ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

น้องหนอน ดัม

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    22
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

0 ปานกลาง

เกี่ยวกับ น้องหนอน ดัม

  • คะแนนนิยม
    น้องใหม่

Profile Information

  • เพศ
    หญิง
  • ที่อยู่
    กรุงเทพมหานคร

ผู้เยี่ยมชมโปรไฟล์ล่าสุด

บล็อคผู้เยี่ยมชมเมื่อเร็วๆนี้ถูกปิดการใช้งานและไม่ถูกแสดงกับผู้ใช้งานอื่น

  1. ปตท นอมินี (Nominee) คุณรู้สึกยังไงกับคำๆนี้ / เจ้าของคือระบอบทักษิณ / คือทุนสามานย์ / ใช่ไหม? ถือซะว่าเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวของผมนะครับ คือผมรู้จักคำว่า นอมินี-Nominee นี่ครั้งแรกน่าจะย้อนไปสมัยยุคพันธมิตรเฟื่องฟู ยอมรับว่าตอนนั้นก็เป็นสาวกคนนึงของ ASTV นะครับ จำได้ว่าคำว่า นอมินี-Nominee นี่เป็นหนึ่งในวาทะกรรมของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ใช้โจมตีคุณทักษิณเรื่องการให้คนอื่นถือหุ้นในบริษัทต่างๆแทน ดังนั้น Mindset แรกๆของผมต่อคำว่า นอมินี-Nominee = การให้คนอื่นถือหุ้นในบริษัทต่างๆแทนตนเอง (ซึ่งมีความหมายไปในทางที่ไม่ดี) ยอมรับว่าตอนนั้นยั้งเด็กอยู่ครับ น่าจะประมาณ 20 ต้นๆ ฟังอะไรก็ไม่ได้คิดตามเท่าไร ใครเขาเล่าอะไรให้ฟัง มันฮึกเหิม มันปลุกใจ มันสนุก ก็เฮโลไปตามเขา พาลทำให้คำๆหนึ่งที่เป็นคำธรรมดาสามัญ ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกเขาก็ใช้กันเป็นสากลอย่าง นอมินี-Nominee กลายเป็นคำไม่ดีไปเสียได้ มาวันนี้ ในวันที่อายุสามสิบต้นๆ ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านเรื่องราวมาพอสมควร ผมเริ่มเรียนรู้คำว่า นอมินี-Nominee เสียใหม่ และเข้าอกเข้าใจมันมากขึ้น จากการหาความหมายของคำว่า นอมินี-Nominee ใน Internet ผมพบว่า ผมพบว่า นอมินี-Nominee มี 2 ความหมาย ตีความง่ายๆ ภาษาบ้านๆของผมคือ (ถ้าผมตีความผิดอะไร ขาดตกตรงไหน รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ) 1. ผู้ได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ผู้ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มในการลงแข่งขัน/เลือกตั้ง 2. กลุ่มบุคคลหรือบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อทำธุรกรรม เช่น นำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น แทนบุคคลอื่นๆ ซึ่งไอ้ Mindset ไม่ดีของผมในอดีตนั้นก็คือต่อความหมายที่ 2 นั่นเอง เพราะผมมักจะได้ยินเสมอๆว่าไอ้เจ้า นอมินี-Nominee ต่างๆเหล่านี้ล่ะคือตัวแทนของนักการเมืองต่างๆ (โดยเฉพาะระบอบทักษิณ อะไรนั่น) ผมขอยกหนึ่งในองค์กรที่โจมตีและเชื่อมโยงเข้ากับระบอบทักษิณมากที่สุดองค์กรหนึ่งคือ ปตท ทั้งๆที่ผมเข้าไปดูในรายชื่อผู้ถือหุ้นของ ปตท ก็ไม่เห็นว่ามีรายชื่อไหนที่บอกว่าเป็นของตระกูลชินวัตรเลย ตามรูป ซึ่งเขาก็บอกกันว่า ก็เพราะตระกูลชินวัตรถือหุ้นผ่าน นอมินี-Nominee ไง ดังนั้นผมจึงตั้งคำถามต่อไปว่า แล้ว นอมินี-Nominee ทั้งหลายที่ถือหุ้น ปตท อยู่นี้ เขาไปถือหุ้นในบริษัทอื่นๆบ้างไหม สังเกต นอมินี-Nominee ที่ผมไฮไลต์สีเหลืองไว้นะครับ เราตามไปดูกันครับว่าพวกนี้เขาไปถือหุ้นในบริษัทไหนกันบ้าง มาเริ่มกันครับ 1.ธนาคารกรุงเทพ 2.ปูนซีเมนต์ไทย 3.ธนาคารกสิกรไทย 4.ธนาคารไทยพาณิชย์ 5.บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) 6.INTUCH : SHIN CORPORATION PUBLIC COMPANY LIMITED 7.ADVANC : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) 8.CPN : บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 9.BIGC : บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) 10.LH : บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เอาล่ะครับ เราลองมารวมจำนวนหุ้นที่เหล่า นอมินี-Nominee เหล่านี้ถืออยู่ในบริษัทต่างๆกันดูนะครับ ว่าบริษัทไหนมีมากน้อยเพียงไร ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://pantip.com/topic/31713941
  2. คนเข้าใจผิดและด่ากันเยอะเรื่องการปรับราคาน้ำมัน ว่าทำไมตอนปรับขึ้นมันปรับขึ้นเยอะกว่าตอนปรับลง บ้างก็ว่า ขึ้น50ลง30 ขึ้น60ลง40 … แต่ในความเป็นจริงแล้ว การขึ้นลงราคาที่ต่างกัน ผู้บริโภคอย่างเราได้ประโยชน์อย่างไรมาดูกัน!!! ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://m.facebook.com/fellowshipoftheenergy/posts/1815080521892460 ที่มาจาก : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ปรับราคาน้ำมันขึ้น-60-ลง-40/
  3. ตามที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้แถลงข่าวว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าประพฤติมิชอบในการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท. ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 โดยศาลได้นัดฟังคำตัดสินว่าจะรับเป็นคดีหรือไม่ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2561 นั้น จากข้อเท็จจริงที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าว ปตท. ขอเรียนว่า กรณีเดียวกันนี้ น.ส.รสนา โตสิตระกูล และนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ได้เคยเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริต(คดี ปตท. คืนท่อก๊าซไม่ครบ หรืออมท่อ) และประพฤติมิชอบกลางไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 และศาลอาญาคดีทุจริตฯท่อก๊าซ (อมท่อ) ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษาลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ยืนตามคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตฯ คดี(ปตท. อมท่อ)ดังกล่าวจึงถึงที่สุด ทั้งนี้ ปตท. ขอเรียนยืนยันว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สิน(ท่อก๊าซ)ให้แก่กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาศาลฯ คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และศาลปกครองได้มีคำสั่งยืนยันในเรื่องดังกล่าวหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ปี 2551 – 2559 ที่มาจาก : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/แถลง-คดี-ปตท-อมท่อ-คืนท่อ/ ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://www.facebook.com/PTTNews/photos/a.547394125301100.1073741825.103904019650115/2245244265516069/?type=3&theater
