ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

Pete

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    53,172
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

  • วันที่ชนะ

    287

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย Pete

  1. วันศุกร์แล้วนะครับ ราคาทองจะปิดตลาด ตามเป้าหมายตัวเลขขาเสี่ยง ที่จุดใด ฝรั่งเดาราคาทองมองว่า อนาคตของราคาขอให้ผ่านจุด 1212 ไปให้ได้ เถอะ เจ้าพระคุณฯ พร้อมแนวทางขาเสี่ยง ประจำอาทิตย์ วันที่ 15-19 มิถุนายน 2558 คือ LONG GOLD above 1175 SL 1172 TP 1188-1198-1208-1218-1222 SHORT GOLD below 1172 SL 1175 TP 1162-1154-1146-1142 จุดงงงวย 1173-1174
  2. สหภาพยุโรป (EU) ประกาศจัดการประชุมฉุกเฉินในวันจันทร์ที่ 22 มิ.ย.นี้ หลังจากที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป เมื่อวานนี้ได้เสร็จสิ้นลงโดยที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับปัญหา หนี้กรีซ ซึ่งส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลว่ากรีซอาจจะผิดนัดชำระหนี้กับกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) ในช่วงสิ้นเดือนนี้ นายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานสภายุโรป กล่าวในแถลงการณ์ว่า "เนื่องจากผลการประชุมยูโรกรุ๊ปเมื่อวานนี้ไม่มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับ หนี้สินของกรีซ ผมจึงตัดสินใจที่จะจัดการประชุมยูโรซัมมิทในวันจันทร์นี้" พร้อมกับกล่าวว่า "ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ทางการเมืองระดับสูง เพื่อหารือกันอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับสถานการณ์ของกรีซ" แถลงการณ์ของนายทัสค์มีขึ้นหลังจากนายเจอโรน ดิจเซลโบลม ประธานกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป ประกาศว่า การประชุมยูโรกรุ๊ปเกี่ยวกับประเด็นหนี้สินของกรีซได้เสร็จสิ้นลงแล้วเมื่อ วานนี้ โดยที่ประชุมยังไม่มีการทำข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ กรีซจะต้องชำระหนี้วงเงิน 1.6 พันล้านยูโรแก่ IMF ในวันที่ 30 มิ.ย. ขณะที่นางคริสติน ลาการ์ด ประธาน IMF กล่าวยืนยันเมื่อวานนี้ว่า IMF จะไม่มีการเสนอให้เวลาปลอดหนี้แก่กรีซเป็นเวลา 2 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ หากกรีซไม่สามารถจ่ายหนี้ให้แก่ IMF ในวันที่ 30 มิ.ย.ได้ ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 มิถุนายน 2558)
  3. นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปีนี้ โดยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ทั้งนี้ โกลด์แมน แซคส์ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ในเดือนธ.ค. ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 9 ปี โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. "เหตุผลในการเลื่อนคาดการณ์เวลาที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไป เกิดจากการที่กรรมการ FOMC ของเฟด 7 รายคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้ง หรือไม่ปรับเลยในปีนี้ และเราเชื่อว่ากรรมการ 1 ใน 7 นี้คือนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด" นางแจน แฮทซิอุส นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ กล่าว ก่อนการประชุมเฟดเมื่อวานนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดลงมติในการประชุมเมื่อวานนี้ให้คงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 0-0.25% ต่อไป ขณะที่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากสัญญาณการอ่อนตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นปีได้เริ่มเบาบางลงแล้ว อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ อาจจะไม่รวดเร็วอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่เฟดทำการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 18 มิถุนายน 2558)
