ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ส้มโอมือ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    5,036
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    15

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ส้มโอมือ

  1. ประเทศ เรามีบ่อน้ำมัน6พันกว่าบ่อ ฟังแล้วดูดีครับ แต่มองอีกมุมนะครับพม่าและมาเลเซีย มีบ่อน้ำมันน้อยกว่าเราเยอะมากเพราะเขาเป็นบ่อใหญ่ครับ ของ เรามีบ่อเยอะเพราะเราเป็นบ่อเล็ก ต้องขุดแล้วขุดอีก แต่ละบ่อค่าใช้จ่ายเยอะมาก บางบ่อค่าใช้จ่ายถึง3ล้านเหรียญแต่ไม่คุ้มจะใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์ ต้องสูญเงินเปล่าก็มีครับ
  2. ในเนทแชร์กันเยอะมาก ไทยเราผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสตมากกว่า บรูไน1.3เท่า ถ้าบอกเพียงแค่นี้ถือว่าข้อมูลไม่ครบข้อมูลที่ควรจะบอกด้วยคือ พื้นที่ประเทศไทยเรามากกว่าบรูไน90เท่า ประชากรไทยมากกว่าบรูไนประมาณ162เท่า
  3. ทำไมที่ผ่านมาการทวงคืนพลังงานของประชาชนไม่ได้ผล มีอะไรผิดฝาผิดตัวบ้าง ยาวแต่อยากให้อ่านครับ ความเข้าใจเรื่องพลังงานของไทยจะได้สับสนน้อยลง เราควรจัดทัพและรายละเอียดการเรียกคืนพลังงานไทยกันก่อนที่จะเดินหน้าทวงคืนพลังงานกันต่อ เราเรียกร้องว่าจะทวงคืนพลังงานมานานพอสมควรแล้ว เรียกร้องมานานแล้วแต่ไม่มีผลคืบหน้า ถ้าเราทำกระบวนการอะไรไปเป็นระยะเวลานานพอแล้วไม่ได้ผล เราต้องหยุดและมาคิดทบทวนขบวนการนั้นใหม่ทั้งหมด เพราะถ้าเรายังทำเหมือนเดิมก็คงได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม(HISTORY REPEAT IT SELF) คนอยู่วงนอกการทวงคืนพลังงานอาจเห็นอะไรที่คนคลุกปัญหาไม่เห็น ผม เอาเทปเสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติมาดูทบทวนเรื่องต่างๆ ผมมองว่ามีเรื่องที่เราควรทบทวนดังนี้ ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยข้อไหนก็พิจารณากันนะครับ ผมแค่มองจากคนวงนอก 1)เราชกทุกเป้าและถูกจุดมั้ย ในเวทีเสวนา ถาม-ตอบ ปัญหาพลังงานชาติ ฝ่ายปตทและฝ่ายข้าราชการบอกหลายครั้งว่า ต้องไปแก้ที่นโยบายของรัฐ ข้าราชการมีหน้าที่ทำตามนโยบายของรัฐเท่านั้น บนเวทีกำลังบอกว่ามาคุยกับปตทและข้าราชการไม่มีประโยชน์ ข้าราชการไม่มีอำนาจทำนอกนโยบายที่รัฐกำหนดมาแล้วได้ 1.1)เรื่องท่อก๊าซเมื่อศาลตัดสินมาแล้ว ปตท.ตีความเข้าข้างตัวเองเป็นเรื่องปกติ(มีคู่กรณีไหนบ้าง ตีความให้ตัวเองเสียประโยชน์) ที่ผิดปกติคือกระทรวงการคลังตีความเข้าข้างปตท.มากไป กระทรวงการคลังควรตีความปกป้องสมบัติของรัฐไว้ก่อน อะไรไม่แน่ใจหรือแค่มีบางคนท้วงติงว่าท่อส่วนนี้ควรเป็นของรัฐ ควรมองว่าเป็นของรัฐไว้ก่อน ถ้าความเห็นไม่ตรงกับปตท. ควรส่งกฤษฎีกาตีความหรือถ้าเรื่องไหนควรยื่นต่อศาลให้พิจารณาคดีอีกครั้งก็ ควรทำ แต่กระทรวงการคลังเห็นตามปตท.ง่ายเกินไป สตง.ทักท้วงก็ไม่ฟัง งานนี้ปตท.ทำถูกต้องครบถว้นแล้ว คืนท่อให้รัฐแล้ว กระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้รับบอกว่าครบแล้ว งานนี้ปตท.ทำถูกต้องครบทุกอย่างแล้ว โวยวายปตท.ไม่ได้ครับ ***สิ่งที่กลุ่มทวงคืนพลังงานควรทำ ๑)เรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการให้กระทรวงการคลัง ยื่นเรื่องนี้ไปที่กฤษฏีกาเพื่อพิจารณารายละเอียดของคำตัดสินว่าที่ถูกต้อง ตามคำตัดสิน ท่อในทะเลทั้งหมดต้องคืนรัฐมั้ย ท่อบนบกอีกครึ่งนึงต้องคืนรัฐมั้ย กรณีจำเป็นตั้งคณะทำงานเพื่อยื่นเรื่องต่อศาลพิจารณาว่าท่อส่วนไหนควรคืนรัฐ บ้าง ๒)อีกทางเลือกคือเรียกร้องให้สตง.ฟ้องเรียก ท่อก๊าซคืน เพราะมติคณะรัฐมนตรีให้สตง.เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของการคืนท่อก๊าซ ดังนั้นถ้าเห็นว่าการคืนท่อก๊าซไม่ถูกต้องแล้วสตง.ไมทำอะไรก็อาจมีความผิด ได้ สตง.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนี้โดยตรง จึงน่าจะมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลได้ 1.2เรื่องราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรง กลั่นของไทย ที่กำหนดให้เท่ากับราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์+(+ค่าขนส่งจากสิงคโปร์มาไทย+ ค่าประกันความเสียหาย+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง) สิ่งที่อยู่ในวงเล็บทั้งหมดไม่เกิดขึ้นจริง ควรเรียกร้องทางรัฐบาลและรัฐมนตรีพลังงานให้แก้เรื่องนี้ ---สิ่งที่ควรเป็นคือราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทยไม่ให้ขาย แพงกว่าราคาหน้าโรงกลั่นของสิงคโปร์ เพราะต้นทุนเริ่มต้นไทยถูกกว่าสิงคโปร์ สิงคโปร์ต้องน้ำเข้าน้ำมันดิบทั้ง100% แต่ไทยน้ำเข้า85%เท่านั้นอีก15%ไม่มีค่าขนส่ง แค่ขายเท่าโรงกลั่นสิงคโปร์ผู้ประกอบการไทยก็กำไรต่อหน่วยมากกว่าสิงคโปร์ เยอะแล้ว ---ข้าราชการต้องทำตามนโยบายของรัฐที่ประกาศแล้วเท่านั้น ไม่ทำตามมีบทลงโทษตามระเบียบข้าราชการ ---รัฐออกกฎมาเอื้อปตท. ปตท.ไม่ใช้สิทธิตามที่รัฐกำหนด ผู้บริหารปตท.ก็โดนผู้ถือหุ้นฟ้อง 1.3)เรื่องที่มีมติของคณะรัฐมนตรีในอดีต ให้ปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ก๊าซที่ขุดขึ้นมาใช้ ถ้าไม่พอให้มีการนำเข้า ---เรื่องให้ภาคครัวเรือนใช้ก่อน เป็นการช่วยเหลือประชาชนทั้งประเทศ รัฐช่วยเหลือประชาชนเป็นสิ่งถูก ---รัฐให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นอันดับแรกๆด้วย ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วย แต่เหตุผลของฝ่ายรัฐที่บอกว่าปิโตรเคมีจะช่วยสร้างงานต่อเนื่องในประเทศมาก มาย ก็มีน้ำหนักบ้างเหมือนกัน แต่กลุ่มปิโตรเคมีถือโอกาสจากมติอันนี้ ขยายการผลิตปิโตรเคมีเพื่อการส่งออกมากมาย ใช้ก๊าซราคาถูกกว่าตลาดโลกมากมาย จนปี2556ไทยส่งออกปิโตรเคมีประมาณ500,000ล้าบาท ปิโตรเคมีจ้างงานน้อยมากครับ นำเข้าเครื่องจักรทันสมัยจากนอกเป็นหลัก ดังนั้นการส่งออกปิโตรเคมีถึง500,000ล้านบาท ไม่สร้างงานในประเทศตามวัตถุประสงค์เริ่มต้น แต่สร้างความร่ำรวยใหนายทุนอย่างมากมาย ทำให้กองทุนน้ำมันติดลบมหาศาล ----SCGซึ่งซื้อLPGแพงกว่าปิโตรเคมีกลุ่มอื่นประมาณ9บาทต่อลิตร ยังมีกำไรมากมาย ปี2556 SCG มีกำไร 11,292 ล้านบาท ****กลุ่มทวงคืนพลังงานต้องกดดัน ให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงมติเดิมเรื่องการช่วยเหลือปิโตรเคมี อาจช่วยเหลือแบบจำกัดส่วนที่ผลิตและใช้ในประเทศเท่านั้น ส่วนที่ผลิตส่งออกช่วยอย่างมากก็แค่ค่าขนส่งเพื่อไม่ให้ต้นทุนวัตถุดิบ แพงกว่าตลาดโลก 1.4พิจารณาว่ามีเรื่องไหนอีกที่ชกไม่ตรงเป้า คู่ชกผิดฝาผิดตัว 2)เรื่องการแปรรูปปตท.เป็นปตท.มหาชน เป็นต้นเหตุให้น้ำมันแพง ส่วนตัวผมว่าไม่ใช่นะครับ ถ้าหลังการแปรรูปแล้วรัฐไม่ออกกฎหรือนโยบายบางอย่างออกมา ปตท.จะมีอำนาจอะไรไปทำให้น้ำมันแพงแบบปัจจุบัน ปตท.แปรรูปปี2544 ---ก่อนกระจายหุ้นปตท.ในตลาดหลักทรัพย์ มีมติว่าแปรรูปไปก่อนเลยแล้วไปทำการแยกท่อก๊าซให้เร็จภายใน1ปี 1ปีนั้นก็ไม่แยก พอปี2546ออกมติใหม่ว่าไม่ต้องคืนท่อก๊าซแล้ว ปัจจุบันศาลสั่งให้แบ่งแยกท่อคืนต่อก็ยังเถียงกันไม่จบว่าคืนครบหรือยังไม่ ครบ ปี2544-2550 ปตท.เก็บเงินค่าผ่านท่อ 6 ปี เป็นจำนวนเงินถึง 128,086 ล้านบาท ----ปี2551กำหนดให้ภาคปิโตรเคมีและภาคครัว เรือนใช้ก๊าซที่ผลิตได้เป็นกลุ่มแรก ถ้าไม่พอให้มีการนำเข้า เมื่อนำเข้าก๊าซซึ่งมีราคาแพงกว่าในประเทศมาก ก็ต้องเอาเงินกองทุนพลังงานมาชดเชย ปี2538-2550ประเทศไทยไม่เคยนำเข้าก๊าซและส่งออกก๊าซด้วย ปัจจุบันการนำเข้าก๊าซต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันหลายหมื่นล้านบาต่อปี ---หลังแปรรูปปตท.แล้ว มีการออกกฎมาว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทยให้อิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ รายละเอียดการอิงกลายเป็น+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสียระหว่างการขนส่ง ซึ่งไม่เกิดขึ้นจริง อันนี้ควรแก้เป็นว่าราคาหน้าโรงกลั่นของไทยไม่แพงกว่าราคาหน้าโรงกลั่น สิงคโปร์ ---เงินกองทุนน้ำมันและภาษีต่างๆที่เก็บเยอะมาก ไม่ได้เขาปตท.ครับ ---สมัยยังเป็นปั้ม3ทหารผมว่าบริการและเรื่องอื่นรวมทั้งกำไรก็ไม่ดีกว่าปตท .ตอนนี้ ปตท.มีกระทรวงการคลังถือหุ้นถึง51.11% กองทุนวายุภักษ์ถืออีก15.26%(ถึงแม้ว่ารัฐจะลงทุนในกองวายุภักษ์แค่30%) กำไรของปตท.ก็ส่งเข้ารัฐมากแล้วนะ ดูขสมก.เป็นตัวอย่างเป็นของรัฐ100%แล้วขาดทุนมหาศาล ---เรื่องน้ำมันแพงเพราะแปรรูปปตท.อาจเป็นเรื่องการเมืองไปแล้ว เพราะแปรรูปในสมัยนายกทักษิณ(แต่เรื่องนี้เดินเรื่องมาตั้งแต่รัฐบาลประชา ธิปปัตย์แล้ว) ความจริงแพงเพราะออกกฎและนโยบายอื่นๆตามมาทำให้แพงครับ ตามไปแก้ไขกฎหลายอย่างที่ออกมาหลังแปรรูปปตท.ดีกว่าครับ ---ศาลตัดสินเรื่องแปรรูปปตท.ไปแล้ว เคารพการตัดสินของศาลดีกว่าครับ ถ้าศาลตัดสินแล้วประชาชนไม่ฟังประเทศมีแต่วุ่นวายครับ ถ้าเราเรียกร้องตรงเป้าแต่แรกไม่ร้องจะเอาปตท.