ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

infoquest.gif

ดอลลาร์แข็งค่าขณะยูโรขยับลง หลังเงินเฟ้อยูโรโซนชะลอตัว

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 22:15:38 น.

 

สกุลเงินยูโรมีแนวโน้มว่าจะอ่อนตัวลง ภายหลังจากที่ได้มีการรายงานข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโถคที่ชะลอตัวลงในเดือนส.ค.

เมื่อเวลา 9.46 น.ตามเวลานิวยอร์ก เงินยูโรขยับมาอยู่ที่ 1.3175 เมื่อเทียบดอลลาร์ โดยอ่อนตัวลง 0.5% ในสัปดาห์นี้

ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่า 0.3% แตะ 104.01 เยน ส่วนเงินเยนอ่อนค่าลง 0.2% แตะ 137.03 ยูโร

 

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปหรือยูโรสแตทเผยเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน ส.ค.อ่อนตัวลงแตะ 0.3%

ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่อ่อนตัวลงจากระดับเดือนก.ค.ที่ 0.4% และยังเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

 

ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนนั้น เพิ่มขึ้นแตะ 0.9% จากระดับ 0.8%

การที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่า การคาดการณ์เรื่องเงินเฟ้อในภูมิภาคอ่อนตัวลง

ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรปจะใช้มาตรการการเงินเพิ่มเติม และตลาดก็จับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป

ในสัปดาห์หน้าอย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าที่ประชุมจะส่งสัญญาณใดๆเกี่ยวกับการใช้มาตรการใหม่หรือไม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Gold Direction By GT Gold Bullion: 28 August 2557

 

 

post-6178-0-64782000-1409326169_thumb.png

 

 

ราคาทองคาย่อตัวลงอีกครั้ง หลังขึ้นทดสอบแนวต้านสำคัญบริเวณ US$1,298 ที่เส้น EMA 100 วัน

แต่ไม่สามารถผ่านได้ ทำให้เกิดการพักฐานลงมา

โดยมีแนวรับสำคัญที US$1,270 ที่เส้นแนวต้านขาลง และแนวรับสำคัญที่ US$1,260 ที่ Expansion 100%

แต่หากผ่านแนวต้านที่ US$1,292 ที่ Retracement 38.2% ไปได้อีกครั้ง

ราคาทองคำจะมีโอกาสขึ้นทดสอบ US$1,298 อีกรอบ

 

ด้าน Indicator อย่าง RSI และ MACD เริ่มมีการปรับตัวลงอีกครั้ง

 

กลยุทธ์ ดูกรอบการ Rebound โดยหากผ่าน US$1,298 ได้ ซื้อเก็งกำไรตาม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Gold spot Intraday: turning down.

 

Pivot: 1291

 

Most Likely Scenario: Short positions below 1291 with targets @ 1280 & 1274 in extension.

 

Alternative scenario: Above 1291 look for further upside with 1296 & 1302 as targets.

 

Comment: The RSI is bearish and calls for further downside.

 

 

post-6178-0-75916300-1409326472.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

อังกฤษประกาศยกระดับการคุกคามจากก่อการร้ายสากลสู่ระดับรุนแรง

 

 

ข่าวการเมือง สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 22:45:13 น.

 

เทเรซา เมย์ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของ อังกฤษเปิดเผยว่า ศูนย์วิเคราะห์ลัทธิก่อการร้ายร่วมของอังกฤษ (JTAC)

ได้เปลี่ยนแปลงระดับการคุกคามจากลัทธิก่อการร้ายสากลจากระดับสูงสู่ระดับที่ รุนแรง

 

แถลงการณ์กระทรวงมหาดไทยของ อังกฤษระบุว่า การยกระดับหมายความว่า การโจมตีจากกลุ่มก่อการร้ายมีแนวโน้มว่า จะเกิดขึ้นสูง

แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลข่าวกรองที่บ่งชี้ว่าจะเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นก็ตาม