  4. สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ภายหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่ายังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ปรับตัวลดลง และข้อมูลแรงงานของสหรัฐที่ยังคงแข็งแกร่ง สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 53 เซนต์ ปิดที่ 60.45 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 39 เซนต์ ปิดที่ 64.26 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นขานรับสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ซึ่งการอ่อนค่าของดอลลาร์จะทำให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงิน ดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ ทั้งนี้ ดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากเฟดส่งสัญญาณในการประชุมครั้งล่าสุดว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ อาจจะไม่รวดเร็วอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดยืนยันว่า เฟดจะยังคงจุดยืนด้านนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันข้างหน้าก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของ รัฐบาลสหรัฐ (EIA) ที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลง 2.7 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 467.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 7 และเป็นการลดลงติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2014 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 1.3 ล้านบาร์เรล ส่วนปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 21,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.589 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐยังช่วยหนุนตลาดน้ำมันฟื้นตัวขึ้นเช่นกัน โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 13 มิ.ย. ลดลง 12,000 ราย สู่ระดับ 267,000 ราย ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 รายเป็นสัปดาห์ที่ 15 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 มิถุนายน 2558)
  5. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยเฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามเดิมไปจนถึงการ ประชุมรอบหน้ากลางเดือนกันยายนนี้ ย้ำการปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นกับการพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ส่วนค่าเงินบาทปลายปีมีโอกาสแตะ 34.25 บาทต่อดอลลาร์ ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ครั้งที่ 4 เมื่อคืนที่ผ่านมามีการพิจารณาอย่างระมัดระวัง และได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม เนื่องจากแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะดีขึ้นกว่าในไตรมาสแรกแต่ก็ยังไม่แข็งแกร่ง อัตราการว่างงานดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เฟดยังอยากให้เศรษฐกิจดีขึ้นกว่านี้อีกนิดหนึ่ง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็ยังต่ำมาก ไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยในตอนนี้ยังมีเวลาที่จะรอได้ ทั้งนี้หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานลดลง อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ น่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ขึ้นดอกเบี้ยได้ นอกจากนี้ ได้มีการสำรวจความเห็นจากในที่ประชุม ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจนั่นก็คือ น่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งภายในปีนี้ ราว 0.5-0.75 % ต่างจากการประชุมครั้งที่แล้วที่มองว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง ส่วนปีหน้าความเห็นในที่ประชุมมองว่า จะมีการลดเป้าหมายการคาดการณ์ของดอกเบี้ยลงมาอีกนิดหนึ่ง กล่าวคือ มองภาพของการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ก่อนหน้านี้ที่ธนาคารโลกได้ออกมาเตือนสหรัฐฯ อย่าเพิ่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป เนื่องจากเกรงจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง สำหรับผลกระทบต่อไทยนั้นมองในเชิงบวก คือ เมื่อเฟดไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยก็จะมีช่องทางให้ดำเนินนโยบายการเงินมากขึ้นถ้า จำเป็น เช่น ถ้า