ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ดีลใหญ่สุดท้ายก่อนปิดตลาด!! โครงการใหญ่ปืนนาสรี่ แลก มาต้า

 

ฆวน มาต้า มีโอกาสที่จะย้ายจากบาเลนเซีย มาอยู่กับอาร์เซน่อล ตามรายงานข่าวจากเดอะเมโทร โดยทีมดังแห่งลอนดอนเหนือพร้อมที่จะจ่ายค่าตัวสตาร์ทีมชาติสเปนตามที่บาเลนเซียต้องการคือ 23 ล้านยูโร

 

ซึ่งทางไอ้ปืนใหญ่ ได้ตัดสินใจที่จะปล่อยตัว ซามีร์ นาสรี่ เพลย์เมกเกอร์ทีมชาติฝรั่งเศสออกไปจากทีมในช่วงซัมเมอร์นี้ และพวกเขาจะนำเงินที่ได้มาใช้สำหรับการซื้อมาต้า โดยคาดทางแมนเชสเตอร์ ซิตี้ พร้อมที่จะเซ็นเช็คให้กับทางอาร์เซน่อลมากถึง 22 ล้านปอนด์สำหรับนาสรี่ที่เหลือสัญญากับอาร์เซน่อลอีกเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น

 

โดยทางอาร์แซน เวนเกอร์ ผู้จัดการทีมอาร์เซน่อล หวังว่าจะได้ตัวมาต้ามาร่วมทีมก่อนตลาดซื้อ-ขายช่วงซัมเมอร์จะปิดตัวลงในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม ส่วนกรณีของเชส ฟาเบรกาส ทางอาร์เซน่อลยังต้องการให้กัปตันทีมรายนี้อยู่เป็นเสาหลักในแผงมิดฟิลด์ของทีมต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งฤดูกาล

 

ที่มา : gunnerthailand

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มหากาพย์เชสกำลังจะจบ Goal.com อ้าง! ทั้งสองสโมสรตกลงกันได้แล้ว

 

Goal.com ได้อ้างว่าการซื้อขายที่เป็นมหากาพย์มายาวนานกำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อทั้งสองสโมสรเจรจาซื้อขายเชสมาตั้งแต่ซัมเมอร์ที่แล้วจนมาถึงซัมเมอร์นี้ซึ่งอาร์เซนอลก็ได้ปฏิเสธข้อเสนอของบาร์เซโลน่าไปถึง2ครั้ง

 

โดยเป็นที่เชื่อกันว่าอาร์เซนอลจะได้รับค่าคัวจากบาร์เซโลน่า 34 ล้านปอนด์รวมถึงเงื่อนไขเพิ่มเติมซึ่งทั้งสโมสรตกลงกันไว้อีก 6 ล้านปอนด์ทำให้มูลค่าการซื้อขายครั้งนี้รวมเป็น 40 ล้านปอนด์ตามที่อาร์เซนอลได้ตั้งราคาไว้ในตอนแรก โดยคาดว่าเวงเกอร์จะนำจำนวนเงินดังกล่าวไปใช้ในการเสริมทัพนักเตะอาร์เซนอลในชุดปัจจุบันให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

 

ที่มา : gunnerthailand

 

สุดสัปดาห์นี้ ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกเริ่มขึ้นแล้ว (ตามโปรแกรมเดิม) แต่ไม่รู้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เนื่องจากอังกฤษเกิดความวุ่นวายอยู่ในขณะนี้

หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เดี๋ยวจะเอาตารางการแข่งขันมาฝากคอบอลนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รถไฟฟ้า อ่อนนุช - แบริ่ง เปิดให้บริการฟรี 12 ส.ค.นี้ถึงวันปีใหม่

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 สิงหาคม 2554 19:53 น. Share7

 

 

 

