ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณคุณสมสีมากๆนะคะ :01

 

เคยผ่านช่วงวิกฤติมาค่ะ เข้าใจอารมณ์เลยเลยค่ะ

 

ตอนนี้ลินออกมานอกสนาม ขอฝึกวิชาให้ถนัดก่อน

 

เอาใจช่วยนะคะ รวยๆทุกวันค่ะ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GBX : วิเคราะห์ราคาทองคำ โดย โกลเบล็กฯ (14-02-13 | 16:26) รอบค่ำ

 

Submitted by admin on Thu, 02/14/2013 - 18:28

 

 

goldbar35_14.jpg

แนวโน้มราคาทองคำโลก (Spot Gold)

 

กลยุทธ์

วิเคราะห์ทางเทคนิค-ตามวิธีเส้นค่าเฉลี่ย ราคาทองคำปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันและ 10 วันที่ $1,650.30/Oz และ $1,661.22/Oz โดยราคาทองคำอยู่ในแนวโน้มขาลงเนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ย 10 วันยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน

 

ในคืนนี้ให้ระวังแรงขายเพิ่มถ้าราคาทองไม่สามารถสร้างฐานในกรอบ $1,648-1,654/Oz ได้แนะนำให้เข้าซื้อที่แนวรับ $1,625/Oz

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

HGF : วิเคราะห์ราคาทองคำ โดย ฮั่วเซ่งเฮงฯ (14-02-13 | 16:57) รอบค่ำ

 

Submitted by admin on Thu, 02/14/2013 - 18:32

 

 

ราคาทองคำมีแนวรับที่บริเวณ 1,640 ดอลลาร์ ซึ่งถ้าหลุดแนวรับ 1,635-1,640 ดอลลาร์ ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับฐานลงไปที่แนวรับถัดไปที่ 1,625 ดอลลาร์ ดังนั้นควรปิดสถานะซื้อออกไปก่อน และอาจเลือกเก็งกำไรฝั่งขายต่อไป โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,653-1,655 ดอลลาร์ ดังนั้นกรณีที่ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นมาที่บริเวณแนวต้าน 1,657-1,660 ดอลลาร์ ดอลลาร์อาจทยอยปิดสถานะซื้อสำหรับนักลงทุนที่เข้าเปิดสถานะซื้อที่บริเวณ 1,640 ดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตี 1 แล้ว พรุ่งนี้ค่อยลุ้นกันใหม่

ราตรีสวัสดิ์ค่ะน้องญ่า น้องลิน คุณ sr และทุกคนที่่น่ารัก

ฝันดีนะคะ

bye bye

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://www.facebook.com/WealthStation

ทองทรุดตัวหลุดแนว 1638 - 1640 ลงมาทำจุดต่ำใหม่ใกล้โลว์ก่อนหน้าที่ 1626 แบบ ซึมๆ ไม่มีดีด มีเด้งในระดับที่น่าพอใจ

ระยะเป้าหมายที่จะลงไปถึงอยู่โซนระหว่าง 1618 -1625 เป็นจุดหนึ่งที่เราจะดูอาการว่ามีแรงเข้าหนุนที่ดีพอหรือไม่ครับ

แนวต้าน 1639 1645 1652

แนวหนุน 1630 1625 1618 1612

เที่ยงนี้มีตัวเลขเกี่ยวกับทองๆ จากบทวิจัยของทาง "The Economist" มาให้อ่านครับผม

 

 

536944_505487479489732_1399878576_n.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

CGF : วิเคราะห์ราคาทองคำ โดย คลาสสิกโกลด์ฯ (15-02-13 | 09:22)

 

Submitted by admin on Fri, 02/15/2013 - 09:40

 

 

goldbar1_12.jpg

Price Movement:

ราคาทองคำในตลาด COMEX ปิดที่ 1,635.50 USDต่อออนซ์ลดลง -9.60 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบระหว่าง 1,649 – 1,632 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากการกลับมาของวิกฤติยูโรโซน เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4/2012 ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมาก หนุนค่าเงิน US Dollar ให้กลับมาแข็งค่าขึ้น ขณะเดียวกัน ข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐที่ลดลงเกินคาด เป็นแรงหนุนต่อค่าเงิน US Dollar อีกทาง ซึ่งเป็นปัจจับลบต่อราคาทองคำ นอกจากนั้น อุปสงค์ทองที่ลดลงในปี 2012 ซึ่งถือเป็นการลดลงครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นปัจจัยที่ส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในทอง และทำให้ราคาทองคำยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดทองคำยังมีปัจจัยลบกดดัน แต่การประชุมรมว.คลังกลุ่มจี-20 ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ อาจช่วยให้เกิดการฟื้นตัวของราคาทองคำ เนื่องจาก มีการคาดการณ์ว่า จะมีการหารือเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน และจะมุ่งความสนใจไปที่การอ่อนค่าของเยนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจช่วยลดภาวะสงครามค่าเงินลง โดยการกลับเข้าสู่เสถียรภาพของค่าเงิน จะช่วยหนุนราคาทองคำในระยะถัดไป ทั้งนี้ ภาพทางเทคนิค เริ่มส่งสัญญาณการชะลอการปรับตัวลดลง โดยบริเวณ 1,625/1,612 เป็นแนวรับสำคัญ อาจพบการ rebound กลับในบริเวณดังกล่าว

 

Technical Analysis:

ภาพกราฟทางเทคนิคทิศทางยังเป็นขาลง แต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอการปรับตัวลดลง ดังนั้น จับตาดูแนวรับ 1,625/1,612 อาจพบการ rebound กลับ ณ บริเวณรับดังกล่าว คาดว่า วันนี้มีแนวต้านบริเวณ 1,640/1,650 แนวรับบริเวณ 1,625/1,612 คำแนะนำ นักลงทุนที่เปิด Short ไว้ให้ปิดทำกำไรบริเวณแนวรับ 1,625/ 1,612 หรือ Trading ในกรอบแนวรับ แนวต้าน

 

Market Strategy

แนวโน้มระยะสั้น : อยู่ในกรอบ 1,600 – 1,700 แนะนำ นักลงทุนระยะสั้น Trading ในกรอบ

แนวโน้มระยะกลาง : อยู่ในกรอบ 1,600 – 1,850 แนะนำ ทยอยเปิด Long ตามแนวรับ

แนวโน้มระยะยาว : อยู่ในกรอบ 1,600 – 1,900 รอราคาอ่อนตัว เพื่อสะสม Long เพิ่ม

Key Point in Precious Market:

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำ ค่าเงิน USD แข็งค่า ( - ) ราคาน้ำมัน Nymex ทรงตัว ( +/- ) เงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อย ( + ) เฟดคงอัตราดอกเบี้ยต่ำและอัดฉีดเงินเข้าระบบ ( + ) ECB คงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม (+/-) การประชุม G7 ระบุอัตราแลกเปลี่ยนควรเป็นไปตามกลไกตลาด ( + )

 

ประเด็นที่ต้องติดตาม การประชุม G 20 วันที่ 15 – 16 ก.พ.

การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ วันศุกร์ ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนก.พ. ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติ เดือนธ.ค. ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิต เดือนม.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนก.พ.

SPDR ขาย 3.02 ถือทองจำนวน 1,322.97 ตัน

Spot Silver

ราคาโลหะเงินปิดที่ 30.35 USDต่อออนซ์ มีความเคลื่อนไหวระหว่าง 30.23 – 31.05 USDต่อออนซ์ ภาพกราฟทางเทคนิค ราคายังมีแนวโน้มเป็นขาลง การ rebound ขึ้นค่อนข้างจำกัด คาดว่าวันนี้มีแนวต้านบริเวณ 30.6/30.9 ส่วนแนวรับบริเวณ 29.8/29.6 แนะนำนัก Trading ในกรอบแนวรับ แนวต้าน

สรุปข่าวเศรษฐกิจ:

เศรษฐกิจโลก สหรัฐและสหภาพยุโรป(EU) ซึ่งมีสมาชิก 27 ชาติ ตั้งเป้าเริ่มเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี(FTA)ภายในเดือน มิ.ย. แม้แผนการดังกล่าวมีแนวโน้มจะเผชิญอุปสรรคมากมายก่อนที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจ ของทั้งสองฝ่ายได้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นข้อตกลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการก่อตั้ง องค์การการค้าโลก(WTO) เมื่อปี 2538 เพราะจะครอบคลุมผลผลิตครึ่งหนึ่งของโลกและการค้า 1 ใน 3 ทั้งยังสะท้อนการหมดความอดทนเพราะไม่มีข้อตกลงการค้าใหม่ๆ ระดับโลก ในอันที่จะลดภาษีศุลกากรและอำนวยความสะดวกทางการค้า

