ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ส้มโอมือ

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    5,036
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    15

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ส้มโอมือ

  1. Decharut Sukkumnoed 20 เมษายน เวลา 21:43 น. · วันนี้ที่กระบี่เด็กๆ ได้รู้จักสาหร่ายตะขายครับ อร่อยมากๆเลยครับ ของดีของกระบี่ที่ต้องรักษาไว้ให้ได้ครับ สาหร่ายญี่ปุ่นชิดซ้าย เจอของดีเมืองไทย "สาหร่ายตะขาบ" สวยกว่า กรอบกว่า สดๆ เป็นสาหร่ายพื้นบ้านพบในคลองน้ำกร่อย แถบอันดามัน เช่น กระบี่ พังงา ราคา ประมาณกก.ละ 80 บาท เท่านั้น สามารถซื้อได้ที่ตลาดสด หรือสั่งได้ที่ร้านอาหาร ปล. ขอบคุณโกเลี้ยง ร้านเรือนไม้ กระบี่ ที่แนะนำของดีๆเมืองไทยให้เราได้รู้จัก
  2. Decharut Sukkumnoed 21 เมษายน เมื่อ วานนี้ ผมได้มีโอกาสคุยกับโกเลี้ยง เจ้าของร้านเรือนไม้ อดีตนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.กระบี่ ได้พูดถึงว่า ชาวกระบี่เข้าใจและยินดีให้มีการสร้างโรงไฟฟ้า เพราะชาวกระบี่ก็ต้องใช้ไฟฟ้า แต่ขอให้วางแผนผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงอื่น มิใช่ถ่านหิน เพราะมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหินอาจจะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อการประมง และการท่องเที่ยวของกระบี่ คุณแบงค์ Suphakit Nuntavorakarn จึงได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน จ.กระบี่ ใช้ไฟฟ้า 101 เมกะวัตต์ และกระบี่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอยู่แล้วประมาณ 60-70 % ของความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ แถมยังมีผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมนเวียน ยื่นรอขายไฟฟ้าเข้าระบบอยู่อีก 6 ราย เพราะฉะนั้นถ้าช่วยกันอย่างจริงจัง ภายใน 2-3 ปีนี้ "กระบี่จะเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าภาย ในจังหวัด" หรือ เป็นจังหวัดพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานไฟฟ้าแบบสมบูรณ์แบบ โกเลี้ยงสนใจมาก และเล่าให้ฟังว่า ขณะนี้กำลังรณรงค์ให้รีสอร์ทและภัตตาคารในจ.กระบี่อนุรักษ์พลังงาน เพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นลง เราเลยนัดหมายที่จะไปช่วยงานกัน โดยเลือกเกาะลันตา เป็นพื้นที่เป้าหมายต้นแบบของจ.กระบี่ โกเลี้ยงยังฝากการบ้านให้ผมช่วยคิดว่า "แทนที่จะเน้นเฉพาะพลังงานหมุนเวียน อยากให้อาจารย์ช่วยเสนอโมเดลที่พลังงานหมุนเวียนจะช่วยรักษาเสถียรภาพของ ราคาปาล์มน้ำมันของกระบี่และภาคใต้ทั้งระบบ" เพราะเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน ราคาปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากต้นทุนน้ำมันปาล์มของมาเลเซียจะมีต้นทุนถูกกว่าในบ้านเรา โจทย์นี้ท้าทายและน่าสนใจ อาจารย์เศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากรอย่างผมมากเลยครับ ผมจะรีบตอบโจทย์นี้ให้ดีที่สุด ผมมีเวลา 7 วัน สำหรับการนำเสนอแนวคิดรอบแรก และอีกประมาณหนึ่งเดือนสำหรับการลงรายละเอียด เพื่อให้ทันสำหรัยการบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ จ.กระบี่ครับ
  3. Decharut Sukkumnoed 19 เมษายน สตูล ดินแดนแห่งทะเลและสุขภาวะ เมื่อวานนี้หลังจากได้ฟังข้อมูลของชาวบ้านเรื่องผลกระทบจากท่าเรือน้ำลึกปาก บารา จ.สตูล ชาวสตูลก็ขอให้ผมและทีมงานนำช่วยพูดถึงแง่มุมเกี่ยวกับการพัฒนาจ.สตูล ซึ่งทีมงานมูลนิธินโยบายสุขภาวะคือ จุ่น แบงค์ และผม ก็ได้นำเสนอข้อมูลหลากหลายประการ แต่ที่ผมอยากจะย้ำมีอยู่ 2 ประเด็นคือ ทะเลและสุขภาพ สำหรับทะเลนั้น สตูลเป็นจังหวัดที่สามารถสร้างรายได้จากทะเล (ประมง แปรรูปอาหารทะเล ท่องเทียว) ได้เกือบครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด แถมยังมีคนที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับทะเลเกือบครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานทั้ง จังหวัด เรียกว่า เป็นจังหวัดที่พึ่งพาทรัพยากรทางทะเลมากที่สุดของประเทศไทย สำหรับสุขภาพ สตูลเป็นจังหวัดที่สงบและมีสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี จังหวัดสตูลจึงเป็นจังหวัดที่มีอัตราการตายด้วยโรคมะเร็ง ต่ำเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมากกว่า 3 เท่า นอกจากนั้น สตูลยังมีคนเสียชีวิตด้วยโรคปอดและโรคตับต่ำที่สุดของประเทศ เรียกว่า เป็นจังหวัดที่มีสุขภาพดีมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศ เพราะฉะนั้น ผมจึงเข้าใจดีเลยว่า ทำไมชาวสตูลจึงไม่อยากให้มีโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพราะใครจะเอามรดกอันล้ำค่าของตน ทั้งทะเลที่สวยงามและสมบูรณ์ และสุขภาพที่ดีไปแลกกับมลพิษจากการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราและนิคม อุตสาหกรรมที่จะตามมา ผมไม่แน่ใจว่าจะมีสักกี่จังหวัดที่มีสิ่งแวดล้อมและสุขภาพดีกว่าสตูล ผมขอเป็นกำลังใจให้ชาวสตูลรักษาสองสิ่งนี้ไว้ให้ได้ครับ
  4. ทะเลสตูลสวยจริงๆ สวยเกินกว่าที่จะปล่อยให้ใครมาทำลายครับ
  5. Decharut Sukkumnoed 18 เมษายน · แก้ไขแล้ว วันนี้ผมและครอบครัว มาเรียนรู้เรื่องผลกระทบของท่าเรือน้ำลึกปากบารา ผมเลยสรุปให้ฟังสั้นๆ ด้วยแผนที่ที่ผมสรุปจากการลงพื้นที่มาทั้งวันครับ ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เป็นโครงการหนึ่งในเงินกู้ 2.2 ล้านบาท โครงการนี้จะทำท่าเรือกน้ำลึกกลาง ทะเล โดยถมทะเลกว่าหนึ่งพันไร่ ใช้หินจากภูเขาต่างๆ ในสตูลในทะเลทั้งสิ้น 8 ลูก และทำสะพานข้ามจากฝั่งยาว 4.5 กม. สร้างเขื่อนกั้นคลื่นยาว 2 กม. ในพื้นที่ของเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทำให้รัฐบาลมีความพยายามเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรากว่า 4,734 ไร่ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง และบงส่วนก็ต้องขุดลอกตะกอนทราย เพื่อรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ นอกจากนั้นยังต้องเวนคืนพื้นที่ ประชาชน 3 หมู่บ้าน ประมาณ 2,000 ไร่ เพื่อใช้ในการขนถ่ายสินค้า (เรียกว่า พื้นที่หลังถ่าย) ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพกว่า 200 ครัวเรือน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้แก่ (ก) การสูญเสียพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (ข) การสูญเสียพื้นที่ทำประมงของชาวประมงพื้นบ้าน (ค) กระทบต่อเส้นทางการเดินเรือท่องเทียวจากปากบาราสู่ตะรุเตา และเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งทำรายได้ปีละประมาณ 468 ล้านบาท (ง) กระทบต่อระบนิเวศวิทยาทางทะเล (จ) เสี่ยงต่อการเปิดอุบัติเหตุและ อุบัติภัยทางทะเล (เช่น น้ำมันรั่ว) (ช) การอพยพโยกย้ายชาวบ้าน และ ผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมาเช่น การระเบิดภูเขา นิคมอุตสาหกรรม และการอพยพเข้ามาของแรงงานต่างถิ่น Tif Suk เห็นแล้วอยากชวนคุณชัชชาติลงมาเที่ยวด้วยกันครับ มาให้รู้ว่า คนสตูลเข้าคิดอย่างไรกับโครงการนี้ครับ
  6. Tif Suk 18 เมษายน มานั่งทานข้าวที่อ่าวปากบารา ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จ.สตูล ตกใจหมดเลย อร้าย จะขนาดใหญ่ขนาดน๊าน "หอยหลอดผัดฉ่า" นึกว่าเพรียงจากกระบอกไม้ไผ่ แสดงว่าธรรมชาติที่นี่ยังสมบูรณ์มากๆ กรมเจ้าท่ามันจะคิดตื้นๆเกินไปมั๊ย ที่จะเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ 4734 ไร่ เพื่อถมที่กลางทะเล 1000 ไร่ทำท่าเรือน้ำลึก คิดดู มันต้องไป ทลายอีกภูเขา 8 ลูก แล้วขนมาถม !!!
  7. ปฏิรูปพลังงาน : เปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นโรงไฟฟ้า (กรณีศึกษามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค) โดย ประสาท มีแต้ม 23 กุมภาพันธ์ 2557 17:08 น. เมื่อพูดถึงการปฏิรูปพลังงานหลายคนจะมุ่งเป้าไปที่กิจการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่บทความนี้จะพูดถึงการปฏิรูปกิจการไฟฟ้า เพราะแม้มูลค่าทางการค้าของกิจการไฟฟ้าจะมีขนาดประมาณ 1 ใน 2 ของมูลค่าน้ำมันที่คนไทยใช้ทั้งหมด แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในกิจการไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นรุนแรงมาก นักวิทยาศาสตร์ที่ห่วงใยสังคมได้ประเมินแล้วว่าอันตรายมากที่สุดในโลกในบรรดาภัยจากภาคอุตสาหกรรมทั้งหลาย ขณะนี้ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2013) จะก่อสร้างไฟฟ้าถ่านหินถึง 10 โรงในหลายจังหวัดของภาคใต้ ทั้งๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งอาหารทะเลชั้นนำของโลก ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะลืมไปแล้วถึงผลกระทบต่อชาวแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพราะสื่อเกือบทั้งหมดต่างรับเงินค่าโฆษณาจำนวนมหาศาลจากพ่อค้าพลังงาน สื่อจึงทำหน้าที่รายงานแต่สิ่งที่ไม่สำคัญ จนถึงขั้นบิดเบือน เช่น “เก็บอากาศบริสุทธิ์ใส่ขวด” แต่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยชั้นนำในเยอรมนีพบว่า โรงไฟฟ้าถ่านหิน 300 โรงทำให้คนยุโรปอายุสั้นลง 11 ปี (จากรายงาน Silent Killers : Why Europe must replace coal power with green energy ดาวน์โหลดได้ครับ) นี่คือความจริงที่พ่อค้าพลังงานไม่อยากให้คนไทยได้รับทราบ คำถามที่ตามมาก็คือ เรามีทางเลือกอื่นไหม? คำตอบคือมีครับ และเพื่อให้เกิดพลังใจในการอ่าน ผมขอเรียนสรุปในเบื้องต้นว่า ทั้งๆ ที่เยอรมนีมีแสงแดดน้อยกว่าไทย แต่ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงแดด (โซลาร์เซลล์) ในเยอรมนีในปี 2556 ถ้าสามารถนำมาป้อนให้คนไทยได้จะเพียงพอสำหรับ 17 จังหวัดภาคเหนือและ 14 จังหวัดภาคใต้รวมกัน เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ไม่ยาก เมื่อท่านอ่านจบแล้ว ผมเชื่อว่าท่านคงจะมีความเห็นคล้องกับผมว่า เป็นสิ่งที่สามารถปฏิรูปได้ง่ายกว่ากิจการน้ำมันที่พัวพันกับกลุ่มทุนระดับ โลก โดยประชาชนมีส่วนในการผลักดันนโยบายและรับผลประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและ ทั่วถึง ผมจะนำเสนอโดยลำดับเป็นข้อๆ ดังนี้ 1. ในปี 2554 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้จ่ายค่าไฟฟ้าเฉลี่ย เดือนละ 2.1 หมื่นบาท ซึ่งถือว่าเยอะพอที่จะต้องคิดแก้ปัญหา มูลนิธิฯ จึงได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารซึ่งมี 4 ชั้น โดยเสร็จใช้งานได้ในเดือนตุลาคม 2554 โดยมีขนาด 11 กิโลวัตต์ ใช้พื้นที่ประมาณ 68 ตารางเมตร ในราคา 1.5 ล้านบาท เฉลี่ย 1.36 แสนบาทต่อกิโลวัตต์ (ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่แพงเมื่อเทียบกับราคาปัจจุบัน เพราะว่าราคาลดลงตลอด และมีระบบโครงสร้างที่รับแผงซึ่งผมเห็นว่าดีเกินไป) 2. จากการสอบถามเลขาธิการมูลนิธิ (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ได้ความว่าระบบที่ติดตั้งจะทำให้ค่าไฟฟ้าที่มูลนิธิใช้ลดลง เพราะไฟฟ้าที่ผลิตเองได้จะถูกนำมาใช้ ถ้าไฟฟ้าที่ผลิตได้เองไม่พอใช้ กระแสไฟฟ้าจากระบบสายส่งของการไฟฟ้านครหลวงจะเข้ามาเสริม แต่ถ้าผลิตเองได้มากจนเหลือใช้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันหยุด) กระแสไฟฟ้าที่เหลือก็จะไหลเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้า แต่การไฟฟ้าไม่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้าที่รับไป ทั้งๆ ที่มีมูลค่า ระบบที่ติดตั้งที่นี่ไม่มีแบตเตอรี่นะครับ 3. หลังจากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แล้วค่าไฟฟ้าลดลงจากเดือนละ 21,125 บาทมาเหลือเฉลี่ยเดือนละ 13,030 บาท ทั้งๆ ที่ในระยะหลังมูลนิธิมีเจ้าหน้าที่มากขึ้นและมีห้องสตูดิโอเพิ่มขึ้นด้วย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากกราฟ) 4. เนื่องจากระบบที่ติดตั้งไม่สามารถตรวจวัดได้ว่า ไฟฟ้าที่ผลิตได้เองมีกี่หน่วย และการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนก็ไม่คงที่ ประกอบกับข้อมูลบางส่วนก็ขาดหายไป ผมจึงใช้วิธีการประมาณการตามหลักวิชาคณิตศาสตร์ สรุปได้ว่า ในเดือนตุลาคม 2554 ระบบที่ติดตั้งนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 2,394 หน่วย คิดเป็นเงิน 9,044 บาท (หน่วยละ 3.78 บาท) จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า โดยเฉลี่ยแผงโซลาร์เซลล์นี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ กิโลวัตต์ละ 217 หน่วยต่อเดือน หรือวันละ 7 หน่วยต่อกำลังผลิต 1 กิโลวัตต์ ถ้าคิดเป็นต่อตารางเมตร พบว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1.14 หน่วย โดยทฤษฎี ความเข้มของพลังงานแสงแดดในประเทศไทยสามารถให้พลังงานเฉลี่ย 5.04 หน่วยต่อตารางเมตร ดังนั้นระบบที่ติดตั้งของมูลนิธิฯ ประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 22% ซึ่งถือว่าสูง แต่อย่าลืมว่าเป็นการประเมินบนขีดจำกัดของข้อมูลดังที่กล่าวแล้ว ภาพข้างล่างเป็นข้อมูลเสริมที่ผมใช้ในการบรรยายให้ชาวบ้านที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินฟังครับ อาจจะทำให้ท่านเข้าใจดีขึ้น และเพื่อให้เห็นความวิริยะของชาวเยอรมัน ผมขอนำเสนออีกภาพครับ เป็นการติดตั้งบนอาคารของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง บนพื้นที่หลังคา 3,100 ตารางเมตร โดยเฉลี่ยแล้วสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณแค่ 0.49 หน่วยต่อตารางเมตรเท่านั้น น้อยกว่าเรามาก แต่เขาก็ทำ! พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึงมหาวิทยาลัยที่ผมเคยสอนครับ บางคณะมีพื้นที่หลังคากว่า 15 ไร่ ถ้าติดแผงโซลาร์เซลล์และคิดค่าไฟฟ้าหน่วยละ 6.16 บาท (ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ) ก็จะทำให้คณะนั้นจะมีรายได้ปีละ 30-35 ล้านบาท สบายๆ (หมายเหตุ ทั้งวิทยาเขตเสียค่าไฟฟ้าปีละประมาณ 170 ล้านบาท) 5. ที่กล่าวมาแล้วเป็นเรื่องจริงที่เกิดกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทางมูลนิธิเคยสอบถามทางการไฟฟ้าว่า ทำไมไม่รับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือ คำคอบสั้นๆ แต่แสบ คือ ไม่มีนโยบาย 6. กระทรวงพลังงาน โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานมีโครงการส่งเสริมการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคา โดยจะเดินไฟฟ้าเข้าระบบภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2556 จำนวน 200 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารธุรกิจอย่างละครึ่ง และแบ่งเป็นเขตนครหลวง (กฟน.) 40% และภูมิภาค 60% (หมายเหตุ แค่เกณฑ์นี้ก็เถียงกันได้แล้ว) โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าในกรณีบ้านอยู่อาศัย อาคารธุรกิจขนาดเล็ก อาคารธุรกิจกลาง-ใหญ่/โรงงาน หน่วยละ 6.96 , 6.55 และ 6.16 บาท ตามลำดับ 7. เป็นที่น่าแปลกใจมากว่า ทั้งๆ ที่กระทรวงพลังงานมีวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ว่าเพื่อ “สร้างมูลค่าเพิ่มบนหลังคาบ้านและช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” แต่กฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้กลับขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ กล่าวคือ “(1) อาคารต้องไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ (2) กรณีเป็นนิติบุคคลต้องมีวัตถุประสงค์ในการจดทะเบียนต้องเกี่ยวกับการผลิตและ จำหน่ายไฟฟ้า และ (3) ต้องไม่ติดแผงโซลาร์เซลล์มาก่อน” ผมคิดว่ามันคือกฎเกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เลย ดังนั้น กรณีของมูลนิธิฯ จึงต้องตกไปเพราะข้อ (2) และ (3) 8. จากเอกสารเดิม เขียนว่า ถ้าลงทุนติดตั้งขนาด 1 กิโลวัตต์ (7 ตารางเมตร) จะใช้เงินลงทุน 6 หมื่นบาท (กรณีมูลนิธิฯ 1 กิโลวัตต์ 1.36 แสนบาท) จะผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,300 หน่วย หรือวันละ 0.52 หน่วยต่อตารางเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของมูลนิธิฯ) โดยมีระยะคืนทุน 6 ปี 7 เดือน อย่าลืมนะครับว่า ราคาแผงโซลาร์เซลล์มีราคาลดลงทุกปี ในขณะที่ประสิทธิภาพกลับเพิ่มขึ้น ข้อมูลจากกลุ่มคนที่ศึกษาในกรณีของสหรัฐอเมริกาสรุปว่า ต้นทุนในสหรัฐอเมริกาลดลงเฉลี่ยปีละ 10% ในขณะเดียวกัน ต้นทุนในประเทศเยอรมนีก็มีประมาณครึ่งหนึ่งของในสหรัฐอเมริกา เท่าที่ผมดูผ่านๆ ในเฟซบุ๊ก พบว่าราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์ และจะถูกกว่านี้อีกในอนาคตอันใกล้ ในเรื่องการคืนทุน กรรมการจากสภาอุตสาหกรรมท่านหนึ่งได้กล่าวนอกห้องประชุมแห่งหนึ่งว่า หากได้รับอนุญาตในประเทศไทยและอัตราการจ่ายในปัจจุบันจะสามารถคืนทุนได้ ประมาณ 4 ปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ข่าวการจ่ายใต้โต๊ะจึงหนาหูมาก ประเด็นสำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์อยู่ที่ไหน? บทเรียนจากเยอรมนี ในปี 1999 ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ (Hermann Scheer) อดีต ส.