  4. กระแส ทวงคืน ปตท. เป็นกระแสที่มาบูมในระยะ 2-3 ปีที่ผ่าน แถมตอนนี้โดนโจมตีอย่างหนักโดยการโหนกระแสของ กปปส. เพื่อเรียกแขกมากขึ้น โดยข้อกล่าวหาร้ายแรงว่า กลุ่ม ปตท. คือน้ำเลี้ยงสำคัญของระบอบทักษิณ บ้างก็ว่า “ทักษิณ” เป็นเจ้าของ ปตท. และไม่น่าเชื่อว่า ข้อมูลเบสิคๆแบบนี้ ที่ฟังพวกแกนนำที่พูดบนขึ้นเวทีม๊อบ หรือพวกแกนนำนักทวงคืนอย่างผู้สูงวัยท่านหนึ่ง นั้นกลับไม่คิดจะค้นหาข้อมูลด้วยตัวเองและก็เชื่อในทันทีด้วยในอคติว่า ทักษิณ หรือ ตระกูลชินวัตร เป็นเจ้าของ ปตท. และ ปตท.คือต้นเหตุทำให้น้ำมันแพง และที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่ง ถ้าพรรคที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพรรคที่ทักษิณสนับสนุนได้เป็นรัฐบาล กระแสทวงคืน ปตท.นั้นเงียบเป็นเป่าสากไม่มีใครพูดถึง ดังนั้นทีมงานก็เลยไปค้นข้อมูลข้อเท็จจริงว่า ปตท. เป็นของใคร ใครกันแน่คือเจ้าของ ปตท. ที่แท้จริง แล้วเราจะทวงคืนทำไม ทวงคืนให้ใคร? เปิดหลักฐานหลังจากการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจุดเริ่มมาจากการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจปี พ.ศ.2542 ในยุครัฐบาลชวน 2แต่ดันมาเข้าตลาดตอนยุครัฐบาลทักษิณ เลยกลายเป็นว่าทักษิณต้องเป็นแพะรับบาปว่าเป็นผู้ที่ฮุบหุ้น ปตท.ทั้งหมดให้ตระกูลชินวัตรเป็นเจ้าของ ทีนี้เราต้องมาเจาะดูว่า (ปตท. เป็นของใคร) ใครถือหุ้นใหญ่ ปตท. ผู้ถือหุ้นใหญ๋ ปตท. นั้นหาง่ายมากๆได้จากเว๊บไซด์ settrade.com ได้ผู้ถือหุ้นใหญ่ดังภาพนี้ โครงสร้างผู้ถือหุ้น ปตท. จะเห็นได้ว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ยังคงเป็นกระทรวงการคลัง ประมาณ 51% ซึ่งคนไทยเป็นเจ้าของร่วมกัน และกองทุนวายุภักษ์ทั้ง 2 กอง ก็เป็นกองทุนของภาครัฐที่ทั้งหน่วยงานรัฐและประชาชนคนไทยทั่วไปสามารถลงทุน ในกองทุนนี้ได้ รวมกันอีก 15% นอกจากนี้ยังมีกองทุนประกันสังคมที่เป็นของคนไทยทุกคนอีก 1% สรุปรวมๆแล้วก็เป็นของรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 67% จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็คือภาครัฐซึ่งส่วนนี้เป็นของคนไทยทุกๆคนอยู่แล้ว แล้วที่เหลือล่ะ เป็นนักลงทุนคนไทยรายย่อย 16% จากการตรวจสอบสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นของ ปตท. ก็พบว่า คนในตระกูลชินวัตรจริงๆได้แก่ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร และนายพอพงษ์ ชินวัตร ถือหุ้นเพียง 7,700 หุ้น จาก 2.85 พันล้านหุ้น หรือ 0.0002% เท่านั้น ถือว่าน้อยมากจนไม่มีนัยยะสำคัญที่จะไปครอบงำเพื่อกำหนดนโยบายหรือทิศทาง อะไรได้เลยใน ปตท. เป็นการลงทุนตามปกติที่ใครๆก็เข้าไปซื้อได้ในตลาดหลักทรัพย์ [ธนาคาร JPMorgan Chase & Co.] ธนาคาร JPMorgan Chase & Co. แล้วส่วนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ 18% ล่ะ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินและกองทุนนอมินี บ้างก็บอกว่ากองทุนนอมินีเหล่านี้เป็นของทักษิณทั้งหมด ยกตัวอย่าง CHASE NOMINEE LIMITED ผู้ถือหุ้นลำดับที่ 5 จำนวน 2.53% นั้น เจ้าของกองทุนนี้คือ JP Morgan Chase & Co. (iv) หรือ JPM ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือหุ้นใหญ๋โดยสถาบันการเงินของต่างประเทศหลายต่อหลายแห่ง JPM มูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ 72 ล้านล้านบาท !!!! นี่มันเป็นตัวเลขงบประมาณของประเทศไทยได้ถีงเกือบ 30 ปีเลยทีเดียว แค่ตัวอย่างนี้ตัวอย่างเดียวเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าทักษิณเป็นเจ้าของนอมินีทุกๆแห่ง ก็แสดงว่า ทักษิณแทบจะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีมูลความจริงใดๆทั้งสิ้น กล่าว โดยสรุป เจ้าของ ปตท.ทีแท้จริงก็คือ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่เป็นของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว และนักลงทุนรายย่อยทั้งไทยและเทศ ที่คนไทยทุกๆคนสามารถจะมีหุ้นได้โดยสามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยได้ทุกวันทำการ ก็ไม่รู้จะทวงคืนไปทำไม ทวงไปก็ไม่ได้น้ำมันถูกลง เพราะที่มันแพงก็แค่น้ำมันกลุ่มเบนซินที่เก็บภาษีและกองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น มามากทำให้ราคาแพง และเงินกองทุนน้ำมันก็เอาไปจ่ายชดเชยให้ก๊าซหุงต้มที่นำเข้ามาจากตลาดโลกมา ขายในประเทศถูกๆและพวกแก๊สโซฮอล E20, E85 รวมถึงชดเชยภาษีในส่วนของน้ำมันดีเซลที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 50% เพื่อควบคุมราคาไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ที่จะส่งผลต่อค่าขนส่งสินค้าจนกระทบกับค่าครองชีพของคนไทยทุกคน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ ไม่เกี่ยวกับ ปตท. ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาก็ลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล E10 มากไม่ได้เพราะจะทำให้กองทุนน้ำมันติดลบ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อรายได้ ปี 2555 ทั้งนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับ ปตท. ค้ากำไรเกินควรอะไรเลย เพราะกำไร ปตท. ประมาณแสนล้านบาทนั้น มาจากยอดขายประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 3% กว่าๆเท่านั้นเอง (ฝากสหกรณ์ยังได้ดอกเบี้ยมากกว่าด้วยซ้ำ) ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบริษัทน้ำมันแห่งอื่นๆ และกำไรที่มาจากการลงทุนไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีการลงทุนไปต่างประเทศมากมาย เป็นผลมาจากการแปรรูป ปตท. ทำให้มีความสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ทำให้คนไทยไม่ต้องต่อคิวซื้อน้ำมัน ไม่มีปัญหาไฟฟ้าติดๆดับๆ ดังนั้นข้อกล่าวหาว่า ปตท.ขูดรีดคนไทยก็ไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด ที่มาจาก : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/เปิดหลักฐานปตทเป็นของใ/
  5. ไขทุกข้อสงสัย ... กับบทสรุป ปตท.เพื่อใคร? มีข้อมูลที่บิดเบือนอยู่มากมายในโลกโซเชียล ที่นำพาไปสู้ความเข้าใจผิด โดยเฉพาะกับ บริษัทที่ถูกโยงไปเป็นประเด็นทางการเมือง อย่าง ปตท. เกิดเป็นคำถาม “ปตท. ทำเพื่อใคร?” ทั้งเรื่องการตั้งบริษัทบนเกาะเคย์แมน การแปรรูป รวมถึงเรื่องราคาพลังงาน เรื่องราวเหล่านี้ถูกพูดถึงบ่อย และหลายคนก็พยายามตั้งคำถาม โดยไม่สนใจว่าคำตอบของคำถามเหล่านี้ ก็มีข้อมูล มีการออกมาตอบอยู่เรื่อยๆ โดยไม่มีการพยายามปิดบังอะไร ซึ่งจะขอแยกอธิบายออกเป็นข้อๆ ดังนี้ 1. ไม่มีบัญชีลับอะไรใด เพราะ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องแสดงทรัพย์สิน รวมถึงรายรับรายจ่าย มีกรรมการ มีผู้ตรวจสอบจากภายนอกด้วย แถมยังมี สตง. รับรองบัญชีอีก 2. ปัจจุบัน คุณไพรินทร์ หมดวาระเป็นประธาน ปตท. ไปแล้ว 3. เกาะเคย์แมนไม่ได้เป็นเกาะฟอกเงินอย่างในหนัง เป็นการเปิดเพื่อกระจายความเสี่ยง ปัจจุบันมีกฎหมายรองรับ มีการตรวจสอบ มีการรายงานลงในบัญชี สามารถตรวจสอบได้ใน 56-1 4. การลงโฆษณาในสื่อ เป็นหลักของการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าสินค้าใดๆ ก็มีการประชาสัมพันธ์ 5. การแปรรูป ปตท. เริ่มสมัยคุณชวน เมื่อประมาณ ปี 42 โดยหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ซื้อขายวันแรก 6 ธ.ค. 2544 ด้วยมูลค่าตลาดประมาณ 90,000 ล้านบาท หุ้นใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมตัวพร้อมทำไฟริ่งไม่น้อยกว่า 1 ปี แน่นอน ขณะที่นายกทักษิน เป็นนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 ก.พ. 2544 แสดงว่านโยบายการแปรรูป ปตท.ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้นานพอสมควรแต่มาแล้วเสร็จในยุคทักษิณพอดี 6. หุ้นที่บอกว่า ไม่ได้ชื่อกระทรวงการคลัง จริงๆ แล้ว อย่างสำนักงานประกันสังคม ก็ถือเป็นการลงทุนของรัฐ 7. บริษัท นอมินี เหล่านี้ ก็เป็นอีกช่องทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติหลายๆคน การลงทุนผ่านทางบริษัทนอมินีของสถาบันการเงินเหล่านี้คล้ายๆ กับบริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ของบ้านเรานั่นเองที่ช่วยกระตุ้นการลงทุนระดมทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งผู้ถือหุ้นผ่านนอมินีเหล่านี้จะไม่มีสิทธิ์ออกเสียงหรือกำหนดนโยบายใดๆ ในบริษัทได้เลย ปตท.