ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ส้มโอมือ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    5,036
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    15

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ส้มโอมือ

  1. คุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ หวังว่าครั้งนี้ท่านจะทำเพื่อแก้ไขสิ่งผิดที่ทำไว้ ตอนนี้ประชาชนจับตาดูท่านอยู่ และสิ่งที่ท่านเคยทำไว้ประชาชนยังไม่ลืม(เซฟรอนถือครองสัมประทานของไทย50% ตะวันออกกลางถือครอง25% ผูกขาดพลังงานโดยต่างชาติ) ฝีมือของนายปิยสัวสดิ์คือ การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 พ.ศ.2550 มาตรา 28 เรื่องการจำกัดปริมาณแปลงและพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียม จากเดิมบริษัทจะถือสัมปทานได้แค่ 20,000 ตร.กม.ตามที่กฎหมายกำหนด แต่พอแก้กฏหมายเสร็จ บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ว่าได้ถือสัมปทานในปี 2553 ไว้ถึง 100,622 ตร.กม.โดยในปี 2550 ที่นายปิยสวัสดิ์ นั่งเป็น รมว.กระทรวงพลังงาน บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม”ได้สัมปทานไปทั้งหมดถึง 5 แปลง ภายในปีเดียว ขณะที่รายงานประจำปีของบริษัทเชฟรอน ในปี 2553 ระบุว่าได้แปลงสัมปทานในประเทศไทยที่เดียวสูงถึง 72,742 ตร.กม. ยิ่งสลดหดหู่เข้าไปอีกหากไปเทียบกับจำนวนพื้นที่สัมปทานที่มีอยู่ใน ประเทศไทยในปี 2553 มี 274,635 ตร.กม.กลับมีเพียง 2 บริษัทที่ได้ไป คือบริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ได้ไป 100,622 ตร.กม.และบริษัท “เชฟรอน” ได้ไป 72,742 ตร.กม.รวมแล้วกว่า 173,364 ตร.กม. ส่งผลให้ทุกวันนี้ บริษัท เชฟรอน สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เกินกว่าครึ่งของที่ผลิตในไทย ดังนั้นเท่ากับว่า กว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่คนไทยใช้อยู่ขึ้นอยู่กับบริษัท เชฟรอน บริษัทเดียว จึงเป็นอันตรายอย่างมากที่ปล่อยให้บริษัทต่างชาติผลิตปิโตรเลียมได้ถึงครึ่ง หนึ่งจากที่คนไทยใช้อยู่ และนี่คือผลงานของนายปิยสวัสดิ์ล้วนๆ ที่อ้างอยู่เสมอว่าเปิดเสรีการค้าจะได้เกิดการแข่งขัน แต่ความ จริงกลับสวนทางเป็นการผูกขาด แฉกลุ่มทุนพลังงานแทรกซึม กปปส.(ตอนที่ 1) ใครคือซาตานขวางปฏิรูปพลังงานตัวจริง ? โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2557 09:47 ประเด็นปฏิรูปพลังงาน ต้องบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประชาชนทั่วทั้งประเทศรอคอย และหลายคนฝากความหวังไปที่ คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.ว่าจะมีแนวทางเดินหน้าปฏิรูปพลังงานอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อปากท้อง ของประชาชนโดยเร็วที่สุด ในทางกลับกันสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวที กปปส.ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นหัวเรือใหญ่และพรรคประชาธิปัตย์คอยกุมบังเหียนอยู่ กลับดูเหมือนว่าจะไม่ได้เดินหน้าเรื่องปฏิรูปพลังงานอย่างเต็มสูบ เกิดข้ออ้างเลี่ยงไปต่างๆ นานาว่า ต้องล้มระบอบทักษิณให้สิ้นซากไปก่อนถึงจะปฏิรูปพลังงาน หรืออ้างว่าพบข้อมูลไม่ตรงกันจะนำไปสู่การทะเลาะกัน ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไรเมื่อการปฏิรูปพลังงานประชาชนจะได้ประโยชน์ทั้ง ประเทศ ข้ออ้างต่างๆ จึงเกิดคำถามให้หลายคนสงสัยว่าอาจเป็นแค่การซื้อเวลาไปเท่านั้นหรือไม่ เพราะยิ่งกางฉากหลังของเวที กปปส.ออกมาในเรื่องการปฏิรูปพลังงานก็ยิ่งเกิดคำถามชวนสงสัยในหลายข้อเข้าไป อีก ย้อนกลับไปครั้งหนึ่ง ขณะที่ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน และอนุกรรมาธิการพิจารณากฎหมายด้านพลังงาน วุฒิสภา ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่ถนนราชดำเนินเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นได้เกิดแรงกระเพื่อมที่ด้านหลังเวที กปปส.จนทำให้หม่อมกรฯ ไม่สามารถขึ้นเวที กปปส.ที่แยกปทุมวันได้ นอกจากนั้น หากกล่าวถึงกระแสปฏิรูปพลังงานที่รายล้อมอยู่รอบเวทีใหญ่ กปปส.ล้วนแต่เป็นของภาคประชาชนโดยตรงอีกต่างหาก ไม่ได้มาจากกลุ่มการเมืองของ กปปส.แต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทยหรือ คปท.สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง หรือ สรส.หรือเวที กปปส.แจ้งวัฒนะ ที่มีหลวงปู่พุทธะอิสระ เป็นแกนนำอยู่ หรือจะเป็นกองทัพธรรม โดยกลุ่มเหล่านี้ล้วนมีความเสี่ยงถูกโจมตีจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีมากกว่าเสีย ด้วยซ้ำ ครั้งหนึ่ง ดร.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ กำลังพูดเรื่องพลังงานบนเวที กปปส.ก็ถูกเบรกตัดบทออกอากาศ ขณที่ ดร.สมบัติ ธำรงธัญญาวงศ์ พูดเรื่องปฏิรูปพลังงานที่เวทีปทุมวันประมาณ 1 นาที บลูสกายที่ถ่ายทอดสดอยู่ก็ตัดภาพไปเวทีอื่น กาลครั้งหนึ่งในช่วงแรกเริ่มของการชุมนุมบุคคลสำคัญใน กปปส.ได้อ้างเหตุผล ณ ร้านอาหารศรแดง ย่านถนนราชดำเนินกลางว่า จะไม่พูดเรื่องการปฏิรูปพลังงาน โดยอ้างว่าบริษัท เชฟรอน มีผลประโยชน์ให้กับทหารบางกลุ่ม ซึ่ง กปปส.จำเป็นต้องพึ่งทหารกลุ่มนี้ ดังนั้นจึงยังไม่ต้องพูดเรื่องปฏิรูปพลังงานและอาจไม่ต้องพูดถึงเลย หรือจะเป็นเมื่อกาลครั้งหนึ่ง วันที่ 27 มิถุนายน 2552 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขณะนั้น ไปกัมพูชาพูดคุยกับฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา หลังจากเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ครม.มีมติตั้งนายสุเทพ ในฐานะที่เป็นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงให้เป็นประธานคณะกรรมการในการเจรจาลับกับกัมพูชาเรื่อง พลังงานก็เคยมาแล้ว ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าฝ่ายการเมืองทั้งหลายในประเทศไทยมีประโยชน์พัวพันในเรื่อง พลังงานกันทั้งสิ้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนับแต่การชุมนุมวันแรกจนถึงวันนี้ นายสุเทพและ กปปส.ก็มิได้ทำให้เห็นเลยว่าจะมีรายละเอียดพิมพ์เขียวในการปฏิรูปปรากฏให้ เห็นเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นประเด็นการปฏิรูปพลังงานที่นายสุเทพ และ กปปส.ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก การปฏิรูปพลังงานจึงอาจเกิดคำถามขึ้นได้ว่าเป็นแค่วาทกรรมลวง ไม่มีอะไรมากไปกว่า ล้มระบอบทักษิณเพื่อให้อีกพรรคการเมืองเข้ามาสวมตอหรือไม่ ถ้าไม่เช่นนั้น ทำไม กปปส.จึงไม่กล้าแตะเรื่องปฏิรูปพลังงานอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งที่ถ้าชูธงปฏิรูปพลังงานอย่างเต็มสูบจะได้มวลชนอีกมาก แม้แต่คนเสื้อแดงแดงหลายคนก็อาจย้ายข้างมาเอาด้วย เพราะทุกคนไม่ว่าสีอะไร อยากให้น้ำมันราคาถูกลง เกลียดการถูกเอาเปรียบทั้งนั้น เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังฉากเวที กปปส.เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าอาจมีคนชูธงกำกับว่าห้ามมีการพูดถึงเรื่องปฏิรูปพลังงาน ยิ่งถ้าทฤษฎีเป็นแบบนี้จริง ความสำเร็จการปฏิรูปพลังงานจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ประโยชน์ที่จะตกกับประชาชนอย่างแท้จริงคงไม่มีทางเกิดขึ้น ยิ่งหากกางรายชื่อบุคคลในแวดวงพลังงานที่รายล้อมอยู่รอบ กปปส.ด้วยแล้ว จะทำให้เห็นความเชื่อมโยงอย่างผิดสังเกตว่าการปฏิรูปพลังงานบนเวที กปปส.อาจจะเป็นแค่ปาหี่มวยล้มต้มคนดูเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในบุคคลสำคัญที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่มีคนพบเห็นเดินอยู่หลังเวทีชุมนุม กปปส.อยู่บ่อยครั้ง ว่ากันว่าเป็นตัวกำหนดเกมเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคอยกำกับไม่ให้ กปปส.พูดถึงการปฏิรูปพลังงานอยู่ในขณะนี้ สำหรับ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อาจจะกล่าวได้เลยว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวิกฤตพลังงานไทยมาถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่ต้นจนจบ ขณะที่ประชาชนมักเข้าใจว่า นช.ทักษิณ เป็นคนแปรรูป ปตท.คำถามสำคัญก็คือใครเป็นคนชงเรื่องแปรรูปตั้งแต่แรก ตั้งแต่ปี 2541 แล้วจึงมาแปรรูปในสมัย นช.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2544 เมื่อสืบค้นย้อนไปจะพบว่าก่อนที่จะมีการแปรรูป ปตท.ในปี 2544 พรรคการเมืองที่ได้มีแนวคิดจะเริ่มแปรรูป ปตท.ในสมัยนั้นหาใช่ใครกลับเป็นพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 โดยการแปรรูป ปตท.ได้เกิดขึ้นในปี 2544 เป็นในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ หมดอำนาจพอดิบพอดี เมื่อเรื่องได้ถูกชงไว้แล้วและอำนาจมาตกอยู่ที่ นช.ทักษิณ จึงไม่รีรอที่จะจัดการแปรรูป ปตท.เป็นรูปธรรม พอคนอย่าง นช.ทักษิณ เข้าสู่อำนาจมีหรือจะไม่จัดการแปรรูป ปตท.ให้เสร็จสรรพ ขณะที่ตัวละครสำคัญยิ่งในการคิดค้นและชงเรื่องการแปรรูป ปตท.ก็คือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ โดย นายปิยสวัสดิ์ ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2537 และอยู่ในตำแหน่งรวม 6 ปี ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2543 แน่นอนว่านั้นเป็นช่วงที่การกำเนิดนโยบายแปรรูป ปตท.กำลังถือกำเนิดขึ้น คือในช่วงปี 2540-2543 โดยมี นายปิยสวัสดิ์ ให้การสนับสนุนการแปรรูป ปตท. ย้อนไปเมื่อปี 2541 ขณะที่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็น จำนวนมาก นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในขณะนั้นได้ให้สัมภาษณ์กับทางสถานีวิทยุ FM 101เมื่อ 10 มิถุนายน 2541 บางประโยคที่คนไทย ณ วันนี้ฟังแล้วเจ็บปวดหัวใจยิ่งก็คือ “เป้าหมายผมคิดว่าต้องทำให้ได้ อันนี้สำคัญมาก ถ้าแปรรูปไปแล้วไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจจะไม่แปรดีกว่า เช่น ถ้าเปลี่ยนการผูกขาดของภาครัฐเป็นเอกชน ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วอยู่เฉยๆ ไม่ดีกว่าหรือ แปรรูปแล้วต้องให้ได้ตามเป้าหมาย” “การแปรรูปไปแล้วก็ต้องทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพบริการและราคาที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับในกรณีไม่มีการแปร รูป หมายความว่าจะต้องแปรรูปในลักษณะให้มีการแข่งขันด้วย มีการแข่งขันอย่างแท้จริง เปิดกว้างทั้งหมด” เพราะความเป็นจริงนั้น ที่ว่าเอาเงินเข้าประเทศแต่เมื่อแปรรูปแล้วเงินกลับไปเข้ากระเป๋าบริษัท เอกชนต่างๆ และไม่ได้เพิ่มการแข่งขันแต่กลับเกิดการผูกขาดอย่างไม่น่าเกิดขึ้น สวนกลับคำพูดของเขาชัดเจน ซึ่ง นายปิยสวัสดิ์ ยังเป็นคนริเริ่มการแปรรูปบริษัท ปตท.สำรวจและผลิต (ปตท.สผ.) ซึ่งการมีแปรรูปหลายครั้งในลักษณะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และจนนำไปสู่การแปรรูป ปตท.ด้วยการผ่องถ่ายออกอยู่ตลอดเช่นกัน ทบทวนความจำที่ตามหลอนท่านอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อีกสักเล็กน้อยว่า การแปรรูป ปตท.เพื่อทักษิณ ที่ถูกโจมตีมาอย่างต่อเนื่องนั้น นายปิยสวัสดิ์เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง 1.ในฐานะเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและพิจารณาอนุมัติแผนการแปรรูป ปตท.ในปี 2544 2.ในฐานะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง บริษัท ปตท. ซึ่งทำหน้าที่ตราร่าง พ.ร.ฎ.เพื่อแปลงสภาพ ปตท.เป็น บมจ.ปตท ในปี 2544 3.ในฐานะเป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการ แปรสภาพ ปตท.ซึ่งทำหน้าที่กำกับการประเมินทรัพย์สิน ราคาหุ้น และแนวทางการกระจายหุ้น ในปี 2544 4.ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ซึ่ง ปตท.ถือหุ้นอยู่ด้วย 5.ในฐานะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกรรมการ กพช. และ คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) ในปี 2549-2550 ซึ่งมีส่วนโดยตรงในการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่าไม่ชอบโดยกฎหมายเช่นกัน ขณะเดียวกันที่ต้องขีดเส้นใต้ตัวหนาๆ โดยฝีมือของนายปิยสัวสดิ์คือ การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 พ.ศ.2550 มาตรา 28 เรื่องการจำกัดปริมาณแปลงและพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียม โดยมาตรา 28 ที่ยาวเหยียด ถูกนายปิยสัวสดิ์ตัดเหลือเพียง 3 บรรทัด โดยหัวใจของมาตรานี้คือการจำกัดแปลงและจำกัดพื้นที่ของผู้รับสัมปทานเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดการผลิตปิโตรเลียมจากแผ่นดินไทย นอกจากนั้นยังพบว่าหลังการแก้ไขกฎหมายเสร็จสิ้น ปรากฎว่าพบ บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานในเครือมูบาดาลา หนึ่งในแขนขาด้านการลงทุนของแห่งอาบูดาบี ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดยขณะนั้นได้ประกาศลงในเว็บไซต์ว่าได้แปลงสัมปทานในเมืองไทยมากมายอีกด้วย ปรากฏว่าจากเดิมบริษัทจะถือสัมปทานได้แค่ 20,000 ตร.กม.ตามที่กฎหมายกำหนด แต่พอแก้กฏหมายเสร็จ บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ว่าได้ถือสัมปทานในปี 2553 ไว้ถึง 100,622 ตร.กม.โดยในปี 2550 ที่นายปิยสวัสดิ์ นั่งเป็น รมว.กระทรวงพลังงาน บริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม”ได้สัมปทานไปทั้งหมดถึง 5 แปลง ภายในปีเดียว ขณะที่รายงานประจำปีของบริษัทเชฟรอน ในปี 2553 ระบุว่าได้แปลงสัมปทานในประเทศไทยที่เดียวสูงถึง 72,742 ตร.