กลับคืนมา แต่แก้กฎที่ออกมาทีหลัง กฎที่เอื้อเอกชนล้วงเงินฝากกระเป๋าประชาชน 3)เรื่องที่เรียกร้องและต่อสู้อันไหนสำคัญน้อยตัดออกไปก่อน เหลือเรื่องที่จำเป็นจริงและประชาชนได้ประโยชน์ไว้ ต่อสู้มากเรื่องเกินไปจะทำให้การต่อสู้เดินหน้าได้ช้ามาก 3.1)เรื่องระบบสัมปทานปิโตรเลียม VS ระบบแบ่งปันผลผลิต สำหรับผมพยายามคิดหลายรอบและหลายตลบแล้ว ผมลัพธ์ที่ได้ต่างกันน้อยมาก(เฉพาะในมุมมองของผม) ทราบมาว่าเรื่องนี้เถียงกันมานานร่วม4ปีแล้ว ทั้งในโซเชียลมีเดีย และในรายการโทรทัศน์ต่างๆ สุดท้ายก็ไร้ข้อสรุปว่าแบบไหนดีกว่ากัน ผมไม่แน่ใจว่ามีใครพยายามดึงความสนใจจากกลุ่มทวงคืนพลังงาน ไปเรื่องต่างๆที่สำคัญน้อยหรือเปล่า เรื่องที่น่าสนใจเช่นเรื่องแอลกอฮอล์พูดกันน้อยมาก ส่วนตัวมองว่าสุดท้ายประเทศได้ผลลัพธ์แตกต่างกันน้อยมาก แค่ปรับรายละเอียดที่จะอุดช่องโหว่ที่กังวลนิดหน่อยก็น่าจะจบ ทางเลือไม่ใช่มีแค่2นะ ๑)ระบบสัมปทานปิโตรเลียม ๒)ระบบแบ่งปันผลผลิต ๓) ระบบสัมปทานปิโตรเลียม แบบเดิมแต่ออกข้อกำหนดมาอุดช่องโหว่ที่กังวลก็พอแล้ว ---- เราอาจเปิดสัมปทานรอบที่21ได้เร็วขึ้น ถ้าเรื่องระบบสัมปทานปิโตรเลียม VS ระบบแบ่งปันผลผลิตมีข้อสรุปชัดเจน จะทำให้เราผลิตน้ำมันมาชดเชยหลุมเก่าๆที่กำลังการผลิตน้อยลงไม่ทัน การเปิดสัมปทานรอบที่21ช้าจะสร้างความเสียหายกับประเทศมากครับ ---ระบบแบ่งปันผลผลิต ถ้ารัฐมีโรงกลั่นของตัวเองและมีขนาดใหญ่พอที่จะกลั่นส่วนที่ได้รับแบ่งมา ทั้งหมดได้ก็ง่ายขึ้น แต่ในเมื่อรัฐไม่มีโรงกลั่นของตัวเอง ได้มาก็ต้องรีบขาย จะขายในประเทศหรือส่งออก จะต้องมามีคนมาดูแลเรื่องนี้จำนวนไม่น้อย 4)เรื่องที่เรียกร้องและแชร์กันไปในโซเชียลมีเดีย มีผิดปนถูก ข้อมูลไม่ครบก็มีเยอะ ควรหาทีมงานมาจัดทำให้เรียบร้อย เพราะการเรียกร้องที่ถูกต้องควรอยู่บนฐานข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ประชาชนจะได้ไม่สับสนในข้อมูล --เช่นไทยเราผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสตมากกว่าบรูไน1.3เท่า ถ้าบอกเพียงแค่นี้ถือว่าข้อมูลไม่ครบข้อมูลที่ควรจะบอกด้วยคือ พื้นที่ประเทศไทยเรามากกว่าบรูไน90เท่า ประชากรไทยมากกว่าบรูไนประมาณ162เท่า 5)ประเด็นที่คุยกันไม่จบเพราะหัวข้อที่คุยไม่ชัดเจนในการเปรียบเทียบหรือ เปล่า เรื่องเดียวกันอาจมีตัวชี้วัดมากกว่า1ตัว ลองเลือกตัวชี้วัดอื่นที่ชัดเจนในการเปรียบเทียบอาจทำให้การพูดคุยกันง่าย ขึ้น 5.1)กลุ่มทวงคืนพลังงานบอกว่าเราได้ส่วนแบ่งสัมปทานรวมทั้งหมดแล้วประมาณ30% ซึ่งน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก แต่ฝ่ายปตทให้ข้อมูลว่าเรามีปิโตรเลียมน้อย เป็นกระเปาะเล็กๆไม่เป็นแหล่งใหญ่ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะสูงกว่า เพื่อนบ้านมาก ถ้าเรียกค่าสัมปทานสูงจะไม่มีใครมาประมูล ถ้าคุยแบบนี้ผมว่าเถียงกันยาวนานและอาจไม่มีข้อสรุป(ฝ่ายเรียกร้องต้องมีผู้ มีความรู้เรื่องธรณีวิทยาอย่างสูงซึ่งหายากมาก) ถ้าปรับหัวข้อในการคุยใหม่ว่า ----สัมปทานทานกำไรกี่%เมื่อเทียบกับเงินลงทุนในประเทศไทย และในประเทศเพื่อนบ้านผู้รับสัมปทานทานกำไรกี่%เมื่อเทียบกับเงินลงทุน ถ้าเทียบแล้วประเทศเราได้มากกว่าก็ควรปรับเพิ่มค่าสัมปทาน ถ้าผู้รับสัมปทานในไทยได้น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็คงส่วนแบ่งแบบเดิมก็ได้ ประเทศเราน้ำมันและก๊าซแต่ละแหล่งผลิตได้เท่าไหร่ มีข้อมูลอยู่แล้ว ค่าใช้จ่ายต่างๆของบริษัทขุดเจาะน้ำมันต้องมีการแจ้งตลอด เพราะใช้ในการคำนวณแบ่งเงินให้รัฐช่วงกำไรสุทธิในรอบสุดท้าย ข้อมูลพวกนี้รัฐมีอยู่แล้ว ทำเรื่องขอได้ ***สัมปทานทานกำไรกี่%เมื่อเทียบกับเงินลงทุน ต้องเอาข้อมูลย้อนหลังหลายๆปีมาเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อน เอาแค่1-2มาเปรียบเทียบไม่ได้ 6)ข้าราชการคือพนักงานของ คณะรัฐมนตรี ดังนั้นหน้าที่ของข้าราชการคือทำตามนโยบายของรัฐที่ประกาศและกำหนดเป็น ระเบียบปฎิบัติแล้ว เราจะไปโจมตีหรือผลักข้าราชการที่ทำหน้าที่อย่างถูกต้องตามนโยบายของรัฐ เป็นฝ่ายปตท.เป็นสิ่งที่ไม่ควร ข้าราชการที่รักประเทศและห่วงใยประชาชนมีเยอะ ควรดึงข้าราชการมาเป็นพวกแทนที่จะผลักเขาไปอีกฝั่ง หารือและขอข้อมูลด้านพลังงานจากข้าราชการว่าอะไรไม่ถูกไม่ควร แล้วกดดันรัฐบาลแก้ไขนโยบายที่เอื้อนายทุนเอาเปรียบประชาชน *****เป้า หมายคือ ความสุขของประชาชนส่วนรวม ดังนั้น การที่เรามีข้อมูลเรื่องพลังงานแล้ว เราไม่จำเป็นต้องตีกรอบเป้าหมาย หรือ ข้อเสนอเพียงเรื่องพลังงาน ควรมีข้อเสนอทางอื่นที่ สามารถทำได้ในระยะสั้นด้วย เช่น การลดต้นทุนด้านอื่นๆให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน หากผู้บริหารทราบว่า เกิดปัญหาจากนโยบายเก่าแล้ว และ ยังไม่สามารถยกเลิกนโยบายเก่าได้จนกว่าถึงช่วงเวลานึงแล้วถึงแก้ได้ 7)เรื่องที่สมควรสอบถามเพราะมีความสำคัญแต่พูดกันน้อยมาก 7.1เรื่องเอทานอลที่ผสมในน้ำมัน ผมมีข้อมูลแต่ยังหาหลักฐานไม่ไดว่า ราคาเอทานอลในสหรัฐอเมริกาและบราซิลซึ่ง ผลิตได้ถึง 80% ของโลก มีราคา กุมภาพันธ์ 57)ที่ 15 บาทต่อลิตร แต่ราคาในประเทศไทย 27 บาท แถมไทยเป็นประเทศส่งออก ถ้าส่งออกในราคา 27 บาทไม่มีใครซื้อแน่ ราคาที่ส่งออกน่าจะใกล้เคียงราคาตลาดโลก ----ราคาเอทานอลที่ขายในไทยซึ่งสูงกว่าตลาดโลกใครได้ประโยชน์มหาศาลอันนี้ไป เกษตรไม่ได้ประโยชน์นี้แน่ครับ ***อาจต้องมีปรับเพิ่มหรือแก้ไขเพิ่มเติมอีกนะครับ อันนี้เพิ่งเขียนเท่าที่นึกได้ครับ******
  4. เรื่องพลังงานที่เราสู้แล้วแพ้ เพราะมีข้อมูลที่ผิดหรือพูดความจริงแค่ครึ่งเดียว เจอเมื่อไหร่จะรวบรวมมาลงที่นี่นะครับ วันที่13/10/14 เบนซินไทย1.37เหรียญ สิงคโปร์1.71เหรียญครับhttp://www.globalpetrolprices.com/gasoline_prices/ ดีเซลวันที่13/10/2014 ดีเซลไทย0.73เหรียญ สิงคโปร์ 1.01เหรียญhttp://www.mytravelcost.com/petrol-prices/11/
  5. ถ้าไม่รีบเปิดสัมประทานพลังงานรอบที่21 ประเทศเราพังแน่ครับ สัมประทานพลังงานรอบที่21เราช้ามาประมาณ2ปีแล้ว ความจริงที่ควรรู้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุ่มเสี่ยงด้านพลังงานสูงติด5อันดับแรกของโลก Thailand, India, South Korea and the Netherlands rank with Ukraine among the bottom five countries on the energy security index.(อยู่ที่2บรรทัดสุดท้ายของหน้านี้ครับ http://www.ibtimes.com/us-lowering-global-energy-risk-ukraine-faces-highest-risk-energy-security-report-1559263 --ถ้าอันนี้ประเทศไทยเสี่ยงเป็นอันดับ2รองจากยูเครน(ตรงกลางภาพตรงเปลวไฟครับ) http://www.zerohedge.com/sites/default/files/images/user3303/imageroot/2014/08/20140811_gas.png ช่วงนี้มีการ เรียกร้องให้หยุดเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 บางท่านไปไกลถึงขนาดปิดบ่อน้ำมันและบ่อก๊าซในประเทศให้หมด เพื่อเก็บทรัพยากรปิโตรเลียมอันมีค่าเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลาน ไม่ต้องรีบร้อนเปิดสัมปทานไปหรอก เพราะถ้าพบน้ำมันหรือก๊าซธรรมขาติ คนไทยก็ต้องใช้ในราคาตลาดอยู่ดี สู้เก็บเอาไว้เป็นสมบัติให้ลูกหลานดีกว่า อีก 20-30 ปีค่อยขุดขึ้นมาใช้ ถึงตอนนั้นมูลค่าจะเพิ่มขึ้นกว่านี้อีกมาก ตอนนี้ก็ซื้อเขามาใช้ไปก่อน ปัจจุบันเรานำเข้าน้ำมันและก๊าซอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านบาท/ปี ก็จะเพิ่มเป็น 1.7 ล้านล้านบาท/ปี รายได้จากสัมปทานและภาษีปิโตรเลียมที่ได้จากการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมปี ละ 200,000 ล้านบาทก็จะขาดหายไปด้วย(ขาดส่วนนี้ไปรัฐถังแตกทันที)ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ตามมาก็คือค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอย่างมาก ---นำมันดิบเรานำเข้า85% จะปรับเป็นนำเข้าทั้ง100% ขบวนการขนส่งต่างๆไม่น่ามีปัญหา ---แต่การนำเข้าก๊าซเป็นงานใหญ่สุดๆ ทุกวันนี้เราผลิตก๊าซธรรมชาติได้เองประมาณ 72% ของความต้องการทั้งหมดของประเทศ ถ้าปิดหลุมผลิตก๊าซทั้งหมด นั่นหมายความว่าเราจะต้องหันไปนำเข้าก๊าซปริมาณมากมายมหาศาลจากต่างประเทศ และการนำเข้าก๊าซในปริมาณมากมายขนาดนั้น ไม่มีประเทศเพื่อนบ้านรายไหนเขามีศักยภาพที่จะมาต่อท่อก๊าซขายให้เรา นั่นหมายความว่าเราจะต้องนำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติอัดเหลวหรือที่เรียกว่า ก๊าซแอลเอนจีที่ขนส่งกันทางเรือเท่านั้น แค่แหล่งJDAหยุดจ่ายก๊าซปิดซ่อมเท่านั้นก็แย่แล้ว (ที่ยุโรปแข็งข้อกับรัสเซียมากไม่ได้ก็เพราะต้องพึ่งก๊าซที่ต่อท่อมาจา กรัสเซีย หนาวนี้ถ้ารัสเซียหยุดส่งก๊าซคงมีประชากรหนาวตายไม่น้อยเลย) ---ทุกวันนี้ราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เราต่อท่อไปที่โรงไฟฟ้าเพื่อใช้ ผลิต ไฟฟ้านั้น ราคามันแค่ 9-10 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู (310 บาท/ล้านบีทียู) แต่ราคานำเข้าก๊าซแอลเอนจีมันอยู่ที่ 16-17 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู (550 บาท/ล้านบีทียู) แพงกว่ากันเกือบเท่าตัว