ในวันที่ 12 ส.ค.นี้ ทางกรุงเทพมหานคร เตรียมเปิดใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท ส่วนต่อขยายอ่อนนุช - แบริ่ง หลังดำเนินการสร้างมาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2549 ใช้งบประมาณทั้งหมด 50,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา มีการทดสอบระบบอาณัติสัญญาณมาเป็นเวลา 3 เดือน และทดสอบการเดินรถเสมือนจริงตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. - 11 ส.ค. โดยส่วนต่อขยาย อ่อนนุช - แบริ่ง ประกอบด้วย 5 สถานี (ไม่นับรวมสถานีอ่อนนุช) ได้แก่ สถานีอ่อนนุช สถานีบางจาก สถานีปุณณวิถี สถานีอุดมสุข สถานีบางนา และสถานีแบริ่ง วิ่งไปตามแนวถนนสุขุมวิท สุดเส้นทางที่บริเวณระหว่างซอยสุขุมวิท 105 - 107 รวมระยะทาง 5.25 กิโลเมตร

รถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง จะเปิดให้ประชาชน ใช้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. - 1 ม.ค. 2555 จะเริ่มเก็บค่าดดยสารตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2555 เป็นต้นไป โดยราคาค่าโดยสารอยู่ที่ราคา 15 บาท ตลอดเส้นทาง ทั้ง 5 สถานี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 13 สิงหาคม 2554

 

พรีเมียร์ลีก

 

21.00 น. ลิเวอร์พูล - ซันเดอร์แลนด์ ทรูสปอร์ต 1(101)

21.00 น. วีแกน - นอริช ซิตี้ ทรูสปอร์ต 3(103)

21.00 น. ควีนส์ปาร์ค - โบลตัน ทรูสเปเชียล(161)

21.00 น. สเปอร์ส - เอฟเวอร์ตัน ทรูสปอร์ต 5(105)

21.00 น. ฟูแล่ม - แอสตัน วิลล่า ทรูสปอร์ต 6(106)

21.00 น. แบล็คเบิร์น - วูล์ฟแฮมป์ตัน ทรูสปอร์ต เอ็กซ์ตร้า 1(107)

23.30 น. นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด - อาร์เซน่อล ทรูสปอร์ต 3(103)

 

วันที่ 14 สิงหาคม 2554

 

19.30 น. สโต๊ค ซิตี้ - เชลซี ทรูสปอร์ต 1(101)

22.00 น. เวสต์บรอมวิช - แมนฯ ยูไนเต็ด ทรูสปอร์ต 1(101)

 

วันที่ 15 สิงหาคม 2554

 

02.00 น. แมนฯ ซิตี้ - สวอนซี ทรูสปอร์ต 1(101)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรีเมียร์ฯ 9คู่แข่งต่อ-เลื่อนไก่คู่เดียว

 

 

ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกคู่อื่นนอกเหนือจากสเปอร์ส จะยังแข่งตามกำหนดเดิมแม้มีเหตุจลาจล

 

 

พรีเมียร์ลีก แถลงยืนยันแล้วว่า เกมฟุตบอลพรีเมียร์ชิปสัปดาห์แรก อีก 9 คู่ที่เหลือ จะยังดำเนินการแข่งขันกันตามกำหนดการณ์เดิม นอกเหนือจากเกม สเปอร์ส พบ เอฟเวอร์ตัน ที่สั่งเลื่อนการแข่งไปจากเหตุจลาจลในลอนดอน

 

หลังจากเกิดเหตุจลาจลครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมา จนสร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ของผู้พักอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ ริชาร์ด สคูดามอร์ ประธานบริหาร (ซีอีโอ) พรีเมียร์ลีก สั่งเลื่อนแมตช์พรีเมียร์ลีก 2011/12 ระหว่าง ท็อตแนม ฮอตสเปอร์ กับ เอฟเวอร์ตัน ที่สนามไวท์ ฮาร์ท เลน ในวันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม ออกไปก่อนหน้านั้น

 

ล่าสุด พรีเมียร์ลีก ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันแล้วว่า เกมพรีเมียร์ชิป สัปดาห์แรกอีก 9 คู่ที่เหลือ จะยังดำเนินการแข่งขันตามกำหนดเดิม รวมถึงสองเกมพรีเมียร์ฯ ที่แข่งในลอนดอนอย่าง ฟูแลม พบ แอสตัน วิลลา (คราเวน คอจเทจ) และ ควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส พบ โบลตัน วันเดอเรอร์ส (ล็อฟทัส โรด) จะยังฟาดแข้งตามโปรแกรมเดิมต่อไป

