ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

vivie31399

ขาอ่อน
  • จำนวนเนื้อหา

    5
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

คะแนนนิยม

0 ปานกลาง

เกี่ยวกับ vivie31399

  • คะแนนนิยม
    น้องใหม่

Profile Information

  • เพศ
    หญิง

ผู้เยี่ยมชมโปรไฟล์ล่าสุด

บล็อคผู้เยี่ยมชมเมื่อเร็วๆนี้ถูกปิดการใช้งานและไม่ถูกแสดงกับผู้ใช้งานอื่น

  1. ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Sustainable Growth for All ผงาดธุรกิจพลังงานยุคดิจิทัล เมื่อโลกขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทุกธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นสิ่งที่ทุกอุตสาหกรรมให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจพลังงาน ที่หลายคนคิดว่าคงได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไป เพราะแนวโน้มของพลังงานหลักที่โลกจะใช้ในอนาคตอาจไม่ใช่น้ำมัน ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์นี้น่าจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี กว่าที่บทบาทของน้ำมันจะลดลง แต่องค์กรอย่าง ปตท. ที่มีภารกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ได้มีการวางแผนรับมือเรื่องนี้อย่างจริงจังแล้ว การเงินธนาคาร ได้สัมภาษณ์พิเศษ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถึงความท้าทายสำคัญ ทั้งการขับเคลื่อนองค์กร และการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศชาติ ไปจนถึงยุทธศาสตร์ของ ปตท. ในยุคดิจิทัล รวมถึงภารกิจสำคัญในการสร้าง 6 สิ่งใหม่ ที่เป็น New S-Curve สำคัญของ ปตท. ในอนาคต ยุทธศาสตร์ Sustainable Growth for All ให้ทุกคนเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน ชาญศิลป์ ตรีนุชกร เริ่มให้สัมภาษณ์กับ การเงินธนาคาร ด้วยการเล่าถึงความท้าทายใน 6 ด้านสำคัญ ที่บุคลากรทุกระดับชั้น ตั้งแต่ ทีมงาน หน่วยงาน ไปจนถึงระดับกรรมการบริษัท ช่วยกันระดมสมอง เพื่อที่จะมองภาพใหญ่ของความท้าทายให้รอบด้าน ครอบคลุมทั้งความท้าทายภายในองค์กรและความท้าทายที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดย ซีอีโอ ปตท. ได้สรุปเอาไว้ทั้งสิ้น 6 ด้านดังนี้ ความผันผวนของราคาน้ำมัน และบทบาทของพลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้น: โดยความท้าทายนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะ ปตท. ไม่สามารถที่จะควบคุมกลไกราคาน้ำมันโลกได้ แต่สิ่งที่ทำได้คือ การวางแผนรับมือในหลายๆ สถานการณ์เอาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันท่วงที ขณะที่พลังงานทดแทนซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จากราคาที่ค่อยๆ ลดลง ทั้งพลังงานไฟฟ้าโซลาร์ แบตเตอรี่ พลังงานลม ตลอดจนภาวะโลกร้อน ซึ่งกดดันให้ ปตท. ต้องเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น การเปิดเสรีของธุรกิจพลังงาน :การเปิดเสรี ทำให้มีเอกชนที่มีเงินทุนเริ่มเข้ามาแข่งขันในธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมีมากขึ้น รวมถึงการเปิดท่อแก๊ซและคลังแก๊ซที่จะให้รายอื่นเข้ามาใช้ได้ ซึ่งจะเป็นความท้าทายโดยตรงทางธุรกิจของ ปตท. ความเข้าใจผิดในองค์กร ปตท.: เรื่องความเข้าใจผิดในบทบาทของ ปตท. นั้น ยังคงมีอยู่ตามโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่แม้ว่าปัจจุบันจะค่อยๆ ลดลงแล้ว แต่ ปตท. ก็ยังคงต้องทำการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง การสร้างสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ และการสร้างผลกำไรให้กับองค์กร :บทบาทของ ปตท. ทั้ง 2 