นั่นย่อมหมายความว่าถ้าเราปิดบ่อก๊าซ บ่อน้ำมันกันหมดประเทศจริงๆ สิ่งที่จะต้องแพงขึ้นและไปกระทบกับประชาชนทันทีก็คือค่าไฟฟ้า ทุกวันนี้เราใช้ไฟกันหน่วยละ 3.91 บาท เราก็ร้องกันจะแย่อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมาปั่นไฟทั้งหมด คิดดูก็แล้วกันว่าค่าไฟจะขึ้นไปเป็นหน่วยละเท่าไร คงไม่ต่ำกว่าหน่วยละ 6 บาท ---ราคาก๊าซหุงต้ม ก๊าซที่ใช้ในขนส่ง LPGที่ใช้ในอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีจะแพงอีกเยอะมาก ค่าครองชีพจะเป็นอย่างไร เงินเฟ้อจะขึ้นไปเท่าไร ธุรกิจอุตสาหกรรมจะอยู่ได้ไหม SME จะอยู่รอดหรือเปล่า ธุรกิจและอุตสาหกรรมของเราจะแข่งขันกับคนอื่นเขาได้หรือเปล่า สินค้าเราจะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้หรือไม่ การเปิดสัมประทานพลังงานรอบที่21ที่ช้ามา2ปี เพราะมีฝ่าย1ทักท้วงว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วเราได้ส่วนแบ่งสัมประทาน รวมทั้งหมดแล้วประมาณ30% ซึ่งน้อยกว่าหลายๆใกล้ๆเรา ฝ่ายที่2บอกว่าแหล่งปิโตรเลียมของเราเป็นกระเปาะเล็กๆ ทำให้การขุดเจาะมีต้นทุนที่สูง หลายครั้งเจาะไปเจอกระเปาะเล็กเกินไปจนไม่คุ้มในการทำ เรื่องค่าสัมปทานเท่าไหร่ที่ประเทศเราควรได้ ผมไม่รู้จะค้นข้อมูลจากไหน แต่เรื่องที่แหล่งปิโตรเคมีของเราเป็นกระเปาเล็กๆแต่ของมาแลเซียเป็นแหล่ง จริงครับ แหล่งทาปิสของมาเลเซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่ คือประมาณ 600 ล้านบาเรล (3-4เท่าของแหล่งสิริกิติ์) ปริมาณการผลิตสูงสุดเมื่อปี 2523 คือ วันละ 80,000 บาเรล เมื่อปี 2542 ลดเหลือ 29,000 จากหลุมผลิต 38 หลุม เทียบกับ 340 หลุมผลิตของแหล่งบงกช) จำนวนหลุมที่เยอะก็มี่ค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกเยอะ ข้อมูลฝ่ายไหนผิดหรือฝ่ายไหนถูกคงต้องไปว่ากันในช่วงต่อไป แต่ที่สำคัญสุดตอนนี้ ประเทศเราขาดแคลนพลังงานไม่ได้ ยังไงช่วยถอยกันคนละก้าว ---ข้าราชการกระทรวงพลังงานที่ดีและรักประเทศมีเยอะครับ แต่ข้าราชการต้องทำงานตามนโยบายของรัฐ ถ้าอะไรไม่ถูกต้องก็ต้องไปแก้ที่นโยบาย ข้าราชการไม่มีสิทธิทำนอกกฎหรือระเบียบที่กำหนดได้ เราอย่าไปผลักข้าราชการไปฝั่งตรงข้าม สิ่งที่ควรทำคือไปเรียกร้องรัฐบาลหรือรัฐมนตรีให้แก้ไขนโยบายให้ถูกต้อง ***ข้อมูลบางส่วนเอามาจากบทความของคุณ Manoon Siriwan คือช่วงจะเรียบเรียงเขียนส่วนที่ผมรู้ ก็ต้องค้นข้อมูลและตัวเลขบางอย่างบ้าง ก็เลยไปเห็นบทความของคุณManoon Siriwan ซึ่งเนื้อหาส่วนที่ผมเอามาตรงกับที่ผมรู้ครับ
  6. ปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่2 ทำไมต้องคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
  7. ปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่1 ทำไมต้องคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
  8. จากประสพการณ์การทำงานเกิน10ปี สัมผัสและคลุกปัญหากับพนักงานระดับปฏิบัติการมาตลอด ปัญหาเยอะมากและแก้ยากมาก ถอยหลังมาคิดถึงรากเหง้าของปัญหา ระบบการศึกษาไทยต้องปรับอย่างมากประเทศเราถึงจะเดินได้ เรียงความและย่อความสำคัญมากๆ ถ้าเรียงความและย่อความถูกตัดออกจากการศึกษา ประเทศเราเดินต่อยากครับ เรียงความ สำคัญมาก พนักงานในโรงงานผม รายงานปัญหาไม่ได้เลย เล่าแบบ5 7 9 1 3 10 2 4 6 แล้วใครจะรู้เรื่อง ย่อความไม่ได้กันเลย รายงานแบบส่วนสำคัญหายเกลี้ยง เอาแต่ส่วนไม่สำคัญมาบอก โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน การท่องอาขยานต่างๆ นอกจากความสำคัญด้านต่างที่หลายท่านบอกมาแล้ว ช่วยต่อยอดการช่วยจำอย่างมากมาย ผมเคยเรียนเขี้ยวสัตว์เก้าชนิดที่ใช้ทำยา ถ้าท่องแบบทั่วไปก็ลืม แต่ถ้าท่องแบบมีสัมผัสผ่านมาเป็น10ปีผมไม่ลืมครับ 1)กุมภี หมี หมู หมา เสือ ช้าง ปลา เลียงผา แรด(เนาวเขียว ปลาคือปลาพะยูน) 2)ขม นางรม แครง จุ๊บแจง พิมผการัง สังข์ กาบ มุกดา ตาวัว(หอยขม หอยนางรม หอยแครง หอยจุ๊บแจง หอยสังข์ หอยกาบ หอยมุก หอยตาวัว หอยพิมการัง) Sutat Eaka 6 ตุลาคม · แก้ไขแล้ว · ทวงคืน ฟื้นการศึกษาไทย... ท่านที่เคารพ..ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ “ผู้มีอำนาจกำหนด และวางหลักสูตรการศึกษาไทย”ในช่วงที่ผ่านมาบางคน ได้สร้างขวากหนาม และหลุมพรางเอาไว้เบื้องหลังอย่างไม่รู้ตัว.. เป็นต้นว่า.... ***ในวันนี้ เราไม่มีวิชา อ่านไทย คัดไทย เขียนไทย เรียงความ ย่อความ จดหมายไทย ไวยากรณ์ไทย และการ หัดเขียน โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน การท่องอาขยานต่างๆ ที่มีคาบการเรียนที่เป็นชิ้นเป็นอัน จึงทำให้เกิดอาการจบชั้นประถมแล้ว ยังอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้..เขียนหนังสือไม่เป็นตัวหนังสือ ภาษาวิบัติได้ตามใจปรารถนา พอแก้ไม่ไหวก็ต้องยอมรับเอาความวิบัติวิปริตนั้นว่าถูกต้อง โดยอ้างว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษา ตามยุคสมัย..อีกไม่นานหรอกครับ..ความงดงามของภาษาไทย ทำนองเสนาะ ไพเราะดั่งเสียงดนตรีแห่งสวรรค์นี้ จะมีอันต้องสูญหายไปอีก..เราคนไทยทุกคน “ต้องก้มหน้ายอมรับ” กระนั้นหรือ.. “เซ็งจุงเบย !”…จงตระหนักเสียเถิดว่า “ภาษาไทย เป็นวัฒนธรรมอันงดงามของชาติไทย” พูดเล่นพูดหัว เอาสนุกนั้นได้..แต่จะไม่รักษาไว้ให้ยืนยงคู่แผ่นดินไทย และ คนไทยนั้น เห็นจะยอมไม่ได้.. วันนี้จึงต้องทวงคืน.. เอาวิชาอ่านไทย คัดไทย เขียนไทย เรียงความ ย่อความ วิชาจดหมายไทย ไวยากรณ์ไทย และการ หัดเขียน โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และอาขยานต่างๆ กลับมาสอนใหม่โดยเร็ว และต้องจัดให้เป็นวิชาที่มีในตารางสอน แยกรายวิชาให้เด่นชัด มีคาบการเรียนให้เด่นชัดลงไป มีการสอบ การวัดผลของแต่ละวิชา..นี่แหละ “เป็นทางเดียวที่จะขจัดความไม่รู้หนังสือของคนไทยให้หมดไปได้” และเป็นการรักษาเอกลักษณ์ไทยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาเลยทีเดียว.. วิชา อ่านไทย คัดไทย กับ เขียนไทย และอาขยานนั้น ขอให้คงอยู่จนถึงชั้นมัธยมต้น นั่นแหละ จึงสมควร ส่วนวิชาอื่นๆ ที่กล่าวข้างต้นนั้น ขอให้อยู่ในตารางเรียนจนถึงมัธยมปลาย.. ***ท่านที่เคารพในกระทรวงศึกษาธิการ จะมัวแต่ร้องตะโกนปาวๆเรียกร้องให้เอกลักษณ์ไทยกลับคืนมาแต่อย่างเดียวนั้น เห็นทีเหนื่อยเปล่า..”ก็ต้องทำตามหลักวิชา” เช่นนี้แหละครับ ***ขอขอบคุณที่จะนำ “วิชาหน้าที่พลเมือง”กลับคืนมา แล้ว..แต่อย่าลืมว่า “หน้าที่พลเมือง เป็น สำนึก ที่ต้องแสดงออก Civic duty is the realization that to be expressed” ดังนั้น วิชานี้จึงเป็นวิชาที่ “ผู้เรียนต้องมีความรู้ และทักษะ Knowledge and Skill”ไปพร้อมๆกัน และไม่มีวิธีเรียนอย่างอื่น ที่จะดีไปกว่า Experience learning หรือ Learning by Doing อีกแล้ว คุณครูทั้งประเทศเขามีความรู้ดีในวิธีการสอนอยู่แล้ว เพียงแต่ท่านให้โอกาสเขา ได้ “จัดการเรียนการสอนเต็มความสามารถ”ที่เขาได้เรียนรู้มาแล้วจากมหาวิทยาลัย ไม่ต้องไปจัดอบรมใหม่ ไม่ต้องไปประเมินความสามารถของครู เพราะมันจะเป็นอุปสรรคแก่การเรียนการสอน ดังที่ได้เห็นผลเสียปรากฏชัดกันอยู่แล้ว..ถ้าตกลงกันตามนี้ได้ ท่านไปประเมินตามสภาพจริง Authentic assessment โน่นแหละ จึงจะได้รู้ว่า “โลกแห่งปัญญานี้ มีอยู่ในผู้อื่นด้วยเหมือนกัน” จริงๆ.. ***“วิชาประวัติศาสตร์ไทย”กลับมาแล้ว..และจะดีที่สุดหากจะมีการเรียนประวัติศาสตร์ แบบ “คิดวิเคราะห์ถึง ผล Effect ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ เกิดจากเหตุ Cause คือ พฤติกรรม และแรงจูงใจอันใด จึงทำให้โฉมหน้าของประวัติศาสตร์ไทย เป็นเช่นนี้” เพราะ “ประวัติศาสตร์ย้อนรอยตัวเองเสมอ History repeat itself” ดังนี้ “วิชาประวัติศาสตร์จึงเป็นบทเรียนของปัจจุบัน History is the lesson of present day” หมายความว่า เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อแก้ไขปัจจุบันให้ดีขึ้นนั่นเอง...ชาติที่เจริญแล้ว และประสบผลสำเร็จทั้งหลาย ล้วนแต่ให้เยาวชน และคนในชาติของเขาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในแง่นี้ทั้งนั้น... จึงขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ได้มีความจริงจังและจริงใจในการปฏิรูปการศึกษาของชาติโดยพร้อมเพรียงกัน.... อย่าท้อใจไปเลย..เมื่อมี “ยุคมืด Dark age”ได้ การศึกษาไทยก็ต้องมียุคสว่าง และมีการเกิดใหม่ Rebirth หรือ การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ Renaissance อย่างที่เคยเป็นมาในประวัติศาสตร์ได้เช่นกัน….. สุทัศน์ เอกา....................บอกความ