 

โดยแถลงการณ์ของพรีเมียร์ลีก เปิดเผยว่า "หลังจากได้มีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่,ผู้มีอำนาจตามกฏหมาย และบรรดาสโมสรในลอนดอนแล้ว พรีเมียร์ลีกขอยืนยันว่า นอกเหนือจากเกมระหว่างท็อตแนม ฮอทสเปอร์ส กับ เอฟเวอร์ตัน ได้ถูกเลื่อนออกไป เกมลีกที่จะแข่งกันในลอนดอนนั้น จะยังทำการแข่งขันตามปกติในสัปดาห์นี้"

 

ที่มา : Sport Manager

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ระวังเงิบนะ!! กระบอกเสียงบาร์ซ่าสุดมั่นเชสบินเปิดตัวพรุ่งนี้

 

สปอร์ต สื่อกีฬาของสเปนและเป็นกระบอกเสียงสำคัญของสโมสรบาร์เซโลน่า ออกมาประโคมว่า เชส ฟาเบรกาส มิดฟิลด์ทีมชาติสเปนจะมาเปิดตัวกับบาร์เซโลน่าอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ หลังจากอาร์เซน่อลตอบรับข้อเสนอ 34 + 6 ล้านยูโรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

ภายหลังจากการเจรจายืดเยื้อมานานร่วมสองเดือนเต็ม ในที่สุดเมื่อวันพฤหัสบดี โจเซ็ป มาเรีย บาร์โตเมอู รองประธานสโมสรของบาร์เซโลน่า และราอูล ซานเลติ ผู้อำนวนการด้านกีฬา โอเคที่จะจ่ายเงิน 40 ล้านยูโรตามที่อาร์เซน่อลต้องการ

 

ที่มา : gunnerthailand

 

และแล้ว เชส ก็จากไปอีกคน

 

ได้แต่นั่งมองนักเตะเก่ง ๆ ดี ๆ ของทีมย้ายออกไปคนแล้วคนเล่า เศร้าครับ :(

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

งานหนักของ เอเชีย เงินเฟ้อต้องแก้ วิกฤตโลกต้องรับมือ

12 สิงหาคม 2554 เวลา 07:52 น. | เปิดอ่าน 4 | ความคิดเห็น 0

เป็นข้อเท็จจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งต้องบอกว่าในวันนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโลก

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

เป็นข้อเท็จจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งต้องบอกว่าในวันนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกกำลังสุ่มเสี่ยงกับการเข้าสู่ภาวะซบเซาหรืออาจลามปามไปถึงภาวะเศรษฐกิจโลกหดตัวรอบ 2

 

และก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่น่าสบายใจเช่นกันว่า เอเชีย ภูมิภาคที่เคยถูกมองเป็นความหวังว่าจะเป็นพลวัตขับเคลื่อนกู้เศรษฐกิจโลก แต่ในวันนี้ เอเชียกลับจำเป็นต้องเจอศึกสองด้านที่กำลังรุมเร้า รัฐบาลชาติเอเชียทั้งหลายจำเป็นต้อง “ถ่วงดุล” ปัจจัยเสี่ยงที่กำลังสร้างความวิตกให้กับบรรดาผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของชาติ

 

ปัญหาหนึ่งคือ ภาวะซบเซาของเศรษฐกิจมหาอำนาจโลกไม่ว่าจะเป็นวิกฤตหนี้สาธารณะในสหรัฐและยุโรป ตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

 

อีกปัญหาที่รุนแรงไม่แพ้กัน คือ ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่ชาติเอเชียทั้งหลายกำลังปวดเศียรเวียนเกล้าอยู่

 