เศรษฐกิจสหรัฐ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ. ร่วงลง 27,000 ราย แตะระดับ 341,000 ราย ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 360,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 1,500 ราย แตะระดับ 352,500 ราย

เศรษฐกิจยุโรป ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)ของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2555 หลังจากที่ปรับตัวลง 0.1% ในไตรมาส 3 และเมื่อเทียบเป็นรายปี เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัว 0.9% เนื่องจากภาวะหดตัวในประเทศเศรษฐกิจใหญ่สุดของภูมิภาคอย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวลง 0.3% ขณะที่เยอรมนีหดตัวลง 0.6% และอิตาลีหดตัวลง 0.9% ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้สกุลเงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

เศรษฐกิจเอเซีย ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ)ปรับเพิ่มมุมมองในการประเมินภาวะเศรษฐกิจ ระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดแล้ว หลังเงินเยนอ่อนค่าลง และมีสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกช่วยคลายกังวลให้แก่เศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งต้องพึ่งพาการส่งออก นอกจากนี้ BOJ จะยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเชิงรุกผ่านทางการใช้อัตราดอกเบี้ย ที่ระดับ 0-0.10% และการซื้อสินทรัพย์ตราบเท่าที่มีความเหมาะสม

เศรษฐกิจเอเซีย เว็บไซต์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า จอร์จ โซรอส ทำเงินได้ราว 1 พันล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว จากการซื้อขายเงินเยน เนื่องจากญี่ปุ่นมุ่งมั่นที่จะทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เงินเยนอ่อนค่าลงแล้วประมาณ 14% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนแห่ขายเงินเยนเพราะการคาดการณ์ที่ว่า รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนายชินโซ อาเบะ จะสั่งการให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหา เงินฝืด

เศรษฐกิจเอเซีย ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งประเทศไทย(BOT) แจงผลขาดทุน 5.3 แสนล้านบาท เกิดจากแทรกแซงค่าเงินบาทในปี 2551 และขาดทุนจากส่วนต่างดอกเบี้ยอีกกว่าแสนล้านบาท ซึ่งการขาดทุนดังกล่าว แบงก์ชาติสามารถบริหารจัดการได้ และจะไม่ของบชดเชยจากรัฐบาล เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากรายจ่ายดอกเบี้ยที่สูงถึง 8% เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยรับที่อยู่ได้แค่ 2% และแบงก์ชาติเห็นว่า ไม่มีความจำเป็น ที่ต้องให้รัฐบาลตั้งงบประมาณมาใช้หนี้ หรือนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้

ทองคำ สภาทองคำโลก(WGC) เผยว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกในไตรมาส 4/2555 เพิ่มขึ้น 3.8% สู่ระดับ 1,195.9 ตัน จากไตรมาส 4/2554 ที่ระดับ 1,151.7 ตัน เนื่องจากปริมาณการใช้ทองคำของอินเดียปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการทองคำตลอดปี 2555 ลดลง 4% จากปี 2554 ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2552 รายงานของ WGC ระบุว่า อินเดียยังคงเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่สุดของโลก แซงหน้าจีน โดยปริมาณการใช้ทองคำของอินเดียในปี 2555 พุ่งขึ้น 41%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

​ทำ​เนียบขาวหนุนร่างกฎหมายที่จะ​ใช้​แทน​การลดรายจ่ายรัฐบาล

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 09:35:00 น.