  9. ผม มองแบบนี้ครับ ----หลักพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทานครับ ราคาลงเพราะมีคนอยากขายมากกว่าอยากซื้อ ยิ่งลงแรงและลงหนักก็คือฝั่งขายมีความต้องการขายมากกว่าฝั่งซื้ออย่างมาก ถ้าฝั่งขายมีคนอยากขายเยอะถ้าลงไม่แรงลงไม่หนัก แรงฝั่งขายอาจลดลงไปนิดหน่อยแบบนี้อาจยื้อไปอีกนานหลายปีกว่าแรงฝั่งขายจะ หมด ---แต่ เมื่อราคาลงหนักลงแรงมาถึงจุดนึง 1)คนขายบางคนไม่มีของจะขายแล้ว 2) บางคนลงมาถึงจุดที่เขาเริ่มมองว่าราคานี้อย่าขายดีกว่า ถือไว้น่าจะดีกว่าขาย 3)บางคนที่เคยขายมาตลอดมองว่า ราคาขนาดนี้ไม่ควรขายแล้ว ดูจังหวะเหมาะๆแล้วซื้อเก็บดีกว่า 4)ลงถึงจุดนึงโรงงานอาจมองว่าหยุดผลิตยังขาดทุนน้อยกว่าผลิตต่อ 5)ลงถึงจุดนึงโรงงานบางแหล่งที่มีเงินเหลือ(ถ้ามีเงินนะ )อาจมองว่าราคานี้ไม่ขาย เป็นไงเป็นกัน ราคาไม่ขึ้นก็ไม่ขาย หมดเงินเมื่อไหร่ก็หยุดผลิต ---เรา ต้องมองว่าฝั่งซื้อและฝั่งขายสามารถเปลี่ยนข้างได้ตลอดเวลา ลงแรงลงหนักถึงจุดนึงคนฝั่งขายเหลือคนอยากขายเหลือน้อยมาก บางคนเปลี่ยนใจมาอยู่ฝั่งซื้อ ---ลงหนักและแรงถึงจุดนึง คนที่อยู่วงนอกอาจสนใจเข้ามาในตลาดทองคำ ---คนบางกลุ่มอยู่ฝั้งซื้อแต่ไม่ซื้อ รอสัญญาณการขึ้นที่ชัดเจแล้วถึงค่อยซื้อ ***ดัง นั้นใครที่ติดดอยราคาสูง และตัดสินใจว่าจะไม่ยอมขายแล้ว กอดจนกว่าจะมาที่ยอดดอยเดิมหรือเลยราคาเดิมไปเยอะถึงยอมขาย-----สิ่งที่ต้อง ทำคือภาวนาให้แรงขายของฝั่งขายหมดหรือเหลือน้อยที่สุด ซึ่งก็คือแช่งเช้า แช่งเที่ยง แช่เย็น แช่งทุกวันไม่มีวันหยุด แช่งให้ลงหนัก ลงแรงๆ ลงต่ำกว่า1000เหรียญยิ่งดี ลงสุดๆไปเลย ***สิ่ง ที่ผมพูดอาจขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป แต่ความจริงราคาขึ้นกับฝั่งซื้อและฝั่งขายใครมีกำลังมากกว่ากัน ถ้าลงหนักลงแรงจนไม่มีใครอยากขายแล้ว ก็คือจบรอบการลงเพราะไม่มีคนอยากขายแล้ว คราวนี้ก็มาดูรอบการขึ้นว่าจะเรียกแขกได้มากและแรงขนาดไหน
  10. ผมมีพูดถึงราคาทองในเฟซผมว่า ถ้าอยากให้จบรอบเร็วเพื่อทองจะได้ขึ้นสักที ต้องให้ลงเยอะแบบมี NEW LOWเลยครับ ยิ่งลงหนักลงแรงแบบต่ำกว่า1000ยิ่งดี มีเพื่อนสมาชิกสงสัย ก็เลยเขียนตอบตามความเห็นของผมไป(ไม่ได้ใช้TAนะ TAผมอ่อนครับ) เพื่อนๆลองคิดดูครับ ค่ำนี้ผมจะลองเอาสิ่งที่ผมโพสมาลงครับ
  11. หุ้นปตท.เข้ามาเทรดในตลาด วันที่ 6 ธันวาคม 2544 ขึ้นไป High ที่ราคา 38.25 บาท แล้วถูกกดลงมาปิดที่ราคา 35.75 บาท หุ้นปตท.วิ่งในลักษณะ “ไซด์เวย์” อยู่นานเป็นปี (2545-กลางปี 2546) จากราคาจอง 35 บาท ราคาหุ้นลงไปต่ำสุด 28.75 บาท ในวันที่ 30 เมษายน 2545 แล้วไล่ขึ้นไป 38 บาท ในวันที่ 12 มิถุนายน 2545 จากนั้นก็กดราคาลงมาอีกทีเหลือ 34 บาท ในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 ต่อจากนั้นราคาก็เคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ 38 – 45 บาท นานอีกหลายเดือน จนถึงกลางเดือนเมษายน 2546 ราคาหุ้นปตท.ทะยานขึ้นไปเร็วมาก ขึ้นไป 78 บาท ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ผมหาราคาหุ้นย้อนหลังได้ถึงปี 2547 ซึ่งราคาหุ้นปตท.อยู่ที่ประมาณ170บาท http://blog.krajong.com/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-10-%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-the-winner-1/ http://blog.krajong.com/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-11-%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-the-winner-2/
  12. "การปฏิรูปพลังงานอย่างยั่งยืน ต้องนำกิจการท่อก๊าซทั้งระบบกลับมาเป็นสมบัติของแผ่นดิน" รายการเสวนาถามตอบเรื่องพลังงานวันนี้ (24 กันยายน) ที่สโมสรกองทัพบก ทางฝ่ายประ ชาชนได้เสนอข้อมูลที่สำคัญหลายประเด็น แม้จะถูกกีดกัน ตัดบท ไม่ให้เวลาในการอธิบายเพื่อให้ประชาชนคนฟังได้รับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วน หรือไม่ให้ทักท้วงเมื่อมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากอีกฝ่าย จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง และยิ่งมาอ่านข่าวออนไลน์ในข่าวของสำนักข่าวต่างๆ ก็ยิ่งประหลาดใจที่พบว่ามีการรายงานเฉพาะเนื้อหาของฝ่ายปตท.ฝ่ายเดียวอย่าง ชััดเจน บางฉบับถึงกับนำข้อมูลเก่าที่สัมภาษณ์ไปก่อนหน้านั้นที่ไม่ได้อยู่ในการ เสวนามาลงขยายความให้อีกด้วย ราวกับมีบ.ก กำหนดแนวการเขียนข่าวและแจกข่าวไปยังทุกสำนักพิมพ์ ส่วนข้อมูลของฝ่ายประชาชน ไม่มีการรายงานในส่วนที่เป็นสาระหลักให้ครบถ้วนเลยแม้แต่เรื่องเดียว ยกตัวอย่างภาพกราฟฟิกที่ดิฉันนำมาแสดงในงานเสวนา ก็ไม่มีสำนักข่าวใดนำมารายงานข่าว ภาพดังกล่าว เป็นการคำนวณตัวเลขจากข้อมูลในรายงาน 56-1ของปตท.ที่ส่งตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2544-2556 จึงขอนำมาลงให้เพื่อนมิตรดู ภาพกราฟฟิกนี้เป็นการเปรียบเทียบ การเก็บเงินค่าผ่านท่อของปตท. เทียบกับค่าเช่าท่อก๊าซที่ปตท.จ่ายให้รัฐ จะเห็นความแตกต่างราวฟ้ากับเหว ท่อก๊าซที่สร้างจากภาษีของประชาชนเอาไว้ให้ปตท.เช่าถูกๆ แต่การเก็บค่าผ่านท่อจากประชาชนสูงเมื่อเทียบกับค่าเช่าที่รัฐได้สูงกว่ากัน มากกว่า 7,000%ทีเดียว เมื่อศาลปกครองสูงสูงได้ตัดสินให้ผู้ถูกร้องคือคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน และ บมจ.ปตท.ไปแบ่งแยกทรัพย์สินที่ได้มาโดยอำนาจมหาชน ซึ่งประกอบด้วยระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ อันรวมถึงระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติคืนให้รัฐ แต่การคืนท่อก๊าซของปตท. คืนเพียงท่อบางส่วนบนบก ซึ่งสตง.ตรวจสอบแล้วพบว่าปตท.คืนท่อก๊าซเพียงประมาณ 30%ของท่อทั้งระบบที่สร้างก่อนปี2544 และใช้เงินก่อสร้างจากปตท.( สมัยที่ยังเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นของรัฐ100%) จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อการใช้ร่วมกันของคนในชาติ จึงต้องคืนมาทั้งหมด โดยส่วนที่ยังไม่ได้คืนอีก70% ประกอบด้วยท่อในทะเลและท่อบนบก ซึ่งปตท.ยังไม่ได้คืนให้รัฐตามคำพิพากษา หลังคำพิพากษาของศาลฯ บมจ.ปตท.แบ่งแยกท่อก๊าซคืนมาประมาณ30% และจ่ายเงินค่าเช่าย้อนหลัง6ปี (2544-2550)ให้รัฐเฉพาะท่อส่วนที่คืนรัฐเพียง 1,597ล้านบาท แต่เก็บเงินค่าผ่านท่อ6ปีซึ่งรวมอยู่ในค่าก๊าซและค่าไฟฟ้าถึง 128,086ล้านบาทสูงกว่าค่าเช่าท่อถึง 7,920% ถ้าคำนวณว่าท่อก๊าซที่คืนมาให้รัฐ 30% ก็ควรได้ค่าเช่าในสัดส่วน30%จากค่าผ่านท่อ128,086ล้านบาทที่เก็บจากประชาชน จึงควรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า30,000ล้านบาท แต่รัฐกลับได้ค่าเช่าย้อนหลังเพียง1,597ล้านบาท หลังจากนั้นปตท.จ่ายค่าเช่าให้รัฐสูงสุดเพียงปีละ 550ล้านบาท แต่เก็บค่าผ่านท่อจากประชาชนปีละ22,000 - 30,000ล้านบาทรวม12ปีหลังการแปรรูป ปตท.เก็บเงินจากค่าผ่านท่อรวมแล้ว 295,074ล้านบาท แต่รัฐได้รายได้ใน12ปีเพียง 4,897ล้านบาท ท่อส่งก๊าซทั้งระบบเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ต้องคืนกลับมาเป็นของรัฐ เพราะเป็นทรัพย์สินที่ศาลปกครองสูงสุดระบุว่าเป็นทรัพย์สินที่ไม่ตกอยู่ภาย ใต้การบังคับคดี (คือถูกยึดทรัพย์ไม่ได้ตามกฎหมาย) จึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องแบ่งแยกคืนให้รัฐ การที่บมจ.ปตท.อ้างว่าท่อในทะเลเป็นของบมจ.ปตท.กลายเป็นว่าท่อก๊าซในทะเล เป็นทรัพย์สินที่ต้องถูกบังคับคดีได้ ใช่หรือไม่? ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง สมมติว่าบมจ.ปตท. เกิดล้มละลาย ท่อส่งก๊าซในทะเลก็สามารถถูกเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ได้ ถ้าท่อในทะเลถูกยึดทรัพย์ได้ ท่อทั้งหมดบนบกก็เป็นอันใช้การไม่ได้ทั้งระบบ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดได้ใช้คำว่า "ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อซึ่งรวมระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ" เป็นทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ ไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับคดี ที่ต้องแบ่งแยกคืนให้กับรัฐทั้งระบบ หากมีการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อ 2กรกฎาคม 2544ก่อนการแปรรูปที่มีมติให้ ปตท.ในสมัยที่ยังเป็น"การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย" ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ100% ไปแบ่งแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกมากิจการจัดหาและจัดจำหน่ายก่อน การแปรรูป และให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) ถือไว้ 100% หมายความว่าในเจตนาเดิมก่อนการแปรรูปปตท. รัฐเห็นว่า โครงข่ายท่อส่งก๊าซเป็นทรัพย์สินที่ขายหรือโอนให้เอกชนไม่ได้ เพราะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องให้แบ่งแยกกิจการท่อส่งก๊าซออกมา และให้เป็นของรัฐ100% หากมีการปฏิบัติเช่นนั้นต้ังแต่ก่อนแปรรูป กิจการก๊าซก็จะไม่ใช่กิจการมุ่งหากำไรสูงสุดอย่างในปัจจุบัน ค่าผ่านท่อจะถูกลงมากกว่านี้ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงให้ราคาก๊าซและราคาค่าไฟถูกลง หรือถ้ารัฐเก็บในอัตราเท่าที่บมจ.ปตท.เก็บ รายได้เกือบ3แสนล้านบาทก็จะเป็นรายได้ของแผ่นดินทั้งหมด สามารถนำไปใช้เพื่อการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆให้กับประชาชน รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว กทม.