กม.หรือ 17,975,000 เอเคอร์ ในขณะที่เมื่อเทียบสัดส่วนการให้พื้นที่ของประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย มีความแตกต่างแบบชนิดไม่เห็นฝุ่น โดยบริษัทเชฟรอนถือครองมากที่สุดไม่เกิน 10 ล้านเอเคอร์ ยิ่งสลดหดหู่เข้าไปอีกหากไปเทียบกับจำนวนพื้นที่สัมปทานที่มีอยู่ใน ประเทศไทยในปี 2553 มี 274,635 ตร.กม.กลับมีเพียง 2 บริษัทที่ได้ไป คือบริษัท “มูบาดาลา ปิโตรเลียม” ได้ไป 100,622 ตร.กม.และบริษัท “เชฟรอน” ได้ไป 72,742 ตร.กม.รวมแล้วกว่า 173,364 ตร.กม. ส่งผลให้ทุกวันนี้ บริษัท เชฟรอน สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เกินกว่าครึ่งของที่ผลิตในไทย ดังนั้นเท่ากับว่า กว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่คนไทยใช้อยู่ขึ้นอยู่กับบริษัท เชฟรอน บริษัทเดียว จึงเป็นอันตรายอย่างมากที่ปล่อยให้บริษัทต่างชาติผลิตปิโตรเลียมได้ถึงครึ่ง หนึ่งจากที่คนไทยใช้อยู่ และนี่คือผลงานของนายปิยสวัสดิ์ล้วนๆ ที่อ้างอยู่เสมอว่าเปิดเสรีการค้าจะได้เกิดการแข่งขัน แต่ความจริงกลับสวนทางเป็นการผูกขาด ตามปกติแล้วทุกประเทศจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ประเทศไทยไม่ได้ปรับเรื่องส่วนแบ่งกำไรเลย โดยที่นายปิยสวัสดิ์ทำสิ่งที่เรียกว่ายกเลิกเรื่องการจำกัดจำนวนแปลงสัมปทาน ไม่เกิน 4-5แปลง หรือไม่เกิน 20,000 ตร.กม.เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาด หมายความว่าใครก็สามารถครอบครองมากเท่าใดก็ได้หรือจะยึดครองทั้งประเทศเลยก็ ย่อมเป็นไปได้ นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550 เช่น การลดหย่อนค่าภาคหลวงจากเดิมที่สามารถลดได้ในอัตราร้อยละ 30 กรณีในพื้นที่ที่มีปัญหา เปลี่ยนให้ลดค่าภาคหลวงได้ร้อยละ 90 จะต่างอะไรกับการไม่เก็บค่าภาคหลวงเลย สำหรับวีรกรรมของอดีตรัฐมนตรีพลังงานในยุคขิงแก่เกี่ยวกับการให้ สัมปทานปิโตรเลียม ยังมีเรื่องให้ตั้งคำถามกันอีก เช่น การอนุมัติการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้แก่บริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) สำรวจและผลิต จำกัด และบริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น จำกัด ล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัมปทานถึง 5 ปี ทั้งที่ตามสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 1/2515/5 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 23 เมษายน 2555 แต่คำถามดังกล่าวจนป่านนี้ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า เหตุไฉนกระทรวงพลังงานจึงเร่งร้อนอนุมัติให้ก่อน โดยต่อเวลาสัมปทานไปอีก 10 ปี มีผลตั้งแต่ 24 เมษายน 2555-23 เมษายน 2565 สิ่งที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศควรรู้ไว้ ก็คือ การอนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมหลังจากแก้ไขกฎหมายข้างต้นเพียง 2 เดือน ทิ้งทวนก่อนรัฐบาลขิงแก่จะหมดอายุลงในอีก 42 วัน รวมทั้งสิ้น 22 สัมปทาน รวม 27 แปลงสำรวจ ในเวลาไล่เลี่ยกันคือ มติ ครม.เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2550 จำนวน 4 แปลงสัมปทาน 4 แปลงสำรวจ, มติ ครม.11 ธ.ค.2550 จำนวน 7 สัมปทาน 10 แปลงสำรวจ และมติ ครม.18 ธ.ค.2550 จำนวน 11 สัมปทาน 13 แปลงสำรวจ เรียกว่ากระหน่ำออกสัมปทานเป็นว่าเล่นเลยทีเดียว แปลเป็นไทยก็คือรีบอนุมัติก่อนคณะรัฐมนตรีขิงแก่จะหมดอำนาจเพียงเดือนครึ่ง เท่านั้นเอง อีกผลงานชิ้นโบดำที่อดจะกล่าวถึงเสียมิได้ก็คือ กรณีแปรรูป ปตท.ที่มูลนิธิผู้บริโภคฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อปี 2550 นั้น ก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษาเพียง 3 วัน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในช่วงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออก พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 เพื่อมาแก้ไขความไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมายของการแปรรูป ปตท. นั่นเป็นฝีมือการผลักดันและชงเรื่องของรัฐมนตรีพลังงานชื่อ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เพราะด้วยการออก พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงานดังกล่าว ทำให้ศาลมีคำพิพากษาโดยใช้หลักรัฐศาสตร์ ว่ากระบวนการแปรรูป ปตท.นั้นผิด แต่หากกลับคืนสู่สภาพเดิมจะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง จึงตัดสินแค่ให้เอาท่อส่งก๊าซฯ ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกลับคืน ซึ่งจนถึงเวลานี้ ปตท.ก็ยังคืน ยังไม่ครบด้วยซ้ำไป ทั้งหมดทั้งปวงเป็นบทพิสูจน์มัดตัวว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม นอกจากคนไทยจะไม่ได้ประโยชน์อันใดเพิ่มแล้วยังกลับถูกกระหน่ำซ้ำเติมให้แย่ ลงไปอีก ด้วยยกเลิกการจำกัดพื้นที่สัมปทานที่เป็นสัมทานรูปแบบเดิม ซึ่งอาจนำไปสู่การผูกขาดมากกว่าเดิม คือยิ่งแก้ยิ่งกลับไปสู่สัมปทานยุคโบราณที่อาจนำชาติไปสู่ความเสี่ยงเรื่อง การผูกขาดพลังงานหรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าคิด แน่นอนจึงไม่พ้นต้องมีคำถาม เมื่อเห็นนายปิยสวัสดิ์ เดินอยู่หลังเวที กปปส.ว่าเป็นคนจัดหาทุนจากกลุ่มพลังงานมาหรือไม่ คนที่เวที กปปส.จึงได้มีความเกรงอกเกรงใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวทีหลักที่มีการถ่ายทอดสดทางทีวี ซึ่งไม่ทราบได้ว่าเป็นการไปกำกับมิให้ใครขึ้นไปบนเวทีชำแหละเรื่องปฏิรูปงาน หรือไม่ และด้วยเหตุนี้กระมังที่ กำนันสุเทพเกรงอกเกรงใจอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานที่มีบทบาทสำคัญ อยู่เบื้องหลังนโยบายด้านพลังงานของประเทศ และนั่งอยู่หลังเวที กปปส.เหมือนคอยกีดกันไม่ให้ใครที่จะพูดถึงเรื่องนี้นอกกรอบ หลุดรอดขึ้นเวทีไปได้ เพราะถ้าปล่อยให้มีการพูดถึงเรื่องพลังงาน ซึ่งแน่นอนต้องมีประเด็นการแปรรูป ปตท.มีเรื่องสัมปทานปิโตรเลียม อยู่ด้วยนั้น ขุดไปคุ้ยมาจะกลับมาทิ่มแทงพรรคประชาธิปัตย์เอง เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ กำนันสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นอย่างที่ประชาชนครหากันหรือไม่ว่าเรื่องพลังงานนั้นไม่มีพรรคมีแต่พวก และสามารถแปลงร่างเป็นพวกหิวกระหายสูบกินเลือดเนื้อประชาชนได้ทั้งนั้นไม่ เว้นว่าใคร เมื่อถึงตรงนี้แล้ว มวลมหาประชาชนและประชาชนทั้งประเทศ จะเคลิ้มตามหรือเชื่อใจแกนนำ กปปส.ที่พูดบนเวทีอยู่ได้อย่างไรว่าจะมีการปฏิรูปพลังงานเป็นรูปธรรม เมื่อปีศาจร้ายตัวจริงของพลังงานไทยยังคงอยู่รอบตัวของเขาเหล่านั้น และเหล่าขบวนการผู้เป็นต้นคิดริเริ่มนำหายนะด้านพลังงานมาสู่ประชาชนทำให้ ถูกเอาเปรียบด้านพลังงานมาช้านานก็หาใช่ใครอื่นอีกต่างหาก
  2. ปฏิรูปประเทศ ที่สำคัญ ต้องมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง คอยตรวจสอบถ่วงดุลและส่งเสริมอำนาจรัฐ นายธีรยุทธ กล่าวว่า ในอนาคต ตนมองว่า รัฐในปัจจุบันจะแข็งแรงอย่างแท้จริง จะต้องไม่ใช่ระบบราชการแข็งแรง แต่ต้องมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง คอยตรวจสอบถ่วงดุล และส่งเสริมอำนาจรัฐ เพราะในปัจจุบันประเทศไทยถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจสูง ทั้งด้านทหาร พลังงาน การเงิน เศรษฐกิจ ซึ่งถ้า ต่างประเทศให้เงินเพื่อใช้พรรคการเมืองมาเป็นเครื่องมือในการแทรกแซงก็ไม่ น่าจะลำบาก หรือจะทำสงครามได้ “การปฎิรูปให้สำเร็จ ต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีอำนาจ มีส่วนร่วม และมีการเสรีภาพ บนความรับผิดชอบ และการแก้วิกฤตของประเทศได้ จำเป็นต้องให้ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง ซึ่งการทำให้รัฐเข้มแข็งอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบแก้ปัญหาประเทศได้อย่างแท้จริง” “ธีรยุทธ” ระบุการปฎิรูปจะสำเร็จได้ ต้องทำให้ภาค ปชช.เข้มแข็ง คอยตรวจสอบถ่วงดุล โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มิถุนายน 2557 16:36 น. “ธีรยุทธ บุญมี” แนะการปฏิรูปจะสำเร็จได้ ต้องทำให้ประชาชนเข้มแข็ง มีอำนาจ มีส่วนร่วม และมีเสรีภาพ คอยตรวจสอบถ่วงดุล เหตุประเทศไทยถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจ ทั้งด้านการทหาร พลังงาน การเงิน เศรษฐกิจ ขอเวลา 2 - 3 เดือน ประเมินผลงาน คสช. นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา หัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้าการอภิวัฒน์สังคมไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า ประเทศไทยผ่านการอภิวัฒน์ หรือปฏิรูปมาแล้วถึง 5 ครั้ง โดยรอบแรกเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 รอบสองเกิดช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุค 2475 ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจ รอบสาม เกิดช่วงจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ รอบสี่ เกิดช่วง 14 ตุลาคม 2516 ที่เป็นการอภิวัฒน์ความคิดประเทศไทย โดยกลุ่มปัญญาชนและประชาชน ส่วนรอบที่ห้า เกิดในยุคโลกาภิวัตน์ที่กลุ่มทุนและนักการเมืองได้เป็นตัวละครหลักที่มีทั้ง อำนาจและเงินอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นที่มาของวิกฤตของสังคมไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้รัฐไทยเกือบจะกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะอำนาจรัฐที่เป็นทางการลดลง เกิดการก่อตัวขององค์กรกึ่งทางหรือถูกทำให้เป็นส่วนตัวท้าทายรัฐ ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัย 4 ประการคือ 1. การพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์และไม่ครบทุกด้าน ซึ่งพื้นที่ที่พ้นไปจากที่ได้รับการพัฒนา จะกลายเป็นรอยต่อหรือชายขอบ ที่จะถูกละเลย ทอดทิ้ง ทำให้คนที่ไม่มีโอกาสพัฒนาหรือไม่มีโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าว จะพยายามใช้พื้นที่ซึ่งเป็นของรัฐ มาเป็นประโยชน์ของตน สภาพเช่นนี้จะทำให้เกิดการใช้อำนาจนอกระบบของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเกิดเป็นกลุ่มนักเลง แก็งอิทธิพลมีสีและมาเฟียกลุ่มต่างๆ ใช้อำนาจมืด เข้าครอบคลุมไปทุกรอยต่อหรือพื้นที่ใหม่ๆ ที่มีการบุกเบิกเฟื่องฟูขึ้น 2. การที่คนไทยไม่รู้สึกว่าตัวเองมีสิทธิอำนาจและเสรีภาพอย่างแท้จริง และการที่อำนาจการดูแลทรัพยากรในท้องถิ่นไม่กระจายสู่ชาวบ้าน ชาวบ้านเกรงกลัวอิทธิพล ทำให้ไม่เกิดกลไกในการกำกับดูแล ตรวจสอบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น 3. ปัจจัยไม่สมดุลทางอำนาจในการจัดการทรัพยากร ทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของรัฐ เช่น การคอร์รัปชันเชิงนโยบาย หรือการโกงแบบบูรณาการทั้งนักการเมือง ข้าราชการ ผู้มีอิทธิพล เช่น การประกันความเสี่ยงในการคอร์รัปชัน การล็อกสเปกโครงการ การพยายามใช้กลไกทางการเมืองหรือธนาคาร มาเป็นเครื่องมือของตัวเอง 4. การล่มสลายของพื้นที่จริยธรรมและศีลธรรมของสังคมไทยอย่างสิ้นเชิง การจำแนกผิดถูก เลว ดี เหลืออยู่น้อยมาก ซึ่งการพูดว่า การโกงเพื่อเอาตัวเองให้รอดนั้น ถือเป็นอุดมคติที่ถูกเผยแพร่ ซึ่งตนเป็นห่วงนักวิชาการที่คัดค้านอำมาตย์นั้น ทำไมที่ผ่านมาไม่ต่อสู้ เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งสภาพเช่นนี้กำลังบ่งชี้ได้ว่ารัฐกำลังล้มเหลว นายธีรยุทธ กล่าวว่า ในอนาคต ตนมองว่า รัฐในปัจจุบันจะแข็งแรงอย่างแท้จริง จะต้องไม่ใช่ระบบราชการแข็งแรง แต่ต้องมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง คอยตรวจสอบถ่วงดุลและส่งเสริมอำนาจรัฐ เพราะในปัจจุบันประเทศไทยถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจสูง ทั้งด้านทหาร พลังงาน การเงิน เศรษฐกิจ ซึ่งถ้า ต่างประเทศให้เงินเพื่อใช้พรรคการเมืองมาเป็นเครื่องมือในการแทรกแซงก็ไม่ น่าจะลำบาก หรือจะทำสงครามได้ “การปฎิรูปให้สำเร็จ ต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีอำนาจ มีส่วนร่วม และมีการเสรีภาพ บนความรับผิดชอบ และการแก้วิกฤตของประเทศได้ จำเป็นต้องให้ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง ซึ่งการทำให้รัฐเข้มแข็งอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบแก้ปัญหาประเทศได้อย่างแท้จริง” นายธีรยุทธ กล่าวว่า วันนี้จะไม่พูดการทำงานของ คสช. ครบ 1 เดือน เพราะต้องการให้เวลา คสช. ทำงานตามที่ คสช. เรียกร้อง แต่หลัง 2 - 3 เดือน ก็จะประเมินผลงาน คสช. โดยจะชี้ให้เห็นการทำงานในแต่ละด้าน ซึ่งที่ไม่พูดวันนี้ ไม่ได้กลัวกฎอัยการศึกแต่อย่างใด
