ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สวัสดีค่ะทุกท่าน เช้าวันจันทร์. ทุกท่านคงมีพลังขึ้นเยอะ. ได้หยุดพักผ่อน2วัน. ขอให้ทุกคนตัดสินใจอย่างถูกต้องนะค่ะ. กำไรทุกการลงทุนค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับวันจันทร์ครับทุกๆท่าน

ขอบคุณสำหรับข่าวสารข้อมูลและความบันเทิงโดยเฉพาะ..อาหารของคุณต่ายทอง(อยากหม่ำ..ทุกทีเลยที่เห็น)อิอิ

ติดตามน้องทองกันต่อไปว่าจะพาชาวเราไประทึกกันที่ใหนอีก.. :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีตอนเช้าอันเสียว สยองค่ะทุกท่าน บอกตามตรงว่าจิตตกอย่างมาก

เล่นแผนไหนดีนะ น้องโป๊บ ว่าไงจ้า อ่านกูรูบอกจะมีรีบาวน์ แต่ตอนนี้มันย้อยลง ๆๆๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีตอนเช้าอันเสียว สยองค่ะทุกท่าน บอกตามตรงว่าจิตตกอย่างมาก

เล่นแผนไหนดีนะ น้องโป๊บ ว่าไงจ้า อ่านกูรูบอกจะมีรีบาวน์ แต่ตอนนี้มันย้อยลง ๆๆๆ

 

นั่งดูครับ 5555555555 อย่าไปเครียด ผมยุ่งจนลืมมันไปเลย วันนี้งานเยอะมาก มานั่งดู เออมึงยังไม่ร่วง ก็ยังโอเค ยังพอหายใจได้นิดหน่อย :_cd

 

ขอให้วันนี้ กรีซประกาศว่า สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้แล้วเถอะ มันคงจะมีอะไรๆ ดีขึ้น :17

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะพี่กระต่าย น้องโป๊ป ป้ารี พี่กบ คุณญ่า คุณบอย และทุกคนนะคะ โชคดีมีกำไรถ้วนหน้านะคะ สุขภาพแข็งแรงนะคะ

 

หวัดดีค่ะ คุณกีร์ พี่บอย น้องโป๊ป พี่ต่าย พี่กบ ป้ารี คุณตี๋ คุณป้าข้างบ้าน

คุณด.ช. คุณอาร์ท คุณนุช ลุงทอง และ เพื่อนๆ ทุกคนค่ะ :D

เป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนนะคะ สู้ ๆ ไปด้วยกันค่ะ slime_v.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

หวัดดีค่ะ คุณกีร์ พี่บอย น้องโป๊ป พี่ต่าย พี่กบ ป้ารี คุณตี๋ คุณป้าข้างบ้าน

คุณด.ช. คุณอาร์ท คุณนุช ลุงทอง และ เพื่อนๆ ทุกคนค่ะ :D

เป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนนะคะ สู้ ๆ ไปด้วยกันค่ะ slime_v.gif

 

ขอบคุณนะคะ คุณญ่า เป็นกำลังใจให้ทุกๆคนค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ef9BSz.jpg

u7m8KM.jpg

GQUchQ.jpg

 

 

รีบๆ ผสมกันเร็วๆ หน่อยเหอะ ลุ้นกันข้ามปาเทกเรย เห้อ..

 

 

อรุณสวัสดิ์คับ คุณกี้ น้องญ่า น้องโป๊ป คุณต่าย พี่กบ คุณป้ารี คุณป้าข้างบ้าน คุณนุช คุณนุ่น คุณแพท คุณตาปี คุณตี๋ และ หนุ่มหล่อสาวสวยทุกๆ ท่านด้วยคับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

 

 

รีบๆ ผสมกันเร็วๆ หน่อยเหอะ ลุ้นกันข้ามปาเทกเรย เห้อ..