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า รมว.มหาดไทยของอังกฤษ กล่าวว่า ระดับการคุกคามที่สูงขึ้นเกี่ยวพันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียและอิรัก

ซึ่งกลุ่มก่อการร้ายกำลังวางแผนที่จะโจมตีชาติตะวันตก แผนการณ์เหล่านี้มีแนวโน้มว่า

จะเกี่ยวโยงกับกลุ่มนักรบต่างชาติที่เดินทางจากอังกฤษและยุโรป เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุขัดแย้งที่เกิดขึ้น

 

รมว.มหาดไทยกล่าวต่อไปว่า เรากำลังเผชิญกับการคุกคามที่รุนแรงอย่างแท้จริงจากลัทธิก่อการร้ายสากล

เราขอให้ประชาชนระมัดระวังและรายงานกิจกรรมที่ต้องสงสัยให้กับตำรวจทราบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกรัฐมนตรีชี้ต้องรอ 12 ปีไทยจะเป็นประเทศรายได้สูง

ขณะที่เพื่อนบ้านจะใช้เวลาเพียงหกปีเท่านั้น

ด้านธนาคารเครดิตสวิสปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย เหลือ 0.9% จาก 1/1%

 

29 สิงหาคม 2014 เวลา 21.36 น

 

 

ใน การออกโทรทัศน์รายการคืนความสุขให้คนในชาติ วันนี้ (29 ส.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

หยิบยกเรื่องการแก้ปัญหาในชาติมาพูดหลายเรื่องทั้งความมั่นคง เรื่องผู้มีอิทธิพล เรื่องกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและปัญหาปากท้อง

ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ยอมรับว่าการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนเป็นความท้าทายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

โดยเฉพาะหากไทยจะแข่งกับเพื่อนบ้านในอาเซียน

 

10304799_1548119375409097_620555974316704454_n.jpg?oh=d8a1aee4d5c731beefad0bdb1b8d555a&oe=547E6853

 

 

นายก รัฐมนตรีบอกว่าปัจจุบันขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับปานกลาง

แต่มีจุดด้อยที่สำคัญคือระบบราชการ โครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และอีกหลายปัจจัย

ซึ่งหากดูศักยภาพในปัจจุบันจะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยจะต้องใช้เวลาอีกกว่า 12 ปี

กว่าจะก้าวผ่านกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เข้าสู่ประเทศรายได้สูง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านจะใช้เวลาเพียงหกปีเท่านั้น

 

 

ทั้งนี้ ในวันเดียวกันนี้ ธนาคารเครดิตสวิส ได้ประกาศปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของไทยปีนี้ลงเหลือเติบโต 0.9% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 1.1%

และปรับเพิ่มของปีหน้าเป็นเติบโต 4.5% จากเดิม 3.9% เนื่องจากประเมินว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวและปัจจัยภายนอกจะหนุนเศรษฐกิจ ไทยมากขึ้น

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุเมื่อวานนี้ (28 ส.ค.) ว่าได้คงประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ 1.5% และมีโอกาสปรับได้

หากเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังเติบโตได้ในระดับ 4% ซึ่ง ธปท.เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในอีกสี่ไตรมาสหลังจากนี้มีแนวโน้มขยายตัวต่อ เนื่องในระดับ 4-5%

 

พล.อ.ประยุทธ์ ยังยกประเด็นปัญหาของบริษัทการบินไทย มาพูดถึงว่า คสช.ได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องหารือเรื่องแผนธุรกิจ แม้การบินไทยจะขาดทุน

แต่เชื่อว่าพื้นฐานเดิมยังดีอยู่ หากปรับโครงสร้างและกลยุทธ์ที่เหมาะสมก็จะมีศักยภาพในการดำเนินงานสูง โดยฐานะทางการเงินไม่เลวร้าย

ยังมีระดับเงินสดที่เหมาะสม มีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นเกินกว่า 46,000 ล้านบาท และจำนวนผู้โดยสารก็เพิ่ม อย่างไรก็ดี