  13. เรื่องท่อก๊าซ ดูเหมือนว่ากระทรวงการคลังไม่อยากได้ท่อก๊าซมาตั้งแต่ปี2544 ก่อนการแปรรูปปตท.นั้น มติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อ 2กรกฎาคม 2544ก่อนการแปรรูปมีมติให้ ปตท.ในสมัยที่ยังเป็น"การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย" ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ100% ไปแบ่งแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกมาจากกิจการจัดหาและจัดจำหน่ายก่อนการ แปรรูป แต่รัฐบาลนายกทักษิณ มีมติ ครม.เลือกที่จะแยกระบบท่อออกจาก ปตท.ภายในหนึ่งปีหลังแปรรูป เงื่อนไขการแยกท่อก๊าซภายใน1ปี จึงปรากฏอยู่ในหนังสือชี้ชวนของการกระจายหุ้น ปตท.ในตลาด หลักทรัพย์ (IPO) พ.ย. 2544 เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ---หลังจากปตท.เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ทางกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง กลับใส่เกียร์ว่าง ไม่รีบดำเนินการให้มีการแยกท่อก๊าซให้เสร็จภายใน1ปี การใส่เกียร์ว่างแบบนี้ ทำให้อาจคิดไปได้ว่ากระทรวงการคลังไม่ต้องการรับคืนท่อก๊าซคืนจากปตท.(มี อะไรแอบแฝงมั้ย) ยิ่งกว่านั้นเมื่อศาลมีคำตัดสินให้มีการแบ่งแยกท่อก๊าซที่สร้างก่อนปี2544 กระทรวงพลังงานก็รีบรับแบบไม่สนใจที่จะหารือกฎษฎีกาว่าควรจะได้ท่อมากกวาที่ ปตท.จะคืนมั้ย มีส่วนไหนอีกบ้างที่กฤษฎีกามองว่ารัฐควรได้เพิ่ม บอกว่าครบแล้วโดยไม่สนใจคำท้วงติงจากสตง. ทำให้ข้อสงสัยว่าการที่กระทรวงการคลังไม่อยากได้ท่อก๊าซมาตั้งแต่ปตท.เข้า ตลาดหลักทรัพย์ดูมีน้ำหนักมากขึ้น ท่อก๊าซที่สร้างก่อนแปรรูปปตท.ที่กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังไม่ดำเนิน การแบ่งแยกให้เสร็จ ภายใน1ปี มีมูลค่ามหาศาลขนาดที่ว่า ค่าเช่าท่อในเวลา6ปีที่ปตท.ได้รับมีมูลค่าถึง128,086ล้านบาท(นับตั้งแต่ ปี2544 ถึงปี2550ที่ศาลมีคำตัดสินให้มีการแบ่งแยกท่อก๊าซ) มูลค่ามหาศาลแบบนี้ไงที่ทำให้ปตท.พยายามคืนท่อก๊าซให้น้อยที่สุด $$$เพิ่งเจอเอกสารว่า ในปี2546(2ปีหลังปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์) รัฐบาลทักษิณยกเลิกนโยบายการแยกท่อก๊าซฯคืนจากปตท. ทำให้หมัดเด็ดที่ผมว่ากระทรวงการคลังไม่ต้องการรับคืนท่อก๊าซมาตลอดตั้งแต่ ปี2544 จนถึงวันที่ศาลมีคำตัดสินให้มีการแบ่งแยกท่อก๊าซในปี2550มีน้ำหนักลดลง $$$ $$$นายกทักษิณเล่ห์ เหลี่ยมมากมายจริง ช่วงที่จะเอาปตท.เข่าตลาดหลักทรัพย์ก็บอกว่าจะทำการแยกท่อก๊าซให้เสร็จภา นใน1ปี สุดท้ายก็ไม่ดำเนินการ และเมื่อผ่านมา2ปี) รัฐบาลทักษิณยกเลิกนโยบายการแยกท่อก๊าซฯคืนจากปตท.$$$ $$ ในปี2546(2ปีหลังปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์) รัฐบาลทักษิณยกเลิกนโยบายการแยกท่อก๊าซฯคืนจากปตท. ทำให้เซียนหุ้นท่านนึงกำไรประมาณ 700 ล้านบาท แล้วฝ่ายรัฐบาลที่ออกนโยบายจะมีใครแอบใช้นอมีนีไปซื้อหุ้นก่อนออกนโยบา บมั้ย$$$
  14. เรื่องท่อก๊าซ เรื่องท่อก๊าซศาลพิพากษาว่า ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่4(ปตท.) งานนี้จะมองให้ชัดว่าปัญหาอยู่ตรงไหน ต้องทำใจวางตัวเป็นกลางก่อนครับ(เหมือนเป็นเรื่องของประเทศอื่นไม่ใช่เหตุ เกิดในประเทศไทยที่รักของพวกเรา) ---ศาลตัดสินแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียไปทำการแบ่งแยกตามคำตัดสินแล้ว ผู้รับบอกรับครบแล้ว ผู้ส่งคืนบอกคืนครบแล้ว แบบนี้คดีจบแล้วนะครับ 1) กลุ่มทวงคืนท่อก๊าซยื่นให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความซึ่งกฤษฎีกาก็ให้ความเห็น ว่า อำนาจในการวินิจจัยว่าคืนทรัพย์สินครบถ้วนหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล กฤษีกาไม่สามารถก้าวล่วงได้---คณะรัฐมนตรีมีมติว่าการแบ่งแยกท่อก๊าซ ถ้าการแบ่งแยกแล้วมีปัญหาในการตีความข้อกฎหมาย ให้สอบถามการตีความข้อกฎหมายจากกฤษีกา ----งานนี้ผู้รับกับผู้คืนมีความเห็นตรงกันในข้อกฎหมาย กลุ่มทวงคืนยื่นเรื่องต่อกฤษฎีกาว่าคืนท่อไม่ครบ กฤษฎีกาถึงตอบกลับไปว่าการตัดสินว่าคืนครบหรือไม่เป็นอำนาจของศาลซึ่ง กฤษฎีกาไม่อาจก้าวล่วงได้ -----ชัดเจนนะครับว่าถ้าผู้รับกับผู้โอนมีความเห็นในการตีความของคำตัดสิน ไม่ตรงกัน ให้สอบถามความเห็นการตีความคำตัดสินจากกฤษฎีกา พอกลุ่มทวงคืนมายื่นเรื่องต่อกฤษฎีกว่าคืนท่อไม่ครับ กฤษฎีกาจึงตอบว่าเป็นอำนาจของศาลกฤษฎีกาไม่มีอำนาจก้าวล่วง 2) กลุ่มทวงคืนยื่นฟ้องต่อศาลว่าปตท.คืนท่อก๊าซไม่ครบ แต่ศาลไม่รับฟ้องเพราะผู้ฟ้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธิ ฟ้อง(การยื่นฟ้องครั้งแรก—ซึ่งสุดท้ายศาลตัดสินให้มีการคืนท่อก๊าซนั้น ผู้พิพากษาส่วนน้อยจำนวน2ท่านยังมีความเห็นแย้งว่า ผู้ฟ้องไม่มีมีสิทธิฟ้อง ----หลังศาลตัดสินแล้ว งานนี้ยิ่งชัดกว่าเดิมครับว่ากลุ่มทวงคืนท่อก๊าซไม่มีสิทธิฟ้องเพราะไม่ใช่ ผู้เสียหายตามคำตัดสิน งานนี้ปตท.เค้าก็พูดถูกนะ เขาคืนครบตามความเห็นของเขาแล้วและผู้รับก็มีความเห็นตรงกับปตท.ว่าได้รับ คืนครบ งานนี้ปตท.ชนะใส เราจะทวงคืนท่อก๊าซซึ่งเป็นสมบัติชาติได้อย่างไร? 1)สตง.เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคดีนี้ เพราะมีมติคณะรัฐมนตรีให้สตง.เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของการคืน ท่อก๊าซ กรณีสตง.เห็นว่าคืนท่อไม่ครบและมีหนังสือแย้งไปแล้วแต่ไม่มีการดำเนินการต่อ ถ้าสตง.ไม่ทำอะไรต่อสตง.อาจมีความผิดได้ ดังนั้นสตง.เป็นผู้เสียหายถ้าไม่ทำอะไรต่อ สตง.จึงน่าจะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ สตง.ควรเป็นผู้ยื่นฟ้องต่อศาลว่าปตท.คืนท่อก๊าซไม่ครบ 2)กลุ่มทวงคืนท่อก๊าซฟ้องกระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์ ปฎิบัติหน้าที่มิชอบทำให้ชาติเสียหาย แต่กว่าจะฟ้องจนเสร็จแล้วค่อยให้กรทรวงการคลังมาฟ้องปตท.อีก คงหมดสิทธิเรียกคืนท่อก๊าซจากปตท.แล้ว 3)กระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์ฟ้องต่อศาลว่าปตท.คืนท่อไม่ครับ ซึ่งยากมากเพราะทั้ง2หน่วยงานบอกว่าคืนครบแล้ว ยกเว้นเปลี่ยนหัวเรือของหน่วยงานทั้ง2 หาหัวเรือใหม่ที่มองว่าคืนท่อก๊าซไม่ครบ เมื่อได้หัวเรือใหม่แล้วค่อยฟ้องทวงคืนท่อก๊าซจากปตท.(เปลี่ยนหัวเรือใหม่คง ยาก) $$-ท่อก๊าซบนบกมีการคืนแค่50%เท่านั้น ส่วนท่อก๊าซในทะเลไม่มีการคืนเลย $$-ท่อบนบกที่มีการเวนคืนที่ดินเอกชนหรือมีการรอนสิทธิเอกชน ส่วนนี้น่าจะแบ่งแยกคืนรัฐหมดแล้ว ทีมีปัญหาในการตีความคือท่อที่มีการรอนสิทธิเหนือที่ดินของรัฐ ส่วนนี้ต้องคืนรัฐมั้ย
  15. หาคลิปเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2 ยังไม่ได้ ฟังคลิปการแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2 ไปก่อนครับ การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2 - 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 1) การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2 - 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 2) การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2- 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 3) การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2- 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 4) การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2- 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 5) การแถลงข่าวภาค ปชช.กรณีเสวนาถามตอบพลังงาน รอบ 2- 24 ก.ย.57 (ช่วงที่ 6)