 

 

อรุณสวัสดิ์คับ คุณกี้ น้องญ่า น้องโป๊ป คุณต่าย พี่กบ คุณป้ารี คุณป้าข้างบ้าน คุณนุช คุณนุ่น คุณแพท คุณตาปี คุณตี๋

 

และ หนุ่มหล่อสาวสวยทุกๆ ท่านด้วยคับ

 

 

ประโยคท้ายสุด หนุ่มหล่อรวมถึงตัวเองด้วยหรือเปล่าคร๊าบ

แล้วพี่บอยเป็นหนุ่มผมยาวประมาณในรูปไหม

 

โชดดีในการเทรดนะค้าน้องญ่า พี่บอย และทุกๆคน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนตัวเอง..ติดดอยสูงทำงัยดี แผนส่วนตัวจริงๆ ค่ะ

ตอนนี้ดอยสูงมาก จะคัทก้อเยอะมากแล้ว..รอจนใจไม่อยาก

คัทแล้ว ทำใจไม่ได้ 55+ :P แต่รอบนี้คงต้องทำ..จะคัททั้งหมด

หรือ แค่ครึ่งแล้วแต่ รอช่วงจังหวะ ทองรีบาวน์ คัทครึ่งนึง แล้ว

ก้อคงต้องเปิด S ลงมา คิดว่ารีบาวน์ได้ คงไปได้ไม่ไกล

เพราะตอนนี้ ดอล รายวันเค้า ใกล้ๆ ย่อตัวเต็มที

(ดอลแค่ย่อตัว ทองก้อแค่รีบาวน์ค่ะ)

คิดว่าทอง คงรีบาวน์ได้บ้างค่ะ แต่ไม่น่าไกลมาก แล้วลงต่อ

ตอนนั้นค่อยว่ากันอีกทีค่ะ..

เป็นความเห็นส่วนตัว สำหรับคนที่ติดดอยสูงๆ เหมือนกันนะคะ

เผื่อมีประโยชน์ ในการช่วยตัดสินใจค่ะ slime_v.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนตัวเอง..ติดดอยสูงทำงัยดี แผนส่วนตัวจริงๆ ค่ะ

ตอนนี้ดอยสูงมาก จะคัทก้อเยอะมากแล้ว..รอจนใจไม่อยาก

คัทแล้ว ทำใจไม่ได้ 55+ :P แต่รอบนี้คงต้องทำ..จะคัททั้งหมด

หรือ แค่ครึ่งแล้วแต่ รอช่วงจังหวะ ทองรีบาวน์ คัทครึ่งนึง แล้ว

ก้อคงต้องเปิด S ลงมา คิดว่ารีบาวน์ได้ คงไปได้ไม่ไกล

เพราะตอนนี้ ดอล รายวันเค้า ใกล้ๆ ย่อตัวเต็มที

(ดอลแค่ย่อตัว ทองก้อแค่รีบาวน์ค่ะ)

คิดว่าทอง คงรีบาวน์ได้บ้างค่ะ แต่ไม่น่าไกลมาก แล้วลงต่อ

ตอนนั้นค่อยว่ากันอีกทีค่ะ..

เป็นความเห็นส่วนตัว สำหรับคนที่ติดดอยสูงๆ เหมือนกันนะคะ

เผื่อมีประโยชน์ ในการช่วยตัดสินใจค่ะ slime_v.gif

 

ขอบคุณน้องญ่าที่บอกแนวทางให้ทราบ

เป็นกำลังให้นะค้า สู้ๆๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนตัวป้ารี คัดออกค่ะ. เหลือตัวสูงสุดไว้1ตัว. รอราคาต่ำสุดมาแล้วค่อยเฉลี่ยดอยค่ะ ใครมีวิธีไหนช่วยแชร์หน่อยนะค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าเห็น 1575 ผมจะใช้แผนบี ได้มั้ยเนี่ยยย :32

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

May 14, 2012

รายงานข่าวช่วงเช้า จาก TheBullionDesk, Reuters และ Infoquest

 

TheBullionDesk

 

ตลาดทองคำยังคงไม่ดีขึ้น ในช่วงการซื้อขายปลายสัปดาห์หลังจาก เจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค

ได้ออกมาเปิดเผยว่า ธนาคาร ขาดทุนจากการทำธุรกิจเทรดดิ้งเป็นจำนวนสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์

ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ถือเป็นหนึ่งในผู้ค้าทองคำแท่งรายใหญ่

ข่าวดังกล่าวจึงส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขณะที่ความกังวลที่ยังมีอยู่ในเรื่องวิกฤตหนี้ยุโรป

และตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่อ่อนแอก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน

 

โดยเมื่อคืนวันศุกร์ ราคาทองคำลงไปทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 1,573.01 เหรียญ โดยปรับตัวลดลง

22.34 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับที่เห็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นสัปดาห์

ที่ราคาทองคำ ปรับตัวลดลงมากที่สุดในปีนี้คือร่วงลงกว่า 3% เลยก็ว่าได้ ลอนดอน-เบส เทรดเดอร์

กล่าวว่า ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและไม่สามารถคาดการณ์ได้ในตอนนี้ โดยตลาดกำลังโต้

ตอบต่อความกังวลในเศรษฐกิจระดับมหัพภาค ในส่วนทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจของจีน มีการแสดง

ให้เห็นถึงเศรษฐกิจของจีนกำลังชะลอตัวในตัวเลขที่ประกาศออกมาเมื่อวันพฤหัสบดี รวมไปถึงตัว

เลขเศรษฐกิจที่ออกมาเมื่อวันศุกร์เป็นจำนวนมากของจีน

 

ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนประจำเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 9.3% จากปีก่อนหน้านี้

แต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะออกมาเพิ่มขึ้น12.1% นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกประจำเดือน

เมษายนเพิ่มขึ้น 14.1% แต่ก็ยังต่ำกว่าการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 15.1% อีกทั้ง CPI จีน

ประจำเดือนเมษายนออกมาตรงตามคาดการณ์คือ เพิ่มขึ้น 3.4% ในขณะที่ PPI ลดลง 0.7%

เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 0.5%

 

อย่างไรก็ดี ยังมีข่าวร้ายต่อเนื่องมาจากทางกรุง บรัสเซิลส์ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปประกาศว่า

เศรษฐกิจยูโรโซนในปัจจุบันอยู่ในภาวะถดถอยแต่ก็ไม่มาก ทั้งนี้ระบุว่า ดูเหมือนเศรษฐกิจสเปน

จะยังคงอยู่ในภาวะถดถอยตลอดปีนี้ด้วยอัตราการหดตัวของเศรษฐกิจที่ระดับ 1.8% ในขณะที่

ภาคการธนาคารของประเทศยังคงอยู่ในภาวะตึงเครียด นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่ากรีซอาจ

ถูกบังคับให้ออกจากยูโรโซน ซึ่งไม่มีเวลาเหลืออีกแล้วในการจัดตั้งรัฐบาลหลังจากช่วงสุดสัปดาห์

ของการเลือกตั้งไปจนถึงเส้นตายในสิ้นเดือนมิถุนายนสำหรับการรับเงินช่วยเหลืองวดใหม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรีซนัดหัวหน้าพรรค​การ​เมือง ถก​เฮือกสุดท้ายจัดตั้งรัฐบาลผสม

 

ข่าวต่างประ​เทศ RYT9.COM -- จันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2555 10:51:39 น.

 

กรีซนัดหัวหน้าพรรค​การ​เมือง ถก​เฮือกสุดท้ายจัดตั้งรัฐบาลผสม

 

​ทำ​เนียบประธานาธิบดีกรีซ มี​แถลง​การณ์ว่า นายคา​โรลอส ปาปู​เลียส

ประธานาธิบดีกรีซ ​ได้กำหนดพบปะหารือกับบรรดาหัวหน้าพรรคต่างๆ ​

ในกรีซ​ในวันนี้(14 พ.ค.) ​ใน​ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะจัดตั้งรัฐบาล