  3. ปฏิรูปประเทศ ควรหยุดshale gas และshale oil เพราะจะทำให้แหล่งน้ำมีสารพิษร้ายแรงปนเปื้อนเป็นเวลาหลายสิบปี เพื่อนๆสมาชิกคงสงสัยทำไมช่วงนี้ได้ข่าวการต่อต้านการขุดเจาะน้ำมัน ทางภาคอีสานกันเยอะ แต่ก่อนทำไมไม่มีการต่อต้าน คาดว่าเป็นเรื่องการสำรวจ shale gas และshale oil กำลังเป็นที่สนใจอย่างมาก จากการประเมินคาดว่าพื้นที่บริเวณอีสานตอนบนและภาคเหนือตอนล่างมีโอกาสสูงที่จะมี shale gas และshale oil shale gas และshale oil จะทำให้ต้นทุนแก๊สและน้ำมันถูกลงมากแต่ในขณะเดียวกันก็มีภัยร้ายอย่างมหาศาลที่น่ากลัวมาก shale gas และshale oil เป็นการขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซในชั้นหินดินดาน ซึ่งเป็นชั้นหินที่แข็งมากและไม่สามารถขุดเจาะได้ สุดท้ายก็มีการคิดค้นวิธีขุดเจาะfracturing การทำชั้นหินดินดานให้แตก ทำโดยการอัด(ปั๊มพ์)น้ำ-ทราย-สารเคมี อันตรายหลายชนิด เช่น บ็อกไซต์ (bauxite - หินที่มีแร่อลูมิเนียม เหล็ก) ฯลฯ ลงไปที่ระดับความลึก 5,000 เมตร = 5 กิโลเมตร, สร้างคลื่นกระแทกเป็นพักๆ อัดเข้าไป ทำให้เกิดรอยแตกขนาด 1-2 เซนติเมตรในระยะรัศมี 100 เมตร ---อันตรายที่จะตามมา สารเคมีที่ใช้อันตรายมากซึ่งแทรกซึมเข้าไปในแหล่งน้ำใต้ดินดำรงอยู่อีกหลายสิบปี แล้วเราจะเอาน้ำสะอาดที่ไหนใช้กันอีก พืชที่ปลูกจะมีสารเคมีอันตราย การเพาะปลูกสำคัญมากสำหรับประเทศเรามาก ---ปัญหาก๊าซมีเทนรั่ว และการระเบิด บางแหล่งน้ำจุดไฟติดเลย ในบริเวณที่มีการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้ในสหรัฐอเมริกา ชาวนาสามารถจุดไฟบนน้ำจากบ่อในฟาร์มของตนเองได้ จนในสหรัฐอเมริกากลุ่มอนุรักษ์ได้จัดทำสารคดีขึ้นชุดหนึ่งเป็นหนังสั้นชื่อว่า GasLand เพื่อเปิดโปงความเลวร้ายของกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติแบบใหม่นี้ ---สร้างคลื่นกระแทกเป็นพักๆ อัดเข้าไป แรงอัดนี้ไม่น้อยและพบว่าความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับการขุดเจาะแบบพิสดารแบบใหม่นี้ @@@น้ำมันไม่เน่าไม่บูด อย่าเพิ่งรีบขุดเจาะเลยครับ เก็บให้รุ่นลูกรุ่นหลานดีกว่าครับ รอจนมีวิธีขุดเจาะที่ปลอดภัยกว่านี้แล้วค่อย ขุดเจาะครับ@@@
  4. ฝากผู้มีอำนาจด้วยครับ การ เปิดเสรีตลาดเงินและตลาดทุน อันตรายมากนะครับ คิดให้ดีนะครับ ทำไมวันนี้ญี่ปุ่นถึงพังและยังไม่ฟื้น ทำไมจีนถึงไม่พังและยิ่งใหญ่ จีนคงศึกษาปัญหาของญี่ปุ่นมาอย่างดีแล้วจีนถึงไม่พังแบบญี่ปุ่น ปัญหา หลักของญี่ปุ่นคือหลังแพ้สงคราม อเมริกาไม่ได้คุมแค่กองทัพอย่างเดียว แต่เขาทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนของญี่ปุ่นเปิดเสรี เคยอ่านค่าเงินของญี่ปุ่นนานมากเคยอยู่240เยนต่อ1เหรียญ(ผมเปิดหาย้อนหลัง ได้แค่ปี1990ที่160เยน/เหรียญ เช้าวันที่ผมเขียนเรื่องนี้อยู่101.82เยน/เหรียญ) ถ้าวันนี้ตลาดเงินและตลาดทุนของจีนเปิดเสรี คงโดนอเมริกาเล่นงานจนพังแบบที่ทำกับญี่ปุ่นมาแล้ว สิ่งที่เกิดกับญี่ปุ่น ตลาดหุ้นโดนดันขึ้นไปสูงมากกกก(ถึงวันนี้ดัชนีตลาดหุ้นก็ยังต่ำกว่าวันนั้น มาก) ราคาที่ดินโดนดันไปสูงมาก(เคยอ่านเจอว่าราคาที่ดินตอนนั้นเทียบแล้วสูงที่ สุดในโลก) ทำให้ค่าเงินแข็งอย่างมากมาย เมื่อเงินแข็งมากมายสินค้าญี่ปุ่นก็จะแพงขึ้นมากจนแข่งในตลาดโลกไม่ได้ ทำไม จีนไม่ปล่อยค่าเงินแข็งมากมายตามใจอเมริกา ค่าเงินของทุกประเทศควรปล่อยแข็งหรืออ่อนตามสภาพที่เหมาะสมของแต่ละประเทศ ไม่ใช่เปิดตลาดเสรีให้ใครมารุมทุบได้ ถ้าวันนี้ค่าเงินของจึนแข็งค่าขึ้นแรงแบบที่ญี่ปุ่นเจอ(240ไป100เยนต่อ เหรียญ) จีนพังแน่ ไทยควรปล่อยให้ตลาดเงินและตลาดทุนเราเสรีอีกมั้ย ถึงวันนึงเมื่อเขาอยากทุบ จะเกิดอะไรขึ้น ข้าง ล่างนี้เป็นบทความของเพื่อนทางเฟซ แต่ไม่ไดระบุชื่อผู้เขียนเพราะยังไม่ได้ขออนุญาตแบบเป็นทางการ ผู้เขียนอาจไม่ต้องการเผยแพร่ชื่อแบบสาธารณก็ได้ ในปี 1999 Ben Bernanke ได้แสดงแนวคิดต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของญี่ปุ่นในช่วงปี 1990-1999 โดยธนาคารกลางของญี่ปุ่นดังนี้ (ปี 1999 Bernanke ยังไม่ได้เป็นประธาน FED แต่ยังเป็นนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Princetion มหาวิทยาลัยเดียวกับ Martin Armstrong) - เป็นความผิดพลาดของธนาคารกลางญี่ปุ่น ที่ไม่กล้าลงมือทดลองปฏิบัติทางเลือกต่างๆ ในการฉุดเศรษฐกิจของประเทศออกจากภาวะชะลอตัว (ระหว่างปี 1990-1999 GDP ของญี่ปุ่นเติบโตเฉลี่ยน้อยกว่า 0.9% ต่อปี) - ตามความเห็นของ Bernanke ความผิดพลาดของธนาคารกลางญี่ปุ่นในอดีตได้แก่ 1. ความผิดพลาดในช่วงปี 1987-1989 ที่ไม่ดำเนินนโยบายเข้มงวดเมื่อมีสัญญาณว่าเงินเฟ้อจะรุนแรงขึ้น 2. ความผิดพลาดในช่วงปี 1989-1991 จากนโยบายที่ไปเร่งให้ฟองสบู่ที่เกิดขึ้นไปแล้ว แตกเร็วยิ่งขึ้น 3. ความผิดพลาดในช่วงปี 1991-1994 ที่ไม่ดำเนินนโยบายเชิงผ่อนคลายอย่างเพียงพอ ในขณะที่ราคาสินทรัพย์ ระบบธนาคาร และ เศรษฐกิจถดถอยลงอย่างมาก - Bernanke ได้วิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในขณะนั้นว่าเกิดขึ้นเพราะ Aggregate Demand Deficiency สภาวะอุปสงค์ไม่เพียงพอ (กำลังซื้อสินค้าไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ) ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นในตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ระดับต่ำมาก, ตัวเลขการเติบโตของ GDP ก็ต่ำมากเช่นกัน - หลายฝ่ายเชื่อว่าญี่ปุ่นติดกับดักสภาพคล่อง (liquidity trap) ดังจะเห็นได้จาก 1) อัตราดอกเบี้ยขณะนั้นอยู่ที่ 0% 2) แม้ตัวเลขฐานเงินในระบบจะขยายขึ้นแต่ดูเหมือนว่าธนาคารต่างๆยินดีที่จะถือ เงินส่วนเกินไว้กับตัวเอง แทนที่จะปล่อยกู้ออกไป ทำให้การขยายตัวของเงินที่หมุนเวียนในระบบต่ำ - Bernanke เชื่อว่า ธนาคารกลาง ร่วมกับ องค์กรรัฐองค์กรอื่นๆ เช่นกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ในการ ร่วมกันนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักสภาพคล่องได้ - เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักสภาพคล่อง Bernanke เสนอแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลกลาง 2 ขั้นตอน 1. รัฐบาลกลางสามารถเพิ่มระดับความต้องการซื้อของตลาด (aggregate demand) และเพิ่มระดับราคาสินค้าในตลาดได้ 2. การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่าย(ที่เป็นตัวเงิน) และการเพิ่มราคาของสินค้า จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นสู่การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ - Bernanke บอกว่า นอกจากจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0% แล้ว ธนาคารกลางยังสามารถใช้เครื่องมืออีกอันหนึ่งได้ ก็คือการพิมพ์เงิน เครื่องมือนี้ดีกว่าการออกพันธบัตรที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ไม่มีวันหมดอายุ ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินออกมา มากเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ หลังจากนั้นธนาคารกลางก็ใช้เงินที่พิมพ์ออกมานั่นเองไปซื้อสินทรัพย์ในท้อง ตลาด ซึ่งสุดท้ายจะผลักดันให้ราคาสินทรัพย์/สินค้าในตลาด เพิ่มสูงขึ้น (ผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น) แม้ดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ที่ 0% ก็ตาม ต่อไปนี้คือข้อเสนอของ Bernanke ต่อธนาคารกลางญี่ปุ่น ต่อการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในขณะนั้น (เป็นวิธีการเดียวกับที่ Bernanke และคณะ กำลังพยายามแก้ไขปัญหาสหรัฐในปัจจุบันนี้ไม่มีผิดครับ- ผู้แปล) 1. Commitment to Zero rates – with an inflation target การประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยให้คงที่อยู่ที่ 0% พร้อมกับตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อ ผลของการประกาศนี้ จะทำให้ความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นหมดไป และกดดันอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวให้ต่ำลงด้วย การประกาศเป้าเงินเฟ้อ ก็จะช่วยให้ภาคธุรกิจมีข้อมูลว่านโยบายจะมีผลไปนานแค่ไหนก่อนจะมีการเปลี่ยน แปลง 2. Depreciation of the Yen การลดค่าเงินเยน Bernanke ได้แนะนำว่า ญี่ปุ่นควรแทรงแซงค่าเงินของตนเพื่อลดค่าเงินเยนลงอย่างมาก การลดค่าเงินลงจะทำให้สินค้านำเช้ามีราคาสูงขึ้น ราคาสินค้าที่สูงขึ้นก็จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว แม้มีข้อโต้แย้งว่าการลดค่าเงินอาจนำมาซึ่งความตึงเครียดระหว่างประเทศ และเป็นการเอาเปรียบคู่ค้า แต่ Bernanke มองว่าเมื่อเศรษฐกิจของประเทศ(ที่ลดค่าเงิน) ดีขึ้น สุดท้าย ก็จะไปกระตุ้นให้มีธุรกิจทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้ามากขึ้น ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย มีข้อโต้แย้งว่า เมื่อดอกเบี้ยอยู่ที่ 0% (ลดลงอีกไม่ได้แล้ว) จะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าได้อย่างไร Bernanke บอกว่า ก็ทำโดยการที่ธนาคารกลางประกาศว่าจะทำการแทรกแซง พร้อมทั้งพิมพ์เงินเยนออกไปซื้อเงินสกุลต่างประเทศมากๆ (แบบสวิสทำตอนนี้) ก็จะกดดันค่าเงินให้อ่อนลงได้มาก อย่างไรก็ตามหากการพยายามลดค่าเงิน ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ อาจเพราะจะทำให้เกิดการขัดแย้งกับประเทศคู่ค้า (เช่นตอนที่สหรัฐปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลงมาเหลือ 29.5 บาท หลายประเทศส่งเสียงก่นด่าสหรัฐ จนเกือบเกิด currency war ในช่วง 4-5 เดือนทีผ่านมา) ทางเลือกหนึ่งที่จะทำได้โดยไม่กระทบต่อการค้าระหว่าง ประเทศเลยก็ คือ “Helicopter Drop” (การโปรยเงิน) คือการพิมพ์เงินแจก ลงไปยังครัวเรือนของประชาชน ซึ่งน่าจะมีผลกระตุ้นให้ระดับราคา(เงินเฟ้อ) ขยับขึ้นได้ แต่ถ้าหากราคาสินค้าไม่ขยับสูงขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้ประชาชนมีความมั่งคั่งสูงขึ้น การพิมพ์เงินขึ้นมาทำ ให้เม็ดเงินที่พิมพ์ขึ้นมาไม่เป็นภาระในอนาคต ที่รัฐบาลจะต้องเก็บภาษีจากประชาชนมาชดเชย ทำให้ประชาชนมั่นใจในการใช้จ่ายอย่างเต็มที่ และจะทำให้ในอนาคตรัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้นด้วย จากการใช้จ่ายของประชาชนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หาก “การโปรยเงิน” อาศัยเม็ดเงินจากการออกพันธบัตร (กู้) ผลที่ได้จะไม่ได้ผลดังที่ได้กล่าวไว้ข้างบน หาก รัฐบาลไม่มีกฎหมายหรือไม่มีกลไก ในการโปรยเงินลงไปยังประชาชน เครื่องมือในการโปรยเงินชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ได้ (โดยถูกกฎหมาย) ก็คือ กาลดภาษี โดยทั้งนี้ธนาคารกลางต้องไปซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลจากท้องตลาด โดย ซื้อคืนพันธบัตรในปริมาณเท่ากับ ปริมาณเงินภาษีที่หายไปจากการลดภาษีนั้น (เท่ากับว่าไม่มีดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นจากการใช้นโยบายภาษี) 3. Nonstandard Open-market Operations การเข้าไปแทรกแซงในตลาดเงิน ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การที่ธนาคารกลางเข้าไปซื้อหนี้เน่าจากสถาบันการเงิน ในราคาเต็ม (full face-value) ซึงก็เท่ากับเป็นการช่วยเหลือสถาบันการเงินที่มีปัญหา หรือการให้เปล่าเงินแก่ภาคเอกชน ซึ่งก็น่าจะได้ผลต่อเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการโปรยเงินแก่ภาคครัวเรือนนั่นเอง หรือ การที่ธนาคารเข้าไปซื้อสินทรัพย์ในราคาตลาดที่เหมาะสม (fair market value) เป้าหมายของการทำเช่นนี้ก็เพื่อ กระตุ้นการใช้จ่าย ยกระดับราคาของหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ช่วยธนาคารทางอ้อม)
  5. การขุดคอคอดกระ เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ส้มโอมือ หอมเย็นชื่นใจ 9 ชม. ผมฟังคลิปท่านพอเอกประยุทธ พูดชัดเจนอย่างหนักแน่นว่าไม่มีการขุดคอคอดกระ มีกระแสวิจารณ์อย่างหนัก ผมเลยค้นข้อมูลเรื่องนี้ ความเห็นส่วนตัวผมคือไม่ขุดครับ 1)ทำไมเรื่องแยกดินแดนใน 3 จังหวัดภาคใต้ยังไม่สงบ ถ้าเป็นเรื่องของ3จังหวัดต้องการแยกตัวเท่านั้น เรื่องแค่นี้น่าจะจบไปแล้ว แต่เพราะมีประเทศอื่นมาเกี่ยวด้วยแน่ แต่ถ้ามีการขุดคอคอดกระขึ้นมาเมื่อไหร่ เรื่องจะใหญ่กว่าเก่าแบบเทียบกันไม่ได้เลย เพราะหากมะกันกับ จีน มีปัญหา ทำสงครามกัน ครองกระนี่แหละ จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ทั้งสองฝ่ายต้องทุ่มสรรพกำลัง ยึดครองให้ได้ เราคงจะได้เห็นทัพเรือของมะกัน เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ ปิดเส้นทางทั้สองด้าน ในขณะที่จีนก็เคลื่อนทัพทางบกผ่านลาว เข้าภาคเหนือ ภาคอีสาน ผ่านกรุงเทพ ไปตรึงกำลังไว้เป็นแน่ 2)ถ้าเราลงทุนจะไม่มีปัญหาอันใดที่ต่างประเทศจะแทรกแซงในธุรกิจอันเป็นไปตามอธิปไตยของไทย แต่เงินลงทุนมากซึ่งเราคงไม่ไหว ถ้าใช้ทุนของต่างชาติเราจะเสียอธิปไตยในเขตคลอง จะทุนจีนอเมริกาก็จะเหล่ ใช้ทุนญี่ปุ่นซึ่งเป็นลูกน้องอเมริกาจีนก็เหล่ 3)เคยได้ยินคำว่ามีภัยเพราะมีของล้ำค่าติดตัว ขุดเมื่อไหร่มหาอำนาจต้องการมีอำนาจเหนือพื้นที่บริเวณนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เพราะมีผลอย่างมากในเกมส์แย่งชิงอำนาจของประเทศใหญ่ ตะวันออกกลางโชคดีที่มีน้ำมัน แต่โชคร้ายเพราะน้ำมันเป็นสิ่งที่มหาอำนาจต้องการ ---หลังการขุดคลองมหาอำนาจจะเข้ามาแทรกแซงการแบ่งแยกดินแดนมากกว่าเดิมมากมาย ดูตัวอย่างคลองปานามา อดีตไม่มีประเทศปานามาครับ ทั้งหมดเป็นของโคลัมเบีย หลังการขุดคลอง ได้เกิดมีขบวนการแบ่งแยกดินแดนโคลัมเบียโดยแยกเขตปานามาออกเป็นอีกประเทศหนึ่งต่างหากจากโคลัมเบีย รัฐบาลโคลัมเบียได้ส่งกองทหารไปเพื่อจะปราบขบวนการนี้ แต่ได้ถูกต้านโดยนาวิกโยธินอเมริกันแห่งเรือลาดตะเวน ส.ร.อ. ชื่อ “แนชวิลล์” ซึ่งอ้างนัยของสัญญาที่มีไว้แต่ปางก่อนว่า ส.ร.อ. มีสิทธิคุ้มครองที่จะให้บริเวณคอคอดปานามานั้นเป็นแดนเปิด การสู้รบระหว่างกองทหารของรัฐบาลโคลัมเบียกับขบวนการเอกราชของปานามาจึงสงบลง ต่อมาอีกไม่กี่วันรัฐบาล ส.ร.อ. ก็รับรองประเทศปานามาที่ตั้งขึ้นใหม่นั้น และประเทศปานามาก็ทำสนธิสัญญายกเขตคลองปานามาให้อยู่ในความอารักขาของ ส.ร.อ.