มีสถาบันการเงินพร้อมให้การสนับสนุนด้านสภาพคล่อง และหากจำเป็นกระทรวงการคลังก็พร้อมเข้ามาดูแล

 

พล.อ.ประยุทธ์ ยังพูดถึงเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ว่าจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังเป็นรูปธรรมเร่งด่วนให้ได้ภายใน 1 ปี

วิธีทำจะรวมทั้งการลงโทษคนทำความผิดในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และอาจเพิ่มโทษให้มีผลทั้งผู้ให้และผู้รับ

เพราะที่ผ่านมาไม่มีการเอาผิดคนที่เสนอให้สินบนกับเจ้าหน้าที่รัฐอย่างจริง จัง

ถูกแก้ไข โดย gejen

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้น ขานรับหุ้นบริษัทผู้ผลิตยา

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 23:00:22 น.

 

ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นในการซื้อขายช่วงบ่ายตามเวลาท้องถิ่น โดยหุ้นบริษัทผู้ผลิตยาปรับตัวสูงขึ้น

ซึ่งช่วยชดเชยหุ้นเทสโก้ที่ร่วงลง

 

ดัชนี Stoxx 600 บวก 0.3% แตะ 342 เมื่อเวลา 16.30 น.ตามเวลาลอนดอน

 

หุ้นแอสทราเซเนก้า ดีดตัว 2% ภายหลังจากที่มีรายงานข่าวว่า ไฟเซอร์อาจจะหวนเจรจาเรื่องการซื้อกิจการอีกครั้ง

ส่วนหุ้นเทสโก้ ร่วงลง 6/6% ภายหลังจากที่ได้ปรับลดคาดการณ์กำไรตลอดทั้งปีลง

 

เทสโก้ ได้ ปรับลดคาดการณ์กำไรทั้งปีลงสู่ระดับ 2.4 -2.5 พันล้านปอนด์ และยังได้ปรับลดการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนชั่วคราวลง 75%

สู่ระดับ 1.16 เพนซ์ต่อหุ้น และคาดการณ์กำไรจากการเทรดดิ้งช่วงครึ่งปีแรกที่ 1.1 พันล้านปอนด์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

infoquest.gif

ปูตินแจงยกระดับความแข็งแกร่งกองทัพเพื่อปกป้องประเทศ

 

 

ข่าวการเมือง สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 23:30:00 น.

 

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เผยรัสเซียเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการต้านทานนิวเคลียร์

และเสริมแกร่งกองทัพด้วยอาวุธครั้งล่าสุดก็เพื่อความมั่นคงของประเทศ

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์รายงานว่า ผู้นำรัสเซียกล่าวในการประชุมที่เมืองเทวอร์ว่า

เราควรจะรู้สึกว่าตัวเองได้รับการปกป้องและมีความสามารถในการดำเนินการตาม แผนการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม

 

ผู้นำรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียจะไม่เข้าไปเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการทหารในวงกว้าง แต่จะระมัดระวังต่อการรุกรานใดๆก็ตาม

ปูตินกล่าวว่า การโจมตีทางอากาศของกองทัพยูเครนในพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครนนั้นใกล้ เคียงกันกับที่กองทัพนาซีของเยอรมนี

ได้กระทำในเมืองต่างๆของโซเวียตในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2

 

ผู้นำรัสเซียย้ำว่า พื้นที่ทางตะวันตกของยูเครนไม่ควรจะสกัดขัดขวางคุณค่าของทั้งประเทศแต่อย่าง ใด

ยูเครนจะต้องเริ่มเจรจาต่อรองกับภูมิภาคทางตะวันออกเกี่ยวกับสิทธิของ ประชาชน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แกนนำประเทศสหภาพยุโรปหรืออียูกำลังประชุมหาทาง แก้วิกฤตที่เกิดขึ้นในยูเครน