ผสมของกรีซ หลังผล​การ​เลือกตั้งทั่ว​ไป​ในกรีซ(​เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม) ​

ไม่มีพรรค​ใด​ได้คะ​แนน​เสียงข้างมาก ส่งผล​ให้​เกิด​ความวิตกกังวลว่ากรีซ

อาจจะต้องถอนตัวออกจาก​การ​เป็นสมาชิกของยู​โร​โซน

 

อย่าง​ไร​ก็ตาม ข้อตกลง​ใน​การจัดตั้งรัฐบาลผสมของกรีซจะต้องบรรลุก่อน

วันพฤหัสบดีที่จะ​ถึงนี้ ​ซึ่งจะมี​การประชุมรัฐสภาของกรีซ หากยังตกลงกัน​ไม่​ได้

คาดว่ากรีซจะจัด​ให้มี​การ​เลือกตั้งขึ้นอีกครั้งราว​เดือนมิถุนายนนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2555 06:03

 

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

เจ้าหน้าที่เฟดมองต่างมุมประเด็นแนวโน้มจ้างงานและกำหนดเวลาขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในทิศทางที่เหมาะสมท่ามกลางภาวะเสี่ยงรอบด้าน

 

 

นายนารายานา โคเชอร์ลาโคทา ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินนิอาโปลิส เห็นว่า เฟด ควรพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ พิจารณาจากการปรับตัวลงของอัตราการว่างงาน และการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา สะท้อนว่า เฟด ควรคุมเข้มนโยบายการเงินในเร็วๆนี้ แต่นายโคเชอร์ลาโคทา ไม่มีสิทธิออกเสียงในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เอฟโอเอ็มซี)ปีนี้

 

ขณะที่ นางแซนดรา เพียนัลโต ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ เตือนว่า ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตในอัตราปัจจุบันต่อไป จะต้องใช้เวลานาน 2-3 ปี ก่อนที่สหรัฐจะบรรลุภาวะการจ้างงานเต็มที่ ซึ่งการให้ความเห็นที่ขัดแย้งกันในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการจ้างงาน คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เจ้าหน้าที่เฟด มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องที่ว่า เฟด ควรตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ 0 % เป็นเวลานานเพียงใด โดยเฟด คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับนี้มาตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 2551

 

นางเพียนัลโต ซึ่งเป็นสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงในเอฟโอเอ็มซี ในปีนี้ บอกว่า "อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้ เพื่อสร้างงานได้มากขึ้น และเพื่อที่อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ 6 % ซึ่งเป็นอัตราที่เท่ากับการจ้างงานสูงสุด"

 

นางเพียนัลโต เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่เฟด ที่สนับสนุนการตัดสินใจของเฟดเมื่อเดือนเม.ย.ให้ตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำจนถึงปลายปี 2557 และเห็นว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 2.5 % ต่อปีจะส่งผลให้สหรัฐ ต้องใช้เวลา 2-3 ปีในการกลับคืนสู่ภาวะการจ้างงานเต็มที่

 

รัฐบาลสหรัฐ รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ค.ว่า อัตราการว่างงานในสหรัฐ ลดลงสู่ 8.1 % ในเดือนเม.ย. เนื่องจากมีชาวสหรัฐจำนวนมากยิ่งขึ้นที่เลิกหางานทำ และในวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด กล่าวว่า นโยบายการเงินในขณะนี้ อยู่ในจุดที่ค่อนข้างเหมาะสมแล้ว แต่ก็ให้สัญญาว่า จะดำเนินมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรอบใหม่ ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอลง

 

หลังจากสหรัฐ ออกรายงานเมื่อวันศุกร์ที่แล้วว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 115,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. แต่นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดการณ์ว่า มีโอกาสราว 1 ใน 3 ที่เฟดจะดำเนินมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรอบใหม่

 

ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เฟด 2-3 คน ออกมากล่าวคัดค้าน การผ่อนคลายนโยบายการเงินลงไปอีก แต่นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก สนับสนุนให้เฟด ผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม

 