​ทำ​เนียบขาว​ให้​การสนับสนุนร่างกฎหมายที่​เปิด​เผย​โดยสมาชิกวุฒิสภา จากพรรค​เด​โม​แครต ​เพื่อที่จะ​ใช้​แทน​การลดรายจ่ายของรัฐบาล​ในวงกว้างที่จะ​เกิดขึ้น​ใน​ เร็วๆนี้

​เมื่อวานนี้บรรดา​ผู้นำพรรค​เด​โม​แครต​ในวุฒิสภา​ได้​เสนอร่างกฎหมายวง ​เงิน 1.10 ​แสนล้านดอลลาร์​ใน​การประชุมลับ ​เพื่อที่จะ​ใช้​แทน​การปรับลดรายจ่าย 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ที่กำหนดจะมีขึ้น​ในวันที่ 1 มี.ค. ขณะที่สื่อท้องถิ่นรายงานว่ามาตร​การ​ใหม่ดังกล่าวมี​การ​แยก​การปรับลดราย จ่าย​และราย​ได้จาก​การจัด​เ​ก็บภาษีอัตรา​ใหม่​ในสัดส่วนที่​เท่าๆกัน

 

emnb_1_370236.gif

“วุฒิสมาชิกจากพรรค​เด​โม​แครต​ได้​เสนอ​แผนที่มี​ความสมดุล​เพื่อ​ เลี่ยง​การปรับลดงบประมาณ​ในวงกว้าง ​ซึ่งจะกระทบต่อ​เด็ก คนชรา​และ​เจ้าหน้าที่รัฐบาล ​โดย​แผนดังกล่าวจะรวม​ถึง​การลดลดค่า​ใช้จ่ายที่จะ​ไม่กระทบชนชั้นกลาง ขณะที่อุดช่อง​โหว่ที่จะ​เอื้อประ​โยชน์​แก่กลุ่มคนร่ำรวย" นาย​เจย์ คาร์นีย์ ​โฆษก​ทำ​เนียบขาวกล่าว

นายคาร์นีย์กล่าว​ใน​แถลง​การณ์ฉบับหนึ่งว่า ชาวอ​เมริกัน​ให้​การสนับสนุนอย่างมากต่อ​แนวทางที่วุฒิสมาชิกพรรค​เด​โม​ แครตกำลังดำ​เนิน​การ ​เนื่องจากพวก​เขา​ไม่สามารถยอมรับ​ได้ที่ชาวอ​เมริกันกลุ่มที่ร่ำรวยมากจะ สามารถจ่ายภาษีน้อยกว่ากลุ่มชนชั้นกลางอื่นๆ

​การลดรายจ่ายราว 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์มี​แนว​โน้มจะส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงานของรัฐบาล​ในปีนี้ ​โดยจะ​เริ่มตั้ง​แต่วันที่ 1 มี.ค. ตามที่พรรค​เด​โม​แครต​และพรรครีพับลิกัน​ได้ตกลงกัน​ไว้​ใน​เดือนม.ค.​ เพื่อคลี่คลายภาวะหน้าผาทาง​การคลัง ​หรือ fiscal cliff

​การลดรายจ่ายของรัฐบาล​โดยอัต​โนมัติ ​หรือ sequester ​ในภาษางบประมาณของรัฐบาลสหรัฐนั้น ​ได้ถูกรวม​ไว้​ในมาตร​การ​เพดานหนี้​เมื่อ​เดือนส.ค.2554 ​เพื่อบังคับ​ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติดำ​เนิน​แผน​การลดยอดขาดดุลระยะยาว

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวดู​เหมือน​แทบ​ไม่มี​โอกาสที่จะผ่าน​ความ​เห็นชอบจากสภา​ ผู้​แทนราษฎรที่มีพรรครีพับลิกันครอง​เสียงข้างมาก ​เนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติพรรครีพับลิกันต่าง​ก็คัดค้าน​การปรับขึ้น ภาษีรอบ​ใหม่​เพื่อ​แก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

ราคาทองคำฮ่องกง​เปิดตลาดวันนี้ ดิ่งลง​แตะ 15,190 HKD/tael

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 08:45:25 น.

สมาคม​แลก​เปลี่ยนทองคำ​และ​เงินของจีน ​เปิด​เผยว่า ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงดิ่งลง 100 ดอลลาร์ฮ่องกง ​เปิดที่ระดับ 15,190 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึง​ในวันนี้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ราคาดังกล่าว​เทียบ​เท่ากับ 1,645.26 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 10.83 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตรา​แลก​เปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.75 ดอลลาร์ฮ่องกง​ในวันนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

วอร์​เรน บัฟ​เฟตต์ ทุ่ม 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ซื้อกิจ​การ ​ไฮนซ์

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 10:00:40 น.

