ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
Pete

ขออนุญาติ เฮียแบทแมน เปิดขอเดา ( ราคาทอง ) ภาคเฉพาะเหตุห้องฯ หาย ชั่วคราว

โพสต์แนะนำ

นักวิเคราะห์ตลาดเงิน-ตลาดทุนถอดใจ เศรษฐกิจตลาดหลักทรุดทั่วโลก สหรัฐอเมริกากับจีนเริ่มชะลอตัวรอบใหม่ ในขณะที่วิกฤตยูโรโซนดิ่งลึกมากขึ้นตาม เชื่อรัฐหมดปัญญารับมือ

 

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน หนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล รายงานว่า บรรดานักลงทุนเริ่มพากันทำใจเตรียมเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หลังข่าวร้ายสารพัดกระหน่ำต่อเนื่อง โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาและจีนกำลังเจอกับภาวะชะลอตัวรอบใหม่ ในขณะที่ผลกระทบจากวิกฤตในยูโรโซน เริ่มแพร่ขยายมากขึ้นตามลำดับ โดยนักลงทุนแสดงปฏิกิริยาให้เห็นด้วยการเทขายหุ้นในตลาดหลักๆ ตลอดเช้า วันที่ 4 มิถุนายนนี้ ส่งผลให้ดัชนีหั่งเส็ง ลดลง 2.3 เปอร์เซ็นต์ ตกกลับลงไปสู่ระดับเมื่อเริ่มต้นปีนี้อีกครั้ง ในขณะที่เงินเยนแข็งตัวต่อเนื่องกดดันการส่งออกของญี่ปุ่น ทำให้ดัชนีนิกเกอิถูกเทขายลดลงทำสถิติต่ำสุดระหว่างวันใหม่ ก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยมาติดลบ 2.1 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีเอสแอนด์พี เอเอสเอ็กซ์ 200 ของออสเตรเลียลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนระหว่างการซื้อขายและดัชนีคอสปิของเกาหลีใต้ ลดลง 2.5 เปอร์เซ็นต์ สเตรทไทม์ส ลดลง 1.5 เปอร์เซ็นต์

 

รายงานข่าวระบุว่า รายงานตัวเลขการผลิตของจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนแอเกินคาดหมาย ในขณะที่รัฐบาลเองยังคงยืนกรานไม่ใช้มาตรการกระตุ้นครั้งใหญ่ในระดับเดียวกันกับที่เคยทำเมื่อปี 2551 ในขณะที่เศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังถึงจุดเปลี่ยนสำคัญหลายอย่างในช่วงสัปดาห์ 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ โดยกรีซมีกำหนดเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 มิถุนายน ซึ่งผลการเลือกตั้งอาจทำให้เยอรมนีและสหภาพยุโรป (อียู) ต้องตัดสินใจว่าจะปล่อยให้กรีซพ้นจากยูโรโซนและอียูหรือไม่ ถัดมาในระหว่างวันที่ 19 และ 20 มิถุนายน กองทุนสำรองแห่งรัฐ (เฟด) หรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา กำหนดประชุมคณะกรรมการนโยบาย ต่อด้วยการประชุมสุดยอดผู้นำอียูในวันที่ 28-29 มิถุนายน

 

ในแง่ของสหรัฐอเมริกาที่ตัวเลขการจ้างงานและตัวเลขรายได้ครัวเรือนแสดงให้เห็นถึงภาวะชะลอตัวครั้งใหม่นั้น นักลงทุนไม่แน่ใจว่า เฟดจะมีเครื่องมือในการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งอย่างใดหลงเหลืออยู่หรือไม่ เพราะนอกจากดอกเบี้ยจะต่ำมากอยู่แล้ว สหรัฐอเมริกายังอยู่ระหว่างการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้รัฐสภาเองไม่กล้าออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา ขณะที่เห็นได้ชัดว่า ปัญหาในสหรัฐและอียูเริ่มกระทบต่อคู่ค้าอย่างจีนหรือแม้แต่เยอรมนีเองอย่างหนักแล้ว

 

นายเอดการ์ ปีเตอร์ส นักยุทธศาสตร์การตลาดของ เฟิร์สท์ ควอแดรนท์ ในเมืองพาซาเดนา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ระบุว่า สหรัฐอเมริกาเองไม่อยู่ในสภาพที่ดีพอที่จะรองรับภาวะถดถอยที่แท้จริงในยุโรปได้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับนักลงทุนอื่นๆ ที่เทขายหุ้นทิ้งในช่วงท้ายสัปดาห์ ส่งดาวโจนส์ติดลบจนที่เคยปรับตัวสูงขึ้นตลอดทั้งปีนี้หายไปจนหมด ในขณะที่นักวิเคราะห์บางคนถึงกับตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลยุโรปและแม้กระทั่งรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกเองก็อาจไม่มีสภาพคล่องมากพอที่จะนำมาใช้สกัดไม่ให้เกิดภาวะวิกฤตลุกลามได้ ดังนั้นนายปีเตอร์สจึงยืนยันว่ามีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภาวะถดถอยขึ้นทั่วโลก

 

นายเฟดเดอริค นูแมน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของเอชเอสบีซี ยอมรับว่าดัชนีชี้ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกแย่ลงมาก และเชื่อว่าวัฏจักรการค้าทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบ คำสั่งซื้อใหม่ทั่วโลกลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกาหลีใต้ส่งออกติดลบต่อเนื่องกัน 3 เดือนแล้วในขณะที่เศรษฐกิจอินเดียก็มีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปีอีกด้วย

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (วันที่ 5 มิถุนายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีชาวโลก.....ย้ายตามมาแอบดูกัปตันกับเจ้ดีกว่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทำเนียบขาวเรียกร้องให้กลุ่มประเทศยุโรปดำเนินการมากขึ้นเพื่อคลี่คลายวิกฤตยูโรโซนที่กำลังเลวร้ายลง โดยระบุว่าตลาต่างๆมองว่ามาตรการที่มีการดำเนินการจนถึงขณะนี้ยังไม่เพียงพอ

 

“ตลาดยังคงไม่แน่ใจว่ามาตรการที่ได้มีการดำเนินการจนถึงขณะนี้เพียงพอที่จะหนุนการฟื้นตัวในยุโรปและขจัดความเสี่ยงที่ว่าวิกฤตจะรุนแรงขึ้น" นายเจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาวกล่าว

 

“ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าจำเป็นต้องมีการดำเนินมาตรการมากขึ้น"

 

