ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ส้มโอมือ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    5,036
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    15

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ส้มโอมือ

  1. ประสาท มีแต้ม 8 ชม. บริษัทรับสัมปทานปิโตรเลียมมีกำไรสุทธิในปี 2554 แค่ร้อยละ 97 ของเงินลงทุนเอง ตัวเลขทั้งหมดมาจากรายงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพียงแต่มันอยู่กันคนละหน้า เมื่อนำต่อกันก็พบว่า กำไรสุทธิ 139,940.5 ล้านบาทเอง! ผมลอกมาแปะให้เห็นกันชัดๆ ใครไม่เชื่อ ดาวน์โหลดมาอ่านได้ ข้าราชการอ้างรัฐได้ส่วนแบ่งมากกว่าบริษัท แต่จงใจไม่คิดว่า แล้วบริษัทมีกำไรสุทธิเท่าใด นี่คือเหตุหนึ่งของการแก้ไข พรบ ปิโตรเลียม มี่เป็น "จดหมายผิดซอง"
  2. ประสาท มีแต้ม รัฐบาลนั่นแหละตัวบิดเบือนราคาน้ำมัน ค่อยๆเริ่มปี 2545 และรุนแรงมากขึ้นในปี 2557
  3. ดาวโจนส์ปิดบวก 98.58 จุด รับ ECB ลดดอกเบี้ย วันศุกร์, 06 มิถุนายน 2557 08:01 | | ดัชนีดาวโจนส์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ตัดสินใจใช้มาตรการรับมือกับภาวะเงินฝืด ด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ดัชนี อุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,836.11 จุด เพิ่มขึ้น 98.58 จุด หรือ +0.59% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,296.23 จุด เพิ่มขึ้น 44.59 จุด หรือ +1.05% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,940.46 จุด เพิ่มขึ้น 12.58 จุด หรือ +0.65% ตลาด หุ้นนิวยอร์กได้รับแรงหนุนหลังจากอีซีบีมีมติลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0.15% จากระดับเดิมที่ 0.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของยูโรโซนต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืด นอก จากนี้ อีซีบียังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงสู่ระดับติดลบ 0.10% จากระดับเดิมที่ 0% ส่งผลให้อีซีบีเป็นธนาคารกลางแรกในโลกที่ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ โดยนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีกล่าวภายหลังการประชุมว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ และจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นด้วย ความเคลื่อน ไหวดังกล่าวของอีซีบีช่วยหนุนดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในระหว่างวันที่ 1,941.74 จุด ก่อนที่จะปิดที่ระดับ 1,940.46 จุด และยังหนุนดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในระหว่างวันที่ 16,845.81 จุด ก่อนที่จะปิดที่ระดับ 16,836.11 จุด ส่วนข้อมูล เศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐที่มีผลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดนั้น กระทรวงแรงงานของสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. เพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 312,000 ราย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ระดับ 310,000 ราย http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-53/30010-mn195.html
  4. Johnny Pereira ได้แชร์ลิงก์ 4 มิถุนายน ทอง Update The two Daily Bearish Reversals are 1240 and 1186. 2 แนวรับหลักคือ 1240 และ 1186 We are holding the 1240 level for now with a minor Daily Bullish forming at 1262 and 1294. ดูเหมือนว่าแนวรับที่ 1240 น่าจะรับอยู่ และน่าจะมีเด้ง แนวต้านอยู่ระดับ 1262 และ 1294 We see a turning point next week and the week of the 23rd. จุดเปลี่ยน (จุดทีจะแสดงทิศทางชัดเจน) คือสัปดาห์หน้า และ สัปดาห์ปลายเดือน We do not see the meltdown yet without a monthly closing below 1190 area. We also see tomorrow as a turning point in both silver and gold. เราเชื่อว่าจะยังไม่มีการลงแรงๆ ในช่วงนี้ จนกว่าราคาปิดของกราฟรายเดือนจะปิดต่ำกว่า 1190 นั่นแหละ วันนี้ (บทความออกเมื่อวาน 3/6/14) น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนในทั้งโลหะเงินและทอง (วันนี้น่าจะมีเด้ง เพราะลงมาหลายวันแล้ว) http://armstrongeconomics.com/2014/06/03/metals-update/
  5. ณ ที่ตรงนี้ ชายหาดอันสวยงามของกระบี่ กำลังจะเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหิน เราจะยอมไหม Greenpeace Southeast Asia (THAILAND) Do you know that EGAT plans to develop the coal power plant and coal seaport in Krabi, our beautiful beach paradise? Coal and its destructive impacts will change Krabi forever. Sign this petition today. Together we can protect Krabi ► www.protectkrabi.org/?EN ◄ #ProtectKrabi
  6. Decharut Sukkumnoed เพิ่ม 2 รูปภาพใหม่ 3 ชม. · แก้ไขแล้ว · ค่าการตลาดน้ำมัน E85: ความไม่เป็นธรรมในโครงสร้างราคาน้ำมัน หลังจากที่ได้โพสต์เรื่อง เงินหนึ่งพันบาทของค่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ไปไหนบ้าง ผมก็พบว่า ผมได้จ่ายเงินอุดหนุนผู้ใช้รายอื่นๆ ไป 31 บาทกว่า (ซึ่งสามารถซื้อนมเปรี้ยวขวดเล็กให้ลูกได้เกือบ 3 ขวด) ซึ่งผมก็ยินดีเพื่อช่วยสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนจากผลิตผลการเกษตร แต่ผมก็อยากรู้ว่า เขานำเงินที่ผมสนับสนุนไปใช้ใน E20 และ E85 อย่างไรบ้าง? ผมเลยไปแอบส่องดูแล้วผมก็พบ สิ่งที่น่าตกใจว่า ผู้ใช้ E85 จะได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน 11.6 บาท/ลิตร ซึ่งเก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 ในขณะที่ผู้ค้าน้ำมันคิดค่าการตลาดน้ำมัน E85 ถึง 6.50 บาท/ลิตร ซึ่งสูงกว่าค่าการตลาดของน้ำมันอื่นๆ อย่างมาก (อย่างอื่นประมาณลิตรละ 1.6-2 บาทเท่านั้น) นั้นแปลว่าในทุกๆ 1,000 บาทที่เติม E85 ผู้ใช้รายอื่นๆ (ที่เติม 95, 91) จะช่วยจ่ายเงินถึง 471.93 บาท และในทุกๆ 1,000 บาทที่เราเติม E85 ผู้ค้าน้ำมัน (บริษัทน้ำมันและปั้มน้ำมัน) จะได้รายได้ถึง 264.81 บาท!! (ในขณะที่กรณีน้ำมันอื่นๆ ผู้ค้าน้ำมันจะได้รับเงินส่วนนี้ประมาณ 40-60 บาทจากเงินหนึ่งพันบาทเท่านั้น) นี่เท่ากับเป็นการดูดเงินจากผู้ใช้รายอื่น มาจ่ายให้กับ “ผู้ค้าน้ำมัน” ใช่หรือไม่? ผมก็เลยไปค้นดูว่า ทำไมค่าการตลาดของน้ำมัน E85 ถึงแพง? ผมก็พบว่า บริษัทน้ำมันเขาอ้างว่า ปริมาณการบริโภคน้ำมัน E85 มีน้อยมาก จึงต้องคิดค่าการตลาดแพง (ซึ่งสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์) ผมเลยไปค้นต่อว่าปริมาณการบริโภคน้ำมัน E85 เป็นอย่างไร? ผมก็พบว่า คนไทยกำลังบริโภคน้ำมัน E85 มากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนล่าสุดบริโภคกันถึง 830,000 ลิตร/วัน (ดูภาพที่ 2) แต่ปรากฏว่า ค่าการตลาดน้ำมัน E85 กลับมิได้ลดลง แม้จะมีคนบริโภคน้ำมัน E85 เพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม พอผมเจาะดูในรายละเอียดของราคาน้ำมันเป็นรายวันแล้วพบว่า ค่าการตลาดเป็นเครื่องมือเล่นทางด้านราคาของบริษัทน้ำมัน ซึ่งอาจปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางการตลาดของตน และเหตุผลสำคัญที่ทำให้สามารถใช้เครื่องมือได้อย่างสนุกมือ เพราะมีเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเป็นตัวช่วยให้ผู้เติมน้ำมัน E85 ไม่รู้สึกว่าแพงเกินไป แม้ว่าบริษัทจะเก็บค่าการตลาดที่สูงมากก็ตาม แต่นั้นมิใช่วิธีการที่ถูกต้องและเป็นธรรมสำหรับผู้ใช้น้ำมันอื่นๆ ที่ต้องเสียเงินมาอุดหนุนผู้ใช้น้ำมัน E85 แต่กลับกลายมาเป็นนำเงินของผมมาสนับสนุนบริษัทน้ำมัน ผ่านค่าการตลาดที่แสนแพง ผมเลยเกิดคำถามว่า ทำไมเราไม่ลดค่าการตลาดของผู้ค่าน้ำมันลงมาบ้าง (เช่นเหลือสัก 3 บาท) แล้วเราก็ไปลดเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน เพื่อที่จะทำให้ภาระของผู้ใช้น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 ลดลงได้บ้าง? อย่างน้อยผมก็อาจจะเหลือเงินไปซื้อนมเปรี้ยวขวดเล็กให้ลูกได้สักขวดหนึ่งก็ ยังดี เพื่อนๆ คิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ
  7. Decharut Sukkumnoed เมื่อวานนี้ มีเพื่อนท่านหนึ่งให้ช่วยเปรียบเทียบระหว่างโรงไฟฟ้าถ่านหินกับโรงไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก ผมเลยลองเปรียบเทียบทางเลือก 2 ทางเลือกคือ โรงไฟฟ้าถ่านหินกับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีกติกาว่าทั้งสองทางเลือกจะต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากันคือ 6,000 ล้านหน่วย/ปี และเรามาดูกันว่า แต่ละทางเลือกจะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างไร? ในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน เราจะต้องมีกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ซึ่งจะใช้เงินลงทุน 44,000 ล้านบาท โดยต้องนำเข้าถ่านหิน 2.3 ล้านตัน/ปี คิดเป็นเงินที่เสียไปปีละ 7,100 ล้านบาท การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้เกิดการจ้างงานประมาณ 1,100 อัตรา แต่การเผาไหม้ถ่านหินจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ปริมาณ 5.72 ล้านตัน/ปี (เพื่อให้ภาพชัดเจนขึ้น ปีพ.ศ. 2554 คนกระบี่ทั้งจังหวัดปล่อยก๊าซ CO2รวมกัน 970,000 ตัน เพราะฉะนั้น โรงไฟฟ้านี้โรงเดียวจะปล่อยก๊าซ CO2มากกว่าคนกระบี่ทั้งจังหวัดถึง 5 เท่ากว่าเลยทีเดียว) แน่นอนว่าก๊าซ CO2 เหล่านี้จะค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศนานกว่า 150 ปี กลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนไปจนชั่วลูกชั่วหลานชั่วเหลน เพราะฉะนั้น หากเราไม่ต้องการส่งต่อภาระปัญหานี้ให้ลูกหลาน เราก็จำเป็นต้องปลูกป่าเพื่อดูดซับก๊าซ CO2 ที่โรงไฟฟ้าถ่านหินนี้ปล่อยออกมา คิดเป็นพื้นที่ป่าไม้ถึง 1,355,100 ไร่ (เพื่อให้เห็นภาพพื้นที่ป่าไม้ทั้งจังหวัดกระบี่เท่ากับ 616,000 ไร่ นั้น หมายความว่า ต้องปลูกเพิ่มขึ้นสองเท่าของป่าไม้ที่อยู่ทั้งจังหวัด) นอกจากนั้น การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินยังต้องใช้น้ำอีกประมาณ 12 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี (หรือเทียบเท่ากับปริมาณการบริโภคน้ำของคน 156,000 คน) ส่วนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์นั้น เนื่องจากเราไม่สามารถผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์ในกำลังการผลิตติดตั้งที่มากกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วพบว่า จะต้องลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะใช้เงินลงทุนถึง 240,000 ล้านบาท แต่ก็ทำให้เกิดการจ้างงานมากถึง 74,000 อัตรา (เทียบกับ 1,100 ตำแหน่งในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน) แถมยังไม่ต้องเสียเงินค่าเชื้อเพลิงรายปี และยังลดต้นทุนค่าดำเนินการและซ่อมบำรุงลงได้อีกมาก ฉะนั้น เมื่อคำนวณต้นทุนรายปีที่ประหยัดได้ พบว่า ระยะเวลาประมาณ 20 ปีก็จะคุ้มกับการลงทุน โดยยังมิได้นำผลประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาคิดด้วย ในเชิงพื้นที่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้พื้นที่เพียง 17,500 ไร่ (หรือประมาณร้อยละ 0.6 ของพื้นที่ทั้งจังหวัดกระบี่ ซึ่งในความเป็นจริงสามารถติดบนหลังคาอาคารต่างๆ จึงไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่) แถมยังไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 .ในขั้นของการผลิตแผงโซลาร์เซลเท่ากับ 180,000 ตันเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 5.72 ล้านตัน/ปีของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ดังนั้น โดยสรุปก็คือ โรงไฟฟ้าถ่านหินลงทุนน้อยกว่า แต่เกิดผลกระทบมากกว่า ซึ่งหากจะต้องจัดการกับผลกระทบเหล่านั้น (เช่น ปลูกป่า 1.355 ล้านไร่เพื่อดูดซับก๊าซให้หมด) ต้นทุนของโรงไฟฟ้าถ่านหินก็จะสูงมาก ตรงกันข้ามกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งดูเหมือนจะลงทุนมาก แต่ก็สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาของโครงการ แถมยังไม่ส่งผลกระทบไปถึงลูกหลาน และประหยัดพื้นที่มากกว่าโรงฟ้าถ่านหินอีกด้วย (เมื่อเปรียบเทียบกับการที่จะต้องไปปลูกป่าเพื่อดูดซับก๊าซ CO2 จากโรงไฟฟ้าถ่านหินกลับมา) สำหรับเพื่อนๆ พี่น้องที่สนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่าเพิ่งหงุดหงิดหรืออารมณ์เสียนะครับ เพื่อนๆ มีประเด็นท้วงติง สงสัย เพิ่มเติม ประเด็นใด สอบถามเข้ามาได้ เพราะแม้มุมมองของเราอาจจะแตกต่างกัน (ในประเด็นนี้) แต่จุดยืนของเราเหมือนกัน นั่นคือ เราจะยืนเคียงข้างกัน และอยู่ร่วมบนความต่างในสังคมประชาธิปไตยครับ