ขายหุ้นให้กับบุคคลทั่วไป ผ่าน Thai VDNR จำนวน 5.1% ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บุคคลทั่วไปต้องไปซื้อจาก บริษัทดังกล่าว ไม่ใช่ไปซื้อตรงจาก ปตท. ทุกวันนี้ก็เปิดซื้อขายอยู่ เรื่องที่ว่ามีการจองหุ้นกัน ก็จองผ่านบริษัทนี้ครับ และที่อ้างว่าหุ้นหมดซื้อไม่ทัน มันก็ไม่เกี่ยวกับ ปตท.เลย ด้วยเหตุผลข้างต้นครับ 8. เงินปันผล ปตท เข้าพรรคเพื่อไทย ด้วยความที่ กระทรวงการคลังถือหุ้น ปตท.ใหญ่ เงินก็ต้องเข้ากระทรวงการคลังดิ คนคิดว่าเข้าพรรคเพื่อไทย มโนอะไรก็ให้มีขอบเขตกันหน่อย 9. มาเลเซียน้ำมันลิตรละ เท่าไหร่ก็แล้วแต่ แต่ทราบหรือไม่ เค้ามีการไม่เก็บเงินภาษีสินค้าและบริการ GST ทำให้ราคาน้ำมันเค้าถูก แต่เค้าต้องแลกกับการติดงบทางการศึกษา 10. เรื่องการยกเลิกเบนซิน 91 95 ก็บ้าบอ เค้ายกเลิกแต่เบนซิน 91 เพราะสนับสนุนพลังงานทดแทน ที่เป็นพระราชดำริของในหลวง เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ 11. ปตท.สผ. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในแปลงสัมปทานของแหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” ไม่เคยมีการถือหุ้นในแหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” และ ที่สำคัญได้ถอนตัวออกเมื่อ ปี 2543 12. LPG ที่มีการปรับราคา เพื่อสะท้อนต้นทุนการใช้ในประเทศ เป็นไปตามนโยบายปฎิรูปพลังงานสะท้อนราคาที่แท้จริง 13. ก๊าซจากอ่าวไทย ทุกวันนี้ใช้ผลิตไฟฟ้ามากที่สุด และไม่มีการส่งออก แถมยังต้องนำเข้า LNG เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ 14. การปลดบอร์ด ปตท. ต้องอาศัยมติที่ประชุมบอร์ด ไม่ใช่อยากปลดก็ปลด ไม่งั้นสะเทือนเศรษฐกิจตลาดหุ้นไทยแน่นอน เรื่องราววาทะกรรมเป็นเรื่องที่สร้างง่าย และลุกลามอย่างรวดเร็วกว่าความจริงนัก ซึ่งหากใครที่ติดตามข่าวสารพลังงานมาตลอดก็จะทราบดีว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่ ปตท. ทำ ใช่เพื่อใคร แต่ก็เพื่อสเถียรภาพทางพลังงานของคนทั้งชาตินั่นเอง ... อันนี้หน่ะแชร์เถอะ เพื่ออนาคตของลูกหลาน เพื่อความจริงเรื่อง ปตท. จะได้ไม่ให้ใครมาหลอกเรา เครดิตข้อมูล : http://energythaiinfo.blogspot.com/2018/05/blog-post_23.html ที่มาจาก : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ไขข้อสงสัย-ปตท-เพื่อใคร/
  6. ยังมีกลุ่มใครบางคนที่มีความพยายามสร้างความเข้าใจผิดให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่สับสน โดยเฉพาะในโลกโซเชียลว่า ปตท. เป็นของทักษิณอยู่เรื่อยๆหรือเรียกอีกอย่างว่าปตท นอมินี โดยเฉพาะกลุ่ม NGO ด้านพลังงานบางกลุ่ม ที่ต้องการเรียกคะแนนเสียง จากความเกลียดชังทางการเมือง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หุ้นใน ปตท. ประมาณ 67% นั้น เป็นของรัฐบาล ถือหุ้นผ่านทั้งกระทรวงการคลัง กองทุนรวมวายุภักษ์ และกองทุนประกันสังคม โดยที่เมื่อมีการตรวจสอบไปถึงคนในตระกูลชินวัตร พบว่ามีการถือหุ้น เพียง 7,700 หุ้น จากหุ้นทั้งหมด 2.85 พันล้านหุ้น หรือคิดเป็น 0.0002% เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถมีอิทธิพลต่อการบริหารงานของ ปตท. ได้เลย ส่วนในกรณีที่มีการตั้งข้อสงสัยว่า อาจถือหุ้นผ่านบริษัทนอมินีต่างประเทศ ต้องเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องที่สามารถทำได้และเปิดเสรีอยู่แล้ว ซึ่งหากจะเหมาว่ากองทุนนอมินีต่างชาติทั้งหมดเป็นของทักษิณ นั่นหมายความว่า ทักษิณต้องมีเงินมหาศาลขนาดที่ว่าจะซื้ออะไรก็ได้เลยทีเดียว ดูข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ “ปตท. เป็นของใคร จะเป็นของของทักษิณจริงหรือไม่” ได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=t_wEDAkaMpk
  7. น้ำมันไทยมีน้อย แต่ต้องส่งออกน้ำมัน!!! คำตอบคือ “จริง” ประเทศไทยมีน้ำมันน้อย จัดหาได้เพียง 15% จากปริมาณการใช้ในประเทศ แต่ยังมีบางส่วนที่ยังคงต้องมีการส่งออก น้ำมัน ทั้งรูปแบบน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ซึ่งกรณีดังกล่าวสร้างความสับสนให้ประชาชนที่รับข้อมูลบางกลุ่ม ถึงขนาดมีบางคนคิดว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่มีน้ำมันมหาศาลติดอันดับโลก หรือไม่ก็มีการคอรัปชั่นในวงการพลังงาน “ประเทศไทยมีน้ำมันน้อย” คำว่าน้อย-มาก วัดกันที่ไหน? ส่วนตัวคิดว่าวัดกันที่จำนวนการใช้ ถ้าประเทศต้องพึ่งพาการนำเข้า น้ำมันอย่างนี้เรียกว่ามีน้อย แต่ถ้ามีพอใช้ในประเทศหรือมีเหลือจากการใช้ในประเทศแล้วสามารถส่งออก น้ำมันได้อย่างนี้ เรียกว่ามีมาก ซึ่งพอใช้หลักการนี้ในการวัด คนอาจสับสนได้เพราะมันดูย้อนแย้ง ประเทศไทยทั้งพึ่งพาการนำเข้า น้ำมันแต่ก็ยังมีการส่งออก น้ำมัน อย่างนี้เรียกว่ามีมากหรือมีน้อย คำตอบคือ “มีน้อย” เหตุผลของการนำเข้า-ส่งออก น้ำมัน ที่ถือว่าไทยมีน้ำมันน้อย คือ กรณีน้ำมันที่นำเข้าเพื่อการส่งออก คล้ายกับประเทศไทยเป็นพ่อค้าคนกลาง ซื้อน้ำมันจากต่างประเทศมาขึ้นท่าเรือที่เมืองไทย และส่งออก น้ำมัน ให้ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งราคาที่ส่งออกถูกกว่า เพราะไม่ได้เก็บภาษีสินค้าในประเทศ ตามหลักสากลทั่วไป หรือการนำเข้า น้ำมัน มากลั่นเพื่อส่งออก อันนี้ต้องทำความเข้าใจว่าประเทศชาติไม่ได้เสียผลประโยชน์อะไร กลับกันการที่โรงกลั่นสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กลั่นได้ทีละมากๆ ยิ่งทำให้ต้นทุนการกลั่นในประเทศลดลงด้วย นอกจากนี้การกลั่นน้ำมันเราไม่สามารถเลือกได้ว่าอยากได้เบนซินกี่เปอร์เซ็นต์หรือดีเซลกี่เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นน้ำมันที่ได้จากการกลั่นย่อมไม่ตรงหรือไม่บาลานซ์กับปริมาณการใช้ สมมติ เรากลั่นน้ำมันดีเซลได้ 50% เบนซิน 35% ที่เหลือเป็นอื่นๆ แต่ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลบ้านเราอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านลิตรต่อวัน ในขณะที่เบนซิน 95 อยู่ที่ประมาณ 1ล้านลิตรต่อวัน แบบนี้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องนำเข้า น้ำมันมามากๆ เพื่อกลั่นดีเซลให้เพียงพอต่อความต้องการ กลับกันเบนซินที่เกิดจากความต้องการก็ส่งขายออกนอกประเทศ กรณีส่งออก น้ำมันดิบในประเทศ ซึ่งมาจาก 2 สาเหตุสำคัญคือ โรงกลั่นไม่สามารถกลั่นน้ำมันดิบได้ หรือน้ำมันดิบไม่เหมาะกับการใช้ของคนในประเทศ ในกรณีแรกน้ำมันจากบางแหล่ง มีสารปรอทมาก ซึ่งมีผลต่อวัสดุโรงกลั่น โรงกลั่นก็ไม่อยากรับซื้อ จึงส่งออก น้ำมันให้กับประเทศที่สามารถกลั่นน้ำมันดิบชนิดนั้นได้ บางคนอาจเถียงว่าทำไมโรงกลั่นไทยไม่สามารถกลั่นน้ำมันในไทยได้ทั้งหมด ตอบง่ายๆ ว่าเอกชนย่อมลงทุนสร้างโรงกลั่นที่สามารถกลั่นน้ำมันส่วนใหญ่ในประเทศ การที่จะสร้างโรงกลั่นที่สามารถกลั่นน้ำมันได้ทั้งหมด นั่นหมายความว่าต้นทุนโรงกลั่นจะสูงขึ้น มีผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นตามไปด้วย กรณีที่สองซึ่งถือว่าน้อยมากในปัจจุบัน คือการขุดเจาะพบน้ำมันดิบที่สามารถกลั่นเบนซินได้มาก ไม่บาลานซ์กับการใช้ของคนไทย ก็จะมีการส่งออกเพื่อนำเข้า น้ำมันดิบที่ต้องกับการใช้ของคนไทยคือกลั่นดีเซลได้มากเข้ามาแทน ทั้งนี้ปัจจุบันการส่งออก น้ำมันดิบไม่มีแล้ว หากแต่ปัญหาน้ำมันดิบยังคงอยู่ คงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีมาตรการณ์แก้ปัญหาอย่างไรในอนาคต การจะเชื่อว่าพลังงานไทยมีมากมีน้อย จำเป็นต้องใช้เหตุผลและข้อเท็จจริงเป็นหลัก ซึ่งทุกคำถามมีคำตอบอยู่เสมอ สำคัญคือการไม่อคติมองข้อมูลอย่างเป็นกลาง จำไว้ว่าการโกหกตัวเองว่าเรามีน้ำมันเยอะ ไม่ได้ทำให้น้ำมันที่มีอยู่จริงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเชื่อในข้อเท็จจริงเพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์ย่อมเป็นเรื่องที่ดี ขอบคุณข่าวจาก http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/นำเข้า-ส่งออกน้ำมันไทย/