  16. ประชาชนทั้งประเทศโดนล้วงเงินออกไป จากกระเป๋าโดยกลุ่มปิโตรเคมี เขาใช้เทคนิคอย่างไร อะไรที่เขาพูดความจริงไม่หมดเพื่ออ้างความชอบธรรมในการล้วงเงินจากกระเป๋า ของคนทั้งประเทศ ปี2538-2550ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกLPG ประเทศเราผลิตLPGพอใช้และมีเหลือสำหรับการส่งออก การใช้LPGในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากนโยบาย อุดหนุนLPGในราคาพิเศษ คำอ้างของเหตุผลที่อุดหนุนLPGราคาพิเศษคือ ปิโตรเคมีจะช่วยสร้างงานให้ประเทศมากมาย ธุรกิจต่างๆจะได้นำปิโตรเคมีที่ผลิตได้ไปใช้ในการผลิตสินค้า เป็นการดึงดูดให้ต่างประเทศมาตั้งโรงงานในไทยเนื่องจากมีวัตถุดิบที่พร้อมจะ ป้อนให้โรงงานเขา ปิโตรเคมีเติบโตจนกลืนLPG ส่วนเกินที่เราผลิตได้จนหมดและยังไม่พอใช้ในปี2551 ซึ่งถ้าปิโตรเคมีต้องนำเข้าLPGเองและต้องใช้วัตถุดิบในราคาตลาดโลก เป็นสิ่งที่กลุ่มปิโตรเคมีไม่ต้องการ ปลายปี2551ในสมัยนายกสมชาย(17 กันยายน 2551--2 ธันวาคม 2551) ได้กำหนดออกมาเป็นนโยบายว่า LPG ที่ผลิตได้ในประเทศ ให้กลุ่มปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนใช้เป็นอันดับแรกถ้าLPG ที่เหลือไม่พอใช้ให้นำเข้า นโยบายแบบนี้เป็นการทุจริตทางนโยบายเพื่อเอื้อปิโตรเคมีหรือปิโตรเคมีเห็น ช่องโหว่ของนโยบายนี้ผมไม่ทราบ นโยบายเอื้อปิโตเคมีแบบนี้ กลุ่มปิโตรเคมีต่างเพิ่มสายการผลิตเพิ่มอย่างมากมาย(วัตถุดิบราคาพิเศษแบบ นี้ไม่รีบฉวยโอกาสก็ไม่ใช่นายทุนซิ) จากปี2550ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ไทยมีการส่งออกLPG ปัจจุบันเราต้องนำเข้าLPG ถึง28%ของการใช้ทั้งประเทศ(ปิโตรเคมีใช้LPG 37%ของการใช้ทั้งประเทศ) ปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนใช้LPGราคาถูกเป็นกลุ่มแรก เมื่อไม่พอใช้ก็ต้องนำเข้าLPG ราคาตลาดโลกซึ่งราคาแพงกว่าราคาในประเทศมาก รัฐมีกำหนดราคาLPG ที่ใช้ในกลุ่มต่างๆของประเทศต่ำกว่าราคานำเข้า สุดท้ายก็ต้องมีการไปเอาเงินจากกองทุนน้ำมันมาชดเชย ซึ่งต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันปีนึงหลายหมื่นล้าน จนกองทุนน้ำมันติดลบมากมาย เมื่อกองทุนน้ำมันติดลบก็เก็บเงินจากน้ำมันเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่ม จนคนใช้น้ำมันทั่วประเทศทนไม่ไหวแล้ว เขาก็ย้ายมาเพิ่มราคาก๊าซในภาคครัวเรือนแทน อ้างว่าประชาชนใช้LPG ถูกกว่าตลาดโลกมาก ควรรับภาระช่วยเหลือกองทุนน้ำมันบ้าง สิ่งที่เขาปกปิดและให้ข้อมูลพวกเราไม่ ครบคือ 1)เขาอ้างว่าต้องอุ้มปิโตรเคมี เพราะปิโตรเคมีสร้างงานภายในประเทศมากมาย---ความจริงคือว่าตัวปิโตรเคมีเอง ใช้จำนวนพนักงานน้อยมาก สิ่งหลักที่ต้องใช้ในอุตสาหรรมนี้คือเครื่องจักร เงินทุนมหาศาล และเทศโนโลยีและความรู้ขั้นสูง ที่สร้างงานจำนวนมหาศาลคืออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซื้อวัตถุดิบปิโตรเคมีไปใช้---แต่ความจริงคือปีที่ผ่านมา ประเทศเราส่งออกปิโตรเคมีถึงห้าแสนล้านบาท ปิโตรเคมีส่วนเกินจำนวนมหาศาลนี้ไม่ได้สร้างงานในประเทศครับ(การผลิตปิโต เคมีใช้แรงงานคนน้อยมาก) ปิโตรเคมีส่วนเกินที่ส่งออกมูลค่าห้าแสนล้านนี้ใช้วัตถุดิบราคาถูกในประเทศ เพื่อการค้าและแสวงหาผลกำไร แล้วต้องนำเข้าLPG ราคาตลาดโลกที่ราคาแพงมาใช้(โดยเอาเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชย) 2)ปิโตรเคมีของประเทศเราใช้LPG ที่ราคาเฉลี่ยประมาณ24.93 (รวมเงินจ่ายกองทุนและVATแล้ว) แต่ที่คนส่วนมากไม่รู้ -----มีกลุ่มนึงที่ซื้อLPG ที่ราคารวมทุกอย่างแล้วที่ประมาณ 21.60บาท(กลุ่มที่ซื้อที่ราคา21.60บาทใช้LPG ประมาณ72%ของการใช้ของปิโตรเคมีทั้งหมด -----แต่ปิโตรเคมีอีกกลุ่มคือ เช่นSCG ต้องซื้อวัตถุดิบที่ราคาประมาณ30.20 บาท เรามาดูผลประกอบการของSCGกันครับ(SCGซื้อแพงกว่าอีกกลุ่มถึง8.60บาทต่อลิตร แต่SCGก็กำไรถึงหลักหมื่นล้าน ทำไมต้องเอาเงินของประชาชนทั้งประเทศไปช่วยกลุ่มแรกให้ซื้อวัตถุดิบที่ ราคา21.60บาท เอสซีจี เคมิคอลส์ : ในปี 2556 เอสซีจี เคมิคอลส์ มีรายได้จากการขาย 209,997 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 จากปีก่อน มีกำไร 11,292 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน ปี 2557 เอสซีจี เคมิคอลส์ มีรายได้จากการขายไตรมาสที่หนึ่ง 60,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก ส่วนต่างราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 2,480 ล้านบาท • เอสซีจี เคมิคอลส์ มีรายได้จากการขายในไตรมาสที่สอง 64,958 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 2,259 ล้านบาท 3)เวทีปัญหาพลังงานชาติ 27/08/14 ฝ่ายปตท.บอกว่ากลุ่มที่ซื้อLPGได้ในราคาประมาณ21.60 เนื่องจากเป็นสัญญาระยะยาวตั้งแต่ปี1988 และมีบางบริษัททำสัญญาในปี2549เป็นเวลา15ปี(ถึงปี2564) ---ตกลง1988ถึง2014 26ปีแล้วสัญญาทาสยังไม่จบอีกหรือครับ ถ้ามีสัญญาผูกพันระยะยาวจริงแต่ในสัญญาก็ต้องระบุว่า ให้ซื้อในปริมาณเท่าไหร่คงไม่ใช่ระบุว่าซื้อได้ไม่อั้น จากปี2538-2550เราส่งออกLPG มาตลอด แต่การเพิ่มขึ้นการใช้ของปิโตรเคมีอย่างมหาศาลทำให้เราต้องนำเข้าเพิ่มอย่าง มากมาย ปัจจุบันเราต้องนำเข้าถึง28%ของการใช้ทั้งหมด ตกลงสัญญาทาสระยะยาวฉบับที่ทำกันนี้ อนุญาตให้ฝ่ายปิโตรเคมีซื้อในราคาถูกแบบไม่จำกัดการซื้อหรือไง สัญญาแบบนี้เอื้อกันมากมายหรือเปล่า ถ้าฟังคลิปการเสวนาปัญหาพลังงานชาติ 27/08/14 จะพบว่ากลุ่มข้าราชการบนเวทีวันนั้นอยู่กลุ่มปตท.ทั้งหมด บางคนก็ให้ข้อมูลช่วยสนับสนุนว่าการอุดหนุนปิโตรเคมีแบบที่ทำนี้ เป็นประโยชน์สำหรับประเทศ ข้าราชการระดับสูงเหล่านั้นโดนปตท.และปิโตรเคมีปิดบังความจริงบางอย่างหรือมีอะไรบังตาพวกท่าน ใครอยากเห็นว่าข้าราชการท่านไหนสนับสนุนการอุดหนุนกลุ่มปิโตรเคมีบ้าง ไปดูคลิปเสวนาปัญหาพลังงานชาติ 27/08/14 ได้เลยครับ(ผมไม่โพสลิงค์ที่โพสนะ เวลาแชร์ข้อมูลแล้วเนื้อหาจะไปไม่หมด ผมจะโพสลิงค์ที่ความคิดเห็นใต้โพสนะครับ) 4)ราคาLPG ที่กลุ่มต่างๆใช้ ---ภาคครัวเรือนประมาณ 18.13บาท ---ภาคขนส่ง ประมาณ 21.38 ---ภาคปิโตรเคมีกลุ่มใหญ่(72%ของการใช้ของกลุ่มปิโตรเคมี) 21.60บาท ---ภาคอุสาหกรรมและSCG ประมาณ30.20 @@ภาคครัวเรือนคือคนทั้งประเทศ 60กว่าล้านคน ทุกคนมี1ปากเหมือนกัน การช่วยเหลือตรงนี้ทุกคนได้รับไม่ต่างกันมาก คนทั้ง60กว่าล้านคนเป็นเป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศ ดังนั้นคนทั้งประเทศได้ใช้ราคาถูกสมเหตุผล@@ @@ภาคขนส่งเกียวข้องกับคนทั้งประเทศ ถ้าราคาก๊าซของขนส่งแพงก็ต้องมาบวกในราคาสินค้าที่คนทั้งประเทศใช้ การช่วยภาคขนส่งก็คือช่วยประชาชนทั้งประเทศทางอ้อม@@ @@การอุดหนุนปิโตรเคมีส่วนเกินการใช้ในประเทศมูลค่าห้าแสนล้านบาท เป็นการอุดหนุนผู้ประกอบการที่แสวงหากำไรจากการค้าและข้าราชการที่เห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวมเพียงหยิบมือเดียว ถ้าจำเป็นต้องอุดหนุนปิโตรเคมีจริง ก็ควรอุดหนุนเฉพาะส่วนที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น(เพราะส่วนที่ใช้ใน ประเทศ สร้างงานในประเทศอย่างมากมาย)@@ 5)คู่แข่งปิโตรเคมีในแถบนี้ของเราคือ สิงคโปร์และมาเลเซีย ---สิงคโปร์ไม่มีการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในประเทศเขาเลย นำเข้าก๊าซและน้ำมันดิบทั้ง100% สิงคโปร์มีโรงกลั่น(แต่LPGที่ได้จากโรงกลั่นมีต้นทุนLPGที่สูงกว่าโรงแยก ก๊าซ ---ผมรบกวนคนที่เก่งภาษาช่วยหาข้อมูลให้ผมหน่อยครับว่า 1)ในสิงคโปร์มีโรงแยกก๊าซมั้ย 2)ปิโตรเคมีของสิงคโปร์เขาได้รับการอุดหนุนด้านราคาวัตุดิบจากรัฐบาลมั้ย ถ้าอุดนั้นเขาอุดหนุนที่กี่บาทต่อลิตร @@@รบกวนช่วยกันแชร์หน่อยนะครับ เพื่อร่วมกันตะโกนบอกกลุ่มปิโตรเคมีว่า หยุดล้วงเงินจากกระเป๋าประชาชนได้แล้ว(เฟสไหนที่เป็นเฟสปิดหรือเฟสส่วนตัว ต้องcopyข้อความไปโพสนะครับ เพราะจะแชร์ไม่ได้@@@ เรื่องการทวงคืนท่อก๊าซผมอ่านคำพิพากษาฉบับเต็มแล้วครับ จะรีบหาเวลาเขียนครับ
  17. ราคาดีเซลที่ขายในประเทศเราค่อนข้างถูกกว่าประเทศอื่นเยอะ ตามลิงค์นี้วันที่ผมโพสเป็นราคาของวันที่15/09/2014 http://www.mytravelcost.com/petrol-prices/11/
  18. เบนซินประเทศเราใช้ประมาณ20ล้านลิตรต่อวัน เราใช้ดีเซลประมาณ60ล้านลิตรต่อวัน ราคาเบนซินที่ขายในประเทศเราค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นเยอะ http://www.globalpetrolprices.com/gasoline_prices/