ธปท. เห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่ำกว่าที่คาดก็พอมีเวลาที่จะพิจารณาดอกเบี้ยหรือ ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น ผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนก็ลดทอนลงไป เพราะตลาดได้รับรู้และคาดการณ์เรื่องการเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดมาแล้ว หลายรอบจากการประชุมหลายครั้งที่ผ่านมา ดังนั้น ผลกระทบที่อาจเกิดความผันผวนหรือผลกระทบกับค่าเงินก็จะน้อยลง ส่งผลดีต่อเสถียรภาพตลาดเงินตลาดทุนไทย นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลางสหรัฐมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากขึ้น และมองว่าเศรษฐกิจยังไม่แข็งแกร่งมากนัก ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนลงหลังการประชุมเฟดวานนี้ ส่วนค่าเงินบาทไม่ได้รับผลกระทบจากแรงกดดันหรือเงินจะไหลออกมากนัก ซึ่งเงินบาทตอนนี้อยู่ที่ 33.6 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ทิศทางข้างหน้าอยู่ที่ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐ ถ้าออกมาดีพอที่จะทำให้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายนนี้ ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐก็คงกลับมาได้รับแรงหนุนอีกครั้ง ถึงตอนนั้นค่าเงินบาทก็จะอ่อนลง พร้อมๆ กับสกุลเงินต่างๆ ซึ่งได้มีการคาดการณ์ค่าเงินบาทปลายปีอยู่ที่ 34.25 บาทต่อดอลลาร์ ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 18 มิถุนายน 2558)
  6. รายงานมีแค่ยุโรปตอนบ่ายโมง กับของธนาคารญี่ปุ่น บ่ายโมงครึ่ง นอกนั้นไม่มีอะไร จะมาส่งผลกระเทือนขัดแข้งขาราคาทอง ปล่อยราคาทองไปตามข่างล้มเหลวการเจรจากรีซ
  7. ค่าเงินบาท มีความนิ่งมากขึ้นแถว 33.65
  8. ราคาทองตอนนี้ มีจุดต้านที่ 1204 ตามรูป และมีจุดรับ 1198 ตามแนวทางขาเสี่ยง และเป้าหมายต่อไป 1208 ในแนวทางขาเสี่ยง ประจำสัปดาห์
  9. รหัส 5,35,9 ของค่าเงิน แนวโน้มยังคงอ่อนค่า ส่งเสริมราคาทองเป็นบวกอยู่
  10. ตรงไหนคือ เลขมากกว่า 0 เราหมายถึงเครื่องหมาย + ตัวแรกเลยนะ ตอนนี้ ติดลบ 1.301 เข้าใจตรงกันนะ ถ้าซื้อเข้ามาตั้งแต่เส้นดำเส้นแดง ตัดกัน
  11. รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางราคาทอง ยังคงแนวโน้มเป็นบวก กัดฟันถือทองแท่งต่อไป จนกว่า เส้นสัญญานจะตัดเหนือ 0 ซึ่งเป็นนิมิตการขายทิ้ง ทำกำไร
  12. การเจรจาอันเคร่งเครียดของเหล่าผู้นำยูโรโซนเพื่อหาทางฝ่าทางตันวิกฤตหนี้กรีซ ยุติลงโดยปราศจากข้อตกลงใดๆในวันพฤหัสบดี(18มิ.ย.) ขณะที่ไอเอ็มเอฟเตือนเอเธนส์ ว่าจะไม่เลื่อนกำหนดเวลาชำระหนี้แก่กรีซในช่วงสิ้นเดือนนี้ ส่อเค้ามากขึ้นเรื่อยๆว่าเอเธนส์อาจผิดนัดชำระหนี้และออกจากยูโรโซน เข็มนาฬิกาแห่งวิกฤตขยับใกล้เวลาเที่ยงคืนทุกขณะ หลังจากที่ประชุมของเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศยูโรโซนในลักเซมเบิร์ก ล้มเหลวในการหารือฝ่าทางตันข้อตกลงปฏิรูปที่อาจช่วยหลุดพ้นหายนะจากกรณีที่กรีซต้องออกจากยูโรโซน "ไม่มีข้อตกลง ณ ที่ประชุมยูโรกรุ๊ป" วาลดิส ดอมโบรฟสกีส์ รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปบอกหลังจากโต๊ะประชุมต้องยุติลง ตามหลังการหารือในประเด็นกรีซราวๆ 90 นาที แต่เขาบอกว่า "มันเป็นสัญญาณที่แข็งกร้าวสำหรับกรีซว่าต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการเจรจา" ขณะที่แหล่งข่าวรายหนึ่งพูดกับเอเอฟพีว่าผลลัพธ์ของการหารือครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องน่าเศร้า อย่างไรก็ตามนายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานอียู แถลงอย่างรวดเร็วว่าจะจัดประชุมซัมมิทฉุกเฉินของเหล่าผู้นำ 19 ชาติสมาชิกยูโรโซนที่บรัสเซลส์ในวันจันทร์หน้านี้(22มิ.ย.) โดยบอกว่ามันเป็นเวลาที่ต้องหารือกันอย่างเร่งด่วน สำหรับหยิบยกสถานการณ์ของกรีซมาพูดคุยกันในระดับผู้นำสูงสุดทางการเมือง ทั้งนี้ซัมมิทดังกล่าวจะมีขึ้นก่อนหน้าที่ประชุมเหล่าผู้นำอียูทั้ง 28 ประเทศ ซึ่งกำหนดไว้ในวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.)และวันศุกร์(26มิ.ย.) อเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีซ้ายจัดของกรีซ ปฏิเสธปฏิรูปในด้านบำนาญและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำเรียกร้องของเหล่าเจ้าหนี้นานาชาติเพื่อแลกกับการขยายเวลาโครงการเงินช่วยเหลืออันมหาศาลจากอียูและไอเอ็มเอฟ โดยเหล่าเจ้าหนี้ปฏิเสธจ่ายเงินงวดสุดท้าย 7,200 ล้านยูโรจากโครงการช่วยเหลือเดิม หากไม่มีข้อตกลงปฏิรูปใดๆ และกรีซจะไม่เหลือเงินสดอีกเลย หากไม่มีข้อตกลงขยายโครงการกู้ยืม