  8. ราคาน้ำมันไทยแพงกว่าราคาน้ำมันประเทศลาว!!? ดราม่าตามประสาคนขี้บิดเบือนในแวดวงเรื่องพลังงาน ที่สะกิดต่อมขี้อิจฉาของคนไทยให้สั่นระริก ด้วยราคาน้ำมันแสนถูกจากเพื่อนบ้าน ถึงขนาดคนไทยหัวร้อนที่ไม่เช็คข้อมูลก่อนออกมาโวยวาย ฟาดงวงฟาดงาว่าทำไมประเทศไทยจึงมีราคาน้ำมันแพง จะโกงชาติกันเกินไปแล้ว ขนาดประเทศที่เรามโนว่าล้าหลังกว่าเรารอบๆ ข้างเขายังได้รัฐบาลใจดีช่วยให้ราคาถูกได้เลย ทั้งราคาพม่า ราคามาเลเซีย ถูกหยิบมาเล่าแล้วเล่าอีก ประหนึ่งกลัวคนไทยไม่จะหูตาสว่าง พอโดนเสี้ยมบ่อยๆ เข้า ก็เป่าลมปดใส่หูว่า ไม่ใช่แค่นี้นะ แต่ไทยทำไมราคาน้ำมันแพงที่สุดในอาเซียนเลย พลันโพสต์ภาพที่อ้างอิงจากแหล่งข่าวว่า นี่ไปถ่ายมาจากสถานที่จริงเลยนะ ดังภาพ… …พร้อมอวดอ้างสรรพคุณว่านี่คือราคาน้ำมันประเทศลาว บ้างก็ว่านี่คือราคาน้ำมันเขมร ซึ่งไม่ทันจะได้ไปดูสถานที่จริง คนไทยลูกดราม่าก็พุ่งเป้าโจมตีทั้งรัฐบาล โจมตีทั้ง ปตท. ว่าน้ำมันใต้ดินมันของฉัน ทำไมฉันต้องใช้แพงด้วย แล้วทำไมพวกนี้มีสิทธิ์อะไร ถึงได้ใช้ถูกกว่าฉัน โดยไม่ได้เหลือบดูโลโก้ตัวเท่าบ้าน ป้ายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากหัวจ่าย แหม… อยากจะเอาน้ำแข็งไปแปะหัวร้อนๆ แล้วบอกว่าแหกตาดูซะนั่นมันแสดงว่าเสียภาษีให้ไทย แปลว่าป้ายไทย เพราะฉะนั้นแปลว่าราคาน้ำมันอันนี้มันอยู่ในประเทศไทยครับ ไม่ใช่ราคาน้ำมันประเทศลาว หรือประเทศเขมรแต่อย่างใด และที่ราคาแตกต่างจากราคาจริง เพราะมุมกล้องที่ทำให้เห็นเลขเป็นแค่เลข 1 ไงครับ แต่กว่าที่จะได้แก้ตัว ก็พอเพียงให้เรื่องราวเหล่านี้ กลายเป็นคำร่ำลือ ให้คนที่ไม่มีความรู้เชื่อไปตามๆ กัน ว่าประเทศไทยที่แสนเจริญนั้น ต้องใช้ราคาน้ำมันแสนแพง แพงกว่าชาวบ้านเขาอีก เปรียบเทียบราคาน้ำมันไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ตัดกลับมาที่สถานการณ์จริง เราใช้น้ำมันแพงกว่าพม่า กว่ามาเลเซียจริง ด้วยเหตุผลเรื่องคุณภาพน้ำมัน ภาษีและกองทุนน้ำมัน แต่กับประเทศอื่นไม่ใช่ เมื่อเทียบกันจริงๆ ในอาเซียน เราขายถูกกว่าหลายประเทศ จึงได้เอาตัวอย่างประเทศอื่นๆ มาให้ดูกัน ดังนี้ และเผื่อใครยังไม่รู้สึกหนำใจ เราขอถือโอกาสเอาประเทศอื่นๆ ในโลกมาให้ดูกัน ขอบคุณข่าวจาก http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/น้ำมันไทยแพงกว่าลาว/
  9. เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. คำถามคือ เงินเดือนผู้บริหาร ปตท นั้น สูงตามที่กล่าวหาจริงหรือ คำตอบคือไม่ได้สูงดังคำกล่าวอ้าง เพราะตัวเลขดังกล่าวเป็นการรวมทั้งปี แถมยังเอาโบนัส และเบี้ยประชุมมารวมเข้าไป อย่างไรก็ตาม เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. รวมไปถึง กลุ่มผู้บริหารในบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำต่างๆ ได้มีการกำหนดรายละเอียดค่าตอบแทนเงินเดือนตามความสามารถและความรับผิดชอบ และไม่ใช่เพียงเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. เท่านั้น แต่ธุรกิจด้านอื่นๆ เช่น ธุรกิจการบิน โทรคมนาคม โรงพยาบาล การเงิน ความงาม ล้วนมีรายได้ระดับสูงทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า สาเหตุใด เงินเดือนผู้บริหาร ปตท จึงได้มีเงินเดือนสูงตามที่กล่าวอ้างถึง อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่อยากรู้ว่าระบบเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. คิดอย่างไร เราได้นำข้อมูลมาเสนอให้ได้อ่านกันดังนี้ “ปตท. ได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล มีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนทำหน้าที่ทบทวน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาระความรับผิดชอบของกรรมการ สถานะทางการเงินของบริษัทและเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจระดับเดียวกัน โดยกำหนดค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมและโบนัส อนึ่ง กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการเฉพาะเรื่องชุดอื่นๆ ก็ให้ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ค่าตอบแทนกรรมการได้รับการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ”สุดท้าย สำหรับใครที่ยังคงคิดว่า เงินเดือนผู้บริหาร ปตท เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันแพง ลองพิจารณาตรรกะนี้กันสักนิด “คนไทยใช้น้ำมันวันละ 90 ล้านลิตร คิดเป็นสูตร 1 เดือน 90 x 30 เท่ากับ 2,700 ล้านลิตรต่อเดือน ดังนั้น ถ้าจะให้ราคาน้ำมันลดลง 0.01 บาทต่อลิตร ต้องใช้เงินจำนวน 27 ล้านบาท จากตัวข้างต้น ลองคิดง่ายๆ ถ้าเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. กับ พนง. ไม่รับเงินเดือน จำนวน 27 ล้านบาทต่อเดือน เอาเงินส่วนนั้นมาลดค่าน้ำมัน ราคาจะลดลง 0.01 บาทต่อลิตร (แล้วเป็นการเอาเปรียบหรือไม่ที่ให้พวกเขาทำงานฟรี เพื่อให้เราได้ใช้น้ำมันถูกลง) ในทางกลับกันถ้าเพิ่มเงินเดือนผู้บริหาร ปตท อีก 27 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นเพียง 0.01 บาทต่อลิตรเท่านั้น” เครดิตข้อมูล : “ รายงานประจำปี 2557 ปตท. ” น้องปอสาม https://www.facebook.com/nongposamm สามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มเกี่ยวกับเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ได้ที่ www.รู้จริงพลังงานไทย.com/เงินเดือนผู้บริหาร-ปตท/