ในภาวะปกติอาจจะบอกได้ว่า การลดอัตราดอกเบี้ยและการหว่านเงินกระตุ้นค่าใช้จ่ายลงสู่ระบบนั้น ถือเป็นปกติวิสัยทัศน์ที่รัฐบาลในภูมิภาคเอเชียต่างยึดถือปฏิบัติกันมาหลายสิบปี

 

 

 

 

 

แต่ในวันนี้ต้องยอมรับว่า เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง ทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจในแนวทางเดิมๆ นั้น ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เป็นเพราะแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ ราคาสินค้าทะลุเพดานถือเป็นแนวต้านสำคัญ

 

ยิ่งไปกว่านั้น หากใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากจนเกินไปในขณะที่ปัญหาเงินเฟ้อยังไม่ได้รับการแก้ไขนั้น จะยิ่งสร้างปัญหาเพิ่มเป็นทวีคูณ เพราะประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่จากราคาสินค้าที่พุ่งกระฉูด

 

แต่ในขณะเดียวกัน หากไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจของชาติ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกันที่การเติบโตทางเศรษฐกิจจะหดตัวลง โดยเฉพาะเมื่อภาวะความซบเซาทางเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรปอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของหลายประเทศในเอเชีย ที่ยังต้องพึ่งพาการส่งออกเลี้ยงชีพเป็นสำคัญ

 

เป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าและคายไม่ออก ที่ใครขึ้นมาเป็นรัฐบาลในช่วงนี้ก็ต้องบอกว่าเจองานหนักกันทั้งนั้น!

 

เหยื่อรายแรกของเอเชียที่กำลังเริ่มเห็นลางร้ายทางเศรษฐกิจเป็นชาติแรกหนีไม่พ้นสิงคโปร์ ที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำไตรมาส 2 ลดฮวบไปแล้วถึง 6.5% สวนทางกับไตรมาสแรกราวกับเหวและนรก ที่ไตรมาสแรกสามารถบวกไปได้ถึง 27%

 

ปัญหาของสิงคโปร์ สะท้อนภาพการค้าในตลาดโลกได้เป็นอย่างดี เพราะสาเหตุสำคัญที่ทำให้จีดีพีของสิงคโปร์หล่นฮวบนั้น เป็นผลมาจากความต้องการสินค้าในตลาดซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์นั้นตกต่ำลงอย่างยิ่งในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา

 

อีกทั้ง พลังซื้อจากภายในของสิงคโปร์เองนั้น ยังไม่สามารถเป็นแรงขับดันเศรษฐกิจของชาติได้แม้แต่น้อย ทำให้สิงคโปร์จำเป็นต้องพึ่งพาความต้องการสินค้าในตลาดภายนอกเป็นสำคัญ

 

สิงคโปร์ถูกมองว่าจะไม่รอดจากภาวะเข้าสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจ ถ้าหากในไตรมาส 3 การเติบโตของจีดีพีไม่กระเตื้องขึ้นและก็มีความเสี่ยงสูงเช่นนั้นจริงๆ เมื่อเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลังนี้ส่อแววซบเซาจากปัญหาในสหรัฐและยุโรป

 

จีน คืออีกหนึ่งตัวอย่างของการถ่วงดุลชั่งน้ำหนักระหว่างปัญหาเงินเฟ้อและวิกฤตในสหรัฐและยุโรป และจีนก็เลือกที่จะ “เพลย์เซฟ” ให้กับเศรษฐกิจภายในของตัวเองก่อน

 

จีนเลือกที่จะใช้มาตรการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นระยะๆ ผสมผสานเข้ากับการใช้มาตรการเพื่อชะลอการปล่อยกู้ในประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่ยังวิกฤต

 

อย่างไรก็ตาม ถ้าถามว่าจีนประสบความสำเร็จกับแนวทางดังกล่าวหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ไม่แม้แต่น้อย เพราะอัตราเงินเฟ้อของจีนพุ่งสูงขึ้นไปถึง 6.5% แล้วในเดือน ก.ค. ล่าสุดซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีเลยทีเดียว

 