บริษัท ​เบิร์ก​เชียร์ ​แฮทธา​เวย์ ​ซึ่ง​เป็นบริษัท​เพื่อ​การลงทุนของนายวอร์​เรน บัฟ​เฟตต์ มหา​เศรษฐีนักลงทุน​ผู้​โด่งดังของสหรัฐ จะ​เข้าซื้อกิจ​การของบริษัท ​เอช.​เจ. ​ไฮน์ซ์ ​ผู้ผลิตอาหารราย​ใหญ่ ​เป็นวง​เงินมูลค่า 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ภาย​ในปีนี้ ​ซึ่ง​เป็น​การ​เข้าซื้อ​ในอุตสาหกรรมอาหารครั้ง​ใหญ่ที่สุดของ​โลก

 

emnb_1_370236.gif

ข้อตกลง​ซึ่ง​ได้รับ​ความ​เห็นชอบ​เป็น​เอกฉันท์จากคณะกรรม​การบริษัท​ไฮ น์ซระบุว่า ​เบิร์ก​เชียร์ ​แฮทธา​เวย์ ​และ 3G Capital ​ซึ่ง​เป็นบริษัท​ไพร​เวทอิควิตี้ จะ​เสร็จสิ้นขั้นตอน​การซื้อกิจ​การของ​ไฮน์ซ​ใน​ไตรมาส 3 ปีนี้ ​และจะ​เสริมสร้าง​การดำ​เนินงาน​ให้มี​ความ​แข็ง​แกร่ง​ในระดับ​โลก

​ทั้งนี้ บริษัท​ไฮน์ซก่อตั้ง​ในปี 2412 ​และดำ​เนินกิจ​การ​ในกว่า 200 ประ​เทศทั่ว​โลก ​โดยทางบริษัท​ได้​ทำตลาดซอสมะ​เขือ​เทศ ซอสชนิดต่างๆ ซุปสำ​เร็จรูป ​และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ

"ธุรกิจของ​ไฮน์ซมี​ความ​แข็ง​แกร่ง ​และมีศักยภาพที่จะ​เติบ​โต​ได้อีก" นายบัฟ​เฟตต์ ประธาน​และซีอี​โอ

ของ​เบิร์ก​เชียร์​แฮธา​เวย์ กล่าว

ด้านนายอ​เล็กซ์ ​เบห์ริง ​ผู้บริหารของ 3G Capital ​ซึ่ง​ได้​เข้าซื้อกิจ​การ​เบอร์​เกอร์คิง ​โฮลดิงส์ ​เมื่อปี 2553 กล่าวว่า "​เรา​เข้าซื้อกิจ​การของ​ไฮน์ซ​ก็​เพื่อต้อง​การหาลู่ทาง​ใน​การขยาย ธุรกิจ" สำนักข่าวซินหัวรายงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GBX : วิเคราะห์ราคาทองคำ โดย โกลเบล็กฯ (15-02-13 | 09:38)

 

Submitted by admin on Fri, 02/15/2013 - 10:01

 

 

goldbar2_13.jpg

 

 

กลยุทธ์การลงทุนในทองคำ

• นักลงทุนระยะสั้น(เล่น 1-2 วัน)

หากราคายืนเหนือแนวรับที่ $1,623/Oz ให้ซื้อ โดยมีจุดตัดขาดทุนที่ $1,620/Oz

• นักลงทุนระยะกลาง-ยาว

ให้ถือสถานะหากราคาไม่ต่ำกว่า $1,623/Oz

 

ภาพรวมตลาดวานนี้

Gold – ราคาทองคำโลกปิดปรับตัวลดลง $8.10/Oz หรือ 0.49% มาอยู่ที่ $1,633.70/Oz (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบวันอยู่ที่ $1,632.84-1,649.80)

ในคืนที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวลดลงจากผลผลิตมวลรวมยุโรปที่ออกมา -0.6% ซึ่งต่ำกว่าในงวดก่อนที่ -0.1% ทำให้นักลงทุนกลับมากังวลในวิกฤตหนี้ยุโรปอีกครั้ง นอกจากนี้ยอดผู้ขอรับสวัสดิการสหรัฐที่ออกมาปรับตัวลดลงกว่า 27,000 รายสู่ระดับ 341,000 รายทำให้เงินดอลลาร์แข็งซึ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาทองคำเพิ่มเติม ส่วนกองทุน SPDR ได้ปรับลดสถานะลงอีก 3.91 ตัน