ด้านนี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกคนใน ปตท. จะต้องทำให้ดีที่สุดอยู่เสมอ ทรัพยากรพลังงานในอ่าวไทยกำลังลดลง: ทรัพยากรที่ลดลง ทำให้ต้องมีการนำเข้าพลังงานจากภายนอกเข้ามาในประเทศ และจะต้องมีการหาแหล่งพลังงานใหม่เพิ่มเติม ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ของ ปตท. กำลังเกษียณอายุ: การที่ผู้บริหารมากประสบการณ์หลายท่านกำลังอยู่ในช่วงเกษียณอายุงาน ทำให้ต้องมีการวางแผนการทำงานล่วงหน้า เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสานต่อได้ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร อธิบายว่า จากความท้าทายทั้ง 6 ด้าน ปตท. ได้วางแผนเพื่อรับมือภายใต้ยุทธศาสตร์ที่มีชื่อว่า “Sustainable Growth for All” ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานที่มุ่งเน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน เพื่อผลักดันให้ ปตท. ก้าวสู่การเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย โดยยุทธศาสตร์นี้จะเริ่มตั้งแต่พื้นฐานของทำงานที่ต้องคำนึงถึงหลัก 3P คือ 1. คน (People) 2. โลก (Planet) และ 3. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Prosperity) โดย ปตท.จะมุ่งเน้นภารกิจทั้งการสร้างความมั่งคั่งและมั่นคง ตลอดจนการตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน รวมถึงการดูแลผู้มีส่วนได้เสียของ ปตท. ในทุกด้าน ให้มีความยุติธรรม ส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุด ทั้ง 3 ข้อนี้ จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานของ ปตท.ในทุกเรื่อง “ภารกิจทั้งหมดที่วางไว้ในยุทธศาสตร์ Sustainable Growth for All จะถูกดำเนินงานภายใต้หลักคิด 3P ที่คำนึงถึงผู้คน โลก และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นการตอบโจทย์เป้าหมายสำคัญของ ปตท. ที่ต้องการสร้างความมั่งคั่งให้กับองค์กร สร้างความมั่นคงให้กับประเทศ และสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ และทุกคนที่มีส่วนได้เสียกับ ปตท.” ขอบคุณข้อมูล : http://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/ชาญศิลป์-ตรีนุชกร-ประธาน/
  2. ราคาน้ำมันขึ้น ลงใครกำหนด มีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ออกมาอยู่เนืองๆ ในกรณีที่ผู้บริโภคบางกลุ่ม มองว่าราคาน้ำมันเมืองไทยแพงเกินไป และ ปตท. เป็นต้นเหตุของราคา เพราะปตท. กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ ตรงนี้จะขอนำส่วนหนึ่งของคำแถลงที่ทาง ผู้บริหารของ ปตท. ได้ตั้งโต๊ะแถลง หลังจากมีประเด็นร้อนว่อนในโลกโซเชียลในด้านลบกับ บริษัท ปตท. ทั้งในเรื่องการกำหนดราคาน้ำมันที่เอาเปรียบประชาชน จนได้กำไรสูงเป็นแสนล้านบาท พร้อมชักชวนบอยคอตเติมน้ำมันที่ปั๊มของ ปตท. “นายเทวินทร์ กล่าวว่า ปี 2560 ราคาน้ำมันทั้งปีเฉลี่ยเป็นขาขึ้น โดย ปตท. มีการปรับขึ้น 21 ครั้ง ปรับลง 21 ครั้ง แต่ราคาหน้าปั๊มขายต่ำกว่าต่างชาติ 20 วัน ไม่เคยขายแพงกว่ารายอื่นเลย แม้แต่ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ 6 เม.ย. – 28 พ.ค. 2561 ปตท.