นายคาร์นีย์กล่าวว่า ฝ่ายบริหารได้หารือกับหน่วยงานของยุโรปเกี่ยวกับ “มาตรการที่ยาก" ที่จำเป็นต้องดำเนินการ ซึ่งรวมถึง “การทดสอบภาวะวิกฤติที่เข้มงวด"สำหรับธนาคารและข้อกำหนดสำหรับธนาคารต่างๆในการเพิ่มทุน ซึ่งสหรัฐได้ดำเนินการทั้งสองมาตรการดังกล่าวในช่วงวิกฤตการเงินในปี 2551-2552

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 มิถุนายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดูจากกระแสจิตแล้ววันนี้ได้ขายที่ 1630 ราคาก็แถวๆ 24250(ออนไลน์) :La แน่ๆ ในช่วงบ่าย :57

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ by Hua Seng Heng Gold Futures (05/06/2555)

เซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

- ทองพุ่งสวนสินทรัพย์เสี่ยงจากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

 

- SPDR ถือทองเพิ่มขึ้นจากวันพฤหัส 3.62 ตัน

 

- คาดทองยังไปต่อเก็งกำไร FED ทำ QE รอบใหม่

 

ราคาทองปรับตัวลงจากแรงขายทำกำไรในการซื้อขายเมื่อวานนี้ หลังจากในการซื้อขายวันศุกร์ราคาทองปรับตัวขึ้นแรงภายหลังมีรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน จนทำให้ราคาทองในวันศุกร์ดีดตัวขึ้นแรงทำสถิติปรับตัวขึ้นมากที่สุดในวันเดียวในรอบกว่า 3 ปี โดยคาดว่าเป็นแรงซื้อจากความต้องการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยที่เริ่มมีกลับเข้ามาจนทำให้การเคลื่อนไหวของราคาทองคำในสัปดาห์ก่อนเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวสวนทางกับราคาสินทรัพย์เสี่ยง และเงินดอลลาร์ที่เคยแข็งค่าขึ้นในช่วงที่นักลงทุนไม่มั่นใจสถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็กลับอ่อนค่าลง ภายหลังรายงานตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มปรับมุมมองเกี่ยวกับโอกาสที่ธนาคารกลางของสหรัฐจะมีการออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่ ซึ่งมาตรการในลักษณะดังกล่าวจะเป็นปัจจัยลบที่กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าและเป็นปัจจัยบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ และด้วยรายงานตัวเลขการจ้างงานที่แย่กว่าที่คาดของสหรัฐในวันศุกร์ นักลงทุนจึงรอติดตามคำแถลงของประธานธนาคารกลางของสหรัฐต่อสภาคองเกรสในวันพฤหัส โดยจะเป็นการแถลงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐและหากมีประเด็นที่เกี่ยวกับการออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่ ก็จะทำให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้ต่อไป ดังนั้นการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วงสัปดาห์นี้จึงยังมีแนวโน้มที่ราคาทองคำจะยังฟื้นตัวขึ้นได้ต่อ หรือหากก่อนที่จะมีคำแถลงของประธานธนาคารกลางของสหรัฐในวันพฤหัส ราคาทองปรับตัวลง คาดว่าจะมีแรงซื้อเก็งกำไรกลับเข้ามา ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาทองในทางเทคนิคหลังจากสามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1,570 ดอลลาร์ ขึ้นมาได้ ในการซื้อขายช่วงค่ำของวันศุกร์ จึงเกิดเป็นสัญญาณซื้อเก็งกำไรรอบใหม่ และส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้นในกรอบที่กว้างขึ้นจากหลายวันที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวขึ้นได้ต่อ หากมีแรงขายทำกำไรกลับออกมา ที่แนวรับบริเวณ 1,610 และ 1,590-1,600 ดอลลาร์ ยังเป็นระดับที่น่าสนใจเข้าซื้อเก็งกำไรได้ต่อไป ส่วนแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,630 และ 1,640-1,645 ดอลลาร์ ส่วนราคาโลหะเงินคาดว่าจะปรับตัวขึ้นได้ในปริมาณที่ต่ำกว่าราคาทอง โดยมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 28.50-28.70 ดอลลาร์ หากผ่านขึ้นไปได้ คาดว่าจะมีแรงซื้อกลับเข้ามามากขึ้น และราคาก็จะขึ้นไปเคลื่อนไหวเหนือ 29.0 ดอลลาร์ได้ต่อไป

 

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนมิ.ย.55

 

Close   chg.  Support        Resistance

 

24,250  +660  23,500/23,000  24,350/24,450

 

ราคาทองอ่อนตัวลงสู่แนวรับสำหรับเก็งกำไรฝั่งซื้อในการซื้อขายช่วงบ่ายของวันศุกร์ ก่อนที่จะดีดตัวขึ้นแรงในช่วงค่ำ และยังมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวขึ้นได้ต่อ แต่อาจมีแรงขายทำกำไรกลับออกมาหลังจากราคาปรับตัวขึ้นแรง โดยมีแนวรับสำหรับเก็งกำไรฝั่งซื้ออยู่ที่บริเวณ 1,610-1,615 และ 1,595-1,600 ดอลลาร์ ตามลำดับ ขณะที่แนวรับที่ 1,585-1,590 ดอลลาร์ เป็นจุดปิดสถานะตัดขาดทุน

 

ซิลเวอร์ฟิวเจอร์สเดือนมิ.ย.55

 

Close  chg.  Support  Resistance

 

903    +23   875/870  910/915

ราคาโลหะเงินขึ้นมาเคลื่อนไหวที่แนวต้านบริเวณ 28.20 ดอลลาร์ และมีแนวโน้มว่าน่าจะผ่านแนวต้านดังกล่าวขึ้นไปได้ จึงสามารถเลือกเก็งกำไรฝั่งซื้อได้ต่อ โดยมีแนวรับสำหรับเปิดสถานะอยู่ที่บริเวณ 28.0-28.10 ดอลลาร์ รวมทั้งกรณีที่ราคาผ่านแนวต้านบริเวณ 28.50-28.70 ดอลลาร์ ขึ้นไปได้ โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 27.80-27.90 ดอลลาร์

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 5 มิถุนายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีชาวโลก.....ย้ายตามมาแอบดูกัปตันกับเจ้ดีกว่า

 