และขู่ว่าจะออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอีกระลอก

นายโฮเซ่ บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป บอกว่าถ้าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังทวีขึ้น ก็คงถึงจุดที่กู่ไม่กลับ

 

 

post-6178-0-19697800-1409416849.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความขัดแย้งทางภาคตะวันออกของยูเครนเริ่มบานปลาย

ล่าสุดนาโต้ยืนยันว่ารัสเซียส่งทหารและอาวุธเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มกบฏ

 

ที่มาที่ไปเกี่ยวกับความขัดแย้งที่นั่น (มีสองตอน)

 

ความขัดแย้งในยูเครน: ปัญหาคาใจที่หลายฝ่ายอยากรู้ (ตอนหนึ่ง)

 

30 สิงหาคม 2014 เวลา 3.24 น

 

ความ ขัดแย้งในด้านตะวันออกของยูเครนหนักข้อขึ้น เมื่อชาติตะวันตกกล่าวหาว่ารัสเซียส่งทหารไปช่วยกลุ่มกบฏ

ล่าสุดกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน เข้ายึดเมือง Novoazovsk ได้สำเร็จ เมืองนี้อยู่ระหว่างทางไปเมืองท่า Mariupol

ซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ในขณะที่การสู้รบในเมือง Donetsk และ Luhansk ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

10410776_1548188792068822_5839607809430322135_n.jpg?oh=d072878cc7f5911f20a5a18ccb651e65&oe=5460F3E0&__gda__=1417058442_0326879655f4a06d5ac748896b38ae74

 

ทำไมจึงเกิดการสู้รบในภาคตะวันออกของยูเครน

เมื่อ เดือนเมษายนที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์กลุ่มต่อต้านรัฐบาลยูเครนนำกำลังพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้าไปใน

อาคารที่ทำการของรัฐบาลในเมือง Donetsk และ Luhansk ทำให้สถานการณ์ยิ่งตึงเครียดเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันรัสเซียกล่าวหาว่าประธานาธิบดีคนปัจจุบันของยูเครนเป็นพวกชาติ นิยม และละเมิดสิทธิชาวยูเครนที่พูดภาษารัสเซีย

 

นอกจากนี้ การที่แคว้นไครเมีย ในแถบทะเลดำ แยกตัวจากยูเครนไปอยู่กับรัสเซียสำเร็จเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ทำให้กลุ่มกบฏเห็นความเป็นไปได้ที่จะทำแบบเดียวกันในพื้นที่ภาคตะวันออกของ ยูเครน

 

ก่อนหน้านั้นมีการเดินขบวนประท้วงขับไล่อดีต ประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ที่นิยมรัสเซีย ทำให้เขาต้องลาออกในเดือนกุมภาพันธ์

ถึงแม้ว่าเขาจะมาจากการเลือกตั้ง แต่ประชาชนไม่พอใจที่มีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ คอรัปชั่น เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง

และไม่ยอมลงนามเป็นพันธมิตรกับสหภาพยุโรป ต่อมายูเครนได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

แต่ประชาชนบางส่วนไม่พอใจที่รัฐบาลนิยมชาติตะวันตก

 

นายยา นูโควิช เป็นอดีตนักการเมืองคนสำคัญในภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งเป็นบริเวณที่ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย

และรู้สึกผูกผันแน่นแฟ้นกับ รัสเซีย

 

10616019_1548188922068809_9090100183632790488_n.jpg?oh=cf9112a5ca82b5b9a1632fd8de30b2fd&oe=5480596F

 

ทหารรัสเซียช่วยกลุ่มกบฏหรือเปล่า

คำ ตอบสั้นๆ คือ ใช่ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ การช่วยเหลือด้านการทหารครั้งนี้มี บุคคลระดับสูงของรัสเซียเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน

รัสเซียปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ได้ส่งกองกำลังทหารและยุทโธปกรณ์นำสมัย เข้าไปช่วยกลุ่มกบฏ