  13. นายใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คริสทีน ลาการ์ด แถลงกร้าวเตือนรัฐบาลกรีซในวันพฤหัสบดี (18 มิ.ย.) ว่า ไม่สามารถเลื่อนการจ่ายหนี้ก้อนโตที่ถึงกำหนดในสิ้นเดือนนี้ได้อีกแล้ว เป็นการเพิ่มแรงบีบคั้นในขณะที่บรรดารัฐมนตรีคลังของยูโรโซนเปิดประชุมกันเพื่อหาทางทำข้อตกลงคลี่คลายวิกฤตหนี้สินของเอเธนส์ ขณะที่บรรดารัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซน หรือที่เรียกขานกันว่า “ยูโรกรุ๊ป” กำลังเข้าประชุมกันที่ลักเซมเบิร์กในวันพฤหัสบดี (18) ในสภาพที่เรียกได้ว่า เกือบถอดใจกับการหาหนทางคลี่คลายวิกฤตหนี้สินของกรีซแล้ว ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ได้กล่าวสำทับก่อนที่เธอจะเข้าร่วมการหารือคราวนี้ด้วย ว่า “ไม่มีระยะปลอดหนี้อีกต่อไปแล้ว” โดยเงื่อนไขชำระหนี้ระบุเอาไว้ว่าวันที่ 30 มิถุนายน ดังนั้นหากเมื่อเข้าสู่วันที่ 1 กรกฎาคมยังไม่มีการจ่าย ก็คือกรีซไม่ได้ชำระหนี้ วิกฤตหนี้กรีซใกล้จุดไคลแมกซ์เข้ามาทุกที เนื่องจากแพกเกจเงินกู้ล่าสุดซึ่งกรีซขอกู้จากพวกเจ้าหนี้ระหว่างประเทศทั้ง 3 อันได้แก่ สหภาพยุโรป (อียู) , ไอเอ็มเอฟ, และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) นั้น กำลังจะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 30 นี้แล้ว ขณะที่เอเธนส์ยังไม่สามารถตกลงเงื่อนไขกับฝ่ายเจ้าหนี้ เพื่อจะได้รับเงินกู้งวดสุดท้ายของแพกเกจดังกล่าว เป็นจำนวน 7,200 ล้านยูโร (8,100 ล้านดอลลาร์) จะได้นำไปชำระให้ไอเอ็มเอฟ 1,600 ล้านยูโรภายในวันที่ 30 เดือนนี้เช่นกัน และอีก 6,700 ล้านยูโรที่ต้องจ่ายให้อีซีบีในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (17) ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคารกลางของกรีซเอง ได้ออกมาแถลงเตือนว่า หากไม่สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้ เอเธนส์อาจต้องออกจากยูโรโซนหรือกระทั่งออกจากอียูด้วยซ้ำ ขณะเดียวกัน เริ่มปรากฏสัญญาณชัดเจนว่า พวกผู้นำทางการเงินในอียูมีการพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กรีซจะออกจากยูโรโซน โดยเจนส์ ไวด์แมนน์ ผู้ว่าการธนาคารกลางเยอรมนี แสดงความเห็นตรงไปตรงมาว่า หากไม่มีกรีซ สหภาพการเงินของยุโรปอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับล่มสลาย ทั้งนี้ บรรดาเจ้าหนี้ระงับเงินกู้งวดสุดท้ายไว้ก่อน เพื่อแลกเปลี่ยนกับมาตรการปฏิรูปเพิ่มเติมจากกรีซ ทว่า นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ที่ชูธงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดมาตั้งแต่ตอนหาเสียงเลือกตั้ง ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงมาตรการที่สำคัญอย่างระบบบำนาญและภาษีมูลค่าเพิ่ม
  14. ดอลลาร์สหรัฐปรับลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (17 มิ.ย.) เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ อาจจะไม่รวดเร็วอย่างที่นักวิเคราะห์คาดกันไว้ก่อนหน้านี้ ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1333 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1241 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5829 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5648 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 123.38 เยน จาก 123.37 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9222 ฟรังก์ จาก 0.9325 ฟรังก์ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7750 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7745 ดอลลาร์ ดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดัน หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟด ลงมติในการประชุมเมื่อวานนี้ให้คงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 0-0.25% ต่อไป พร้อมกับส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากสัญญาณการอ่อนตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วง ต้นปีได้เริ่มเบาบางลงแล้ว อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ โดยคาดว่าจะเติบโต 1.8%-2.0% จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนมี.ค.ที่ 2.3%-2.7% และเฟดได้คงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2559 ที่ 2.4%-2.7% ขณะที่คาดว่าการขยายตัวในปี 2560 จะอยู่ที่ 2.1%-2.5% คณะกรรมการ FOMC ลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ในแถลงการณ์หลังการประชุม เฟดได้ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับใกล้ 0% ยังคงมีความเหมาะสม และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีความเหมาะสมก็ต่อเมื่อตลาดแรงงานมีการปรับ ตัวที่ดีขึ้นต่อไป และมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้น ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 18 มิถุนายน 2558)
  15. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลงมติในการประชุมเมื่อวานนี้ให้คงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 0-0.25% ต่อไป ขณะที่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากสัญญาณการอ่อนตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วง ต้นปีได้เริ่มเบาบางลงแล้ว อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ อาจจะไม่รวดเร็วอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ เฟดทำการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการ FOMC ลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ในแถลงการณ์หลังการประชุม เฟดได้ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับใกล้ 0% ยังคงมีความเหมาะสม และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีความเหมาะสมก็ต่อเมื่อตลาดแรงงานมีการปรับ ตัวที่ดีขึ้นต่อไป และมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้น ขณะเดียวกัน เฟดแสดงความพอใจต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่ได้หดตัวลงในไตรมาสแรก โดยเฟดระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการขยายตัวปานกลาง หลังจากที่ประสบภาวะชะงักงันในฤดูหนาว และมีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งเพียงพอที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน ช่วงปลายปี ส่วนการจ้างงานได้เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานยังคงทรงตัว และการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ปรับตัวขึ้นปานกลาง และตลาดที่อยู่อาศัยได้ฟื้นตัวขึ้นบ้าง ขณะที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% นั้น เฟดก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่าราคาพลังงานมีเสถียรภาพ หลังจากที่ได้ฉุดให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ เฟดยังได้เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ, อัตราดอกเบี้ย, อัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ โดยคาดว่าจะเติบโต 1.8%-2.0% จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนมี.ค.ที่ 2.3%-2.7% และเฟดได้คงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2016 ที่ 2.4%-2.7% ขณะที่คาดว่าการขยายตัวในปี 2017 จะอยู่ที่ 2.1%-2.5% ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เฟด 15 จาก 17 รายยังคงระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกจะเกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นจำนวน 1 หรือ 2 ครั้งก่อนสิ้นปี แต่ในการคาดการณ์ครั้งก่อน เจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ เจ้าหน้าที่เฟด 7 รายสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียว หรือไม่มีการปรับขึ้นในปีนี้ ขณะที่ปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในปี 2016 และ 2017 ลง 0.25% ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดมีความไม่มั่นใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐใน ระยะยาว และความสามารถในการรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของเฟดบ่งชี้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.