  10. ปตท พลังไทย เพื่อไทย หรือ ขุมทรัพย์ ปตท ของใคร? ร่วมกันปฏิรูป ปตท กันอย่างไรดี? แม้ว่าประเทศไทยจะมีแหล่งปิโตรเลียม แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนไทย โดยสามารถผลิตน้ำมันดิบรวมคอนเดนเสท ประมาณ 238,000 บาร์เรลต่อวัน และสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ประมาณ 4 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ … คนไทยใช้น้ำมันประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ ยังใช้ก๊าซธรรมชาติประมาณ 4.5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และที่สำคัญ อัตราการใช้พลังงานของคนไทยยังเพิ่มขึ้นทุกปี จากกระแสข่าวสถานการณ์เรื่องพลังงานในปัจจุบันที่มีการออกมา ประท้วง ปตท หรือต้องการให้มีการปฏิรูป ปตท โดยสื่อหลายแห่งให้ความสนใจในเรื่องพลังงานมากขึ้น รวมถึงเกิดการตั้งคำถามว่าขุมทรัพย์ปิโตรเลียมใต้แผ่นดินไทยนั้นเป็นขุมทรัพย์ ปตท ที่เหล่านักการเมืองและนักธุรกิจมาช่วงชิงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้หรือไม่ ก่อให้เกิดกระแสของข้อมูลเรื่องการปฏิรูป ปตท ที่แตกต่างกันออกไป และยังมีสื่อบางประเภทที่ออกมาเล่นเรื่องการปฏิรูป ปตท ด้วยวิธีการต่างๆ ในหลายๆ ช่องทางสื่อสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และข้อมูลที่แท้จริงถูกบิดเบือนไป ปตท. ถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมือง อาทิเช่น พลังไทย เพื่อไทย หรือ เพื่อใคร? หรือ ปตท เพื่อใคร และขุมทรัพย์ ปตท เอาไปให้ใคร? เป็นต้น ประเด็นที่สำคัญในเรื่องการปฏิรูป ปตท นั้นคือ ความไม่รู้เรื่องพลังงานของประชาชน จึงตกเป็นเครื่องมือของคนที่ไม่หวังดี นำข้อมูลหรือตัวเลขการปฏิรูป ปตท ต่างๆ นานา ทั้งเรื่องขององค์กร, การดำเนินงานของ ปตท., สัมปทาน, ราคาน้ำมัน หยิบยกขึ้นมาเพื่อโจมตี ปตท. เพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของฝ่ายตน เป็นต้น ซึ่งแท้จริงแล้วหน้าที่หลักของ ปตท. คือการแสวงหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของคนไทยดังคำกล่าวที่ว่า “พลังไทย เพื่อไทย” เมื่อแหล่งพลังงานในประเทศ (ที่ว่ากันว่าเป็นขุมทรัพย์ ปตท ทั้งที่ความจริงขุมทรัพย์ดังกล่าวเป็นของคนไทยทุกคน) ไม่พอ. จึงต้องไปแสวงหาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศเพื่อให้คนไทยได้ใช้อย่างเพียงพอ ดังนั้น น้ำมันแต่ละลิตรนั้นมีต้นทุน ซึ่งปัจจุบันความต้องการน้ำมันสูงขึ้นทั่วโลก แต่ทรัพยากรมีจำกัดจึงส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อให้คนไทยมีน้ำมันใช้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน ปตท. ต้องลงทุนสร้างแท่นขุดเจาะ, ท่าเรือ, ถังเก็บน้ำมัน, ท่อขนส่ง, โรงกลั่นน้ำมัน และ สถานีบริการ ทั้งหมดล้วนเป็นต้นทุนที่ ปตท. ต้องจ่ายเพื่อนำพลังงานมาให้กับคนไทยทั้งประเทศ ขอบคุณข่าวจาก http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ประท้วง-ปตท/
  11. ท่อก๊าซ ปตท. สำคัญไฉน โดย ฉกาจนิตย์ จุณณะภาต นักกฎหมายพลังงาน สตง ปตท ชี้แจงเรื่องแบ่งแยกท่อก๊าซของ ปตท. ไปให้รัฐ จากการเดินสายชี้แจงเรื่อง hot issue ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องการให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซของ ปตท. ไปให้รัฐ ในช่วงที่ผ่านมา นั้น ผมเริ่มมองเห็นภาพว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ ปตท. กับ รัฐ อย่างที่เคยเข้าใจเสียแล้ว แต่การหาทางออกที่ไม่ถูกต้องของเรื่องนี้ จะกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนทุกคนมากทีเดียว ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยจะเกิดความปั่นป่วนอย่างมาก เพราะขนาดของกลุ่ม ปตท. ในตลาดมีขนาดถึง 1 ใน 4 ของภาพรวม เอกชนและนักลงทุน จะสูญเสียความเชื่อมั่นและไม่กล้าลงทุนในโครงการใหญ่อีก เพราะไม่รู้ว่าจะโดนรัฐยึดไปเมื่อไหร่ นอกจากนั้น ระบบคุ้มครองสิทธิ์ของเอกชนโดยศาลจะสั่นคลอน เพราะคำพิพากษาของศาลไม่ถูกเชื่อถือโดยหน่วยงานของรัฐ เรื่องย่อๆ เกี่ยวกับท่อก๊าซ ปตท. นี้ เพจ ‘สรุป’ ได้จัดทำไว้แล้วค่อนข้างดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามมาก่อน #สรุป #สรุปเดียว ลองอ่านกันได้ครับ สำหรับในโพสต์นี้ ผมจะขอสรุปเรื่องนี้อีกครั้ง เพื่อจะเสริมให้พอเห็นภาพว่า เรื่องท่อก๊าซ ปตท. เริ่มต้นจากตรงไหน และหน่วยงานรัฐออกมาขอให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซ โดยใช้หลักการอะไร 1. เมื่อปี 2544 ปตท. ได้แปลงสภาพตัวเองจากองค์การของรัฐให้เป็นบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ถามว่าทำให้ประสิทธิภาพต่างกันตรงไหนกับของเดิม เพื่อนๆ ลองเทียบการรถไฟ องค์การโทรศัพท์ กับ ปตท. การท่าอากาศยาน ทุกวันนี้ดูครับ 2. ในการแปลงสภาพ ปตท. ต้องใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง เรียกย่อๆว่า ‘กฎหมายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ’ ซึ่งกำหนดว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ให้โอนมาเป็นของ ปตท. ที่แปลงสภาพแล้วทั้งหมด กฎหมายกำหนดไว้แบบนี้ เพื่อให้บริษัทที่แปลงสภาพมีทุนในการดำเนินการต่อ มิเช่นนั้น ก็ต้องมาแบบตัวเปล่าๆ ซึ่งถ้าต้องหมดตัวเช่นนั้น ก็ไม่รู้ว่า ปตท. จะแปลงสภาพมาเพื่ออะไร 3. หลังจากนั้นอีก 5 ปี มีกลุ่ม NGO ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุด บอกว่า ปตท. แปรรูปไม่ได้ ผิดกฎหมาย ศาลท่านก็ตัดสินว่า การแปรรูป ปตท. เดินมาไกลถึงขนาดนี้แล้ว คงไม่ต้องให้เดินถอยหลังกลับไปอีก 4. แต่ครั้งนี้ ศาลได้วางหลักกฎหมายขึ้นมาบอกว่า แม้ ปตท. จะแปรรูปแล้ว แต่ก็ต้องแบ่งแยกทรัพย์สินที่ใช้ ‘อำนาจมหาชน’ ที่ได้มาก่อนแปรรูป ปี 2544 ให้กับรัฐนะจ๊ะ ซึ่งตอนนั้น ปตท. ก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะไม่แฟร์กับนักลงทุน ก็ตอนที่ ปตท. เปิดขายหุ้นให้นักลงทุนทั่วไป ได้รวมมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดไปแล้ว ไม่เห็นมีใครออกมาทักท้วงอะไร แต่พอผ่านมา 5 ปี จะมาแบ่งทรัพย์สิน ปตท. ไปเฉยเลย ก็เท่ากับว่านักลงทุนถูกหลอกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่ศาลก็คือศาล ทุกคนต้องเคารพ มันคือกติกา ปตท. ก็ไม่มีปัญหาอะไร แบ่งแยกทรัพย์สินคืนไป 5. หลักการแบ่งทรัพย์สิน หน่วยงานต่างๆ ก็มาตกลงกันตามที่ศาลบอก คือ อันไหนที่ใช้ ‘อำนาจมหาชน’ ได้มาก่อน ปตท. แปรรูป ก็ให้กับรัฐไป ได้แก่ การเวนคืนที่ดิน การรอนสิทธิที่ดินเอกชน และทรัพย์สินที่อยู่บนที่ดินเหล่านั้น (ซึ่งก็คือ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. นั่นเอง) 6. พอ ปตท. แบ่งแยกเสร็จ ก็ส่งคืนให้กับรัฐไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดก็เห็นด้วยว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซให้รัฐตามคำพิพากษาครบแล้ว 7. แต่ปรากฏว่าวันที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งว่า ปตท. ส่งครบแล้ว สตง. กลับส่งหนังสือไปถึงศาลบอกว่า ปตท. ยังส่งคืนไม่ครบนะ โดยเฉพาะท่อก๊าซในทะเล แต่ สตง. ก็ดันไปสัญญากับศาลว่า เรื่องที่ว่าจะคืนครบหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาละกันขอรับ สตง. เพียงแต่ให้ข้อมูลเพิ่มว่าศาลอาจจะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ตอนที่รับรองว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบแล้ว 8. ศาลปกครองสูงสุดก็ดูข้อมูลที่ สตง. ส่งมาให้ แล้วพิจารณาว่า ท่อก๊าซในทะเลไม่เข้าหลัก ‘อำนาจมหาชน’ ที่ศาลตัดสินเอาไว้ ดังนั้น ที่ศาลรับรองว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบ จึงถูกต้องแล้ว ศาลก็เลยส่งหนังสือไปแจ้ง สตง. ว่า ศาลพิจารณาความเห็น สตง. แล้ว ก็ยังยืนยันแบบเดิมว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบแล้ว ‘ตามหลักกฎหมาย’ 9. เรื่องท่อส่งก๊าซ ปตท. ก็เงียบไปอยู่หลายปี และ สตง. ก็รับรองงบการเงิน ปตท. ต่อตลาดหลักทรัพย์มาตลอดไม่มีประเด็นเรื่องท่อส่งก๊าซอีก ทุกอย่างดูเหมือนจะจบตามที่ศาลปกครองสูงสุดบอก 10. ปรากฏว่าหลัง คสช. ยึดอำนาจปี 