ความน่าสนใจคงน้อยกว่า น้องคนนั้นที่ไปทำบุญด้วยกันมานะขอรับ :uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอมาเจิมทู้(เดิม แต่ห้องใหม่)ด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟันด์เมเนเจอร์มองแนวโน้ม"ตลาดหุ้น-ทองคำ"เดือนมิ.ย.อยู่ในช่วง "ขาลง" วิกฤติหนี้ยุโรปกดดัน แนะเพิ่มน้ำหนักลงทุนตราสารหนี้ลดความเสี่ยง

 

ภาพรวมการลงทุนตลอดช่วงเดือนพ.ค.ต้องยอมรับว่ามีความผันผวน โดยตลาดโฟกัสไปที่ประเด็นปัญหาวิกฤติหนี้ในยุโรป โดยเฉพาะปัญหาการเมือง และเศรษฐกิจของกรีซ ซึ่งอยู่ในช่วงรอยต่อ รอผลการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือนมิ.ย.นี้ ว่าท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลใหม่ของกรีซ จะเดินตามแผนรัดเข็มขัดหรือไม่ และจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ กรีซจะเดินออกจากกลุ่มยูโรโซน หรือจะเดินหน้าไปในทิศทางไหน ซึ่งทำให้มีการขายสินทรัพย์เสี่ยง อย่างตลาดหุ้น ทองคำ และน้ำมัน ออกมาอย่างต่อเนื่อง และโยกเงินเข้าลงทุนดอลลาร์ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย และมีสภาพคล่องมากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยง กดดันให้ค่าเงินทั่วโลกอ่อนค่าลงตามค่าเงินยูโร

 

ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี ให้ความเห็นว่า ถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ในช่วงก่อนหน้าว่า การลงทุนในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา จะมีความผันผวน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น หรือทองคำ จากปัจจัยต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติหนี้ยุโรป หรือสหรัฐที่ยังอ่อนแอ ส่วนภาพรวมการลงทุนในเดือนมิ.ย. เชื่อว่าจะมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาหนี้ยุโรป ที่เริ่มกระจายตัวชัดเจนไปสู่ภาคสถาบันการเงิน และขณะนี้สถาบันการเงินสเปนเริ่มมีปัญหาขาดสภาพคล่อง จากความไม่เชื่อมั่นของผู้ฝากเงิน ซึ่งจะเป็นตเองมีการเพิ่มทุน

 

ทั้งนี้ ตลาดมีการประเมินว่า สาบันการเงินในสเปนจำเป็นต้องเพิ่มทุนประมาณ 6 หมื่นล้านยูโร ขณะที่สถาบันการเงินอิตาลีต้องเพิ่มทุน 6 หมื่นล้านยูโร เช่นเดียวกัน

 

"กฤติหนี้เริ่มลามเข้าสู่ภาคการเงิน ทำให้สถาบันการเงินเริ่มปั่นป่วน เห็นได้ชัดเจนจากการอ่อนค่าของค่าเงินยูโร ความเสี่ยงทีเกิดขึ้น ทำให้มีการขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ และน้ำมัน แต่ในส่วนของตลาดพันธบัตร ถือว่าปรับตัวค่อนข้างดี เพราะมีความเสี่ยงต่ำ"

 

 

ประภาส มองถึงแนวโน้มการลงทุนตลาดหุ้นไทยในเดือนนี้ว่า มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น โดยตลาดจับตาไปที่ผลการเลือกตั้งอของกรีซ และความไม่มีเสถียรภาพในการแก้ปัญหาวิกฤติหนี้ในยูโรโซน โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยแนวรับอยู่ที่ 1,050 จุด และแนวต้านที่ 1,150 จุด

 

ส่วนแนวโน้มราคาทองในเดือนมิ.ย. ประภาส มองว่า มีความเสี่ยงอยู่ในช่วงขาลงเช่นเดียวกันกับตลาดหุ้น ถ้าหากหลุดแนวรับที่ 1,520 ดอลลาร์/ออนซ์ ราคาทองก็มีโอกาสที่จะทรุดตัวลงประมาณ 100 ดอลลาร์/ออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน ในเดือนมิ.ย. แนะนำให้ทยอยซื้อหุ้น และทองคำในช่วงปรับฐาน

 

ศุภกร สุนทรกิจ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เกียรตินาคิน มองว่า การลงทุนในเดือนนี้ต้องระมัดระวัง และติดตามสถานการณ์ยุโรปอย่างใกล้ชิด ในช่วงนี้ไม่แนะนำให้ลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่ม ให้รอสัญญาณการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรป มีทิศทางดีขึ้น จึงค่อยทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุน

 

ส่วนสถานการณ์การเมืองในประเทศ ความขัดแย้งเรื่องพ.ร.บ.ปรองดอง ซึ่งนำไปสู่การชุมนุมคัดค้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ศุภกร ให้ความเห็นว่า ภาพยังไม่ชัดเจนว่าจะทำให้เกิดปัญหารุนแรง แต่แนะนำให้นักลงทุน ยกระดับการเฝ้าระวังปัญหาการเมือง

 

ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวดัชนีในเดือนมิ.ย. ศุภกร มองว่า แนวรับอยู่ที่ 1,100 จุด

 

"ผมคิดว่า 1,100 จุด น่าจะxxxxxx แต่จะให้ขึ้นไปมากๆคงยาก แนวต้านน่าจะอยู่ที่ 1,175 จุด"

 

ส่วนมุมมองของการลงทุนในทองคำ เขามองว่า น่าจะแกว่งตัวในช่วงแคบบวก ลบไม่มาก

 

ขณะที่มุมมองตราสารหนี้ในเดือนมิ.ย. ศุภกร ให้ความเห็นว่า แม้จะมีข่าวลือในตลาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลง แต่ในมุมมองของเขายังเชื่อว่าธปท.จะยังไม่มีการลดดอกเบี้ยในขณะนี้

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำให้ลดสัดส่วนการถือหุ้น

 

สมชัย อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัย บลจ. มองว่า ทิศทางการลงทุนจะอิงกับ แนวโน้มการพัฒนาการทางเศรษฐกิจในยุโรป ซึ่งจะต้องลุ้นว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในประเทศกรีซจะส่งผลทำให้ กรีซยังอยู่ในกลุ่มยูโรต่อไปได้หรือไม่ ทำให้ระหว่างนี้จะเห็นการลดถือครองสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งหุ้น ทองคำ และน้ำมัน และโยกเงินไปถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดภัยแทน เช่น พันธบัตรสหรัฐ

 