สวนทางกับ นายโคเชอร์ลาโคทา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสมาชิกส่วนน้อยของเฟด ที่สนับสนุนให้เฟด ถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในปีนี้

 

นายโคเชอร์ลาโคทา กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความโปร่งใส ในการดำเนินนโยบายการเงิน และเรียกร้องให้เฟด ดำเนินขั้นตอนเพิ่มเติมในการเพิ่มความโปร่งใสให้แก่จุดยืนของเฟด โดยบอกว่า นโยบายด้านการสื่อสารของเฟด มีส่วนช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ให้อยู่ใกล้ระดับเป้าหมาย 2 % ที่เฟดตั้งไว้ และทำให้เฟด ต้องรับผิดชอบต่อสาธารณชน หากเกิดช่องว่างใดๆขึ้นระหว่างคำแนะนำของเฟดกับปฏิบัติการของเฟด และเห็นว่า การสื่อสาร มีส่วนช่วยให้เฟด สามารถควบคุมนโยบายได้มากยิ่งขึ้น ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดอยู่ใกล้ 0 % ก็ตาม

 

นายโคเชอร์ลาโคทา กล่าวว่า "อัตราดอกเบี้ย ไม่สามารถลดต่ำลงไปกว่านี้ได้อีกแล้ว แต่วิธีการหนึ่งในการใช้นโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบัน คือการชี้นำการคาดการณ์ของสาธารณชนในเรื่องที่ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะอยู่ในระดับต่ำมากเป็นเวลานานเพียงใด และจะปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงใดเมื่อเฟด เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว"

 

ด้านนายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสายเหยี่ยวของเฟด ออกมาแสดงความเห็นเช่นกัน แต่ไม่ได้ระบุเกี่ยวกับนโยบายการเงิน กล่าวเพียงว่า สหรัฐ "มีประวัติในการรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี" และตั้งข้อสังเกตว่า อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ถึงแม้เศรษฐกิจเผชิญกับเหตุร้ายแรงหลายประการ อย่างเช่น ภัยธรรมชาติในญี่ปุ่น และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐ

 

Tags : เฟด

 

 

เศรษฐกิจ-หุ้นหุ้น-การลงทุนposttoday

ฟิทช์ลดเครดิต เจพีมอร์แกน

12 พฤษภาคม 2555 เวลา 08:36 น

 

ฟิทช์ลดอันดับเครดิตเจพีมอร์แกน เชสจาก AA- สู่ A+ หลังธนาคารขาดทุนหนัก 2 พันล้านดอลล่าร์

 

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับเครดิตระยะยาวของเจพีมอร์แกน เชส สู่ระดับ A+ จาก AA- เมื่อวานนี้ โดยระบุถึงความเสี่ยงด้านชื่อเสียงและความบกพร่องในการกำกับดูแลความเสี่ยง หลังจากที่ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐได้ออกมาเปิดเผยว่า ธนาคารขาดทุนจากการทำธุรกิจเทรดดิ้งเป็นจำนวนสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ขณะเดียวกัน ฟิทช์ยังได้ประกาศเครดิตพินิจแน้มโน้มเป็นลบแก่อันดับเครดิตระยะยาวของบริษัทแม่และบริษัทในเครือทั้งหมดของธนาคารด้วย

 

ความเคลื่อนไหวของฟิทช์ในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่เจพีมอร์แกนเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ธนาคารขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการซื้อขายหลักทรัพย์

 

แม้ฟิทช์มีความเห็นว่า ตัวเลขขาดทุนดังกล่าวเป็นจำนวนที่สามารถจัดการได้ แต่ฟิทช์ก็เชื่อว่า ความเสี่ยงด้านชื่อเสียงและการกำกับดูแลความเสี่ยงของเจพีมอร์แกนไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การจัดอันดับที่ระดับ AA- อีกต่อไป

 