  6. ผมยินดีเปิด “ฟาร์มฮาร์โมนีไลฟ์” ให้เกษตรกรไทยทุกคนได้มาศึกษาเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำกลับไปพัฒนาการทำเกษตรกรรมของตนเอง หลายคนพูดว่าการทำเกษตรอินทรีย์ยาก แต่เกษตรกรมือใหม่อย่างผมยังทำได้ ยิ่งเป็นเกษตรกรมืออาชีพด้วยแล้ว ยิ่งต้องทำได้ดีแน่น อน นักธุรกิจใหญ่ชาวญี่ปุ่น “โช โอกะ” เริ่มบุกเบิกการทำเกษตรอินทรีย์เป็นครั้งแรกในชีวิตบนผืนแผ่นดินไทย ภายใต้ชื่อ “ฟาร์มฮาร์โมนีไลฟ์” เมื่อ 15 ปีที่แล้ว สิ่งที่ยากสำหรับการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์คือ ต้องใช้ที่ดินผืนใหญ่ ซึ่งไม่เคยทำเกษตรกรรมมาก่อนติดต่อกัน 3 ปีขึ้นไป เพราะสารเคมีที่สะสมอยู่ในดินใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 5 ปี การเลือกที่ดินจึงสำคัญมาก ถ้าที่ดินผืนเล็กเกินไป ถึงเราไม่ใช้สารเคมี แต่ที่ดินข้างๆฉีดปุ๋ยเคมีและใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมีพวกนี้ก็จะกระจายมาถึงที่ดินเรา ผมยังต้องใช้เวลา 1 ปีเต็ม ปรับปรุงที่ดิน ที่ดินของผมเดิมเป็นดินเหนียวสีแดง ระบายน้ำไม่ดี ทำให้รากพืชเน่าและเป็นโรคง่าย จึงได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงดินใหม่เพื่อให้เป็นดินร่วนสีดำที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถระบายน้ำได้ดี แทนที่จะใช้วิธีพลิกหน้าดินและการไถกลบวัชพืชอย่างที่นิยมกัน ผมเลือกปลูกพืชหมุนเวียนแทน และปล่อยให้พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติทำหน้าที่ปุ๋ยธรรมชาติ ขณะเดียวกันผมก็ต้องลงทุนขุดบ่อบาดาลและสร้างอ่างเก็บน้ำของตัวเองเพื่อกัก เก็บน้ำไว้ทำการเกษตร และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากลำธารรวมกับไร่นาของชาวบ้าน นอกจากนี้ยังทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำสูตรใหม่ สิ่งมหัศจรรย์ที่ค้นพบอีกอย่างคือ บทบาทและหน้าที่ของแมลง ตอนทำฟาร์มใหม่ๆ ผมพยายามหาทุกวิธีไล่แมลงที่มากัดกินพืชผัก กระทั่งค้นพบว่า ถ้าผักที่เราปลูกแข็งแรงดีก็จะไม่เป็นโรคและไม่โดนแมลงกัดกิน เพราะแมลงเหล่านี้มีหน้าที่กัดกินผักที่ไม่แข็งแรง ยิ่งฉีดยาฆ่าแมลงเท่าไหร่ ผักก็ยิ่งอ่อนแอ และยิ่งล่อแมลงให้มากัดกิน เหมือนแมลงกำลังส่งสัญญาณเตือนมนุษย์ว่าอย่ากินผักพวกนี้ ผมยังค้นพบว่าการปลูกพืชสมุนไพรสลับกับผักช่วยป้องกันโรคและแมลงได้ดี ผืนดินที่ใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีถือเป็นดินป่วย พืชผักที่ปลูกบนดินป่วย ก็จะได้ผลผลิตที่ป่วย เมื่อเรากินเข้าไปจึงป่วยตาม สุขล้นด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ “ญี่ปุ่นหัวใจไทย” สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นใต้ผืนดินสยาม โดย ทีมข่าวหน้าสตรี 22 มิ.ย. 2557 05:01 นายโช โอกะ ชาวญี่ปุ่นกับแปลงปลูกผักปลอดสารพิษบนพื้นที่เขาใหญ่ ก็ เพราะประเทศไทยเป็นดินแดนในน้ำมีปลา...ในนามีข้าว ความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินไทย และอัธยาศัยไมตรีจิตของคนไทย จึงกลายเป็นเสน่ห์ลี้ลับที่ทำให้นักธุรกิจใหญ่ชาวญี่ปุ่น “โช โอกะ” รู้สึกนะจังงังราวกับต้องมนต์ขลัง จนตัดสินใจทิ้งเงินเดือนหลายแสนบาท และตำแหน่งประธานบริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อผันตัวมาเป็นเกษตรกรไทยเต็มตัว เริ่มบุกเบิกการทำเกษตรอินทรีย์เป็นครั้งแรกในชีวิตบนผืนแผ่นดินไทย ภายใต้ชื่อ “ฟาร์มฮาร์โมนีไลฟ์” เมื่อ 15 ปีที่แล้ว โดยฝากอนาคตทั้งหมดไว้กับผืนดิน “เขาใหญ่” มรดกโลกทางธรรมชาติของไทย กระทั่งค้นพบความมหัศจรรย์ของวิถีการทำเกษตรแบบใหม่ที่พอเพียงและยั่งยืน อะไรทำให้หลงรักเมืองไทย จนตัดสินใจอยู่ยาวถึงทุกวันนี้ ผมมาอยู่เมืองไทยได้ 20 ปีแล้ว โดยบริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ของญี่ปุ่น ส่งมาเป็นประธานบริษัทที่ประเทศไทย เมื่อปี 1994 ตอนนั้นผมอายุ 38 ปี ผมประทับใจประเทศไทยมาก รู้สึกว่าเมืองไทยอุดมสมบูรณ์มาก และสิ่งดีที่สุดของเมืองไทยก็คือคนไทย ซึ่งมีน้ำใจดีมาก ตอนนั้นผมคิดว่าเมืองไทยน่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาได้ไกล และเป็นผู้นำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชีพจรลงเท้าตั้งแต่หนุ่มๆ เลยไหม วาดฝันไหมว่าจะต้องมาใช้ชีวิตอยู่ต่างแดน ตั้งแต่เป็นนักเรียน ผมมีเป้าหมายในชีวิตแล้วว่า อยากทำงานในต่างประเทศ เพราะญี่ปุ่นเป็นแค่ประเทศเล็กๆ ผมอยากออกไปท่องโลกกว้าง อยากเรียนรู้อะไรมากกว่าที่เป็นอยู่ ก่อนมาทำงานที่เมืองไทย ผมเคยทำงานที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในออสเตรเลียอยู่ 2 ปีครึ่ง ก่อนจะกลับไปทำงานบริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วโลก และได้รับการโปรโมตส่งไปคุมสาขาในไต้หวัน และประเทศไทย เพราะอะไรถึงกล้าทิ้งเงินเดือนหลายแสนบาท มาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ผมทำงานกับบริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ของญี่ปุ่นทั้งหมด 15 ปี คิดมาตลอดว่าสักวันจะต้องหาโอกาสทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่จุดเปลี่ยนชีวิตมาถึงเมื่อบริษัทอเมริกันเข้าซื้อกิจการของเรา ทำให้รูปแบบการทำธุรกิจเปลี่ยนไปมาก จากเดิมที่ผู้บริหารญี่ปุ่นมีนโยบายว่าอุปกรณ์การแพทย์มีไว้เพื่อช่วยเหลือ คน แต่การทำธุรกิจแบบตะวันตกกลับเน้นเรื่องผลกำไรและแผนการตลาด ซึ่งผมยอมรับไม่ได้ หลังจากทนทำงานกับคนอเมริกันได้ 1 ปี ผมก็ตัดสินใจลาออก และปิดฉากชีวิตการทำงาน 15 ปี ในบริษัทดังกล่าว โดยบอกตัวเองว่า ถึงเวลาที่ควรทำเกษตรได้แล้ว ทำไมจึงเลือกปักหลักทำเกษตรอินทรีย์ที่เขาใหญ่ แทนที่จะกลับญี่ปุ่น สมัยทำงานที่บริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ มีสาขาอยู่ที่เขาใหญ่ ผมต้องเดินทางไปประชุมที่เขาใหญ่เป็นประจำทุกเดือน และทุกครั้งที่นั่งรถผ่านองค์พระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ ที่ประดิษฐานอยู่กลางเขา ผมมักได้ยินเสียงผุดขึ้นมาว่า ควรทำเกษตรได้แล้ว!! ความคิดนี้วิ่งในหัวซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะมาทำการเกษตร สิ่งแรกที่ผมต้องทำคือ การตัดสินใจว่าจะซื้อที่ดินแถวไหนดี ผมรู้สึกเหมือนมีอะไรดลใจ!! องค์พระพุทธรูปสีขาวทอดสายตามองลงมายังผืนดินผืนหนึ่งบริเวณนั้น จึงบอกเพื่อนคนไทยว่าอยากให้ช่วยหาข้อมูลที่ดินตรงเชิงเขาที่พระพุทธรูป ประดิษฐานอยู่ หลายวันต่อมาเพื่อนบอกข่าวดีว่า ตาแหลมมากเลย “โอกะซัง” ที่ดิน 50 ไร่ ตรงนั้นยังว่างอยู่ ผมจึงเจรจาต่อรองเพื่อขอซื้อที่ดินสำหรับทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ เป็นชาวต่างชาติเข้ามาทำเกษตรในเมืองไทย เจออุปสรรคเยอะไหม อุปสรรคแรกคือเรื่องเงินทุนสำหรับซื้อที่ดิน สร้างสถานีวิจัย และสร้างโรงงาน เงินทุนที่ผมเก็บสะสมไว้มีแค่ 12 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอที่จะสร้างฟาร์มเกษตรอินทรีย์อย่างที่ฝัน ผมต้องเจรจาขอกู้เงินธนาคาร และขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าบริษัทเก่า กระทั่งสามารถตั้งบริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อปี 2542 โดยการดำเนินงานของบริษัทจะเน้นการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติเท่า นั้น การเพาะปลูกแบบปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น ต้องลองผิดลองถูกขนาดไหนกว่าจะใช่ ตอนผมเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ ปี 2542 ยังไม่มีเกษตรกรไทยคนไหนทำเกษตรอินทรีย์จริงจัง กระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำรวจพบว่า เกษตรกรไทยใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีมากถึง 99.8% เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั่วประเทศ สิ่งที่ยากสำหรับการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์คือ ต้องใช้ที่ดินผืนใหญ่ ซึ่งไม่เคยทำเกษตรกรรมมาก่อนติดต่อกัน 3 ปีขึ้นไป เพราะสารเคมีที่สะสมอยู่ในดินใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 5 ปี การเลือกที่ดินจึงสำคัญมาก ถ้าที่ดินผืนเล็กเกินไป ถึงเราไม่ใช้สารเคมี แต่ที่ดินข้างๆฉีดปุ๋ยเคมีและใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมีพวกนี้ก็จะกระจายมาถึงที่ดินเรา ผมยังต้องใช้เวลา 1 ปีเต็ม ปรับปรุงที่ดินเพื่อให้เหมาะกับการทำเกษตรอินทรีย์ ผมจบด้านประมงศาสตร์ ไม่เคยทำการเกษตรมาก่อน จึงเริ่มต้นจากศูนย์ นอกจากจะอ่านหนังสือทุกเล่ม ผมยังตระเวนขอความรู้จากอาจารย์ตามมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอคำแนะนำปรับสภาพดินและเตรียมน้ำทำการเกษตร สิ่งมหัศจรรย์ที่ค้นพบจากการเป็นเกษตรกรมือใหม่ อะเมซซิ่งแค่ไหน ที่ดินของผมเดิมเป็นดินเหนียวสีแดง ระบายน้ำไม่ดี ทำให้รากพืชเน่าและเป็นโรคง่าย จึงได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงดินใหม่เพื่อให้เป็นดินร่วนสีดำที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถระบายน้ำได้ดี แทนที่จะใช้วิธีพลิกหน้าดินและการไถกลบวัชพืชอย่างที่นิยมกัน ผมเลือกปลูกพืชหมุนเวียนแทน และปล่อยให้พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติทำหน้าที่ปุ๋ยธรรมชาติ ขณะเดียวกันผมก็ต้องลงทุนขุดบ่อบาดาลและสร้างอ่างเก็บน้ำของตัวเองเพื่อกัก เก็บน้ำไว้ทำการเกษตร และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากลำธารรวมกับไร่นาของชาวบ้าน นอกจากนี้ยังทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำสูตรใหม่ สิ่งมหัศจรรย์ที่ค้นพบอีกอย่างคือ บทบาทและหน้าที่ของแมลง ตอนทำฟาร์มใหม่ๆ ผมพยายามหาทุกวิธีไล่แมลงที่มากัดกินพืชผัก กระทั่งค้นพบว่า ถ้าผักที่เราปลูกแข็งแรงดีก็จะไม่เป็นโรคและไม่โดนแมลงกัดกิน เพราะแมลงเหล่านี้มีหน้าที่กัดกินผักที่ไม่แข็งแรง ยิ่งฉีดยาฆ่าแมลงเท่าไหร่ ผักก็ยิ่งอ่อนแอ และยิ่งล่อแมลงให้มากัดกิน เหมือนแมลงกำลังส่งสัญญาณเตือนมนุษย์ว่าอย่ากินผักพวกนี้ ผมยังค้นพบว่าการปลูกพืชสมุนไพรสลับกับผักช่วยป้องกันโรคและแมลงได้ดี ผืนดินที่ใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีถือเป็นดินป่วย พืชผักที่ปลูกบนดินป่วย ก็จะได้ผลผลิตที่ป่วย เมื่อเรากินเข้าไปจึงป่วยตาม อะไรคือความหมายแท้จริงของคำว่า “ออแกนิก” การเพาะปลูกแบบปลอดสารพิษ โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีแม้แต่นิดเดียว เยอรมนีสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับออแกนิกเป็นประเทศแรก มีกติกาข้อบังคับหลายอย่าง อาทิ ต้องเพาะปลูกบนผืนดินที่ใช้ทำการเกษตร, ผืนดินที่ใช้ทำการเกษตรต้องไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีติดต่อกัน 3 ปีขึ้นไป, ต้องไม่มีสารเคมีในผลผลิตการเกษตร ทั้งในผืนดินและน้ำ, วัตถุดิบที่ใช้ทำปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ต้องมาจากการทำเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด และเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต้องไม่ผ่านกระบวนการเคมี แม้แต่บรรจุหีบห่อพืชผลก็ต้องใช้วัสดุที่ปลอดสารเคมี “ฟาร์มฮาร์โมนีไลฟ์” ประสบความสำเร็จสมใจนึกหรือยัง (ยิ้มกว้าง) เริ่มแรกเรามีคนงาน 10 คน ทุกวันนี้มีคนงาน 60 คนแล้ว เราปลูกผลผลิตได้หลากหลาย 70 ชนิด มีทั้งผัก, ผลไม้ และสมุนไพร เรายังมีโรงงานแปรรูปผลผลิตจากพืชพันธุ์ออแกนิก ผลิตน้ำยาล้างจานสูตรธรรมชาติ, น้ำยาซักผ้าสูตรธรรมชาติ, สบู่โอลีฟออยล์ปลอดสารเคมี, แยมปลอดสารเคมี, ชาสมุนไพรออแกนิก และบะหมี่ผักทำจากผงผักโมโรเฮยะ ที่ส่งออกไปขาย 10 ประเทศทั่วโลก โดยสิ่งที่ภูมิใจที่สุดคือ การก่อตั้งสถานีวิจัยเกษตรอินทรีย์ ผมสร้างห้องวิจัยขนาด 100 ตารางเมตร ภายในฟาร์ม เพื่อชวนเกษตรกรที่สนใจเรื่องออแกนิกมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ค้นคว้าวิจัย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ออกไปให้กว้างขวางที่สุด อะไรทำให้มั่นใจว่า คนตัวเล็กๆจะสามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้ การทำฟาร์มออแกนิกเปรียบเสมือนการเริ่มต้นก้าวเล็กๆ ถ้าเราสามารถทำให้เกษตรกรทั้งโลกเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ ก็จะช่วยยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีสาเหตุมาจากเกษตรกรรม ผมเชื่อมั่นว่าวิถีของเกษตรอินทรีย์จะช่วยให้เกษตรกรไทยเลิกจน!! ไม่ว่าประเทศไหนในโลกก็อยากซื้อผลผลิตจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ผมยินดีเปิด “ฟาร์มฮาร์โมนีไลฟ์” ให้เกษตรกรไทยทุกคนได้มาศึกษาเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำกลับไปพัฒนาการทำเกษตรกรรมของตนเอง หลายคนพูดว่าการทำเกษตรอินทรีย์ยาก แต่เกษตรกรมือใหม่อย่างผมยังทำได้ ยิ่งเป็นเกษตรกรมืออาชีพด้วยแล้ว ยิ่งต้องทำได้ดีแน่นอน ฝากบอกเกษตรกรไทยหน่อยค่ะ วิถีเกษตรอินทรีย์ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร ผมคิดว่ามันอาจสายเกินแก้ ถ้าเราไม่เลิกทำเกษตรที่ใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี การทำเกษตรกรรมในปัจจุบันเป็นการทำเพื่อหาเงินให้ได้เร็วที่สุด ต่อให้มีความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ พวกเขาก็ไม่คิดจะทำ เกษตรกรไทยทุกวันนี้ยากจนมาก เพราะก้มหน้าก้มตาปลูกให้ได้ผลผลิตมากที่สุด เพื่อนำไปขายพ่อค้าคนกลางซึ่งเอาแต่กดราคา ผมอยากให้คิดใหม่ว่า ใครคือตลาดที่แท้จริง เราจะปลูกผักผลไม้ไปขายใคร แล้วลองนำผักผลไม้ของเรามาตั้งราคาและวางขายเองดีกว่า การทำเกษตรอินทรีย์เปิดโอกาสสู่การทำธุรกิจมากมาย เราต้องปฏิรูปเกษตรกรรม ระบบการกระจายสินค้า และกลยุทธ์การตลาด แล้วส่งเสริมให้เกษตรกรได้เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง ผักของฟาร์มฮาร์โมนีไลฟ์ อะไรคือความฝันสูงสุดของเกษตรกรญี่ปุ่นหัวใจไทย “โช โอกะ” ผมอยากสร้างสังคมที่มีความสอดคล้องกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ วางรากฐานของวิถีเกษตรอินทรีย์ที่ใครก็ทำได้ ผมหวังว่าคนหนุ่มสาวจะมีความหวังในเกษตรกรรม และหันมาช่วยกันปกป้องธรรมชาติด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัย...สร้างสุขภาพที่ดีให้ชาวโลก.
  7. ปฏิรูปการศึกษาอย่าลืมเรื่องนี้ Decharut Sukkumnoed 30 เมษายน ปลาหัวและปลาหาง: บทเรียนล้ำค่าจากคนเลี้ยงปลานิล เมื่อเย็นวันจันทร์หลังเลิกงาน ผมและภรรยาขับรถมาชลบุรีเพื่อเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงปลานิล แต่ผมกลับได้พบบทเรียนที่สำคัญที่สังคมไทยควรจะต้องฉุกคิดให้มากจากคนเลี้ยงปลานิล อย่างไม่น่าเชื่อ ผมเลยขอเล่าให้ทุกคนฟังครับ คุณตะวัน เจ้าของฟาร์มปลานิลพาพวกเราไปดูการให้อาหารปลานิล ในบ่อปลาใหญ่ เพียงแค่คุณตะวันขับรถมอเตอร์ไซด์พ่วงไปใกล้ๆ บ่อ ปลานิลก็ว่ายมาวนเวียนเต็มไปหมด พอคุณตะวันเทอาหารปลาลงไปในกระเช้าอาหารปลาเท่านั้น ปลานิลก็ว่ายรุมเข้ามากินอาหารกันใหญ่ ผมและภรรยาต่างตื่นตากับทั้งวิธีการให้อาหารของคุณตะวัน และที่น่าตื่นใจยิ่งกว่าก็คือ ขนาดของปลานิลที่หลายตัวมีขนาดใหญ่ประทับใจ ซึ่งหากปลานิลแต่ละตัวมีน้ำหนักมากว่า 0.8 กก./ตัว จะถือว่าเป็นปลานิลเกรด 1 หรือเกษตรกรจะเรียกว่า ปลาหัว (หมายความว่า มีคุณภาพระดับหัว) ขณะที่เราทั้งสองคนกำลังรัวชัตเตอร์กันใหญ่ คุณพรชัย บัวประดิษฐ์ ลูกพี่ลูกน้องของคุณตะวัน และเป็นประธานชมรมผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบางหัก ก็พูดขึ้นว่า “อาจารย์ทราบมั้ยครับว่า เราสองคนไม่ได้ดูปลาเหมือนคนกินอย่างอาจารย์” ผมหยุดถ่ายรูปแล้วถามว่า “ยังไงเหรอครับ?” คุณพรชัยบอกว่า “อาจารย์ตื่นตาตื่นใจไปกับปลาตัวใหญ่ที่อาจารย์เห็นในตอนแรก เกษตรกรที่อื่นก็เป็นแบบนั้น แต่ถ้าเรามองแบบนั้น แล้วเราตัดสินใจจับปลาในบ่อไปขาย เราจะได้ปลาหัว (คือปลาเกรด 1) เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะส่วนที่เรายังมองไม่เห็นหรือไม่ได้ตั้งใจมองคือ ปลาหาง แต่เมื่อวิดและจับขายแล้ว เราจึงจะเห็นปลาหางเต็มไปหมดในบ่อ (ปลาหาง หมายถึง ปลาขนาดเล็กที่จัดเป็นเกรด 2-5 ซึ่งจะได้ราคาต่ำกว่ามาก) คุณพรชัยเล่าต่อว่า “เพราะฉะนั้น พวกเราจะจ้องมองหาปลาหางในบ่อนี้ เราจะเล็งหาปลาที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่ใช่ใหญ่ที่สุด และเราจะนำมาตั้งโจทย์ว่า จะทำอย่างไรให้ปลาหางเหล่านี้ กลายเป็นปลาหัวให้มากที่สุด เราต้องบำรุงน้ำ เติมอากาศ ปรับเพิ่ม/ลด อาหารอย่างไร เมื่อเราจับปลา เราจะได้ปลาหัวเยอะมาก โดยที่แทบจะไม่มีปลาหางเลย” คุณพรชัยยกตัวอย่างว่า “ล่าสุด ลุงสมหมายสมาชิกในกลุ่มจับปลานิลขายไป 12 ตัน มีปลาหางแค่ 200 กิโลกรัม นอกนั้นได้ปลาหัวทั้งหมดเลย” คุณพรชัยบอกว่า “การบำรุงปลาหางก็จะทำให้ปลาหัวโตขึ้นด้วย แต่เมื่อโตเกิน 0.8 กก./ตัว แล้วจะได้ราคาที่ดีเหมือนกันหมด (ณ วันนั้นคือ 47 บาท/กก.) ดังนั้น ส่วนปลาหัวที่โตขึ้นจึงเป็นเสมือนโบนัสที่ได้เพิ่มขึ้นมา แต่หากปล่อยให้มีปลาหางในบ่อที่เราจับมากขึ้น (คือต่ำกว่า 0.8 กก./ตัว) ราคาจะตกลงไปมากกว่า 10 บาท/กก. (ณ วันนั้น ราคาปลาเกรด 2 คือ 35 บาท/กก. ถ้าเป็นปลาเกรดอื่นๆ จะต่ำลงไปอีก) เพราะฉะนั้น การบำรุงปลาหางจึงเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าบำรุงปลาหัว และจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างคุ้มค่าที่สุด” แม้ว่าคำสอนของคุณพรชัยในวันนั้นจะเป็นเรื่องของปลานิล แต่ก็ทำให้ผม “มโน” นึกเลยไปถึงถึงวิธีคิดหลายๆ เรื่องในสังคมของเรา เช่น การวัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งมักจะวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ทั้งที่จริงๆแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศจะอยู่มือคนเพียงประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ว่ากันและมุ่งเน้นกันนั้น จึงเป็นการวัดการเติบโตของ “ปลาหัว” มากกว่าที่จะวัดการเติบโตของปลาทั้งบ่อ ดังเช่น กรณีจังหวัดระยองที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวสูงถึง 1.2 ล้านบาท/คน/ปี เป็นอันดับที่หนึ่งของประเทศไทย แต่พอไปวัดรายได้เฉลี่ยในกระเป๋าของประชาชนในจังหวัดระยองจริงๆ แล้วกลับมีรายได้กันไม่ถึง 1 แสนบาท/คน/ปี น้อยกว่าอีกหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย การวัดเศรษฐกิจของ “ปลาหัว” จึงเป็นเพียงภาพลวงตาที่ทำให้คน “ตื่นตาตื่นใจ” (เหมือนผมในตอนแรก) แต่มิใช่ความเป็นจริง ล่าสุด โครงการพัฒนาและสหประชาชาติ (หรือ UNDP) จึงได้เน้นว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควรจะเป็นจะต้องเป็นการเติบโตแบบทั่วถึง หรือ inclusive growth มิใช่กระจุกตัวอยู่เฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่เป็น “ปลาหัว” ของระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องวัดลงไปถึงการเติบโตของคนในระดับ “ปลาหาง” ของระบบเศรษฐกิจด้วย อันเป็นที่มาที่ตัวผมเองจึงได้พัฒนาตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ตัวหนึ่งเรียกว่า “การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ฐานราก หรือ Growth at the bottom ซึ่งมุ่งวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของคน 20% ที่จนที่สุดในประเทศ และในแต่ละจังหวัด เพราะหากเราสามารถทำให้คนที่อยู่ 20% สุดท้ายหรือ “ปลาหาง” ของระบบเศรษฐกิจดีขึ้นได้ ย่อมแปลว่า ทุกคนในระบบเศรษฐกิจจึงจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง แต่บทเรียนเรื่อง “ปลาหัวและปลาหาง” ที่สะเทือนและสะท้อนอยู่ในใจผมมากที่สุดไม่ใช่เรื่องทางเศรษฐกิจ แต่กลับเป็นเรื่องการศึกษา การศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรามักจะตื่นตาตื่นใจกับ “ปลาหัว” ทุ่มเทและพัฒนาปลาหัว จนเด็กของเราสามารถพิชิตเหรียญรางวัลต่างๆ ได้อย่างสม่ำเสมอและน่าชื่นชม แต่ขณะเดียวกัน เรากลับละเลย “ปลาหาง” เราไม่ค่อยทุ่มเทให้กับนักเรียนที่เรียนไม่ทัน ไม่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน ไม่มีเงินไปเรียนโครงการพิเศษ จนปลาหางเหล่านี้กลับเล็กลงและซูบผอมในเชิงศักยภาพ และมีจำนวนไม่น้อยที่หลุดไปจากระบบการศึกษาก่อนวัยอันควร จุดที่สำคัญก็คือ สัดส่วนของ “ปลาหาง” ในระบบการศึกษาไทยนั่นมีมากกว่า “ปลาหัว” หลายเท่า ดังนั้น เมื่อประเมินภาพรวมของการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็น O-NET หรือ PISA ผลการประเมินของเด็กไทยในภาพรวมจึงต่ำเตี้ยลง ตรงข้ามกับความก้าวหน้าของปลาหัวที่กวาดเหรียญโอลิมปิกวิชาการกันเป็นประจำทุกปี แล้วเราก็ไม่เคยตอบได้ว่า เราจะพัฒนาระบบการศึกษาของเราขึ้นได้อย่างไร เพราะเราไม่ได้ตั้งโจทย์แบบคุณพรชัยตั้ง เรากลับมองกันแต่ “ปลาหัว” เท่านั้น แน่นอนว่า เด็กไทยไม่ใช่ปลาที่จะถูกจับไปขายกิน แต่เด็กไทยก็ผู้ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยต่อไปในอนาคต แล้วอนาคตของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร? ถ้าเรายังสนใจที่จะบำรุง “ปลาหัว” ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าเป็นหลัก (ทั้งในระบบเศรษฐกิจและในระบบการศึกษา) แล้วสังคมไทยของเราจะเข้มแข็งและเท่าเทียมกันได้อย่างไร? ถ้าปลาหัวยังคงเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เราละเลย “ปลาหาง” ให้เป็นปลาเกรดต่ำลงไป ผมคิดว่า มันน่าจะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราจะหันมามองแบบที่คุณพรชัยมอง แล้วมาตั้งโจทย์กันว่าจะทำอย่างไรให้ปลาหางเติบโตได้เต็มศักยภาพ? เพราะหากทำได้เหมือนคุณพรชัย ปลาเกือบทุกตัวในบ่อของสังคมไทยจะได้เป็นปลาเกรด 1 ไปพร้อมๆ กัน สังคมไทยของเราก็จะมีแต่ “ปลาหัว” หรือเป็นปลาที่จะสร้างศักยภาพของสังคมไทยให้เข้มแข็ง สร้างสรรค์ และยั่งยืน อย่างเท่าเทียมกันต่อไป
  8. ปฏิรูปประเทศ ฝากประชาชนทั่วประเทศดูว่ามีเหตุการณ์คล้ายเรื่องน้ำตาลในธุรกิจอื่นมั้ย ครับ หลายธุรกิจประชาชนทั้งประทศโดนปล้นมานานโดยนโยบายของรัฐจากฝีมือนักการเมือง เรื่องจริงของผมเองครับ ประมาณ10ปีมาแล้วเพื่อนผมมาขอให้พัฒนาสูตรเครื่องดื่มให้เจ้านายเขาหน่อย ให้รสชาติคล้ายยี่ห้อที่เขาต้องการ เพื่อนขอและช่วงนั้นพอมีเวลาเลยทำให้ ต้นทุนที่แพงสุดคือภาชนะสำหรับการบรรจุ รองลงมาคือน้ำตาล ผมถึงต้องหาข้อมูลน้ำตาล ได้ข้อมูลที่ตกใจมาก ช่วงนั้นน้ำตาลที่สั่งซื้อ54ตัน ตกกิโลละ12บาท แต่น้ำตาลที่ส่งออกไปขายต่างประเทศ8บาท อ้างว่าน้ำตาลจำเป็นสำหรับประเทศ ถ้าไม่ช่วยเหลือเกษตรกรจะเลิกปลูก เวลามีปัญหาแล้วขาดแคลนน้ำตาลประเทศจะแย่ ดังนั้นคนไทยต้องกินน้ำตาลแพงกว่าตลาดโลกเพื่อให้มีการผลิตน้ำตาลในประเทศ มีอะไรหมกเม็ด ผลประโยชน์ในธุรกิจน้ำตาลมหาศาลมาก นานแล้วฝรั่งนักธุรกิจโดนฆ่าก็เพราะผลประโยชน์จากน้ำตาล จากการตามข้อมูลพบว่าผลผลิตต่อไร่และ%น้ำตาลของอ้อยที่เกษตรกรทำอยู่ ต้นทุนต่อกิโลเราแพงกว่าตลาดโลกมาก แทนที่เราจะพัฒนาพันธ์พัฒนากรรมวิธีการปลูกเพื่อลดต้นทุน นักการเมืองใช้วิธีใช้เงินรัฐและปล้นประชาชน ผลักดันให้มีสมาคมชาวไร่อ้อย ถึงเวลาก็ซื้อเสียงผ่านการช่วยเหลือ เมื่อมีการเลือกตั้งก็จะได้คะแนนจากชาวไร่อ้อยเป็นกอบเป็นกำ และที่สำคัญนโยบายแบบนี้เอื้อประโยชน์มากมาย 1)จำนวนไม่น้อยเอกสารมีตราประทับตามด่านเข้าออก ว่าส่งออกแล้ว แต่ของไปขายในตลาดมืดกินราคาผลต่าง 2)ปล่อยให้ประชาชนปลูกพันธ์เดิม วิธีปลูกแบบเดิม เมือต้นทุนของเกษตรกรสูงกว่าตลาดโลกมาก สมาคมชาวไร่อ้อยจำนวนเยอะและรวมตัวกันได้ รัฐก็หาข้ออ้างช่วยเหลือ------แต่พวกเจ้าใหญ่ในธุรกิจน้ำตาลเขา พัฒนาพันธ์พัฒนาการผลิตให้ต้นทุนเขาถูกลง แต่เขาขายได้รับเงินช่วยเหลือเหมือนเกษตรกรชาวไร่อ้อย
  9. Thailand only ประชาชนโดนปล้นจากนโยบายของรัฐอีกหรือเปล่าครับ ส่งออก15แต่ใช้ในประเทศ27 และที่สำคัญที่สุด ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์จากธุรกิจแอลกอฮอล์(เอทานอล) ได้คำตอบช่วยบอกด้วยครับท่านอาจารย์ ประสาท มีแต้ม 5 ชม. · พรุ่งนี้( (22 มิย) จะไปให้ข้อมูลกับ คสช. ตั้งแต่เช้าววว ตั้งใจจะไปให้เขาถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ทำไม ราคาเอทานอลในสหรัฐอเมริกาและบราซิลซึ่งผลิตได้ถึง 80% ของโลก จึงมีราคา (กุมภาพันธ์ 57) ที่ 15 บาทต่อลิตร แต่ราคาในประเทศไทย 27 บาท แถมไทยเป็นประเทศส่งออก ถ้าเขาส่งออกในราคา 27 บาท แล้วเขาไปขายใคร งง? (ไทยผลิต E85 วันละ 8 แสนลิตร)
  10. Thailand only ประชาชนโดนปล้นจากนโยบายของรัฐอีกหรือเปล่าครับ ส่งออก15แต่ใช้ในประเทศ27 และที่สำคัญที่สุด ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์จากธุรกิจแอลกอฮอล์(เอทานอล) ได้คำตอบช่วยบอกด้วยครับท่านอาจารย์ ประสาท มีแต้ม 5 ชม. · พรุ่งนี้( (22 มิย) จะไปให้ข้อมูลกับ คสช. ตั้งแต่เช้าววว ตั้งใจจะไปให้เขาถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ทำไม ราคาเอทานอลในสหรัฐอเมริกาและบราซิลซึ่งผลิตได้ถึง 80% ของโลก จึงมีราคา (กุมภาพันธ์ 57) ที่ 15 บาทต่อลิตร แต่ราคาในประเทศไทย 27 บาท แถมไทยเป็นประเทศส่งออก ถ้าเขาส่งออกในราคา 27 บาท แล้วเขาไปขายใคร งง? (ไทยผลิต E85 วันละ 8 แสนลิตร)
  11. คุณครูจ๋า…เมื่อไหร่จะว่างสอนหนู? 18 มิถุนายน 2557.... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1vRv9EG'>http://bit.ly/1vRv9EG โดย...อินทรชัย พาณิชกุล เมื่อ 365 วันของอาชีพ "ครู" เต็มไปด้วยภาระสารพัด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการสอนลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพล เมื่อปี 2556 โดยเก็บข้อมูลจากครูทั่วประเทศ จำนวน....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1vRv9EG
  12. Kpuknet Mo ข้าราชการสอบเข้าทำงานมา มากกว่า 30 ปี ยกเลิกบำนาญ แต่ สส สว อาสาเข้ามารับเลือกตั้ง แถมยังมีโกงกินจนแทบจะสิ้นชาติ เสือกรับบำนาญ เพราะออกกฏหมายให้ประโยชน์กับตัวเอง
  13. มากกว่ารัก เพื่อแผ่นดิน 5 ชม. · แก้ไขแล้ว (ช่วยแชร์ด้วยนะครับ) ไม่ว่าท่านจะอยู่กลุ่มไหน สีไหน... ขอเรียนเชิญ..ทุกท่านร่วมปฏิรูปประเทศกับเรา ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและกรอบแนวคิดได้จาก http://rfm.mod.go.th/
  14. สิ่งที่จะต้องปฎิรูป ลดอำนาจของหน่วยงานรัฐลง ไม่ใช่หน่วยงานรัฐอยากทำอะไรก็ได้ คำว่ามีเนื้อหาไม่เหมาะสม(ต้องระบุเลยครับ เนื้อหาวันไหน ส่วนไหน เนื้อหาผิดมากขนาดไหน มีการแจ้งเตือนกี่ครั้ง จำนวนครั้งที่ไม่เหมาะสม@@@ที่สำคัญ เนื้อหาที่ถูกต้องเป็นอย่างไรเขาลงบิดเบือนอย่างไร) เนื้อหาล่าสุดผมว่าไม่มีอะไรไม่เหมาะสมนะ(ผมก็ใช้เวลาศึกษาพลังานมาเยอะ เหมือนกัน ฟังทั้งฝ่ายปตทและฝ่ายค้านปตท) ไอซีทีบล็อกเว็บทวงคืนพลังงาน ระบุเนื้อหาไม่เหมาะสม โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2557 21:34 น. กระทรวงไอซีทีบล็อกเว็บทวงคืนพลังงาน ระบุมีเนื้อหาไม่เหมาะสม พบบทความล่าสุดลงคำสัมภาษณ์ “รสนา” ในหัวข้อ “ปลดล็อกน้ำมันแพง” วันนี้ (19 มิ.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. มีรายงานว่าเว็บไซต์ทวงคืนพลังงานไทย หรือภายใต้ในชื่อว่า “พลังงานไทย พลังงานใคร” (http://thai-energy.blogspot.com) ได้ถูกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ระงับการเผยแพร่ โดยระบุว่า “เว็บไซต์นี้มีเนื้อหาและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม” สำหรับเว็บไซต์ดังกล่าวนั้นได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกร้อง ความเป็นธรรมด้านพลังงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 โดยพบว่ามีการเผยแพร่บทความล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2557 เป็นคำสัมภาษณ์พิเศษ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ ในหัวข้อเรื่อง “ปลดล็อกน้ำมันแพง” ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ (http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/สัมภาษณ์พิเศษ/300361/ปลดล็อก - น้ำมันแพง - รสนา - โตสิตระกูล)
  15. กองทัพลิง สามพราน 21 ชม. ยางมะตอยจ้า.... ยางมะตอยสดๆจากใต้ดินจ้า เป็นไงบ้างล่ะ สาวก ปตท.ทั้งหลาย เมื่อเดือนมิย. 57 โพสรูปนี้มาให้ดูกัน ก็โดนสาวกปตท.กระหน่ำเสียและเลย ไปที่วิเชียรบุรี ไปดูไปถ่ายทำวิดีโอ หาข้อมูลเรื่องการบุกรุกขุดเจาะน้ำมันในเพชรบูรณ์ แล้วก็ไปเจอเจ้ารถคันนี้ ตีรถปล่าวขึ้นไปบ่อน้ำมัน ข้างๆเขียนว่ารถทุกยางมะตอย รถทุกยางมะตอยมันจะต้องออกจากโรงกลั่นเท่านั้นและทุกส่งตามต่างจังหวัด ใครที่ดูข่าว7สี ก็จะเห็นรถบรรทุกยางมะตอยจอดอยู่ ความจริงมันใช้เวลาจะช้านานนาน มันก็ได้เผยกันออกมาแล้ว.........