ปรับขึ้นราคาน้ำมัน 6 ครั้ง ปรับลง 1 ครั้ง โดยไม่เคยมีช่วงเวลาที่ขายแพงกว่าเจ้าอื่น แต่มีช่วง 9 วันในช่วง 50 วันที่ขายถูกกว่าปั๊มอื่น” การที่มีช่วงเวลาที่ ปตท. ขายถูกกว่าปั๊มอื่น และไม่มีช่วงเวลาไหนเลยที่ ปตท. จะขายแพงกว่าปั๊มอื่น นั่นเป็นหลักฐานชัดเจนว่า ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ แต่ละแบรนด์สามารถกำหนดราคาขายได้อย่างเสรี ผ่านค่าการตลาด (ส่วนราคา ณ โรงกลั่นใช้ราคาอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ ในขณะที่ภาษีและกองทุนต่างๆ รัฐบาลเป็นคนกำหนด) แต่ละแบรนด์สามารถกำหนดค่าการตลาด เท่าไหร่ก็ได้ จะเก็บค่าการตลาดลิตรละ 100 บาท หรือลิตรละแค่ 10 สตางค์ก็สามารถทำได้ตามหลัก รัฐเพียงแค่มีการเสนอตัวเลขค่าการตลาดที่เหมาะสมเอาไว้ (แต่ไม่ได้บังคับให้ทำตาม) ซึ่งอย่าลืมว่าค่าการตลาด ยังไม่ได้หักส่วนค่าใช้จ่ายภายในปั๊มทั้งหมดจะเป็นค่าขนส่งน้ำมัน ค่าจ้างเด็กปั๊ม ค่าน้ำมันค่าไฟ ฯลฯ ดังนั้นหากค่าการตลาดต่ำเกินไป ปั๊มก็จะขาดทุนและต้องปิดตัวลง จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า แต่ละปั๊ม แต่ละแบรนด์สามารถกำหนดราคาได้เองอย่างเสรี เพียงแค่จ่ายภาษีและกองทุนต่างๆ ตามที่รัฐกำหนดเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งที่สามารถกำหนดราคาขายของทั้งตลาดได้ อย่างที่เข้าใจผิดกัน ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ราคาน้ำมันใครกำหนด-ปตท/
  3. ตามติด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลง คดี ปตท.อมท่อ คืนท่อก๊าซไม่ครบ ตามที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้แถลงข่าวว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าประพฤติมิชอบในการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท. ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 โดยศาลได้นัดฟังคำตัดสินว่าจะรับเป็นคดีหรือไม่ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2561 นั้น จากข้อเท็จจริงที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าว ปตท. ขอเรียนว่า กรณีเดียวกันนี้ น.ส.รสนา โตสิตระกูล และนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ได้เคยเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริต(คดี ปตท. คือท่อก๊าซไม่ครบ หรืออมท่อ) และประพฤติมิชอบกลางไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 และศาลอาญาคดีทุจริตฯท่อก๊าซ (อมท่อ) ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษาลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ยืนตามคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตฯ คดี(ปตท. อมท่อ)ดังกล่าวจึงถึงที่สุด ทั้งนี้ ปตท. ขอเรียนยืนยันว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สิน(ท่อก๊าซ)ให้แก่กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาศาลฯ คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และศาลปกครองได้มีคำสั่งยืนยันในเรื่องดังกล่าวหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ปี 2551 – 2559 ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/แถลง-คดี-ปตท-อมท่อ-คืนท่อ/
  4. มีข้อมูลที่บิดเบือนอยู่มากมายในโลกโซเชียล ที่นำพาไปสู้ความเข้าใจผิด โดยเฉพาะกับ บริษัทที่ถูกโยงไปเป็นประเด็นทางการเมือง อย่าง ปตท. เกิดเป็นคำถาม “ปตท. ทำเพื่อใคร?” ทั้งเรื่องการตั้งบริษัทบนเกาะเคย์แมน การแปรรูป รวมถึงเรื่องราคาพลังงาน เรื่องราวเหล่านี้ถูกพูดถึงบ่อย และหลายคนก็พยายามตั้งคำถาม โดยไม่สนใจว่าคำตอบของคำถามเหล่านี้ ก็มีข้อมูล มีการออกมาตอบอยู่เรื่อยๆ โดยไม่มีการพยายามปิดบังอะไร ซึ่งจะขอแยกอธิบายออกเป็นข้อๆ ดังนี้ ไม่มีบัญชีลับอะไรใด เพราะ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องแสดงทรัพย์สิน รวมถึงรายรับรายจ่าย มีกรรมการ มีผู้ตรวจสอบจากภายนอกด้วย แถมยังมี สตง. รับรองบัญชีอีก ปัจจุบัน คุณไพรินทร์ หมดวาระเป็นประธาน ปตท. ไปแล้ว เกาะเคย์แมนไม่ได้เป็นเกาะฟอกเงินอย่างในหนัง เป็นการเปิดเพื่อกระจายความเสี่ยง ปัจจุบันมีกฎหมายรองรับ มีการตรวจสอบ มีการรายงานลงในบัญชี สามารถตรวจสอบได้ใน 56-1 การลงโฆษณาในสื่อ เป็นหลักของการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าสินค้าใดๆ ก็มีการประชาสัมพันธ์ การแปรรูป ปตท. เริ่มสมัยคุณชวน เมื่อประมาณ ปี 42 โดยหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ซื้อขายวันแรก 6 ธ.