แม้ว่าจีนจะพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ก็มีเพียงแต่ดัชนีภาคการผลิตของจีนเท่านั้นที่เริ่มหดตัวลงบ้าง แต่ทว่าการเติบโตของจีดีพีจีนในไตรมาส 2 ยังสูงถึง 9.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อันเป็นผลมาจากการได้ดุลการค้ามหาศาล ซึ่งมีผลมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ

 

ประการแรก จีนกำลังติดบ่วงกับการตรึงค่าเงินหยวนที่อ่อนค่ากว่าความเป็นจริง ทำให้จีนได้ดุลการค้าในระดับสูงและยิ่งทำให้ปัญหาเงินเฟ้อในจีนกลายเป็นเรื่องยากขึ้น 2 เท่าที่จะแก้ให้อยู่หมัด

 

ประการที่ 2 แรงซื้อภายในของจีนยังไม่มากและแข็งแกร่งพอที่จะสร้างความสมดุลกับปริมาณการส่งออกที่ยังพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง

 

ทว่าสำหรับเอเชียแล้ว จีนไม่ใช่ประเทศเดียวที่กำลังประสบกับภาวะเงินเฟ้อ เวียดนาม อินเดีย และอีกหลายประเทศก็กำลังติดหล่มกับปัญหานี้อย่างหนักเช่นกัน

 

เวียดนามเป็นประเทศที่มีระดับเงินเฟ้อสูงที่สุดในเอเชีย คือ สูงถึง 21% ขณะที่อินเดียนั้นกำลังเผชิญหน้ากับภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบหลายปีที่ 8.6% โดยการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารในประเทศเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและการใช้ชีวิตของประชาชนในทุกภูมิภาคอย่างรุนแรง เช่น ชาวจีนจำเป็นต้องใช้เงินถึงครึ่งหนึ่งจากรายได้ทั้งหมดกับการใช้จ่ายค่าอาหาร

 

ยิ่งปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ชาวเอเชียเสี่ยงต่อความยากจนมากขึ้นเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เคยเตือนเอาไว้ว่า การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารเพียง 10% เท่านั้น จะทำให้ประชาชนถึง 64 ล้านคน มีโอกาสถูกลากไปตกอยู่ในกลุ่มประชากรยากจน และหากราคาอาหารเพิ่มขึ้น 20% จะทำให้ประชากรถึง 129 ล้านคน กลายเป็นคนยากจนทันที

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะกำลังประสบกับภาวะเงินเฟ้อรุมเร้า แต่ชาติต่างๆ ในเอเชียก็ถือว่ามี “ภูมิคุ้มกัน” พอตัวที่จะรับมือกับวิกฤตในสหรัฐหรือยุโรป หากสถานการณ์รุนแรงลามปามกลายเป็นเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่จริง

 

ประเด็นที่ 1 ประเทศเอเชียเคยเอาตัวรอดมาได้จากเมื่อครั้งวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปลายปี 2008 ต่อเนื่องมายังปี 2010 เป็นเพราะสาเหตุสำคัญคือ เอเชียหันมาพึ่งพาการค้าขายกันเอง เช่น การลงทุนระหว่างกันมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน อินเดีย และจีน

 

ประเด็นที่ 2 ต้องยอมรับว่าสถานะทางการคลังของหลายประเทศในเอเชียนั้นอยู่ในสภาพที่ดีกว่ารัฐบาลสหรัฐและในยุโรปที่เต็มไปด้วยการกู้หนี้ หลายประเทศในเอเชียจึงถือว่าอยู่ในสถานะที่ยังพอเจียดนำออกมากระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศได้มากขึ้น

 

ทั้งสองปัจจัยบวกดังกล่าว จะทำให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายทางการเงินของเอเชีย มีทางเลือกมากพอที่จะใช้มาตรการกระตุ้นและนโยบายทางการเงินเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงเวลาคับขันได้

 