  16. ก็น่าสนใจดีนะ เป็นตุ๊กตาตัวแรกสำหรับการถกเถียงหาสิ่งที่เหมาะสมต่อไป · รูปภาพของ กองทัพลิง สามพราน
  17. Decharut Sukkumnoed 6 ชม. · แก้ไขแล้ว ปิโตรเคมีและภาษีที่ไม่ต้องจ่าย ท่านทราบหรือไม่ว่า ภาคปิโตรเคมีสามารถใช้ก๊าซหุงต้มเป็นวัตถุดิบในการผลิตของตน โดยไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต และภาษีเทศบาล ในขณะที่ภาคครัวเรือนและภาคอื่นๆ ต้องเสียภาษีสรรพสามิต 2.17 บาท/กก. และภาษีเทศบาล 0.217 บาท/กก. ภาษีสรรพสามิตเป็นเครื่องมือทางการคลังที่ใช้ในการลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นพิษต่อสุขภาพ (เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์) แล้วคุณคิดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ได้สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่? ภาษีเทศบาลเป็นเครื่องการกระจายอำนาจทางการคลัง เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการเฝ้าระวังและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แล้วคุณคิดเทศบาลเมืองมาบตาพุดและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ในพื้นที่รอบนั้น ควรได้รับภาษีมารับมือกับมลพิษที่เพิ่มขึ้นจากปิโตรเคมีหรือไม่? เขาควรได้รับภาษีมารองรับกับประชากร พาหนะ ขยะ และอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่หรือไม่? แล้วการใช้ก๊าซหุงต้มของครัวเรือนนั้นสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าภาคปิโตรเคมีหรืออย่างไร? สร้างภาระให้กับเทศบาลและท้องถิ่นมากกว่าภาคปิโตรเคมีหรืออย่างไร? รัฐบาลจึงเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาลจากภาคครัวเรือน แต่ไม่เรียกเก็บจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแม้แต่บาทเดียว ถ้าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีถูกเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีท้องถิ่นในอัตราเดียวกับภาคครัวเรือน ประเทศไทยของเราก็จะมีรายได้จากภาษีสรรพสามิตประมาณ 6,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งสามารถนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อการรักษาและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ขณะเดียวกัน ท้องถิ่นที่ต้องรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ก็จะมีงบประมาณในการรับมือกับภาระต่างๆ มากขึ้นปีละ 600 ล้านบาท แล้วทำไม ปิโตรเคมีถึงไม่ต้องจ่ายภาษีเหล่านี้ล่ะ? เหตุผลที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีชี้แจงคือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไม่ได้ใช้ก๊าซหุงต้มในฐานะเชื้อเพลิง แต่ใช้เป็น “วัตถุดิบ” สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่อเนื่อง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีบอกว่า เขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาล ทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้มากมาย ดังนั้นเขาจึงไม่น่าจะต้องเสียภาษีทั้งสองประเภทอีก แต่สำหรับผม การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ดี แต่นั้นมิใช่เหตุผลที่จะไม่ต้องเสียภาษีทั้งสองประเภท ตราบใดที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังคงสร้างภาระทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับท้องถิ่นที่ตนตั้งอยู่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก็ควรเสียภาษีทั้งสองประเภทเฉกเช่นเดียวกับผู้ใช้อื่นๆ ในสังคม (ซึ่งอาจสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าด้วย) เพื่อนๆ ครับ ในฐานะเพื่อนร่วมชาติ และเพื่อนร่วมโลก เพื่อนๆ มีความเห็นว่าอย่างไรครับ
  18. Navin Pang อัลบั้มไม่มีชื่อ อัพเดทล่าสุดเมื่อ 18 ชั่วโมงที่แล้ว ร่วมทดลองใช้โซลาเซลล์กับชาวบ้านตำบลเขาสามสิบ ทดสอบโซลาเซลกับปั๊มชัก ท่อ 1 นิ้ว การใช้งานจริงลดขนาดท่อเป็น 6 หุนเพื่อให้น้ำไหลแรง สูบน้ำบาดาลลึก 10 กว่าเมตร ส่งขึ้นถังเก็บน้ำสูง 4 เมตร ใช้มอเตอร์กระแสตรง 500 วัตต์ (ถ้าแปลงถ่านหมดเปลี่ยนได้) ใช้แผงโซลาอะมอฟัส 120 วัตต์ ต่อ แบตเตอรี่ 100 เแอมป์มือสอง ทดรอบมอเตอร์ตามอุปกรณ์ที่หาได้ 555 ปั๊มทำงานได้รอบช้า มอเตอร์ไม่ร้อน สูบน้ำเรื่อยๆ ทดสอบวันแรกน้ำไหลแรงเต็มท่อ พี่บุญส่งผู้ลงทุนยิ้มได้ วางแผนจะใช้น้ำปลูกข่าอ่อนประมาณ 1 ไร่ น่าจะได้ทุนคืนภายในการเพาะปลูกไม่เกิน 2 รอบ ตอนนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบเรื่องการชาร์จแบต และการสูบน้ำได้เรื่องอย่างไรจะมาเล่าสู่ผู้ที่สนใจอีกครั้งครับ ลืมบอกไปค่าอุปกรณ์ ทั้งแผงโซลา มอเตอร์ ตัวควบคุมการชาร์จ ปั๊มชัก แบตมือสอง รวมกันแล้วไม่เกิน 12,000 บาทนะครับ
  19. สำหรับเรื่องนี้ เพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ หมาเฝ้าบ้าน ปกป้องอนาคตลูกหลานไทย 6 ชม. เมื่อสุรา..ไม่ใช่สินค้าธรรมดา ณ ประเทศศรีลังกา
  20. ผมเลือกธรรมชาติที่สวยงาม แล้วเพื่อนๆละเลือกอะไร Greenpeace Southeast Asia (THAILAND) ถูกใจแล้ว · 7 ชม. คุณ...จะยอมแลกธรรมชาติอันแสนงดงามเปรียบเสมือนมรกตแห่งอันดามัน กับ หายนะจากถ่านหินมั้ย? หากคำตอบของคุณ คือ ไม่! มาร่วมกันรักษาปัจจุบันให้คงไว้ เพื่ออนาคตลูกหลานของเรา "ร่วมปกป้องกระบี่จากถ่านหิน" คลิก ► www.protectkrabi.org ◄ #ProtectKrabi
  21. Punyalat Suksanguan 17 mins · หลวงปู่พุทธะอิสระ เผย วัดพระธรรมกาย ขยายพื้นที่ไปทั่วทุกภูมิภาคมีนักการเมืองเบื้องหลัง พร้อมเรียกร้องให้ คสช.ส่งคนช่วยพระพุทธศาสนา เข้าไปตรวจสอบเงินนับหมื่นหมื่นล้าน หมุนเวียนในวัด วันนี้ 17 มิ.ย.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลวงปู่พุทธะอิสระ อดีตแกนนำ กปปส.เวทีแจ้งวัฒนะ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่าเห็นป้ายโฆษณาของธรรมกายร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและคณะ สงฆ์ จัดบวชพระภิกษุแสนรูปแล้วทำให้นึกขึ้นได้ค.ส.ช.ช่วยส่งคนที่ไว้ใจได้ ไปตรวจสอบเงินงบประมาณแผ่นดิน ที่วัดธรรมกายได้รับจากรัฐบาลคุณปูโดยผ่านสำนักนายกบ้าง ผ่านกระทรวงวัฒนธรรมและความมั่นคงของมนุษย์ผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ง ชาติบ้าง ลองตรวจดูหน่อยว่าวัดธรรมกายได้ไปเท่าไรแต่ละปี ทำไมวัดในประเทศไทยมีตั้ง 35,000 วัดถึงไม่ได้บ้าง จะอ้างว่าเพราะวัดธรรมกายทำโครงการอบรมในงานต่างๆ ให้รัฐบาล อยากจะบอกว่าวัดอื่นๆในประเทศไทย จัดอบรมไม่ได้ยังงั้นหรือ เด็กนักเรียนอยู่เชียงใหม่ อยู่ใต้ อยู่ตะวันออก อยู่อีสาน ต้องเดินทางมาที่รังสิตวัดธรรมกายเพื่อเข้าอบรม แล้ววัดข้างโรงเรียนของเด็กนักเรียนเหล่านั้นไม่มีพระอบรมให้แล้วหรือ ซึ่งหลายโรงเรียนเป็นโรงเรียนวัด เด็กนักเรียนต้องไปกินอาหารกลางวันจากวัด แต่เวลาวัดนั้นๆจะได้งบประมาณอบรมบ้าง ข้าราชการ ครูโดยกระทรวงศึกษาและกระทรวงวัฒนธรรม กลับเกณฑ์ให้เด็กต้องนั่งรถไปที่วัดธรรมกายรังสิต ซึ่งบางครั้งถึงตายกลางทางเพราะประสบอุบัติเหตุ ยิ่งสองปีที่ผ่านมาวัดธรรมกายกำเริบใหญ่ ถึงขนาดขยายอาณาจักรไปทั่วทุกภูมิภาค โดยการอาศัยบารมีนักการเมืองในฟากรัฐบาลสนับสนุน ได้งบประมาณจากรัฐบาลจุนเจือ ได้พลังมวลชนผู้ศรัทธาเป็นฐานเสียงให้พรรคการเมือง ได้อำนาจรัฐจากข้าราชการตาขาวสนับสนุน บางพื้นที่ก็บุกรุกพื้นที่สาธารณะ เช่นในจังหวัดอุดร ยึดเอามาสร้างอาณาจักรของตน แม้ที่สุดก็บุกรุกป่าสงวน กว้านซื้อที่ดินจากชาวไร่ชาวนาผู้ยากจน ซึ่งในใต้แผ่นดินที่ซื้อมามีขุมเหมืองแร่ทอง เงิน และอื่นๆที่มีค่า โดยชาวบ้านไม่รู้ ขายให้สำนักนี้ราคาถูก ข้อมูลแร่ใต้ดินนี้หากไม่มาจากภาครัฐ แม้ฉันเองก็ยังไม่รู้ หากคนในรัฐบาลไม่สนับสนุนร่วมมือ เรื่องเหล่านี้มีอยู่ในศาสนาพุทธในเมืองไทย ยุคสมัยตระกูลชินและนายกทักษิณเรืองอำนาจ ค.ส.ช.ลองส่งคนไปตรวจสอบบัญชี และยอดเงินงบประมาณที่หลั่งใหลเข้าไปในวัดธรรมกายแห่งนี้ดูหน่อยดีไหม รวมทั้งเหตุการเงินของกลุ่มสหกรณ์ยูเนี่ยนสูญหายไปเป็นหมื่นๆล้าน ซึ่งประธานกลุ่มยูเนี่ยนได้เป็นศิษย์ใกล้ชิด เป็นกรรมการบริหารของวัดนี้ด้วย ฉันได้กลิ่นมาว่าเงินสหกรณ์บางส่วนได้ใหลเข้ามาเล่นแร่แปรธาตุในวัดนี้มากโข ลองตรวจดูหน่อยน่าจะดี หากไม่มีสิ่งผิดปกติ จักได้แก้ข้อสงสัยทำให้พระศาสนาและวัดผุดผ่องด้วย พระพุทธศาสนามีหลักคิดว่า กระบวนการตรวจสอบต้องถือว่าเป็นหลักที่จะทำให้สังฆมณฑลเป็นปึกแผ่นมั่นคง บริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นที่ยอมรับศรัทธาของกันและกันในสังฆมณฑล ดูตัวอย่างพระสงฆ์ต้องลงอุโบสถสังฆกรรมตรวจทานศีลของตน และปลงอาบัติ ประกาศเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยแก้ไขพฤติกรรมได้ตลอดเวลา หากสังคมสามารถทำได้เช่นนี้ คนชั่วคนผิดคนไม่ดี ก็ไม่มีสิทธิ์ลอยนวลอยู่ได้ทุกวันนี้ แต่เดี๋ยวนี้นักบวชด้วยกันเอง ต่างเกรงกลัวการตรวจสอบเหมือนกัน จนสังฆมณฑลกลายเป็นที่ซ่องสุมของคนบาปใจทรามเต็มไปหมด พระศาสนาจึงกลายเป็นแดนสนธยามืดมนกันอยู่ทุกวันนี้ ค.ส.ช.คุณประยุทธ์ช่วยทำบุญให้พระพุทธศาสนาด้วยก็น่าจะดียิ่ง พุทธะอิสระ ............................................... ข่าวจาก Mthai Cr.มาริโอ เมากาว
  22. ข้อมูลเพิ่มเติมจากอาจารย์Decharut Sukkumnoed คนสนใจเรื่องพลังงานต้องไม่พลาดครับ Decharut Sukkumnoed 4 ชม. ระบบสัมปทานปิโตรเลียม VS ระบบแบ่งปันผลผลิต การถกเถียงเรื่อง ระบบการให้สัมปทาน (ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) และระบบการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม (ที่เสนอให้ใช้แทน) มีมานานแล้วทั้งในโซเชียลมีเดีย และในรายการโทรทัศน์ต่างๆ แต่เวทีถกพลังงานเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านนี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นและร่วมเรียนรู้กับการหักล้างด้วยข้อมูลทางวิชาการแบบเปิดเผยจากทั้งสองฝ่าย การถกเถียงและการหักล้างทางวิชาการครั้งนี้เป็นอย่างเข้มข้นและสร้างสรรค์ ที่ว่าสร้างสรรค์หมายถึง ต่างฝ่ายต่างมีโอกาสอย่างเต็มที่ในการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการของฝ่ายตน ซึ่งมีผลทำให้ทั้งสองฝ่ายได้เห็นประเด็นของตนและของฝั่งตรงข้ามได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากแต่ละประเด็นมีรายละเอียดมาก ผมขอเล่าให้ฟังแบบย่อๆ พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น (ส่วนผู้สนใจรายละเอียด ผมคงขอตอบในโอกาสต่อไป) กล่าวโดยย่อระบบสัมปทานเป็นรูปแบบที่ให้สิทธิเอกชนเข้ามาสำรวจและผลิตในแผ่นดินและผืนน้ำของเรา และเมื่อพบแล้วเอกชนผู้ขุดเจาะก็จะมีสิทธิในผลผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ ซึ่งหากประเทศเราจะนำมาใช้ในประเทศ เราก็ต้องไปซื้อมาในราคาตลาดโลก (หรืออ้างอิงตลาดโลกตามที่ตกลงกัน) ส่วนรัฐาก็จะได้ส่วนแบ่งค่าภาคหลวงและภาษีเป็นการตอบแทน ส่วนระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น เมื่อมีการผลิตปิโตรเลียมได้ก็จะแบ่งผลผลิตดังกล่าวตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ผลผลิตส่วนหนึ่งก็จะเป็นของประเทศ ซึ่งอาจจะนำไปขายในราคาใดก็ได้ แล้วแต่การบริหารจัดการของประเทศนั้น ส่วนเอกชนก็นำส่วนแบ่งที่ได้ไปขายให้กับใครก็ได้ แล้วแต่จะตัดสินใจเช่นกัน ตัวอย่างของการหักล้างกันด้วยข้อมูลอาทิ ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานมักอ้างว่าระบบการแบ่งปันผลผลิตจะใช้ได้เฉพาะหลุมที่มีปริมาณมากและมีความเสี่ยงต่ำเท่านั้น จึงจะจูงใจให้เอกชนเข้ามาขุดเจาะ (ฝ่ายนี้จะบอกว่า หลุมปิโตรเลียมของไทยเป็นหลุมเล็กๆ ที่มีปริมาณน้อยและความเสี่ยงสูง) แต่ฝ่ายสนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิตก็ได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่จริง เพราะยังมีกรณีต่างๆ มากมายในต่างประเทศ ที่สามารถนำระบบแบ่งปันผลผลิตไปใช้กับหลุมขนาดเล็กได้เช่นกัน เช่นเดียวกับหลุมที่มีความเสี่ยงสูง ระบบแบ่งปันผลผลิตก็สามารถมีระบบแบ่งปันความเสี่ยงสำหรับผู้ลงทุนได้เช่นกัน ขณะเดียวกัน ฝ่ายสนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิตซึ่งมักชี้ให้เห็นว่า โดยภาพรวมทั่วโลกแล้ว ระบบแบ่งปันผลผลิตจะให้ประโยชน์กับรัฐมากกว่า แต่ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานก็โชว์ข้อมูลว่า บางประเทศที่ใช้ระบบสัมปทาน แต่รัฐก็ยังสามารถได้รับส่วนแบ่งมากกว่าอีกบางประเทศที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เพราะฉะนั้น จึงอาจมิได้เป็นหลักประกันว่า ระบบแบ่งปันผลผลิตจะให้ผลประโยชน์มากกว่า ทั้งนี้ ฝ่ายนี้เห็นว่า เงื่อนไขการเจรจาในการให้สัมปทานน่าจะสำคัญกว่าการเปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ผมอาจสรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาแล้ว ในระหว่างสองทางเลือกนี้ ประเทศไทยสามารถเลือกใช้ทางเลือกใดก็ได้ โดยไม่ได้มีปัญหาหรือจำกัดถึงขนาดที่เราต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น เพียงแต่ว่าจุดเน้นหรือข้อดีและข้อควรระวังของทั้งสองทางเลือกจะแตกต่างกัน และเราต้องตัดสินใจว่าจะเน้นที่จุดใด ระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นจะเน้นที่ภาครัฐจะสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลและการดำเนินการต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงสามารถนำผลผลิตปิโตรเลียมในส่วนที่ตนได้รับมาขายหรือใช้ได้อย่างมีอิสระ โดยอาจขายเพื่อใช้ในประเทศในราคาใดก็ได้ หรือหากขายในราคาตลาดโลก ก็น่าจะได้เม็ดเงินเข้ากระเป๋าของรัฐมากกว่า (โดยเฉพาะในเวลาราคาน้ำมันขาขึ้น) ส่วนระบบสัมปทานนั้น ภาครัฐเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการน้อยกว่า จึงไม่ต้องยุ่งยาก เพราะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนในการดำเนินการ โดยรัฐเก็บเพียงค่าภาคหลวงและภาษีอย่างเดียว แต่รัฐก็จะเสียสิทธิในผลผลิตปิโตรเลียมที่ขุดเจาะได้ไป หากว่าต้องการใช้ในประเทศก็ต้องไปซื้อกลับมาในราคาตลาดโลก แม้ว่าจะเป็นทรัพยากรเดิมของตนก็ตาม ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานเชื่อว่า ระบบสัมปทานจะจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากกว่า ในเวทีหารือมีผู้กล่าวว่า การจะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตได้นั้นจะต้องมี 2 เงื่อนไขคือ หนึ่ง ประเทศนั้นจะต้องมีราชการที่เก่งและขยัน เพราะจะต้องตรวจสอบบริษัทอย่างใกล้ชิด แล้วยังต้องจัดการในการขายน้ำมันในส่วนแบ่งของตนด้วย และสอง ราชการของประเทศนั้นต้องโปร่งใสปราศจากคอร์รัปชั่น เมื่อกล่าวจบจึงมีเสียงหัวเราะเล็กน้อย เพราะกลายเป็นการแซวภาคราชการของไทยไปโดยไม่ตั้งใจ ในขณะที่ฝ่ายแบ่งปันผลผลิตเห็นว่า การลงแรงของภาคราชการเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องทำให้ได้ เพราะการยอมยกผลผลิตปิโตรเลียมให้กับบริษัทขุดเจาะทั้งหมด แล้วไปซื้อกลับมาตามระบบสัมปทาน เป็นการเสียสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเจ้าของทรัพยากรไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้ยังมีมุมมองที่แตกต่างกันในแง่ของความเร่งด่วนของเวลาที่จะต้องตัดสินใจ ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานก็พยายามจะชี้ให้เห็นว่า ปริมาณก๊าซธรรมชาติของไทยจะเริ่มมีไม่พอ และต้องนำเข้ามากขึ้น (มิใช่หมดอ่าวไทยภายใน 7 ปีอย่างที่กระทรวงพลังงานกล่าวอ้าง) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเปิดสัมปทานรอบใหม่ เพื่อให้สามารถขุดก๊าซธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้น ภายในระยะเวลา 7 ปี ฝ่ายสนับสนุนระบบสัมปทานเห็นว่า การใช้ระบบสัมปทานจะทำให้สะดวกและสามารถเปิดสัมปทานรอบใหม่ได้ทันที แต่ถ้าเปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต รัฐก็จะต้องแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และเตรียมการอื่นๆ มากมาย ทำให้ใช้เวลานาน ซึ่งผู้แทนกระทรวงการคลังก็ได้ชี้แจงสนับสนุนให้ใช้ระบบเดิม เพราะการเปลี่ยนระบบไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตก็จะมีผลต่อความยุ่งยากในจัดทำบัญชีและการประเมินรายได้เพื่อจัดเก็บภาษี โดยมิได้ตอบว่าระบบไหนน่าจะให้ผลตอบแทนแก่ประเทศมากกว่า (เอ๊ะ!! หรือว่าประเด็นราชการไทยไม่ค่อยขยันจะเป็นจริง) แต่ฝ่ายสนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิตเห็นว่า ยิ่งก๊าซธรรมชาติกำลังจะหมดอ่าวไทยเรายิ่งจะต้องรอบคอบ เพราะทรัพยากรเหลือน้อยแล้ว และหากเราต้องไปซื้อผลผลิตปิโตรเลียมกลับมาใช้ในราคาตลาดโลก (ตามระบบสัมปทาน) ก็ยิ่งไม่มีความจำเป็นอะไรที่เราจะต้องรีบให้สัมปทานเพิ่ม เพราะเราก็สามารถซื้อจากตลาดโลกได้ในราคาเท่ากัน เราจึงควรเก็บก๊าซธรรมชาติเอาไว้ก่อนหรือเอาไว้ให้ลูกหลานใช้ (เพราะมันไม่เน่าเสีย) จนกว่าจะได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแล้วจึงค่อยขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์อย่างผม การมีทางเลือกถือเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรอง (ในที่นี้คือ การต่อรองกับบริษัทผู้ขอรับสัมปทาน) ดังนั้น ถ้าเป็นผม ผมจะพัฒนาทั้งสองทางเลือกขึ้นมาควบคู่กัน เสมือนว่าเราพร้อมจะใช้ทั้งสองทางเลือก เพื่อทำให้มีอำนาจต่อรองว่า หากผู้ลงทุนไม่ยินยอมตามข้อเรียกร้องของเรา เราก็พร้อมที่จะขยับไปใช้ระบบที่มีความเข้มงวดและรัฐพร้อมเก็บผลประโยชน์มากขึ้นแทน แต่กลยุทธ์ของภาครัฐขณะนี้คือ ตัดสินใจเลือกใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น และพยายามจะถล่มระบบแบ่งปันผลผลิตให้หายไปจากตัวเลือก เพื่อให้เปิดสัมปทานโดยเร็วที่สุด ซึ่งการไม่มีทางเลือกเชิงนโยบาย การพยายามบอกว่าก๊าซในอ่าวไทยมีน้อย และการเร่งเปิดสัมปทานโดยเร็วที่สุด จะส่งผลเสียหายต่ออำนาจต่อรองของเรา ในการเปิดสัมปทานรอบใหม่ แล้วสรุปว่า ท่าทีหรือจุดยืนของภาคประชาชนเป็นอย่างไร? ผมขอตอบว่า แม้ว่าภาคประชาชนสนับสนุนระบบแบ่งปันผลผลิตมาตั้งแต่ต้น แต่ภาคประชาชนก็พร้อมและเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ ดังนั้น ผู้แทนภาคประชาชนจึงเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องสำคัญที่สามารถรอได้ คสช. จึงไม่ควรรีบตัดสินใจเปิดสัมปทานรอบใหม่ แต่ควรมอบเรื่องนี้ให้สภาปฏิรูปเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะสภาปฏิรูปน่าจะมีที่มาจากทุกภาคส่วน และน่าจะได้ตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญของชาติในระยะยาว เพราะหาก คสช. ตัดสินใจให้เปิดสัมปทานไป โดยไม่ให้โอกาสสภาปฏิรูปพิจารณาเสียก่อน สภาปฏิรูปที่จะตั้งขึ้นก็คงเป็นไปได้แค่ “ลูบๆ” เท่านั้น —
  23. ใครสนใจเรื่องพลังงาน ต้องอ่านโพสนี้ครับ Decharut Sukkumnoed ก๊าซ (หุงต้ม) ข้า ใครอย่าแตะ เมื่อวานผมเกริ่นไว้แล้วว่า การแก้ปัญหาภาระของกองทุนน้ำมัน จะเกี่ยวพันกับการแก้ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม เพราะปัจจุบันภาระของกองทุนน้ำมันส่วนใหญ่มาจากการการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม ดังนั้น หากเราจะลดภาระของกองทุนน้ำมันลงมา หรือจะยกเลิกกองทุนน้ำมันก็จำเป็นต้องแก้ปัญหาเรื่องราคาก๊าซหุงต้มให้ได้ก่อนเป็นลำดับแรก วันนี้จึงของเล่าแบบสรุปประเด็นสำคัญสำหรับเรื่องนี้ให้ฟังกันนะครับ ปัญหาราคาก๊าซหุงต้มนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าปัญหาอื่นๆ เพราะมิได้เกี่ยวพันเฉพาะโครงสร้างราคา แต่ยังเกี่ยวพันกับการจัดสรรก๊าซหุงต้มหรือ LPG จากแหล่งผลิตที่มีต้นทุนแตกต่างกัน ว่าจะจัดสรรไปให้ผู้ใช้กลุ่มใดก่อน อันจะมีผลให้ราคาของผู้ใช้แต่ละกลุ่มแตกต่างกันตามไปด้วย เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหานี้ เราจะต้องเริ่มทำความเข้าจากที่มาของก๊าซหุงต้มมีอยู่ 3 แหล่ง แหล่งที่มีต้นทุนถูกที่สุด (ประมาณ 16-18 บาท/กก.) คือมาจากโรงแยกก๊าซ ซึ่งมีปริมาณผลผลิตประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมด แหล่งที่มีต้นทุนสูงขึ้นคือ มาจากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งมีต้นทุนประมาณ 26-27 บาท/กก. และมีปริมาณประมาณร้อยละ 25 ของก๊าซหุงต้มทั้งหมด สุดท้ายมาจากการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีต้นทุนประมาณ 29-30 บาท/กก. และมีปริมาณประมาณร้อยละ 25 ของก๊าซหุงต้มทั้งหมด ขณะเดียวกัน เราก็มีผู้ใช้อยู่ 4 กลุ่ม กลุ่มแรกที่ใช้เยอะที่สุด ประมาณร้อยละ 35 คือกลุ่มปิโตรเคมี รองลงมาคือ ภาคครัวเรือนประมาณร้อยละ 32 ตามมาด้วยภาคขนส่ง ประมาณร้อยละ 24 และสุดท้ายคือ ภาคอุตสาหกรรม ใช้อยู่ประมาณร้อยละ 8 และเป็นภาคที่ใช้ก๊าซหุงต้มในราคาที่แพงที่สุดด้วย ตามมติของคณะรัฐมนตรียุคคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ระบุว่า ให้ภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีได้ใช้ก่อน แต่ถ้าเราบวกรวมตัวเลข 2 ภาคเข้าด้วยกัน เราจะเห็นว่าปริมาณของสองภาคส่วนนี้จะเกินจากราคาปริมาณที่โรงแยกก๊าซครับ ตรงนี้แหละครับคือเหตุที่ต้องแย่งกัน แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติ ภาคปิโตรเคมี ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกับโรงแยกก๊าซ จะได้ก๊าซหุงต้มส่วนนี้ไปก่อน ภาคครัวเรือนและภาคขนส่งจึงจำเป็นต้องจ่ายค่าก๊าซในราคาที่แพงขึ้น ส่วนภาคอุตสาหกรรม ขณะนี้ถูกจัดไว้ลำดับสุดท้าย จึงต้องไปใช้ราคาของก๊าซหุงต้มนำเข้าที่กก.ละ 30 บาทแทนครับ ดังนั้น ราคาก๊าซหุงต้มจะเป็นเช่นไร จึงขึ้นอยู่กับสิทธิว่าใครจะได้ใช้ก๊าซจากแหล่งใดก่อน ซึ่งแหล่งที่แย่งกันมากที่สุดก็คือ โรงแยกก๊าซครับ เพราะเป็นแหล่งที่มีต้นทุนถูกที่สุด เมื่อมาถึงจุดนี้ ฝ่ายที่ชิงออกตัวก่อนก็คือ ปิโตรเคมี ปิโตรเคมีพยายามอธิบายว่า อุตสาหกรรมของตนเองนั้นต่างจากผู้ใช้อื่นๆ ในแง่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ (ไม่ใช่เชื้อเพลิง) ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก เขาเปรียบเทียบปิโตรเคมีเป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่มีราคาสูง เพราะฉะนั้น ในความคิดของคนกลุ่มนี้จึงเห็นว่า ก๊าซหุงต้มจากโรงแยกก๊าซก็ควรจัดสรรให้ปิโตรเคมีก่อน ส่วนอีก 3 ภาคที่เหลือก็ไปแบ่งกันใช้ก๊าซหุงต้มจากโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซนำเข้า ที่มีราคาแพงกว่าแทน (และคาดว่าจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต) โดยฝ่ายนี้ เห็นว่า หากรัฐบาลจะช่วยครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยก็ให้ใส่เม็ดเงินของรัฐเข้ามาชดเชย หรือจ่ายชดเชยตรงไปยังครัวเรือนเหล่านั้นแทน ตัวแทนภาคประชาชนก็แย้งว่า ภาคครัวเรือนไม่ว่ารวยหรือจนในฐานะประชาชน ย่อมเป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศนี้โดยตรง ฉะนั้นจึงควรจะได้สิทธิใช้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซก่อน แถมยังเป็นการนำก๊าซหุงต้มไปใช้เพื่อความจำเป็นในการดำรงชีวิต ส่วนภาคปิโตรเคมีเป็นภาคที่มีการใช้ก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงระยะเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ประเทศไทยต้องไปนำเข้าก๊าซหุงต้มที่มีราคาแพงจากต่างประเทศมาในราคาแพง ภาคปิโตรเคมีจึงควรรับผิดชอบในส่วนนี้ไป ยิ่งไปกว่านั้น หากภาคปิโตรเคมีมั่นใจว่า ตนเองเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ก็ควรซื้อวัตถุดิบในราคาไม้สักด้วย ไม่ใช่มาซื้อในราคาไม้ยางอย่างที่เป็นอยู่ การถกเถียงในประเด็นนี้เป็นไปอย่างเข้มข้น ฝ่ายหนึ่งแย้งว่า รัฐบาลมีข้อกำหนดบังคับให้โรงแยกก๊าซขายให้ภาคครัวเรือนในราคาต่ำ ทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาด ฝ่ายประชาชนยืนยันว่า ถ้ารัฐจะมีข้อกำหนดที่ชัดเจนที่จะจัดสรรก๊าซหุงต้มจากโรงแยกก๊าซให้ภาคครัวเรือนก่อน ฝ่ายประชาชนก็ยินดีที่จะซื้อก๊าซจากโรงแยกก๊าซในราคาที่สมเหตุสมผล เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริงของโรงแยกก๊าซ (ซึ่งจะต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับราคาที่ภาคครัวเรือนจ่ายในปัจจุบัน) โดยไม่ต้องมีการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันอีก อย่างไรก็ดี ฝ่ายปิโตรเคมี ยืนยันว่า การผลักให้ปิโตรเคมีไปใช้ก๊าซหุงต้มนำเข้า (หรือวัตถุดิบนำเข้าชนิดอื่นแทน) จะกระทบกับต้นทุนและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย พร้อมกับยืนยันว่า ปิโตรเคมีซื้อก๊าซหุงต้มในราคาที่สูงกว่าภาคครัวเรือน แต่เมื่อมีการขอให้แสดงราคาที่ภาคปิโตรเคมีซื้อ ปรากฏว่าภาคปิโตรเคมีก็ยังมิได้แสดงหลักฐานใดๆ ราคาออกมาให้ที่ประชุมได้รับทราบ อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ การกำหนดให้ทุกภาคใช้ก๊าซหุงต้มในราคาเดียวกัน นั่นหมายความว่า เรานำต้นทุนจากทุกแหล่งมาเฉลี่ยเท่ากัน ดังนั้น จึงไม่ต้องถกเถียงกันอีกว่า ใครควรจะได้ก๊าซจากแหล่งใดก่อนและหลังกันอย่างไรอีกต่อไป แต่ทางเลือกนี้ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากทั้งสองฝ่าย เพราะต่างฝ่ายต่างเชื่อว่า ฝ่ายของตนมีสิทธิและเหตุผลเพียงพอที่จะได้รับก๊าซหุงต้มจากแหล่งที่ถูกกว่าก่อนฝ่ายอื่นๆ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า โจทย์เรื่องการจัดสรรก๊าซหุงต้มจากแหล่งต่างๆ นั้น สำคัญมาก และจะมีผลต่อเนื่องไปยังราคาของก๊าซหุงต้มของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม และจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการใช้เงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนให้ราคาต่ำลงในภาคครัวเรือนและภาคขนส่งตามมา และกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังคนเติมน้ำมันคนอื่นๆ ที่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนมาให้คนใช้ก๊าซหุงต้มอยู่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น หากเราหาคำตอบเรื่องการจัดสรรก๊าซหุงต้มได้ เราจะสามารถลดภาระกองทุนน้ำมันได้ และจะสามารถลดราคาน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 ในลำดับต่อไป แม้ว่า ดูเหมือนเราจะยังไม่ได้คำตอบสุดท้ายสำหรับการแก้ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม แต่การถกเถียงกันก็ทำให้เราเข้าใจ แก่นของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ว่าลึกที่สุดแล้ว ปัญหาของเรื่องนี้คือ “สิทธิในทรัพยากร” มิใช่เรื่องราคาอย่างที่เข้าใจกันในตอนแรก
×
×
  • สร้างใหม่...