ค. 2544 ด้วยมูลค่าตลาดประมาณ 90,000 ล้านบาท หุ้นใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมตัวพร้อมทำไฟริ่งไม่น้อยกว่า 1 ปี แน่นอน ขณะที่นายกทักษิน เป็นนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 ก.พ. 2544 แสดงว่านโยบายการแปรรูป ปตท.ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้นานพอสมควรแต่มาแล้วเสร็จในยุคทักษิณพอดี หุ้นที่บอกว่า ไม่ได้ชื่อกระทรวงการคลัง จริงๆ แล้ว อย่างสำนักงานประกันสังคม ก็ถือเป็นการลงทุนของรัฐ บริษัท นอมินี เหล่านี้ ก็เป็นอีกช่องทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติหลายๆคน การลงทุนผ่านทางบริษัทนอมินีของสถาบันการเงินเหล่านี้คล้ายๆ กับบริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ของบ้านเรานั่นเองที่ช่วยกระตุ้นการลงทุนระดมทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งผู้ถือหุ้นผ่านนอมินีเหล่านี้จะไม่มีสิทธิ์ออกเสียงหรือกำหนดนโยบายใดๆ ในบริษัทได้เลย ปตท.ขายหุ้นให้กับบุคคลทั่วไป ผ่าน Thai VDNR จำนวน 5.1% ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บุคคลทั่วไปต้องไปซื้อจาก บริษัทดังกล่าว ไม่ใช่ไปซื้อตรงจาก ปตท. ทุกวันนี้ก็เปิดซื้อขายอยู่ เรื่องที่ว่ามีการจองหุ้นกัน ก็จองผ่านบริษัทนี้ครับ และที่อ้างว่าหุ้นหมดซื้อไม่ทัน มันก็ไม่เกี่ยวกับ ปตท.เลย ด้วยเหตุผลข้างต้นครับ เงินปันผล ปตท เข้าพรรคเพื่อไทย ด้วยความที่ กระทรวงการคลังถือหุ้น ปตท.ใหญ่ เงินก็ต้องเข้ากระทรวงการคลังดิ คนคิดว่าเข้าพรรคเพื่อไทย มโนอะไรก็ให้มีขอบเขตกันหน่อย มาเลเซียน้ำมันลิตรละ เท่าไหร่ก็แล้วแต่ แต่ทราบหรือไม่ เค้ามีการไม่เก็บเงินภาษีสินค้าและบริการ GST ทำให้ราคาน้ำมันเค้าถูก แต่เค้าต้องแลกกับการติดงบทางการศึกษา เรื่องการยกเลิกเบนซิน 91 95 ก็บ้าบอ เค้ายกเลิกแต่เบนซิน 91 เพราะสนับสนุนพลังงานทดแทน ที่เป็นพระราชดำริของในหลวง เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ปตท.สผ. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในแปลงสัมปทานของแหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” ไม่เคยมีการถือหุ้นในแหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” และ ที่สำคัญได้ถอนตัวออกเมื่อ ปี 2543 LPG ที่มีการปรับราคา เพื่อสะท้อนต้นทุนการใช้ในประเทศ เป็นไปตามนโยบายปฎิรูปพลังงานสะท้อนราคาที่แท้จริง ก๊าซจากอ่าวไทย ทุกวันนี้ใช้ผลิตไฟฟ้ามากที่สุด และไม่มีการส่งออก แถมยังต้องนำเข้า LNG เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ การปลดบอร์ด ปตท. ต้องอาศัยมติที่ประชุมบอร์ด ไม่ใช่อยากปลดก็ปลด ไม่งั้นสะเทือนเศรษฐกิจตลาดหุ้นไทยแน่นอน เรื่องราววาทะกรรมเป็นเรื่องที่สร้างง่าย และลุกลามอย่างรวดเร็วกว่าความจริงนัก ซึ่งหากใครที่ติดตามข่าวสารพลังงานมาตลอดก็จะทราบดีว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่ ปตท. ทำ ใช่เพื่อใคร แต่ก็เพื่อสเถียรภาพทางพลังงานของคนทั้งชาตินั่นเอง … อันนี้หน่ะแชร์เถอะ เพื่ออนาคตของลูกหลาน เพื่อความจริงเรื่อง ปตท. จะได้ไม่ให้ใครมาหลอกเรา ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ไขข้อสงสัย-ปตท-เพื่อใคร/