ส. ฝ่ายค้าน ได้เล่าให้ฟังว่า ตนได้ร่วมกับพรรคพวกเพียง 2-3 คนเท่านั้น สามารถผ่านกฎหมายที่มีชื่อว่า “Law for the Priority of Renewable Energies (กฎหมายเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนก่อน)” วิธีการในกฎหมายนี้มีสาระสำคัญง่ายๆ 3 ข้อเท่านั้น หากขาดข้อใดข้อหนึ่งหรือเพี้ยนไปจากนี้แม้เพียงเล็กน้อยก็จะไม่บรรลุตามความ มุ่งหมายของแนวคิด ข้อที่ 1 ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed In) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน ข้อที่ 2 เป็นสัญญาระยะยาวประมาณ 20-25 ปี ข้อที่ 3 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น (บ้าง) ให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ การไปจำกัดจำนวนของกระทรวงพลังงานไทยจึงเป็นการฝ่าฝืนหลักการ สำคัญในข้อแรก ที่เหลือก็ไม่ต้องพูดกันให้เสียเวลา นอกจากนี้ยังมีระเบียบหยุมหยิมอีกเยอะมาก เช่นต้องมีวิศวกรเซ็นรับรองคำขอ เป็นต้น สำหรับข้อ 3 ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ผมคำนวณคร่าวๆ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณเดือนละ 20-30 บาทต่อครอบครัวเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับว่าจะผลิตเท่าใด) ซึ่งผมเชื่อว่าคนไทยคงจะยอมได้เพื่อแลกกับสุขภาพของผู้รับผลกระทบจากโรง ไฟฟ้าถ่านหิน ประเด็นสุดท้าย ผมขอนำเรื่องราวของกลุ่มเคลื่อนไหวในสหรัฐอเมริกามาเล่าครับ พร้อมข้อมูลสำคัญในแผ่นสไลด์สำหรับท่านที่สนใจเชิงลึก สาระสำคัญของกลุ่มนี้ก็คือการทำพลังงานให้เป็นประชาธิปไตย ด้วยการกระจายโรงไฟฟ้ามาอยู่บนหลังคาบ้านของตนเองซึ่งก็เป็นกลไกของธรรมชาติ อยู่แล้ว พวกเขาเสนอทีเล่นทีจริงว่าจะตั้งพรรคการเมือง โดยเสนอนโยบายว่า จะส่งเสริมให้บ้านทุกหลังต้องผลิตไฟฟ้าให้ได้ 3 กิโลวัตต์ (ดังรูป) ในหนึ่งบ้านมีสิทธิ์ออกเสียงได้ 2 คน ดังนั้น ถ้ามีสมาชิก 100 ล้านหลัง พวกเขาก็จะชนะการเลือกตั้งอย่างแน่นอน หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยคือการกระจายอำนาจโดยการใช้ประโยชน์จากพระอาทิตย์ แต่สิทธิดังกล่าวได้ถูกพ่อค้าพลังงานและนักการเมืองบางกลุ่มละเมิด ด้วยกระบวนการที่ว่า “หนึ่งล้างสมองสองปล้น” ตามชื่อหนังสือเล่มใหม่ของผมครับ หากท่านสนใจกรุณาค้นหารายละเอียดได้จากบทความครั้งก่อนครับ
  8. เขาปั่นราคาน้ำมันกันอย่างไร : กรณีสัมปทานปิโตรเลียมไทย โดยประสาท มีแต้ม 26 มกราคม 2557 16:07 น. “ถ้าคุณต้องการจะปกครองโลก คุณจำเป็นต้องควบคุมน้ำมันให้ได้ทั้งหมดและทุกหนทุกแห่งด้วย” (“If you want to rule the world, you need to control oil. All the oil. Anywhere.” Michel Collon, Monopoly) ผมทราบจากคอลัมนิสต์หลายคนมานานแล้วว่า ราคาน้ำมันดิบที่ขายกันอยู่ในตลาดโลกที่ประมาณ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลนั้น เงินจำนวนประมาณครึ่งจะเข้าสู่กระเป๋าของนักเล่นหุ้นในตลาดวอลล์สตรีท โดยที่ในแต่ละวันชาวโลกบริโภคน้ำมันประมาณ 100 ล้านบาร์เรล แต่ผมก็นึกไม่ออกว่ามันเข้าไปสู่กระเป๋าคนเหล่านั้นได้อย่างไร และทำไมจึงมากมายถึงขนาดนั้น มาวันนี้ ผมเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นจากตัวอย่างการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยเรานี่เอง แต่ก่อนจะไปตรงนั้น มาดูผลกำไรของผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลกกันสักนิด ข้อมูลจากภาพข้างล่างนี้คือกำไรในช่วง 3 เดือนแรกในปี 2554 ของ 5 บริษัทปิโตรเลียม (จากบทความของ Erik Curren, http://transitionvoice.com) กำไรดังกล่าวถ้าคิดทั้งปีก็ประมาณสองเท่าของงบประมาณแผ่นดินประเทศไทยทั้งปี คราวนี้มาถึงเรื่องของประเทศไทยครับ ซึ่งผมจะขอแบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลัก คือ (1) วิธีการให้สัมปทานปิโตรเลียม (2) การปั่นราคาน้ำมันจากการขายสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งหนึ่งในภาคอีสาน และ (3) ทุนน้ำมันกับผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก วิธีการให้สัมปทานปิโตรเลียมกับการประกวดนางสาวไทย ถ้าเปรียบเทียบวิธีการพิจารณาผู้ขอรับสัมปทานปิโตรเลียมกับวิธีการคัดเลือก นางสาวไทยพบว่ามีทั้งสิ่งที่เหมือนและสิ่งที่ต่างกัน สิ่งที่เหมือนกันได้แก่ ผู้ขอรับสัมปทานปิโตรเลียมต้องเป็นบริษัท ต้องมีทุน เครื่องจักร อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญที่พอจะผลิต สำรวจ และขายปิโตรเลียมได้ แต่ในกรณีที่มีทุนไม่เพียงพอหรือครบถ้วน ถ้ามีบริษัทอื่นซึ่งรัฐบาลเชื่อถือรับรองที่ จะให้ทุน ก็สามารถขอสัมปทานได้เหมือนกัน ฯลฯ (ข้อ 4 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. 2555) โดยต้องซื้อแบบฟอร์มในราคาชุดละ 1 หมื่นบาท ในกรณีนางสาวไทยเท่าที่ผมเคยดูทางโทรทัศน์ พบว่าต้องมีสโมสรหรือสมาคมส่งเข้าประกวด จะเดินดุ่ยๆ ไปสมัครคนเดียวโดยไม่มีใครส่งเข้าประกวดไม่ได้ ผมเข้าใจว่าผู้สมัครนางสาวไทยก็ต้องกรอกแบบฟอร์มและเสียค่าสมัครเหมือนกัน แต่จะกี่บาทนั้นผมไม่ทราบ การกรอกใบสมัครของผู้ขอสัมปทาน ต้องระบุปริมาณเงินและปริมาณงานสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละ แปลง ผู้ขอสัมปทานจะเสนอให้ผลประโยชน์พิเศษ เช่น การให้เงินทุนการศึกษา เงินอุดหนุน เงินให้เปล่าในการลงนามในสัมปทาน หรือเงินให้เปล่าในการผลิต นอกเหนือไปจากเงื่อนไขที่ทางราชการได้กำหนดให้เป็นผลประโยชน์พิเศษไว้ในการ ประกาศยื่นคำขอสัมปทานก็ได้ การตัดสินก็ใช้ความเห็นของคณะกรรมการปิโตรเลียม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ก้อนใหญ่ที่สุดที่ประเทศจะได้รับ เพราะทุกบริษัทจะต้องจ่ายค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ ผลประโยชน์พิเศษในอัตราที่อยู่ในกฎหมายเท่ากันอยู่แล้ว ดังนั้น การตัดสินจึงขึ้นอยู่กับอำนาจการวินิจฉัยของกรรมการเท่านั้น การประกวดนางสาวไทย ก็มีลักษณะคล้ายกัน หลังจากการคัดเลือกหน้าตา ทรวดทรงองค์เอว (ตามความเห็นของคณะกรรมการ) แล้ว ตอนสุดท้ายยังมีการตอบคำถาม เพื่อแสดงทัศนะ เช่น รักเด็ก รักสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่สิ่งที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็คือ ผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยจะเป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ไม่สามารถโอนให้ใครอื่นได้ หรือจะขายต่อให้ใครก็ไม่ได้ และมีอายุแค่ 1 ปี ในขณะที่ผู้ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมนั้นสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ ในราคาที่มีกำไรนับหลายพันล้านบาท โดยที่อายุสัมปทาน 20 ปี และในกรณีที่ผลิตปิโตรเลียมไม่ทันภายใน 20 ปี ก็ขอต่อระยะเวลาผลิตได้อีก 10 ปี ยังไม่รวมช่วงการสำรวจอีก 9 ปี ทั้งหมดรวมก็ 39 ปี เกี่ยวกับระบบการเก็บผลประโยชน์ของรัฐจากปิโตรเลียมนี้ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และอื่นๆ ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต คือนำผลผลิตมาแบ่งกัน ดังนั้น การขึ้นลงของราคาน้ำมันจะไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเจ้าของ ประเทศกับบริษัท สหรัฐอเมริกาเองก็ใช้ระบบการให้สัมปทาน โดยคิดค่าภาคหลวง 12.5% แต่ต่อมาโดยการริเริ่มของสมาชิกสภา ได้มีการศึกษาพบว่า “สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศของโลกที่รัฐได้ผลประโยชน์น้อยที่สุด” (Government Accountability Office found that the U.S. government “receives one of the lowest government takes in the world.”) และต่อมาได้มีการขยับจาก 12.5% เป็น 16.75-18.75% แต่ของประเทศไทยเราก็เคยเก็บ 12.5% แต่กลับแก้ไขใหม่อย่างมีเงื่อนไข แล้วผลลัพธ์สุดท้ายรัฐกลับได้รับลดลง การปั่นราคาน้ำมันจากการขายสัมปทานปิโตรเลียม ผมใช้เวลาสืบค้นข้อมูลโดยการเริ่มต้นจากข้อมูลรายงานประจำปี 2554 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในที่สุดก็พบเอกสารของบริษัท Pan Orient Energy (บริษัทชาวแคนาดา) เป็นข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม 2556 ผมตัดบางส่วนของข้อความมาลงไว้ในที่นี้ สาระสำคัญในแผ่นสไลด์นี้ก็คือ ประวัติการสร้างมูลค่าในแหล่งสัมปทานบนบก L44 และ L33 ในประเทศไทย (ดูแผนที่ข้างล่างประกอบ) โดยซื้อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2550 ในราคา 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และขายต่อไปในเดือนมิถุนายน 2555 ในราคา 172 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากค้นเพิ่มเติมได้ความว่า หลังจากหักต้นทุนดำเนินการ (ประมาณ 8 ล้านเหรียญสหรัฐ) และจ่ายภาษีแล้วบริษัทมีกำไร 162 ล้านเหรียญสหรัฐ (http://finance.yahoo...-150118468.html) คิดเป็นเงินไทยก็เกือบ 5 พันล้านบาท โดยมีอัตรากำไรประมาณ 22 เท่าของเงินลงทุน ภายในเวลา 5 ปี เงินกำไรจำนวนนี้นอกจากรัฐไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นต้นทุนเพื่อใช้ในการหักภาษีเงินได้ปิโตรเลียมให้กับผู้รับซื้อ สัมปทานใหม่ได้ด้วย สิ่งที่ผมกระหายใคร่รู้ก็คือ บริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ ซื้อมาจากใครและขายไปให้ใคร ทำไมจึงมีกำไรเยอะขนาดนี้ และมีน้ำมันดิบสำรองเท่าใด ฯลฯ ผมจึงเริ่มสืบค้นการให้สัมปทานโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงขอสรุปมาเป็นตาราง ดังนี้ สำหรับตำแหน่งที่ตั้งของแหล่ง L33/43 และ L44/43 อยู่ใน 3 อำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ครับ ข้อมูลที่ผมได้จากรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่ตรงกับข้อมูลใน เว็บไซต์ของบริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ กล่าวคือ ข้อมูลแรก บริษัทในเครือของแพน มีสัดส่วนการลงทุน 100% แต่ข้อมูลหลังระบุว่าแปลงที่ขายไปบริษัทมีหุ้นแค่ 60% แต่ก็ไม่ยอมระบุว่าซื้อจากใครและขายให้ใคร ดังนั้น ในตอนนี้ผมขอสันนิษฐานว่า บริษัท แพน โอเรียนท์ เอ็นเนอยี่ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ซื้อมาจากบริษัทลูกของตนเองในราคา 7.5 ล้านเหรียญ เมื่อเดือนตุลาคม 2550 (โดยผู้ขายลงทุนไปจำนวนหนึ่ง แต่ผมไม่ทราบนอกจากค่าธรรมเนียมการขอสัมปทานหนึ่งหมื่นบาท) สำหรับตอนที่ขายออกไป ผมค้นได้แล้วว่าขายไปให้กับบริษัท Towngas ซึ่งเป็นบริษัทของชาวฮ่องกงและชาวจีน (http://www.towngas.com) โดยบริษัทนี้ระบุว่าแหล่งนี้มีน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้ว (1P) จำนวน 10 ล้านบาร์เรล และสำรองที่ค่อนข้างแน่นอน(2P) อีก 30 ล้านบาร์เรล โดยคาดว่ายังสามารถผลิตต่อไปได้อีก 20 ปีนับจากปี 2555 ด้วยปริมาณสำรองจำนวนนี้ และด้วยการซื้อขายเปลี่ยนมือสัมปทานกันในราคานี้เพียงอย่างเดียว ได้ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นถึง 5-6 เหรียญต่อบาร์เรลแล้ว ดังนั้น เรื่องที่ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ถูกปั่นไปเท่าตัวก็เป็นเรื่องที่พอ เข้าใจได้ เพราะไม่ได้มีขั้นตอนเดียว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2556 (ข้อมูลล่าสุด) แหล่ง L33/43 และ L44/43 ผลิตน้ำมันดิบได้จำนวน 11.3 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 24,571 ล้านบาท โดยรัฐได้ค่าภาคหลวง 1,537 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 6.3 หมายเหตุ กฎหมายเดิมเคยได้ 12.5% แต่หลังจากปี 2532 เป็นต้นมาได้มีการแก้กฎหมายเป็นร้อยละ 5-15 ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่มีแหล่งเล็กๆ โดยจ่ายแค่ 6.3%) สิ่งที่คนไทยเราอยากจะทราบก็คือ บริษัทนี้จ่ายภาษีเงินได้ให้รัฐเท่าใด ผมไม่มีข้อมูลครับ แต่การที่บริษัท Towngas ซื้อมาในราคา 172 ล้านเหรียญ (5,160 ล้านบาท) ก็ถือว่าเป็นต้นทุนของบริษัท Towngas ที่สามารถนำไปหักเป็นต้นทุนจากเงินรายได้ของบริษัท แม้แต่ในกรณีหนี้สูญก็สามารถคิดเป็นต้นทุนได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า นี่คือต้นทุนเทียมที่มีผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น โดยที่เจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมไม่ได้ประโยชน์ใดๆ โดยสรุปก็คือ ยิ่งมีการซื้อ-ขายสัมปทานกันบ่อยครั้งเท่าใด ราคาน้ำมันก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และปรากฏการณ์ในประเทศไทยเรานี้ เป็นเรื่องปกติของวงการค้าน้ำมันโลก ทุนน้ำมันกับผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก การที่ใครคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกิดมีทุนมากๆ ขึ้นมาแล้วจะมีผลอย่างไร ผมว่าไม่ต้องไปดูตัวอย่างที่ไหนหรอก “ระบอบทักษิณ” นี่แหละชัดเจนที่สุดแล้ว และได้ตอกย้ำโดยการเปิดเผยของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ว่ามีการ “ซื้อ ส.ว. สั่งสื่อมวลชนให้ช่วยคนของตนชนะการเลือกตั้ง สั่งสภาแก้กฎหมายเพื่อให้ตนขายหุ้นได้ประโยชน์มากขึ้น” เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเรื่องทุนน้ำมันโดยตรงนั้น ตัวอย่างที่ชัดเจนและจำกันได้ง่ายๆ เช่น กรณี ส่งครามอ่าวเปอร์เซีย และการบุกอิรักของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2546 ซึ่งคนของสหรัฐอเมริกาเองได้เปิดเผยในเวลาต่อมาว่า “เพื่อคุมแหล่งน้ำมัน” มีนักลงทุนชาวเบลเยียมท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “พ่อค้าน้ำมันนั้นก็เหมือนแมว คือเราไม่สามารถรู้ได้เลยโดยการฟังเสียงร้องของมันว่ามันกำลังจะต่อสู้กันหรือกำลังจะผสมพันธุ์กัน” พ่อค้าน้ำมันก็เช่นเดียวกัน การส่งเสียงคำรามและการใช้อาวุธเข่นฆ่ากันนั้น บางครั้งก็เป็นการประสานผลประโยชน์ของพ่อค้าน้ำมันเอง ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังมีปัญหาว่า ผลการเลือกตั้งและนโยบายของรัฐบาลไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนเลย นอกจากนี้ ข้อมูลจากกลุ่ม “ยึดวอลล์สตรีท (Occupy Wall Street)” ระบุว่า “ผู้ชนะการเลือกตั้ง 90% ในทุกระดับของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ใช้เงินหรือรับเงินเป็นจำนวนมาก” น้ำมันไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะต่อระบอบประชาธิปไตยของคนทั่วโลกเท่านั้น แต่ที่สำคัญยังมีผลต่อระบบสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย ปรากฏการณ์ที่อากาศหนาวสุดๆ ในประเทศไทยและทั่วโลกในขณะนี้ ก็มีสาเหตุสำคัญที่สุดมาจากการเผาปิโตรเลียมและถ่านหินซึ่งได้กลายเป็น สินค้าผูกขาดของกลุ่มพ่อค้าพลังงานหยิบมือเดียว ผมแปลกใจมากๆ ว่า ในขณะที่คนบางกลุ่มยึดมั่นต่อการเลือกตั้งอย่างเดียวเป็นสรณะ แต่ไม่ได้สนใจทุนสามานย์ข้ามชาติที่สามารถเคลื่อนไปที่ไหนก็ได้โดยที่ ประชาชนในประเทศนั้นๆ ไม่ได้เลือก การเลือกตั้งเป็นเพียง 1 ใน 4 ของวิธีการที่จะนำสังคมไปสู่สิ่งที่ต้องการ อีก 3 วิธีที่เหลือ ที่ทุนสามานย์พยายามปิดบังมาตลอดคือ (2) การมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของประชาชน (3) การเคารพสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และ (4) การใช้หลักนิติรัฐและนิติธรรม โดยสรุป ปัจจุบันนี้ทุนสามานย์ที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนได้มีอิทธิพล เหนือรัฐบาลทั่วโลกที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งประเทศไทยที่เราเห็นกันอยู่อย่างโทนโท่แล้ว ครับผม!