  8. พ.ร.บ.ปิโตรเลียมกับเพลง “จดหมายผิดซอง”: คสช.ช่วยได้ไหม? โดย ประสาท มีแต้ม 1 มิถุนายน 2557 22:48 น. ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปน่าจะเคยได้ยินเพลงลูกทุ่ง “จดหมายผิดซอง” ขับร้องโดยมนสิทธิ์ คำสร้อย เป็นเพลงที่ดังมากจนได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำเมื่อปี 2540 ดังนั้นคนรุ่น 30 ปีขึ้นไปจึงน่าจะโตพอที่จะจำความได้แล้ว แต่ก่อนจะเล่าต่อไป เพื่อเอาใจท่านผู้อ่านที่มีเวลาน้อย ผมขอเรียนสรุปไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลยว่า สาเหตุที่คนไทยต้องซื้อก๊าซหุงต้มในราคาแพงกว่าเจ้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ถึงเกือบสองเท่านั้นเกิดจากปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” ที่อยู่ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมนั่นแหละ นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยส่งน้ำมันดิบออกต่างประเทศปีละกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ทั้งๆ ที่มีการนำเข้าน้ำมันดิบจำนวนมาก รวมทั้งการส่งน้ำมันสำเร็จรูป (มูลค่าปี 2556 เกือบ 4 แสนล้านบาท) ในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทยที่หน้าโรงกลั่นก็เป็นเพราะปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” เช่นเดียวกัน กลับมาต่อกันที่เรื่องเพลงเดิมครับ เนื้อเพลงกล่าวถึงหนุ่มคนหนึ่งซึ่งได้รับจดหมายทางไปรษณีย์ของสาวที่เคย บอกว่ารักเขา เนื้อเพลงเริ่มต้นด้วยความรู้สึกที่แสนดีใจเพราะจำลายมือหน้าซองได้ แต่เมื่อเขาเปิดจดหมายออกมาอ่านกลับพบว่า “ซองนั้นเป็นของพี่ ซองนั้นเป็นของพี่ แต่จดหมายนี้สิเป็นของใคร บอกพี่หน่อยได้ไหม เธอเขียนถึงใคร กันหนอชอบกล ได้อ่านสำนวนจ๊ะจ๋า รู้ไหมน้ำตา ของพี่จะหล่น ยิ่งอ่าน ยิ่งช้ำสุดทน โถคน ละไม่น่าหลายใจ” ท่านผู้อ่านต้องสงสัยแน่นอนว่า แล้วเพลงจดหมายผิดซองนี้มันเกี่ยวอะไร พ.ร.บ.ปิโตรเลียม สาระสำคัญมันเหมือนกันเลยครับ ใน พ.ร.บ. ฉบับ 2514 ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ในมาตรา 23 บัญญัติว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่นต้องได้รับสัมปทาน” (พ.ร.บ.แร่ก็ทำนองเดียวกันครับ แต่ใช้คำว่า “ประทานบัตร” ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ Concession เพียงแต่เป็น Mining Concession) ถ้าเราอ่านเพียงผิวเผิน เราก็ยังสรุปไม่ได้หรอกครับว่า ความหมายของมาตรานี้มันเหมือนกับเพลง “จดหมายผิดซอง” อย่างไร จนกว่าเราจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัมปทาน” แต่ในตอนนี้เราพอจะสรุปได้ว่า แม้เราจะมีโฉนดที่ดินซึ่งเรามีสิทธิในการทำประโยชน์ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่ถ้าบังเอิญว่าใต้ที่ดินของเรามีทรัพยากรปิโตรเลียม กฎหมายนี้กำหนดว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของผู้เป็นเจ้าของโฉนด ในความเห็นของผมแล้ว ผมเห็นว่าการที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมแล้ว เพราะว่ารัฐหรือประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมกันเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้อง ที่ดินในโฉนดนี้เอาไว้ในนามของคนชาติเดียวกัน (คิดถึงเพลงชาติจังครับ!) ดังนั้นเมื่อเกิด “ลาภลอย” ขึ้นมา ผลประโยชน์ตรงนี้จึงควรจะตกเป็นของรัฐซึ่งก็คือประชาชนทุกคน ไม่ควรจะเป็นของเจ้าของโฉนด ในขณะที่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่า ถ้าอยู่ในโฉนดของเอกชน กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมก็เป็นของเอกชน การเปลี่ยนมือของเจ้าของที่ดินก็จะเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมไปด้วย แต่กรณีประเทศไทยไม่ใช่ครับ แม้ที่ดินจะเปลี่ยนมือแต่กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมยังคงเป็นของรัฐตลอดไป ดังนั้น บัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมจึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก จนสามารถเปล่งวาจาออกมาดังๆ ตามเพลงข้างต้นว่า “พี่แสนดีใจ…ว่าบังอรส่งถึงพี่ชาย” คือเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ แต่ปัญหามาอยู่ที่ว่า ผู้ใดจะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมจะต้องได้รับสัมปทาน แต่ที่น่าแปลกมากๆ ก็คือไม่มีคำนิยามหรืออธิบายใดๆ ว่าสัมปทานหมายถึงอะไร? ปล่อยให้คนเข้าใจเอาเองอย่างไม่ครบถ้วนและลึกซึ้งในสาระสำคัญที่ซ่อนอยู่ ผมเองได้ให้ความสนใจเรื่องปิโตรเลียมอย่างจริงจังมานานร่วม 20 ปี แต่ก็ไม่เคยตั้งคำถามถึงเพราะคิดเอาเองว่าตนเองเข้าใจแล้ว จนกระทั่งเมื่อได้มาร่วมทำรายงานของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ด้านพลังงาน วุฒิสภา จึงได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัมปทาน” จากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโททางนิติศาสตร์เรื่อง “การนำระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing) มาใช้ในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย” โดย สมบัติ พฤติพงศภัค (ปัจจุบันจบปริญญาเอกและเป็นผู้พิพากษา) ซึ่งผมตีความจากที่ท่านสรุปมาว่า “ระบบสัมปทานเป็นการให้สิทธิของลัทธิเมืองขึ้น” ตกใจใช่ไหมครับ! ในระบบสัมปทาน สาระสำคัญอยู่ที่ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียม ก่อนการทำสัญญา กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมเป็นของรัฐ แต่ทันทีที่รัฐบาลทำสัญญาในระบบสัมปทานกับบริษัทคู่สัญญาซึ่งส่วนมากเป็น บริษัทเอกชนต่างประเทศ กรรมสิทธิ์ดังกล่าวจะตกเป็นของบริษัททันที แม้ว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์จากการให้สัมปทาน แต่อำนาจหรือกรรมสิทธิ์ที่สะท้อนความเป็นเจ้าของแทบจะไม่เหลืออะไรเลย กรรมสิทธิ์ดังกล่าวสามารถแบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ (1) กรรมสิทธิ์ในเรื่องข้อมูลการสำรวจปิโตรเลียมซึ่งอาจต้องใช้เงินประมาณหลัก ร้อยล้านบาท ข้อมูลที่ได้เป็นของบริษัท บางบริษัทขายต่อสัมปทานไปในราคากำไร 4-5 พันล้านบาทโดยที่รัฐไม่ได้อะไรเลยในส่วนต่าง นอกจากรอเก็บค่าภาคหลวงเท่านั้น (2) กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมที่ขุดได้เป็นของบริษัทผู้รับสัมปทาน ดังนั้นบริษัทสามารถเลือกขายให้ใครก็ได้ เช่น กรณีก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ก่อนหน้านี้เกือบ 20 ปีติดต่อกัน ประเทศไทยเราเป็นผู้ส่งออกมาตลอด แต่เมื่อกิจการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีบูมขึ้น ก๊าซจึงขาดแคลน บริษัท ปตท. ซึ่งผูกขาดโรงแยกก๊าซ (และบังคับให้บริษัทรับสัมปทานขายก๊าซให้ ปตท. แต่เพียงผู้เดียว) จึงเลือกขายก๊าซแอลพีจีให้บริษัทลูกของตนเองในราคาประมาณ 17 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ส่วนที่เหลือจึงขายให้คนไทยและอุตสาหกรรมอื่นในราคา 31 บาทต่อกิโลกรัม จริงอยู่มีการกำหนดเงื่อนไขบางอย่างในการขายไว้ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมด้วย แต่เป็นเงื่อนไขที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ เช่น “ในกรณีที่น้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรมีปริมาณถึงสิบเท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักร” แล้วมันเคยเกิดขี้นบ้างไหม? เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ผมลองสมมติสถานการณ์ว่า ถ้าหากมีความต้องการก๊าซหุงต้มจำนวนมากในประเทศเพื่อนบ้านและมีราคาสูงกว่า ราคาบ้านเราพอสมควร ด้วยระบบกรรมสิทธิ์ของระบบสัมปทาน ผมรับรองว่าคนไทยจะไม่ได้ใช้ เพราะไม่มีมาตราใดเลยที่ระบุว่าต้องขายให้คนไทยอย่างทั่วถึงก่อน (3) สิทธิในอุปกรณ์การผลิต เช่น แท่นเจาะเป็นของผู้รับสัมปทาน เมื่อครบอายุสัญญา จึงเป็นไปโดยปริยายว่าจะต้องต่อสัญญาให้บริษัทเดิม ไม่ว่ารัฐจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม ในทางตรงกันข้าม ยังมีระบบสัญญาอีกหลายแบบ เช่น ระบบการแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing) ระบบรับจ้างบริการ (Service Contract) เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาตรงกันข้ามกับระบบสัมปทานในประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ กล่าวคือสิทธิความเป็นเจ้าของปิโตรเลียมที่ขุดแล้วยังเป็นของรัฐ จะขายหรือไม่ขายให้ใครก็เป็นสิทธิของรัฐ ในกรณีการแบ่งปันผลผลิตรัฐมีอำนาจควบคุมให้บริษัทดำเนินการตามที่รัฐต้องการ คู่สัญญาเพียงแต่ดำเนินการในนามของรัฐเท่านั้น บริษัทจะได้ส่วนแบ่งผลผลิตตามสัญญาเท่านั้น ในระบบสัมปทานเป็นระบบที่ทำให้รัฐ (ซึ่งอ้างตนว่าเป็นเจ้าของปิโตรเลียมตามกฎหมาย) ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยของตนเอง ในแผ่นดินของตนเอง ให้กับบริษัทต่างชาติ เพราะทันที่มีการลงนามในสัญญาสิทธิใน 3 ข้อข้างต้นของตนก็หมดลงทันที มีสิทธิอย่างเดียวคือ การนั่งรอเก็บค่าภาคหลวง (เดิมร้อยละ 12 แล้วแก้ไขเป็นร้อยละ 5-15 แต่เก็บได้จริงแค่ 12.3%) และภาษีเงินได้ อำนาจในการควบคุมของรัฐได้หมดไปแล้ว สมมติว่าราคาปิโตรเลียมลดลง บริษัทรับสัมปทานอาจจะหยุดการผลิตก็ได้ทั้งๆ โรงไฟฟ้ากำลังอ้าปากรอจะกินก๊าซอยู่ หรือในกรณีที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำแต่ราคาปิโตรเลียมในตลาดโลกสูง บริษัทก็จะถือโอกาสเร่งผลิตเพื่อส่งออก ทั้งๆ ที่เราควรจะเก็บไว้ในหลุมเพื่อให้ลูกหลานในอนาคต แต่ก็ทำไม่ได้ หรือหากรัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงินมาทำโครงการเร่งด่วน รัฐก็ไม่มีสิทธิที่จะไปสั่งการบริษัทให้ผลิตเพิ่มได้ หรือหากรัฐมีนโยบายจะลดการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติสัก 10% แล้วหันไปใช้พลังงานแสงแดดซึ่งเรามีมากก็ทำไม่ได้ เพราะรัฐได้หมดสิทธิในการสั่งการไปตั้งแต่วันลงนามสัญญาสัมปทานแล้ว นี่หรือครับที่เขาเรียกว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย อย่าลืมนะครับขณะนี้พื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมที่ได้ออกไปแล้วมีจำนวนหลายแสน ตารางกิโลเมตร บางสัมปทานในภาคเหนือครอบคลุมพื้นที่ 5-6 จังหวัดเลยทีเดียว ความจริงอำนาจอธิปไตยมันก็เคยเป็นของประชาชนจริงมาตลอดนั่นแหละครับ แต่ทันทีที่ลงนามสัญญาสัมปทานจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” เพราะรัฐบาลไทย (ในนามตัวแทนของรัฐ) ได้ยกกรรมสิทธิ์ดังกล่าวไปให้บริษัทเอกชนเสียนิ! คนไทยเราจึงเกิดอารมณ์ตามเนื้อร้องของเพลงดังว่า “น้องเขียนบรรยาย ถึงชายคนอื่น บอกว่าทนขมขื่น พี่กล้ำพี่กลืน น้ำตาไหลนอง” เพื่อความชัดเจนมากกว่านี้ ผมขอยกตัวอย่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ทั้งสองประเทศนี้เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน ปิโตรเลียมทั้งคู่ โดยเริ่มต้นจากระบบสัมปทานแบบเดียวกับประเทศเรานี่แหละครับ แต่ทันทีที่เขาได้รับเอกราช เขาขอแก้ไขสัญญาไปสู่ระบบการแบ่งปันผลผลิตโดยการเจรจาอย่างสันติ ไม่ได้ยึดคืนอย่างที่คนบางส่วนเข้าใจหรือกลัวกันไปเอง ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ เขาเขียนหลักการใหญ่ๆ สำคัญๆ เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น “เพื่อให้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน” จากนั้นก็ตามด้วยกฎหมายลูก เช่น ประเทศมาเลเซียมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาปิโตรเลียม 2517 (PETROLEUM DEVELOPMENT ACT 1974) แม้กระนั้นก็ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาปิโตรเลียมดังกล่าวนี้ ก็ยังไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องใช้ระบบสัญญาแบบใดในบรรดา 2-3 แบบที่มีการใช้กันในวงการอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เพราะเขาได้เปิดโอกาสให้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริง แต่ประเทศไทยเรากลับระบุตายตัวว่าจะต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น คำถามง่ายๆ ก็คือ หากมีปิโตรเลียมเหลืออยู่น้อยมาก ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการผลิตของบริษัทยักษ์ๆ แล้วเขาถอนตัวไป เราจะจัดการอย่างไรกับปิโตรเลียมที่เหลือซึ่งยังพอจะคุ้มค่าอยู่ จะทำสัญญารับจ้างบริการ (ซึ่งประเทศมาเลเซียใช้จัดการกับแปลงเล็กๆ) ก็ไม่ได้เพราะ พ.ร.บ.