  5. รองปลัดคลังสวนกลับ คตง. สตง. ปตท หมิ่นศาล กั๊กข้อมูลปกปิดความผิดตัวเอง นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวในฐานะเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าจะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่กรณีที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ระบุว่า บมจ.ปตท. (PTT) คืนท่อก๊าซให้กระทรวงการคลังไม่ครบถ้วนและรายงานข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐว่า ข้อกล่าวหาทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าว ปราศจากเหตุและผลทุกประการ นอกจากนั้น ยังมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้ทำความเห็นไปยังศาลปกครองและศาลปกครองได้ตอบยืนยันเป็นทางการแล้วว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินเรียบร้อยแล้ว อีกทั้ง คตง. และ สตง.ก็รู้ว่าที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดก็มีคำวินิจฉัยเป็นที่สุดแล้วว่า การแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว การที่ คตง.และ สตง. ยังเห็นว่าไม่ครบจึงเท่ากับเป็นการดูหมิ่นศาลปกครอง อีกทั้งยังปกปิดความผิดของตัวเองที่รับรองงบการเงินของ บมจ.ปตท.ที่ผ่านมาอย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งที่ สตง. เป็นผู้ทักท้วงว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินยังไม่ครบถ้วน รวมทั้งละเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีที่มีปัญหาโดยได้ข้อยุติต่อไป แต่กรณีนี้การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกายังไม่เป็นที่ยุติ คตง.กับ สตง.กลับมาสรุปเองว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินยังไม่ครบถ้วน และใช้อำนาจกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และรายงานเท็จ นายอำนวย กล่าวว่า พฤติกรรมของ คตง.และ สตง.ดังกล่าวเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตเป็นอย่างยิ่ง สำหรับข้อเท็จจริงที่ คตง.และ สตง. ตั้งใจไม่แถลงให้สื่อมวลชนและประชาชนทราบ คือ ประเด็นที่ 1 เรื่องความครบถ้วนถูกต้องของทรัพย์สินที่ .ปตท.ต้องแบ่งแยกและโอนให้กระทรวงการคลังนั้น ครม.มีมติมอบหมายกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังไปแบ่งแยกทรัพย์สินให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ สตง.ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง ทั้งนี้หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายให้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นที่ยุติต่อไป กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์เป็นผู้ดำเนินการ กรมธนารักษ์จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำการตรวจสอบและแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษา โดยในระหว่างนั้น ปตท.ก็ได้รายงานผลการดำเนินการให้ศาลปกครองสูงสุดทราบทุกระยะ โดยดำเนินการตรวจสอบรายการทรัพย์สินที่จะแบ่งแยกเสร็จสิ้นและรายงานให้กระทรวงการคลังเห็นชอบ จากนั้นลงนามในบันทึกแบ่งแยกทรัพย์สินเมื่อวันที่ 24 ก.ย.51 จากนั้นวันที่ 11 มิ.ย.51 กระทรวงการคลังได้แจ้งการตรวจสอบและแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท.ที่จะโอนมาให้เพื่อให้ สตง.ตรวจสอบ หลังจากนั้นได้ไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมายตามจังหวัดต่างๆ ที่เป็นที่ตั้งของทรัพย์สินครบถ้วนเมื่อวันที่ 28 พ.ย.51 ปตท.ถึงรายงานสรุปผลการดำเนินการต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.51 และศาลมีความเห็นว่าดำเนินการตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ก.พ.52 สตง.