  9. เหตุผล 12 ประการ ทำไมต้องปฏิรูปพลังงาน (ฝากถึงกำนันสุเทพ) โดย ประสาท มีแต้ม 9 กุมภาพันธ์ 2557 16:58 น. ผมรู้สึกดีใจเมื่อได้ยิน “กำนันสุเทพ” ประกาศบนเวที กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) เพื่อเรียกร้องให้นักวิชาการมหาวิทยาลัยต่างๆ ช่วยกันคิดว่าจะ “ปฏิรูป” อะไรบ้าง และอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 ด้านใหญ่ๆ แม้ลุงกำนันจะได้เอ่ยถึงประเด็นพลังงานบ้างเพียงแค่ชื่อในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แต่ผมก็ยังไม่ได้ยินคำว่า “ปฏิรูปพลังงาน” อย่างชัดๆ จากปากของลุงกำนันเลย ลุงกำนันอาจจะคิดเอาเองว่าประเด็นพลังงานเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เข้าใจยาก หรืออาจจะสร้างความแตกแยกในกระบวนการต่อสู้เสียก่อน ผมไม่อาจจะทราบได้ แต่ผมในฐานะที่เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมา 37 ปี และได้ให้ความสนใจกับประเด็นพลังงานมาอย่างต่อเนื่องร่วม 20 ปี ผมขอถือโอกาสนี้นำเสนอทั้งต่อลุงกำนันและสาธารณะด้วยเหตุผลเป็นข้อๆ โดยที่บางประเด็นสามารถทำได้ง่าย ดังต่อไปนี้ครับ หนึ่ง พลังงานที่ผูกขาดได้รับการส่งเสริม แต่พลังงานที่เป็นประชาธิปไตยถูกกีดกัน ข้อมูลเชิงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า “พลังงานฟอสซิลและนิวเคลียร์ที่มนุษย์ทั้งโลกใช้ทั้งปีนั้นเท่ากับพลังงานที่พระอาทิตย์ส่องให้ผิวโลกเพียงแค่ 8 นาที เท่านั้น” แต่ความเป็นจริงในปัจจุบันพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของพลังงานที่ชาวโลกใช้เป็นพลังงานฟอสซิลซึ่งได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ที่ได้ถูกผูกขาดโดยพ่อค้าพลังงาน ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนที่ มีการกระจายอยู่ทั่วไป (อันเป็นหลักการสำคัญเดียวกันกับหลักการประชาธิปไตย ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล) ได้ถูกกีดกันและเบียดให้ตกตลาดไปมากขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา กระบวนการกีดกันไม่มีอะไรซับซ้อนมาก ตั้งแต่การใช้เงินภาษีของประชาชนไปอุดหนุนพลังงานฟอสซิลและนิวเคลียร์ สร้างระบบความคิดที่ผิดๆ ผ่านการศึกษาในระบบ รวมถึงการใช้สื่อมวลชนที่รับเงินจากพ่อค้าพลังงานมาล้างสมอง เช่น “พลังงานแสงอาทิตย์ไม่มั่นคง ราคาแพง”, “ถ่านหินเป็นพลังงานสะอาด” ทั้งๆ ที่ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย Sturdguard พบว่า “โรงไฟฟ้าถ่านหินคือฆาตกรเงียบ” ประกอบกับการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารถึงความสำเร็จของพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น สอง พลังงานครอบคลุมทุกมิติของชีวิต เรื่องพลังงานไม่ใช่แค่เรื่องน้ำมันแพง ก๊าซขึ้นราคา หรือการทวงคืน ปตท. ตามที่เป็นกระแสในสังคมออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของไฟฟ้าทั้งในเรื่องราคาที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบต่อชีวิตของ ชุมชนดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะและอีกหลายจังหวัดในทุกภาคของประเทศที่กำลังมีการต่อต้านกัน อยู่ในขณะนี้ เรื่องพลังงานเป็นเรื่องที่มีหลายมิติ ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งต่อชุมชนโดยตรงและต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน เรื่องสิทธิชุมชน รวมถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายพลังงานของประชาชนด้วย นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของโอกาสในการคอร์รัปชันของนักการเมืองและจรรยาบรรณ ของสื่อมวลชนด้วย จากการเปิดเผยของกลุ่ม Occupy Wall Street พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะเข้าสู่กระเป๋าของคนเล่นหุ้น รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้มีการก่อสงครามต่อประเทศที่มีแหล่งปิโตรเลียมด้วย การที่สื่อโทรทัศน์ วิทยุและสิ่งพิมพ์ต่างได้รับเงินก้อนโตจากพ่อค้าพลังงานรวมทั้งกระทรวง พลังงานซึ่งเป็นส่วนราชการด้วย จึงเป็นเหตุให้สื่อทำหน้าที่สองอย่างคือ (1) นำเสนอเรื่องบิดเบือนความจริง และ (2) ถ้าเป็นเรื่องจริงก็มักจะเป็นเรื่องไม่สำคัญ เช่น ข่าวหมีตั้งท้อง เป็นต้น ดังนั้นข่าวความก้าวหน้าของบางประเทศ หรือข่าวผลกระทบต่อชุมชนจึงไม่นำเสนอ ดังนั้น เรื่องพลังงานจึงเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้กับความเป็นประชาธิปไตย ถ้าความเป็นประชาธิปไตยมี 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ (1) การเข้าสู่อำนาจรัฐโดยกระบวนการเลือกตั้งที่อิสระและยุติธรรม (2) การมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของประชาชน (3) การเคารพสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน และ (4) การใช้หลักนิติธรรม ประเด็นพลังงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ใน 4 ซึ่งรวมถึงการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2514 แต่ได้ถูกแก้ไขโดยการให้คำปรึกษาของพ่อค้าพลังงานเพื่อให้ตนได้รับผล ประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม สาม ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยเพิ่มจาก 1 ใน 10 เป็น 1 ใน 5 ของรายได้ เพื่อให้เห็นถึงขนาดและความรุนแรงของปัญหาด้านพลังงาน โปรดดูข้อมูลนี้ ในปี 2555 คนไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 2.14 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ถ้าใช้ตัวเลขกลมๆ พบว่าคนไทยต้องใช้เงิน 1 ใน 5 ของรายได้เพื่อซื้อพลังงานอย่างเดียวซึ่งถือว่าเป็นรายจ่ายที่สูงมากเมื่อ เทียบกับประเทศอื่นๆ และหากย้อนหลังไปถึงปี 2535 และปี 2529 ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยอยู่ที่ 1 ใน 10 และ 1 ใน 15 ของจีดีพีเท่านั้น สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อจีดีพีที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ จริงอยู่มันสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่ต้องขึ้นอยู่กับการพึ่งพาเครื่อง ทุ่นแรง การเดินทางขนส่งและเครื่องอำนวยความสะดวกมากขึ้น แต่ก็ได้สะท้อนถึงราคาพลังงานที่สูงขึ้นด้วย สี่ กิจการไฟฟ้าน่าจะปฏิรูปง่ายกว่าน้ำมัน หากจำแนกรายจ่ายตามชนิดของพลังงานในปี 2555 พบว่า เป็นค่าน้ำมัน 1.3 ล้านล้านบาท หรือ 61% ของรายจ่ายพลังงาน ค่าไฟฟ้า 5.5 แสนล้านบาท (26%) และก๊าซธรรมชาติ (แอลพีจีและเอ็นจีวี) 1.2 แสนล้านบาท (และจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 แสนล้านบาทเมื่อการขึ้นราคาเดินไปครบตามแผนการในปลายปี 2557) สำหรับค่าใช้จ่ายด้านพลังงานหมุนเวียนที่คนธรรมดาสามารถเข้าถึงได้ง่าย กลับมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานจากแสงแดด และลม ในภาคไฟฟ้าแทบจะไม่มีเลย อนึ่ง แม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้ามีน้อยเมื่อเทียบกับค่าน้ำมัน แต่มีความจริงเพิ่มเติมอีก 2 อย่างครับ คือ (1) ยังไม่รวมค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า (ตามแผนพีดีพี 2010) อีกโดยเฉลี่ยปีละ 2 แสนล้านบาท และ (2) ในการตัดสินใจเลือกชนิดเชื้อเพลิง ข้าราชการจะคิดเฉพาะต้นทุนภายใน (Internal Cost) ของกิจการ แต่ไม่สนใจต้นทุนภายนอก (External Cost) ซึ่งก็คือต้นทุนของชุมชนรอบๆ โรงไฟฟ้านั่นเอง โดยที่ต้นทุนภายนอกหรือความเสียหายของโรงไฟฟ้าถ่านหินสูงถึง 3-4 เท่าของต้นทุนภายใน ดังนั้น มูลค่าจากกิจการไฟฟ้าจึงอาจจะสูงพอๆ กับกิจการน้ำมันก็เป็นไปได้ แต่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมีสูงมากกว่าน้ำมัน และโอกาสในการปฏิรูปน่าจะมีความเป็นไปได้ง่ายกว่า (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) ห้า อันดับความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันของคนไทยติดอันดับโลก เมื่อมีการร้องว่า ราคาน้ำมันในประเทศไทยแพงกว่าบางประเทศ ทางราชการก็จะหยิบเอาประเทศที่มีราคาแพงกว่าบ้านเรามาเกทับ ความจริงแล้วความถูกหรือแพงต้องเทียบกับรายได้ของประชาชน ไม่ใช่แค่การเทียบราคาสินค้าอย่างเดียว (เรื่องแค่นี้ก็โกงเสียแล้ว) ตารางข้างล่างนี้เป็นบางส่วนของการศึกษาของ Bloomberg วิธีการศึกษาเขาสุ่มประเทศต่างๆ มา 61 ประเทศ กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของโลก เขาใช้รายได้เฉลี่ยต่อวัน ราคาน้ำมัน (ที่ปั๊ม) เฉลี่ยต่อลิตร และ “อันดับความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมัน” โดย ที่ความเจ็บปวดก็คือ “ร้อยละของรายได้ในหนึ่งวันเพื่อซื้อน้ำมันหนึ่งลิตร” ซึ่งอันดับแรกหมายถึงมีความเจ็บปวดมากที่สุด อันดับต่ำๆ หมายถึงมีความเจ็บปวดน้อย หรือน้ำมันมีราคาถูกเมื่อเทียบกับรายได้ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนของประเทศอินเดียและสหรัฐอเมริกามีอันดับความเจ็บปวดเป็นอันดับแรก และอันดับที่ 56 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยเราอยู่ในอันดับที่ 9 ซึ่งมีความเจ็บปวดมากกว่าประเทศจีนเพียงนิดเดียว โดยที่เมื่อต้นปีประเทศไทยเคยอยู่อันดับที่ 11 (นับวันยิ่งแย่มากขึ้น) แค่เรื่องที่คนไทยมีความเจ็บปวดมากกับเรื่องราคาน้ำมันก็มีเหตุผล เพียงพอแล้วที่จะต้องปฏิรูประบบพลังงาน แต่ผมยังมีประเด็นที่สำคัญอีกมากครับ หก ยกเลิกของทุนน้ำมัน ฟังเพียงผิวเผิน กองทุนน้ำมันเป็นเรื่องดี แต่ในความเป็นจริงกลายเป็นเครื่องมือให้นักการเมือง เช่น ในช่วงการเลือกตั้งปี 2548 รัฐบาลยอมให้กองทุนน้ำมันติดลบกว่า 7 หมื่นล้านบาท เพื่อตรึงราคาน้ำมันในช่วงหาเสียง ปัจจุบันมีการเก็บเงินเข้ากองทุนจากน้ำมันบางประเภทถึงลิตรละ 10 บาท ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีให้กับภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี (ซึ่งเป็นของ ปตท.) เจ็ด ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ความจริงจากเยอรมันที่คนไทยไม่เคยรู้ ทั้งๆ ที่ความเข้มต่อตารางเมตรของพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศเยอรมนีมีน้อยกว่า ประเทศไทยเยอะ (คือ เยอรมนีมี 12.4 แต่ไทยมี 18.2 หน่วย) แต่พบว่าในปี 2556 ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้ถึง 29,300 ล้านหน่วย ปริมาณไฟฟ้าจำนวนนี้มีจำนวนมากว่าที่คนไทยในภาคเหนือ 17 จังหวัดและภาคใต้ 14 จังหวัดรวมกัน
  10. แนวทางการปฏิรูปพลังงาน : บทเรียนจากเยอรมนี โดย ประสาท มีแต้ม 9 มีนาคม 2557 15:21 น. ถ้าว่ากันตามกระแสสังคมที่ได้สะท้อนกันออกมาว่า “ราคาน้ำมันโคตรแพง” ในประเด็นนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ และผมก็ได้เคยนำเสนอข้อมูลมาเสริมแล้วว่า “ราคาน้ำมันของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 สูงเป็นอันดับ 9 จากการสำรวจ 61 ประเทศทั่วโลก เมื่อเทียบกับรายได้ต่อวัน ในขณะที่ช่วงไตรมาสแรกอยู่ที่อันดับ 10 คือแย่ลงๆ” ความจริงแล้วเหตุผลเพียงแค่นี้ก็มากเกินพอที่จะต้องแก้ไขหรือปฏิรูปกันโดยด่วนแล้ว แต่พี่ไทยเราก็ “ทนได้” เรื่อยมา จนเมื่อกำนันสุเทพได้ประกาศบนเวทีว่า “มวลมหาประชาชนต้องการปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง” คนไทยซึ่งมีความอดทนเป็นเลิศก็ดีอกดีใจกันยกใหญ่ ทำให้คนบางกลุ่มที่เกาะติดประเด็นมานานได้เรียกร้องให้มีการ “ปฏิรูปพลังงาน” เข้าไปด้วยเพราะราคามันโคตรแพงดังที่กล่าวแล้ว ไม่เพียงแต่เรื่องราคาน้ำมันแพง ก๊าซแพงเท่านั้นที่ประชาชนรู้สึกไม่พอใจ แต่ความไม่พอใจได้เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่การแปรรูป “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” ที่เป็นของรัฐ 100% (ปี 2544) และได้รับการมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนประชาชนเพื่อนำผลประโยชน์จากทรัพยากร ปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ แต่ได้กลายมาเป็นของประชาชนเพียงแค่ 51% เท่านั้น กระแสความไม่พอใจของประชาชนได้กระพือออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง มากด้วยการใช้การสื่อสารออนไลน์ที่มีต้นทุนน้อย (ซึ่งก่อนหน้านี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในสื่อกระแสหลัก) สาระสำคัญของการสื่อสารดังกล่าว ไม่ได้มีแค่ราคาน้ำมันโคตรแพงเท่านั้น แต่ประเด็นได้ขยายออกไปสู่ เรื่องการบริหารจัดการผลประโยชน์จากปิโตรเลียมของรัฐที่ไม่เป็นธรรม ระหว่างประชาชนกับบริษัทรับสัมปทานสำรวจและขุดเจาะ (ที่บริษัทรับสัมปทานได้กำไรสุทธิในปี 2554 ถึงร้อยละ 97 ของเงินลงทุน) ตลอด จนความไม่มีธรรมาภิบาล เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกรรมการบริหารบริษัท ปตท. จำกัด ที่ได้ถูกแปรรูปไปแล้ว เป็นต้น ผมชื่นชมทุกท่านที่มีส่วนร่วมกันทำให้เกิดกระแสสังคมดังกล่าว ท่ามกลางเสียงแก้ตัว ต่างๆ นานาของทั้งพ่อค้าพลังงาน นักการเมืองและข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้อง แต่… ผมได้เรียนผ่านคอลัมน์ “โลกที่ซับซ้อน” (และสื่อออนไลน์อื่นๆ) มาตลอดเป็นเวลานานมาแล้วว่า ประเด็นพลังงานไม่ได้มีแค่ประเด็นที่ผมได้กล่าวมาในที่นี้เท่านั้น ยังมีเรื่องไฟฟ้าที่คนไทยต้องจ่ายเฉพาะค่าไฟฟ้าอย่างเดียวปีละกว่า 5-6 แสนล้านบาท ยังไม่นับค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าอีกปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่สำคัญมากก็คือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้าถ่าน หินมันกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ทั้งรอบๆ โรงไฟฟ้าและส่งผลต่อสภาวะแวดล้อมของโลกทั้งใบด้วย ในฐานะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ที่ชาวบ้านร้องเรียนมาเป็นจำนวนมาก ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่หลายโรงในหลายจังหวัดของภาคใต้ และโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ควรจะได้รับการส่งเสริม แต่ข้าราชการไทยก็เลี่ยงบาลีให้มีขนาด 9.9 เมกะวัตต์ เพราะกฎหมายระบุว่าถ้าเกิน 10 เมกะวัตต์แล้วจะต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ประเทศเยอรมนีโรงไฟฟ้าชีวมวลจะมีขนาดเล็กเพียง 0.5 ถึง 1 เมกะวัตต์เท่านั้น (หมายเหตุ โรงไฟฟ้าในจังหวัดกระบี่ขนาด 0.4 เมกะวัตต์ สามารถขายไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 20 ล้านบาท!) ประเด็นที่ผมนำเสนอนี้ไม่ได้เป็นข่าว ไม่เป็นกระแสสังคมครับ ถ้าเป็นบ้างก็แค่รายงานข่าวเพียงสั้นๆ พอให้รู้ว่าได้เกิดอะไรขึ้นเท่านั้น แต่สาระและเหตุผลที่ลึกๆ ที่เป็นทางออกไม่ได้มีการนำเสนอเลย ที่สำคัญมากๆ สังคมไทยได้ถูกพ่อค้าพลังงานทำให้เชื่อเสียแล้วว่า “ถ่านหินสะอาด การพัฒนาก็ต้องได้อย่างเสียอย่าง ต้องมีผู้เสียสละ” เป็นต้น แต่สื่อที่เกือบทั้งหมดได้รับเงินโฆษณาทางตรง (ไม่นับการรับเงินทางอ้อม) จากบริษัทพลังงานไม่ยอมบอกความจริงต่อสังคมว่า มีทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้ถ่านหินซึ่งเป็นพิษต่อประชาชนก็ได้ มุมมองต่อเรื่องพลังงานมันมีมากกว่าเรื่องถูกแพง หรือแม้แต่เรื่องความเป็นธรรมในแบ่งปันผลประโยชน์ดังที่กล่าวแล้ว ก่อนที่จะกล่าวถึงบทเรียนจากประเทศเยอรมนี ผมขอตั้งประเด็นมุมมองที่สำคัญไว้ 7 ด้านหรือ ที่เรียกว่า “เจ็ดมุมมองสำคัญในการปฏิรูปพลังงาน” ซึ่งผมดัดแปลงมาจากแนวคิดของ World Future Council (WFC) แต่ไม่ขอลงในรายละเอียดนะครับ เพียงแต่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าต้องมองให้รอบทั้ง 7 ด้านพร้อมกัน คือ 1. ความยั่งยืนของทรัพยากร 2. ความเท่าเทียมและการขจัดความยากจน 3. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 4. การมีส่วนร่วมของประชาชน 5. ความมีธรรมาภิบาล 6. สิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน 7. ความรับผิดชอบร่วมกันแต่มีระดับความรับผิดชอบแตกต่างกัน หากมีการยึดตามเจ็ดมุมมองดังกล่าวอย่างจริงจังแล้ว จะพบว่าแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นไปได้ก็คือพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ซึ่งใช้แล้วก็ไม่มีวันหมดเพราะสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ นอกจากนี้ยังกระจายตัวอยู่ทั่วไป ไม่รวมศูนย์เหมือนพลังงานฟอสซิล ว่าไปแล้วหลักการพลังงานกับหลักการประชาธิปไตยช่างสอดคล้องกันดีมาก ประชาธิปไตยจะเป็นจริงได้ก็ต้องทำระบบพลังงานให้เป็นประชาธิปไตยด้วย คราวนี้มาถึงประเด็นบทเรียนจากประเทศเยอรมนีครับ บทเรียนที่จะกล่าวถึงนี้ถอดมาจากประสบการณ์ของ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ (Hermann Scheer) ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาของประเทศเยอรมนีและเป็นผู้เสนอกฎหมายที่ถือว่าเป็นการ เปิดตลาดให้พลังงานหมุนเวียนสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคกิจการไฟฟ้าของ ประเทศได้สำเร็จ นอกจากเป็นสมาชิกรัฐสภาแล้ว ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ ยังมีตำแหน่งเป็นประธานสมาคมพลังงานหมุนเวียนโลกและสมาคมพลังงานแสงอาทิตย์ ยุโรปด้วย รวมทั้งมีผลงานเขียนด้านพลังงานหมุนเวียนเป็นจำนวนมากด้วย น่าเสียดายที่เขาได้เสียชีวิตไปเมื่อปี 2553 ส่วนหนึ่งของบทเรียนที่เฮอร์มันน์สรุปได้เกี่ยวกับนักการเมืองทั่วๆ ไปได้แสดงดังแผ่นสไลด์นี้ครับ ก่อนที่ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ จะสรุปดังกล่าวท่านได้อ้างถึงนักปรัชญาชื่อดังของเยอรมนี (Schopenhauer) ที่กล่าวถึงนิสัยของมนุษย์ทั่วๆ ไปเมื่อเจอกับคำตอบของสิ่งใหม่ ๆ หรือวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ว่า โดยปกติคนทั่วไปจะมีการตอบสนองเป็น 3 ขั้นตอน คือ ทีแรกจะเพิกเฉย ไม่สนใจต่อคำตอบใหม่ๆ ขั้นที่สอง จะคัดค้านอย่างรุนแรง และขั้นที่สาม คนที่เคยคัดค้านและสงสัยอย่างรุนแรงจะกลับมาเป็นผู้สนับสนุนคำตอบนั้น แต่ในกรณีพลังงานหมุนเวียน โชคดีมากที่คนทั่วไปชื่นชมและยอมรับ แต่คนที่คัดค้านและกีดกันขัดขวางคือผู้สนับสนุนพลังงานฟอสซิล คนเหล่านี้ก็มี 3 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน คือ ขั้นแรก ทำเป็นยอมรับ ปากหวาน ไม่จริงใจ หรือดีแต่ปาก (ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Lip service) แต่แทบจะไม่ได้ปฏิบัติอะไรให้เป็นจริงเป็นจังเลย สถานการณ์เช่นนี้แสดงว่าพลังงานหมุนเวียนยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง โดยคนส่วนใหญ่ที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ จากนั้นก็จะตามด้วยขั้นที่สองคือ แก้ตัว (Excuses) คือมีข้อแก้ตัวมากมายที่กล่าวอ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เทคโนโลยียังไม่พร้อม ตลาดจะไม่ยอมรับพลังงานหมุนเวียนและยังขาดความเห็นพ้องต้องกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียง นิสัยประจำตัวขั้นที่สามของนักการเมืองก็คือ การขาดภาวะผู้นำและขาดความกล้าหาญ (Lack of courage) ที่จะจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ถูกต้อง ความเด็ดเดี่ยว ความรวดเร็วของการพัฒนา ล้วนแต่ต้องการพลังขับเคลื่อน ไม่มีผู้ใดจะกลายมาเป็นพลังขับเคลื่อนได้โดยปราศจากความคิดที่เป็นระบบ ที่กล้าหาญและพันธมิตรใหม่มาช่วยเสริมส่ง เยอรมนีประสบผลสำเร็จในการใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคไฟฟ้ามากที่สุดใน โลก โดยเพิ่มจากร้อยละ 3.4 (18,463 ล้านหน่วย) ของไฟฟ้าที่ใช้ ในปี 2532 เป็นร้อยละ 24.7 (147,100 ล้านหน่วย) ในปี 2556 (ที่มา http://www.volker-qu...m-D/index_e.php ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าในปี 2556 ประมาณ 1.7 แสนล้านหน่วย) ถ้าคิดเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์เพียงอย่างเดียวที่ ผลิตได้จากเยอรมนี สามารถป้อนไฟฟ้าได้มากกว่าทุกจังหวัดของภาคอีสานและภาคใต้รวมกัน ความมั่นใจเพิ่มขึ้นแล้วหรือยังครับ กุญแจสำคัญที่ทำให้เยอรมนีประสบผลสำเร็จคือกฎหมายที่เรียกว่า “กฎหมายเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนก่อน (Law for the Priority of Renewable Energies)” โดยมีหลักการสำคัญง่ายๆ 3 ประการคือ ข้อที่ 1 ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed In) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน (เมืองไทยนำมาใช้แต่ก็เพี้ยนอีกเพราะไปจำกัดโควต้า) ข้อที่ 2 เป็นสัญญาระยะยาวประมาณ 20-25 ปีเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ข้อที่ 3 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ดร.เฮอร์มันน์ ได้สรุปว่า เยอรมนีประสบผลสำเร็จด้วยหลักการเคลื่อนไหวทางสังคม 4 ข้อ คือ ข้อ 1 ความคิดที่ถูกต้อง คือการเปิดตลาดที่ผูกขาดให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ประกันราคาให้เกิดความมั่นคงในการลงทุน ข้อ 2 ความกล้าหาญที่จะยกเลิกผลประโยชน์ของพลังงานแบบเดิม โดยการริเริ่มของรัฐสภา โดยการกระทำเพื่อผลประโยชน์ของทุกคนไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ ข้อ 3 ขับเคลื่อนไปกับประชาชนทั่วไป พันธมิตรที่ดีที่สุดก็คือประชาชนทั่วไป ทันทีที่ประชาชนทั่วไปเกิดความมั่นใจว่าพลังงานหมุนเวียนมีความเป็นไปจริงๆ พวกเขาจะร่วมกันสนับสนุนและร่วมกันขับเคลื่อน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชน ทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของพลังงานหมุนเวียนซึ่งจะทำให้มนุษย์บรรลุในคุณค่า ที่สำคัญ 2 ประการคือ (1) ทำให้ตนเองและทุกคนเป็นอิสระจากพลังงาน และ (2) ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งคุณค่าทั้งสองนี้จะเป็นไปได้ก็ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนเท่านั้น ข้อ 4 การสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่ มีการรณรงค์ที่แข็งขันเพื่อต่อต้านกฎหมาย feed-in-tariff เกิดขึ้นในเยอรมนี กลุ่มของ ดร.เฮอร์มันน์ ได้ตอบโต้การรณรงค์เหล่านี้โดยการนำสมาคมพลังงานหมุนเวียนและผู้สนับสนุน พลังงานหมุนเวียนในรัฐสภา รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ซึ่งมองเห็นอนาคตของตนเองที่จะรวมเข้ากับพลังงานหมุน เวียนได้แก่ สมาคมชาวนา สมาคมนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สมาคมผู้ผลิตเครื่องจักร และสภาพแรงงานเครื่องจักรอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งไม่เคยมีการรวมกลุ่มพันธมิตรที่แตกต่างกันเช่นนี้มาก่อน ผมจะจบบทความนี้ด้วยการนำเสนอภาพอีก 2 ภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับท่านผู้อ่าน (ตามคำแนะนำของชาวเยอรมัน) ว่าพลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ ภาพแรกเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Giant King Grass ซึ่งสามารถนำมาแทนถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าฐาน (base load) ได้และกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชนิดนี้ขนาด 90 เมกะวัตต์ในจังหวัดนครราชสีมา ครับ และอีกภาพเป็นรถไฟฟ้าในประเทศสวีเดนที่ใช้ไบโอก๊าซที่ทำมาจากการหมักขี้วัวที่คนไทยเรารู้สึกว่าเป็นของล้าสมัย ทั้งหมดนี้นอกจากจะเป็นการตอกย้ำว่า พลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ แล้ว ยังเป็นการตอกย้ำว่า สื่อกระแสหลักในประเทศไทยกำลังปิดกั้นสิ่งที่ดีๆ ให้ประชาชนทราบ เข้าตำราในหนังสือที่ผมเขียน “หนึ่งล้างสมองสองปล้น : รหัสลับแผนพัฒนาใต้เงาโลกาภิวัตน์” ครับผม
  11. ใครไม่มั่นใจในพลังงานหมุนเวียน เชิญทางนี้! โดย ประสาท มีแต้ม 16 มีนาคม 2557 16:49 น. เพราะว่า หนึ่งในสี่ข้อของบทเรียนความสำเร็จในการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนของประเทศเยอรมนีคือ “ต้องทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่าพลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ” ผมจึงขอนำเรื่องความสำเร็จของ “หมู่บ้านพลังงาน (Energy Village)” ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนีใกล้ชายแดนประเทศออสเตรีย มาเล่าสู่กันฟังครับ และเพื่อให้ผู้ที่สนใจเพิ่มเติมได้ค้นคว้าต่อ ผมจึงได้นำภาพและข้อความสำคัญที่สามารถสอบถามอาจารย์กูเกิลได้ต่อไปด้วยครับ ข้อความสำคัญในภาพนี้ก็คือ “หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเยอรมนีผลิตพลังงานได้มากกว่าที่คนทั้งหมู่บ้านใช้ถึง 321%” หมู่บ้านนี้ชื่อ Wildpolsried ซึ่งมีประวัติย้อนหลังไปถึง ค.ศ. 1392 โน่น ปัจจุบันหมู่บ้านนีมีประชากร 2,600 คน มีบ้าน 1,900 หลัง นอกจากจะไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแล้ว ยังมีรายได้จากการขายไฟฟ้าที่เหลือได้ถึงปีละ 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 171 ล้านบาท เว็บไซต์ www.rics.org ได้ตั้งชื่อเอกสารเชิงคำถามชิ้นหนึ่งว่า “เป็นที่ที่เป็นสีเขียวที่สุดในโลกหรือไม่?” (คำว่าสีเขียวใน ที่นี้หมายถึง การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงการใช้กระบวนการประชาธิปไตยรากหญ้าในการตัดสินใจ) ข้อความเสริมในภาพซ้ายมือก็คือ “หมู่บ้านเล็กๆในประเทศเยอรมนีได้ฉายแสงให้เห็นตัวอย่างของความยั่งยืนที่นำโดยชุมชน” หมู่บ้านนี้ได้ลงมือปฏิบัติการตามแผนมาแล้ว 15 ปี คือเริ่มตั้งแต่ปี 2542 เพื่อเปลี่ยน 3 อย่างคือ การใช้ การประหยัด และการผลิตพลังงาน จนกระทั่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าความต้องการถึง 321% โดยการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งได้แก่ ลม แสงแดด ไบโอก๊าซและพลังน้ำ (ที่มีไว้สำหรับป้องกันน้ำท่วม) ความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อนี้เกิดขึ้นจาก 4 องค์ประกอบคือ (1) การลงทุนของชุมชนพื้นฐาน (Grass-Root Community) (2) เจ้าของกิจการในท้องถิ่น (3) สิ่งกระตุ้นในการใช้พลังงานหมุนเวียน (นโยบายของรัฐบาล) และ (4) ความเป็นผู้นำอย่างมุ่งมั่นที่พร้อมจะตัดสินใจตามความต้องการของชุมชนเพื่อ อนาคตที่ยั่งยืนกว่าเดิม ขอย้ำองค์ประกอบที่ (4) ครับ นี่แหละคือหลักการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ของไทยเราย้ำนักย้ำหนาว่าต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วม เพราะเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแล้วนอกจากจะไม่เกิดผลกระทบแล้ว ยังเป็นพลังขับเคลื่อนไปได้ ข้อนี้นี่แหละตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของ Synergy หรือ 2+2 อาจมากกว่า 4 ที่เราพูดๆ กัน กลับมาที่หมู่บ้านพลังงานอีกทีครับ นายกเทศมนตรีที่ชื่อ Arno Zengerle เล่าว่า “เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เราระดมสมองกัน ระดมความคิดกันเพื่อจะทำให้หมู่บ้านของเราเขียวขึ้นกว่าเดิมและพึ่งตนเอง ด้านพลังงานให้มากขึ้น หลังจากนั้นไม่นานสภาพเค-ออส(Chaotic-ขอแปลว่าสภาพที่ไม่คาดคิด) ก็เกิดขึ้นและนำไปสู่ความสำเร็จ แผนพลังงานหมุนเวียนก็เติบโตขึ้นทันทีจากความเชื่อมั่นของนักบุกเบิกในท้อง ถิ่น” ด้วยความเห็นพ้องของคนในชุมชนซึ่งมีประชากร 2,600 คน สภาเทศบาลได้เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า การปฏิบัติอย่างฉับพลันจะนำไปสู่การใช้พลังงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้นพิมพ์เขียวเพื่อ “ทำอย่างไรที่จะช่วยเหลือและกระตุ้นความต้องการพลังงานหมุนเวียนของชุมชน” ก็เกิดขึ้นในปี 2542 แผนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อเพิ่มทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานของชุมชน (2) เพื่อใช้ไม้ในท้องถิ่นมาก่อสร้างบ้านให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (ไม่ใช้ไม้ต่างถิ่น ว่านั้นเถอะ) (3) เพื่อปกป้องการสะสมของน้ำใต้ดินโดยใช้การจัดการระบบน้ำเสียด้วยระบบนิเวศ “เราอยากจะเห็นว่า เราสามารถเดินหน้าการประหยัดพลังงานด้วยทรัพยากรที่เรามีอยู่เอง” นายกเทศมนตรีคนเดิมกล่าว สุดยอดจริงๆ ครับ และนี่คืออีกภาพหนึ่งของหมู่บ้าน ในวันที่ผมเขียนบทความนี้ (16 มีนาคม 57) หมู่บ้านนี้กำลังจัดสัมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับผู้สนใจมาเยือน ตามข่าวบอกว่าเป็นการจัดอย่างประจำเพราะมีผู้ร้องขอมาเยอะมาก ทั้งชาวจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น และบราซิล (แต่ไม่มีไทย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองฟูกูชิมะระเบิด เมื่อปี 2553 หลังจากที่รัฐบาลประเทศเยอรมนีได้ผ่านกฎหมายเพื่อสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ในปี 2543 ได้ทำให้การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อาคารอาศัยและธุรกิจขนาดเล็กได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา และบริษัทไฟฟ้าก็จ่ายค่าไฟฟ้าที่บริษัทได้รับไป ตรงกันข้ามกับในบ้านเรา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ แต่การไฟฟ้านครหลวงก็ไม่ยอมจ่ายเงินทั้งๆ ที่ได้รับไฟฟ้าไปแล้ว ในขณะที่เมืองนี้กำลังได้รับความสนใจจากคนจำนวนมาก แต่นายกเทศมนตรีท่านเดิมกล่าวว่า “เรารู้สึกว่าเราได้บรรลุเพียงครึ่งหนึ่งของวัตถุประสงค์เพื่อความยั่งยืน ด้านพลังงานเท่านั้น เราหวังว่าก่อนปี 2573 หมู่บ้านของเราจะไม่ใช้น้ำมันเพื่อทำความร้อน (น้ำมันเตา) และเราจะมี “Smart Grid” เพื่อจัดการพลังงานอย่างอัตโนมัติเมื่อระบบสายส่งในท้องถิ่นเดิมไม่สามารถ รับไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนเพราะล้นเกิน(Overload)” “ประชาชนชาว Wildpolsried ได้ฉายให้เห็นตัวอย่างแล้วว่าสังคมเล็กๆ ได้บรรลุความสำเร็จในการจัดการไปสู่พลังงานที่ยั่งยืนอย่างเกือบจะสมบูรณ์ แบบตามความมุ่งหมาย ไม่ใช่ยึดแผนการที่เข้มงวด แต่เป็นการยึดตามความคิดที่ยิ่งใหญ่” นายกเทศมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สามแล้วกล่าว ผมขอจบบทความนี้ด้วยการนำคำตอบของอดีตนักวิชาการ นักการเมือง และนักเคลื่อนไหวคนสำคัญของโลกคือ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ ซึ่งก็เป็นชาวเยอรมันและเคยได้รับการยกย่องว่า “เป็นฮีโร่แห่งศตรววษสีเขียว” บทเรียนจากเยอรมันซึ่งสรุปโดย ดร.เฮอร์มันน์ ในเรื่องของการสร้างความมั่นใจให้ประชาชน เพราะเมื่อประชาชนเกิดความมั่นใจแล้ว ประชาชนจะร่วมกันรณรงค์อย่างแข็งขันด้วยตนเอง บทเรียนดังกล่าวได้ส่งผลให้ประเทศเยอรมนีเป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จมากที่ สุดในโลก นั่นคือในปี 2556 เยอรมนีสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (แสงแดด ลม ชีวมวล และพลังน้ำขนาดเล็ก) ได้ถึง 25% ของไฟฟ้าที่ประเทศนี้ใช้ (http://www.volker-qu...m-D/index_e.php) ถ้าเราสามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว (147,100 ล้านหน่วย) มาใช้ในประเทศไทยจะได้มากว่า 83% ของที่ประเทศไทยผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศรวมกัน (177,398 ล้านหน่วย) กระแสการปฏิรูปพลังงานในบ้านเราขณะนี้กำลังค่อยๆ ไต่ขึ้นสู่กระแสสูง แต่น่าเสียดายที่เป็นกระแสนี้ได้จำกัดประเด็นให้แคบอยู่ในเรื่องการจัดการผล ประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม อยู่ในเรื่องน้ำมันแพง ก๊าซแพง รวมถึงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างนักการเมือง ข้าราชการและพ่อค้าพลังงานเท่านั้น ซึ่งผมขอยกย่องว่าเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็น แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงประเด็นพลังงานซึ่งเกี่ยวข้องแนบแน่นกับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนทุกเหล่าในหลายมิติ ที่สำคัญที่สุด ประเด็นพลังงานกำลังท้าทายต่อหลักการคุณค่าความเป็นมนุษย์ 2 ข้อ คือ (1) มนุษย์ทุกคนต้องการความอิสระและ (2) ไม่ต้องการเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง (หลักการนี้เราเคยถูกสอนให้ท่องจำตั้งแต่เด็กๆ แต่เราก็ไม่ได้คิด) ซึ่งหลักการคุณค่าดังกล่าวจะเป็นจริงได้ก็แต่การใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งชาวเยอรมันในหมู่บ้านเล็กๆ ได้ทำให้เราเห็นแล้ว แต่น่าเสียดายที่คนไทยเราได้ถูกพวกสูญเสียผลประโยชน์ขัดขวางและ บิดเบือน จึงไม่มีโอกาสได้ทราบความจริง บทความที่ผมเขียนก็มีคนอ่านแค่หลักพันคนเท่านั้น บางครั้งกดที่เข้ามากดไลท์ กดแชร์ ก็ไม่ได้อ่าน แต่มันก็เป็นความจริงที่ต้องยอมรับกันครับ เพราะการเรียนรู้และการค้นหาความจริงเป็นกระบวนการที่ต้องกระทำไปตลอดชีวิต ในขณะที่กระบวนการเผยแพร่ความจริงมันถูกจำกัดทั้งด้วยมุมมอง ความยากง่าย ด้วยลีลา ความมีชื่อเสียง และกลุ่มผลประโยชน์ครับผม และขอจบด้วยภาพนี้ครับ