ค้ำคออยู่ แผนที่ข้างล่างนี้แสดงลักษณะสัญญาปิโตรเลียมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะเห็นว่ารอบๆ ประเทศไทยซึ่งทั้งหมดเคยเป็นประเทศเมืองขึ้นและเคยใช้ระบบสัญญาสัมปทานมา ก่อน แต่ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต (สีเขียว) ในขณะที่ประเทศไทย (สีเหลือง) ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ยังคงใช้ระบบสัมปทาน (หมายเหตุ สหรัฐอเมริกาใช้ระบบสัมปทานเพราะกฎหมายกำหนดให้ปิโตรเลียมเป็นของเจ้าของ ที่ดิน การเปลี่ยนมือของบริษัทจึงไม่เกิดปรากฏการณ์จดหมายผิดซอง) ในเรื่องปิโตรเลียม ผมมีข้อเสนอต่อ คสช. ดังนี้ 1. ขอให้สั่งการให้หยุดการเปิดสัมปทานรอบใหม่คือรอบที่ 21 เอาไว้ก่อน เพราะภาคประชาชนได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอด เรื่องปิโตรเลียมไม่ได้มีปัญหาเรื่องส่วนแบ่งรายได้ของรัฐน้อยเกินไปเพียง อย่างเดียว แต่หมายถึงอธิปไตยของชาติดังที่ได้กล่าวมาแล้วด้วย กรุณาอย่าให้เกิดการลักหลับเหมือนกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาแข่งซึ่งเป็น ที่มาของการประท้วง 2. เมื่อมีสภานิติบัญญัติแล้ว ควรเสนอให้มีการร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และ 2550 3. ผมรู้สึกดีใจที่ประธาน คสช.ได้พูดถึงพลังงานแสงแดดในการแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (30 พ.ค.) แต่ผมขอเรียนว่าเรื่องนี้มี 3 ประเด็น คือ (ก) การยกเลิกระเบียบกรมโรงงานที่เรียกว่า รง.4 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคา (ข) การจำกัดโควตาไว้ที่ 200 เมกะวัตต์ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะประเทศเยอรมนีซึ่งประสบผลสำเร็จมากที่สุดในโลกไม่มีโควตา ควรเปิดโอกาสให้ทุกหลังคาเรือน และ (ค) อัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ 6.96 บาทต่อหน่วยไฟฟ้านั้นน่าจะสูงเกินไป เพราะต้นทุนการติดตั้งได้ลดลงมาต่ำมากแล้ว จากข้อมูลเบื้องต้นของผมคิดว่าอัตรารับซื้อ 5 บาทต่อหน่วยก็น่าจะเหมาะสม 4. ภาพที่เห็นข้างล่างเป็นสวนผักของเกษตรกรรายหนึ่งในเมืองชิบะของประเทศ ญี่ปุ่น เขาติดแผงโซลาร์เซลล์บนสวนผัก นอกจากแผงนี้จะทำหน้าที่ลดแสงแดดให้ผักแล้วยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วย เจ้าของลงทุนติดแผงขนาด 34.4 กิโลวัตต์ ด้วยเงินลงทุนประมาณ 4 ล้าน 3 หมื่นบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 35,000 หน่วย (เฉลี่ยหนึ่งกิโลวัตต์ได้ไฟฟ้า 1,017 หน่วยต่อปี ในขณะที่ในรัฐคุชราตของอินเดียได้ 1,600 หน่วยเพราะแดดเข้มกว่า) ปรากฏว่าในปี 2556 เขาสามารถขายไฟฟ้าได้ 5.1 แสนบาท (ประมาณ 8 ปีจะได้ทุนคืน) ในขณะที่ขายผักได้เพียง 3.2 หมื่นบาทเท่านั้น (เพราะผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ที่เมืองฟูกุชิมะ) ที่เป็นดังนี้เพราะว่ารัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 13.56 บาท (ในขณะที่การไฟฟ้าขายไฟฟ้าในปี 2554) ได้หน่วยละประมาณ 8.32 บาท อ้อ ขอเพิ่มอีกนิดครับ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศเยอรมนี กว่าร้อยละ 84 เป็นการติดบนหลังคา โดยส่วนใหญ่เป็นบ้านของชาวนาและเอกชนขนาดเล็ก ในขณะที่การติดตั้งในประเทศไทยกว่าร้อยละ 95 เป็นการติดในโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่ในแวดวงของนักการเมือง นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าความอยู่ดีกินดี ของประชาชนนั้นขึ้น อยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญครับ คสช.ช่วยได้ไหม? ช่วยสลับจดหมายให้ตรงกับซองตามที่ควรจะเป็นเถอะครับ ถ้าทำได้แล้วประชาชนจะยกย่อง ทราบแล้วเปลี่ยนครับ
  9. Johnny Pereira 3 ชม. · ทอง Update The two Daily Bearish Reversals are 1240 and 1186. 2 แนวรับหลักคือ 1240 และ 1186 We are holding the 1240 level for now with a minor Daily Bullish forming at 1262 and 1294. ดูเหมือนว่าแนวรับที่ 1240 น่าจะรับอยู่ และน่าจะมีเด้ง แนวต้านอยู่ระดับ 1262 และ 1294 We see a turning point next week and the week of the 23rd. จุดเปลี่ยน (จุดทีจะแสดงทิศทางชัดเจน) คือสัปดาห์หน้า และ สัปดาห์ปลายเดือน We do not see the meltdown yet without a monthly closing below 1190 area. We also see tomorrow as a turning point in both silver and gold. เราเชื่อว่าจะยังไม่มีการลงแรงๆ ในช่วงนี้ จนกว่าราคาปิดของกราฟรายเดือนจะปิดต่ำกว่า 1190 นั่นแหละ วันนี้ (บทความออกเมื่อวาน 3/6/14) น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนในทั้งโลหะเงินและทอง (วันนี้น่าจะมีเด้ง เพราะลงมาหลายวันแล้ว) http://armstrongeconomics.com/2014/06/03/metals-update/
  10. พ.ร.บ.ปิโตรเลียมกับเพลง “จดหมายผิดซอง”: คสช.ช่วยได้ไหม? โดย ประสาท มีแต้ม 1 มิถุนายน 2557 22:48 น. ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปน่าจะเคยได้ยินเพลงลูกทุ่ง “จดหมายผิดซอง” ขับร้องโดยมนสิทธิ์ คำสร้อย เป็นเพลงที่ดังมากจนได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำเมื่อปี 2540 ดังนั้นคนรุ่น 30 ปีขึ้นไปจึงน่าจะโตพอที่จะจำความได้แล้ว แต่ก่อนจะเล่าต่อไป เพื่อเอาใจท่านผู้อ่านที่มีเวลาน้อย ผมขอเรียนสรุปไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลยว่า สาเหตุที่คนไทยต้องซื้อก๊าซหุงต้มในราคาแพงกว่าเจ้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ถึงเกือบสองเท่านั้นเกิดจากปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” ที่อยู่ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมนั่นแหละ นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยส่งน้ำมันดิบออกต่างประเทศปีละกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ทั้งๆ ที่มีการนำเข้าน้ำมันดิบจำนวนมาก รวมทั้งการส่งน้ำมันสำเร็จรูป (มูลค่าปี 2556 เกือบ 4 แสนล้านบาท) ในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทยที่หน้าโรงกลั่นก็เป็นเพราะปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” เช่นเดียวกัน กลับมาต่อกันที่เรื่องเพลงเดิมครับ เนื้อเพลงกล่าวถึงหนุ่มคนหนึ่งซึ่งได้รับจดหมายทางไปรษณีย์ของสาวที่เคย บอกว่ารักเขา เนื้อเพลงเริ่มต้นด้วยความรู้สึกที่แสนดีใจเพราะจำลายมือหน้าซองได้ แต่เมื่อเขาเปิดจดหมายออกมาอ่านกลับพบว่า “ซองนั้นเป็นของพี่ ซองนั้นเป็นของพี่ แต่จดหมายนี้สิเป็นของใคร บอกพี่หน่อยได้ไหม เธอเขียนถึงใคร กันหนอชอบกล ได้อ่านสำนวนจ๊ะจ๋า รู้ไหมน้ำตา ของพี่จะหล่น ยิ่งอ่าน ยิ่งช้ำสุดทน โถคน ละไม่น่าหลายใจ” ท่านผู้อ่านต้องสงสัยแน่นอนว่า แล้วเพลงจดหมายผิดซองนี้มันเกี่ยวอะไร พ.ร.บ.ปิโตรเลียม สาระสำคัญมันเหมือนกันเลยครับ ใน พ.ร.บ. ฉบับ 2514 ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ในมาตรา 23 บัญญัติว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่นต้องได้รับสัมปทาน” (พ.ร.บ.แร่ก็ทำนองเดียวกันครับ แต่ใช้คำว่า “ประทานบัตร” ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ Concession เพียงแต่เป็น Mining Concession) ถ้าเราอ่านเพียงผิวเผิน เราก็ยังสรุปไม่ได้หรอกครับว่า ความหมายของมาตรานี้มันเหมือนกับเพลง “จดหมายผิดซอง” อย่างไร จนกว่าเราจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัมปทาน” แต่ในตอนนี้เราพอจะสรุปได้ว่า แม้เราจะมีโฉนดที่ดินซึ่งเรามีสิทธิในการทำประโยชน์ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่ถ้าบังเอิญว่าใต้ที่ดินของเรามีทรัพยากรปิโตรเลียม กฎหมายนี้กำหนดว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของผู้เป็นเจ้าของโฉนด ในความเห็นของผมแล้ว ผมเห็นว่าการที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมแล้ว เพราะว่ารัฐหรือประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมกันเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้อง ที่ดินในโฉนดนี้เอาไว้ในนามของคนชาติเดียวกัน (คิดถึงเพลงชาติจังครับ!) ดังนั้นเมื่อเกิด “ลาภลอย” ขึ้นมา ผลประโยชน์ตรงนี้จึงควรจะตกเป็นของรัฐซึ่งก็คือประชาชนทุกคน ไม่ควรจะเป็นของเจ้าของโฉนด ในขณะที่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่า ถ้าอยู่ในโฉนดของเอกชน กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมก็เป็นของเอกชน การเปลี่ยนมือของเจ้าของที่ดินก็จะเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมไปด้วย แต่กรณีประเทศไทยไม่ใช่ครับ แม้ที่ดินจะเปลี่ยนมือแต่กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมยังคงเป็นของรัฐตลอดไป ดังนั้น บัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมจึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก จนสามารถเปล่งวาจาออกมาดังๆ ตามเพลงข้างต้นว่า “พี่แสนดีใจ…ว่าบังอรส่งถึงพี่ชาย” คือเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ แต่ปัญหามาอยู่ที่ว่า ผู้ใดจะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมจะต้องได้รับสัมปทาน แต่ที่น่าแปลกมากๆ ก็คือไม่มีคำนิยามหรืออธิบายใดๆ ว่าสัมปทานหมายถึงอะไร? ปล่อยให้คนเข้าใจเอาเองอย่างไม่ครบถ้วนและลึกซึ้งในสาระสำคัญที่ซ่อนอยู่ ผมเองได้ให้ความสนใจเรื่องปิโตรเลียมอย่างจริงจังมานานร่วม 20 ปี แต่ก็ไม่เคยตั้งคำถามถึงเพราะคิดเอาเองว่าตนเองเข้าใจแล้ว จนกระทั่งเมื่อได้มาร่วมทำรายงานของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ด้านพลังงาน วุฒิสภา จึงได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัมปทาน” จากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโททางนิติศาสตร์เรื่อง “การนำระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing) มาใช้ในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย” โดย สมบัติ พฤติพงศภัค (ปัจจุบันจบปริญญาเอกและเป็นผู้พิพากษา) ซึ่งผมตีความจากที่ท่านสรุปมาว่า “ระบบสัมปทานเป็นการให้สิทธิของลัทธิเมืองขึ้น” ตกใจใช่ไหมครับ! ในระบบสัมปทาน สาระสำคัญอยู่ที่ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียม ก่อนการทำสัญญา กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมเป็นของรัฐ แต่ทันทีที่รัฐบาลทำสัญญาในระบบสัมปทานกับบริษัทคู่สัญญาซึ่งส่วนมากเป็น บริษัทเอกชนต่างประเทศ กรรมสิทธิ์ดังกล่าวจะตกเป็นของบริษัททันที แม้ว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์จากการให้สัมปทาน แต่อำนาจหรือกรรมสิทธิ์ที่สะท้อนความเป็นเจ้าของแทบจะไม่เหลืออะไรเลย กรรมสิทธิ์ดังกล่าวสามารถแบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ (1) กรรมสิทธิ์ในเรื่องข้อมูลการสำรวจปิโตรเลียมซึ่งอาจต้องใช้เงินประมาณหลัก ร้อยล้านบาท ข้อมูลที่ได้เป็นของบริษัท บางบริษัทขายต่อสัมปทานไปในราคากำไร 4-5 พันล้านบาทโดยที่รัฐไม่ได้อะไรเลยในส่วนต่าง นอกจากรอเก็บค่าภาคหลวงเท่านั้น (2) กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมที่ขุดได้เป็นของบริษัทผู้รับสัมปทาน ดังนั้นบริษัทสามารถเลือกขายให้ใครก็ได้ เช่น กรณีก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ก่อนหน้านี้เกือบ 20 ปีติดต่อกัน ประเทศไทยเราเป็นผู้ส่งออกมาตลอด แต่เมื่อกิจการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีบูมขึ้น ก๊าซจึงขาดแคลน บริษัท ปตท. ซึ่งผูกขาดโรงแยกก๊าซ (และบังคับให้บริษัทรับสัมปทานขายก๊าซให้ ปตท. แต่เพียงผู้เดียว) จึงเลือกขายก๊าซแอลพีจีให้บริษัทลูกของตนเองในราคาประมาณ 17 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ส่วนที่เหลือจึงขายให้คนไทยและอุตสาหกรรมอื่นในราคา 31 บาทต่อกิโลกรัม จริงอยู่มีการกำหนดเงื่อนไขบางอย่างในการขายไว้ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมด้วย แต่เป็นเงื่อนไขที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ เช่น “ในกรณีที่น้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรมีปริมาณถึงสิบเท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักร” แล้วมันเคยเกิดขี้นบ้างไหม? เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ผมลองสมมติสถานการณ์ว่า ถ้าหากมีความต้องการก๊าซหุงต้มจำนวนมากในประเทศเพื่อนบ้านและมีราคาสูงกว่า ราคาบ้านเราพอสมควร ด้วยระบบกรรมสิทธิ์ของระบบสัมปทาน ผมรับรองว่าคนไทยจะไม่ได้ใช้ เพราะไม่มีมาตราใดเลยที่ระบุว่าต้องขายให้คนไทยอย่างทั่วถึงก่อน (3) สิทธิในอุปกรณ์การผลิต เช่น แท่นเจาะเป็นของผู้รับสัมปทาน เมื่อครบอายุสัญญา จึงเป็นไปโดยปริยายว่าจะต้องต่อสัญญาให้บริษัทเดิม ไม่ว่ารัฐจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม ในทางตรงกันข้าม ยังมีระบบสัญญาอีกหลายแบบ เช่น ระบบการแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing) ระบบรับจ้างบริการ (Service Contract) เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาตรงกันข้ามกับระบบสัมปทานในประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ กล่าวคือสิทธิความเป็นเจ้าของปิโตรเลียมที่ขุดแล้วยังเป็นของรัฐ จะขายหรือไม่ขายให้ใครก็เป็นสิทธิของรัฐ ในกรณีการแบ่งปันผลผลิตรัฐมีอำนาจควบคุมให้บริษัทดำเนินการตามที่รัฐต้องการ คู่สัญญาเพียงแต่ดำเนินการในนามของรัฐเท่านั้น บริษัทจะได้ส่วนแบ่งผลผลิตตามสัญญาเท่านั้น ในระบบสัมปทานเป็นระบบที่ทำให้รัฐ (ซึ่งอ้างตนว่าเป็นเจ้าของปิโตรเลียมตามกฎหมาย) ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยของตนเอง ในแผ่นดินของตนเอง ให้กับบริษัทต่างชาติ เพราะทันที่มีการลงนามในสัญญาสิทธิใน 3 ข้อข้างต้นของตนก็หมดลงทันที มีสิทธิอย่างเดียวคือ การนั่งรอเก็บค่าภาคหลวง (เดิมร้อยละ 12 แล้วแก้ไขเป็นร้อยละ 5-15 แต่เก็บได้จริงแค่ 12.3%) และภาษีเงินได้ อำนาจในการควบคุมของรัฐได้หมดไปแล้ว สมมติว่าราคาปิโตรเลียมลดลง บริษัทรับสัมปทานอาจจะหยุดการผลิตก็ได้ทั้งๆ โรงไฟฟ้ากำลังอ้าปากรอจะกินก๊าซอยู่ หรือในกรณีที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำแต่ราคาปิโตรเลียมในตลาดโลกสูง บริษัทก็จะถือโอกาสเร่งผลิตเพื่อส่งออก ทั้งๆ ที่เราควรจะเก็บไว้ในหลุมเพื่อให้ลูกหลานในอนาคต แต่ก็ทำไม่ได้ หรือหากรัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงินมาทำโครงการเร่งด่วน รัฐก็ไม่มีสิทธิที่จะไปสั่งการบริษัทให้ผลิตเพิ่มได้ หรือหากรัฐมีนโยบายจะลดการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติสัก 10% แล้วหันไปใช้พลังงานแสงแดดซึ่งเรามีมากก็ทำไม่ได้ เพราะรัฐได้หมดสิทธิในการสั่งการไปตั้งแต่วันลงนามสัญญาสัมปทานแล้ว นี่หรือครับที่เขาเรียกว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย อย่าลืมนะครับขณะนี้พื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมที่ได้ออกไปแล้วมีจำนวนหลายแสน ตารางกิโลเมตร บางสัมปทานในภาคเหนือครอบคลุมพื้นที่ 5-6 จังหวัดเลยทีเดียว ความจริงอำนาจอธิปไตยมันก็เคยเป็นของประชาชนจริงมาตลอดนั่นแหละครับ แต่ทันทีที่ลงนามสัญญาสัมปทานจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” เพราะรัฐบาลไทย (ในนามตัวแทนของรัฐ) ได้ยกกรรมสิทธิ์ดังกล่าวไปให้บริษัทเอกชนเสียนิ! คนไทยเราจึงเกิดอารมณ์ตามเนื้อร้องของเพลงดังว่า “น้องเขียนบรรยาย ถึงชายคนอื่น บอกว่าทนขมขื่น พี่กล้ำพี่กลืน น้ำตาไหลนอง” เพื่อความชัดเจนมากกว่านี้ ผมขอยกตัวอย่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ทั้งสองประเทศนี้เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน ปิโตรเลียมทั้งคู่ โดยเริ่มต้นจากระบบสัมปทานแบบเดียวกับประเทศเรานี่แหละครับ แต่ทันทีที่เขาได้รับเอกราช เขาขอแก้ไขสัญญาไปสู่ระบบการแบ่งปันผลผลิตโดยการเจรจาอย่างสันติ ไม่ได้ยึดคืนอย่างที่คนบางส่วนเข้าใจหรือกลัวกันไปเอง ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ เขาเขียนหลักการใหญ่ๆ สำคัญๆ เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น “เพื่อให้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน” จากนั้นก็ตามด้วยกฎหมายลูก เช่น ประเทศมาเลเซียมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาปิโตรเลียม 2517 (PETROLEUM DEVELOPMENT ACT 1974) แม้กระนั้นก็ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาปิโตรเลียมดังกล่าวนี้ ก็ยังไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องใช้ระบบสัญญาแบบใดในบรรดา 2-3 แบบที่มีการใช้กันในวงการอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เพราะเขาได้เปิดโอกาสให้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริง แต่ประเทศไทยเรากลับระบุตายตัวว่าจะต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น คำถามง่ายๆ ก็คือ หากมีปิโตรเลียมเหลืออยู่น้อยมาก ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการผลิตของบริษัทยักษ์ๆ แล้วเขาถอนตัวไป เราจะจัดการอย่างไรกับปิโตรเลียมที่เหลือซึ่งยังพอจะคุ้มค่าอยู่ จะทำสัญญารับจ้างบริการ (ซึ่งประเทศมาเลเซียใช้จัดการกับแปลงเล็กๆ) ก็ไม่ได้เพราะ พ.ร.บ.ค้ำคออยู่ แผนที่ข้างล่างนี้แสดงลักษณะสัญญาปิโตรเลียมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะเห็นว่ารอบๆ ประเทศไทยซึ่งทั้งหมดเคยเป็นประเทศเมืองขึ้นและเคยใช้ระบบสัญญาสัมปทานมา ก่อน แต่ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต (สีเขียว) ในขณะที่ประเทศไทย (สีเหลือง) ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ยังคงใช้ระบบสัมปทาน (หมายเหตุ สหรัฐอเมริกาใช้ระบบสัมปทานเพราะกฎหมายกำหนดให้ปิโตรเลียมเป็นของเจ้าของ ที่ดิน การเปลี่ยนมือของบริษัทจึงไม่เกิดปรากฏการณ์จดหมายผิดซอง) ในเรื่องปิโตรเลียม ผมมีข้อเสนอต่อ คสช. ดังนี้ 1. ขอให้สั่งการให้หยุดการเปิดสัมปทานรอบใหม่คือรอบที่ 21 เอาไว้ก่อน เพราะภาคประชาชนได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอด เรื่องปิโตรเลียมไม่ได้มีปัญหาเรื่องส่วนแบ่งรายได้ของรัฐน้อยเกินไปเพียง อย่างเดียว แต่หมายถึงอธิปไตยของชาติดังที่ได้กล่าวมาแล้วด้วย กรุณาอย่าให้เกิดการลักหลับเหมือนกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาแข่งซึ่งเป็น ที่มาของการประท้วง 2. เมื่อมีสภานิติบัญญัติแล้ว ควรเสนอให้มีการร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และ 2550 3. ผมรู้สึกดีใจที่ประธาน คสช.ได้พูดถึงพลังงานแสงแดดในการแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (30 พ.ค.) แต่ผมขอเรียนว่าเรื่องนี้มี 3 ประเด็น คือ (ก) การยกเลิกระเบียบกรมโรงงานที่เรียกว่า รง.4 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคา (ข) การจำกัดโควตาไว้ที่ 200 เมกะวัตต์ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะประเทศเยอรมนีซึ่งประสบผลสำเร็จมากที่สุดในโลกไม่มีโควตา ควรเปิดโอกาสให้ทุกหลังคาเรือน และ (ค) อัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ 6.96 บาทต่อหน่วยไฟฟ้านั้นน่าจะสูงเกินไป เพราะต้นทุนการติดตั้งได้ลดลงมาต่ำมากแล้ว จากข้อมูลเบื้องต้นของผมคิดว่าอัตรารับซื้อ 5 บาทต่อหน่วยก็น่าจะเหมาะสม 4. ภาพที่เห็นข้างล่างเป็นสวนผักของเกษตรกรรายหนึ่งในเมืองชิบะของประเทศ ญี่ปุ่น เขาติดแผงโซลาร์เซลล์บนสวนผัก นอกจากแผงนี้จะทำหน้าที่ลดแสงแดดให้ผักแล้วยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วย เจ้าของลงทุนติดแผงขนาด 34.4 กิโลวัตต์ ด้วยเงินลงทุนประมาณ 4 ล้าน 3 หมื่นบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 35,000 หน่วย (เฉลี่ยหนึ่งกิโลวัตต์ได้ไฟฟ้า 1,017 หน่วยต่อปี ในขณะที่ในรัฐคุชราตของอินเดียได้ 1,600 หน่วยเพราะแดดเข้มกว่า) ปรากฏว่าในปี 2556 เขาสามารถขายไฟฟ้าได้ 5.1 แสนบาท (ประมาณ 8 ปีจะได้ทุนคืน) ในขณะที่ขายผักได้เพียง 3.2 หมื่นบาทเท่านั้น (เพราะผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ที่เมืองฟูกุชิมะ) ที่เป็นดังนี้เพราะว่ารัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 13.56 บาท (ในขณะที่การไฟฟ้าขายไฟฟ้าในปี 2554) ได้หน่วยละประมาณ 8.32 บาท อ้อ ขอเพิ่มอีกนิดครับ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศเยอรมนี กว่าร้อยละ 84 เป็นการติดบนหลังคา โดยส่วนใหญ่เป็นบ้านของชาวนาและเอกชนขนาดเล็ก ในขณะที่การติดตั้งในประเทศไทยกว่าร้อยละ 95 เป็นการติดในโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่ในแวดวงของนักการเมือง นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าความอยู่ดีกินดีของประชาชนนั้นขึ้น อยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญครับ คสช.ช่วยได้ไหม? ช่วยสลับจดหมายให้ตรงกับซองตามที่ควรจะเป็นเถอะครับ ถ้าทำได้แล้วประชาชนจะยกย่อง ทราบแล้วเปลี่ยนครับ
  11. วันนี้ เรามารู้จักทองเคกันครับ เป็นนักลงทุนในทองคำแล้วไม่รู้จักทองเคก็ดูจะเสียฟอร์มนะครับ นิยามสั้นๆของทองเค ก็คือ การกำหนดคุณภาพของทองคำโดยใช้หน่วยเรียกเป็นกะรัต โดยตัวเลขที่อยู่หน้าอักษร k คือสิ่งที่บอกความบริสุทธิ์ของทองชิ้นนั้นๆ หน่วยที่เราคุ้นเคยมากที่สุดคือร้อยละหรือ%(เทียบจาก100ส่วน) สำหรับทองคำซึ่งมีหน่วยเป็นKarat(โดยเทียบจาก24ส่วน) 1)ทอง24k หมายความว่าใน24ส่วนมีทองคำ24 ส่วน ถ้าจะเทียบเป็น% ก็จะได้ทองคำ100%โดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์ตามนี้ครับ ใน24ส่วน มีทองคำ24ส่วน ใน100ส่วนมีทองคำเท่ากับ 100*24/24 = ทองคำ100% 2)ทอง21K ใน24 ส่วน มีทองคำ 21 ส่วน ใน100ส่วนมีทองคำเท่ากับ 100*21/24 =ทองคำ 87.50% อยากรู้ว่าทองคำกี่เคเท่ากับทองคำกี่% ก็เทียบบัญญัติไตรยางค์เอาเลยครับ อะไรพอเข้าใจก็จะง่ายครับ
  12. Goosoogong 7 ชม. LPG แพงเพราะอะไร 1. LPG จากโรงแยกก๊าซมีราคาถูกกว่า โรงกลั่นน้ำมัน เพราะใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยทั้งหมดมาแยก ส่วนโรงกลั่นน้ำมันมีราคาอิงตลาดโลก 76% และก๊าซ LPG นำเข้าราคาอิงตลาดโลก 100% ปตท. ต้องการให้ LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง(ครัวเรือน ขนส่ง อุตสาหกรรมทั่วไป) ใช้ราคาอิงตลาดโลกทั้งหมด เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด (แต่ใช้ข้ออ้างเรื่องปัญหาการลักลอบใช้ข้ามประเภทและข้ามประเทศมาบังหน้า) จึงค่อยๆผลักดันผ่านรัฐบาลให้ปรับราคาทีละขั้น 2. กลุ่มธุรกิจพลังงานต้องการได้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซให้อุตสาหกร รมปิโตรเคมีใช้ทั้งหมด จึงผลักดันผ่านเป็นมติ ครม. เมื่อปี 2551 สมัยสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ปิโตรเคมีได้ใช้ก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศก่อนร่วมกับภาคครัวเรือน เมื่อเหลือค่อยให้กลุ่มอื่นใช้ ไม่พอให้นำเข้า แล้วให้กลุ่มอื่นรับภาระเอง ปัจจุบันปิโตรเคมี ใช้ LPG มากขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง หากเทียบปริมาณการใช้ LPG ของปิโตรเคมีกับการผลิต LPG จากโรงแยกก๊าซ พบว่ามากถึง 70% ทำให้ผู้ใช้กลุ่มอื่นต้องถูกไล่ไปใช้ LPG จากโรงกลั่นน้ำมันและจากการนำเข้าแทน ทั้งๆที่ประชาชนเป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมที่แท้จริง นโยบายการจัดสรรก๊าซ LPG และนโยบายการปรับขึ้นราคา LPG ที่นักวิชาการ ข้าราชการสมุนธุรกิจพลังงานกำลังผลักดัน ให้อิงราคาตลาดโลก จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นการปล้นทรัพยากรปิโตรเลียมอีกทางหนึ่ง
  13. อ่านข้อมูลส่วนนี้กับ บทความของท่านรสนา โตสิตระกูลอดีตส.ว กทม. น่าจะทำให้เข้าใจได้มากขึ้น รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว กทม. โพสเรื่องพลังงานวันที่25/05/2557 มีข่าวร่ำลือออกมาว่าคสช.อาจจะพิจารณาลดราคาน้ำมันลงไป30% แต่การรีบลดราคาโดยไม่ได้เข้าไปแก้ไขโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่ข้าราชการในกระทรวงพลังงานที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจพลังงานได้ผูกไว้หลายชั้น จะทำให้การลดราคาน้ำมันเป็นเพียงการทำโปรโมชั่นประชานิยมแบบชั่วครั้งชั่ว คราวเท่านั้น สิ่งที่คสช.สามารถทำได้ทันทีเพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชนคนหาเช้ากินค่ำ คือการยกเลิกการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มซึ่งจะทำได้ทันทีโดยไม่มีผลกระทบต่อโครง สร้างราคาส่วนอื่น รัฐบาลที่แล้วได้ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มมาตั้งแต่เดือนกันยายน2556 โดยทะยอยปรับขึ้นราคาเดือนละ.50บาท/กิโลกรัม ทำให้ราคาก๊าซหุงต้มต่อถัง15กิโลกรัมในขณะนี้ มีราคาตั้งแต่ 350-390บาท เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาอาหารและค่าครองชีพปรับสูงขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย ที่กล่าวว่าการยกเลิกการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มให้กลับมาที่ราคาเดิมคือราคาถัง ละ290-300บาท ไม่กระทบโครงสร้างอื่น เพราะเงินที่กระทรวงพลังงานเก็บเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มนั้น กระทรวงพลังงานได้นำมาเก็บไว้ในกองทุนน้ำมัน โดยอ้างว่าเพื่อจะได้ลดภาระการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากผู้ใช้น้ำมัน เบนซิน แต่ข้ออ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงเพราะปัจจุบันมีการเก็บเงินเข้ากองทุน น้ำมันจากผู้ใช้น้ำมันเบนซิน95 เพิ่มจากเดิมลิตรละ7บาทเป็นลิตรละ10บาทในขณะนี้ ปตท.