แต่ผู้นำกลุ่มกบฏใน Donetsk บอกว่าชาวรัสเซียประมาณ 3-4 พันคน เข้าร่วมกับกองกำลังกลุ่มต่อต้านฃ

เพื่อต่อสู้กับกองกำลังทหารยูเครน นอกจากนี้ทหารรัสเซียยังร่วมรบกับพวกเขาด้วย

 

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้)

เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่ามีกองกำลังทหารรัสเซียอย่างน้อย 1,000 นาย

พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปในดินแดนยูเครน

ถูกแก้ไข โดย gejen

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความขัดแย้งในยูเครน: ปัญหาคาใจที่หลายฝ่ายอยากรู้ (ตอนสอง)

 

30 สิงหาคม 2014 เวลา 3.26 น

 

ยูเครนได้รับการช่วยเหลือจากชาติตะวันตกหรือไม่

 

สหรัฐ บอกว่าสนับสนุนอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ในการสังหาร อย่างเช่น วิทยุสื่อสาร รถยนต์ อุปกรณ์เฉพาะบุคคลที่ไม่ใช่อาวุธ

และหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ รายงานว่าสหรัฐแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านข่าวกรองกับยูเครน

แต่ไม่รวมถึงข้อมูลเรียลไทม์เกี่ยวกับพื้นที่ที่อาจจะเป็นเป้าหมาย เพราะยูเครนไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต้

จึงไม่สามารถให้การสนับสนุนด้านอาวุธอย่างเป็นทางการแก่ยูเครนได้ และมีรายงานที่ยังไม่ได้รับการยืนยันระบุว่า

ที่ปรึกษาทางทหารของสหรัฐให้การ ช่วยเหลือยูเครนในการสู้รบกับกลุ่มกบฏระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม

 

นอกจากนี้สหภาพยุโรปได้ให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจหลายอย่าง เพื่อให้ยูเครนจัดการปัญหาหนี้สินและปัญหาด้านการการชำระเงิน

 

10649818_1548189575402077_4806620752892798722_n.jpg?oh=f8b765d1aa286144e5a63b3ad4cba760&oe=545EBC0A&__gda__=1416457312_5e4f58238f8b2b08097c4e2d78b3463f

ทหารรัสเซียที่ถูกจับได้

 

 

เหตุการณ์นี้จะจบลงคล้ายๆกับที่ไครเมียหรือเปล่า

 

แม้ทั้งสองเหตุการณ์มีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างบางประเด็นที่สำคัญ

 

มี รายงานหลายชิ้นบอกว่า ทหารพูดภาษารัสเซียที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี

กำลังปฏิบัติการในภาคตะวันออกยูเครนโดยไม่มีใครทราบว่าทหารกลุ่มนี้อยู่ หน่วยไหนและมียศหรือตำแหน่งอะไร

ซึ่งคล้ายกับที่เกิดขึ้นที่แคว้นไครเมีย ที่มีทหารไม่ทราบหน่วยและสัญชาติ เข้ายึดพื้นที่สำคัญหลายแห่ง

ตอนแรกรัสเซียบอกว่าทหารเหล่านี้เป็นกลุ่มต่อต้านในท้องถิ่น แต่ในที่สุดก็ยอมรับว่าทหารกลุ่มนั้นมาจากรัสเซีย

 

กลุ่ม กบฏใน Donetsk และ Luhansk ประกาศเอกราชหลังจากทำประชามติเมื่อ 11 พฤษภาคม

แต่ยูเครนและชาติตะวันตกไม่ยอมรับผลนี้ แคว้นไครเมียได้ทำประชามติลักษณะ เดียวกันนี้ในเรื่องการเข้าร่วมเป็นส่วน หนึ่งของรัสเซีย

ซึ่งผลปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยและต่อมาแคว้นไครเมียได้กลายเป็นดิน แดนของรัสเซีย

ซึ่งหลายประเทศประณามการกระทำครั้งนี้

 

ไค รเมียและรัสเซียมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยสหภาพโซเวียต ไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยูเครนในปี 2497