  12. เปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคาร มีความคืบหน้า แต่ยังไม่ใช่แก่นสาระ! โดย ประสาท มีแต้ม 30 มีนาคม 2557 18:26 น. เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (23 มี.ค.57) ผมได้นำเสนอบทความเรื่อง “เปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคาร ติดขัดตรงไหน จะแก้ไขอย่างไร?” สาระสำคัญระบุว่า เจ้าของบ้านสามารถสร้างรายได้ให้ตนเองได้โดยการลงทุนติดแผงโซลาร์เซลล์ผลิต ไฟฟ้าบนหลังคาเพื่อขายให้กับการไฟฟ้า ถ้าได้รับการส่งเสริมผลตอบแทนที่ได้จะมากกว่าการฝากธนาคาร พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือเหมือนกับการมีธนาคารเป็นของตนเองบนหลังคาบ้านตนเอง ภาครัฐโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็ได้ริเริ่มโครงการที่เรียกว่า “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop)” แต่ได้ประสบกับอุปสรรคเพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่ยอมออกใบอนุญาตที่เรียกว่า “รง.4” ให้ โดยมีเหตุผลว่าแผงผลิตไฟฟ้าดังกล่าวเทียบเท่ากับเครื่องจักรขนาด 3.7 แรงม้า ซึ่งจะส่งเสียงดัง ปล่อยอากาศเสีย หรือน้ำเสียรบกวนบ้านข้างเคียงได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557 ทางเลขาธิการสำนักงาน กกพ.ได้ออกประกาศว่า “โครงการดังกล่าวไม่ถือเป็นโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า” ในประกาศดังกล่าวทาง กกพ.ได้เพิ่มเติมว่า “แต่เป็นกิจการที่ต้องแจ้งต่อสำนักงาน กกพ.” นอกจากนี้ จากเว็บไซต์ของ กกพ.ยังได้ประกาศว่า “นอกจากนี้ยังได้ให้สำนักงาน กกพ. ดำเนินการแจ้ง กฟน. และ กฟภ.ทราบ เพื่อให้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าในโครงการที่ได้รับการ ตอบรับซื้อไฟฟ้า และสำนักงาน กกพ.จะดำเนินการออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ ต้องรับใบอนุญาตให้กับผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้า เพื่อนำไปยื่นต่อ กฟน. และ กฟภ. ต่อไป” ตรงนี้แหละครับที่ผมถือว่ามีความคืบหน้า เป็นความคืบหน้าเล็กๆ แต่ผมถือว่าไม่ใช่แก่นสาระสำคัญที่แท้จริงของปัญหาเลย แล้วอะไรคือแก่นของปัญหา? เรียนตามตรงครับว่า แก่นของเรื่องนี้ต้องพูดกันยาวๆ เพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกันถึงอย่างน้อย 7 มิติ ตั้งแต่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำและการขจัดความยากจน การคอร์รัปชัน ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน ฯลฯ แต่คนในสังคมยุคนี้ไม่ชอบฟังอะไรยาวๆ นานๆ ผมจึงขอแค่ฉายภาพให้เห็นกรอบของแนวคิด 7 มิติเท่านั้น ดังรูป (เหมาะสำหรับคนชอบคิดอะไรลึกๆ ได้ศึกษาเพิ่มเติม) ประกอบกับผมเองก็มีความใจร้อน อยากจะนำเสนอให้รอบด้านและให้ทันเวลากับการลุกขึ้นเรียกร้องให้ “ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง” ของ “มวลมหาประชาชน” ผมจึงต้องคิดให้มากขึ้นว่าแค่ไหนคือความเหมาะสม นอกจากนี้ จากการติดตามในสื่อทั้งกระแสหลัก สื่อออนไลน์หรือแม้แต่บนเวทีปราศรัยก็ไม่เห็นใครสนใจในประเด็นเหล่านี้เลย ทั้งๆ ที่ชาวบ้านทั่วประเทศกำลังได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งหากพิจารณาจากกรอบ 7 มุมมองข้างต้นก็ไม่สมควรจะสร้างขึ้นใหม่อีกแล้ว ไม่ว่าที่ไหนในโลกใบนี้ เพราะโลกทั้งใบสัมพันธ์ถึงกันหมด ด้วยความในใจดังกล่าว บทความนี้จึงขอนำเสนอโดยย่อเป็นข้อๆ รวม 4 ข้อดังนี้ ข้อที่หนึ่ง แผนของโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา” ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของตน ตรงนี้แหละคือแก่นสาระสำคัญ จากเอกสารเผยแพร่ของ กกพ. มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) สนับสนุนนโยบายของภาครัฐให้บ้านพักอาศัยและอาคารธุรกิจขายไฟฟ้าให้ฝ่าย จำหน่าย(กฟน./กฟภ.) และ (2) ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสิ่งแวดล้อมจากการผลิตพลังงานสะอาด แต่ในแผนการของโครงการฯ ทาง กกพ.ได้ตั้งเงื่อนไขสำคัญไว้ 2 ข้อซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของ กกพ.เอง คือ (1) ต้องไม่เป็นอาคารที่ติดตั้งมาก่อนแล้วและไม่เป็นอาคารของหน่วยงานภาครัฐ ถ้าเป็นอาคารของนิติบุคคลต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า เงื่อนไขข้อนี้ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ข้อที่สองของ กกพ.อย่างสิ้นเชิง เพราะใครก็ตามถ้าได้ติดตั้งก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นราชการหรือติดตั้งมาก่อนก็ตาม หรือว่าเป็นการหลอกขายอุปกรณ์ใหม่ เงื่อนไขที่สอง คือ การจำกัดจำนวนการรับซื้อไว้ที่ 200 เมกะวัตต์ ถ้าคิดว่าติดตั้งหลังละ 5 กิโลวัตต์ก็จะใช้อาคารแค่ 4 หมื่นหลังจากทั่วประเทศเท่านั้น จริงอยู่ ความคิดของ กกพ.เป็นความคิดที่ดีครับ และการมีคำประกาศให้การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไม่ถือเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้า จัดว่าเป็นความกล้าหาญระดับหนึ่ง แต่แค่นี้ไม่พอครับ แนวความคิดที่จะส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของ กกพ.ดังกล่าว เป็นความคิดที่เกิดขึ้นมานานแล้วในหลายประเทศ แต่ได้รับผลสำเร็จสูงสุดในประเทศเยอรมนีเมื่อ 20 ปีก่อน กกพ.น่าจะศึกษาบทเรียนเขาบ้าง หัวใจสำคัญของเยอรมนีคือ การไม่จำกัดจำนวน โดยตราเป็นกฎหมายว่า ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed In) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน ส่งผลให้การใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นี่คือแก่นสาระสำคัญครับ หลักการข้อนี้คือการเปิดตลาดให้กับผู้ผลิตรายย่อยหรือกองทัพมดที่ถูกพ่อค้าพลังงานฟอสซิลผูกขาดและปิดกั้นมาตลอด ไฟฟ้าเป็น “สินค้า” เดียว ในระบบตลาดที่จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อกับจำนวนสินค้าที่ต้องการขายต้อง เท่ากันเสมอ ไม่เหมือนสินค้าเกษตรที่มักจะเหลือเน่าในบางฤดู ดังนั้น หากไม่มีคำว่า “ส่งได้ก่อน” ให้กับผู้ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ก็จะถูกผู้ผลิตรายใหญ่ที่ใช้พลังงานสกปรก (และต้นทุนถูกกว่า) กีดกัน การจำกัดจำนวนและการต้องผ่านขั้นตอนที่หยุมหยิมเกินไปจะทำให้ประชาชนเบื่อหน่าย ด้วยการคำนวณอย่างคร่าวๆ ของผมเองพบว่า ด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 6.96 บาท และด้วยต้นทุนติดตั้งขนาด 3.6 กิโลวัตต์หลังละประมาณ 3 แสนบาท จะทำให้ได้ผลตอบแทนคิดเป็นร้อยละ 12.5 ต่อปี ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากธนาคารถึง 3-4 เท่าตัว โดยจะได้ทุนคืนภายใน 8 ปี หลังจากนั้นก็จะได้กินยาวไปอีก 17 ปี โดยเสียค่าบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อย การลงทุนดังกล่าวจึงเหมือนกับการตั้งธนาคารเป็นของตนเอง บนหลังคาบ้านของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนเกษียณอายุที่พอมีเงินเหลือบ้าง แต่มูลค่าของเงินจะลดลงทุกปีเพราะอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ย ข้อที่สอง มีผู้ตั้งข้อกังวล 2 ข้อต่อการสนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ คือ(1) จะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงจนประชาชนทนไม่ไหว และ (2) ตอนกลางคืนหรือตอนที่ไม่มีแสงแดดติดต่อกันหลายวันจะเอาไฟฟ้าที่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทางวิชาการเรียกว่า ไฟฟ้าฐาน (Base Load) ในข้อแรก ผมได้คำนวณอย่างคร่าวๆ พบว่า ถ้ามีการติดตั้งแผงจำนวน 3,600 เมกะวัตต์ (ไม่ใช่แค่ 200 เมกะวัตต์ที่กำหนดไว้ในโครงการ) ด้วยราคารับซื้อดังกล่าวจะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นแค่ 8 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น ในขณะที่ขณะนี้เราเสียค่าเอฟทีหน่วยละ 83 สตางค์อย่างไม่มีความชัดเจนในเหตุผล สำหรับข้อกังวลที่สอง คือตอนไม่มีแดดและตอนฝนตกติดต่อกันหลายวัน ในประเด็นนี้เขามีเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Solar Thermal Power ซึ่งเป็นการใช้กระจกรวมแสง แล้วนำพลังงานแสงแดดไปต้มน้ำ แล้วนำไอน้ำไปผลักกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เขาสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและตลอด 7 วัน ในที่นี้ผมขอตัดข่าวมาแปะให้ดูเป็นหลักฐานเท่านั้น ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า อัตราการรับซื้อไฟฟ้าที่ตั้งไว้หน่วยละ 6.96 บาทนั้นน่าจะสูงเกินไป เพราะได้อัตราผลตอบแทนถึงร้อยละ 12.5 ต่อปี และในบางข้อมูลเชิงลึกว่าพบว่า ผลตอบแทนสูงถึง 25% ต่อปี เรื่องนี้ “น่าจะถึงครูอังคณา” ด้วยเหตุที่กำไรงามขนาดนี้ ทำให้ผมได้รับทราบจากจากการร้องเรียนของชาวบ้านในบางจังหวัดว่าได้มีบริษัท ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) กำลังไล่ซื้อแบบปิดล้อมที่นาที่มีคุณภาพดีของชาวบ้านในราคาไร่ละกว่าหนึ่ง แสนบาท ก็เพราะผลตอบแทนที่ได้รับการชดเชยค่อนข้างสูงมาก จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการติดโซลาร์เซลล์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทั้งๆ ที่ไม่มีการขายไฟฟ้า (เพราะ กฟน.ไม่รับซื้อ) แต่ค่าไฟฟ้าที่ลดลงคิดเป็นมูลค่าเป็นผลตอบแทนในอัตราร้อยละ 6.4 ต่อปี (หมายเหตุ เป็นการคิดคร่าวๆ นะครับ เพราะข้อมูลไม่มีความแม่นยำเพียงพอ) ข้อที่สาม การสร้างความมั่นใจของประชาชนว่าพลังงานหมุนเวียนเป็นไปได้จริง จากบทเรียนการรณรงค์ด้านพลังงานหมุนเวียนของประเทศเยอรมนีได้ข้อสรุปว่าต้อง ทำให้ประชาชนมั่นใจว่ามันเป็นไปได้จริงๆ จากนั้นประชาชนจะร่วมกันรณรงค์และสนับสนุนเอง ผมจึงขอนำเสนอข้อมูลอีก 2 ชิ้น หนึ่ง ในปี 2556 เยอรมนีผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์อย่างเดียวได้ 29,300 ล้านหน่วย ไฟฟ้าจำนวนดังกล่าวมากกว่าที่คนในภาคอีสานและภาคใต้ทั้งหมดใช้รวมกัน ทั้งๆ ที่ความเข้มของแสงแดดต่อตารางเมตรของเยอรมนีมีแค่ประมาณ 60% ของประเทศไทย ถ้าแสงแดดมีพลังมากถึงขนาดนี้ เราจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบทั้งต่อสุขภาพ แหล่งทำหากิน รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติระดับชั้นนำของโลกไปทำไม ในเรื่องต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์โดยเฉลี่ยลดลงปีละ 10-15% เพื่อความมั่นใจของท่านผู้อ่าน ผมขอนำผลการศึกษาของนักวิชาการในสหรัฐอเมริกามานำเสนอดังภาพ ในปี 2555 สหรัฐอเมริกาซึ่งมีความเข้มของแสงอาทิตย์มากกว่าไทยเพียงนิดเดียว แต่เขาได้ติดแผงโซลาร์เซลล์ไปแล้ว 4,400 เมกะวัตต์ โดยมีอัตราการติดตั้งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ภาพซ้ายล่าง) โดยมีต้นทุนการผลิตลดลงทุกปี Dr. John Farrell นักวิจัยอาวุโส และผู้อำนวยการแผนกการริเริ่มพลังงานที่เป็นประชาธิปไตย (Democratic Energy Initiative) แห่ง Institute for Local Self-Reliance ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2565 การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้น 68 เท่าของปี 2555 ในราคาค่าไฟฟ้าที่ต่ำกว่าค่าไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่น ใครไม่เชื่อก็ลองค้นคว้าดูนะครับ ข้อที่สี่ ใช้แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าและกลั่นน้ำจืดเป็นของแถม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ลงพื้นที่ในฐานะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับความรุนแรงในการจัดรับฟังความคิดเห็นในการก่อสร้างโรง ไฟฟ้าถ่านหินขนาด 800 เมกะวัตต์ จังหวัดกระบี่ ในการนี้นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา (ผู้ร้องเรียน) ได้ตอบคำถามของผมที่ว่า ชาวลันตาใช้น้ำจืดจากที่ไหน คำตอบที่น่าสนใจมากก็คือ “ส่วนมากใช้น้ำบาดาล ซึ่งต่อไปก็จะเหมือนกับเมืองท่องเที่ยวทั้งหลายที่เป็นเกาะ เพราะน้ำเค็มจะดันเข้ามาแทนน้ำบาดาล และต่อไปน้ำบาดาลก็จะเค็มจนใช้ไม่ได้” (จากข้อมูลของชาวสวีเดนที่ทำธุรกิจบนเกาะลันตา พบว่าชาวสวีเดนเที่ยวจังหวัดกระบีปีละ 1.5 แสนคน ในจำนวนนี้ 4 หมื่นคนจะไปเกาะลันตาด้วย) ผมไม่ได้แสดงความเห็นอะไรในคำตอบนั้น แต่เมื่อกลับมาบ้านผมนึกขึ้นมาได้ว่า ผมเคยศึกษาเรื่องทำนองนี้ ตั้งแต่ปี 2549 คือโครงการที่เรียกว่า “Trans-Mediterranean Interconnection for Concentrating Solar Power” เป็นโครงการขนาดใหญ่มากของโลกที่ครอบคลุม 3 ทวีป คือตะวันออกกลางของทวีปเอเชีย (Middle East) ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา (North Africa) และยุโรปตะวันออก (East Europe) ถ้าเรียกย่อๆ ในเชิงพื้นที่ก็คือ EU-MENA เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยการใช้กระจกรับและรวมแสงอาทิตย์เพื่อต้มน้ำแล้วนำ ไอน้ำไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้า น้ำที่ใช้ต้มเป็นน้ำเค็ม ไฟฟ้าที่ได้ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปใช้ในสหภาพยุโรป ผลพลอยได้คือน้ำจืดที่ได้จากการกลั่นน้ำเค็ม น้ำจืดที่ได้จะใช้ในทวีปแอฟริกาซึ่งส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและขาดแคลนน้ำจืด โครงการนี้คิดและริเริ่มโดยกลุ่มนักวิชาการที่ชื่อว่า “สโมสรแห่งโรม (The Club of Rome)” แต่การศึกษารายละเอียดของโครงการโดยรัฐบาลสหพันธรัฐเยอรมนีเมื่อ 2549 ผลการศึกษาพบว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพื้นที่ MENA จากแสงอาทิตย์ด้วยวิธีการรวมแสงดังกล่าวจะถูกส่งไปใช้ในยุโรปด้วยระบบแรงดันสูงกระแสตรง (HVDC) จะสามารถเป็นไฟฟ้าฐานและพีคในช่วงความต้องการสูงสุดของวันได้ โดยจะสามารถส่งไฟฟ้าได้ในปี 2563 ถึงปี 2568 จำนวนปีละ 60 ล้านล้านหน่วย และจะเพิ่มเป็น 700 ล้านล้านหน่วยต่อปี ในปี 2593 โดยราคาไฟฟ้าดังกล่าวประมาณหน่วยละ 2.50 บาทเท่านั้น (ขณะนี้ประเทศไทยใช้ไฟฟ้า 1.7 แสนล้านหน่วย ในราคาประมาณหน่วยละ 3.88 บาท) รายงานชิ้นนี้ระบุว่า ปัจจุบันพื้นที่ MENA มีความขาดแคลนน้ำจืดถึงปีละ 6 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร แต่โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จะสามารถผลิตน้ำจืดได้ปีละ 2.5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร สิ่งที่ผมอยากนำเสนอในที่นี้ก็คือ ชาวเกาะลันตาต้องฉวยโอกาสในช่วงที่โรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังอาละวาดก็คือ การร่วมกันคิด ระดมสมองและกำหนดอนาคตของตนเอง ก่อนที่โรงไฟฟ้าถ่านหินและน้ำเค็มจะบุก ขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ ข่าวทางโทรทัศน์ช่องหนึ่งระบุว่า น้ำบาดาลที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่รัฐบาลสร้างให้เมื่อปี 2556 ก็เกิดเค็มจนใช้การไม่ได้ในวันนี้ ผมคิดว่าเราน่าจะกลั่นน้ำบาดาลนั้นด้วยแผงโซลาร์เซลล์ได้นะ ผมเชื่อว่าภูมิปัญญาของชาวบ้านน่าจะคิดค้นเรื่องนี้ได้ครับ สรุป ผมอยากจะสรุปบทความนี้ด้วยการเทียบเคียงกับคำกล่าวของประธานสโมสรแห่งโรม (ที่ระบุไว้ในรายงาน) ว่า มนุษย์ ที่อาศัยอยู่ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้และภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใน ปัจจุบันจะสามารถมีพลังที่แข็งแกร่งมาก เมื่อมนุษย์เริ่มต้นที่จะเข้าใจตนเองในฐานะของความเป็นชุมชน ชุมชนของคนที่สนใจเรื่องพลังงาน น้ำ และความมั่นคงของสภาพภูมิอากาศในสภาวะโลกร้อนซึ่งเชื่อมโยงถึงกัน ความเป็นชุมชนเพื่ออนาคตร่วมกันของมนุษย์ทั้งหลาย สำหรับความหมายของ “ชุมชน” ที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไรนั้น ก็ให้เปรียบเทียบกับด้านตรงข้ามของชาวคอนโดฯ หรือบ้านจัดสรรในเมืองใหญ่ก็แล้วกันครับ