ยังคงมีความเป็นไปได้ แต่เฟดยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความรวดเร็ว และความรุนแรงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เฟดคงตัวเลขคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในช่วงปลายปีนี้ที่ 0.625% ขณะที่ปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2016 สู่ระดับ 1.625% จากเดิมที่ 1.875% และปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของปี 2017 สู่ 2.875% จาก 3.125% ขณะเดียวกัน เฟดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ที่ระดับ 0.6%-0.8% ส่วนในปี 2016 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.6%-1.9% ขณะที่ปี 2017 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.9%-2.0% นอกจากนี้ เฟดคาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานจะแตะ 5.2%-5.3% ในไตรมาส 4 ของปีนี้ เทียบตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมี.ค.ที่ 5.0%-5.2% และจะปรับตัวลงสู่ระดับ 4.9%-5.1% ในปี 2016 ท่ีมา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 18 มิถุนายน 2558)
  16. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลงมติในการประชุมเมื่อวานนี้ให้คงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 0-0.25% ต่อไป ขณะที่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากสัญญาณการอ่อนตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วง ต้นปีได้เริ่มเบาบางลงแล้ว อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ อาจจะไม่รวดเร็วอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่เฟดทำการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการ FOMC ลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ในแถลงการณ์หลังการประชุม เฟดได้ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับใกล้ 0% ยังคงมีความเหมาะสม และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีความเหมาะสมก็ต่อเมื่อตลาดแรงงานมีการปรับ ตัวที่ดีขึ้นต่อไป และมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้น ขณะเดียวกัน เฟดแสดงความพอใจต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่ได้หดตัวลงในไตรมาสแรก โดยเฟดระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการขยายตัวปานกลาง หลังจากที่ประสบภาวะชะงักงันในฤดูหนาว และมีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งเพียงพอที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน ช่วงปลายปี ส่วนการจ้างงานได้เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานยังคงทรงตัว และการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ปรับตัวขึ้นปานกลาง และตลาดที่อยู่อาศัยได้ฟื้นตัวขึ้นบ้าง ขณะที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% นั้น เฟดก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่าราคาพลังงานมีเสถียรภาพ หลังจากที่ได้ฉุดให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ เฟดยังได้เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ, อัตราดอกเบี้ย, อัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ โดยคาดว่าจะเติบโต 1.8%-2.0% จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนมี.ค.ที่ 2.3%-2.7% และเฟดได้คงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2016 ที่ 2.4%-2.7% ขณะที่คาดว่าการขยายตัวในปี 2017 จะอยู่ที่ 2.1%-2.5% ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เฟด 15 จาก 17 รายยังคงระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกจะเกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นจำนวน 1 หรือ 2 ครั้งก่อนสิ้นปี แต่ในการคาดการณ์ครั้งก่อน เจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ เจ้าหน้าที่เฟด 7 รายสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียว หรือไม่มีการปรับขึ้นในปีนี้ ขณะที่ปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในปี 2016 และ 2017 ลง 0.25% ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดมีความไม่มั่นใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐใน ระยะยาว และความสามารถในการรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของเฟดบ่งชี้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.