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะถูกลดอันดับ แต่ฟิทช์ระบุว่า เจพีมอร์แกน เชส ยังคงมีบทบาทสำคัญในตลาดสหรัฐและจะยังคงขยายตัวได้ต่อไปในตลาดการเงินทั่วโลก เนื่องจากทุนของธนาคารยังคงแข็งแกร่งเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารระดับโลกอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้เจพีมอร์แกนบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการขาดทุนได้

 

นอกจากนี้ ฟิทช์ยังระบุด้วยว่า ความเคลื่อนไหวในอนาคตของฟิทช์เกี่ยวกับการจัดอันดับเครดิตของเจพีมอร์แกนนั้นจะขึ้นอยู่กับว่า เจพีมอร์แกนดำเนินการรับมืออย่างไรกับสิ่งที่ฟิทช์มองว่าเป็นความบกพร่องในการกำกับดูแลและบริหารจัดการความเสี่ยงจนนำไปสู่การขาดทุนดังกล่าว

 

 

 

 

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ

วันที่ 13 พฤษภาคม 2555 06:10

'เบอร์นันเก้'จี้คองเกรสลดความเสี่ยงการคลังด่วน!

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

"เบอร์นันเก้"เตือนสภาคองเกรสเร่งลดความเสี่ยงด้านการคลังก่อนสิ้นปี ก่อนที่ปัญหานี้จะฉุดการเติบโตศก.ของประเทศ

 

เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวต่อสมาชิกสภาคองเกรส ในการประชุมที่ผ่านมาว่า ถ้าหากสภาคองเกรส ไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะ"หน้าผาทางการคลัง" ภายในช่วงสิ้นปีนี้ ภาวะหน้าผาทางการคลัง หรือการที่มาตรการปรับลดงบรายจ่ายและมาตรการปรับขึ้นภาษี จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีหน้า ก็จะสร้างความเสียหายต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งอยู่ในภาวะเปราะบางอยู่แล้ว

 

เบอร์นันเก้ เคยเตือนมาแล้วหลายครั้งว่า ถ้าหากสภาคองเกรส ไม่แก้ไขปัญหาหน้าผาทางการคลัง ปัญหานี้ ก็จะส่งผลลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐ

 

เบอร์นันเก้ เคยกล่าวเมื่อเดือนเม.ย.ว่า "สิ่งที่สำคัญมากก็คือ ถ้าหากเจ้าหน้าที่การคลังไม่ดำเนินการใดๆ ปัญหาหน้าผาทางการคลัง จะมีขนาดใหญ่มากจน ถึงขั้นที่ทำให้ผมคิดว่า ไม่มีโอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐ จะสามารถชดเชยผลกระทบที่เศรษฐกิจได้รับจากปัญหานี้ได้"

 

แมกซ์ บอคัส ประธานคณะกรรมาธิการกำหนดภาษี ประจำวุฒิสภาสหรัฐกล่าวว่า "คนที่ไม่ได้เป็นอัจฉริยะก็สามารถรู้ได้ว่า ภาวะหน้าผาทางการคลังเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง" ซึ่งสมาชิกสภาคองเกรส จำเป็นต้องรับมือกับประเด็นขัดแย้งทางการคลังหลายประเด็นก่อนสิ้นปีนี้

 

มาตรการปรับลดภาษี ที่ประกาศใช้ในสมัยที่จอร์จ ดับเบิลยู บุช ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ กำลังจะหมดอายุลงในช่วงสิ้นปี 2555 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เสียภาษีเกือบทุกรายในสหรัฐ จำเป็นต้องจ่ายภาษีมากขึ้นในปีหน้า นอกจากว่า จะมีการต่ออายุมาตรการปรับลดภาษีออกไป

 

มาตรการปรับลดงบประมาณขนาด 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ในโครงการของรัฐบาลกลาง จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีหน้า เป็นผลจากการประนีประนอมกันด้านงบประมาณในปีที่แล้ว และเป็นที่คาดกันว่า สหรัฐจะกู้ยืมเงิน จนชนเพดานการกู้ยืมอีกครั้ง ในช่วงสิ้นปีนี้ และสภาคองเกรส จำเป็นต้องอนุมัติให้มีการปรับขึ้นเพดานการกู้ยืม ไม่เช่นนั้นหน่วยงานรัฐบาลบางแห่ง อาจจะต้องพักการดำเนินงาน