และรัสเซียยังมีฐานทัพเรือของตนเองในแคว้นไครเมียที่เมือง Sevastopol รวมทั้งคนไครเมียส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย

ตรงกันข้ามกันภาคตะวันออกของ ยูเครน ประชาชนที่นั่นมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติและด้านการเมืองมากกว่าที่ไครเมีย

และมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าแคว้นไครเมียมาก

 

ทำไมกรณีนี้จึงสำคัญกับยุโรป

 

เหตุการณ์นี้เป็นวิกฤตด้านความมั่นคงของยุโรปครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลงในปี 2532

 

10615616_1548189482068753_3071928422292543716_n.jpg?oh=c1e18fb8f04f958e0c96183b4b6585b4&oe=546E987B&__gda__=1417165841_e5e8d8a2798161e9673743e5b4c6da01

 

อี ยูพยายามมาหลายปีเพื่อยกระดับความสัมพันธ์กับยูเครนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันรัสเซียก็พยายามชักชวนให้ยูเครน

เข้าร่วมสหภาพอย่างไม่เป็นทางการ กับรัสเซีย พร้อมๆกับอดีตประเทศสมาชิกสหภาพโซเวียต

 

ยูเครน มีความสำคัญเนื่องจากโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นบริเวณเชื่อมต่อระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตก

นอกจากนั้นเหตุการณ์ความตึงเครียดภายในประเทศก็ยังไม่ยุติตั้งแต่การล่มสลาย ของสหภาพโซเวียตในปี 2534

 

นาโต้และอียูบอกว่ารัสเซียรังแก ยูเครน และรับไม่ได้กับการกระทำเช่นนั้น ด้านอดีตประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก

เรียกร้องให้ตะวันตกกดดันประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ให้หนักขึ้น ในขณะที่สหรัฐและอียู

ได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย โดยหวังว่าประธานาธิบดีปูติน จะยอมเปลี่ยนท่าทีและหันมาเจรจาอย่างจริงจังกับยูเครน

ถูกแก้ไข โดย gejen

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ย้อนหลังไปหนึ่งปีเต็มมีการใช้อาวุธเคมีโจมตี ย่านชานกรุงดามัสกัสเมืองหลวงของซีเรีย

จนเกือบเป็นเหตุให้สหรัฐส่งทหารบุกซีเรีย นับแต่นั้นประธานาธิบดีอัล-อัสซาดก็กลายเป็นฝ่ายได้เปรียบ

ในสงครามกลาง เมืองตลอดมา ยอดคนเจ็บคนตายเพิ่มขึ้นทุกวัน ไฟสงครามลุกลาม เข้าไปในเลบานอน

นักรบจิฮัดจากกลุ่มไอเอส ประกาศตั้งรัฐตามแนวอุดมการณ์ของตน

ครอบคลุมอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล กินพื้นที่เข้าไปในดินแดนอิรักด้วย

บีบีซีไทยขอนำผู้อ่านไปดูว่าสงครามกลางเมืองในซีเรียบานปลายออกไปนอกประเทศ ได้อย่างไร

 

 

ลำดับการบานปลายของสงครามในซีเรียตอน 1

 

31 สิงหาคม 2014 เวลา 1.44 น

 

21 สิงหาคม 2013

มี การระดมยิงจรวดบรรจุแก๊สทำลายประสาทใส่พื้นที่หลายอำเภอในเขตโกตาชานกรุง ดามัสกัส คร่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก

บรรดาชาติมหาอำนาจตะวันตกเห็นพ้องต้องกันว่ามีแต่รัฐบาลซีเรียเท่านั้นมี ศักยภาพที่จะทำเช่นนั้นได้

แต่ประธานาธิบดีบาร์ซาร์ อัล อัสซาด บอกว่าเป็นการกระทำของฝ่ายกบฏ

 