เคยออกมาให้ข่าวว่าปตท.ไม่ได้รับเงินค่าก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นจากการปรับ ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มของกระทรวงพลังงานในขณะนี้ ดังนั้นเงินที่เก็บเพ่ิมขึ้นจากผู้ใช้ก๊าซหุงต้มจึงถูกนำไปกองอยู่ในกองทุน น้ำมัน ซึ่งเป็นกองทุนที่ผิดกฎหมายตามที่คณะกรรมการผู้ตรวจการแผ่นดินได้ตรวจสอบ แล้ว เงินจากกองทุนน้ำมันถูกนำไปชดเชยก๊าซหุงต้มที่มาจากโรงกลั่นน้ำมัน และชดเชยการนำเข้าก๊าซโพรเพน และบิวเทนที่นำไปใช้โดยตรงได้เลยในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แต่อ้างว่านำก๊าซทั้ง2ชนิดมาผสมเป็นก๊าซแอลพีจีหรือที่เรียกว่าก๊าซหุงต้มมา ขายประชาชนในราคาอุดหนุนที่รัฐบาลกำหนดให้มีราคาต่ำกว่าต้นทุนของโรงกลั่น และราคานำเข้า จึงต้องเอาเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชย ทั้งที่ปริมาณก๊าซหุงต้มที่ผลิตจากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซทั้ง6โรงมีปริมาณ เกินพอสำหรับภาคครัวเรืิอน แต่นโยบายที่รัฐบาลสมัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กำหนดขึ้นใหม่เพื่อให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาใช้ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี จากโรงแยกก๊าซได้ก่อนร่วมกับภาคครัวเรือน และกำหนดว่าถ้ามีก๊าซแอลพีจีเหลืออยู่จากโรงแยกก๊าซ หลังจากที่ปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนใช้ ค่อยให้ภาคยานยนต์และภาคอุตสาหกรรมอื่นใช้ ถ้าไม่พอใช้ก็ให้นำเข้าจากต่างประเทศและเอาเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชย ปริมาณก๊าซแอลพีจีที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซที่มาจากอ่าวไทย มีปริมาณ3.5ล้านตันต่อปี ภาคครัวเรือนของประชาชน65ล้านคนใช้ก๊าซหุงต้มเพียง 2.6ล้านตันต่อปี ถ้ารัฐบาลกำหนดนโยบายให้ภาคครัวเรือนได้ใช้ก๊าซหุงต้มที่ผลิตได้จากโรงแยก ก๊าซในประเทศก่อนผู้ใช้กลุ่มอื่น ก็มีปริมาณเพียงพอสำหรับประชาชน 65ล้านคนในภาคครัวเรือน โดยไม่ต้องไปใช้ก๊าซนำเข้าที่มีราคาแพงกว่าของผลิตเองในประเทศ ซึ่งการที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรจากแผ่นดินที่บรรพบุรุษของตนมีส่วน ในการต่อสู้ ได้เสียเลือดเนื้อเพื่อปกป้องแผ่นดินนี้ไว้ สมควรจะได้รับการดูแลจากรัฐบาลก่อนธุรกิจเอกชนอื่นที่มุ่งแสวงหากำไรเพื่อ องค์กรของตัวเอง ปริมาณก๊าซแอลพีจีจากทรัพยากรของเราเองในอ่าวไทยมีเพียงพอสำหรับภาคครัว เรือนโดยไม่ต้องมาขึ้นราคากับประชาชนคนส่วนใหญ่ แต่จะไม่เพียงพอเมื่อเอาปิโตรเคมีมาใช้ร่วมด้วยในโรงแยกก๊าซก่อนผู้ใช้กลุ่ม อื่นเพราะปิโตรเคมีกินจุ กินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงระยะ 5-6ปี ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้น1.5ล้านตัน แต่ใช้ราคาถูกกว่าผู้ใช้กลุ่มอื่น ก๊าซแอลพีจีจากโรงแยกก๊าซที่เหลือจากการใช้ของภาคครัวเรือน สามารถจัดสรรให้ผู้ใช้กลุ่มอื่นในราคาที่เหมาะสม แต่ถ้าต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจี เพราะปริมาณไม่พอใช้ ก็ควรให้ภาคปิโตรเคมีและภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นธุรกิจแสวงหากำไรไปรับผิดชอบ ราคาที่นำเข้าเอง ก็จะไม่ต้องมาขึ้นราคาก๊าซหุงต้มกับคนรายได้น้อยที่อยู่ในภาคครัวเรือน อีกประการหนึ่งการใช้กองทุนน้ำมันมาชดเชยก๊าซแอลพีจีจากการนำเข้า และแอลพีจีจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศตั้งแต่ปี 2551-2555 มีมูลค่ารวมสูงถึง 84,941 ล้านบาท หากนำเม็ดเงินจากกองทุนน้ำมันที่เอาไปชดเชยการนำเข้าก๊าซแอลพีจี เปลี่ยนมาสร้างโรงแยกก๊าซในประเทศเเทน น่าจะได้โรงแยกก๊าซเพิ่มอีก 2-3โรง การมีโรงแยกก๊าซเพิ่มจะทำให้สามารถรองรับก๊าซดิบจากอ่าวไทยที่ยังเหลืออยู่ จำนวนมาก แต่เพราะมีโรงแยกก๊าซไม่พอ ทำให้ต้องเอาก๊าซดิบไปเผาทิ้งในโรงไฟฟ้า โดยไม่แยกก๊าซแอลพีจีออกมาก่อน เปรียบเหมือนเอาไม้สักที่ปนอยู่กับเศษไม้ไปเผาทิ้งอย่างน่าเสียดาย ลองดูโรงแยกก๊าซ4โรงที่สร้างจากเงินภาษีของประชาชน ตอนแปรรูปปตท.ถูกตีมูลค่าเพียง 3,212ล้านบาทเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือทำกำไรให้กับกลุ่มทุนพลังงานแทนที่จะเป็นไป เพื่อประโยชน์ของประชาชน รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว กทม. 25พฤษภาคม2557
  14. แก้ กฎที่เอื้อประโยชน์แบบไม่ชอบธรรมแค่3ข้อเท่านั้น กองทุนน้ำมันและประชาชนจะได้เงินคืนกลับมาไม่ต่ำกว่า1แสนล้านบาทเลยครับ 1)คนที่มีอายุเกิน30 น่าจะคุ้นว่าสมัยก่อน เมื่อมีการปรับราคาน้ำมันจะต้องมีการตรวจสต็อคน้ำมันทั่วประเทศ สมัยนั้นเมื่อปรับราคาทีตำรวจในแต่ละพื้นที่จะต้องตรวจสต็อคน้ำมันแล้ว รายงานส่วนกลาง(ส่วนต่างของราคาที่ประกาศของจำนวนน้ำมันที่เหลือในสต็อคผู้ ประกอบการต้องส่งคืนรัฐ) สมัยนี้ไม่ทำเหมือนเดิม ส่วนนี้เอื้อประโยชน์เอกชนใน1ปีไม่น่าจะน้อยกว่า1หมื่นล้านบาทครับ ประเทศเราใช้น้ำมันประมาณ50,000ล้านลิตรต่อปี ตกเฉลี่ยวันละ130ล้านลิตร เวลาน้ำมันตลาดโลกขึ้นแล้วมีประกาศปรับราคาในประเทศ1บาท ถ้าสต็อคน้ำมันสำเร็จรูปราคาเก่าเขามีค้างอยู่7วัน เขาจะได้ผลต่างส่วนนี้เพิมอีก910ล้านบาททันที(แล้วกำไรจากสต็อคน้ำมันดิบอีก ละ) แต่เวลาน้ำมันลดราคาเขาจะลดช้ามากอ้างว่ายังมีสต็อคน้ำมันราคาเก่าอยู่ บางครั้งสต็อคเก่าหมดแล้วเขาก็ยังขายราคาสูงเหมือนเดิม ทั้งที่ขายน้ำมันสต็อคใหม่ กรณีประกาศช้าเขาจะได้ผลประโยชน์130ล้านบาท/ราคาที่ปรับลง1บาท กฎหมายของประเทศกำหนดให้โรงกลั่นน้ำมันต้องเก็บสำรองน้ำมันดิบไม่น้อย กว่า 5% ของยอดผลิต และเก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูปไม่น้อยกว่า 5% ของยอดขาย แสดงว่าประเทศเรามีสต็อคน้ำมันทั่วประเทศในส่วนน้ำมันดิบ15วันและสำเร็จ รูป15วัน แต่จะเห็นว่าเวลาน้ำมันตลาดโลกขึ้นเพียงไม่กี่วันเขาประกาศขึ้นราคาแล้ว แบบนี้ไงถึงกำไรมากมาย กำไรส่วนนี้ควรส่งเข้ากองทุนน้ำมันเพื่อดูแลราคาแก๊สราคาน้ำมัน โดยไม่ต้องมารบกวนประชาน 2)สมัยที่คุณโสภณ สุภาพงษ์ดูแลราคาพลังงานของประเทศ ช่วงนั้นเรากำหนดราคาหน้าโรงกลั่นเท่ากับราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์เท่านั้น หลังจากแปรรูปการปตท.ไม่นาน คณะกรรมการนโยบายพลังงาน(นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน)แก้ไขให้อิงราคา สิงคโปร์(ราคาหน้าโรงกลั่นสิงค์โปร์+ค่าขนส่ง+ค่าสูญเสียระหว่างการขน ส่ง+ค่าประกันความเสียหาย) แล้วเสนอให้คณะรัฐมนตรีเซ็นอนุมัติ 555 สิ่งที่เกิดคือคนไทยจ่ายราคาน้ำมันแพงขึ้นอีกลิตรละประมาณ1.50บาท ส่วนนี้โรงกลั่นกำไรเพิ่มมหาศาล ประเทศเราใช้น้ำมันสำเร็จรูปประมาณ50,000ล้านลิตรต่อปี ใน1ปีโรงกลั่นกำไรเพิ่มประมาณ75,000ล้านบาทต่อปี ส่วนนี้ควรลดให้ประชาชนประชาชนควรซื้อน้ำมันถูกลง สิงคโปร์เขามีแค่โรงกลั่นน้ำมัน แต่เขาไม่มีการขุดเจาะน้ำมันในประเทศเข า เขานำเข้าน้ำมันดิบ100%ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์เป็นราคาที่คิดค่าขนส่งแล้วนะครับ ประเทศไทยมีน้ำมันบางส่วนที่ผลิตได้ ส่วนที่กลั่นในโรงกลั่นของเราได้ส่วนนี้ค่าขนส่งน้ำมันดิบไม่ต้องเสีย(ปี2556 ไทยนำเข้าน้ำมันดิบ ประมาณวันละ 872,000 บาร์เรลต่อวัน ไทยผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 139,619 บาร์เรลต่อวัน ไทยส่งออกน้ำมันดิบประมาณ 12,608แสดงว่าน้ำมันดิบประมาณ1แสนบาร์เรลต่อวันไม่มีค่าขนส่งในส่วนน้ำมัน ดิบ ส่วนนี้โรงกลั่นกำไรค่าขนส่ง2ต่อเลยนะ) ค่าขนส่งจากแหล่งขุดเจาะมาเมืองไทยหรือหรือสิงค์โปร์อย่างมากก็ต่างกันนิดหน่อย แต่ราคาที่เขาตั้งคือเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ซึ่งรวมค่าขนส่งตอนเป็นน้ำมันดิบไปแล้ว มาเริ่มคิดค่าใช้จ่ายในการนำลงเรือใหม่ + การเดินทางมาประเทศไทย+ ค่าขนเข้าโรงกลั่น +ค่าประกันความเสียหาย+ค่าสูญเสียระหว่างขนส่ง โขมยเงินจากกระเป๋าประชาชนเห็นๆปีนึงไม่มากมายแค่เกือบแสนล้านเอง 3)เมื่อ3-4ปีก่อนเราจะได้ยินข่าวว่ากองทุนน้ำมันติดลบก็ต่อเมื่อราคาน้ำมัน พุ่งแรงและมีราคาที่สูงอยู่นาน แต่ทำไมช่วงนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกราคาก็ทรงๆ แต่มีข่าวกองทุนน้ำมันติดลบบ่อยมาก เงินกองทุนน้ำมันหายไปได้อย่างไร ใครล้วงเอาเงินกองทุนน้ำมันของพวกเราไป ไอ้โม่งคือกลุ่มปิโตรเคมีครับ หากย้อนไปในปี 2538 นอกจากไทยไม่ต้องนำ�เข้า LPG แล้วยังเป็นผู้ส่งออก LPG ติดต่อกันถึง 13 ปี ตั้งแต่ปี 2538-2550 แต่เมื่อความ ต้องการใช้ LPG ภายในประเทศไม่เพียงพอและเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยจึงกลายเป็นผู้นำ�เข้า LPG ตั้งแต่เมษายน 2551 เป็นต้นมา ข้อมูลใน ปี2550 จะพบว่ากลุ่มปิโตรเคมีใช้LPG750,000ตัน ปี2550เป็นปีสุดท้ายที่เรามีการส่งออกLPG ปี2554กลุ่มปิโตรเคมีมีการใช้LPGประมาณ 2,700,000ตัน(เพิ่มจากเดิมมากกว่า200%) ปริมาณLPGที่เราผลิตได้นั้น เพียงพอสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง ภาคครัวเรือน ถ้าเราต้องนำเข้าLPG 1.5ล้านตันต่อปี ที่ราคา 1,001 เหรียญสหรัฐ/ตัน (ต.ค. 55) ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำ�หน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญสหรัฐ/ตัน) จะต้องมีเงินชดเชย (1001-333)*1,500,000*32(ให้1เหรียญเท่ากับ32บาท) = 32,064ล้านบาท ถ้าคิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งLPGเข้ามาในประเทศอีกจะสูงกว่านี้อีกครับ เงินส่วนนี้กองทุนน้ำมันรับภาระในการจ่ายครับปิโตรเคมีเป็นเอกชนนะครับ ที่คุ้นๆไม่มีบริษัทไหนเป็นรัฐวิสาหกิจเลย เขาซื้อวัตถุดิบในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาดมากมาย แต่มื่อผลิตแล้วขายสินค้าที่ผลิตได้ตามราคาตลาด งานนี้ปิโตรเคมีกำไรมากมาย ****แก้กฎที่เอื้อประโยชน์แบบไม่ชอบธรรมแค่3ข้อเท่านั้น กองทุนน้ำมันและประชาชนจะได้เงินคืนกลับมาไม่ต่ำกว่า1แสนล้านบาทเลยครับ***
  15. Thanong Fanclub 2. เฟดจอมหลอกลวง มี บางประเทศขายพันธบัตรสหรัฐฯแบบเทกระจาดออกไป$104,000ล้านภายใน1อาทิตย์ (ซึ่งน่าจะเป็นรัสเซียหรือจีน) ทำให้เฟดต้องเข้าไปอุ้มซื้ออย่างลับๆล่อๆ การ ขายครั้งนี้ไม่ได้ทำผ่านระบบเคลียริ่งของเฟด (National Book-Entry System) เพราะเฟดทำหน้าที่ดูแลบัญชีพันธบัตรสหรัฐฯ (custodian service)ให้ธนาคารกลางหรือกองทุนมั่งคั่งของประเทศต่างๆด้วย แต่ผู้ที่เทกระจาดขายพันธบัตรสหรัฐฯอย่างมโหฬารครั้งนี้ถอนพันธบัตรออก จากcustodian serviceของเฟด แล้วก็ไปขายผ่านระบบเคลียริ่งธนบัตรของยุโรป (Euroclear Securities Clearing System) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม เรา ยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไม หรือเป็นใครกันแน่ รู้แต่ว่ามีการถอนพันธบัตรสหรัฐฯ$104,000ล้าน มีการขายพันธบัตรจำนวนนี้ออกไป มีจำนวนพันธบัตรนี้ในคัสโตเดียนของเฟดลดลง มีการเพิ่มการถือพันธบัตรของเบลเยี่ยมอย่างอธิบายไม่ได้ และท้ายที่สุดพันธบัตรนี้กลับมาโผล่ที่บัญชีคัสโตเดียนของเฟดอีกครั้ง วนไปมาครึ่งโลกกว่าจะกลับมาที่เฟด เหตุผลเพราะอะไร? thanong 14/5/2014 Thanong Fanclub 2 ชั่วโมงที่แล้ว 3. เฟดจอมหลอกลวง ทำไมเฟดถึงทำกลลวงอัฐยายซื้อขนมยายเช่นนี้ คำ ตอบคือ เฟดตระหนักดีว่าการทำQEเพื่ออุ้มงบดุลของแบงค์ อุ้มการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ และอุ้มภาระดอกเบี้ยของทั้งระบบการเงิน จะสร้างแรงกดดันให้เงินดอลล่าร์ต้องอ่อนตัวลง เพื่อที่จะสร้างภาพลวงตาให้มีความเชื่อมั่นในค่าดอลล่าร์ เฟดประกาศนโยบายtaper คือจะค่อยลดการซื้อพันธบัตรลงไป และหยุดการพิมพ์เงินผ่านQE ภาพ ที่ปรากฎออกมาว่ารัฐบาลต่างประเทศจะไม่ยอมอุ้มพันธบัตรสหรัฐฯต่อไปจะทำให้ ตลาดการเงินตกใจ ในขณะที่เฟดต้องการให้ตลาดการเงินรู้สึกมั่นใจกับดอลล่าร์ การเทขายพันธบัตรจำนวน$104,000ล้านนับมากโขอยู่ และถ้าผู้ขายเป็นผู้ถือพันธบัตรสหรัฐฯรายใหญ่ จะส่งสัญญานว่าการขายล๊อตใหญ่อาจจะตามมาอีก เฟด เลยจำเป็นต้องปิดบังข้อมูลว่าใคร หรือประเทศใดเป็นผู้ขายพันธบัตรสหรัฐฯล๊อตนี้ เพราะถ้ามีอาการตกใจในตลาดบอนด์มีการเทขายขึ้น ดอกเบี้ยจะสูงขึ้น และจะสร้างภาระหนี้ให้ระบบการเงินสหรัฐฯ เพื่อที่จะเลี่ยงวความเสี่ยงของดอกเบี้ยสูงขึ้นนี้ เฟดเลยต้องเข้าไปอุ้มหรือซื้อพันธบัตรที่ถูกขายออกไปกลับเข้ามา เฟด เลยอยู่ในสภาพที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก เพราะว่าการเพิ่มQEจะทำให้ตลาดตกใจทิ้งดอลล่าร์ แต่จะทำอย่างไรได้ เฟดต้องขี่หลังเสือ และเล่นมายากลทางการเงินต่อไปจนกว่าจะเรียกแขกไม่ได้อีก thanong 14/5/2014 http://www.thedailybell.com/.../Paul-Craig-Roberts.../...