ขณะที่หากนักลงทุนหลังเห็นแนวโน้มในกลุ่มยุโรปจะเกิดอะไรขึ้น ก็ยังเชื่อว่า จะเห็นการเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเอเซีย ที่จะมีกระแสเงินลงทุนเข้ามามากที่สุด เพราะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าตลาดหุ้น อเมริกาและยุโรป

 

โดยคาดการณ์กว่าหากผลการเลือกตั้งกรีซออกมา ปรากฎพรรครัฐบาลไม่ได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาล จะเกิดแรงเทขาย สินทรัพย์เสี่ยงด้วยความกังวล ต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่หลังจากนั้นก็จะเริ่มกลับมาซื้อคืน ด้วยมูลค่าที่ลงไปต่ำจนน่าเข้าไปลงทุน หากผลปรากฎเลือกตั้งกรีซพรรครัฐบาลได้เสียงข้างมาก นักลงทุนก็จะเริ่มกลับมาซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้งเช่นกัน จากที่ทยอยขายไปก่อนหน้านี้แล้ว จึงทำให้ในเดือนนี้มีโอกาสเห็นดัชนีหุ้น ปรับตัวขึ้นลงได้ผันผวนมาก

 

ส่วนทิศทางทองคำ ช่วงนี้จะเจอแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาห์สหรัฐที่แข็งค่า จากการเข้าไปถือครองสินทรัพย์เป็นสกุลเงินดอลลาห์ เพื่อลดความเสี่ยง แต่หากมีสัญญาณตลาดหุ้นกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง นักลงทุนก็พร้อมที่จะทิ้ง การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 0.7 % มาลงทุนในทองคำแทน

 

ขณะที่ราคาน้ำมัน จะเป็นอีกสินทรัพย์เสี่ยงประเภทหนึ่งที่จะไปล้อไปตามราคาทองคำและตลาดหุ้น เพราะเจอแรงกดดันเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อัตราความต้องการที่ลดลง ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางเริ่มเบาบางลง จึงทำให้ราคาน้ำมันจะปรับตัวได้ไม่มาก

 

สำหรับการจัดพอร์ตลงทุน แนะนำให้คงสัดส่วนเงินสดเพียง 5-10 % เพื่อคงสภาพคล่อง ส่วนนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย ให้ลงทุนในตราสารหนี้ ในไทยผสมต่างประเทศ 60 % และตราสารทุน 30 % ส่วนผู้ที่รับความเสี่ยงได้มาก ให้ปรับพอร์ตตราสารทุน เป็น 40-50 % และตราสารหนี้ 30-40 % โดยระหว่างทางให้มีการสลับพอร์ตลงทุนระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน ดูจากปัจจัยในยุโรปเป็นหลัก

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 5 มิถุนายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลดพอร์ตสินทรัพย์เสี่ยงกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555| |

 

หุ้นเอเชียลดแรงกดดันเปิดตลาดพลิกบวกเช้านี้ (5 มิ.ย.) นิเคอิบวก 0.53% หั่งเส็งบวก 1,33% สวนทางจีนลบ 0.01% เกาหลีบวก 0.93% ออสเตรเลียบวก 1.33% สิงคโปร์บวก 0.99% หลังเกิดการถล่มขายเมื่อวันจันทร์ 2-4% โดยเฉพาะหุ้นอินโดนี้ชียที่ร่วงลงลึก 3.82% บ่งชี้สัญญาณขายสินทรัพย์ลดพอร์ตความเสี่ยง เหตุกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หลังจากที่นักลงทุนพากันทิ้งสินทรัพย์ที่เป็นเงินยูโรในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนจนเงินยูโรร่วงลงไปที่ 1.2352 ต่อดอลลาร์ ล่าสุดกระเตื้องยินเหนือ 1.2500 มาได้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งแข็งแกร่งที่สุดในยูโรโซนกลับไม่ช่วยตลาดหุ้นให้ดีขึ้นไดเมากนัก แรงขายยังคงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงวานนี้ ดัชนี DAX ร่วงลง 1.19% ขณะที่หุ้นสหรัฐปิดไร้ทิศทางหลังเคลื่อนไหวผันผวน ปัญหาวิกฤติยุโรปยังครอบงำตลาด

 

 

ราคาน้ำมันไนเม็กซ์ผันผวนเปิดเทรดในแดนลบมากกว่า 1 ดอลลาร์เทรดที่ 82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนมีแรงซื้อในช่วงท้าย พยุงปิดบวก 75 เซนต์ อยู่ที่ 83.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับราคาทองแกว่งตัวแรง ปิดลดลง 8 ดอลลาร์ที่ระดับ 1,613 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวานนี้ (4 มิ.ย.) ปรับตัวลดลง 17.11 จุด หรือ 0.14% ที่ 12,101.46 ขณะที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดบวกเล็กน้อย 0.14 จุด หรือ 0.01% ปิดที่ 1,278.18 และดัชนีแนสแด็ก ปิดบวก 12.53 จุด หรือ 0.46% ปิดที่ 2,760.01

 

ด้านฟากฝั่งยุโรปยังคงผันผวน โดย CAC40 ฝรั่งเศสยืนบวกได้แทบไม่เปลี่ยนแปลงเพียง 0.14% สวนทาง DAX เยอรมัยร่วงลง 1.19% ขณะที่ตลาดหุ้นลอนดอนปิดเมรดเนื่องในวันหยุด

 

ทั้งนี้ จากรายงานตัวเลขคำสั่งซื้อใหม่ในภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายนของสหรัฐที่ไม่สดใส ส่งผลให้หุ้นเคลื่อนไหวในแดนลบตั้งแต่เปิดตลาด แต่แรงซื้อกลับมาในช่วงบ่าย

 

ทิศทางที่ไม่ชัดเจนในยุโรปเกี่ยวกับแผนช่วยเหลือภาคธนาคารของสเปน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาด และความกังวลว่ายุโรปจะจัดการกับวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างไรยังคงเป็นปัจจัยที่ครอบงำตลาดหุ้นสหรัฐ หลังจากตัวเลขการจ้างงานและการใช้จ่ายของผู้บริโภคของสหรัฐออกมาน่าผิดหวังในสัปดาห์ที่แล้ว

 