  13. เปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคาร มันติดขัดตรงไหนจะแก้ไขอย่างไร? โดย ประสาท มีแต้ม 23 มีนาคม 2557 18:58 น. ภาพนี้เป็นมุมหนึ่งของหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชื่อ Wildpolsried มีประชากร 2,600 คน จาก 1,900 ครอบครัว ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี เป็นหมู่บ้านที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าที่ตนเองใช้ถึง 321% โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม 7 ตัว โรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 5 โรง ซึ่งทั้งหมดเป็นทรัพยากรในชุมชน มูลค่าไฟฟ้าที่ขายให้กับการไฟฟ้าปีละประมาณ 170 ล้านบาท ความน่าสนใจของหมู่บ้านนี้มีหลายด้านด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน เมื่อ 15 ปีก่อน ซึ่งผมได้เคยนำมาเล่าไว้ในคอลัมน์ “โลกที่ซับซ้อน” แล้ว น่าจะเป็นหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จในการจัดการพลังงานแบบพึ่งตนเองได้ดีที่ สุดแห่งหนึ่งในโลก ในบทความนี้ ผมจะขอลงรายละเอียดในเรื่องความเป็นไปได้ของการติดแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศ ไทยซึ่งเป็นคำถามที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ ว่า (1) ต้องลงทุนเท่าใด จะคุ้มทุนในกี่ปี (2) ติดขัดปัญหาอะไรทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีแสงแดดเข้มกว่าประเทศเยอรมนี และ (3) จะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร แต่ก่อนจะตอบคำถามดังกล่าว ต้องขอเรียนว่า ผมไม่ใช่วิศวกรและไม่มีประสบการณ์ตรงในการติดตั้งแผงดังกล่าว ผมเป็นนักคณิตศาสตร์ที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวทางสังคม ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาจากเอกสาร การอบรมดูงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับการจุดประกายทางความคิดที่ได้ฟังการบรรยายโดย ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นฮีโรสีเขียวแห่งศตวรรษ เมื่อปี 2547 คำถามที่หนึ่ง ต้องลงทุนเท่าใด จะคุ้มทุนในกี่ปี ถ้าที่บ้านท่านมีไฟฟ้าใช้อยู่แล้วและใช้ไฟฟ้าไม่มาก ผมไม่สนับสนุนให้ติดตั้งครับ แต่ถ้าเป็นสำนักงานหรือสถาบันการศึกษาที่ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากอาจมีความเป็น ไปได้ แต่ต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจ ในกรณีที่ไม่มีไฟฟ้าใช้และอยู่ไกลจากสายส่งก็มีความจำเป็นครับ เหตุผลสำคัญในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ คือต้องผลิตเพื่อขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้า ไม่ใช่ผลิตเพื่อใช้เอง เมื่อถึงคราวที่เราจะใช้ไฟฟ้า เราก็ต้องซื้อคืนมาจากระบบสายส่ง เพราะไฟฟ้าที่เราผลิตได้เองอาจจะไม่เพียงพอต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีวัตต์สูง เช่น เครื่องปรับอากาศ กาต้มน้ำ เป็นต้น แต่ถ้าไฟฟ้าที่เราผลิตได้รายละเล็กรายละน้อย เมื่อถูกส่งไปรวมกันในระบบสายส่งก็จะกลายเป็นจำนวนมากจึงสามารถนำไปใช้งาน ได้ตามปกติ ดังนั้น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อการไฟฟ้านคร หลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต้องรับซื้อไฟฟ้าที่ชาวบ้านผลิตได้เท่านั้น บทเรียนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคซึ่งเคยใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือน ละ 21,000 บาท แต่หลังจากได้ติดตั้งขนาด 11 กิโลวัตต์ด้วยเงินลงทุน 1.5 ล้านบาท ค่าไฟฟ้าได้ลดลงมาเหลือ 13,000 บาทคือลดลงได้ 8,000 บาทต่อเดือน ถ้าคิดเป็นอัตราผลตอบแทนของเงินลงทุนก็เท่ากับร้อยละ 6.4 ต่อปี ผลตอบแทนดังกล่าวสูงกว่าอัตราเงินฝากประจำของธนาคารในปัจจุบัน (อยู่ที่ร้อยละ 3.0-3.5 ต่อปี) ทั้งๆ ที่ไฟฟ้าบางส่วนที่ผลิตได้ในวันหยุดทำงานของมูลนิธิฯ ทางการไฟฟ้าได้รับไปโดยไม่มีการจ่ายเงิน มาถึงตอนนี้ ผมคิดว่าท่านผู้อ่านคงทราบแล้วว่า ทำไมผมจึงได้ตั้งชื่อบทความว่า “เปลี่ยนหลังคาเป็นธนาคาร” นี่ ขนาดว่ายังไม่มีการชดเชยราคาและเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างแพงเพราะติดมา ตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลเก่าแล้ว เพราะโดยเฉลี่ยแล้วราคาอุปกรณ์จะลดลงเฉลี่ยปีละ 10-15% ปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยได้มีโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop)” โดยจะส่งเสริมให้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวน 200 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นอาคารบ้านอาศัย 100 เมกะวัตต์และอาคารธุรกิจ 100 เมกะวัตต์ โดยจะรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคาบ้าน ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง-ใหญ่ ในราคาหน่วยละ 6.96 , 6.55 และ 6.16 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ตามลำดับ ในขณะที่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ที่บ้านผมราคาหน่วยละ 3.88 บาท (ใช้ 141 หน่วย หรือวันละประมาณ 5 หน่วย เคยใช้สูงสุด 263 หน่วยในหน้าร้อน) เป็นที่น่าสังเกตว่า คำประกาศนี้ได้ประกาศให้ผู้สนใจยื่นคำขอภายในวันที่ 23 กันยายน ถึง 11 ตุลาคม 2556 (รวม 15 วันทำการ) โดยจะต้องติดตั้งเพื่อให้สามารถขายไฟฟ้าได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2556 ผมไม่ทราบว่า โครงการดังกล่าวได้เริ่มประกาศเมื่อใด แต่การกำหนดวันยื่นคำขอกับวันกำหนดเดินไฟฟ้าให้ห่างกันเพียงแค่ 80 วัน ทั้งๆ ที่เป็นการติดตั้งบนหลังคาซึ่งต้องใช้เวลา ต้องใช้ช่างจำนวนมาก ถ้าคิดว่าหลังละ 10 กิโลวัตต์ ถ้าให้ครบตามเป้าหมายโครงการคือ 200 เมกะวัตต์ ต้องใช้อาคารถึง 2 แสนหลัง จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมต้องรีบเร่งถึงขนาดนี้ เพราะปกติมักจะอืดเหมือนเรือเกลือ วันที่เขียนบทความนี้ บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องนี้บอกผมว่า โครงการนี้ยังดำเนินการไม่ได้เลย เพราะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงาน (ที่เรียกว่า รง4) กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งทางกรมฯ ยังไม่ได้อนุญาต ต่อไปจะพูดถึงหลักการคิดว่า ถ้าจะติดตั้ง ควรจะติดตั้งขนาดเท่าใด ลงทุนเท่าใดและกี่ปีจึงจะคุ้มทุน โดยคิดเฉพาะราคาไฟฟ้าบนหลังคาบ้านหน่วยละ 6.96 บาท โดยปกติ กำลังผลิตของแผงโซลาร์เซลล์จะขึ้นอยู่กับพื้นที่รับแสงแดดบนหลังคาและคุณภาพ ของแผง ค่าเฉลี่ยของแสงแดดในประเทศไทยมีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าได้วันละ 5.05 หน่วยต่อตารางเมตร (kwh ต่อตารางเมตร) ในขณะที่เยอรมนีได้เพียง 3.44 kwh ดังแผนภาพประกอบ) ดังนั้น ในเชิงทฤษฎี ถ้าเรามีอุปกรณ์ที่สามารถแปลงพลังงานแสงแดดให้มาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งหมด พื้นที่หนึ่งตารางเมตรก็เพียงพอสำหรับการใช้ 5.05 หน่วยแล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีอุปกรณ์ใดๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงถึงขนาดนั้น จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่มากขึ้น เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการติดแผงโซลาร์เซลล์ก็เพื่อขายไฟฟ้าเป็น สำคัญ (และเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพด้วย) ดังนั้น วิธีคิดว่าจะติดตั้งขนาดเท่าใดก็ต้องให้เหมาะสมกับขนาดของบ้านและกำลังเงิน ลงทุน จากข้อมูลที่ผมค้นได้จากบริษัทรับติดตั้ง (ไม่ขอเปิดเผยชื่อ) พบว่าแผงรุ่นหนึ่งจำนวน 12 แผงมีขนาดพื้นที่รวมกัน 24 ตารางเมตร (หรือกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร) มีกำลังผลิตตามศักยภาพได้ 3.6 กิโลวัตต์ ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 270,000 บาท รวมค่าติดตั้งแล้ว ตีเป็นว่ารวมทุกอย่างที่ 294,000 บาท (หมายเหตุ อย่าลืมว่า ราคาอุปกรณ์จะลดลงประมาณปีละ 10-15%) พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้วันละ 3.6X5.04 หรือ 18.14 หน่วย แต่พลังงานส่วนนี้จะสูญเสียไปเป็นพลังงานความร้อน 20% คงเหลือพลังงานไฟฟ้าวันละ 14.51 หน่วย หรือเดือนละ 435 หน่วย ปีละ 5,298 หน่วย (บ้านผมใช้เฉลี่ยเดือนละ 180 หน่วย) ถ้าการไฟฟ้ารับซื้อหน่วยละ 6.96 บาท บ้านหลังนี้ก็จะมีรายได้ปีละ 36,874 บาท ดังนั้นเมื่อครบ 8 ปี ก็จะได้ทุนคืนทั้งหมด (หมายเหตุ เอกสารของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานคำนวณได้ว่าจะคุ้มทุนใน 9 ปี โดยที่อายุการใช้งานของแผงนานถึง 25 ปี) ถ้าคิดเป็นผลตอบแทนรายปีก็ประมาณร้อยละ 12.5 ของเงินลงทุน อนึ่ง คนในวงการสภาอุตสาหกรรมได้เล่าให้ที่ประชุมเล็กๆ แห่งหนึ่งฟังว่า การทำโซลาร์ฟาร์มซึ่งติดตั้งบนพื้นดินของบริษัทพลังงานจะสามารถได้ทุนคืนใน เวลาสี่ปีเท่านั้น (ตอนนั้นการไฟฟ้ารับซื้อในราคาหน่วยละ 8-12 บาท) ด้วยเหตุนี้ธุรกิจการผลิตไฟฟ้าชนิดนี้จึงเป็นที่หมายปองของบริษัท แต่กับประชาชนธรรมดาๆ รัฐบาลกลับกีดกัน คำถามที่สอง ติดขัดปัญหาอะไร ตามที่ได้เรียนแล้วในคำถามแรกว่า ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่ออกใบอนุญาตให้ติดตั้ง เพราะทางกรมโรงงานถือว่า พลังงานที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์มีขนาดเทียบเท่ากับเครื่องจักรที่มีขนาด 3.7 แรงม้า เนื่องจากเครื่องจักรจะทำให้เกิดเสียงดังรบกวนชาวบ้านข้างเคียง แต่แผงโซลาร์เซลล์ไม่มีเสียงครับ ผมจึงไม่เข้าใจ เมืองไทยเรามีเรื่องเชยๆ แบบนี้เยอะครับ ความจริงแล้วหลักการจ่ายเงินอุดหนุนค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน (หรือพลังงานที่ใช้แล้วไม่มีวันหมด) เป็นหลักการที่ใช้จนประสบผลสำเร็จมากที่สุดในโลกก็คือประเทศเยอรมนีที่ริ เริ่มและผลักดันโดย ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ แต่ประเทศไทยเราเอามาใช้ไม่ครบองค์ประกอบและเพี้ยนไป หลักการของเยอรมนีมี 3 ข้อง่ายๆ คือ ข้อที่ 1 ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed In) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน ข้อที่ 2 เป็นสัญญาระยะยาวประมาณ 20-25 ปี ข้อที่ 3 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น (บ้าง) ให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ การไปจำกัดจำนวนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานของไทยจึงเป็นการฝ่าฝืนหลักการสำคัญในข้อแรกครับ คำถามที่สาม จะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร ถ้าว่ากันอย่างกว้างๆ คือยึดตามรัฐธรรมนูญ 2550 หมวดว่าด้วย แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 วรรค 5 “เพื่อให้การจัดทำและเพื่อให้การบริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน” ผมมั่นใจว่าโครงการ พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ของรัฐบาลในครั้งนี้นั้น ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือประเด็นหลักการของโครงการที่ขัดแย้งกันเองระหว่างวัตถุประสงค์กับวิธี การ (แต่ขอไม่ลงรายละเอียด) วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดซึ่ง ดร.เฮอร์มันน์ ได้สรุปไว้ว่า ต้องให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาแล้วประชาชนจะร่วมกันรณรงค์ด้วยตัวเอง ในทัศนะของผมแล้วเรื่องไฟฟ้ามีหลายปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน ตั้งแต่สิทธิชุมชน มลพิษ สภาวะโลกร้อน การกระจายรายได้ การจ้างงาน รวมถึงการคอร์รัปชัน แต่ในที่นี้ผมขอกล่าวถึง 2 ปัญหา คือ หนึ่ง ปัญหาสุขภาพ ขณะนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินนับ 10 โรงกำลังบุกอาละวาดในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคใต้ ถ้าเราส่งเสริมโซลาร์เซลล์กันอย่างจริงจังก็ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่าน หินใหม่ สอง ทำไมเราไม่กระจายการลงทุนไปให้ประชาชนบ้าง จากหลักคิดในคำถามข้อที่สอง พบว่าผลตอบแทนจากการติดแผงโซลาร์เซลล์จะให้ผลตอบแทนสูงกว่านำเงินไปฝาก ธนาคาร ทำไมนโยบายของรัฐบาลจึงปิดกั้นการเปลี่ยนหลังคาบ้านเป็นธนาคารด้วยเล่า? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้เกษียณอายุ ที่มีเงินเหลือบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ต้องนำไปฝากธนาคารที่ได้ผลตอบแทนในอัตราที่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้จะเปิดโอกาสให้มีการจ้างงานจำนวนมาก ทำไมไม่เปิดโอกาสให้เขาตั้งธนาคารบนหลังคาบ้านของตนเอง อาจมีผู้ท้วงติงว่า การติดโซลาร์เซลล์จะมีผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ก็จริงครับ แต่ไม่มากอย่างที่เรารู้สึกครับ จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้ว สมมติเราส่งเสริมให้อาคาร 1 ล้านหลังติดแผงโซลาร์เซลล์ หลังละ 3.6 กิโลวัตต์ (รวม 3,600 เมกะวัตต์ คิดเป็น 15% ของกำลังการติดตั้งในประเทศเยอรมนีปี 2554 ไม่ใช่แค่ 200 เมกะวัตต์ซึ่งยังทำไม่ได้) ก็จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นจากหน่วยละ 4 บาท เป็น 4.08 บาทเท่านั้น คำถามคือ เรายอมเสียเงินเพิ่มขึ้นหน่วยละ 8 สตางค์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม สุขภาพและแหล่งทำมาหากิน รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวของชาวชนบทได้ไหม ทำไมเรายอมเสียค่าเอฟทีซึ่งไม่ค่อยจะมีความโปร่งใสถึงหน่วยละ 83.19 สตางค์ได้ ผมขอจบบทความนี้ด้วย 2 ภาพครับ ภาพแรกเป็นข้อมูลความก้าวหน้าของประเทศเยอรมนี เราจะเห็นว่าทุกครั้งที่นโยบายดีๆ ของรัฐบาลออกมา จะมีการติดแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยที่เกินครึ่งหนึ่งของเจ้าของอาคารเป็นพลเมืองและชาวนา ไฟฟ้าที่ผลิตได้ในปี 2556 ได้ถึง 29,300 ล้านหน่วย ในขณะที่ประเทศไทยใช้ทั้งหมด 170,000 ล้านหน่วย สำหรับภาพที่สอง เชิญดูครับ พร้อมแหล่งที่มา ขอบคุณครับ
  14. ธรรมชาติที่สวยงามของประเทศเรา ถูกทำลายไปจำนวนมาก 1ในผู้ทำลายที่มีศักยภาพในการทำลายสูงคือภาครัฐ ข้ออ้างของภาครัฐก็คือพลังงานในประเทศไม่พอ ต้องสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาประเทศ ประเทศเราต้องพัฒนาต้องมีท่าเรือน้ำลึกเพิ่ม ต้องสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำให้ชาวบ้านและใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ต้นปีที่ผ่านมาผมเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับพลังงาน เพราะข้อมูลที่นักวิชาการและฝ่ายรัฐกับปตทให้นั้นสร้างความสับสนมาก เมื่อเริ่มศึกษาก็ผมว่ามีนักวิชาการบางท่านของไทย ศึกษาเรื่องพลังงานทางเลือกของไทย พลังงานทางเลือกเป็นพลังงานที่สะอาดช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติที่สวยงามของประเทศไว้ได้ นักวิชาการบางท่านก็พยายามต่อสู้เพื่อรักษาธรรมชาตที่สวยงามเพื่อเป็นมรดกสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป ผมเป็นมือใหม่ในเรื่องพลังงานทางเลือกและการต่อสู้เพื่อรักษาธรรมชาติที่สวยงาม เมื่อเจอเรื่องแนวนี้ซึ่งน่าสนใจเลยคิดว่า น่าจะรวมข้อมูลแนวนี้รวมกันเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและหาข้อมูล ใครมีข้อมูลจะมาลงเพิ่ม มีข้อเสนอแนะหรือมีมุมมองที่แตกต่าง ขอเชิญร่วมแจมออย่างสร้งสรรค์ครับ ขณะนี้โรง ไฟฟ้าถ่านหินนับ 10 โรงกำลังบุกอาละวาดในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคใต้ ถ้าเราส่งเสริมโซลาร์เซลล์กันอย่างจริงจังก็ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่าน หินใหม่
  15. ยุคทองของทองกำลังมา(อันนี้ครบทุกตอนของอาจารย์ทนงแล้วครับ) ยุคทองของทองกำลังมา.pdf
  16. ส่วนแบ่งสัมประทานปิโตรเลียมที่ประเทศเราได้ทั้งหมด รวมแล้วประมาณ 30%(ค่าภาคหลวง+ภาษีกำไร+โบนัสเพิ่มเติม) สมัยแรกๆที่เราให้สัมประทานราคาน้ำมันดิบราคา20-30เหรียญ/บาร์เรล แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันขยับขึ้นสูงกว่าเดิมมาก อย่างวันนี้ราคา103เหรียญ/บาร์เรล ปริมาณปิโตรเลียมที่เราผลิตได้ก็เพิ่มขึ้นทุกปี *****ราคาต่อหน่วยเพิ่มขึ้นมากมาย ปริมาณที่ผลิตเพิ่มมากมาย ผู้รับสัมประทานได้กำไรเพิ่มกว่าเดิมมากมาย บริบทมันต่างจากเดิมมากมายทั้งราคาและปริมาณที่ผลิตได้ ส่วนแบ่งสัมประทานของรัฐควรเพิ่มจากนี้อีกเยอะเลยครับ ส่วนแบ่งสัมประทานเข้ารัฐของประเทศอื่นได้มากกว่าเรามากมาย อะไรบังตาผู้มีอำนาจ*****
  17. เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ มีที่มองไม่ตรงนิดเดียวคือการเอาเงินกองทุนไปอุดหนุนก๊าซ เป็นนโยบายของผู้มีอำนาจบริหารประเทศ ที่ออกกฏมาเอื้อเอกชน ปตทได้ประโยชน์จากการเอื้อของผู้มีอำนาจ ปตทเองเขาไม่มีอำนาจในการออกกฏครับ
  18. อยากให้พวกเราฟังให้จบครับ การต่อสู้ที่เกิดขึ้นจริงในระบบพลังงานของไทย ของชายอายุ68 ตอนนั้นเขาอายุ32(ปี2523) สู้จากมุมมองที่ว่าประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นหลัก เริ่มสู้ตั้งแต่ยังไม่มีปตท สุดท้ายสิ่งที่เขาร่วมสร้างมาโดนผู้มีอำนาจเข้ายึดครองและแสวงหาประโยชน์ ประชาชนและประเทศไม่ได้ประโยชน์ตามที่เขาหวัง ระบบพลังงานของประเทศเราต้องได้รับการปฏิรูป
  19. Jama Jamon ใด้คุยกับเพื่อนทีทำงานแท่งผลิตของเชฟรอน เพื่อนบอกว่า ต้นทุนที่ออกจากแหล่งผลิตส่งไปยังโรงกลั่นลิตรละ6บาท ส่วนต่างที่มาขายผู้ใช้ที่แพง เขาบอกว่า มันเป็นธรรมเนียมปฎิบิติของเขา มันแก้อยาก ส้มโอมือ หอมเย็นชื่นใจ อันนี้ต้องแก้เรื่องแบ่งปันส่วนแบ่งเข้ารัฐในการให้สัมประทานครับ ลองอ่านที่ผมโพส ในเวปนั้นทั้งหมดครับ ผมจะพูดว่าเราได้ส่วนแบ่งสัมประทานน้อยเกินไปมาก ไอ้คนมีอำนาจดูแลคือใคร พวกข้าราชการที่มีอำนาจแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวและเข้าเจ้านายที่ให้อำนาจเขา
  20. ถ้า ราคาน้ำมันตลาดโลกไม่ขึ้น ค่าการกลั่นของตลาดโลกไม่ขึ้น ราคาหุ้นปตทจะวิ่งมั้ย ช่วง1-2ปีแรก ราคามีลงต่ำกว่า30บาทก็มีครับ ก่อนหน้านั้นค่าการกลั่นของตลาดโลกติดลบเยอะ พวกโรงกลั่นก็บักโกรกครับ หลังจากนั้นเมื่อเขาเก็บหุ้นได้มากพอ เขาออกกฎอะไรมาเอื้อปตท เพื่อสร้างกำไรให้เขา ใครมีข้อมูลเอามาแฉดีกว่าครับ