  16. Thanong Fanclub ถูกใจแล้ว · วันนี้ เวลา 15:00 · แก้ไขแล้ว · 1. เฟดจอมหลอกลวง Paul Craig Roberts อดีตรมวช่วยคลังสมัยประธานาธิบดีเรแกนจับโกหกUS Federal Reserveได้ว่าไม่ได้ลดการทำQuantitative Easing หรือ QEจริงตามที่ประกาศ แต่แอบใช้เบลเยี่ยมเป็นโนมินีเพื่อช่วยซื้อพันธบัตรสหรัฐฯแทน เขาเขียนบทความล่าสุดแฉเฟดว่าเป็นจอมหลอกลวง "เฟดลดการทำQEจริงหรือเปล่า? เฟดได้ลดการซื้อพันะบัตรในช่วง3เดือนระหว่างพฤศจิการยน 2013 และมกราคม2014หรือไม่? คำตอบคือไม่ได้ลด ถ้าหากต่างชาติขายพันธบัตรสหรัฐฯ ระหว่างพฤศจิกายน 2013 และมกราคม2014 ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งมีจีดีพีหรือขนาดเศรษฐกิจ $480,000ล้านซื้อพันธบัตรสหรัฐฯถึง$141,200ล้าน ไม่รู้ว่าเบลเยี่ยมเอาเงินมาจากใหนเพื่อมาซื้อพันธบัตรสหรัฐฯในมูลค่า29%เทียบเท่ากับจีดีพีของประเทศตัวเอง แน่นอนเบลเยี่ยมไม่ได้มีงบเกินดุล $141,200ล้าน หรือว่าเบลเยี่ยมมีดุลการค้าเกินดุล29%ต่อจีดีพีในช่วง3เดือนนั้น? เปล่าเลย เบลเยี่ยมมีุดลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบด้วยซ้ำ หรือว่าธนาคารกลางของเบลเยี่ยมพิมพ์เงิน$141,200ล้านเทียบเท่าเงินยูโร เพื่อซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ คำตอบก็คือเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเบลเยี่ยมอยู่ในเขตยูโร มีเพียงEuropean Central Bankพิมพ์เงินได้ ธนาคารกลางของเบลเยี่ยมไม่สามารถเพิ่มปริมาณเงินได้ แล้วเงิน$141,200ล้านมาจากใหน? คำตอบคือมีแหล่งเงินเดียวเท่านั้นที่เป็นไปได้ เบลเยี่ยมได้เงินมาจากUS Federal Reserve ซึ่งแอบซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯผ่านเบลเยี่ยม เพื่อปกปิดความจริงว่าเฟดเป็นผู้ซื้อพันธบัตรสหรัฐฯระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2013 และมกราคม2014ในระดับ$112,000ล้านต่อเดือน ทั้งๆที่เฟดประกาศจะลดการทำQEเป็นครั้งแรกเดือนธันวาคม ว่าจะลดการซื้อพันธบัตรจาก$85,000 เป็น$75,000ต่อเดือน เริ่มต้นเดือนมกราคม2014 แต่ความจริงแอบซื้อพันธบัตรสหรัฐฯเพิ่มทางประตูหลังผ่านประเทศเบลเยี่ยม ลวงโลกจริงๆ สำหรับเจ้าพ่อพิมพ์เงินรายนี้ thanong 14/5/2014 http://www.thedailybell.com/editorials/35299/Paul-Craig-Roberts-The-Great-Deceiver--The-Federal-Reserve/
  17. เอกสารชี้ “เรือเฟอร์รีโสมขาว” บรรทุกสัมภาระ “เกินพิกัด” ตลอด 13 เดือนก่อนอับปาง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤษภาคม 2557 16:29 น. เอพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์ – เรือเฟอร์รี “เซวอล” ของเกาหลีใต้ซึ่งประสบอุบัติเหตุอับปางนอกชายฝั่งเมื่อวันที่ 16 เมษายน เคยบรรทุกน้ำหนักเกินถึง 246 ครั้งในรอบ 13 เดือน และในการเดินทางเที่ยวสุดท้าย เซวอล อาจบรรทุกผู้โดยสารและสัมภาระเกินพิกัดยิ่งกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา เอกสารของทางการเผย องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเดินเรือเป็นผู้บันทึกน้ำหนัก เรือ ส่วนพิกัดน้ำหนักบรรทุกสูงสุดก็ถูกกำหนดโดยหน่วยงานอีกแห่งหนึ่ง โดยที่ทั้ง 2 แห่งไม่ได้ติดต่อประสานงานกันเลย ที่กล่าวมานี้คือความหละหลวมในระบบกำกับการเดินเรือเกาหลีใต้ซึ่งทำให้ผู้ บริสุทธิ์หลายร้อยคนต้องโดยสารเรือที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย จนนำมาสู่อุบัติเหตุร้ายแรงที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 คน เมื่อกลางเดือนที่แล้ว โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับเรือเซวอลแสดงให้เห็นช่องโหว่ของระบบควบคุม เรือโดยสารในเกาหลีใต้ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้บังคับใช้กฎระเบียบอย่างเข้มงวดเท่ากับเรือที่บรรทุก สินค้าเพียงอย่างเดียว ผู้ตรวจสอบของเกาหลีใต้มีข้อมูลมากพอที่จะสรุปได้ว่า เรือเซวอล “บรรทุกน้ำหนักเกินอยู่เสมอ” แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็แทบไม่มีประโยชน์ เนื่องจากพวกเขาไม่เคยเปิดเผยมันออกมา และไม่ถูกบังคับให้ต้องทำเช่นนั้นด้วย สำนักงานจดทะเบียนเรือเกาหลีใต้ (Korean Register of Shipping) ซึ่งเป็นผู้ตรวจสภาพเรือเซวอลเมื่อปีที่แล้วหลังจากที่เรือลำนี้ถูกดัดแปลง เพื่อให้บรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น ได้สั่งลดพิกัดน้ำหนักที่เรือจะบรรทุกได้ลงมาครึ่งหนึ่งอยู่ที่ 987 ตัน และเตือนว่าเรือต้องมีน้ำอับเฉา (ballast water) มากกว่า 2,000 ตันจึงจะรักษาสมดุลอยู่ได้ อย่างไรก็ดี สำนักงานทะเบียนได้แจ้งข้อมูลนี้ต่อบริษัท ชองแฮจิน มารีน ซึ่งเป็นเจ้าของเรือเท่านั้น ส่วนหน่วยยามฝั่งหรือสมาคมขนส่งทางเรือเกาหลีใต้ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลเรือ โดยสารที่จะเดินทางออกจากท่าหรือเข้าเทียบท่า ล้วนไม่เคยรับทราบข้อจำกัดใหม่นี้ “นี่คือช่องโหว่ของกฎหมาย” ลี คยู-เยิล ศาสตราจารย์เกียรติคุณจากภาควิชาสถาปัตยกรรมเรือและวิศวกรรมสมุทรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล ให้สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ยามฝั่งในเมืองอินชอนซึ่งมีอำนาจเข้าถึงเอกสารทางการ แต่ปฏิเสธที่จะนำออกมาเผยแพร่ ชี้ว่า ชองแฮจิน แจ้งพิกัดสัมภาระสูงสุดของเรือเซวอลต่อสมาคมขนส่งทางเรือไว้สูงถึง 3,963 ตัน เอกสารฉบับนี้ระบุว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2013 เป็นต้นมา เรือเซวอลซึ่งผ่านการดัดแปลงสภาพได้นำผู้โดยสารเดินทางไป-กลับท่าเรือเมือง อินชอนกับเกาะเชจูมาแล้วเกือบ 200 เที่ยว คิดเป็นการเดินทางเดี่ยวๆ 394 ครั้ง และในจำนวนนี้มีอยู่ 246 ครั้งที่เรือเซวอลบรรทุกสัมภาระเกิน 987 ตัน อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ว่าเรือเซวอลอาจขนสัมภาระเกินพิกัด “บ่อยยิ่งกว่านั้น” เพราะในการเดินทางอีก 148 ครั้งที่เหลือ มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่มีการแจ้งน้ำหนักสัมภาระบนเรือ นอกนั้นถูกระบุว่าเป็น “ศูนย์” เรือเซวอลเคยบรรทุกสัมภาระหนักกว่า 2,000 ตันในการเดินทาง 136 ครั้ง และมีอยู่ 12 ครั้งที่บรรทุกสัมภาระเกิน 3,000 ตัน แต่สถิติเหล่านี้ยังเทียบไม่ได้กับการเดินทางเที่ยวสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 เมษายน ซึ่ง มุน คี-ฮาน รองประธานบริษัท ยูเนียน ทรานสปอร์ต ซึ่งเป็นผู้ขนถ่ายสัมภาระลงเรือ ระบุว่า เซวอลบรรทุกสัมภาระหนักถึง 3,608 ตัน ผู้บริหารท่าเรือยังไม่ได้ทราบจำนวนสัมภาระของเรือเซวอลในเที่ยวสุด ท้าย เนื่องจากเจ้าของเรือจะแจ้งหลังจากที่เรือถึงจุดหมายแล้วเท่านั้น ซึ่งแนวปฏิบัติข้อนี้ต่างกับเรือบรรทุกสินค้าที่จะต้องแจ้งสัมภาระบนเรือ ทั้งหมดก่อนออกเดินทาง กัปตัน ลี จุน-ซุก ผู้ควบคุมเรือเซวอล ได้แจ้งน้ำหนักสัมภาระบนเรือต่ำกว่าที่ มุน ให้สัมภาษณ์ โดยเจ้าหน้าที่ยามฝั่งซึ่งเข้าถึงเอกสารฉบับนี้เผยต่อสำนักข่าวเอพีว่า เรือเซวอลแจ้งรายการสัมภาระเป็นรถยนต์ 150 คัน และสิ่งของอื่นๆ อีกเพียง 657 ตัน หากเป็นไปตามนี้ สัมภาระบนเรือก็จะไม่เกินพิกัด 987 ตัน แต่ในความเป็นจริง หน่วยยามฝั่งกลับพบรถยนต์จมอยู่ใต้น้ำมากถึง 180 คัน สาเหตุที่แน่นอนของการอับปางยังอยู่ระหว่างสอบสวน แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า หากเรือเฟอร์รีลำนี้บรรทุกเกินพิกัดมากไป แม้การหักเลี้ยวเล็กน้อยก็อาจทำให้เรือเสียสมดุลได้ ซึ่งจากการติดตามข้อมูลเรือก็พบว่า เรือเซวอลได้เอียงไปด้านกราบซ้ายประมาณ 45 องศาก่อนจะจมสู่ก้นทะเล ผู้สันทัดกรณีบางคนชี้ว่า เรือเซวอลไม่ควรได้รับอนุญาตให้แล่นรับ-ส่งผู้โดยสารอีกเลยด้วยซ้ำหลังจาก ที่ถูกดัดแปลงสภาพเมื่อปีที่แล้ว เพราะหากเจ้าของเรือยอมบรรทุกสัมภาระตามพิกัดน้ำหนักที่สำนักงานทะเบียนเรือ กำหนดไว้ ก็จะไม่สามารถทำกำไรได้ คิม กิล-ซู อาจารย์จากมหาวิทยาลัยทางทะเลและมหาสมุทรแห่งเกาหลี (Korea Meritime and Ocean University) ในเมืองปูซาน ชี้ว่า บริษัท ชองแฮจิน พยายามแสวงหากำไรจากการบรรทุกสัมภาระเกินพิกัด และหน่วยงานรัฐซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบก็ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเคร่ง ครัด
  18. วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2557 ปริศนาตัวเลขเท็จ 'ปมนายกฯเกาหลีลาออก' ปริศนาตัวเลขเท็จ 'ปมนายกฯเกาหลีลาออก' : โดย...สุชานันท์ หมู่มี ทุกวันนี้ ทีมมนุษย์กบยังคงพยายามค้นหาผู้สูญหายที่ติดอยู่ในซากเรือเซโวล ขณะเดียวกันรัฐบาลเกาหลีใต้ก็ตั้งทีมสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษขึ้นมา โดยพบว่ามีการแจ้งข้อมูลเท็จของตัวเลขหลายประการ รวมถึงการดัดแปลงเรือแบไม่ได้มาตรฐานด้วยกัน ประเด็นสอบสวนประเด็นแรก พบความผิดปกติของเรือเซโวลอยู่ 3 ประการ คือ 1.สภาพเรือเก่า 2.การดัดแปลงผิดมาตรฐาน และ3.การบรรทุกเกินพิกัด ประเด็นแรกสภาพเรือเก่านั้น พบว่า เรือเซโวลลำนี้เป็นเรือที่ดัดแปลงมาจากเรือญี่ปุ่นที่ใช้งานไปแล้วถึง 18 ปี เกาหลีเอามาดัดแปลงปี 2556 และเพิ่งมาใช้เมื่อต้นปีนี้ โดยทำสัญญาให้ใช้งานได้ 7 ปี ปกติแล้วเรือใหญ่ขนาดนี้จะให้ใช้ได้ไม่เกิน 15 ปี แต่เรือลำนี้ใช้งานมาเกือบ 20 ปีแล้ว นอกจากเรือเซโวล ยังมีเรือชื่อว่า "โอฮามานา" เป็นเรือรุ่นเดียวกัน ใช้เดินทางจากเมืองอินชอน ไปที่เกาะเชจูเหมือนกัน อาทิตย์ละ 3 เที่ยว ตอนนี้เรือโอฮามานาถูกสั่งระงับการเดินทาง เพื่อนำไปตรวจสอบว่ามีความผิดปกติ เบื้องต้นพบปัญหาในเรื่องของแพชูชีพมีอยู่ 40 ชิ้นใช้การไม่ได้ และอุปกรณ์ที่ใช้ "ยึดเกี่ยว" การขนส่งรถยนต์ ตู้คอนเทนเนอร์ ปรากฏว่าอุปกรณ์นี้ใช้ไม่ได้เช่นกัน อาจเทียบเคียงได้ว่า เพราะเหตุใดเรือเซโวลถึงเอียงตะแคงข้างลงทะเลในลักษณะผิดปกติ ประเด็นที่สอง การดัดแปลงผิดมาตรฐาน เรือลำนี้มีการเพิ่มชั้นพิเศษมา บริเวณชั้นที่ 3 เพื่อเพิ่มห้องพักผู้โดยสารขึ้นมา เช่นเดียวกับชั้นที่ 4 มีการเพิ่มเคบินพิเศษ เป็นพื้นที่ใช้สอย แต่ว่าที่สำคัญคือชั้นที่ 5 มีการเพิ่มขึ้นมาเกือบเต็มชั้น เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นจากเดิม 804 คน เป็น 921 คน ทั้งนี้ การดัดแปลงของเรือเซโวลดังกล่าวทำให้จุดศูนย์ถ่วงของเรือนั้นสูงขึ้นอีก 51 เซนติเมตรนั้น ตัวแทนผู้ประกอบการเรือเฟอร์รี่ของไทยให้ข้อมูลว่า การที่เรือสูงขึ้น 51 เซนติเมตรนี้ จะทำให้เรือเสียสมดุลได้ โดยเปรียบเทียบกับรถกระบะว่า หากนำรถกระบะไปเปลี่ยนให้ล้อให้มันใหญ่ขึ้น รถกระบะคันนั้นก็อาจคว่ำได้ง่ายขึ้น และประการสุดท้าย การบรรทุกเกินพิกัด ตามมาตรฐานแล้ว เรือเซโวลจะบรรทุกสินค้าไม่เกิน 987 ตัน แต่ในที่เกิดเหตุ (16 เม.ย.) แจ้งมาว่ามีสินค้า 657 ตัน แต่พอทีมสืบสวนไปสืบสวนมาเอกสารต่างๆ พบว่าสินค้าในวันนั้นมีน้ำหนักถึง 3,608 ตัน มากกว่าที่แจ้งถึง 3.5 เท่า นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีการแจ้งผู้โดยสารเท็จ จากตัวเลขผู้โดยสารที่เรือรับได้คือ 921คน ในวันเกิดเหตุแจ้งว่ามีผู้โดยสารขึ้นเรือ 274 คน แต่ว่าพอทีมกู้ภัยไปถึงทางบริษัทเรือรับสารภาพว่า จริงๆ แล้วรวมทั้งลูกเรือด้วยกับผูโดยสารที่ทั้งหมด 476 คน และยังมีเรื่องของตั๋วผี 50 คน หมายถึงมีผู้โดยสารขึ้น แต่ไม่มีการออกตั๋วให้ คาดว่าอาจจะเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีหรือเกี่ยวกับเอกสารลับบางอย่าง ซึ่งตอนนี้ทางทีมสืบสวนกำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ ขณะที่หลายฝ่ายเชื่อว่า การที่ "ชอง ฮง วอน" นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ประกาศลาออก เพื่อรับผิดชอบกรณีเรือเฟอร์รี่เซโวลอับปาง และการกู้ภัยค้นหาผู้สูญหายไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมานั้น เบื้องหลังเกิดจากการถูกกดดันอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ 1.การปฏิเสธการช่วยเหลือของอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นทีมงานมืออาชีพ 2.การกู้ภัยที่ล่าช้า 3.มีเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองบางรายอยู่เบื้องหลัง บริษัทธุรกิจเดินเรือ และการดัดแปลงเรือผิดกฎหมายโดยเฉพาะ เครือข่ายของ "ยู เบียง อึน" บริษัท ชอง แฮจิน มารีน ซึ่งเป็นเจ้าของเรือเฟอร์รี่เซโวล ทีมอัยการเกาหลีใต้ได้บุกค้นสำนักงาน รวมถึงความเกี่ยวข้องกับครอบครัวของเจ้าของบริษัทเพื่อทำการสืบสวนขยายผลหา สาเหตุของเรือล่ม... ---------------------- วิเคราะห์โศกนาฏกรรม เรือล่ม "เซโวล" รายการเก็บตกจากเนชั่นภาคค่ำ เนชั่นทีวี เวลา 19.30 น. โดย "พรรณี อมรวิพุธพนิช" บรรณาธิการรายงานพิเศษ ---------------------- (ปริศนาตัวเลขเท็จ 'ปมนายกฯเกาหลีลาออก' : โดย...สุชานันท์ หมู่มี)