มีหนังสือลับถึงศาลปกครองสูงสุดและนายกรัฐมนตรี โดยเห็นว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษายังไม่ครบ โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า “ทั้งนี้การดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินของ บมจ. ปตท. ให้กระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดจะครบถ้วนและเป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดซึ่งคำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่ยุติ” วันที่ 10 มี.ค.52 ศาลปกครองได้มีหนังสือตอบ สตง.ว่า ศาลปกครองได้ติดตามการดำเนินการตามคำพิพากษาและรายงานให้ศาลทราบ ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ถูกฟ้อง คดีที่ 1-4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว “เอกสารฉบับลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 และวันที่ 10 มีนาคม 2552 นี้ คตง. และ สตง. ตั้งใจปกปิดไม่แถลงต่อสื่อมวลชนและประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นการให้ข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ นอกจากนี้ในระหว่างดำเนินการก็ได้มีผู้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้วินิจฉัยว่าการแบ่งแยกและโอนทรัพย์สินดังกล่าว ยังไม่ครบถ้วนอีกหลายครั้ง ซึ่งศาลปกครองก็ได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องและยืนยันท้ายคำฟ้องมาโดยตลอดว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 ได้แบ่งแยกและโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 ที่ประชุมตุลาการศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีมติยืนยันเช่นเดียวกันว่าผู้ถูกฟ้องคดี ได้แบ่งแยกและโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว ในส่วนนี้ คตง.และ สตง. ก็จงใจปิดบังไม่ให้ข้อเท็จจริงแก่สื่อมวลชนและประชาชน” นายอำนวย กล่าว ข้อเท็จจริงอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือ สตง.เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของ บมจ.ปตท.โดย สตง.รับรองแบบไม่มีเงื่อนไขมาโดยตลอด ทั้งที่ สตง.เองเป็นผู้ทักท้วงมาโดยตลอดว่า ปตท.โอนทรัพย์สินไม่ครบ เท่ากับว่า สตง.ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และผู้ถือหุ้นของ ปตท. ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงและต้องมีผู้รับผิดชอบ ส่วนประเด็นเรื่องการละเว้นไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 ส.ค.50 และรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จนั้น กรมธนารักษ์จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำการตรวจสอบและแบ่งแยกทรัพย์สินและเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ คณะกรรมการได้รายงานให้กรมธนารักษ์ทราบและขอความเห็นชอบจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก ครม. โดยกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานได้รายงานให้ ครม. รับทราบ รายงานศาลปกครอง เพื่อพิจารณาว่าเป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ และรายงาน สตง. เพื่อตรวจสอบตามมติ ครม. จึงเป็นแนวทางปฏิบัติราชการปกติทั่วไป ครม. มิได้มีมติให้ สตง. ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องก่อน แล้วจึงให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง รายงาน ครม.หรือศาลปกครองแต่อย่างใด การดำเนินการของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ และ บมจ.ปตท. จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ครม.มอบหมาย และมิได้มีการรายงานข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จแต่ประการใด ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/สวนกลับ-คตง-สตง/
×
×
  • สร้างใหม่...