ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงแดนลบ ผิดหวังผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 19:59:42 น.

 

ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับตัวลงในวันนี้ หลังการเปิดเผยผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่น่าผิดหวัง

 

ณ เวลา 19.50 น.ตามเวลาไทย ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าลบ 22 จุด หรือ 0.13% ที่ระดับ 17,550 จุด

 

ทั้งนี้ บริษัทเมิร์ค แอนด์ โค คาดการณ์ผลประกอบการในปีนี้ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้

 

ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้น 1.76% เมื่อคืนนี้ (3 ก.พ.) ขานรับความคืบหน้าในการเจรจาหนี้ของรัฐบาลกรีซชุดใหม่

ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยให้ตลาดคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยูโร โซน

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ

 

ตลาดหุ้นนิวยอร์กทะยานขึ้นขานรับข่าวที่ว่า รัฐบาลชุดใหม่ของกรีซมีท่าทีอ่อนลงต่อการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้

โดยจะไม่ขอลดมูลค่าหนี้ โดยกรีซยื่นข้อเสนอปรับโครงสร้างหนี้ครั้งใหม่

 

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงตัวเลขจ้างงานเดือนม.ค.จาก ADP,

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนม.ค., ดัชนีภาคบริการเดือนม.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM),

ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนธ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์,

ประสิทธิภาพการผลิต-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเบื้องต้นในไตรมาส 4/2557 และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลสำรวจ ADP ชี้ภาคเอกชนสหรัฐจ้างงานเพิ่มขึ้น 213,000 รายในเดือนม.ค.

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 21:15:05 น.

 

ผลการสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุในวันนี้ว่า

ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 213,000 รายในเดือนม.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 240,000 ราย

 

นอกจากนี้ ADP ยังได้ทบทวนปรับเพิ่มตัวเลขการจ้างงานในเดือนธ.ค.สู่ระดับ 253,000 ราย จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 241,000 ราย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์ออสซี่,กีวีแข็งค่ารับข่าวแบงก์ชาติจีนปรับลด RRR กระตุ้นศก.

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 21:33:41 น.

 

ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าในวันนี้

หลังจากที่ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

มาตรการของธนาคารกลางจีนช่วยหนุนสกุลเงินของประเทศที่ต้องพึ่งพาการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจของจีน

ซึ่งได้แก่ ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์ โดยดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวขึ้น 0.3% ในวันนี้

แตะระดับ 0.7815 ดอลลาร์สหรัฐ หลังการประกาศของธนาคารกลางจีน ขณะที่ดิ่งแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปีเมื่อวานนี้

ขณะที่ดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่า 0.8% สู่ระดับ 0.7422 ดอลลาร์สหรัฐ หลังแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2011 เมื่อวานนี้

 

ดัชนีดอลลาร์ขยับขึ้น 0.3% สู่ระดับ 93.853 หลังจากร่วงลง 0.9% เมื่อวานนี้

โดยเป็นการดิ่งลงมากที่สุดภายในวันเดียวนับตั้งแต่เดือนต.ค.2013

 

ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลด RRR ลง 0.5% ในวันนี้ในความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะชะลอตัว

 

การปรับลด RRR ดังกล่าว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันพรุ่งนี้ จะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้มากขึ้น

ซึ่งจะส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลออกจากระบบธนาคารเข้าสู่เศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

 

ธนาคารกลางระบุว่า ต้องการให้ภาคธนาคารให้การสนับสนุนมากขึ้นต่อธุรกิจรายย่อยซึ่งอยู่ในชนบท

รวมทั้งธุรกิจการก่อสร้างโครงการน้ำ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ

ถูกแก้ไข โดย gejen

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลงซื้อ ขึ้นขาย วันนี้ก็ใช้ได้อยู่ แต่มันแคบเข้าๆ แอลมะคืน 58 ปิด71 เอส71.25 Sl 7169.5 tp65 แต่รู้สึก ว่าแถว68-69 ต้องปิดก่อนป่าว หุยบวกมา2.31$ อีกแว้ว รอ ตัวเลขน้ำมัน อีก3นาที เพื่อนๆทำไรกันคะ 60/72 75

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แก้ไข เอส 71.25 SL มี2ราคา ขณะนี้ นั่งเฝ้าก็ 69.5 ไม่เฝ้า ก็71 TP 65 เป้าตำ่กว่า60

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอส71.25 เลื่อนSL มา65 Tp 58 ร่วงมาตามตัวเลขน้ำมันที่ออก อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตอนที่แปะ ใครตาไวไว เอส69 ก็ทันป้านะ มาปิด60-62 ตอนนี้ ชิล์ลๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลสำรวจมาร์กิตชี้ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐเดือนม.ค.เพิ่มสู่ระดับ 54.2

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 22:21:41 น.

 

ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐประจำเดือนม.ค.อยู่ที่ 54.2

เพิ่มขึ้นจากระดับ 54.0 ซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้น และสูงขึ้นจากระดับ 53.3 ในเดือนธ.ค.

ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน โดยตัวเลขที่อยู่เหนือ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว

ดัชนี PMI ภาคบริการแตะระดับสูงสุดที่ 61 ในเดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว

 

ก่อนหน้านี้ ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า

ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐประจำเดือนม.ค.อยู่ที่ 53.9 ทรงตัวจากเดือนธ.ค.

แต่ถูกกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่า ซึ่งกระทบความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก

ขณะที่ราคาน้ำมันที่ดิ่งลงทำให้อุปสงค์ในการลงทุนของภาคพลังงานลดต่ำลง

แต่ราคาน้ำมันที่ลดลงก็ได้ช่วยให้ต้นทุนของผู้ผลิตปรับตัวลงด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลสำรวจ ISM ชี้ภาคบริการสหรัฐขยายตัวสูงเกินคาดในเดือนม.ค.

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 22:31:09 น.

 

ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) พบว่า

ภาคบริการของสหรัฐมีการขยายตัวสูงกว่าคาดในเดือนม.ค.

 

ทั้งนี้ ดัชนีภาคบริการของ ISM อยู่ที่ระดับ 56.7% ในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 56.5% ในเดือนธ.ค.

นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 56.3 ในเดือนม.ค.

ดัชนี PMI ที่อยู่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว

 

ก่อนหน้านี้ ผลสำรวจ ISM พบว่า ภาคการผลิตของสหรัฐมีการขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือนม.ค.

 

ทั้งนี้ ดัชนีภาคการผลิตของ ISM อยู่ที่ระดับ 53.5% ในเดือนม.ค. ลดลงจากระดับ 55.1% ในเดือนธ.ค.

ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ในปีที่แล้ว แต่ยังอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัว

ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 54.3 ในเดือนม.ค.

 

ทางด้านผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐประจำเดือนม.ค.อยู่ที่ 54.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 54.0

ซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้น และสูงขึ้นจากระดับ 53.3 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน

โดยตัวเลขที่อยู่เหนือ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว

ดัชนี PMI ภาคบริการแตะระดับสูงสุดที่ 61 ในเดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว

 

ก่อนหน้านี้ ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐประจำเดือนม.ค.

อยู่ที่ 53.9 ทรงตัวจากเดือนธ.ค. แต่ถูกกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่า ซึ่งกระทบความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก

ขณะที่ราคาน้ำมันที่ดิ่งลงทำให้อุปสงค์ในการลงทุนของภาคพลังงานลดต่ำลง

แต่ราคาน้ำมันที่ลดลงก็ได้ช่วยให้ต้นทุนของผู้ผลิตปรับตัวลงด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตอนที่แปะ ใครตาไวไว เอส69 ก็ทันป้านะ มาปิด60-62 ตอนนี้ ชิล์ลๆ

 

เจ้าป้าได้ลำใยหลายรอบเบย

 

ละคร แอบรักออนไลน์ สนุกดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้นำฝรั่งเศสเตือนกรีซเคารพข้อตกลงหนี้ที่รัฐบาลทำไว้

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 22:48:38 น.

 

ประธานาธิบดีฟรองซัวร์ ออลลองด์แห่งฝรั่งเศส กล่าวในวันนี้ว่า กฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป (EU)

และข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้จะต้องมีผลผูกพันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวเช่นนี้ หลังพบปะกับนายอเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ในวันนี้

 

นายออลลองด์ระบุว่า เขาเคารพในคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของประชาชนชาวกรีซ

แต่ก็จะต้องมีการเคารพต่อกฎระเบียบของยุโรปเช่นกัน

ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกประเทศ โดยต้องมีการเคารพในข้อผูกพันที่รัฐบาลได้ทำไว้

 

นายซิปราส และนายยานิส วารูเฟกิส รมว.คลังกรีซ กำลังเดินสายพบปะกับเจ้าหน้าที่ของยุโรปในสัปดาห์นี้

เพื่อหาเสียงสนับสนุน การทำข้อตกลงฉบับใหม่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซ

 

นายซิปราสได้เสร็จสิ้นการเจรจากับนายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้

 

นายซิปราสกล่าวว่า การหารือของเขากับผู้นำของสหภาพยุโรป (EU) กำลังมีทิศทางที่ดี

และเขาคาดว่าจะมีการบรรลุข้อตกลงซึ่งเป็นที่ยอมรับระหว่างกันภายในกรอบของ EU

 

เขาระบุว่า แม้ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงในวันนี้

แต่เขามีความเชื่อมั่นว่าการเจรจากำลังมุ่งไปในทิศทางที่ดีสำหรับการทำข้อ ตกลงร่วมกัน

 

นายซิปราสกล่าวว่า รัฐบาลของเขาจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ขณะหาเสียงเลือกตั้ง

แต่เขาก็เคารพในข้อบังคับเกี่ยวกับการชำระหนี้ และการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ EU กำหนดไว้สำหรับกรีซ

 

EU เป็นหนึ่งในเจ้าหนี้หลักของกรีซ โดยกลุ่มทรอยก้า หรือกลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซ ประกอบด้วย EU,