2557 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่อง ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. อีกครั้ง คราวนี้ไปไกลกว่าเดิม ยิ่งกว่า สตง. คือ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง (อีกครั้ง) ขอให้ ปตท. แบ่งแยกท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าก่อนหรือหลังแปรรูป มูลค่า 68,000 ล้านบาท พูดง่ายๆ ว่าขอให้ ปตท. มอบท่อก๊าซทั้งหมดให้รัฐนั่นเอง เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินบอกว่าท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ประชาชนใช้ร่วมกันก็ต้องตกเป็นของแผ่นดิน! 11. พอกระแสถูกจุดขึ้นมาอีกครั้ง สตง. ที่เคยเงียบไป ก็ลืมสัญญาที่ตัวเองให้ไว้กับศาล ออกมาร่วมวงกับเขาด้วย โดยขอให้ ปตท. มอบท่อก๊าซในทะเลที่ สตง. เคยบอกไว้นานมาแล้วให้กับรัฐ แต่เนื่องจาก สตง. ไม่มีอำนาจไปฟ้องเรียกท่อก๊าซเอง จึงบังคับเชิงข่มขู่ว่า ให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน ไปเอามาแทน สตง. มิเช่นนั้น สตง. จะฟ้องศาลให้เอาผิด! เมื่อตอนนี้อำนาจศาลถูกท้าทาย ก็ต้องดูกันต่อไปครับว่า เรื่องนี้จะหาทางออกกันอย่างไร สรุปคือ เรื่องท่อก๊าซธรรมชาติ ปตท. ก็กลับมาเป็นมหากาพย์ด้วยประการฉะนี้ครับ สาเหตุหลักเกิดจากมีบุคคลและหน่วยงานบางกลุ่มไม่เชื่อตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเมื่อหลายปีก่อนนั่นเอง สำหรับในความเห็นส่วนตัวของผม การเอาท่อส่งก๊าซของ ปตท. ไปได้สำเร็จ นั้น อาจจะได้แค่เพียงความสะใจในช่วงสั้นๆ แต่ถ้ามองระยะยาวแล้ว มันไม่คุ้มกันเลยกับมูลค่าท่อเพียงไม่กี่หมื่นล้าน กับ ความพังพินาศของระบบความเชื่อมั่นของประเทศไทย ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ทุกวันนี้จึงได้แต่ภาวนาขอให้ผู้นำประเทศไทย ยึดมั่นในหลักกฎหมายและนิติรัฐอย่างมั่นคงครับ ที่มา: Facebook: Pum Chakartnit สามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/สตง-ให้-ปตท-ชี้แจงเรื่อง/
  12. เรื่องทักษิณแปรรูป ปตท หลอกมันมาจะ 15 ปีละ ถ้าอายุน่าจะแก่กว่า …… ไปหมดละ อะไรๆ ก็ทักษิณ ไม่พูดถึงมันจะเป็นไร (อะไรๆ ก็โยงเข้าทักษิณ เค้าคงน่าดีใจนะครับ มีคนนึกถึงเสมอ) – ปตท. แปรรูปสมัยคุณชวน หลีกภัย โดยการจัดโครงสร้างเพื่อการแปรรูป ปตท จะอาศัยพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อให้มีการแปรรูปเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ที่กำหนดให้มีการนำ ปตท. เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายในปี 2544 โดยการกำหนดให้นำ ปตท. รัฐวิสาหกิจทั้งองค์กร แปลงสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในขั้นต้น ก่อนที่จะแปรสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (บมจ. ปตท.) เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในระยะ ต่อไป – เรื่องตีราคาโรงกลั่นน้ำมัน 1 บาท ความจริง คือ ปตท. เข้าไปซื้อหุ้นบริษัท Shell เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้โรงกลั่นตกอยู่ในมือต่างชาติ โดยซื้อในราคา 5 ล้านเหรียญฯ แต่ ปตท. ก็ต้องแบกรับหนี้สิ้นของ Shell ไปอีกจำนวนถึง 1,335 ล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 41,000 ล้านบาทหลังจากนั้น ปตท. ได้บริหารงานจนสามารถชำระหนี้ได้และผลประกอบการดีขึ้น มีกำไร และได้เป็น Asset ของประเทศ โดยการโอนถ่ายหนี้่ ต้องมีการกำหนด – ส่วนเรื่องการแปรรูป แล้วหมดไว ก็เอาไว้หลอก… เช่นเดิม ตอนแปรรูป ปตท. ต้องการเงินทุน เพื่อไปแก้ไขปรับสถานะการเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ประกอบกับมีโอกาสที่จะได้ลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่นและปิโตรเคมีที่บอบช้ำหนักหลังวิกฤติ ทำให้ราคาถูก กับทั้งรัฐบาลไม่สามารถเจียดงบประมาณมาให้ได้ (ตอนนั้นยังไม่ได้ถีบคุณพ่อไอเอ็มเอฟกลับไปเลย) และรัฐบาลยังหวังว่าการขาย ปตท. การมีไอพีโอขนาดใหญ่ จะปลุกความสนใจในตลาดไทยให้กลับมาได้ อีกอย่าง ในเวลานั้น ไม่มีใครรู้ว่าตลาดจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ไม่มีใครคาดการได้ ส่วนที่ขายหมดเร็วเพราะต้องขายให้หมด การทำไอพีโอแล้วมีหุ้นเหลือ ขายไม่ออก นับเป็นหายนะอย่างแท้จริง จนอาจต้องยกเลิกการขาย เพราะแสดงว่านักลงทุนไม่ยอมรับคุณภาพกิจการ ถ้าดันขายไป ราคาหลังจากนั้นก็คงย่อยยับ และ กระทบกับระบบเศรษฐกิจในขณะนั้น และมีการเดินสาย Roadshow อธิบายที่มาที่ไปของการแปรรูป เพื่อนักลงทุนเข้าใจ ไม่มีใครโดนห้ามซื้อ ถ้า กลต. หรือศาลสงสัย ถามมา บริษัทหลักทรัพย์ก็ส่งหลักฐานชี้แจงไป เป็นอย่างนี้กันตามปรกติ – ส่วนเรื่องตระกูลใหญ่ถือหุ้น กระทรวงการคลังและหน่วยงานในสังกัดอีก ถือรวมประมาณ 70% ถ้าบอกว่า ตระกูลใหญ่ ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดนี่แหละ อยากถามคนทำภาพเริ่มต้นออกมาว่า คุณต้องการสื่อว่ากระทรวงการคลังคือตระกูลใหญ่หรือ? – สุดท้าย ราคาหุ้น ตอนแรก 35 บาท อีตอนตกไป 28-29 ไม่พูด หยิบจังตอน 300 กว่ามาพูด หุ้นมันก็มีผันผวน ขึ้นลงตลอด ตอนนี้ 209 บาท ผันผวน กำตังค์ไปซื้อเอาจากตลาดหลักทรัพย์ นะคะ ปล. ผีทักษิณมันยังคงตราตรึง ถ้าสังคมไทยยังสนใจและใส่ใจกันแบบทุกวันนี้ Cr. http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/แปรรูป-ปตท-มีไว้/
  13. กระแส ทวงคืน ปตท. เป็นกระแสที่มาบูมในระยะ 2-3 ปีที่ผ่าน แถมตอนนี้โดนโจมตีอย่างหนักโดยการโหนกระแสของ กปปส. เพื่อเรียกแขกมากขึ้น โดยข้อกล่าวหาร้ายแรงว่า กลุ่ม ปตท. คือน้ำเลี้ยงสำคัญของระบอบทักษิณ บ้างก็ว่า “ทักษิณ” เป็นเจ้าของ ปตท. และไม่น่าเชื่อว่า ข้อมูลเบสิค ๆ แบบนี้ ที่ฟังพวกแกนนำที่พูดบนขึ้นเวทีม๊อบ หรือพวกแกนนำนักทวงคืนอย่างผู้สูงวัยท่านหนึ่ง นั้นกลับไม่คิดจะค้นหาข้อมูลด้วยตัวเองและก็เชื่อในทันทีด้วยในอคติว่า ทักษิณ หรือ ตระกูลชินวัตร เป็นเจ้าของ ปตท. และ ปตท.คือต้นเหตุทำให้น้ำมันแพง และที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่ง ถ้าพรรคที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพรรคที่ทักษิณสนับสนุนได้เป็นรัฐบาล กระแสทวงคืน ปตท.นั้นเงียบเป็นเป่าสากไม่มีใครพูดถึง ดังนั้นทีมงานก็เลยไปค้นข้อมูลข้อเท็จจริงว่า เจ้าของ ปตท คือใคร แล้วเราจะทวงคืนทำไม ทวงคืนให้ใคร? เปิดหลักฐานหลังจากการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจุดเริ่มมาจากการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจปี พ.ศ.2542 ในยุครัฐบาลชวน 2แต่ดันมาเข้าตลาดตอนยุครัฐบาลทักษิณ เลยกลายเป็นว่าทักษิณต้องเป็นแพะรับบาปว่าเป็นผู้ที่ฮุบหุ้น ปตท.ทั้งหมดให้ตระกูลชินวัตรเป็นเจ้าของ ทีนี้เราต้องมาเจาะดูว่า (ปตท. เป็นของใคร) ใครถือหุ้นใหญ่ ปตท. ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท. นั้นหาง่ายมากๆได้จากเว็บไซด์ settrade.com ได้ผู้ถือหุ้นใหญ่ดังภาพนี้ โครงสร้างผู้ถือหุ้น ปตท. จะเห็นได้ว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ยังคงเป็นกระทรวงการคลัง ประมาณ 51% ซึ่งคนไทยเป็นเจ้าของร่วมกัน และกองทุนวายุภักษ์ทั้ง 2 กอง ก็เป็นกองทุนของภาครัฐที่ทั้งหน่วยงานรัฐและประชาชนคนไทยทั่วไปสามารถลงทุน ในกองทุนนี้ได้ รวมกันอีก 15% นอกจากนี้ยังมีกองทุนประกันสังคมที่เป็นของคนไทยทุกคนอีก 1% สรุปรวมๆแล้วก็เป็นของรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 67% จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็คือภาครัฐซึ่งส่วนนี้เป็นของคนไทยทุกๆคนอยู่แล้ว แล้วที่เหลือล่ะ เป็นนักลงทุนคนไทยรายย่อย 16% จากการตรวจสอบสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นของ ปตท. ก็พบว่า คนในตระกูลชินวัตรจริงๆได้แก่ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร และนายพอพงษ์ ชินวัตร ถือหุ้นเพียง 7,700 หุ้น จาก 2.85 พันล้านหุ้น หรือ 0.0002% เท่านั้น ถือว่าน้อยมากจนไม่มีนัยยะสำคัญที่จะไปครอบงำเพื่อกำหนดนโยบายหรือทิศทาง อะไรได้เลยใน ปตท. เป็นการลงทุนตามปกติที่ใครๆก็เข้าไปซื้อได้ในตลาดหลักทรัพย์ [ธนาคาร JPMorgan Chase & Co.] ธนาคาร JPMorgan Chase & Co. แล้วส่วนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ 18% ล่ะ จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินและกองทุนนอมินี บ้างก็บอกว่ากองทุนนอมินีเหล่านี้เป็นของทักษิณทั้งหมด ยกตัวอย่าง CHASE NOMINEE LIMITED ผู้ถือหุ้นลำดับที่ 5 จำนวน 2.53% นั้น เจ้าของกองทุนนี้คือ JP Morgan Chase & Co. (iv) หรือ JPM ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือหุ้นใหญ่โดยสถาบันการเงินของต่างประเทศหลายต่อหลายแห่ง JPM มูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น 2.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ 72 ล้านล้านบาท !!!! นี่มันเป็นตัวเลขงบประมาณของประเทศไทยได้ถึงเกือบ 30 ปีเลยทีเดียว แค่ตัวอย่างนี้ตัวอย่างเดียวเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าทักษิณเป็นเจ้าของนอมินีทุกๆแห่ง ก็แสดงว่า ทักษิณแทบจะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีมูลความจริงใดๆทั้งสิ้นa กล่าว โดยสรุป เจ้าของ ปตท.ทีแท้จริงก็คือ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่เป็นของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว และนักลงทุนรายย่อยทั้งไทยและเทศ ที่คนไทยทุกๆคนสามารถจะมีหุ้นได้โดยสามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยได้ทุกวันทำการ ก็ไม่รู้จะทวงคืนไปทำไม ทวงไปก็ไม่ได้น้ำมันถูกลง เพราะที่มันแพงก็แค่น้ำมันกลุ่มเบนซินที่เก็บภาษีและกองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น มามากทำให้ราคาแพง และเงินกองทุนน้ำมันก็เอาไปจ่ายชดเชยให้ก๊าซหุงต้มที่นำเข้ามาจากตลาดโลกมา ขายในประเทศถูกๆและพวกแก๊สโซฮอล E20, E85 รวมถึงชดเชยภาษีในส่วนของน้ำมันดีเซลที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้มากกว่า 50% เพื่อควบคุมราคาไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ที่จะส่งผลต่อค่าขนส่งสินค้าจนกระทบกับค่าครองชีพของคนไทยทุกคน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ ไม่เกี่ยวกับ ปตท. ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาก็ลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล E10 มากไม่ได้เพราะจะทำให้กองทุนน้ำมันติดลบ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อรายได้ ปี 2555 ทั้งนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับ ปตท. ค้ากำไรเกินควรอะไรเลย เพราะกำไร ปตท. ประมาณแสนล้านบาทนั้น มาจากยอดขายประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 3% กว่าๆเท่านั้นเอง (ฝากสหกรณ์ยังได้ดอกเบี้ยมากกว่าด้วยซ้ำ) ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบริษัทน้ำมันแห่งอื่นๆ และกำไรที่มาจากการลงทุนไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีการลงทุนไปต่างประเทศมากมาย เป็นผลมาจากการแปรรูป ปตท. ทำให้มีความสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ทำให้คนไทยไม่ต้องต่อคิวซื้อน้ำมัน ไม่มีปัญหาไฟฟ้าติดๆดับๆ ดังนั้นข้อกล่าวหาว่า ปตท.ขูดรีดคนไทยก็ไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด Cr. http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/เปิดหลักฐานปตทเป็นของใ/
  14. จากที่เคยเล่าไว้ถึง สาเหตุของการแปรรูป และประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับ ซึ่งจะขอย้อนความ ถึงประโยชน์ที่ชาติจะได้รับจากการแปรรูป 3 ข้อหลัก คือ 1.เป็นการระดมทุนเพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ของ ปตท. ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะรัฐจะได้ปันผลเป็นรายได้ ในรูปแบบต่างๆ กลับเข้าสู่รัฐมากขึ้น หลัง ปตท. แปรรูป ปตท. นำเงินส่งรัฐสูงสุดอย่างต่อเนื่อง 2.เป็นการระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น ทำให้โรงกลั่นเป็นของคนไทย เงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ 3.เป็นการกระตุ้นตลาดหลักทรัพย์ ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยจะเห็นว่าการแปรรูปในครั้งนี้สร้างผลประโยชน์มากมายให้กับประเทศ ในรูปแบบของเม็ดเงินเข้ารัฐและเม็ดเงินลงทุน จากที่มีกระแสทวงคืน ปตท ให้กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งที่ตอนนี้ ปตท. กลายเป็นบริษัทมหาชนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อประเทศบ้าง 1.หากใช้วิธียึดคืน นั่นคือการทำลายความน่าเชื่อถือในการลงทุนของประเทศ ซึ่งมีผลโดยตรงกับนักลงทุนที่จะนำเงินมาลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากนักลงทุนและมีผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ 2.หากใช้วิธีซื้อคืน รัฐต้องระดมทุนมหาศาลเพื่อซื้อหุ้นจำนวน 2.8 พันล้านหุ้น คิดมูลค่าหุ้นทั่วไป รัฐจะต้องใช้เงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท (คิดมูลค่าต่อหุ้น 380 บาท) ในการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ นอกจากจะเป็นเรื่องยากและเกิดความเสียหายมากมายในการนำหุ้นกลับมาเป็นของรัฐแล้ว รัฐยังต้องลงแรงในการเข้ามาบริหารงานในส่วนนี้ด้วย ซึ่งไม่มีอะไรการันตีเลยว่าการลงทุนมหาศาลอย่างนี้จะสร้างความคุ้มค่าให้กับรัฐ กลับกันจะเพิ่มความเสี่ยงในการบริหารอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่กลุ่มทวงคืนพลังงานหรือ NGO มักนำมาเพื่อปลุกปั่นกระแสทวงคืนพลังงาน คือการที่พยายามบิดเบือนว่า หาก ปตท. กลับมาเป็นของรัฐแล้ว “ราคาพลังงานจะถูกลง” ซึ่งข้อมูลตรงนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันโครงสร้างราคาพลังงานในประเทศมีสูตรการคิดราคาและอ้างอิงชัดเจน ไม่ว่า ปตท. จะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะกลับเป็นของรัฐ สูตรการคิดราคาหรือการอ้างอิงราคา ก็ยังคงเป็นสูตรเดิม การจัดเก็บภาษีและกองทุนฯ ก็ยังเหมือนเดิม จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ จะทวงคืน ปตท กลับมาเป็นของรัฐ เพราะนอกจากการจะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในประเทศ เพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนและบริหารงานแล้ว ก็ไม่ได้สร้างผลประโยชน์ให้กับรัฐหรือประชาชนได้คุ้มค่ากับสิ่งที่รัฐหรือประเทศจะต้องเสียไป Cr. http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ประโยชน์การแปรรูป-ปตท/