ขณะที่ดัชนีแนสแด็กที่ปิดลบ 2.8% เมื่อวันศุกร์ (1 มิ.ย.) กลับได้แรงบวกจากหุ้นอะเมซอน และสตาร์บัคส์ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.1% และ 3.4% ตามลำดับ ส่วนหุ้นรีเสิร์ช อิน โมชั่น ผู้ผลิตแบล็คเบอร์รี ปิดร่วง 5.9% สู่ระดับต่ำสุดครั้งใหม่ที่ 9.66 ดอลลาร์ เช่นเดียวกับหุ้นเฟซบุ๊คที่ปิดลบ 3.0% อยู่ที่ 26.90 ดอลลาร์ต่อหุ้น หลังทำสถิติระหว่างวันที่ 26.44 ดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าตอนทำไอพีโอเมื่อวันที่ 18 พ.ค. กว่า 30%

 

ราคาน้ำมันปิดบวกแต่ยังเผชิญแรงกดดัน

 

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 วัน แต่ตลาดยังเผชิญแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งปัญหาในยุโรป การเติบโตในจีนและอินเดียที่ชะลอ

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีทงวดส่งมอบเดือนกรกฎาคมในตลาดไนเม็กซ์ปิดบวก 75 เซ็นต์ อยู่ที่ 83.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันจันทร์ (4 มิ.ย.) หลังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 4 วัน 7.63 ดอลลาร์ ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้อานิสงส์จากท่าทีเชิงบวกของเยอรมนีที่มีต่อภาคธนาคารในยุโรป ส่งผลให้เงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งการอ่อนค่าของดอลลาร์ส่งผลให้ราคาน้ำมันลดลงสำหรับนักลงทุนที่ถือครองเงินตราต่างประเทศสกุลอื่น

 

แต่ราคาน้ำมันยังคงเผชิญแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งการเติบโตในสหรัฐ จีน และอินเดีย ที่ชะลอตัว ประกอบกับวิกฤตหนี้ยุโรปที่ผู้นำยังไม่สามารถหาทางออกร่วมกัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ความต้องการบริโภคลดลง อย่างน้อยก็ในระยะสั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่คิดว่า ราคาน้ำมันจะดีดขึ้นมากนัก

 

ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์งวดส่งมอบเดือน ก.ค. ในตลาดลอนดอนปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปิดบวก 42 เซนต์ อยู่ที่ 98.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังปรับตัวลดลง 7.8% ในสัปดาห์ก่อน

 

ราคาทองคำร่วงลง8.20ดอลลาร์

 

ราคาทองคำร่วงลงจากนักลงทุนเทขายบางส่วน ประกอบกับแรงกดดันจากเศรษฐกิจสหรัฐและปัญหายุโรป

 

ราคาทองคำร่วงลง โดยสัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ (COMEX) งวดส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 8.20 ดอลลาร์ หรือ 0.5% ปิดที่ 1,613.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำสปอตลดลง .0.7% อยู่ที่ 1,614.89 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ตลาดทองคำปรับตัวลดลง หลังจากนักลงทุนยังคงเทขายบางส่วน ต่อเนื่องจากเมื่อวันศุกร์ที่ราคาทองคำปรับตัวลดลง ขณะที่ตลาดยังจับตาการประชุมฉุกเฉินของผู้นำด้านการคลังในกลุ่มจี 7 เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรป

 

ยูโรแข็งค่าเทียบดอลลาร์-เยน

 

เงินยูโรแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์-เยน เพราะตลาดคาดการณ์ว่าผู้นำยุโรปจะหาข้อสรุปของแผนรับมือวิกฤตหนี้ในยูโรโซน โดยยูโรแข็งค่าขึ้น 0.4% อยู่ที่ 1.2476 ดอลลาร์ และแข็งค่า 0.5% เมื่อเทียบกับเงินเยน อยู่ที่ 97.51

 

แต่นักวิเคราะห์เตือนว่า นี่อาจเป็นเพียงแค่การเก็งกำไร และอาจไม่ได้มีข่าวที่เป็นบทสรุปสุดท้ายที่จะแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้น

 

ที่มา สุทธิชัยหยุ่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตือนเอเชียตั้งรับวิกฤติยุโรป'ไม่แน่นอน'เสี่ยงสูง

วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

 

นักวิเคราะห์มองยักษ์ใหญ่เอเชีย อย่างจีน-อินเดีย ต้องหาทางตั้งรับวิกฤติยุโรป หลังจากตัวเลขส่งออก-จีดีพีลดลงต่อเนื่อง ด้านสเปนยันไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก หลังจากนักวิเคราะห์ประเมิน เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ยูโรโซนอาจต้องการเงินช่วยมากถึง 150-450 พันล้านยูโร หากปัญหาบานปลาย

 

 

นายเลี่ยว คุน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งซิติกแบงก์ อินเตอร์เนชันแนล ในฮ่องกง กล่าวว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนรุนแรงกว่าที่คาดไว้ คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดดัชนีผู้จัดการสั่งซื้อในภาคการผลิตลดลงเกินคาดหมายช่วงเดือนพ.ค. ซึ่งชัดเจนว่า เกี่ยวเนื่องกับวิกฤติหนี้ในยุโรป และสะท้อนว่าความไม่แน่นอนในยุโรปมีค่อนข้างสูง จีนจึงต้องเคลื่อนไหวรวดเร็วมากกว่านี้ เพื่อเร่งผ่อนคลายนโยบายการเงินและการคลัง

 

มาตรการหลักรับมือของจีน นับจากเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว คือการลดสัดส่วนเงินกันสำรองสำหรับธนาคารต่างๆ ลง 3 ครั้ง หลังจากการส่งออก ซึ่งเป็นกลไกหลักกระตุ้นการเติบโตลดลงมาก จนดึงเศรษฐกิจไตรมาสแรกขยายตัวน้อยสุดรอบ 3 ปี

 

ล่าสุดมีสัญญาณว่า รัฐบาลกรุงปักกิ่งกำลังเพิ่มการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่เจ้าหน้าที่และสื่อของรัฐ ระบุว่า รัฐบาลจะไม่จัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่เหมือนมาตรการมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนที่ออกมาเมื่อปี 2551

 

อินเดียโตน้อยสุดรอบ 9 ปี

 

นอกจากเศรษฐกิจและการส่งออกของจีนที่ชะลอตัวลงแล้ว อินเดียก็เป็นอีกหนึ่งชาติที่ได้รับผลกระทบจากภาวะตกต่ำในโลก ฉุดให้เศรษฐกิจขยายตัว 5.3% ช่วงไตรมาสแรก ซึ่งต่ำสุดรอบ 9 ปี และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะโตได้ 6.1%

 

สภาพการณ์ที่เศรษฐกิจทั้งจีนและอินเดียชะลอตัว บดบังความหวังประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่จะผลักดันเศรษฐกิจโลกให้กลับมาอยู่ในเส้นทางการขยายตัวแข็งแกร่งอีกครั้งหนึ่ง