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

 

การเจรจาของนายซิปราสกับ EU มีเป้าหมายเพื่อทำการต่อรองเงื่อนไขครั้งใหม่สำหรับมาตรการรัดเข็มขัดตามแผน

ให้ความช่วยเหลือวงเงิน 2.40 แสนล้านยูโรที่กรีซได้รับจากเจ้าหนี้

 

ขณะเดียวกัน นายวารูเฟกิสกล่าวในวันนี้ว่า เขารู้สึกพอใจ หลังการเจรจากับนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB

 

นายวารูเฟกิสกล่าวว่า การหารือเป็นไปด้วยดี และทำให้เขามีความหวังสำหรับการเจรจาในอนาคต

 

รมว.คลังกรีซกล่าวว่า เขาได้ชี้แจงแผนของรัฐบาลกรีซให้แก่นายดรากี ขณะที่นายดรากีก็ได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์

และระบุแนวทางการช่วยเหลือของ ECB ต่อประเทศในยูโรโซน เช่น กรีซ

 

ทั้งนี้ กรีซจะต้องได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากเจ้าหนี้ก่อนสิ้นเดือนนี้

มิฉะนั้นจะประสบภาวะผิดนัดชำระหนี้สำหรับพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอน

 

นายวารูเฟกิสเสนอให้กรีซระดมเงิน 1 หมื่นล้านยูโร โดยการออกพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจาก ECB

 

เมื่อวานนี้ รัฐบาลกรีซระบุว่าจะไม่ขอลดมูลค่าหนี้ ขณะที่ยื่นข้อเสนอปรับโครงสร้างหนี้ครั้งใหม่

 

นายวารูเฟกิสกล่าวว่า กรีซจะไม่ขอให้เจ้าหนี้ลดมูลค่าหนี้ลง ขณะที่จะยื่นข้อเสนอสว็อปพันธบัตรกับฝ่ายเจ้าหนี้

โดยจะแลกเปลี่ยนพันธบัตรของรัฐบาลกรีซที่ ECB และรัฐบาลประเทศอื่นๆถือครองอยู่นั้น

ให้เป็นพันธบัตรที่มีผลตอบแทนอิงกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

และพันธบัตรประเภท Perpetual bonds ซึ่งจะจ่ายดอกเบี้ยเมื่อมีผลกำไร และไม่มีการสะสมดอกเบี้ยจ่าย

 

นอกจากนี้ นายวารูเฟกิสยังระบุว่าเขาไม่ต้องการสร้างความขัดแย้งกับ EU เกี่ยวกับการทำข้อตกลงหนี้ฉบับใหม่

ถูกแก้ไข โดย gejen

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

EIA เผยน้ำมันดิบสหรัฐสูงเป็นประวัติการณ์สัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้นสัปดาห์ที่ 4

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 22:58:07 น.

 

สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า

สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว

ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 4 ขณะที่น้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่นมีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

ทั้งนี้ สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 6.3 ล้านบาร์เรล จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.5 ล้านบาร์เรล

 

สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล

 

ด้านสต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 67,000 บาร์เรล

 

ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล

เพิ่มขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรล เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล

สำหรับอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.9%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พฤหัส 5 กุมภาพันธ์ 58

 

20:30 สหรัฐฯ ดุลการค้า

 

20:30 สหรัฐฯ ผู้ขอสวัสดิการว่างงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติจีนอัดฉีดเงินกว่า 3 แสนล้านหยวนเข้าตลาดผ่านธนาคารพาณิชย์

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 23:24:16 น.

 

ธนาคารกลางจีนเปิดเผยในวันนี้ว่า ทางธนาคารกลางได้อัดฉีดเม็ดเงิน 3.75 แสนล้านหยวน (6 หมื่นล้านดอลลาร์)

เข้าสู่ตลาดผ่านทางธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง โดยใช้กลไกการปล่อยเงินกู้ระยะกลางในเดือนพ.ย.และธ.ค.ที่ผ่านมา

การอัดฉีดเงินดังกล่าวเป็นการปล่อยเงินกู้ระยะ 3 เดือนที่อัตราดอกเบี้ย 3.5%

 

อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางไม่ได้ระบุว่าธนาคารพาณิชย์แห่งใดที่ได้รับการอัดฉีดเงินดังกล่าว

 

ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% ในวันนี้

ในความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะชะลอตัว

 

การปรับลด RRR ดังกล่าว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันพรุ่งนี้ จะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้มากขึ้น

ซึ่งจะส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลออกจากระบบธนาคารเข้าสู่เศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

 

ธนาคารกลางระบุว่า ต้องการให้ภาคธนาคารให้การสนับสนุนมากขึ้นต่อธุรกิจรายย่อยซึ่งอยู่ในชนบท

รวมทั้งธุรกิจการก่อสร้างโครงการน้ำ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝันดี และโชคดีทุกท่านค่ะ พรุ่งนี้ มีธุระเช้า ขอลานอนก่อนน้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...