  15. น้องหนอน ดัม

    สตง ปตท

    ท่อก๊าซ ปตท. สำคัญไฉน โดย ฉกาจนิตย์ จุณณะภาต นักกฎหมายพลังงาน จากการเดินสายชี้แจงเรื่อง hot issue ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องการให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซของ ปตท. ไปให้รัฐ ในช่วงที่ผ่านมา นั้น ผมเริ่มมองเห็นภาพว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ ปตท. กับ รัฐ อย่างที่เคยเข้าใจเสียแล้ว แต่การหาทางออกที่ไม่ถูกต้องของเรื่องนี้ จะกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนทุกคนมากทีเดียว ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยจะเกิดความปั่นป่วนอย่างมาก เพราะขนาดของกลุ่ม ปตท. ในตลาดมีขนาดถึง 1 ใน 4 ของภาพรวม เอกชนและนักลงทุน จะสูญเสียความเชื่อมั่นและไม่กล้าลงทุนในโครงการใหญ่อีก เพราะไม่รู้ว่าจะโดนรัฐยึดไปเมื่อไหร่ นอกจากนั้น ระบบคุ้มครองสิทธิ์ของเอกชนโดยศาลจะสั่นคลอน เพราะคำพิพากษาของศาลไม่ถูกเชื่อถือโดยหน่วยงานของรัฐ เรื่องย่อๆ เกี่ยวกับท่อก๊าซ ปตท. นี้ เพจ ‘สรุป’ ได้จัดทำไว้แล้วค่อนข้างดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามมาก่อน #สรุป #สรุปเดียว ลองอ่านกันได้ครับ สำหรับในโพสต์นี้ ผมจะขอสรุปเรื่องนี้อีกครั้ง เพื่อจะเสริมให้พอเห็นภาพว่า เรื่องท่อก๊าซ ปตท. เริ่มต้นจากตรงไหน และหน่วยงานรัฐออกมาขอให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซ โดยใช้หลักการอะไร 1. เมื่อปี 2544 ปตท. ได้แปลงสภาพตัวเองจากองค์การของรัฐให้เป็นบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ถามว่าทำให้ประสิทธิภาพต่างกันตรงไหนกับของเดิม เพื่อนๆ ลองเทียบการรถไฟ องค์การโทรศัพท์ กับ ปตท. การท่าอากาศยาน ทุกวันนี้ดูครับ 2. ในการแปลงสภาพ ปตท. ต้องใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง เรียกย่อๆว่า ‘กฎหมายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ’ ซึ่งกำหนดว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ให้โอนมาเป็นของ ปตท. ที่แปลงสภาพแล้วทั้งหมด กฎหมายกำหนดไว้แบบนี้ เพื่อให้บริษัทที่แปลงสภาพมีทุนในการดำเนินการต่อ มิเช่นนั้น ก็ต้องมาแบบตัวเปล่าๆ ซึ่งถ้าต้องหมดตัวเช่นนั้น ก็ไม่รู้ว่า ปตท. จะแปลงสภาพมาเพื่ออะไร 3. หลังจากนั้นอีก 5 ปี มีกลุ่ม NGO ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุด บอกว่า ปตท. แปรรูปไม่ได้ ผิดกฎหมาย ศาลท่านก็ตัดสินว่า การแปรรูป ปตท. เดินมาไกลถึงขนาดนี้แล้ว คงไม่ต้องให้เดินถอยหลังกลับไปอีก 4. แต่ครั้งนี้ ศาลได้วางหลักกฎหมายขึ้นมาบอกว่า แม้ ปตท. จะแปรรูปแล้ว แต่ก็ต้องแบ่งแยกทรัพย์สินที่ใช้ ‘อำนาจมหาชน’ ที่ได้มาก่อนแปรรูป ปี 2544 ให้กับรัฐนะจ๊ะ ซึ่งตอนนั้น ปตท. ก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะไม่แฟร์กับนักลงทุน ก็ตอนที่ ปตท. เปิดขายหุ้นให้นักลงทุนทั่วไป ได้รวมมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดไปแล้ว ไม่เห็นมีใครออกมาทักท้วงอะไร แต่พอผ่านมา 5 ปี จะมาแบ่งทรัพย์สิน ปตท. ไปเฉยเลย ก็เท่ากับว่านักลงทุนถูกหลอกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่ศาลก็คือศาล ทุกคนต้องเคารพ มันคือกติกา ปตท. ก็ไม่มีปัญหาอะไร แบ่งแยกทรัพย์สินคืนไป 5. หลักการแบ่งทรัพย์สิน หน่วยงานต่างๆ ก็มาตกลงกันตามที่ศาลบอก คือ อันไหนที่ใช้ ‘อำนาจมหาชน’ ได้มาก่อน ปตท. แปรรูป ก็ให้กับรัฐไป ได้แก่ การเวนคืนที่ดิน การรอนสิทธิที่ดินเอกชน และทรัพย์สินที่อยู่บนที่ดินเหล่านั้น (ซึ่งก็คือ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. นั่นเอง) 6. พอ ปตท. แบ่งแยกเสร็จ ก็ส่งคืนให้กับรัฐไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดก็เห็นด้วยว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซให้รัฐตามคำพิพากษาครบแล้ว 7. แต่ปรากฏว่าวันที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งว่า ปตท. ส่งครบแล้ว สตง. กลับส่งหนังสือไปถึงศาลบอกว่า ปตท. ยังส่งคืนไม่ครบนะ โดยเฉพาะท่อก๊าซในทะเล แต่ สตง. ก็ดันไปสัญญากับศาลว่า เรื่องที่ว่าจะคืนครบหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาละกันขอรับ สตง. เพียงแต่ให้ข้อมูลเพิ่มว่าศาลอาจจะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ตอนที่รับรองว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบแล้ว 8. ศาลปกครองสูงสุดก็ดูข้อมูลที่ สตง. ส่งมาให้ แล้วพิจารณาว่า ท่อก๊าซในทะเลไม่เข้าหลัก ‘อำนาจมหาชน’ ที่ศาลตัดสินเอาไว้ ดังนั้น ที่ศาลรับรองว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบ จึงถูกต้องแล้ว ศาลก็เลยส่งหนังสือไปแจ้ง สตง. ว่า ศาลพิจารณาความเห็น สตง. แล้ว ก็ยังยืนยันแบบเดิมว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบแล้ว ‘ตามหลักกฎหมาย’ 9. เรื่องท่อส่งก๊าซ ปตท. ก็เงียบไปอยู่หลายปี และ สตง. ก็รับรองงบการเงิน ปตท. ต่อตลาดหลักทรัพย์มาตลอดไม่มีประเด็นเรื่องท่อส่งก๊าซอีก ทุกอย่างดูเหมือนจะจบตามที่ศาลปกครองสูงสุดบอก 10. ปรากฏว่าหลัง คสช. ยึดอำนาจปี 2557 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่อง ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. อีกครั้ง คราวนี้ไปไกลกว่าเดิม ยิ่งกว่า สตง. คือ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง (อีกครั้ง) ขอให้ ปตท. แบ่งแยกท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าก่อนหรือหลังแปรรูป มูลค่า 68,000 ล้านบาท พูดง่ายๆ ว่าขอให้ ปตท. มอบท่อก๊าซทั้งหมดให้รัฐนั่นเอง เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินบอกว่าท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ประชาชนใช้ร่วมกันก็ต้องตกเป็นของแผ่นดิน! 11. พอกระแสถูกจุดขึ้นมาอีกครั้ง สตง. ที่เคยเงียบไป ก็ลืมสัญญาที่ตัวเองให้ไว้กับศาล ออกมาร่วมวงกับเขาด้วย โดยขอให้ ปตท. มอบท่อก๊าซในทะเลที่ สตง. เคยบอกไว้นานมาแล้วให้กับรัฐ แต่เนื่องจาก สตง. ไม่มีอำนาจไปฟ้องเรียกท่อก๊าซเอง จึงบังคับเชิงข่มขู่ว่า ให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน ไปเอามาแทน สตง. มิเช่นนั้น สตง. จะฟ้องศาลให้เอาผิด! เมื่อตอนนี้อำนาจศาลถูกท้าทาย ก็ต้องดูกันต่อไปครับว่า เรื่องนี้จะหาทางออกกันอย่างไร สรุปคือ เรื่องท่อก๊าซธรรมชาติ ปตท. ก็กลับมาเป็นมหากาพย์ด้วยประการฉะนี้ครับ สาเหตุหลักเกิดจากมีบุคคลและหน่วยงานบางกลุ่มไม่เชื่อตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเมื่อหลายปีก่อนนั่นเอง สำหรับในความเห็นส่วนตัวของผม การเอาท่อส่งก๊าซของ ปตท. ไปได้สำเร็จ นั้น อาจจะได้แค่เพียงความสะใจในช่วงสั้นๆ แต่ถ้ามองระยะยาวแล้ว มันไม่คุ้มกันเลยกับมูลค่าท่อเพียงไม่กี่หมื่นล้าน กับ ความพังพินาศของระบบความเชื่อมั่นของประเทศไทย ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ทุกวันนี้จึงได้แต่ภาวนาขอให้ผู้นำประเทศไทย ยึดมั่นในหลักกฎหมายและนิติรัฐอย่างมั่นคงครับ ที่มา: Facebook: Pum Chakartnit สามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/สตง-ให้-ปตท-ชี้แจงเรื่อง/
×
×
  • สร้างใหม่...