำมันดิบนำเข้าของสิงคโปร์จะถูกกว่าต้นทุนน้ำมันดิบนำเข้าของ ไทย 1)ตะวันออกกลาง-----ผ่านสิงคโปร---ปลายทางประเทศไทย 2)ตะวันออกกลาง-----ผ่านสิงคโปร์ ******1 ลบ2 คือค่าใช้จ่าย ที่ขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสีย ที่เกิดจากสิงคโปร์มาไทย ดังนั้นส่วนนี้ควรบวกเข้าไปในราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทย **ผมขอมองต่างแบบนี้ 1)ค่าขนส่ง ค่าประกัน ค่าสูญเสีย ที่จ่ายจริงเมื่อมาไทยแล้วขนน้ำมันเข้าโรงกลั่นเพียงครั้งเดียว น่าจะถูกกว่า การขนส่ง 2ครั้ง ครั้งที่1)ตะวันออกกลาง มาสิงคโปร์ ขนน้ำมันดิบขึ้นโรงกลั่นสิงคโปร์ ครั้งที่2)ขนน้ำมันจากสิงคโปร์ลงเรืออีกครั้ง ซึ่งถ้ามาไทยเลยจะไม่มีการขนขึ้นและการขนลงเรืออีกรอบก่อนมาไทย 2)ผมไปดูแผนที่โลกแล้ว วัดด้วยสายตาคร่าวๆ ระยะทางจากสิงคโปร์มาไทยไม่ถึง20% ของการเดินทางทั้งหมดจากตะวันออกกลางมาไทย การเดินทาง10,000กิโลเมตรด้วยเรือ1ลำแล้วตรงมาไทยเลย ราคาน่าจะถูกกว่าใช้เรือ2ลำมาไทย ลำแรก8,000กิโลเมตรมาสิงคโปร์ ว่าจ้างเรือลำใหม่จากสิงคโปร์มาไทย(ต้องมีการขนน้ำมันลงเรือลำใหม่อีกรอบ กรณีมาลำเดียวไม่ต้องขนน้ำมันลงเรืออีกรอบ (ตัวเลข10,000กิโลเมตรเป็นตัวเลขสมมติเพื่อประกอบคำอธิบาย 3)สิงคโปร์ต้องนำเข้าน้ำมันดิบทั้ง100% แต่ของไทยน้ำเข้าแค่85% 15%ที่ผลิตในไทยไม่มีการขนส่งจากตะวันออกกลางมาไทย ไม่ต้องขนลงเรือและขึ้นจากเรือ หมายเหตุ---เรื่องการขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางมาไทย มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าจากตะวันออกกลางมาสิงคโปร์ เรื่องนี้เคยมีการคุยกับเพื่อนร่วมบริษัทมาแล้ว แต่ผมมองว่าส่วนของน้ำดิบที่ผลิตในไทยซึ่งไม่มีการขนส่ง น่าจะชดเชยส่วนนี้ได้ ---น้ำมันดิบนำเข้า 70กว่า%มาจากตะวันออกกลาง ประมาณ8%มาจากยุโรป 8%จากประเทศแถบอาเซียน ที่เหลือจากแหล่งต่างๆ ---น้ำมันดินที่นำเข้าจากตะวันออกกลาง ส่วนมากขนขึ้นที่แหลมฉบังและมาบตาพุด ซึ่งมีระยะขนส่งที่ไกลกว่าตะวันออกกลางมาสิงคโปร์ ---ค่าสูญเสียจากการขนส่ง มิใช่เกิดจากค้างเรือ อย่างเดียว ระเหย แต่จริงๆแล้ว ตอนรับสินค้า เขาใช้มาตรวัดของผู้ขาย ใส่ลงเรือ จากนั้นเรือจะวัดอีกที ผลต่างต้องไม่เกินมาตฐาน loss control ส่วนนี้ไม่เกิน 2 % จากนั้นเรือออกเดินทาง น้ำที่อยู่ในน้ำมัน นานวันก็ตกตะกอน ถึงท่ารับ วัดหาน้ำในท้องเรือ ดูดน้ำออกก่อน จากนั้นขนถ่ายน้ำมัน ส่วนต่างจากต้นทางมาปลายทาง จะเห็นว่าแม้ระยะทางเท่ากันแต่ loss ต่างกัน ขึ้นกับ batch นั้นๆดังนั้นไม่มีสูตรตายตัว การ loss เกิดขึ้นเที่ยวต่อเที่ยว
×
×
  • สร้างใหม่...