  19. เผื่อบางท่านอาจสนใจหุ้นเหมืองทองคำ ราคาหุ้นของเหมืองทองต้องได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาทองคำที่ลดต่ำลง เนื่องจากมูลค่าของปริมาณทองคำสำรองของแต่ละแห่งลดลงตามราคาทองคำทำให้ มูลค่าในตลาดหุ้นลดลงตามไปด้วย แต่ปัจจัยที่ทำให้ราคาของหุ้นลดต่ำลงไปกว่านั้นอีกคือการที่เหมืองส่วนใหญ่ ลงทุนสำรวจและเปิดเหมืองใหม่เป็นอย่างมากในช่วงที่ราคาทองคำกำลังขึ้น หลายๆแห่งยังไม่สามารถคืนทุนได้ (เนื่องจากเหมืองใช้เวลานานมากกว่าจะคืนทุน) เมื่อราคาทองคำลดต่ำลงทำให้ประสบปัญหาการขาดทุนเป็นอันมากบริษัทเหล่านี้มีเยอะมากแม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่าง Newton Mining (NEM) ก็ประสบปัญหาเดียวกันจนทำให้นักลงทุนมองภาพรวมของอุตสาหกรรมเหมืองแย่ไปหมด แต่ก็อีกเช่นเคยในวิกฤตมักจะมีโอกาสอยู่เสมอ ใน sector ที่เรียกว่าไม่เป็นที่รักของนักลงทุนนี้ก็ยังมีบริษัทที่มีการบริหารงานที่ ดีและเติบโตท่ามกลางวิกฤต และดูจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่สนใจหุ้นราคาถูกที่มีพื้นฐานดีและมี โอกาสจะได้สองเด้งเมื่อราคาทองคำขยับตัวสูงขึ้นอีกในอนาคต ในที่นี้ก็จะของยกตัวอย่างหุ้นบางตัวที่น่าสนใจ http://www.thailandinvestmentpartner.com/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/
  20. จากข้อมูลข้างล่าง เวลาทองคำลงหนักราคาหุ้นเหมืองทองคำลงหนักกว่า ขาใหญ่เมื่อมีความจำเป็นต้องทุบราคาทองคำ การเข้าซื้อทองคำเก็บเป็นสิ่งที่ต้านการทุบทองคำของพวกเขา(ซึ่งพวกเขาคงไม่ทำ) แต่การซื้อหุ้นเหมืองทองที่ราคาต่ำๆน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี เดาว่าเวลาทองคำกลับมาพุ่งแรง ราคาเหมืองน่าจะพุ่งแรงกว่า InfoQuest News - หมดยุค “หุ้นเหมืองทอง” 05-08-2013 04:07:16 การตัดเงินปันผลของบริษัท บาร์ริค โกลด์ คอร์ป คือความเสื่อมถอยครั้งล่าสุดสำหรับนักลงทุนที่บอบช้ำจากการลงทุนในโลหะมีค่า อย่างทองคำในปีนี้ ราคาทองได้ปรับตัวลง 22% ในปีนี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าการยุตินโยบายเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลาง สหรัฐจะทำให้นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่สำหรับผู้ที่มองหาประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทเหมืองทองคำ การสังหารหมู่ในรอบนี้มีแต่เลวร้ายลง ดัชนีอาร์คา โกลด์ บักส์ ในตลาดนิวยอร์ก ซึ่งติดตามการเคลื่อนไหวของบริษัทเหมืองทองคำ 17 แห่ง ได้ปรับตัวลง 45% ในปีนี้ ขณะเดียวกัน บริษัทบาร์ริค ซึ่งเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่สุดของโลก ได้แถลงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ขาดทุนในช่วงไตรมาสสอง 8,560 ล้านดอลลาร์ เทียบกับที่ได้กำไร 787 ล้านดอลลาร์เมื่อหนึ่งปีก่อน และบริษัทได้ลดเงินปันผลลงเหลือ 5 เซนต์ จาก 20 เซนต์ หุ้นบาร์ริคได้ปรับตัวลงถึง 53% ในปีนี้ และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาราคาหุ้นเหลือแค่ 16.81 ดอลลาร์ ลดลงจากวันก่อนหน้า 16 เซนต์ หรือ 0.9% นักลงทุนหลายคนบอกว่า นี่คือจุดเปลี่ยนที่คุ้นเคยกันดีสำหรับหุ้นเหมืองทองคำ หุ้นกลุ่มนี้มักเคลื่อนไหวตามราคาทองคำในระยะเวลา 12 ปี ที่ตลาดคึกคัก แต่ดูเหมือนว่าความคึกคักเหล่านั้นได้ยุติลงแล้วในปีนี้ บริษัทเหมืองแร่ได้ใช้เงินที่ได้มาอย่างไม่คาดฝันจากการดีดตัวของราคาทองคำ ไปกับการเข้าถือสิทธิ์ในเหมืองแร่ใหม่ๆ ซึ่งได้กดดันมูลค่าหุ้นในช่วงที่บูมและมักมีค่าน้อยลงมากในเวลานี้ มีเพียงไม่กี่บริษัทที่เลือกจะล๊อกราคาทองล่วงหน้าเอาไว้ แต่มีหลายบริษัทไม่ได้รับการคุ้มครองเมื่อตลาดทองคำปรับตัวลงในปีนี้ การอ่อนตัวลงของราคาทองหมายถึงว่าบริษัทเหมืองทอง ทำเงินจากการผลิตได้น้อยลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนลดลงได้ช้ากว่าราคาทองมาก ผลก็คือ ฐานะการเงินของหลายบริษัทเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันจากที่เคยได้กำไรกลายเป็น ขาดทุน มาร์ก ลัสชินิ ผู้จัดการพอร์ตบริษัท เจนนีย์ แคปิตอล แมเนจเมนต์ กล่าวว่า หากมองไปที่ผลงานของภาคเหมืองทองคำในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา มันน่าขนลุก บริษัทบริหารการลงทุนได้เทขายการถือครองทองคำในเดือนกุมภาพันธ์และกำจัดหุ้น เหมืองทองไปเมื่อสองสามปีก่อน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ราคาทองคำเข้าสู่ตลาดหมี เนื่องจากได้ลดลงจากระดับสูงสุดมากกว่า 20% และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ราคาทองล่วงหน้าที่จะส่งมอบในเดือนสิงหาคม ลดลง 1.40 ดอลลาร์ หรือ 0.1% เหลือ 1,311 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ นั่นเท่ากับว่า ราคาทองได้ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์เมื่อเดือนตุลาคมถึง 27% และลดลงจากราคาปิดที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1,888.70 ดอลลาร์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 ถึง 31% การปรับตัวของราคาทองคำมีขึ้นในขณะที่บริษัทเหมืองทองกำลังกระเสือกกระสนกับ โครงการใหม่ๆและการเข้าถือสิทธิ์ที่ได้ทำไว้เมื่อตอนที่ราคาทองสูงขึ้น บริษัทบาร์ริค ได้เข้าไปถือสิทธิ์ในบริษัท อีควิน็อกซ์ มิเนอรัลส์ บริษัทผลิตทองแดง เป็นเงิน 7,650 ล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน 2554 หลังจากที่ราคาทองแดงได้พุ่งสูงสุดได้ไม่นาน การเข้าถือสิทธิ์ดังกล่าวยังล่าช้าเพราะมีปัญหาเรื่องกฎระเบียบและต้นทุนยัง บานปลายในการบริหารโครงการเหมืองทองคำปาสคัว-ลามา ชายแดนอาร์เจนติน่า และชิลี ริค เดอ ลอส รีเยส ผู้จัดการพอร์ตบริษัทที่ โรว์ ไพรซ์ กรุ๊ป อิงค์ กล่าวว่า บริษัทเหมืองทองตกที่นั่งลำบากจริงๆ พวกเขามีโครงการขนาดใหญ่และใช้เงินทุนมาก และเพราะว่าได้ใช้เงินไปมากแล้ว จึงไม่สามารถเดินจากมาได้ เจมี โซคาลสกี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบาร์ริค กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ฝ่ายบริหารของบริษัทได้หารือกันเมื่อเร็วๆนี้เพื่อทบทวนเกี่ยวกับเหมือง ต่างๆ และการลดต้นทุน โดยบริษัทกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทางด้านบริษัท คินรอสส์ โกลด์ ได้ซื้อบริษัท เรด แบค ไมนิ่ง เจ้าของเหมืองทองในมอริเตเนีย เป็นเงิน 7,100 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 แต่นับตั้งแต่นั้นมา บริษัทได้ตัดขาดทุนราคาที่เข้าไปถือสิทธิ์ในครั้งนั้นลงเป็นจำนวนมาก หุ้นคิสรอสส์ ปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาที่ 5.12 ดอลลาร์ ลดลง 11 เซนต์ หรือ 2.1% ในตลาดนิวยอร์ก โดยราคาหุ้นในปีนี้ได้ปรับตัวลงไปแล้ว 47% และบริษัทได้ระงับการจ่ายปันผลในสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทได้นำพอล โรลลินสันเข้ามาบริหารเมื่อปีที่แล้วเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน พอลได้ตัดสินใจหลายๆอย่างที่ถือว่ายากมาก และได้นำบริษัทเข้าสู่ทิศทางใหม่ๆ เช่น ลดการใช้จ่ายเงินทุนลงประมาณ 750 ล้านดอลลาร์ นักลงทุนบางคนเชื่อว่า หุ้นเหมืองทองคำได้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว บริษัทเหมืองทองคำส่วนใหญ่ได้ปรับมูลค่าสินทรัพย์ของตนเองเพื่อสะท้อนตาม ราคาทองที่ลดลงและกำลังลดต้นทุน แต่น่าสังเกตว่า หุ้นบาร์ริค ไม่ค่อยจะขยับหลังจากที่บริษัทรายงานว่าขาดทุน ซึ่งเป็นสัญญาณว่านักลงทุนได้นำปัญหาของบริษัทเข้าไปตีมูลค่าหุ้นแล้ว วีแดนท์ มิมานิ ผู้จัดการพอร์ตลงทุนของกองทุน แอตแยนต์ แคปิตอล กล่าวว่า กองทุนของเขาเริ่มซื้อหุ้นทองคำในเดือนมีนาคม และได้ซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นมา อย่างไรก็ดี แม้แต่นักลงทุนที่ต้องการเข้าเสี่ยงในทองคำ กำลังเลี่ยงหุ้นเหมืองทอง โดยกองทุนอีทีเอฟที่ยอมให้นักลงทุนซื้อขายทองจริงๆ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการจัดเก็บและการขนส่ง ได้ติดตามราคาทองอย่างใกล้ชิดมากว่าหุ้นเหมืองแร่ เอสพีดีอาร์ โกลด์ ทรัสต์ ซึ่งเป็นอีทีเอฟทองคำรายใหญ่สุดของโลก ถือทองคำประมาณ 30 ล้านออนซ์ ซึ่งมีมูลค่าเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ แต่มูลค่าได้ลดลงประมาณ 30% จาก 43.4 ล้านออนซ์ จากที่มีมูลค่า 72,200 ล้านดอลลาร์เมื่อกองทุนเข้าไปถือในช่วงต้นปี ร็อบ ฮาเวิร์ธ นักกลยุทธ์การลงทุนอาวุโสของบริษัท ยู.เอส. แบงก์ เวลธ์ แมเนจเมนต์ กล่าวว่า อีทีเอฟทองคำเคลื่อนไหวตามราคาทองทั่วโลกอย่างถูกต้องแม่นยำ แต่ไม่มีความเสี่ยงเหมือนกับที่บริษัทเหมืองทองคำกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือการลุกฮือของแรงงาน ฮาเวิร์ธ จึงถือหุ้นในอีทีเอฟทองคำ และสัญญาล่วงหน้า แต่ไม่ถือหุ้นบริษัทเหมืองทองคำ!