  21. เรื่องทุกเรื่องต้องอยู่บนฐานความจริงครับ ถึงไม่ชอบใครก็ต้องให้ความยุติธรรมกับเขา เวลาไม่ชอบใครคนนี้แต่งนิด คนนั้นแต่งหน่อย สุดท้ายกลายเป็นว่าเรื่องที่เผยแพร่ต่อๆกันไปไม่น่าเชื่อถือ เขาโดนกลั่นแกล้ง เรื่องต่อว่าราคาหุ้นปตทIPO ที่ราคา35บาทและหายเกลี้ยงทันที พวกมีเส้นสายที่จองได้ตอนนั้นกำไรอย่างมากมาย ลองอ่านเรื่องนี้ดูครับ หุ้นปตท.เข้ามาเทรดในตลาดวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ราคาหุ้นปตท.วิ่งในลักษณะ "ไซด์เวย์" อยู่นานเป็นปี (2545-กลางปี 2546) จากราคาจอง 35 บาท ราคาหุ้นลงไปต่ำสุด 28.75 บาท ในวันที่ 30 เมษายน 2545 แล้วไล่ขึ้นไป 38 บาทในวันที่ 12 มิถุนายน 2545 จากนั้นก็กดราคาลงมาอีกทีเหลือ 34 บาทในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 ต่อจากนั้นราคาก็เคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ 38 - 45 บาทนานอีกหลายเดือน จนถึงกลางเดือนเมษายน 2546 ราคาหุ้นปตท.ทะยานขึ้นไปเร็วมาก ขึ้นไป 78 บาทในวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 วิชัยยังจำได้ว่า เคยบอกให้เพื่อนๆ เก็บหุ้นปตท. เดี๋ยวมีรถเฟอร์รารี่ขับ "เชื่อผมซิ!" แต่ไม่มีใครซื้อ เพราะมันไม่สนุก เขาไปเล่นหุ้นปั่นกันหมด "...ช่วงที่หุ้นปตท.อยู่แถวๆ 35 บาท ผมเชียร์ให้ทุกคนซื้อเก็บยาวเลย แล้วไม่ต้องมอง เพราะผมมองว่ารายใหญ่ รายย่อย มีต้นทุนเท่ากัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ผมดันทนไม่ไหวเอง ขายหุ้นทิ้งออกไปก่อน" เสี่ยยักษ์ กล่าวถึง การตัดสินใจที่ผิดพลาดในครั้งนั้น ตอนที่ 11 ปตท.หุ้น The Winner1 เส้นทางการเติบโต..พอร์ตหุ้นของวิชัย วชิรพงศ์ ไม่ได้เกิดขึ้นแบบรวดเร็ว เขาเพียรพยายามนำกำไรมาลงทุนต่อ (Reinvestment) โดยไม่เด็ดยอดความสำเร็จ เอาไปซื้อหาความสุข ก่อนถึงเวลาอันควร นานนับสิบปีพอร์ตของวิชัยก็เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆอย่างน่าอัศจรรย์ เขาไม่ใช่ "พ่อมด" ที่เสกเงินได้เอง แต่เขาเชื่อในหลักการของ "พลังแห่งการทบต้นของเงิน" วิชัยเชื่อว่า พอร์ตหุ้นของนักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ในระหว่างทางคุณจำเป็นต้องเจอหุ้น "แจ๊คพอต" (หุ้นในดวงใจ) ที่ทำกำไรครั้งละมากๆ ต้องมีผ่านเข้ามาเป็นระยะ พอร์ตจึงจะเติบโตได้ "...การเล่นหุ้นเพื่อหวังกำไร 3-5% เป็นการลงทุนที่มีโอกาส "ร่ำรวย" ได้ยาก!!! เพราะการตัดสินใจ(ซื้อ-ขาย)บ่อย โอกาสผิดพลาดจะมีสูง" กูรูหุ้นรายนี้ แนะนำว่า ระหว่างที่ "จังหวะ" และ "โอกาส" ยังมาไม่ถึง นักลงทุนอาจจะแบ่งเงินลงทุนบางส่วน มาเล่นหุ้นเก็งกำไร แต่ไม่ควรทุ่มเทเงินทั้งหมด มาเสี่ยงในสถานการณ์ที่เราไม่มั่นใจเต็มร้อย ขณะเดียวกัน..ในระหว่างที่เรากำลังจับ "ปลาเล็ก" (หุ้นเก็งกำไร) คุณต้องพยายามค้นหา "หุ้นในดวงใจ" (ของรอบ) และควรเตรียมแหอวน สำหรับการจับ "ปลาใหญ่" ไว้ให้พร้อม เขาเชื่อว่าในทุกๆปี จะมีฤดูกาล "จับปลาใหญ่" อย่างน้อย 1 คลื่นใหญ่ คุณต้องหาหุ้นที่ "แจ๊คพอตแตก" ให้เจอ และต้องกล้าที่จะ "ทุ่ม" ลงไปกับมัน สำหรับหุ้นที่เป็น "จุดหักเห" ของพอร์ตวิชัย ตัวหนึ่งก็คือ หุ้นปตท.(PTT) เขาบอกว่าหุ้นตัวนี้ทำกำไรให้มากที่สุด ประมาณ 700 ล้านบาท เสี่ยยักษ์ เล่าว่า ก่อนที่หุ้นปตท.จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ช่วงปลายปี 2544 ก่อนหน้านั้นรู้อยู่แล้วว่าหุ้นตัวนี้ต้องดีแน่ เป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดด้านพลังงานของประเทศ ทุกคนมองหุ้นตัวนี้ดีหมด "ผมจ้างคนไปเข้าคิวจองหุ้นปตท. ตั้งแต่ตี 5 ใช้ชื่อญาติพี่น้องเป็นสิบๆคน กระจายกันไปจอง จำได้ว่าคนหนึ่งจองได้ 20,000 หุ้นราคาไอพีโอ 35 บาท ก่อนหน้านั้นผมกลับไปที่จังหวัดอยุธยา ไปเขียนใบจองล่วงหน้า 2-3 วัน โดยขอออเดอร์แรกทุกสาขา ทุกธนาคารที่เปิดจอง เพราะในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีคนนิยมเล่นหุ้น ผมก็ไปเตรียมการไว้ก่อน ...สรุปว่า ได้หุ้นมารวมกัน 7 แสนหุ้น ผมไม่มีเส้นสาย ไม่มีพวก จำนวนหุ้นขนาดนี้ถือว่าเยอะมาก ได้มา 35 ใบจอง ลงทุนไป 24.50 ล้านบาท" วิชัย จำได้ว่า ความคิดตอนนั้น จะฝากชีวิตไว้กับหุ้นปตท. นี่แหละ!! แต่ที่ไหนได้..หลังจากหุ้นปตท.เข้ามาเทรดในตลาดวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ขึ้นไป High ที่ราคา 38.25 บาท แล้วถูกกดลงมาปิดที่ราคา 35.75 บาท "ชั้นเชิงของรายใหญ่ (พวกกองทุน) เขาจะต้องขยายหุ้นหรือเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ต ก่อนลากราคาขึ้นไป พอเปิดมา 35.75 บาท เขาบี้อยู่อย่างนั้นตั้งนาน จนผมทนไม่ไหว ต้องขายออกไปที่ราคา 35.50 บาท การที่เราโฟกัสหุ้นตัวนี้ตัวเดียว เวลาที่หุ้นลง ความรู้สึกมันอึดอัดมาก" วิชัย บอกความรู้สึกว่า รายใหญ่เขาจะจับเรา(นักลงทุน)เข้าเครื่องเขย่าหุ้น ให้คนที่ใจไม่ถึงต้องออกไป กลยุทธ์ของเขาคือ ทำให้พวกที่ใจไม่ถึงต้อง "คืนของ" หรือ "ขายคืน" ประจวบกับช่วงนั้นดัชนี SET อยู่แถว 300 จุดต้นๆ หุ้นตัวเล็กตัวน้อยขึ้นตลอด จนวิชัยทนไม่ไหว ต้องขายหุ้นปตท.ที่เป็นหุ้นในดวงใจในขณะนั้น ทิ้งไปทั้งก้อน "ช่วงนั้น ผมซื้อหุ้นปตท.เพิ่มเป็น 1 ล้านหุ้น ลงทุนไปประมาณ 35 ล้านบาท กู้เครดิตบาลานซ์ซื้อเพิ่มอีก 1 ล้านหุ้น รวมเป็น 2 ล้านหุ้น แต่ไม่สำเร็จก็ต้องออก เอาเงินไปเล่นเก็งกำไรหุ้นตัวอื่น" หลังจากนั้นดัชนี SET ก็ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ แม้พอร์ตของวิชัยจะเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านบาท (ช่วงหุ้นปตท.เข้าตลาด) เพิ่มขึ้นมาเป็น 70 ล้านบาท จากการเล่นหุ้นเก็งกำไร พอร์ตหุ้นโตขึ้นมา 1 เท่าตัว แต่เขาก็รู้สึกว่าชีวิตเสี่ยงมาตลอดทาง ขณะเดียวกันหุ้นปตท. ก็ค่อยๆ แอบขึ้นมาเงียบๆ แต่ก่อนจะขึ้นใหญ่ ราคาหุ้นปตท.วิ่งในลักษณะ "ไซด์เวย์" อยู่นานเป็นปี (2545-กลางปี 2546) จากราคาจอง 35 บาท ราคาหุ้นลงไปต่ำสุด 28.75 บาท ในวันที่ 30 เมษายน 2545 แล้วไล่ขึ้นไป 38 บาทในวันที่ 12 มิถุนายน 2545 จากนั้นก็กดราคาลงมาอีกทีเหลือ 34 บาทในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 ต่อจากนั้นราคาก็เคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ 38 - 45 บาทนานอีกหลายเดือน จนถึงกลางเดือนเมษายน 2546 ราคาหุ้นปตท.ทะยานขึ้นไปเร็วมาก ขึ้นไป 78 บาทในวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 วิชัย อธิบายว่า จากช่วงเดือนธันวาคม 2544 ถึงกรกฎาคม 2546 พอร์ตหุ้นของตัวเองเพิ่มขึ้นมา 1 เท่าตัวจากการเล่นหุ้นปั่น ขณะที่หุ้นปตท. ก็ขึ้นมา 1 เท่าตัวเหมือนกัน "ถ้ามองย้อนกลับไป มันก็ดีที่คุณมีเงิน 35 ล้านบาทเพิ่มเป็น 70 ล้านบาท แต่ผมฉุกคิดได้ว่า เวลาที่เราเล่นหุ้นปั่นกำไร 100% ก็จริง แต่มันเสี่ยงตลอดทาง เข้าถูกตัวบ้าง เข้าผิดบ้าง ที่บอกว่ามันเสี่ยงก็เพราะว่าหุ้นหลายตัวที่เล่น พี/อี 30-40 เท่า แล้วบางตัวขาดทุน เพราะหุ้นปั่นส่วนใหญ่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดี ยิ่งถือนานยิ่งเสี่ยง" ช่วงปี 2545 ในก๊วนตีกอล์ฟ วิชัยยังจำได้ว่า เคยบอกให้เพื่อนๆ เก็บหุ้นปตท. เดี๋ยวมีรถเฟอร์รารี่ขับ "เชื่อผมซิ!" แต่ไม่มีใครซื้อ เพราะมันไม่สนุก เขาไปเล่นหุ้นปั่นกันหมด "...ช่วงที่หุ้นปตท.อยู่แถวๆ 35 บาท ผมเชียร์ให้ทุกคนซื้อเก็บยาวเลย แล้วไม่ต้องมอง เพราะผมมองว่ารายใหญ่ รายย่อย มีต้นทุนเท่ากัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ผมดันทนไม่ไหวเอง ขายหุ้นทิ้งออกไปก่อน" เสี่ยยักษ์ กล่าวถึง การตัดสินใจที่ผิดพลาดในครั้งนั้น ตอนที่ 11 ปตท.หุ้น The Winner2 วิชัย วชิรพงศ์ กล่าวว่า บทเรียนที่ผ่านมามันทำให้ตนเองมีคติประจำใจว่า ถ้าจะกำไรเยอะๆ ต้องถือหุ้นยาวๆให้ได้ เมื่อรู้ว่า "เดินทางผิด" ไปทุ่มลงทุน "หุ้นปั่น" แทนที่จะเป็นหุ้น ปตท.ที่ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่แรก กำไรที่ได้มาจากหุ้นปั่น 100% เท่าๆ กับการขึ้นของหุ้น ปตท.จาก 35 บาทขึ้นมา 70 บาท แต่ตลอดทางที่ทำกำไรจาก "หุ้นปั่น" วิชัยกลับรู้สึกกระวนกระวายใจ ชีวิตไม่มีความสุข เพราะรู้สึกว่าตัวเองเสี่ยงทุกวัน จิตใต้สำนึกบอกว่าถ้าขืนเล่นหุ้นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะต้องมีวันพลาดท่า "เจ๊ง" ไม่วันใดก็วันหนึ่งแน่ๆ "จำได้ว่า ก่อนที่จะกลับมาเข้าหุ้น ปตท.(ครั้งที่ 2) ผมไปเข้าหุ้น HEMRAJ เกือบ 30 ล้านหุ้น วันนั้นราคาขึ้นไปทำนิวไฮที่ 2.70-2.80 บาท ลงทุนไปประมาณ 70 ล้านบาท ซื้อหุ้นตัวเดียวเต็มพอร์ต ...พอซื้อเสร็จ มันก็ขึ้นไปทำนิวไฮ พอกลับไปบ้าน ทั้งคืนนอนไม่หลับ เพราะหุ้นตัวนี้ (ตอนนั้น) พี/อี มันสูงมาก ได้แต่รำพึงกับตัวเองว่า..กูหาเรื่องแท้ๆ ไม่น่าซื้อเลย" ย้อนถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น เสี่ยยักษ์มานั่งคิดว่า โอ้โห! ทำไมเราถึงกล้ามาก รู้เลยว่าที่ผ่านมาเราตัดสินใจผิดพลาดแล้วนะ เพราะพอร์ตเราใหญ่ ลูกเรายังเล็กอยู่ ถ้าพลาดท่าเราตายแน่ เขาอธิบายคำศัพท์ของนักเล่นหุ้นที่บอกว่า "ลูกยังเล็กอยู่" ความหมายคือ ลูกเรายังเล็ก..จะพลาดไม่ได้ หมายความว่าหุ้นตัวนี้ "อันตราย" เราต้อง Cut Loss ทิ้ง เมื่อรู้ตัวว่า "ซื้อแพง" ถลำลึกกับหุ้นเก็งกำไรจนหมดตัว เช้าวันรุ่งขึ้น วิชัยจึงตัดสินใจขายหุ้น HEMRAJ ทิ้งทั้งหมด จากเดิมที่มีกำไรหลายล้านบาท กลับเป็นว่าไม่เหลือกำไรเลย แต่เขาไม่เสียใจ ...เพราะการซื้อหุ้นแล้วเราไม่สบายใจ การขายหุ้นออกไปให้หมด จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด จากนั้นวิชัยก็เอาเงินทั้งหมดประมาณ 70 ล้านบาทมาซื้อหุ้น ปตท. "ตัวเดียว" โดยเข้าลงทุนประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน ปี 2546 ซึ่งขณะนั้นราคาหุ้นได้แอบขึ้นจาก 35 บาท ไป 70 บาทแล้ว สาเหตุอะไรที่ทำให้วิชัยฉุกคิดได้ว่าต้องทิ้งหุ้น HEMRAJ แล้วมาซื้อหุ้น ปตท.? เหตุผลอยู่ที่ความเชื่อมั่นใน "ผลประกอบการ" ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และเป็นการเติบโตมาจากฐานที่ต่ำ หุ้น ปตท.ในขณะนั้นจึงเป็น Super Growth Company หมายความว่า หุ้นจะมี "อัตราเร่ง" ของราคาที่มากกว่าภาวะปกติ อีกมิติทางการเมือง..รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้น ก็มีความเข้มแข็งถึงขีดสุด อีกทั้งมีนโยบายเกื้อหนุนให้ ปตท.เติบโตอย่างชัดเจน ช่วงที่ ปตท.ประกาศผลการดำนินงานปี 2545 (ปีแรกที่เข้าตลาดหุ้น) มีกำไรสุทธิ 24,506 ล้านบาท พอปี 2546 กำไรเพิ่มขึ้นเป็น 39,400 ล้านบาท พอปี 2547 กำไรก้าวกระโดดเป็น 62,666 ล้านบาท "5 ปีย้อนหลัง ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (2545-2549) หุ้น ปตท.มันขึ้นมาตลอด" วิชัยยังจำได้อีกว่า ช่วงที่ราคาหุ้น ปตท.ขยับขึ้นจาก 35 บาทมาถึง 70 บาท จากนั้นก็ประกาศงบการเงินงวดครึ่งปี 2546 กำไรออกมาดีมาก 17,623 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 6.30 บาท ถ้าจำไม่ผิด พี/อี แค่ 5 เท่านิดๆ เท่านั้นเอง (ทั้งปีกำไรต่อหุ้น 14.09 บาท) "ช่วงที่หุ้น ปตท.ขึ้นมาถึง 70 บาท ดัชนี SET ขยับขึ้นมาจาก 340 จุด ขึ้นมาเกือบๆ 500 จุด ผมเข้าไปซื้อหุ้น ปตท.แถวๆนี้ ช่วงประกาศงบการเงินงวดครึ่งปี 2546" ระหว่างที่เข้าไปซื้อหุ้น ปตท. วิชัยถือที่ต้นทุน 70 บาท เกมเขย่าราคาก็เกิดขึ้นอีกครั้ง รายใหญ่ใช้วิธี "โยนหุ้น" ในกรอบราคา 69-75 บาท ย่ำฐานอยู่แถวนี้ ทำให้คนที่ซื้อเยอะๆ รู้สึกอึดอัด ถ้าใครทนไม่ไหวก็ต้อง "คายหุ้น" กลับคืนไป "มันบี้ผมช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2546 ผมก็ทนถือเอาไว้ เพราะรู้ว่ามันต้องประกาศงบทั้งปีออกมาดีแน่ๆ ขณะที่หุ้นปั่นตัวอื่นๆตกกันหมด ถ้าใครใจไม่อยู่ก็ต้องคืนของเขาไป..แต่ผมปักหลักสู้" ช่วงที่ตลาดหุ้นถูกเขย่าไปพร้อมๆกับหุ้น ปตท. วิชัยบอกว่า ช่วงนั้นดัชนี SET ขึ้นไป 500 ต้นๆ แล้วก็ถูกทุบลงมา กราฟตอนนั้นมีคน "เจ๊งหุ้น" (ปั่น) เยอะมาก ใครที่เล่นหุ้นปั่นตายหมด ตรงกันข้ามกับหุ้น ปตท.ที่ยืนกับขึ้น การที่หุ้น ปตท. "ยืน" กับ "ขึ้น" ในภาวะขาลง เขารู้ทันทีว่า การตัดสินใจเปลี่ยนจากหุ้นเก็งกำไรมาซื้อ ปตท. เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง มิฉะนั้นก็คงจะไม่มีชื่อ "วิชัย วชิรพงศ์" อย่างทุกวันนี้ ตอนที่ 12 รวย ถ้าเราไม่รู้ว่าหุ้นจะขึ้นต่อไปอีกหรือไม่ เราต้อง Let the Profit Run ปล่อยให้กำไรวิ่งเต็มสตีม เมื่อไรที่ราคาเริ่มปรับฐานลงมา "พร้อมวอลุ่ม" เราก็ล้างพอร์ตออกไปให้หมด การที่ "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์ เลือกลงทุน "หุ้นปั่น" ในช่วงแรก แทนที่จะเป็นหุ้น ปตท. "หุ้นในดวงใจ" เนื่องจากมองว่า "เชื่องช้า" ให้ผลตอบแทนไม่ทันใจ แต่หุ้น ปตท.ระหว่างรอยต่อของ Business Cycle จาก "ยุคขยายตัว" (Expansion) ไปสู่ "ยุครุ่งเรือง" (Boom) ของราคาน้ำมัน หุ้นปตท.กลับเป็น "ช้างที่ปราดเปรียว" กำไรโตพรวดพราดอย่างน่าทึ่ง "...ใครหาหุ้นอย่างนี้เจอ "แจ๊คพอตแตก" แน่นอน!!!" เสี่ยยักษ์สรุปสั้นๆ เสี่ยยักษ์ย้อนเล่าว่า ช่วงนั้นตนเองมีเงินอยู่ 70 ล้านบาท ตัดสินใจซื้อหุ้น ปตท.ตัวเดียวเลย 1 ล้านหุ้น ซึ่งราคามันวิ่งขึ้นมาจาก 35 บาทมาที่ 70 บาท (ขึ้นมา 100% แล้ว) แต่ความมั่นใจของเรา ทำให้ "กู้เครดิตบาลานซ์" ซื้อเพิ่มอีก 1 ล้านหุ้นรวมเป็น 2 ล้านหุ้นมูลค่า 140 ล้านบาท ช่วงเดือนกันยายน 2546 หุ้นปตท.ขยับขึ้นไป 83 บาท นั่นคือจุดผกผันของชีวิตครั้งใหญ่ "ผมจะชอบอ้างคำพูดของ "แซม สนีด" อดีตนักกอล์ฟมือหนึ่งของโลก ที่เคยบอกว่า การตีกอล์ฟระยะไกลๆลงหลุมแบบ "โฮลอินวัน" มันเป็นเรื่องของโชคชะตา แต่ตีกอล์ฟให้ห่างธงระยะ 1-2 ฟุต ได้ทุกครั้งนี่คือฝีมือล้วนๆ" วิชัยเปรียบเทียบการเล่นหุ้นกับการตีกอล์ฟว่า คุณซื้อหุ้นให้ถูกตัว..ถูกเวลา เหมือนกับการตีกอล์ฟให้ใกล้หลุม "มันเป็นฝีมือ" แต่ผลสำเร็จสุดท้ายโชคชะตา "ฟ้า" จะเป็นผู้ลิขิต "ใครจะไปรู้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมันจะวิ่งจาก 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขึ้นไป 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตอนซื้อหุ้นปตท.ใหม่ๆ ผมก็ไม่รู้ มันทำให้หุ้น ปตท.พุ่งขึ้นจาก 70 บาทไป 190 กว่าบาท ภายในเวลาแค่ 5-6 เดือนเท่านั้น" ถ้าย้อนหลังกลับไปในเดือนมิถุนายน 2546 ราคาหุ้น ปตท.ปิดตลาดที่ 66.50 บาท อีก 6 เดือนต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 ราคาหุ้น ปตท.ทะยานขึ้นไปสูงสุดที่ 193 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 190% ในรอบ 6 เดือน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ (ดูไบ) ค่อยๆขยับขึ้นจาก 25-27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วงเดือนมิถุนายน 2546 ทะยานพุ่งขึ้นไปสูงสุด 72-73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงเดือนกรกฎาคม 2549 เป็นทิศทางขาขึ้นนานถึง 3 ปีเต็ม ระหว่างที่ราคาหุ้น ปตท.กำลังปรับขึ้นเพื่อสร้างสถิติใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยสัญชาตญาณของ "นายพราน" เสี่ยยักษ์ ขณะนั้นมีหุ้นปตท.อยู่แล้ว 2 ล้านหุ้น (กู้เครดิตบาลานซ์ 1 ล้านหุ้น เงินตัวเอง 1 ล้านหุ้น) พอหุ้น ปตท.ปรับขึ้น "อำนาจซื้อ" ก็เพิ่มขึ้น หมายความว่า วงเงินกู้เครดิตบาลานซ์ ก็เพิ่มขึ้นตาม เขาก็ใช้วิธีกู้เงินซื้อหุ้น ปตท.เพิ่มเข้าพอร์ตไปเรื่อยๆ ราคาหุ้นยิ่งปรับขึ้น อำนาจในการ (กู้) ซื้อก็ยิ่งเพิ่มขึ้น "...จาก 2 ล้านหุ้น ผมก็มีหุ้นเพิ่มเป็น 4 ล้านหุ้น" ทั้งๆ ที่เสี่ยยักษ์มีทุนซื้อหุ้นครั้งแรกเพียง 70 ล้านบาทหรือ 1 ล้านหุ้นเท่านั้น "ข้อดีของการเล่นหุ้นด้วย "เครดิตบาลานซ์" เมื่อมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มขึ้น (ราคาหุ้นสูงขึ้น) ผมก็กู้เงินซื้อหุ้น ปตท.เพิ่มเข้าพอร์ตตลอดเวลา ที่มั่นใจก็เพราะว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกมันขึ้นไปเรื่อยๆยิ่งขึ้น ผมก็ยิ่งซื้อหุ้น ปตท.เก็บ" เขาบอกว่า ขณะนั้นมีต้นทุนถัวเฉลี่ยในพอร์ต (จำนวน 4 ล้านหุ้น) อยู่ที่หุ้นละ 90 บาท จนถึงต้นปี 2547 หุ้น ปตท.ขึ้นไป 193 บาทก็ยังไม่ขาย มาขายที่ราคา 170 กว่าบาท "สาเหตุที่ยังไม่ขาย ก็เพราะว่าเราไม่รู้ว่าหุ้นจะขึ้นต่อไปอีกหรือไม่ เราต้อง Let the Profit Run ปล่อยให้กำไรวิ่งเต็มสตีม เมื่อไรที่ราคาเริ่มปรับฐานลงมาพร้อมวอลุ่ม เราก็ล้างพอร์ตออกไปให้หมด" วิชัยสรุปว่า หุ้นปตท.ถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต เพราะหุ้นปตท.ตัวเดียวทำกำไรให้รวมกันมากที่สุด ประมาณ 700 ล้านบาทจากเงินลงทุนเพียงแค่ 70 ล้านบาท "พอผมไปซื้อหุ้น ปตท.ใช้เครดิตบาลานซ์ ซื้อเพิ่ม เผอิญราคาน้ำมันมันขึ้น ขึ้นอย่างมากๆนั่นคือลิขิตโชคชะตา แต่ตอนแรกที่เราตีกอล์ฟไปใกล้ธงระดับ 2 ฟุตนั่นคือฝีมือ" ...แล้วเราจะค้นหาหุ้น "แจ๊คพอตแตก" อย่างนี้ได้อย่างไร? เสี่ยยักษ์สรุปไว้สั้นๆว่า คุณต้องฝึกซ้อม..คุณต้องฝึกซ้อม..คุณต้องฝึกซ้อม..คุณต้องสู้ตาย..คุณต้อง ทุ่มเท พร้อมทั้งบอกว่า คนเราถ้ามันจะรวย มันมีส่วนของ "ฟ้าลิขิต" มาช่วยด้วย 5 เดือนเองนะครับที่หุ้นปตท.ขึ้นจาก 70 บาทไปเป็น 190 บาท นี่คือส่วนของฟ้า ส่วนของเราคือ ต้องเลือกหุ้นให้ถูกตัว แล้วต้องซื้อให้ถูกเวลา "..นี่ไม่ง่ายนะครับ!!!" ทั้งหมดนี้คือบทพิสูจน์ว่าหุ้น ปตท.ช่วงที่กำลังเติบโต (รวมทั้งหุ้น Super Growth Company ตัวอื่นๆ) ไม่ใช่ "ช้างที่เชื่องช้า" แต่เป็น "ช้างที่ปราดเปรียว" ในบางขณะ อยู่ที่ว่า คุณ..จะหาจังหวะนั้นเจอหรือไม่ ???