 

สภาคองเกรส เคยเผชิญความขัดแย้งอย่างมากในเรื่องเพดานการกู้ยืม ในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนั้น สั่นคลอนความเชื่อมั่นในความรับผิดชอบทางการคลังของสหรัฐ และส่งผลให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง

 

มาตรการปรับลดภาษี ที่หักจากค่าจ้างของประธานาธิบดีบารัก โอบามา จะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธ.ค.ปีนี้ นอกจากนี้ มาตรการภาษีขั้นต่ำทางเลือก (AMT) อาจส่งผลให้ชนชั้นกลางในสหรัฐจำนวนมากยิ่งขึ้นต้องจ่ายภาษีมากกว่าเดิม

 

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2555 05:56

กรีซดิ้นเฮือกสุดท้ายตั้งรัฐบาลผสม

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

ประธานาธิบดีกรีซเดินหน้าความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อตั้งรัฐบาลผสม ด้านสื่อรายงานเลือกตั้งรอบ 2 ไม่วันที่ 10 ก็วันที่ 17 มิ.ย.นี้

 

 

ทำเนียบประธานาธิบดีกรีซ เผยว่า ประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาสของกรีซ จะดำเนินความพยายามครั้งสุดท้าย เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม หลังผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา

 

แถลงการณ์นี้ มีขึ้นหลังจากปธน.ปาปูลิอาสได้พบกับนายอีแวนเจลอส เวนิเซลอส ผู้นำพรรคปาสก ซึ่งได้คืนอำนาจในการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแก่ประธานาธิบดี หลังจากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคฝ่ายซ้ายหรือซีริซาได้ ในการเจรจาเมื่อวันศุกร์ โดยนายเวนิเซลอส ได้รับมอบอำนาจดังกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้ว ปธน.ปาปูลิอาส จะจัดการประชุมกับผู้นำแต่ละพรรค จากพรรคการเมืองทั้ง 7 พรรค ที่จะเข้าร่วมในสมัชชาชุดใหม่

 

ระหว่างการพบปะกันเมื่อวานนี้ นายเวนิเซลอส กล่าวกับปธน.ปาปูลิอาสว่าพรรคปาสก พรรคประชาธิปไตยใหม่ และพรรคประชาธิปไตยซ้าย ซึ่งเป็นพรรคขนาดเล็ก ที่รั้งอันดับสุดท้ายในการเลือกตั้งที่ผ่านมา เห็นพ้องกัน ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล มีวาระ 2 ปี เพื่อทำให้กรีซ ยังคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป และจะมีการเจรจาครั้งใหม่ เกี่ยวกับเงื่อนไขบางประการ ของข้อตกลงช่วยเหลือ กับกลุ่มผู้ปล่อยกู้ระหว่างประเทศเพื่อรับมือวิกฤตหนี้ที่รุนแรง

 

นายเวนิเซลอส ระบุว่า ความพยายามต่างๆควรมุ่งเน้นไปที่การชักจูงให้พรรคปาสก มาเข้าร่วมรัฐบาลผสม แต่แต่นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคซีริซา ยังคงคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัด ที่มีการกำหนดขึ้นภายใต้ข้อตกลงกับสมาชิกอื่นๆของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) นับแต่ปี 2553 เพื่อแลกกับเงินกู้จำนวนหลายพันล้านยูโร ในการช่วยให้กรีซรอดพ้นจากการผิดนัดชำระหนี้

 

พรรคซีริซา เรียกร้องให้มีการพิจารณาทบทวนอย่างจริงจัง เกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดบางส่วน ซึ่งทำให้ประชาชนชาวกรีซ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย

 

