ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณท่านเหล่าซือขอรับ และสาธุขอให้รวย ขอให้รวย

:lol: :lol: :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาจารย์ ทองใหม่ โซดาอ่านซะตาเลยเลย ข่าวสุดท้ายเพิ่งจบ ขอบคุณมั่กมากคะem183.gifem183.gifem183.gifem183.gifem183.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif

!Announce สงสัยต้องมีคำเตือนซะแล้วว่า "จะติดตามกระทู้นี้ ต้องขยันเข้ามาดูนะจ๊ะ !_Rd มิเช่นนั้นอาจเกิดอาการหน้ามืด !_18 ตาแฉะ ตาลาย ได้ !45 เนื่องจากเสพข้อมูลไม่ทัน !ahh"

กร้ากกกกกกกกกก !53

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาจารย์ ทองใหม่ โซดาอ่านซะตาเลยเลย ข่าวสุดท้ายเพิ่งจบ ขอบคุณมั่กมากคะem183.gifem183.gifem183.gifem183.gifem183.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif5fc0f220.gif

 

 

!Announce สงสัยต้องมีคำเตือนซะแล้วว่า "จะติดตามกระทู้นี้ ต้องขยันเข้ามาดูนะจ๊ะ !_Rd มิเช่นนั้นอาจเกิดอาการหน้ามืด !_18 ตาแฉะ ตาลาย ได้ !45 เนื่องจากเสพข้อมูลไม่ทัน !ahh"กร้ากกกกกกกกกก !53

 

 

จริงด้วย เสพข้อมูลจนติดหนึบ

!53 !gd

post-237-000659900 1278665895.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสาร์-อาทิตย์นี้ มะได้เอาคอมพ์กลับบ้าน เจอกันวันจันทร์นะคะ อ.ทองใหม่

!bye

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสาร์-อาทิตย์นี้ มะได้เอาคอมพ์กลับบ้าน เจอกันวันจันทร์นะคะ อ.ทองใหม่

!bye

กลับบ้านไหนจ๋า บาย

post-237-034280600 1278669155.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรไทยคาดกนง.ประชุม14 ก.ค.นี้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น1.50%

วันศุกร์ที่ 09 กรกฏาคม 2010 เวลา 16:49 น. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ออกบทวิเคราะห์ "นโยบายอัตราดอกเบี้ยไทย ... น่าจะมาถึงจุดเปลี่ยนทิศ" โดยระบุว่า ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) จะมีการประชุมรอบที่ 5 ของปีเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ซึ่งกำหนดอยู่ที่ร้อยละ 1.25 มาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2552 จนถึงปัจจุบัน

 

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความคิดเห็นต่อการประชุม กนง.รอบนี้ ดังต่อไปนี้

 

-ผลการประชุม : มติขึ้นดอกเบี้ย ... มีความเป็นไปได้

 

เมื่อคำนึงถึงการออกมาส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าความจำเป็นของการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำเป็นพิเศษที่ร้อยละ 1.25 มีน้อยลง และเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้นโยบายคุมเข้มแรงๆ ก็ควรที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเร็วในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีโอกาสที่จะเห็นการปรับทิศนโยบายการเงินของ กนง.จากระดับผ่อนคลายอย่างมากสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้น

(Normalized) ด้วยการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาเป็นร้อยละ 1.50 ในการประชุมวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 นี้ ซึ่งก็จะเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 อย่างไรก็ตาม มีโอกาสใกล้เคียงกันที่ กนง.อาจจะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ตามเดิมในการประชุมรอบที่จะถึง โดยรอติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอีกระยะหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมิถุนายน มีกำหนดเผยแพร่สิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งอาจให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ เพราะเป็นเดือนที่ความเสี่ยงการเมืองลดระดับลงอย่างมีนัยสำคัญ) ขณะเดียวกันก็เพื่อให้เวลาตลาดการเงินและภาคส่วนต่างๆ ในการปรับตัวก่อนที่จะปรับทิศนโยบายอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 25 สิงหาคม 2553

 

อนึ่ง ไม่ว่ามติการประชุมรอบนี้จะมีข้อสรุปออกมาเป็นเช่นไรในระหว่างสองกรณีข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จังหวะเวลาที่ห่างกันเพียง 1 รอบการประชุม หรือประมาณ 6 สัปดาห์ คงไม่มีความแตกต่างกันมากนักสำหรับการดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มอยู่ในขอบเขตที่บริหารจัดการได้ (โดยมีกระแสข่าวที่ระบุก่อนหน้านี้ว่า ธปท.อาจทบทวนปรับเพิ่มกรอบประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ในรายงานเงินเฟ้อที่มีกำหนดเผยแพร่ในวันที่ 23 กรกฎาคม) ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในปีข้างหน้า นอกจากนี้ การปรับทิศนโยบายการเงินของ กนง. หากเกิดขึ้น ก็ยังเป็นการดำเนินนโยบายในทิศทางที่สอดคล้องกันกับการคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในระยะที่ผ่านมา (ธนาคารกลางออสเตรเลีย ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ธนาคารกลางมาเลเซีย ธนาคารกลางไต้หวัน ธนาคารกลางอินเดีย และล่าสุดธนาคารกลางเกาหลีใต้) ซึ่งธนาคารกลางบางแห่ง โดยเฉพาะธนาคารกลางจีน ก็ยังมีแนวโน้มจะเพิ่มการคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะถัดไปอีกด้วย