 

นายลีฟ เอสเคเซน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซีประจำอินเดีย กล่าวว่า ยังมีตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ของอินเดียที่น่าวิตก ไม่ว่าจะเป็นเงินรูปีที่ต่ำเป็นประวัติการณ์เทียบกับเงินดอลลาร์ เงินเฟ้อที่สูง 7% ดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลที่สูง ซึ่งทำให้ผู้กำหนดนโยบาย จัดวางแนวทางรับมือเศรษฐกิจชะลอตัวได้ไม่สะดวกนัก เพราะว่าตัวเลขขาดดุลทำให้รัฐบาลมีข้อจำกัดในการใช้จ่ายเพิ่มเติม ส่วนเงินเฟ้อก็เป็นอุปสรรคในการลดดอกเบี้ย

 

นอกจากนี้ การส่งออกเกาหลีใต้ช่วงเดือนพ.ค. ก็ลดลงเช่นกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปรับตัวลงเดือนที่ 3 ติดกัน ผลจากวิกฤติในยูโรโซนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทั้งนี้ การส่งออกไปสหรัฐลดลง 16.5% ส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรปลดลง 16.4%

 

คาดสเปนใช้เงินอุ้ม150-450พันล้านยูโร

 

ในฟากของยุโรปที่ปัญหากำลังลุกลามและประเทศที่ถูกจับตาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาคือสเปนนั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่า หากสเปนเผชิญปัญหาหนัก จนต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งความจำเป็นในการช่วยเหลืออาจสูงถึง 150,000-450,000 ล้านยูโร

 

นับถึงบัดนี้รัฐบาลสเปนยืนยันว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งแก้ปัญหาเองได้ เพราะประเทศมีความแข็งแกร่ง แต่นักลงทุนในตลาดไม่เชื่อ ทำให้ผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยพันธบัตรระยะ 10 ปีของรัฐบาล พุ่งแตะ 6.7% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนเงินที่ไหลออกนอกประเทศช่วงไตรมาสแรกปีนี้ สูงถึง 97,000 ล้านยูโร จนก่อให้เกิดคำถามว่าสเปนจะนำเงินมาจากไหนเพื่อช่วยเหลือภาคธนาคาร โดยธนาคารบันเกียที่ขอความช่วยเหลือทั้งสิ้น 23,500 ล้านยูโร อีกทั้งรัฐบาลยังมีภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมถึงการชำระหนี้

 

โพลล์ส่งท้ายกรีซชี้คะแนนสูสี

 

ด้านสถานการณ์ในกรีซยังยากจะคาดเดาผลลัพธ์ก่อนถึงการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ในวันที่ 17 มิ.ย. จากการสำรวจความเห็นล่าสุด ปรากฏว่าพรรคที่สนับสนุนและพรรคที่คัดค้านมาตรการรัดเข็มขัด ได้คะแนนนิยมสูสีกัน โดยการสำรวจความเห็น 3 สำนักระบุว่า พรรคประชาธิปไตยใหม่ที่สนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัด มีคะแนนนิยมนำหน้าเล็กน้อย แต่การสำรวจความเห็นสำนักหนึ่งระบุว่าพรรคเอียงซ้าย ไซริซา ซึ่งต้านการรัดเข็มขัด มีคะแนนนำ

 

นายอเลกซิส ไซพรัส หัวหน้าพรรคไซริซา ย้ำว่าต้องการให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป แต่ต้องยกเลิกข้อตกลงช่วยเหลือที่ทำไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยูโรโซน และ ธนาคารกลางยุโรป จากนั้นก็เจรจาข้อตกลงใหม่ เพื่อวางแนวทางให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถขยายตัวได้

ที่มา สุทธิชัย หยุ่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เวลาที่ออกรายงานฉบับนี้ คือ 09.30 น. วันนี้

 

HSBC CHINA SERVICES PMI

Actual: 54.7Cons.: Previous:  54.1

 

The HSBC China Services PMI™, released by Markit Economics, is based on data compiled from monthly replies to questionnaires sent to purchasing executives in over 400 private service sector companies. The panel has been carefully selected to accurately replicate the true structure of the services economy.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

05  มิถุนายน 2555

 

สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย

 

 

Snapshot

สหรัฐอเมริกา

- ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเพียง 69,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 115,000 ตำแหน่งในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 1 ปี และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดไว้ที่ระดับ 150,000 ตำแหน่ง โดยยอดการจ้างงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 82,000 ตำแหน่ง ส่วนภาครัฐมีการจ้างงานลดลง 13,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 8.2% จาก 8.1% ในเดือนเมษายน ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ทบทวนตัวเลขการจ้างงานในเดือนมีนาคมและเมษายน โดยปรับลดลงอีก 49,000 ตำแหน่งจากที่มีการรายงานก่อนหน้านี้

- ยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานในเดือนเมษายนลดลง 0.6 % หลังจากลดลง 2.1 % ในเดือนมีนาคม ตรงกันข้ามกับที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าอาจเพิ่มขึ้น 0.2%

- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตที่จัดทำโดยสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) ในเดือนพฤษภาคมลดลงสู่ระดับ 53.5 จากระดับ 54.8 ในเดือนเมษายน โดยดัชนียอดสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 60.1 จากระดับ 58.2 ในเดือนเมษายน ขณะที่ดัชนีการผลิตตกลงสู่ระดับ 55.6 จากระดับ 61.0 lส่วนดัชนีสินค้าคงคลังตกลงสู่ระดับ 46.0 จากระดับ 48.5 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีส่งออกชะลอตัวแตะ 53.5 จากระดับ 59.0 ในเดือนเมษายน

- การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 0.3% สู่ระดับ 8.206 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากที่ขยายตัว 0.3% ในเดือนก่อนหน้านี้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของโครงการที่อยู่อาศัยภาคเอกชนช่วยชดเชยการร่วงลงของโครงการก่อสร้างภาครัฐ โดยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 1.2% สู่ระดับ 5.496 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ส่วนการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างภาครัฐลดลง 1.4% สู่ระดับ 2.709 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลกลางลดลง 5.0% สู่ระดบ 2.639 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

- การใช้จ่ายผู้บริโภคของสหรัฐในเดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% จากที่ขยายตัว 0.2% ในเดือนมีนาคม ขณะที่รายได้ขยายตัวเพียง 0.2% และแรงกดดันเงินเฟ้อลดลงสู่ระดับ 1.9% ซึ่งอยู่ในกรอบที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ตั้งเป้าไว้ที่ 2%