 

แนวโน้มตลาดวันนี้

Gold – ในวันนี้หากราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวรับที่ $1,623/Oz ได้มีโอกาสปรับตัวลงต่ำได้ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากกองทุนSPDRปรับลดสถานะอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้มองกรอบราคาทองคำ $1,605-1,653/Oz

 

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้

• ยอดค้าปลีกอังกฤษ(MoM) เวลา 16.30 น.

• ดัชนีภาคการผลิตสาขานิวยอร์ก เวลา 20.30 น.

• ผลผลิตอุตสาหกรรมสหรัฐ (MoM) เวลา 21.15 น.

 

ปัจจัยบวก

• น้ำมัน WTI ปิดบวก 30 เซนต์ขานรับจำนวนคนว่างงานสหรัฐลดลง

• สภาทองคำโลกเผยความต้องการทองคำทั่วโลกช่วง Q4/2555 เพิ่มขึ้น 3.8%

ปัจจัยลบ

• ยูโรร่วงเทียบดอลล์ หลัง GDP ยูโรโซนหดตัวใน Q4/55

• หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุวิตกจีดีพีกลุ่มยูโรโซนหดตัว

• ดาวโจนส์ปิดลบ 9.52 จุดหลังจีดีพียูโรโซน,ญี่ปุ่นหดตัว

• สหรัฐเผยยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสัปดาห์ที่แล้วลดลงเกินคาด 27,000 ราย

• เศรษฐกิจยูโรโซนถดถอยหนัก หลังหดตัว 0.6% ในไตรมาส 4/2555

• สำนักงานสถิติเผยจีดีพีเบื้องต้นอิตาลีหดตัวลง 0.9% ในไตรมาส 4/2555

 

กลยุทธ์การลงทุนในโลหะเงิน

• นักลงทุนระยะสั้น(เล่น 1-2 วัน)

ให้รอสัญญาณกลับตัวก่อนเข้าซื้ออีกครั้ง

• นักลงทุนระยะกลาง-ยาว

ให้รอสัญญาณกลับตัวก่อนเข้าซื้ออีกครั้ง

สรุปภาพรวมตลาดวานนี้

Silver– ราคาโลหะเงินปิดปรับตัวลดลง $0.38/Oz หรือ 1.24% มาอยู่ที่ $30.35/Oz (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบวันอยู่ที่ $30.22-31.05/Oz) ราคาโลหะเงินปรับตัวลดจากผลผลิตมวลรวมยุโรปเริ่มกลับมาหดตัวอีกครั้งซึ่ง สะท้อนถึงวิกฤตหนี้ยูโรโซนยังคงไม่สามารถคลี่คลายได้ นอกจากนี้ยอดผู้รับสวัสดิการสหรัฐยังปรับตัวลงสู่ระดับ 341,000 รายซึ่งลดลงจากงวดก่อนกว่า 27,000 รายอีกด้วย

แนวโน้มตลาดวันนิ้

Silver – ในวันนี้หากราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวรับที่ $30.20/Oz ได้มีโอกาสปรับตัวลงต่ำได้ เนื่องจากยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปปรับตัวลง สำหรับในวันนี้มองกรอบราคาโลหะเงินที่ $29.90-30.75/Oz

Arbitrage ทองคำแท่ง-Gold futures

ทองคำแท่ง-ซื้อ(Long)ทองคำแท่งที่ราคา 23,240 จำนวน 50 บาท (ณ เวลา 15.00 14/2/56)

Gold Futures-ขาย(Short) GFJ 13 1 สัญญาที่ราคา 23,480 บาท (ณ เวลา 15.00 14/2/56)

ประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับราคาทองคำ

ปัจจัยบวก

สภาทองคำโลกเผยความต้องการทองคำทั่วโลกช่วง Q4/2555 เพิ่มขึ้น 3.8%

(+)สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกในช่วงไตรมาส 4/2555 เพิ่มขึ้น 3.8% สู่ระดับ 1,195.9 ตัน จากไตรมาส 4/2554 ที่ระดับ 1,151.7 ตัน เนื่องจากปริมาณการใช้ทองคำของอินเดียปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการทองคำตลอดปี 2555 ลดลง 4% จากปี 2554 ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2552(อ้างอิงจาก อินโฟเควสท์)

น้ำมัน WTI ปิดบวก 30 เซนต์ขานรับจำนวนคนว่างงานสหรัฐลดลง

(+)สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) เพราะได้แรงหนุนจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐที่ปรับตัวลดลง เกินคาดในรอบสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดวิตกกังวลหลังจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนและญี่ปุ่นหดตัวลงในไตรมาส 4/2555 สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 30 เซนต์ หรือ 0.31% ปิดที่ 97.31 ดอลลาร์/บาร์เรล (อ้างอิงจาก อินโฟเควสท์)

ปัจจัยลบ

สำนักงานสถิติเผยจีดีพีเบื้องต้นอิตาลีหดตัวลง 0.9% ในไตรมาส 4/2555

(-)สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (Istat) เปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เบื้องต้นของอิตาลีในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า และดิ่งลง 2.7% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 Istat ระบุว่าเศรษฐกิจที่หดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วป็นผลมาจาก กิจกรรมที่ซบเซาลงทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคการเกษตร โดยการหดตัวในไตรมาส 4 ปี 2555 ถือว่ารุนแรงที่สุดนับแต่ต้นปี 2552 ภายหลังการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส(อ้างอิงจาก อินโฟเควสท์)

เศรษฐกิจยูโรโซนถดถอยหนัก หลังหดตัว 0.6% ในไตรมาส 4/2555

(-)สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2555 หลังจากที่ปรับตัวลง 0.1% ในไตรมาส 3 และเมื่อเทียบเป็นรายปี เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัว 0.9% สำหรับสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศหดตัวเกินคาดในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีที่แล้ว เป็นเพราะภาวะหดตัวในประเทศเศรษฐกิจใหญ่สุดของภูมิภาคอย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี(อ้างอิงจาก อินโฟเควสท์)

สหรัฐเผยยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสัปดาห์ที่แล้วลดลงเกินคาด 27,000 ราย

(-)กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ. ร่วงลง 27,000 ราย แตะระดับ 341,000 ราย ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 360,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัวอย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 1,500 ราย แตะระดับ 352,500 ราย (อ้างอิงจาก อินโฟเควสท์)

ดาวโจนส์ปิดลบ 9.52 จุดหลังจีดีพียูโรโซน,ญี่ปุ่นหดตัว

(-)ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อรายงานที่ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนและญี่ปุ่นหดตัวลงเกินคาดในไตรมาส 4 ปี 2555 อย่างไรก็ตาม ดาวโจนส์ขยับลงเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนี Nasdaq และ S&P 500 สามารถปิดในแดนบวกได้เพราะตลาดได้รับแรงหนุนจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง งานรายสัปดาห์ของสหรัฐที่ลดลงเกินคาดดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัว ลง 9.52 จุด หรือ 0.07% ปิดที่ 13,973.39 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 1.05 จุด หรือ 0.07% ปิดที่ 1,521.38 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 1.78 จุด หรือ 0.06% ปิดที่ 3,198.66 จุด(อ้างอิงจาก อินโฟเควสท์)

หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุวิตกจีดีพีกลุ่มยูโรโซนหดตัว

(-)ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซน หลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนหดตัวลงในไตรมาส 4/2555 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้บดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่สดใสของบริษัทเอกช ดัชนี Stoxx 600 ลดลง 0.2% ปิดที่ 287.79 จุดดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3669.60 จุด ลบ 28.93 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 7631.19 จุด ลบ 80.70 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6327.36 จุด ลบ 31.75 จุด(อ้างอิงจาก อินโฟเควสท์)

ยูโรร่วงเทียบดอลล์ หลัง GDP ยูโรโซนหดตัวใน Q4/55

(-)สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) หลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนหดตัวลงในไตรมาส 4/2555 ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3347 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3449 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5484 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5442 ดอลลาร์สหรัฐ(อ้างอิงจาก อินโฟเควสท์)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