  19. ขออนุญาตโพสนอกเรื่องนะครับ ปฏิรูปการศึกษาไทย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก Decharut Sukkumnoed 7 ชม. ปลาหัวและปลาหาง: บทเรียนล้ำค่าจากคนเลี้ยงปลานิล เมื่อเย็นวันจันทร์หลังเลิกงาน ผมและภรรยาขับรถมาชลบุรีเพื่อเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงปลานิล แต่ผมกลับได้พบบทเรียนที่สำคัญที่สังคมไทยควรจะต้องฉุกคิดให้มากจากคนเลี้ยงปลานิล อย่างไม่น่าเชื่อ ผมเลยขอเล่าให้ทุกคนฟังครับ คุณตะวัน เจ้าของฟาร์มปลานิลพาพวกเราไปดูการให้อาหารปลานิล ในบ่อปลาใหญ่ เพียงแค่คุณตะวันขับรถมอเตอร์ไซด์พ่วงไปใกล้ๆ บ่อ ปลานิลก็ว่ายมาวนเวียนเต็มไปหมด พอคุณตะวันเทอาหารปลาลงไปในกระเช้าอาหารปลาเท่านั้น ปลานิลก็ว่ายรุมเข้ามากินอาหารกันใหญ่ ผมและภรรยาต่างตื่นตากับทั้งวิธีการให้อาหารของคุณตะวัน และที่น่าตื่นใจยิ่งกว่าก็คือ ขนาดของปลานิลที่หลายตัวมีขนาดใหญ่ประทับใจ ซึ่งหากปลานิลแต่ละตัวมีน้ำหนักมากว่า 0.8 กก./ตัว จะถือว่าเป็นปลานิลเกรด 1 หรือเกษตรกรจะเรียกว่า ปลาหัว (หมายความว่า มีคุณภาพระดับหัว) ขณะที่เราทั้งสองคนกำลังรัวชัตเตอร์กันใหญ่ คุณพรชัย บัวประดิษฐ์ ลูกพี่ลูกน้องของคุณตะวัน และเป็นประธานชมรมผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบางหัก ก็พูดขึ้นว่า “อาจารย์ทราบมั้ยครับว่า เราสองคนไม่ได้ดูปลาเหมือนคนกินอย่างอาจารย์” ผมหยุดถ่ายรูปแล้วถามว่า “ยังไงเหรอครับ?” คุณพรชัยบอกว่า “อาจารย์ตื่นตาตื่นใจไปกับปลาตัวใหญ่ที่อาจารย์เห็นในตอนแรก เกษตรกรที่อื่นก็เป็นแบบนั้น แต่ถ้าเรามองแบบนั้น แล้วเราตัดสินใจจับปลาในบ่อไปขาย เราจะได้ปลาหัว (คือปลาเกรด 1) เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะส่วนที่เรายังมองไม่เห็นหรือไม่ได้ตั้งใจมองคือ ปลาหาง แต่เมื่อวิดและจับขายแล้ว เราจึงจะเห็นปลาหางเต็มไปหมดในบ่อ (ปลาหาง หมายถึง ปลาขนาดเล็กที่จัดเป็นเกรด 2-5 ซึ่งจะได้ราคาต่ำกว่ามาก) คุณพรชัยเล่าต่อว่า “เพราะฉะนั้น พวกเราจะจ้องมองหาปลาหางในบ่อนี้ เราจะเล็งหาปลาที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่ใช่ใหญ่ที่สุด และเราจะนำมาตั้งโจทย์ว่า จะทำอย่างไรให้ปลาหางเหล่านี้ กลายเป็นปลาหัวให้มากที่สุด เราต้องบำรุงน้ำ เติมอากาศ ปรับเพิ่ม/ลด อาหารอย่างไร เมื่อเราจับปลา เราจะได้ปลาหัวเยอะมาก โดยที่แทบจะไม่มีปลาหางเลย” คุณพรชัยยกตัวอย่างว่า “ล่าสุด ลุงสมหมายสมาชิกในกลุ่มจับปลานิลขายไป 12 ตัน มีปลาหางแค่ 200 กิโลกรัม นอกนั้นได้ปลาหัวทั้งหมดเลย” คุณพรชัยบอกว่า “การบำรุงปลาหางก็จะทำให้ปลาหัวโตขึ้นด้วย แต่เมื่อโตเกิน 0.8 กก./ตัว แล้วจะได้ราคาที่ดีเหมือนกันหมด (ณ วันนั้นคือ 47 บาท/กก.) ดังนั้น ส่วนปลาหัวที่โตขึ้นจึงเป็นเสมือนโบนัสที่ได้เพิ่มขึ้นมา แต่หากปล่อยให้มีปลาหางในบ่อที่เราจับมากขึ้น (คือต่ำกว่า 0.8 กก./ตัว) ราคาจะตกลงไปมากกว่า 10 บาท/กก. (ณ วันนั้น ราคาปลาเกรด 2 คือ 35 บาท/กก. ถ้าเป็นปลาเกรดอื่นๆ จะต่ำลงไปอีก) เพราะฉะนั้น การบำรุงปลาหางจึงเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าบำรุงปลาหัว และจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างคุ้มค่าที่สุด” แม้ว่าคำสอนของคุณพรชัยในวันนั้นจะเป็นเรื่องของปลานิล แต่ก็ทำให้ผม “มโน” นึกเลยไปถึงถึงวิธีคิดหลายๆ เรื่องในสังคมของเรา เช่น การวัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งมักจะวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ทั้งที่จริงๆแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศจะอยู่มือคนเพียงประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ว่ากันและมุ่งเน้นกันนั้น จึงเป็นการวัดการเติบโตของ “ปลาหัว” มากกว่าที่จะวัดการเติบโตของปลาทั้งบ่อ ดังเช่น กรณีจังหวัดระยองที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวสูงถึง 1.2 ล้านบาท/คน/ปี เป็นอันดับที่หนึ่งของประเทศไทย แต่พอไปวัดรายได้เฉลี่ยในกระเป๋าของประชาชนในจังหวัดระยองจริงๆ แล้วกลับมีรายได้กันไม่ถึง 1 แสนบาท/คน/ปี น้อยกว่าอีกหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย การวัดเศรษฐกิจของ “ปลาหัว” จึงเป็นเพียงภาพลวงตาที่ทำให้คน “ตื่นตาตื่นใจ” (เหมือนผมในตอนแรก) แต่มิใช่ความเป็นจริง ล่าสุด โครงการพัฒนาและสหประชาชาติ (หรือ UNDP) จึงได้เน้นว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควรจะเป็นจะต้องเป็นการเติบโตแบบทั่วถึง หรือ inclusive growth มิใช่กระจุกตัวอยู่เฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่เป็น “ปลาหัว” ของระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องวัดลงไปถึงการเติบโตของคนในระดับ “ปลาหาง” ของระบบเศรษฐกิจด้วย อันเป็นที่มาที่ตัวผมเองจึงได้พัฒนาตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ตัวหนึ่งเรียกว่า “การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ฐานราก หรือ Growth at the bottom ซึ่งมุ่งวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของคน 20% ที่จนที่สุดในประเทศ และในแต่ละจังหวัด เพราะหากเราสามารถทำให้คนที่อยู่ 20% สุดท้ายหรือ “ปลาหาง” ของระบบเศรษฐกิจดีขึ้นได้ ย่อมแปลว่า ทุกคนในระบบเศรษฐกิจจึงจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง แต่บทเรียนเรื่อง “ปลาหัวและปลาหาง” ที่สะเทือนและสะท้อนอยู่ในใจผมมากที่สุดไม่ใช่เรื่องทางเศรษฐกิจ แต่กลับเป็นเรื่องการศึกษา การศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรามักจะตื่นตาตื่นใจกับ “ปลาหัว” ทุ่มเทและพัฒนาปลาหัว จนเด็กของเราสามารถพิชิตเหรียญรางวัลต่างๆ ได้อย่างสม่ำเสมอและน่าชื่นชม แต่ขณะเดียวกัน เรากลับละเลย “ปลาหาง” เราไม่ค่อยทุ่มเทให้กับนักเรียนที่เรียนไม่ทัน ไม่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน ไม่มีเงินไปเรียนโครงการพิเศษ จนปลาหางเหล่านี้กลับเล็กลงและซูบผอมในเชิงศักยภาพ และมีจำนวนไม่น้อยที่หลุดไปจากระบบการศึกษาก่อนวัยอันควร จุดที่สำคัญก็คือ สัดส่วนของ “ปลาหาง” ในระบบการศึกษาไทยนั่นมีมากกว่า “ปลาหัว” หลายเท่า ดังนั้น เมื่อประเมินภาพรวมของการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็น O-NET หรือ PISA ผลการประเมินของเด็กไทยในภาพรวมจึงต่ำเตี้ยลง ตรงข้ามกับความก้าวหน้าของปลาหัวที่กวาดเหรียญโอลิมปิกวิชาการกันเป็นประจำทุกปี แล้วเราก็ไม่เคยตอบได้ว่า เราจะพัฒนาระบบการศึกษาของเราขึ้นได้อย่างไร เพราะเราไม่ได้ตั้งโจทย์แบบคุณพรชัยตั้ง เรากลับมองกันแต่ “ปลาหัว” เท่านั้น แน่นอนว่า เด็กไทยไม่ใช่ปลาที่จะถูกจับไปขายกิน แต่เด็กไทยก็ผู้ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยต่อไปในอนาคต แล้วอนาคตของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร? ถ้าเรายังสนใจที่จะบำรุง “ปลาหัว” ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าเป็นหลัก (ทั้งในระบบเศรษฐกิจและในระบบการศึกษา) แล้วสังคมไทยของเราจะเข้มแข็งและเท่าเทียมกันได้อย่างไร? ถ้าปลาหัวยังคงเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เราละเลย “ปลาหาง” ให้เป็นปลาเกรดต่ำลงไป ผมคิดว่า มันน่าจะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราจะหันมามองแบบที่คุณพรชัยมอง แล้วมาตั้งโจทย์กันว่าจะทำอย่างไรให้ปลาหางเติบโตได้เต็มศักยภาพ? เพราะหากทำได้เหมือนคุณพรชัย ปลาเกือบทุกตัวในบ่อของสังคมไทยจะได้เป็นปลาเกรด 1 ไปพร้อมๆ กัน สังคมไทยของเราก็จะมีแต่ “ปลาหัว” หรือเป็นปลาที่จะสร้างศักยภาพของสังคมไทยให้เข้มแข็ง สร้างสรรค์ และยั่งยืน อย่างเท่าเทียมกันต่อไป ขอจบการ “มโน” แต่เพียงเท่านี้ครับ
  20. Thanong Fanclub 6 ชั่วโมงที่แล้ว โอบามาแซงชั่น "Darth Vader"แห่งรัสเซีย หนึ่งใน7คนชาวรัสเซียที่โดนประธานาธิบดีโอบามาแซงชั่นเนื่องจากเชื่อว่า เกี่ยวพันกับวิกฤติการยูเครน ได้รับฉายาว่าDarth Vaderแห่งรัสเซีย เขาคือIgor Sechin, CEO ของ Rosneft ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานที่ใหญ่สุดของรัสเซีย Sechinเป็นอดีตเคจีบี และเป็นคนสนิทหรือเรียกว่าเป็นมือขวาของประธานาธิบดีปูตินก็ว่าได้ เชื่อกันว่าเขาเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่มีอิทธิพลและน่ากลัวมากที่สุดในรัสเซีย เป็นรองแค่ปูตินเท่านั้น ช่วงที่ปูตินเป็นประธานาธิบดีในสมัยแรก Sechin ทำงานอยู่เบื้องหลังในเครมลิน พวกอเมริกันล้อเลียนว่าSechinเป็นผีที่เครมลินสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างความ กลัวให้ผู้คน Sechinรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าทีมสต๊าฟของปูตินระหว่าง2004-2008 และดำรงตำแหน่างรองนายกรัฐมนตรีระหว่าง2008-2012 ปูตินส่งเขาไปคุมRosneftในปี2004 แต่เขาทำหน้าที่เป็นCEOเต็มตัวตั้งแต่ปี2012เป็นต้นมา ปูตินไว้ใจSechinที่สุด และSechinมีความจงรักภักดีต่อปูตินอย่างเหนี่ยวแน่น ผลงานที่ลือชื่อของSechinคือการเข้าไปยึดกิจการของYukos Oil หลังจากที่ปูตินสั่งจัดการMikhai Khodorkovsky ประธานของบริษัทนี้ที่เป็นศัตรูทางการเมืองของปูติน Khodorkovskyเข้าไปอยู่ในคุกตามระเบียบ หลังจากออกมาจากคุกแล้ว Khodorkovskyแฉว่าเขาโดนSechinเล่นงานทางอาญา และทรัย์สินของเขาโดนRosneft ฮุปเอาไป Sechinมีบทบาทในการใช้เงิน$55,000ล้านในการซื้อTNK-BP ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนร่วมระหว่างBPของอังกฤษและเศรษฐีรัสเซีย Rosneft เป็นหนึ่งในบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหุ้นที่สุดในโลก