 

สหภาพยุโรป

- สหภาพยุโรป (European Union: EU) อนุมัติให้มีการเปิดการเจรจาการค้าเสรีกับเวียดนาม ซึ่งเป็นความพยายามของประเทศสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศที่จะดำเนินการเจรจาความตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ การเจรจาดังกล่าวจะทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่ 3 จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เจรจาความตกลงทางการค้ากับ EU หลังจาก EU ได้เจรจาความตกลงทางการค้ากับสิงคโปร์และมาเลเซียเรียบร้อยแล้ว

 

สเปน

- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ประกาศว่ายังไม่มีการเตรียมให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สเปน เนื่องจากรัฐบาลสเปนยังไม่ดำเนินการขอเงินช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งนี้ ล่าสุดสหภาพยุโรป (อียู) ขยายระยะเวลาจากปี 2556 เป็นปี 2557 สำหรับการลดยอดขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ของสเปนเหลือ 3%

 

เดนมาร์ก

- Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือสถาบันการเงิน 9 แห่งของเดนมาร์ก โดย Danske Bank ซึ่งเป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่อันดับ 1 ของเดนมาร์กถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารทางการเงินประเภท Long-term Rating 2 ขั้น จาก A2 เป็น Baa1 นอกจากนี้ สถาบันการเงินที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือยังครอบคลุมถึง Jyske Bank, Sydbank, Spar Nord Bank, Ringkjobing Landbobank, Nykredit, Realkredit, DLR Kredit และ Danmarks Skibskredit เนื่องจากวิกฤตการเงินยูโรโซน มีแนวโน้มส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพสินเชื่อ และความสามารถในการระดมทุนของสถาบันการเงินดังกล่าว

 

โครเอเชีย

- Moody’s ปรับลด Outlook ตราสารทางการเงินประเภท Foreign and Local Currency Government Bond Ratings ของโครเอเชีย จาก Stable เป็น Negative เนื่องจากเศรษฐกิจโครเอเชียยังอยู่ในภาวะไม่แน่นอน ประกอบกับมาตรการลดยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลโครเอเชียอาจไม่สามารถลดยอดขาดดุลงบประมาณได้เท่าที่ควร

 

อังกฤษ

- สภาหอการค้าอังกฤษ (British Chamber of Commerce: BCC) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจอังกฤษปี 2555 จากขยายตัว 0.6% เหลือ 0.1% เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินของยูโรโซนที่ยังไม่คลี่คลายเป็นปัจจัยสำคัญบั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

เอเชีย: จีน

- รายงานของทางการจีนชี้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนขยายตัวน้อยกว่าที่คาดในเดือนพฤษภาคมซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้ในการที่รัฐบาลจีนจะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย China’s statistics bureau and logistics federation รายงานว่าดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือนพฤษภาคมลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.4 จากระดับ 53.3 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับจากเดือนธันวาคมปีก่อน และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจโดย Bloomberg ที่ 52 อย่างไรก็ดีดัชนีที่อยู่สูงกว่า 50 ชี้ถึงการขยายตัว

 

ญี่ปุ่น

- การใช้จ่ายด้านการลงทุนของบริษัทในญี่ปุ่นในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นสัญญาณว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจมีความต่อเนื่องในปีนี้แม้ว่าจะมีปัญหาจากการขาดแคลนพลังงานและค่าเงินเยนแข็งขึ้น โดยกระทรวงการคลังญี่ปุ่นรายงานว่าการใช้จ่ายด้านการลงทุนซึ่งไม่รวมการลงทุนด้าน Software เพิ่มขึ้น 3.5% จากเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 หลังจากไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ขยายตัว 4.9% โดยการขยายตัวดังกล่าวดีกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจโดย Bloomberg ซึ่งคาดไว้ว่าจะหดตัว 0.1%

 

เกาหลีใต้

- การส่งออกของเกาหลีใต้เดือนพฤษภาคมลดลงเป็นเดือนที่สามซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อธนาคารกลางในการประชุมสัปดาห์หน้า โดยทางการของเกาหลีใต้รายงานว่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน หลังจากในเดือนเมษายนลดลง 4.8% ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของ Bloomberg คาดการณ์ว่าจะลดลง 1.1% ขณะเดียวกันรายงานอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้เดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 2.5% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดใน 21 เดือน

 

ไทย

- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับ 115.23 เพิ่มขึ้น 2.5% (y-o-y) และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้น 0.39% (m-o-m) อันเป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามต้นทุนการผลิตและปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยลงเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนต่อเนื่อง ส่งผลให้ CPI เฉลี่ย 5 เดือนแรก(ม.ค.-พ.ค.)ปี 55 เพิ่มขึ้น 3.03% ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (Core CPI) อยู่ที่ระดับ 108.15 ขยายตัว 1.95% (y-o-y) และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้น 0.29% (m-o-m) ส่งผลให้ Core CPI เฉลี่ย 5 เดือนแรกปี 55 เพิ่มขึ้น 2.46% โดยดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่รัดบ 139.40 เพิ่มขึ้น 5.18% (y-o-y) และเมื่อเทียบกับก่อนเพิ่มขึ้น 1.41% ส่วนดัชนีราคาสินค้าที่ไม่ใช่หมวดอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ระดับ 101.40 เพิ่มขึ้น 0.83% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนลดลง 0.28% โดยเฉพาะราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และการยกเลิกการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของรัฐบาล

- กรมสรรพากรระบุว่า เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ AEC ในปี 2558 การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทางตรง (Direct investment)หรือการลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio investment) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้เตรียมการโดยจัดทำแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้การลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศของภาคเอกชน โดยการลดข้อจำกัดของการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศหรือการไม่ต้องนำรายได้จากต่างประเทศกลับเข้าประเทศ พร้อมระบุ ได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายภาษีเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายเงินทุนแล้วหลายมาตรการ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้อยู่ในประเทศไทย สำหรับCapital gains จากการขายหลักทรัพย์ผ่านกระดานเชื่อมโยงอาเซียน(ASEAN Linkage) และการให้สิทธิผู้ที่ลงทุนใน Dual-listed company สามารถเลือกเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผลในอัตราร้อยละ 10 ได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีตอนปลายปี นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้แก้ไขหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลที่บริษัทไทยได้รับจากการไปลงทุนในต่างประเทศให้ได้รับสิทธิง่ายขึ้นอีกด้วย