  22. คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของประเเทศ ทรัพยากรของประเทศเป็นสมบัติของคนไทยทุกคน ในฐานะเจ้าของประเทศและเป็นผู้จ่ายเงินภาษีมาเป็นเงินเดือนข้าราชการ ควรจะมีสิทธิประเมินผลงานข้าราชการกระทรวงต่างๆได้ ---ในฐานะของคนไทยที่จ่ายภาษีเป็นเงินเดือนของข้าราชการ ขอประเมินผลงานของกระทรวงพลังงานหน่อยครับ ประเทศของเรามีการให้สัมประทานปิโตรเลียมมาหลายสิบปีแล้ว ยอดการผลิตของปิโตรเลียมก็เพิ่มขึ้นทุกปี จนปัจจุบัน EIA สหรัฐ ระบุว่าไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ เป็นอันดับที่ 24 และ ผลิตน้ำมันได้เป็นอันดับที่ 33 ของโลกแล้ว ทำไมการแบ่งปันส่วนแบ่งเข้ารัฐของประเทศของเราไม่เพิ่มขึ้นเลย ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ทำอะไรอยู่ มีอะไรบังตาอยู่หรือเปล่า อ้างว่าเรามีโปรโตรเลียมน้อยตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มให้สัมประทาน ผ่านมาหลายสิบปีจนEIA สหรัฐ ระบุว่าไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ เป็นอันดับที่ 24 และ ผลิตน้ำมันได้เป็นอันดับที่ 33 ของโลกแล้ว ประเทศเราก็ยังได้ส่วนแบ่งใกล้เคียงเดิม พี่น้องคนไทยช่วยประเมินผลงานของผู้มีอำนาจกระทรวงพลังงานหน่อยครับ ว่าการต่อรองกับเอกชนเพื่อประโยชน์ของประเทศ เขาทำได้แย่ขนาดไหน ส่วนตัวผมให้F ครับ แล้วพี่น้องท่านอื่นละประเมินว่างไงบ้าง
  23. Jimmy Siri 9 ชม. · แก้ไขแล้ว เคส "Bundy Ranch" ในรัฐเนวด้า ข่าวนี้บ้านเราอาจจะมาไม่ถึงนะครับ เพราะต้นทางน่าจะปิดข้อมูลแน่ในกรณีแบบนี้ คือการเผชิญหน้าของกลุ่ม Militia จากหลายรัฐกว่า 30,000 คนมารวมตัวกันเพื่อต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐ 200 นาย ที่ขนอาวุธสงครามมาเต็มพิกัดเพื่อเข้ายึดครองหรือยึดพื้นที่ของฝ่ายพลเรือน ด้วยเหตุผลที่ไม่สมควร ซึ่งในทางลึก มันคือปฏิบัติการณ์ทางจิตวิทยาเพื่อทดสอบการต่อต้านของประชาชนเพื่อดูผล กระทบต่างๆ และทั้งหมดนี้ก็คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงอย่างเต็มรูปแบบหลังจากการ collapse หรือ "การล่มสลายทางเศรษฐกิจ" อย่างเป็นทางการแล้วของสหรัฐอเมริกานั่นเอง สิ่งที่หน้าสังเกตุคือ protocols หรือขั้นตอนปฏิบัติ หน่วยงาน เครื่องมือ และอาวุธหนักต่างๆ ที่จะถูกนำเข้ามาใช้ในการนี้ ซึ่งทั้งหมดก็เนื่องมาจาก Executive Order หรือคำสั่ง ปธน. ฉบับต่างๆ รวมทั้งการประกาศกฏอัยการศึก หรือ Martial Law ที่ผมพยายามจะเตือนมาตลอดนั่นเอง คาดว่าอีกไม่นาน เราคงจะได้เห็น "American Revolution II" กันแล้วนะครับ !! ***ใช้คีย์เวิร์ด "bundy ranch" ตามข้อมูลความเคลื่อนไหวได้ทั้งจากยูทูปและgoogle เลยนะครับ Jimmy Siri และ กรณีการลุกฮือของรัฐทางภาคตะวันตกนี้ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรใหญ่ๆ อย่างเช่น "American Spring" ที่มีแนวโน้มจะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้อีกต่างหากครับ Jimmy Siri หาก ใครที่กำลังติดตามซีรี่ส์ The Revolution อาจจะเคยเห็นภาพเหล่านี้มาบ้างจากหนัง เพียงแต่ทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องจริงทั้งหมด และกำลังยกระดับความรุนแรงขึ้นจนอาจกลายเป็นการลุกฮือทั่วภาคตะวันตกของ สหรัฐ โดยเฉพาะจากกลุ่ม Militia ที่รอเวลาระเบิด มี คลิปนึงโดนเฟสบุ๊คบล๊อคไม่ให้โพสต์นะครับ แต่น่าสนใจทีเดียว เพราะเป็นการเผชิญหน้าที่หนักหนาสาหัสเอาการ ให้ลองใส่ "watch?v=a_XqdQjTflc" ในยูทูปเพื่อที่จะดูได้นะครับ Ong Solfeggio มา ยืนยันอีกเสียงหนึ่งครับว่า เป็น "ข่าวดังที่ถูกปิดเงียบ" จริงๆ ผมลงใน FB ตั้งแต่อ่านข่าวนี้จาก RT News ของทางการรัสเซีย เมื่อ 12/04/57 มาแล้ว และไม่ใช่ RT จะลงสื่อเดียว เห็นมีของ Press TV ของทางการอิหร่านก็ร่วม "รายงานและวิเคราะห์ข่าว" เหตุการณ์นี้ด้วย แต่ไม่พบในสื่อกระแสหลักของ USA-ENG และพันธมิตรโลกเสรี-ทุนฯ รวมถึงสื่อหลักๆของไทยด้วย..... ในรายงานข่าว(ที่ค่อนข้างละเอียดพอควร) ของ RT News มีคลิปวิดิโอเหตุการณ์ ที่ดูเกือบจะเกิดการปะทะรุนแรง ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ(เอาหน่วย K-9 มาเองเลย) ภายในรายงานข่าวด้วย.... ผมขออนุญาตแนบมาลงรวมทั้งความเห็นส่วนตัวที่โพสท์ไว้ที่หน้า FB นะครับ.... V V V 3 ชม. · ถูกใจ · 1 Ong Solfeggio RT News 12/04/2014: ชาวบ้านอเมริกันจำนวนมาก ในพื้นที่ที่ทางรัฐบาลกลางประกาศเป็น"เขตห้ามบิน"(FAA) ในรัฐเนวาด้า ออกมาสนับสนุนปกป้องฟาร์มวัวของครอบครัว Bundy.... Supporters gather to defend Bundy ranch in Nevada, FAA enacts no-fly zone .... เป็น อีกหนึ่งในหลายร้อยหลายพันภาพข่าว ที่แสดงถึงความวุ่นวาย ภายในบ้านเมืองของสหรัฐอเมริกาเอง ซึ่งเพื่อนๆหลายท่านอาจไม่เคยเห็น ในสื่อสารมวลชนหลักๆ ของโลกเสรี-ทุนนิยม หรือแม้แต่ในสื่อกระแสหลักของไทย (*คงไม่ลืมตัวไปนะครับว่าเรายังเป็นมิตรหรือจะเรียกว่าเด็กที่แสนดีของ ฝรั่งUSA-EN อยุ่...) หรือถ้าจะเป็นข่าว ก็แทบจะ "อยุ่ในกรอบข่าว" ที่เล็กมากที่สุด มากกว่า หนึ่งชั่วอายุคนของคนไทย ที่ผ่านมา เรา "ถูกครอบงำทางความคิดและทัศนคติ" จากโลกตะวันตก และพันธมิตรของโลกตะวันตก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฯลฯ มาโดยตลอด ทั้งจากข้อมูล ข่าวสาร วิทยุ ภาพยนต์ ไปจนถึงระบบการศึกษาทั้งระบบ จนกระทั่งคนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งน่าจะมากกว่าร้อยละ 99 มีความเข้าใจว่า "โลก" ที่เรา "รับรู้" และ "เรียนรู้" อยู่ทุกวันนี้ เป็น "โลกแห่งความจริง" และเป็น "โลกทั้งใบ" ทั้งที่ความจริงแท้แล้ว ยังมี "โลกอีกด้านหนึ่ง" เสมือนเหรียญอีกด้าน ที่เราแทบไม่เคยได้เห็น หรือ ได้สัมผัสมาก่อน... เราไม่รู้สึกเอะใจกันบ้างเลยหรือว่า จีน ดินแดนที่อยู่บนหัวเราเพียงแค่เอื้อม แต่เรากลับรู้เรื่องราวต่างๆ นานา ของเขาน้อยมากๆ เมือเทียบกับชีวิตดารา พระเอก นางเอก ในซีรีย์เกาหลีใต้ ??? เราพบเห็นแต่ข่าวใน "ทางลบ" ของประเทศอินเดีย เช่น การข่มขืน และระบบวรรณะของอินเดีย ที่เราดูถูกว่าเป็นแขกขายผ้า ขายโรตี แต่เราไม่เคยได้ยินข่าวการส่งจรวดไปสำรวจดาวอังคาร และข่าวความก้าวหน้า และอำนาจทางการทหารอย่างรวดเร็วมากของกองทัพอินเดีย ??? เราคนไทยมี "มุมมองในทางลบ" ไปในทันที ที่มีสื่อตะวันตกและสื่อบ้านเรารายงานข่าวว่า "รัสเซียส่งทหารเข้าไปบุกยึดไครเมีย" และวางกำลังทหารตามชายแดนที่ติดกับยูเครน... โดยมองว่า "รัสเซียเป็นฝรั่งไม่ดี" ทั้งๆที่ก่อนยุคกอร์บาชอพ และก่อน War II ดินแดนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตรัสเซีย ???!!! ประชาชน ชาวไทย และประเทศไทย อาจจำเป็นต้อง "พัฒนามุมมอง" ทั้งต่อ "โลกภายนอก" และ "ตนเอง" ใหม่ทั้งหมด เพราะไม่ว่าเราจะมีความขัดแย้งทางความคิด และผลประโยชน์กันภายใน มากมายเพียงใดก็ตาม "คนไทย" ก็ยังต้องเป็น "คนไทย" อยู่ตลอดเวลา ทั้งทางนิตินัย (เกิดบนแผ่นดินไทย) และพฤตินัย (ทำมาหากินบนผืนแผ่นดินไทย) ไม่มีชาวต่างชาติ หรือชาติมหาอำนาจใดๆ จะมา "เข้าใจ" และ "รับรู้" ความเป็น "คนไทย" ได้มากกว่าชาวไทยด้วยกันเอง อย่างแน่นอน เพราะ ชาวต่างชาติ ที่เข้ามาหาเรา เขามาด้วยเรื่องเดียวกันเท่านั้นคือ "ผลประโยชน์" ภาพที่เล็กที่สุด ซึ่งคนไทยน่าจะมองเข้าใจได้ ก็คือ นักท่องเที่ยว ที่เข้ามาทัวร์ไทย ก็เพียงเพื่อมาเสพสุขกับธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว และแหล่งบันเทิง ที่เรามีให้พวกเขา เมือถึงเวลาที่กำหนดเขาก็กลับไปบ้านเกิดเมืองนอนของเขา เราคนไทย ก็ยังต้อง ดำรงอยู่บนผืนแผ่นดินนี้ต่อไป เพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า แน่นอนว่าไม่ใช่เพื่อ ชาวต่างชาติที่เป็นนักท่องเที่ยว แต่เพื่อ "ลูกหลานไทย" ในปัจจุบันและในอนาคต... http://rt.com/usa/bundy-ranch-nevada-tensions-940/ Jarurote Tippayachai โห แม้แต่นายอำเภอ ยังมีรถถังด้วย Jimmy Siri เฉลยครับ ว่าทำไมนายอำเภอต้องมีรถหุ้มเกาะ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> Jimmy Siri December 17, 2013 · ตื่นเถิดชาวไทย หรือจะเลือกเดินตามเค้าไปอย่างนี้ ......."American Police State" แล้ว ทันทีที่ถึงจุดเดือด คนอเมริกันแทบไม่มีสิทธิ์ที่จะต่อต้านเลย ทั้งในด้านเทคโนโลยีและอาวุธของฝ่ายรัฐ คือทั้งทหารและตำรวจ โดยเฉพาะนโยบายใหม่เพื่อติด "อาวุธหนัก" ให้กับตำรวจและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ที่เรียกกันว่า "Militarized Police"
  24. ---ส่วนแบ่งสัมประทานปิโตรเลียมของประเทศไทยทำไมได้น้อยจัง ผู้มีอำนาจพิจารณาก็จะอ้างตลอดว่า ประเทศเรามีพลังงานน้อย ถ้าไม่แบ่งเขาเยอะเขาก็จะไม่มาลงทุน(ลงมือขุดจริงอาจได้น้อยไม่คุ้มลงทุนก็ได้) คำพูดแบบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยแรกที่เราให้สัมประทาน โอเคครับข้อความนี้ฟังขึ้นณเวลานั้น ---เมื่อลงมือขุดจริงผลปรากฎว่า เราผลิตปิโตรเลียมได้จำนวนมาก ปัจจุบันEIA สหรัฐ ระบุว่าไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ เป็นอันดับที่ 24 และ ผลิตน้ำมันได้เป็นอันดับที่ 33 ของโลก เมื่อลงมือขุดจริงแล้วปรากฎว่าได้ปริมาณมาก ส่วนแบ่งการให้สัมประทานที่ประเทศได้รับก็ยังใกล้เคียงเดิม ทำไมเป็นอย่างนั้น ---ถึงตอนนี้ก็จะมาแถว่า ถึงตอนนี้เราจะขุดได้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากมายแต่ ปริมาณน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วเรามีน้อย ถ้าเราเก็บเยอะผู้ลงทุนเขาจะไม่สนใจมาลงทุนขุดเพิ่ม ----ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย จำนวนปีที่ผลิตก๊าซธรรมชาติได้7.61ปี ---ปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย จำนวนปีที่ผลิตน้ำมันดิบได้3.51 ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วใครเป็นคนให้ตัวเลขนี้ ถ้าเป็นตัวเลขที่ฝ่ายที่ได้รับสัมประทานเป็นคนให้ เราจะเชื่อถือตัวเลขนี้ได้มั้ย เขาจะบอกให้น้อยไว้ก่อนเพื่อประโยชน์ของเขาหรือบอกตามความจริง ถ้าบอกเยอะเขาก็กลัวเราจะเก็บค่าสัมประทานเยอะ บอกน้อยก่อนเพื่อการต่อรองไม่ให้เก็บค่าสัมประทานเยอะ ----ถ้าดูยอดการผลิตปิโตรเลียมของประเทศเราซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ถ้าเอาทฤษฎี Oil Peak มามอง เชื่อว่าปริมาณปิโตรเลียมของไทยยังเหลืออีกมากมาย -----สรุปเลยนะครับ ตกลงช่วงขุดเจาะปิโตรเลียมใหม่ๆ เราได้ส่วนแบ่งสัมประทานน้อยเนื่องจากข้ออ้างขุดจริงอาจได้น้อยอาจไม่คุ้มลงทุนของบริษัทน้ำมัน ขุดมาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบันEIA สหรัฐ ระบุว่าไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ เป็นอันดับที่ 24 และ ผลิตน้ำมันได้เป็นอันดับที่ 33 ของโลก เราก็ยังได้ส่วนแบ่งสัมประทานน้อยเหมือนเดิม ตกลงเมื่อไหร่ประเทศเราจะได้ส่วนแบ่งค่าสัมประทานเพิ่มขึ้นสักที ---ทำไมปตทสผ. ต้องไปลงทุนต่างแดนด้วยจำนวนเงินที่มหาศาล เงินก้อนใหญ่ไปลงทุนถึงแคนาดา ไปลงทุนไกลขนาดนั้น การตรวจสอบการรั่วไหลของเงินจะทำได้ดีขนาดไหน มีเงินลงทุนมากขนาดนั้น ทำไมไม่ลงทุนในประเทศเราเพิ่มขึ้น ปตทสผ. ถือครองสัมประทานการขุดเจาะน้ำมันของเราแต่25%เองนะ ถ้าปตทสผ.เป็นผู้ได้รับสัมประทานเพิ่มอย่างน้อยปตทก็ถือหุ้นปตทสผ.ถึง65% พี่น้องคนไทยทุกท่าน การให้สัมประทานแหล่งพลังงานของไทยใครได้ประโยขน์ คุณภาพชีวิตคนไทยปัจจุบันนี้เมื่อเทียบกับ30ปีก่อน คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นหรือแย่ลง พลังงานไทยเป็นของคนไทยทุกคน ประชาชนคนไทยทุกคนควรได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ ไม่ใช่ให้ผู้มีอำนาจบางกลุ่มและคนต่างแดนมากอบโกยผลประโยชน์เอาไป
×
×
  • สร้างใหม่...