 

 

มุมมองต่อความเสี่ยงที่สำคัญทั้ง 2 ด้าน : ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดระดับลง ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ... ลดระดับลงในช่วงครึ่งปีหลัง อานิสงส์จากมาตรการเยียวยา กระแสฟุตบอลโลก และความเสี่ยงเศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังจำกัด

 

 

 

คงต้องยอมรับว่า ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางในแต่ละภูมิภาค (ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังขาดความแน่นอนหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางการค่อยๆ เจือจางลง วิกฤตหนี้ภาครัฐในแถบยุโรปที่คงต้องอาศัยเวลาในการกอบกู้และเป็นความเสี่ยงในระยะปานกลางถึงยาวสำหรับการฟื้นตัวอย่างมั่นคงของเศรษฐกิจชั้นนำในโลก ตลอดจนการสกัดความร้อนแรงของภาวะฟองสบู่ในเศรษฐกิจเอเชียที่นำโดยจีนผ่านการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน) ถือเป็นประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ำหนักและต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงถัดๆ ไป

 

 

 

อย่างไรก็ดี แรงส่งจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งขับเคลื่อนโดยภาคการส่งออกเป็นหลัก ผนวกกับอานิสงส์จากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายของทางการไทย ซึ่งครอบคลุมถึงการเร่งดำเนินมาตรการเยียวยาผลกระทบทางการเมืองออกมาในทันทีหลังการชุมนุมยุติลง และความต่อเนื่องของการใช้จ่ายจากภาครัฐผ่านการเบิกจ่ายงบประมาณและเงินกู้ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง ตลอดจนกระแสความนิยมในฟุตบอลโลกและการออกโครงการส่งเสริมการขายที่เกี่ยวเนื่องของสินค้าและบริการต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงปลายไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ปัจจัยบวกดังกล่าว น่าที่จะสามารถลดทอนผลกระทบจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจต่างประเทศให้มีขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัดสำหรับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้

 

 

 

โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2553 อาจขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0-6.0 (YoY) เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2552 แม้ว่าโมเมนตัมการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลังอาจมีแนวโน้มแผ่วลงเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งปีแรก อันเป็นผลจากความเสี่ยงเศรษฐกิจต่างประเทศที่อาจทำให้การส่งออกเติบโตในอัตราที่ชะลอลง

 

ทั้งนี้ ภาพรวมความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ลดระดับลง ภายใต้สมมติฐานที่ความเสี่ยงการเมืองไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเศรษฐกิจโลกสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยรอบสอง (Double-Dip Recession) ก็น่าที่จะทำให้ กนง.มีความยืดหยุ่นสำหรับการปรับขั้วนโยบายการเงินเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้นภายได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้

 

ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ... ไม่น่ากังวลในปีนี้ แต่อาจมีน้ำหนักชัดเจนขึ้นในปีข้างหน้า

จากการต่ออายุมาตรการลดภาระค่าครองชีพและมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนด้านพลังงานออกไปอีก 6 เดือน หรือมีผลไปจนถึงช่วงปลายปี 2553 และต้นปี 2554 ตามลำดับ ผนวกกับการปรับตัวของราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ไม่ได้เร่งขึ้นมากนักท่ามกลางความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศคงจะไม่ใช่ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ำหนักมากนักในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ด้วยผลของฐานเปรียบเทียบและแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มขยับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องถึงปี 2554 โดยเฉพาะเมื่อมาตรการอุดหนุนจากทางการสิ้นสุดอายุลง โดยประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ กนง.ใช้ประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน มีแนวโน้มปรับขึ้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบันในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 และแม้จะยังอยู่ภายในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท.ที่ร้อยละ 0.5-3.0 ในระยะที่เหลือของปีนี้ แต่ก็มีโอกาสจะสูงกว่ากรอบบนของเป้าหมายในช่วงครึ่งแรกของปี 2554

 

 

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินเป็นไปในลักษณะที่ไม่ล่าช้า (Pre-Emptive) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาส 3/2553 ก็ถือได้ว่าน่าจะเป็นจังหวะเวลาที่สามารถยอมรับได้ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นการป้องกันภาวะความไม่สมดุลที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีค่าติดลบเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งอาจบั่นทอนแรงจูงใจของการออมในประเทศ ตลอดจนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ขณะที่ กนง.ก็ได้เคยพิจารณาปัจจัยนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ เหตุผลสำหรับการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอดีตมาแล้วด้วยเช่นกัน (ช่วงเดือนกันยายน 2548 ถึงเดือนเมษายน 2549)