  21. เรื่องของระบบSAFETY ที่กำหนดเพิ่มเติมเข้ามา น่าจะทำให้ต้นทุนเหมืองแพงขึ้นอีกเยอะ SSO Savings Club 10 ตุลาคม 2013 SSO Savings Club กับ Financing Banking ต้นทุนการผลิต ‘ทองคำ’ เป็นกี่บาทกันแน่? โดย วิน พรหมแพทย์ ตามที่เล่าให้ฟังว่า ที่ๆ มีต้นทุนการผลิตทองคำ (Cash Cost) ถูกที่สุดในโลก คือ ทวีปอเมริกาเหนือ อยู่ที่ $598/oz ... ที่ๆ มีต้นทุนการผลิตทองคำแพงที่สุดในโลก คือ ทวีปแอฟริกา อยู่ที่ $957/oz ... ทั้งนี้ ตัวเลข Cash Cost ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินลงทุนในการเปิดเหมือง ค่าสำรวจ ฯลฯ อีกประมาณ $350/oz ครับ เวลาพูดเป็น $/oz เราอาจจะนึกไม่ออก ผมขอแปลงเป็น “ต้นทุนการผลิตทองคำต่อทอง 1 บาทไทย” โดยใช้สูตร ราคาทองไทย = ( Spot Gold + 1 ) x THB x 0.473 และใช้อัตราแลกเปลี่ยน 31 บาท/$ จะได้เป็นต้นทุนการผลิตทองคำในแต่ละทวีปดังที่เห็นในภาพครับ ทวีปแอฟริกามีต้นทุนการผลิตทองสูง เนื่องจากต้องขุดลงไปในชั้นหินลึกมาก ต้นทุนของเหมืองเหล่านี้เกือบ 20,000 บาทต่อทองคำ 1 บาท จึงน่าคิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ คือ ราคาทองคำในตลาดโลกลงไปต่ำกว่า $1,300/oz หรือ ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อทองคำหนัก 1 บาท อาจจะมีเหมืองหลายแห่งประสบปัญหาขาดทุนแล้ว เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาทองที่ขายได้ ... หลายคนจึงคาดว่า โอกาสจะเห็นราคาทองคำลงไปอยู่ที่บาทละ 8,000 – 10,000 บาทเหมือนเมื่อก่อน คงยากเต็มทีครับ ถึงตรงนี้แล้วอาจจะสงสัยว่า “แล้วตอนราคาทองอยู่ที่ 10,000 บาท เหมืองทองไม่ขาดทุนเหรอ?” คำตอบคือ “ต้นทุนการผลิตทองทุกวันนี้สูงกว่าเมื่อก่อนมากครับ” ... ตารางทางขวาเป็นต้นทุนการผลิตของเหมือง TauTona ที่แอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นเหมืองทองที่ลึกที่สุดในโลก (มีความลึกเกือบ 4 กิโลเมตร) จะสังเกตได้ว่า นับวันเราจะต้องขุดชั้นหินลึกขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ทองคำ ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้นทุกปี .... เมื่อก่อนนี้ราคาทองอยู่ที่ 10,000 บาท เหมืองคงอยู่ได้ ถ้าวันนี้ราคาทองลงไป 10,000 บาท เหมืองนี้อยู่ไม่ได้แน่ครับ! ถ้าชอบเรื่องเกี่ยวกับทองคำ ช่วยกันกด Like และ Share ได้ตามอัธยาศัยครับ ถ้ามีคนกด Like เยอะๆ จะได้มาเล่าเรื่องทองคำต่ออีกครับ Cr. ข้อมูลจาก World Gold Council และ Virtual Capitalist ปล. ดูคำอธิบายสูตรการคิดราคาทองคำไทยได้ที่ http://bit.ly/15WPHTB
  22. เผย จีนผลิตทองคำมากสุดในโลก 4 ปีติด ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2554 เฟิ่งหวง - จีนกลายเป็นชาติผลิตทองคำมากสุดในโลก 4 ปี ติดต่อกัน อีกทั้งที่มีแหล่งทรัพยากรทองคำสำรองมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่ ปริมาณการซื้อขายผลิตภัณฑ์ทองคำทุกชนิดในตลาดทองคำเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Gold Exchange) มีมากสุดในโลก รวมทั้งสิ้นราว 6,046.064 ตัน ในงานมหกรรมเครื่องประดับเซี่ยงไฮ้ 2011 (2011 Shanghai International Jewelry Forum Festival) จัง หย่งเทา นักวิเคราะห์ธุรกิจทองคำจีน เผยว่า “ปัจจุบัน ทั่วโลกมีแหล่งทรัพยากรทองคำที่ได้รับการสำรวจแล้ว รวมทั้งสิ้นราว 100,000 ตัน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ รัสเซีย จีน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ เป็นต้น” “จากการสำรวจแล้ว พบว่า แอฟริกาใต้เป็นชาติที่มีทรัพยากรทองคำมากสุดในโลก ราว 31,000 ตัน รองลงมาเป็นรัสเซีย ราว 7,000 ตัน และจีนอยู่ในอันดับ 3 ราว 6,328 ตัน” นายจัง กล่าวต่อว่า “30 กว่าปีมานี้ อุตสาหกรรมทองคำของประเทศจีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว อัตราการขยายตัวเฉลี่ยปีละ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2521 จีนผลิตทองคำได้เพียง 19.67 ตัน ขณะที่ ในปี 2550 ปริมาณการผลิตทองคำในจีนอยู่ที่ 270.5 ตัน แซงหน้าแอฟริกาใต้ได้เป็นครั้งแรก กลายเป็นชาติที่ผลิตทองคำได้มากสุดในโลกจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2553 จีนผลิตทองคำได้ราว 340.876 ตัน ” “จีนเป็นประเทศที่มีแหล่งแร่ทองคำที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีเหมืองแร่ทองคำจำนวนมาก โดยเป็นที่คาดการณ์ว่า ทรัพยากรแร่ทองคำในจีนมีปริมาณมากถึง 30,000 - 50,000 ตัน” นายจัง กล่าวเสริมว่า “ปี 2553 ปริมาณความต้องการใช้ทองคำในภาคอุตสาหกรรมการผลิตทองคำทั่วโลก อยู่ที่ราว 2,778.6 ตัน โดยอินเดียเป็นชาติที่มีความต้องการทองคำมากสุดในโลก ราว 783.4 ตัน รองลงมาเป็นจีน 571.51 ตัน และสหรัฐฯ ตามมาเป็นอันดับ 3 ราว 180.9 ตัน” “นอกจากนี้ ในปี 2553 ปริมาณการซื้อขายผลิตภัณฑ์ทองคำทุกชนิดในตลาดทองคำเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Gold Exchange) มีมากสุดในโลก รวมทั้งสิ้นราว 6,046.064 ตัน ขณะที่ สัญญาการซื้อขายทองคำล่วงหน้า หรือ โกลด์ฟิวเจอร์ส (Gold Futures) ในตลาดทองคำล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Futures Exchange หรือ SHFE) มีปริมาณการซื้อขายทองคำล่วงหน้ามากเป็นอันดับ 7 ของโลก รวมทั้งสิ้นราว 6.794 ล้านกิโลกรัม (สัญญาละ 1 กิโลกรัมทองคำ)” นักวิเคราะห์บางรายมองว่า “ในอนาคตข้างหน้า เราอาจเห็นชาวจีนหันมาลงทุนทองคำมากขึ้น ด้วยว่านับตั้งแต่ปี 2493 รัฐบาลจีนได้สั่งห้ามภาคเอกชนลงทุนและถือครองทองคำ จนมาถึง ปี 2544 ตลาดทองคำจีนจึงเริ่มบูม จากการที่ชาวจีนถูกกีดกันมานานเกือบ 50 ปี ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการลงทุนทองคำมากขึ้น”
  23. หรือเป้าของขาทุบ ทุบราคาโลหะมีค่าจนเหมืองขาดทุน แล้วเข้าซื้อเหมือง ไฮโซชาวดอย เพิ่ม 2 รูปภาพใหม่ 16 กันยายน เวลา 8:42 น. · เดารายวัน สวัสดีไฮโซชาวดอย เมื่อวานนี้ทองเปิดตลาดที่ 1227 ลงไปทำ low ใหม่ที่ 1225 ก่อน rebound ทำ high ที่ 1238 ก่อนจะปิดตลาดที่ 1233 สรุปขึ้นมา 6 เหรียญ เป็นวันแรกในรอบหลายๆวัน เมื่อวานนี้ ทองได้ขึ้นมาเพราะมีข่าว Physical demand ของทองคำแท่งในปีนี้ที่เพิ่มขึ้นมาจาก $739 Million มาเป็น $2 Billion โดยมีตัวเลขนำเข้าจากต่างประเทศที่มีให้เห็น โดยจีนมาอันดับต้น ซึ่งทำให้มีแรงหนุนจาก Gold Future เข้ามา 0.3% จากการลดถือจำนวนมากในอาทิตย์ที่แล้ว ข่าวที่น่าสนใจอีกข่าวเช้านี้คือ AngloGold เหมืองใหญ่ใน South Africa หลังจากหนีสิ้นเพิ่มขึ้น $3.2 Billion หรือคิดเป็น debt-to-equity 103% จากราคาทองที่ลงต่อเนื่องมาตลอด พร้อมที่จะขายหุ้นทิ้งและแยกตัวออกซึ่งวางแผนที่จะขายหุ้นทิ้งประมาณ $2.1 Billion ซึ่งแน่นอนผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ Hedge Fund ทั้งหลายอาจจะสะเทือนเพราะเป็นการขายทิ้งมากกว่า Physical Gold ที่ซื้อกันปีนี้ด้วยซ้ำ ซึ่งอาจจะทำให้หุ้นทิ้งดิ่งลงหรือราคาทองตกลง หรืออาจจะในทางตรงกันข้ามราคาทองอาจจะเพิ่มขึ้นเพราะ supply ลดลง แต่เชื่อว่าข่าวร้ายนี้ น่าจะมีผลกับทองในทางลบก่อน ก่อนจะไปถึง demand กับ supply ปัญหาในยูเครนเช้านี้ก็ยังไม่ไปไหน สหรัฐได้ร่วมซ้อมรบเล็กๆกับยูเครนเป็นการขู่ขวัญเพราะอย่างไรสหรัฐก็ไม่เข้า ไปสู่สงครามเพราะไม่ผ่านสภาแน่นอน ในขณะที่ผู้นำรัสเซียกลับโทรคุยกับผู้นำเยอรมันเพื่อหาข้อยุติในการหยุดยิง และผู้นำเยอรมันได้ confirm กับคุณปูตินว่าไม่มีการส่งอาวุธ support ให้ยูเครน เหมือนที่ยูเครนออกมากล่าวว่า Nato ให้อาวุธใหม่ ดูแล้วเหมือน ยูโรกับรัสเซียเจรจาหาสันติ แต่สหรัฐก็อยากดันให้รบจัง เหมือนอย่างที่คุณปูตินพูดไว้ในวันหยุด เชื่อว่าเรื่องนี้คงยังอยู่ในการหยุดยิงเหมือนเดิม ส่วนในอิรัคก็เหมือนเดิมเมื่อวานนี้ Aust ส่งกองกำลังไปอีก 600 นาย เพื่อสนับสนุนการล้มล้าง ISIL ต่อไป ในเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจเมื่อวานนี้ Industrial Production ออกมาไม่ดีนักวันนี้มีตัวเลข PPI ซึ่งคาดว่าจะน้อยลงเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงไม่สำคัญเท่ากับการประชุม FED ใน 16-17 ซึ่งมองว่าตัวเลขคงไม่เป็นผลมากมายแค่ทำให้ทองวิ่งในกรอบ side way ก่อนที่จะได้ผลประกาศ ไว้เรามาวิเคราะห์กันว่าแนวโน้ม FED จะเป็นอย่างไรในวันพรุ่งนี้ ในทาง Technical ในที่สุดกราฟก็มี rebound เล็กๆขึ้นมา ตาม divergence ของ TF รายเล็ก แต่เราอย่าลืมว่าใน TF รายใหญ่นั้นกราฟจำเป็นต้องกลับลงต่ำกว่า 1225 เพื่อสร้าง divergence ก่อนที่จะสามารถขึ้นได้ ดังนั้นที่เราเห็นนี้แค่เป็นเพียง retracement เท่านั้น คำถามก็คงมี retracement ถึงไหนก็คงให้แนวเดิมของเมื่อวานให้แนว 1236-1243 วันนี้ก็คงยึดตามเดิมคือแนวต้าน 1243 โดยมีแนวต้านสำคัญที่ 1257 วันนี้คงแนะนำเหมือนเมื่อวานคือ รอ rebound เข้า S ต่อไป เมื่อวานก็ติดมา 1 ไม้ 1234 เห็นเลขสวยดีวันนี้ก็ติดอ่างตามระเบียบ แต่ไม่เป็นไรเพราะเชื่อว่าแนวโน้มใหญ่นั้นลง แค่สะสมอ่างไปเรื่อยๆ โดยมองว่าวันนี้อาจจำเป็นต้องรอหน่อยดูว่าถึง 1242-1243 หรือไม่ก่อนจะเฉลี่ย S เข้าไป โดยมองเหมือนเดิมว่า ทองจำเป็นต้องลงต่ำกว่า 1225 อีกครั้งก่อนจะมาตัดสินว่าจะมี rebound จริงหรือไม่ วันนี้ขอเพิ่มมีสิ่งที่อยากให้ดูคือกราฟ US Dollar Index ซึ่งเทรนสำคัญมากเพราะถ้าข้ามแนวด้านที่สร้างรูป Symmetrical ขึ้นไปในวันนี้หรือพรุ่งนี้ Dollar index จะเป็นเทรนขาขึ้น ซึ่งแน่นอนทุกอย่างตรงที่ตรงข้ามนั้นจะเป็นขาลง ไม่ว่าในเรื่องของค่าเงินหรือทองคำ ดังนั้นระวังเพราะถ้ามีแรงหนุนจริงเราอาจจะพบ 88 หรือ 92 ขอให้มีความสุขในการลงทุน ขอพระเจ้าอวยพร ^^ Johnny Pereira มีข่าวเหมืองปิด เหมืองเจ๊ง ใกล้จุดซื้อแล้วครับ หุหุ
  24. These are the Final Summer 2014 ‘Buy-of-a- Lifetime’ lows here and now. Next expect to see $1600, $2000, $3500, $5000+ Gold in the final 7-years sabbatical cycle! The 3rd and final 7-year Bull Market cycle officially began in July 2014 as stated in the Secret 21-year Gold cycle update mentioned above. $2000 Gold is NEXT and will be followed by many higher high price targets into the year 2021 when Gold is expected to reach $5000 minimum and Silver is expected to reach $333 basis a 15:1 Gold to Silver peak ratio once again. http://www.silverdoctors.com/bo-polny-2000-gold-next-stop-7-year-gold-cycle-targets-5000-333-silver/#more-46804
  25. เรื่องซิลเวอร์ ลองฟังคลิปนี้ครับ สถานะซิลเวอร์ตอนนี้หาคนกล้าซื้อซิลเวอร์ได้ยากมาก 1200ซื้อทองได้แล้ว 20/12/56
×
×
  • สร้างใหม่...