10620828_1548772095343825_7458064659124078836_n.jpg?oh=b5661134dcf436c2210101a1c6bd4ff2&oe=5464F546&__gda__=1417382129_1437b2be6e0b15bee25a48f21a436a7e

 

14 กันยายน 2013

หลัง เหตุการณ์ดังกล่าวประธานาธิบดีอัสซาดกลัวว่าจะถูกชาติตะวันตกใช้กำลังทหาร รุกราน

จึงยินยอมให้สหประชาชาติและองค์การเพื่อการควบคุมมิให้มีการใช้อาวุธเคมี

เข้าไปดำเนินการขนย้ายหรือทำลายคลังแสงเคมีทั้งหมดภายใน 30 มิถุนายน 2014

 

20 ตุลาคม 2013

เกิด เหตุนักรบพลีชีพนำรถบรรทุกไปกดระเบิดที่ด่านตรวจกลางเมืองฮามา มีคนตาย 30 คน

ปีที่แล้วทั้งปีมีการระเบิดพลีชีพทั่วซีเรียอย่างน้อย 27 ครั้ง คร่าชีวิตคนไปประมาณ 400 คน

เมื่อการโจมตีแบบพลีชีพเริ่มถี่กระชั้นขึ้นในช่วงปลายปี นักรบจิฮัดกลุ่มต่าง ๆ ก็เริ่มเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรของอัลไคดาในซีเรีย กลุ่มแนวร่วมอัล-นุซรา และกลุ่มรัฐอิสลาม (ชื่อในขณะนั้นคือ ไอซิส) ในอิรัก

 

พฤศจิกายน 2013

รัฐบาล ซีเรียเปิดยุทธการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ในเขตยึดครองของฝ่ายกบฏในจังหวัดอะ เล็ปโปทางเหนือของประเทศ

รวมทั้งพื้นที่โดยรอบ โดยใช้เฮลิคอปเตอร์นำระเบิดที่ทำขึ้นจากถังน้ำมัน ถังก๊าซและเศษเหล็กไปทิ้งในย่านชุมชุน

ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

 

15240_1548772458677122_540982695436023731_n.jpg?oh=4b17f53aa01a28c22bbc206598d85bb0&oe=546CC04E

 

19 พฤศจิกายน 2013

เกิด เหตุระเบิดพลีชีพซ้อน ๆ กันสองครั้งนอกที่ทำการสถานทูตอิหร่านในกรุงเบรุตเมืองหลวงของเลบานอน

กลุ่มนักรบจิฮัดพันธมิตรของอัลไคดา ชื่อ กองพลน้อยอับดุลเลาะห์ อัสซัม ประกาศว่าเป็นฝีมือของตน

และสำทับว่าจะเดินหน้าโจมตีต่อไปจนกว่าอิหร่านจะถอนกำลังออกจากซีเรีย อิหร่านส่งที่ปรึกษาทางทหารไปช่วยกองทัพซีเรีย

และเป็นผู้หนุนหลังกลุ่มเฮซโบลลา ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบนิกายชีอะห์จากเลบานอนที่เข้าไปช่วยรัฐบาลซีเรียรบกับ

ฝ่ายกบฏและช่วยพลิกสถานการณ์ให้ประธานาธิบดีอัสซาดกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบ

 

30 ธันวาคม 2013

นัก รบไอซิสกับชนเผ่าที่สนับสนุนพวกตนฉวยโอกาสในช่วงเกิดความตึงเครียด

ระหว่าง ชนกลุ่มน้อยนิกายสุหนี่ในอิรักกับรัฐบาลภายใต้การนำของฝ่ายชีอะห์ บุกยึดเมืองฟัลลูจาห์

และบางส่วนของเมืองรามาดีเมืองเอกของจังหวัดอันบาร์ ความตึงเครียดดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีนูรี มาลิกี

สั่งกองกำลังรักษาความมั่นคงเข้าสลายการชุมนุมประท้วงของฝ่ายต่อต้าน รัฐบาล

ถูกแก้ไข โดย gejen

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...