HGF : วิเคราะห์ราคาทองคำ โดย ฮั่วเซ่งเฮงฯ (15-02-13 | 09:54)

 

Submitted by admin on Fri, 02/15/2013 - 10:11

 

 

goldbar3_18.jpg

 

- ศก ยุโรปแย่เงินยูโรร่วงกดดันทองลงต่อ

- SPDR ลดการถือทองลง 3.02 ตัน

- ทองมีแนวโน้มอ่อนตัวเก็งกำไรทองแท่งใช้ฟิวเจอร์สบริหารพอร์ต

 

 เงินยูโรอ่อนค่าลงภายหลังมีรายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในกลุ่มยุโรป ซึ่งโดยรวมแล้วชะลอตัว กดดันให้ราคาทองคำและราคาโลหะเงินเมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมาปรับตัวลง และไม่สามารถยืนเหนือแนวรับในทางเทคนิค จนทำให้ภาพการเคลื่อนไหวของโลหะทั้ง 2 ชนิด ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงต่อไป

 ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงเป้าหมายดอกเบี้ยเผื่อเรียกข้ามคืนไว้ที่ 0-0.10% ตามความคาดหมาย โดยไม่มีการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินครั้งใหม่แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มมุมมองในการประเมินภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนและสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกช่วยคลาย กังวลให้แก่เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งต้องพึ่งพาการส่งออก

 การประชุมของกลุ่มรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป หรือ G20 ระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ คาดว่าจะมีการหารือเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ต่างใช้นโยบายกดดันให้ค่าเงินอ่อนค่า จนอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลต่อราคาทองผ่านการเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลต่างๆ

 

 ราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 1,640 ดอลลาร์ จึงเกิดเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาทองคำยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงต่อ โดยมีแนวรับที่คาดว่าจะมีการดีดตัวในทางเทคนิคอยู่ที่บริเวณ 1,620-1,625 ดอลลาร์ และมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,642 และ 1,650 ดอลลาร์ ตามลำดับ การเก็งกำไรผ่านทองคำแท่งควรใช้สถานะขายของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบริหารความ เสี่ยงในช่วงที่ราคาทองมีแนวโน้มอ่อนตัว

 

ส่วนราคาโลหะเงินหลังจากไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 30.50 ดอลลาร์ ได้ ก็เกิดเป็นสัญญาณขายในลักษณะเดียวกัน และมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวลงสู่แนวรับบริเวณ 30.0 ดอลลาร์ ต่อไป โดยมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 30.70 และ 31.0 ดอลลาร์ ตามลำดับ

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนก.พ.56

Close chg. Support Resistance

23,310 -70.00 23,200/23,100 23,400/23,550

 

ราคาทองปรับตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 1,640 ดอลลาร์ ทำให้ภาพการเคลื่อนไหวทางเทคนิคยังมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวลงต่อ จึงยังสามารถถือครองสถานะขายเก็งกำไร โดยมีแนวรับที่ควรทยอยปิดสถานะลดความเสี่ยงจากการดีดตัวในทางเทคนิคอยู่ที่ บริเวณ 1,620-1,625 ดอลลาร์ หรือในกรณีที่ราคาดีดตัวขึ้นไปยังแนวต้านบริเวณ 1,642-1,645 ดอลลาร์ ก็ยังเป็นระดับที่สามารถเลือกเปิดสถานะขายเก็งกำไร โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,650-1,655 ดอลลาร์

 

ซิลเวอร์ฟิวเจอร์สเดือนก.พ.56

Close chg. Support Resistance

949 - 940/935/920 955/960/965

ราคาโลหะเงินปรับตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 30.40-30.50 ดอลลาร์ จึงเกิดเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาปรับตัวลงค่อนข้างแรง และมีแนวโน้มว่าราคาจะอ่อนตัวลงไปยังแนวรับบริเวณ 30.0 ดอลลาร์ ต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชักจะงอนน้องทองละ เดี๋ยวปั๊ดเลิกคบ แล้วหันไปเล่นดอกเบี้ยค่าเงินดีกว่ามั้ยเนี่ย ไม่ปวดหัว ได้น้อยแต่ชัวร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...