มีส่วนแบ่งการตลาดในการผลิตน้ำมันในรัสเซียสูงถึง40% Sergey Glaziev ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีปูตินและSechin CEO เป็นผู้มีบทบาทสูงในแผนการที่จะล้มเปโตรดอลล่าร์ ทั้งคู่แสดงความเห็นคล้ายกันในเรื่องเปโตรรูเบิ้ล หมายความว่าต่อไปใครอยากซื้อน้ำมันหรือแก๊ซจากรัสเซียต้องจ่ายเป็นรูเบิ้ล รัฐมนตรีเศรษฐกิจของรัสเซีย นายAlexei Ulyukaev บอกว่า บริษัทพลังงานของรัสเซียต้องทิ้งดอลล่าร์ และพวกเขาต้องมีความกล้าหาญมากกว่านี้ที่จะขายพลังงานเป็นเงินรูเบิ้ล หรือเงินสกุลของคู่ค้า วันที่ 2 มีนาคม 2014 นายAndrei Kostin CEO ของแบงค์รัฐ VTB bank บอกว่า Gazprom, Rosneft และ Rosoboronexport, ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอาวุธควรจะค้าขายเป็นรูเบิ้ลได้แล้ว และเขาได้คุยกับผู้บริหารของบริษัทเหล่านี้ ซึ่งเห็นพ้องต้องกัน เพียงแต่ว่าต้องการให้มีกลไกที่จะค้าขายส่งออกเป็นรูเบิ้ล Sechinโดนสหรัฐฯหมายหัวตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว เมื่อเขาไปร่วมงานWorld Energy Congress ที่เกาหลี โดยเขากล่าวในงานสัมนาว่าควรจะมีกลไกระดับโลกตั้งขึ้นมาเพื่อเทรดแก๊ซ ธรรมชาติ และเขากล่าวเพิ่มเติมว่าควรจะตั้งตลาดรองเพื่อให้ประเทศต่างสามารถซื้อขาย สินค้าโภคภัณฑ์หรือน้ำมัน แก๊ซธรรมชาติได้ด้วยเงินสกุลของภูมิภาค สร้างระบบค้าพลังงานใหม่ โดยไม่เอาเปโตรดอลล่าร์ ซึ่งเป็นกล่องดวงใจของสหรัฐฯอเมริกา อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯตอนนี้อยู่ที่เปโตรดอลล่าร์ หมายความว่าใครก็ตามที่ต้องการซื้อน้ำมัน ต้องมีดอลล่าร์ในมือถึงจะซื้อได้ ทำให้สหรัฐฯสามารถสร้างหนี้ได้เรื่อยๆ เพราะว่ามีความต้องการเก็บดอลล่าร์ เพื่อที่จะซื้อขายน้ำมัน แม้แต่Gazpromบริษัทน้ำมันแห่งชาติของรัสเซียก็ต้องขายแก็ซธรรมชาติให้ตลาด ยุโรปเป็นดอลล่าร์ Sechin ได้รับมอบหมายให้ล้มเปโตรดอลล่าร์ เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานบอร์ดของ Saint-Petersburg Commodity Exchange ซึ่งเป็นตลาดรองสำหรับการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ เมื่อตลาดรองSaint-Petersburg Commodity Exchangeมีการเทรดสินค้าบริโภคภัณฑ์เช่นน้ำมันและแก๊ซเป็นรูเบิ้ล แทนที่จะเป็นดอลล่าร์ หมายความว่าเปโตรดอลล่าร์จะสั่นสะเทือน หรืออาจจะต้องล้มพับไป รัสเซียมีศักยภาพที่จะล้มเปโตรดอลล่าร์ได้ เพราะว่าเป็นผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ที่สุดของโลก ถ้าเทรดพลังงานเป็นรูเบิ้ล แทนที่จะเป็นดอลล่าร์ ดอลลาร์จะหมดอนาคตโดยเร็ว จากตารางจะเห็นได้ว่า รัสเซียผลิตน้ำมันดิบได้10-11ล้านบาเรลล์ต่อวัน และกำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะว่ามีการสำรวจบ่อน้ำมันใหม่ตลอดเวลา ถ้าน้ำมันบาเรลล์ละ$100 วันๆหนึ่งก็มีรายได้$1,000-$1,100ล้าน และถ้าซื้อขายเป็นเปโตรรูเบิ้ล แทนที่จะเป็นเปโตรดอลล่าร์ จะทำให้ให้ดอลล่าร์กระเทือนมากๆ จนล่มไปได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สหรัฐฯจึงต้องพยายามสอยSechinให้ร่วงเป็นธรรมดา แต่Sechinไม่ใช่หมูที่จะมาเคี้ยวกันได้ง่ายๆ เหมือนซัดดัม ฮุสเซนผู้นำอิรัค หรือมุมมา กาดัดฟี่แห่งลิเบียที่โดนสหรัฐฯล้มและฆ่าตายเพราะบังอาจคิดขายน้ำมันเป็น เงินสกุลอื่นที่ไม่ใช่ดอลล่าร์ ต้องคอยดูว่า สหรัฐฯจะโดนเล่นกลับอย่างไร หลังจากที่ออกมาตรการแซงชั่นรัสเซียรอบใหม่ มันจะเป็นเหมือนกับผู้ช่วยรมว ต่างประเทศรัสเซีย นายSergey Ryabkov ที่ได้ออกคำเตือนหรือไม่ว่า การตอบโต้จากรัสเซี่ยจะทำให้กรุงวอชิงตัวดีซีสั่นสะเทือนด้วยความเจ็บปวดไป เลยทีเดียว thanong 29/4/2014 1. http://www.businessinsider.com/igor-sechin-darth-vader-sanctions-russia-obama-ukraine-putin-2014-4 2. http://www.whatdoesitmean.com/index1766.htm 3. http://voiceofrussia.com/2014_04_04/Russia-prepares-to-attack-the-petrodollar-2335/
  21. Thanong Fanclub ได้แชร์ลิงก์ 2 ชั่วโมงที่แล้ว ขบวนรถถังรัสเซียและรถขนอาวุธและทหารยาวหลายกิโลเมตรมุ่งหน้าสู่ชายแดนตะวันออกของยูเครน
  22. Decharut Sukkumnoed เมื่อวานนี้ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากการขนส่งถ่านหินสำหรับโรงไฟฟ้ากระบี่ พื้นที่ที่กฟผ. เตรียมไว้สำหรับเป็นท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินคือ ท่าเทียบเรือคลองรั้ว ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ หรือเรียกกันว่า "อ่าวแหลมหิน" ซึ่งในด้านในของอ่าวแหลมหินเป็นพื้นที่ ป่าชายเลนขนาดใหญ่จึงเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญของจ.กระบี่ ส่วนพื้นที่อ่าว (ซึ่งเป็นเส้นทางวิ่งและท่าจอดเรือ) และพื้นที่ในทะเล เป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญของชาวบ้านหมู่บ้านแหลมหิน โดยในภาพจะเห็นปลาหมึก ปลากระเบน และปลิงทะเล ที่จับได้โดยชาวบ้านแหลมหิน จะเห็นว่าอ่าวนี้มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ ปัจจุบัน กฟผ. ใช้น้ำมันเตาในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า และใช้เรือขนส่งน้ำมันเตามาที่ท่าเทียบเรือ ตามร่องน้ำนี้อยู่แล้ว โดยชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า เรือน้ำมันมักแล่นชนเครื่องประมงของชาวบ้านเสมอๆ ทำให้พื้นที่การทำประมงของชาวบ้านลดลงครับ พื้นที่ในทะเลด้านนอกทั้งสองฝั่ง ตรงปากทางเข้าแหลมหิน นอกจากจะเป็นพื้นที่ทำประมงแล้ว ยังเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากจ.ตรัง ดังนั้นจึงเป็นแหล่งกระจายพันธุ์ที่สำคัญของพะยูน สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วยครับ โดยสรุป การขนส่งถ่านหินและท่าเทียบเรือถ่านหิน ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของ จ.กระบี่เป็นอย่างมาก ความผิดพลาดจากการดำเนินการขนถ่ายถ่านหิน (หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่ โดยเฉพาะการสะสมของโลหะหนักในสัตว์น้ำครับ นี้เป็นรายงานจากการเดินทางครั้งแรกครับ เดี๋ยวพวกเราจะลงไปศึกษากันเพิ่มเติมอีกในเดือนมิ.ย. ครับ
  23. Decharut Sukkumnoed เมื่อวานนี้ สอง ภาพแรกจากกระบี่ เป็นแผนที่การขนส่งถ่านหินจากประเทศออสเตรเลียและอินโดนีเซีย โดยตอนแรกมาด้วยเรือขนาดใหญ่ 50,000-100,000 ตัน แล้วมาจอดขนถ่ายลงเรือเล็กขนาด 3,000 ตัน ที่ใกล้เกาะปอ (ประมาณ 5 กม.จากเกาะปอ) แล้วเรือเล็กก็จะขนส่งเลียบชายฝั่ง ผ่านพื้นที่ การทำประมงและแหล่งหญ้าทะเล รวมถึงเส้นทางการท่องเที่ยวทางเรือ มาเข้าสู่แหลมหิน เหนือเกาะศรีบ่อยา เพื่อจอดที่ท่าเทียบเรือคลองรั้ว ซึ่งอยู่ในอ่าวแหลมหินที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำโดยธรรมชาติที่สำคัญของ จ.กระบี่ จากนั้น เขาจะขนถ่านเข้าสู่ท่าเรือ และขนผ่านอุโมงค์รอดใต้ป่าชายเลนยาว 2 กม. ก่อนขนสู่สะพานถ่านกินยาว 6.4 กม. จนถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ ต.เหนือคลองครับ ภาพนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานก่อนนะครับ ก่อนที่จะเจาะลงสู่การวิเคราะห์ผลกระทบในลำดับต่อไปครับ
  24. Greenpeace Southeast Asia (THAILAND) ถูกใจหน้านี้ · 21 เมษายน รับสมัครนักวิ่งรณรงค์ปกป้องกระบี่ในงาน "Greenpeace Mini Marathon – Run for Krabi" >> http://on.fb.me/1ntX1KC 18 พ.ค.นี้ มาร่วมผนึกพลังในการวิ่งรณรงค์ครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อปกป้องมรกตแห่งอันดามัน ท้องทะเลที่สวยงาม และความสมบูรณ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน พร้อมประกาศก้องให้โลกรู้ว่า..กระบี่ของไทย เอาถ่านหินมาแลกเราไม่ยอม! #RunForKrabi #ProtectKrabi ลงทะเบียนสมัครได้เลยที่ ► http://bit.ly/1lrnc3c
  25. Decharut Sukkumnoed 20 เมษายน วันนี้ โชคดีมากที่มาทานข้าวกลางวันที่ร้าน "เรือนไม้" จ.กระบี่ บังเอิญได้พบกับคุณณรงค์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกระบี่ เลยได้คุยกันถึงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจกระบี่ ผมเลยได้มีโอกาสฉายภาพเศรษฐกิจ 3 จังหวัดให้ลองเปรียบเทียบกัน จังหวัดแรกคือ ระยอง ซึ่ง มีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวสูงที่สุดในประเทศ สูงกว่ากระบี่ถึง 7 เท่า แต่กลับมีคุณภาพชีวิตด้อยกว่าจังหวัดกระบี่ เพราะรายได้กว่าร้อยละ 75 ทำให้เกิดการจ้างงานเพียงร้อยละ 28 ในขณะที่เกษตรกรซึ่งมีร้อยละ 21 ของแรงงานทั้งจังหวัดกลับมีรายได้เพียงร้อยละ 3.3 เท่านั้น จังหวัดที่สองคือ ราชบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวใกล้เคียงกับจังหวัดกระบี่ แต่มีคุณภาพชีวิตของคนด้อยกว่ากระบี่มาก เพราะผลิตภัณฑ์มวลรวมกว่าร้อยละ 25 จากสาขาไฟฟ้าและก๊าซ (สูงที่สุดในประเทศไทย เพราะเป็นจังหวัดที่มีโรงไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศ) ทำให้เกิดการจ้างงานได้เพียงร้อยละ 0.4 ของแรงงานเท่านั้น ในขณะที่ภาคเกษตรซึ่งมีสัดส่วนแรงงานถึงร้อยละ 33 กลับมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมเพียงร้อยละ 16.5 เท่านั้น จังหวัด สุดท้ายคือ กระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยวเข้มแข็งมาก สัดส่วนการจ้างงานในภาคเกษตรและภาคโรงแรมและภัตตาคารมีมากกว่าร้อยละ 66 (หรือ 2 ใน 3) และทำให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมได้มากถึงร้อยละ 50 ของจังหวัด ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจของกระบี่จึงมีความสมดุลมากกว่า 2 จังหวัดข้างต้น ดังจะเห็นได้จาก (ก) รายได้ของครัวเรือนแต่ครัวเรือนในกระบี่จึงสูงกว่ารายได้ของครัวเรือนใน ระยองและราชบุรีมาก และ (ข) ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในจ.กระบี่จึงต่ำกว่าราชบุรีและระยอง และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ เพราะฉะนั้น จุดแข็งของเศรษฐกิจกระบี่จึงเป็นรูปแบบของการเติบโตที่สมดุล และมีความเข้มแข็งที่ฐานราก ในขณะที่ระยองและราชบุรีนั้นเป็นเศรษฐกิจที่โตเพียงฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น ผมได้เรียนให้คุณณรงค์ทราบว่า ขณะเดียวกัน เราก็มีจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวน้อยกว่ากระบี่แต่มีคุณภาพชีวิตดี กว่ากระบี่ด้วยเช่นกัน (เช่น สมุทรสงคราม ชุมพร ตราด) ซึ่งก็ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ 3 จังหวัดมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกันค่อนข้างมาก และมีเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็งมาก คุณณรงค์ให้ความสนใจมาก และขอให้ผมรีบเขียนบทความฉบับเต็ม เพื่อรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ทราบ และนำมาใช้ในร่างแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดกระบี่ต่อไป ผมสัญญาว่าจะดำเนินการให้เสร็จโดยด่วนครับ ไม่น่าเชื่อว่า อาหารกลางวันวันนี้จะเป็นอาหารกลางวันที่มีคุณค่ามากเพียงนี้ ต้องขอขอบคุณโกเลี้ยง เจ้าของร้านที่ชวนมาทานร้านนี้ครับ
×
×
  • สร้างใหม่...