 

-ผลต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบ : ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การส่งสัญญาณของ กนง. และกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงิน

ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยและอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนในตลาดเงินดูเหมือนกับว่าจะยังไม่ได้ปรับตัวอย่างเต็มที่รับการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุไม่เกิน 7 ปีที่ขยับขึ้น 1-21 จุด นับจากการประชุมรอบก่อน (2 มิถุนายน) จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม (โดยเพิ่งขยับขึ้นชัดเจนในระยะไม่กี่วันก่อนถึงกำหนดการประชุม กนง.) ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปยังปรับลดลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน (Bilateral Repo ระยะเวลา 14 วัน) ก็เพิ่งจะขยับขึ้นมากกว่าร้อยละ 1.25 เล็กน้อยในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การปรับตัวดังกล่าว ส่วนหนึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากกระแสการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุน รวมทั้งน่าจะเป็นผลจากปริมาณสภาพคล่องที่ยังมีอยู่สูงในตลาดเงิน (มากกว่า 1 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553) ขณะที่ตลาดการเงินน่าจะรับรู้และปรับตัวรับการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะอันใกล้นี้ของ กนง.แล้วในระดับหนึ่ง

 

ดังนั้น การปรับตัวของตลาดการเงินในระยะถัดไป นอกจากจะขึ้นกับมติ กนง.ในการประชุมรอบนี้แล้ว คงจะอยู่ที่การส่งสัญญาณของ กนง.ถึงความต่อเนื่องในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะมีมากน้อยเพียงใดในระยะที่เหลือของปี รวมไปถึงมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ของนักลงทุน อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินที่น่าจะมาถึงจุดเปลี่ยนทิศดังกล่าว อาจจะมีผลต่อต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุสั้นๆ ที่มักปรับขึ้นสอดรับกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนประเภทอายุยาว ยังน่าที่จะเป็นไปในขอบเขตที่จำกัดภายใต้สภาวะที่เศรษฐกิจชั้นนำในโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง

 

สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์นั้น ประเด็นสำคัญเพิ่มเติมคงจะอยู่ที่ความสามารถในการขยายสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ (ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ) ตลอดจนกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินโดยการดูดซับสภาพคล่องผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ ของ ธปท. โดยมองว่า หาก กนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็คงจะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมตาม แต่จังหวะเวลาและขนาดการปรับขึ้นนั้น คงจะอยู่ที่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภาวะการแข่งขัน รวมถึงการบริหารจัดการสภาพคล่องในระบบของทางการเป็นสำคัญ

 

 

โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับผ่อนคลายอย่างมากที่ร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.50 ในการประชุมรอบที่ 5 ของปีในวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นโอกาสที่ใกล้เคียงกันกับความเป็นไปได้ที่ กนง.อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมรอบที่จะถึงนี้ และเตรียมการณ์สำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 25 สิงหาคม 2553

 

ทั้งนี้ ไม่ว่ามติการประชุมรอบนี้จะมีข้อสรุปออกมาเป็นเช่นไรในระหว่างสองกรณีข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จังหวะเวลาที่ห่างกันเพียง 1 รอบการประชุม หรือประมาณ 6 สัปดาห์ คงไม่มีความแตกต่างกันมากนักสำหรับการดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้น (Normalized) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มอยู่ในขอบเขตที่บริหารจัดการได้ ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในปีข้างหน้า นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าว หากเกิดขึ้น ยังเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

สำหรับผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบหรือต้นทุนทางการเงินนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การปรับตัวของตลาดการเงินในระยะถัดไป นอกจากจะขึ้นกับมติ กนง.ในการประชุมรอบนี้แล้ว คงจะอยู่ที่การส่งสัญญาณของ กนง.ถึงความต่อเนื่องในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะมีมากน้อยเพียงใดในระยะที่เหลือของปี รวมไปถึงมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ของนักลงทุน ขณะที่ประเด็นสำคัญเพิ่มเติมสำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้น คงจะอยู่ที่ความสามารถในการขยายสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินโดยการดูดซับสภาพคล่องผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ ของทางการ โดยมองว่า หาก กนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็คงจะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมตาม แต่จังหวะเวลาและขนาดการปรับขึ้นนั้น คงจะอยู่ที่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภาวะการแข่งขัน และการบริหารจัดการสภาพคล่องในระบบของทางการเป็นสำคัญ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่งและแนวโน้ม : YLG

วันศุกร์ที่ 09 กรกฏาคม 2010 เวลา 16:14 น. บล.วายแอลจี บลูเลี่ยน ฯ ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ

 

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่ง และโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 9 กรกฎาคม 2553สภาวะตลาดวันที่ 9 กรกฎคม 2553 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบ ที่ระดับ $1,194.55– $1,199.65 ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFQ10 อยู่ที่ 18,540 บาท โดยเปลี่ยนแปลงลดลง 80 บาท จากวันก่อนหน้าที่ 18,620 บาท

แนวโน้มวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 การรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจในสัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐที่ลดลง 21,000 ราย การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ของเยอรมัน ปรับตัวขึ้น 2.6% รวมทั้งการที่ไอเอ็มเอฟปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ขึ้นเป็น 4.5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวเพียง 4.1%

 

 

 

นอกจากนี้แล้วยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเป็น 3.3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.7% รวมถึงปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเป็น 7.5% จากเดิม 7% ส่งผลให้นักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุนไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นซึ่งกดดันให้ราคาทองคำอ่อนค่าลงในระยะสั้นในขณะที่ SPDR ลดการถือครองทองคำ รวม 4.4 ตัน จากระดับการถือครองสูงสุด

 

 

 

โดยทางวายแอล จี มองว่าปัจจัยดังกล่าวจะกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงในระยะสั้นในขณะที่ความเสี่ยงในระยะยาวเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่อันจะทำให้นักลงทุนยังคงรักษาสัดส่วนการลงทุนในทองคำไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวทำให้กรอบการลงจะมีอย่างจำกัด

 

แนวรับ $1,193 $1,185 $1,175 แนวต้าน $1,206 $1,213 $1,225

 

แนวโน้มระยะสั้น (ระดับวัน) : คาดว่าราคาทองจะเข้าสู่สภาวะ SIDE WAY ในกรอบ $1,175 - $ 1,213 หลังจากการปรับฐานลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว

แนวโน้มระยะกลาง (ระดับสัปดาห์) : คาดว่าราคาทองจะเข้าสู่สภาวะ SIDE WAY จนถึง SIDE WAY UP ในกรอบ $1,175 – $ 1,225 หลังจากปรับฐานลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว

แนวโน้มระยะยาว (ระดับเดือน) ราคาทองคำยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นในระยะยาวโดยมีแนวรับสำคัญที่ $1,175 - $1,185

 

กลยุทธ์การลงทุน

ระยะสั้น : จุดสำคัญในการเข้าซื้อคือที่แนวรับ $1,193 $1,185

ระยะกลาง : จุดสำคัญในการเข้าซื้อคือที่แนวรับ $1,185 $1,175

ระยะยาว : จุดสำคัญในการเข้าซื้อคือที่แนวรับ $1,185 $1,175

Turning point : อยู่ที่ระดับ $1,165

แนะนำกลยุทธ์การลงทุน GOLD FUTURE

แนวโน้มระยะสั้น (ระดับวัน) คาดว่าราคาทองจะเข้าสู่สภาวะ SIDE WAY ในกรอบ 18,450 - 18,800 บาท หลังจากการปรับฐานลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว

แนวโน้มระยะกลาง (ระดับสัปดาห์) คาดราคาทองจะเข้าสู่สภาวะ SIDE WAY จนถึง SIDE WAY UP ในกรอบ 18,450 - 19,000 หลังจากปรับฐานลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว

แนวโน้มระยะยาว (ระดับเดือน) แนวโน้มระยะยาวยังคงปรับตัวขึ้นให้หาจังหวะเข้าซื้อบริเวณ 18,450 บาท

 

กลยุทธ์การลงทุน

Long Position: ถือสถานะข้ามวัน

Short Position : ปิดสถานะบริเวณ 18,450 บาท

Open New Position: ทะยอยสะสม Long บริเวณ 18,450

Turning point: จุดเปลี่ยนจากซื้อเป็นขายหากราคาต่ำกว่า 18,400 บาท (โดยรอซื้อคืนที่ 17,800-18,000 บาท)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณอาจารย์ทองใหม่มาก ๆ ค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ !gd !57 !thk !thk !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าบาทเย็นนี้ปิดที่ 32.34-32.37 บาท/ดอลล์

Friday, 09 July 2010 17:31

นักค้าเงินจาก ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) กล่าวว่า ค่าเงินบาทเย็นนี้ปิดตลาดที่ระดับ 32.34-32.37 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดของวัน ขณะที่อ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.42 บาทต่อดอลลาร์

 

สำหรับแนวโน้มการเคลื่อนของค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่า แต่เนื่องจากมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะเข้ามาแทรกแซง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแข็งค่าเร็วจนเกินไป โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ที่ระดับ 32.30-32.40 บาทต่อดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทแข็งค่าขึ้น อย่างนี้ ราคาทองที่ 19,200 อีกครั้ง ก็ริบหรี่ซิครับ อาจารย์ทองใหม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...