 

Money Market

- บาท/ดอลลาร์ เมื่อวันศุกร์-จันทร์ (1-4 มิ.ย.) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเซียส่วนใหญ่รวมทั้งเงินบาทในวันศุกร์ โดยในวันจันทร์ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินบาทจากตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯที่ต่ำกว่าที่คาด

- เยน/ดอลลาร์ เมื่อวันศุกร์-จันทร์ (1-4 มิ.ย.) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนในช่วงเช้าวันศุกร์หลังจากที่ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนลงมากเมื่อเทียบกับเงินเยนเมื่อวันพฤหัส โดยดอลลาร์สหรัฐฯได้ปัจจัยหนุนจากการที่มีการขายยูโรออกมาและซื้อดอลลาร์สหรัฐฯมากขึ้น อย่างไรก็ดีดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนลงเมื่อเทียบกับเยนหลังจากนั้นจากตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มขึ้นเพียง 69,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจโดย Bloomberg คาดไว้ที่ 150,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขิ้นจาก 8,1% ในเดือนเมษายนมาอยู่ที่ 8.2% ในเดือนพฤษภาคม

- ยูโร/ดอลลาร์ เมื่อวันศุกร์-จันทร์ ( 1-4 มิ.ย.) ค่าเงินยูโรอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเช้าวันศุกร์จากการที่ตลาดกังวลเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ในยุโรปมากขึ้นหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนเพิ่มขึ้นมาก โดยนักลงทุนวิตกว่ารัฐบาลสเปนอาจจะต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากภายนอกในไม่ช้า ขณะเดียวกันการที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนเดือนพฤษภาคมลดลงจากเดือนก่อนหน้าและต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ก็ส่งผลให้ตลาดกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเลือกถือครองสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้น อย่างไรก็ดีค่าเงินยูโรได้ปรับตัวแข็งขึ้นหลังจากนั้นจากการขายดอลลาร์สหรัฐฯหลังตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐฯเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 1 ปี

 

Capital Market

- ตลาดสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์-จันทร์ (1-4มิ.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯลดลงในวันศุกร์จากตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มขึ้นเพียง 69,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจโดย Bloomberg คาดไว้ที่ 150,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขิ้นจาก 8,1% ในเดือนเมษายนมาอยู่ที่ 8.2% ในเดือนพฤษภาคม วันจันทร์ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลงเล็กน้อยจากความกังวลวิกฤติหนี้ยุโรปและแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

- ตลาดหุ้นเอเชีย เมื่อวันศุกร์-จันทร์ (1-4 มิ.ย.) ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดลดลง 1.20% ในวันศุกร์ จากการที่ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯเมื่อคืนวันพฤหัสออกมาแย่กว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ รวมทั้งดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือนพฤษภาคมลดลงจากเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ อีกทั้งนักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับสเปนมากขึ้นหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนเพิ่มขึ้นมาก สำหรับดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตในวันศุกร์ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 0.05% โดยนักลงทุนคาดหวังเกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายเศรษฐกิจของทางการจีนแม้ว่าข้อมูลดัชนี PMI จะแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนดัชนีฮั่งเส็งปิดตลาดลดลง 0.38% สำหรับในวันจันทร์ดัชนีตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ลดลงจากการที่ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯล่าสุดส่งผลให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

- ตลาดหุ้นไทย เมื่อวันศุกร์ (1 มิ.ย) ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงในช่วงเช้าวันศุกร์จากทั้งปัจจัยการเมืองในประเทศและภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ เช่น ความกังวลเกี่ยวกับสเปน และกรีซ รวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯและจีนที่สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน โดยปิดตลาดวันศุกร์ SET INDEX ลดลง 26.31 จุด

 

โดย สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงในวันจันทร์ แต่ดัชนีตลาดหุ้นยูโรโซนปรับขึ้นตาม ตลาดหุ้นสเปน, ฝรั่งเศส และอิตาลี โดยได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า ผู้กำหนดนโยบาย อาจจะออกมาตรการใหม่เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารของยูโรโซน และข่าวนี้ช่วยบดบัง การดิ่งลงของดัชนีตลาดหุ้นเยอรมนี

 

 

ดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมนีปิดรูดลง 72.06 จุด หรือ 1.19 % สู่ 5,978.23 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 5,942.38-6,030.81

 

 

ดัชนี CAC-40 ของตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดปรับขึ้น 4.02 จุด หรือ 0.14 % สู่ 2,954.49 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 2,927.01-2,987.15

 

 

ดัชนี FTSEurofirst 300 ของหุ้นกลุ่มบลูชิพทั่วยุโรปปิดร่วงลง 4.80 จุด หรือ 0.5 % สู่ 949.94 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 948.17-955.89 โดยจุดต่ำสุดของ วันจันทร์ถือเป็นจุดต่ำสุดของปี 2012

 

 

ดัชนี Euro STOXX 50 สำหรับหุ้นกลุ่มบลูชิพของยูโรโซนปิดตลาดบวกขึ้น 10.30 จุด หรือ 0.5 % สู่ 2,078.96

 

 

ดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมนีดิ่งลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความ กังวลเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐและจีน หลังจากมีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ มหภาคที่อ่อนแอเกินคาด

 

 

ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของยูโรโซนพุ่งขึ้น 3.4 % ในวันจันทร์ หลังจากรูดลง มาแล้ว 36 % นับตั้งแต่กลางเดือนมี.ค. โดยหุ้นธนาคารอินเตซา ซานเปาโลของอิตาลี พุ่งขึ้น 5.8 % ในวันจันทร์, หุ้นธนาคารบังโก ซานตานเดร์ของสเปนทะยานขึ้น 4.9 % และหุ้นโซซิเอเต เจเนอราลของฝรั่งเศสปรับขึ้น 3.5 % ในวันจันทร์

เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสและคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ส่งสัญญาณสนับสนุนแผนการ ใช้กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ในการช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซน อย่างไรก็ดี เยอรมนียังคงคัดค้านวิธีการดังกล่าว

 

 

ดัชนี IBEX 35 ของตลาดหุ้นสเปนปิดตลาดพุ่งขึ้น 174.5 จุด หรือ 2.88 % สู่ 6,239.5 ส่วนดัชนี FTSE MIB ของตลาดหุ้นอิตาลีปิดทะยานขึ้น 151.98 จุด หรือ 1.19 % สู่ 12,891.96

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...