บรรดาเจ้าหน้าที่และนักวิเคราะห์ ทั้งในและต่างประเทศ เตือนว่า หากกรีซ ไม่สามารถทำตามตารางเวลา และเป้าหมายต่างๆ ภายใต้ข้อตกลงการรับเงินช่วยเหลือท่ามกลางความไร้เสถียรภาพทางการเมือง กลุ่มผู้ปล่อยกู้ อาจจะยุติการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลืองวดต่อไป และกีซ จะเผชิญกับภาวะล้มละลาย และอาจจะต้องออกจากยูโรโซน

 

รัฐธรรมนูญกรีซ ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาสำหรับการพิจารณาจัดตั้งรัฐบาล ภายใต้การสนับสนุนของประธานาธิบดี แต่หากความพยายามครั้งนี้ล้มเหลว รัฐธรรมนูญ จะให้ทางเลือกแก่ปธน.ปาปูลิอาสในการแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการ ซึ่งมีประธานศาลฎีกา หรือประธานสภาแห่งรัฐ เป็นผู้นำรัฐบาล ก่อนที่จะกำหนดวันเลือกตั้งรอบใหม่ เมื่อมีการประชุมรัฐสภาชุดใหม่ในวันที่ 17 พ.ค.

 

ขณะที่ สื่อมวลชนของกรีซ รายงานว่า การเลือกตั้งรอบ 2 อาจจะมีขึ้นในวันที่ 10 หรือ 17 มิ.ย. นี้

 

 

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ

วันที่ 13 พฤษภาคม 2555 06:15

แบงก์ชาติอังกฤษคงดบ.-ปิดฉากแผนคิวอี

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

ธนาคารกลางอังกฤษคงดอกเบี้ย พร้อมปิดฉากมาตรการคิวอีหวั่นเงินเฟ้อพุ่ง

 

ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) ยุติมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ เพราะความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ ที่อยู่ในระดับสูง มีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอังกฤษ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย และความเสี่ยงจากการเกิดวิกฤติหนี้ยูโรโซนครั้งใหม่ พร้อมกันนี้ บีโออี ยังประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.50% ด้วย

 

การยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) อาจสร้างความยากลำบากให้แก่พรรคร่วมรัฐบาลอังกฤษ ที่มีพรรคอนุรักษ์นิยมเป็นแกนนำ หลังจากฝ่ายรัฐบาล ได้รับผลกระทบจากการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในสัปดาห์ที่แล้ว โดยรัฐบาลอังกฤษ ดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดในช่วงนี้ เพื่อปรับลดหนี้สาธารณะที่ระดับสูงและรัฐบาล ก็หวังพึ่งพานโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในการบรรเทาแรงกดดันที่ประชาชนได้รับจากมาตรการรัดเข็มขัด ดังนั้นการยุติคิวอี จึงอาจสร้างความยากลำบากให้แก่ประชาชนและกระทบคะแนนนิยมในรัฐบาล

 

บีโออี ใช้เม็ดเงินใหม่ ในการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษไปแล้ว 3.25 แสนล้านปอนด์ ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อพันธบัตร 5 หมื่นล้านปอนด์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นบีโออี จึงตัดสินใจว่า นโยบายที่ทำมาสนับสนุนเศรษฐกิจมากพอแล้ว

 

รายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอ็มพีซี) ของบีโออี ประจำเดือนเม.ย.แสดงให้เห็นว่า สมาชิกเอ็มพีซี ส่วนใหญ่กังวลเรื่องเงินเฟ้อ และนายอดัม โพเสน ซึ่งเคยลงมติสนับสนุนให้ บีโออี ดำเนินมาตรการคิวอีเพิ่มเติมมาเป็นเวลานาน เลิกลงมติดังกล่าวในเดือนเม.ย.

 

นายเมอร์วิน คิง ผู้ว่าการบีโออี กล่าวในช่วงก่อนหน้านี้ว่า เศรษฐกิจอังกฤษมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างเชื่องช้าและต่อเนื่องในช่วงต่อไปในปีนี้ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเกินไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...