ยังคงมีความเป็นไปได้ แต่เฟดยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความรวดเร็ว และความรุนแรงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เฟดคงตัวเลขคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในช่วงปลายปีนี้ที่ 0.625% ขณะที่ปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2016 สู่ระดับ 1.625% จากเดิมที่ 1.875% และปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของปี 2017 สู่ 2.875% จาก 3.125% ขณะเดียวกัน เฟดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ที่ระดับ 0.6%-0.8% ส่วนในปี 2016 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.6%-1.9% ขณะที่ปี 2017 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.9%-2.0% นอกจากนี้ เฟดคาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานจะแตะ 5.2%-5.3% ในไตรมาส 4 ของปีนี้ เทียบตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมี.ค.ที่ 5.0%-5.2% และจะปรับตัวลงสู่ระดับ 4.9%-5.1% ในปี 2016 ท่ีมา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 18 มิถุนายน 2558)
  17. ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามเดิม ณ ระดับเตี้ยติดพื้นใกล้ๆร้อยละ 0 ในวันพุธ(17มิ.ย.) แต่เผยเศรษฐกิจของอเมริกากำลังเติบโตปานกลางหลังหยุดชะงักท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเหน็บก่อนหน้านี้ พร้อมแย้มดูเหมือนจะแข็งแกร่งเพียงพอสำหรับสนับสนุนให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปลายปี เหล่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงอัตราดอกเบี้ยระดับใกล้ร้อยละ 0 ไว้สำหรับตอนนี้ และบอกว่าจะปรับขึ้นอย่างเหมาะสมก็ต่อเมื่อตลาดงานฟื้นตัวแล้วและมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะดีดขึ้น เฟดปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวทางจีดีพีในปี 2015 ลง ตามหลังภาวะอ่อนแอในช่วงต้นปี ถือเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ธนาคารกลางแห่งนี้ปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีนี้ อย่างไรก็ตามเหล่าคณะกรรมการเฟด 15 ใน 17 ราย ยังบ่งชี้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกน่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ อันเป็นมุมมองที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากการประมาณการณ์คราวก่อน ทั้งนี้สมาชิกส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของเฟด คาดหมายจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเหนือร้อยละ 0.5 ในช่วงสิ้นปี "กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการขยายตัวปานปลาง" เฟดระบุในถ้อยแถลง "อัตราการจ้างงานเริ่มดีดตัวขึ้น ขณะที่ตัวเลขคนว่างงานยังทรงตัว สิ่งต่างๆในตลาดแรงงานบ่งชี้ว่าการใช้ทรัพยากรแรงงานไม่ก่อประโยชน์ก็ค่อยๆน้อยลงแล้ว"
  18. รายงานสหรัฐ ตามโพลฯ ออกมาดี แต่คงยกประเด็นไปที่รายงานเฟดเมื่อคืนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยปลายปี แต่สิ่งสำคัญคือการปรับลด GDP สหรัฐ หลังจากนักลงทุนรอดูการปรัชุมมาหลายวัน และตีความ
  19. รายงานยุโรป ไม่มีอะไร ยกประเด็นไปที่การเจรจากรีซ ที่เขาว่าครั้งสุดท้าย
  20. เปรียบเทียบราคาทองกับจุดต้านจุดรับ " ทยอยซื้อตามจุดรับ ทยอยขายตามจุดต้าน
  21. รหัส 5,35,9 ของค่าเงิน US Index แนวโน้มยังคงอ่อนค่า
  22. รหัส 5,35,9 สัญญานนำทาง ยังคงแนวโน้มบวก ต่อราคาทอง " แนวทางเดิน ย่อลงยังไง ก็จะกลับขึ้นมาได้ "
  23. แนวทางขาเสี่ยงยังใช้งานได้ดี 1175 แล้วกลับขึ้นมาชนต้าน #1 คือ 1188 พร้อมกับค่าเงิน USindex ที่อ่อนค่าลงมาเยอะ ก็ต้องรอลุ้นต่อไปในด่านต้านต่อๆ ไป
×
×
  • สร้างใหม่...