กระนั้นก็ตาม ก็ยังถือว่าไม่น่าไว้ใจนัก โดยเฉพาะเมื่อธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ขึ้นแล้ว ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนตัวต่อไป และอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กระแสทุนร้อนจากสหรัฐไหลเข้าเอเชียมากยิ่งขึ้น และจะยิ่งส่งผลกระทบต่อค่าเงินในเอเชีย

 

อันจะยิ่งกระทบภาคส่งออกและซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อของเอเชียอยู่ไม่น้อย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โลกเตรียมรับมือเศรษฐกิจสหรัฐจ่อถดถอยซ้ำซ้อน

10 สิงหาคม 2554 เวลา 07:08 น. | เปิดอ่าน 794 | ความคิดเห็น 2

โลกได้รับผลกระทบทั่วหน้ากันทันทีที่รู้ว่าตลาดหุ้นวอลสตรีตของสหรัฐเมื่อวันจันทร์ที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

โลกได้รับผลกระทบทั่วหน้ากันทันทีที่รู้ว่าตลาดหุ้นวอลสตรีตของสหรัฐเมื่อวันจันทร์ที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา ดิ่งร่วงลงเหวอย่างรุนแรงและร้ายแรงที่สุดในการเปิดตลาดซื้อขายตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2551 เห็นได้จากสถานการณ์ตลาดหุ้นในเอเชียและในยุโรปปรับตัวร่วงลงตามตลาดหุ้นของสหรัฐ ราวกับโดนฉุดให้ร่วงตามๆ กัน

 

ความปั่นป่วนดังกล่าว เป็นผลมาจากอาการหวาดผวาของบรรดานักลงทุนและนักเก็งกำไรทั้งหลาย ที่เริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นต่อพี่เบิ้มของโลกอย่างสหรัฐ ว่าจะมีปัญญาจัดการปัญหาหนี้สาธารณะ ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตมีเสถียรภาพอีกครั้งได้หรือไม่

 

เพราะสัญญาณตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐหลายประการได้เริ่มสำแดงอาการเตือนแล้วว่า เศรษฐกิจของสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยซ้ำซ้อน (Double dip recession)

 

หรือหากจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือว่า เศรษฐกิจของสหรัฐไม่เคยกระเตื้องขึ้นเลยจากภาวะวิกฤตเมื่อปี 2551 ตามที่นักวิเคราะห์หรือผู้เชี่ยวชาญบางสำนักได้ระบุกันไว้

 

สัญญาณของภาวะถดถอยซ้ำซ้อนของสหรัฐที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดตัวแรกก็คือ อัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลขเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นจาก 1.5% เมื่อปี 2553 มาอยู่ที่ 3.6% ในเดือน ก.ค. 2554 นับเป็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือน

 

 

ทว่าสิ่งที่สาหัสกว่านั้น ก็คือ เงินเฟ้อที่เกิดขึ้น หมายถึง ราคาข้าวของที่แพงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ลดการใช้จ่ายลง

 

ทั้งนี้ ราคาอาหารและข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันภายในสหรัฐเริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น ราคาน้ำตาลที่ปรับเพิ่มขึ้นจาก 21.84% ในเดือน พ.ค. มาอยู่ที่ 24.92% ในเดือน มิ.ย. หรือเพิ่มมากขึ้นกว่า 14% ขณะที่ราคาข้าวโพดปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ซึ่งอยู่ที่ 265.29% มาอยู่ที่ 310.54% ในเดือนมิ.ย.

 

ด้านสัญญาณอันดับสอง ที่นักวิเคราะห์มองเห็นก็คือ การลดลงของการลงทุนในตลาดหุ้น

 

ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า ที่บรรดานักวิเคราะห์ฟันธงว่าวิกฤตสหรัฐสิ้นสุดลงแล้วนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ที่ดำดิ่งเหลือ 7,000 จุด ในเดือน มี.ค. 2552 ก่อนไต่อันดับพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 1.2 หมื่นจุดภายในปีเดียวกัน พร้อมกับพาดัชนีหุ้นตัวอื่นในตลาดให้ได้รับอานิสงส์กันทั่วหน้า

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำมาเทียบกับสถานการณ์ของดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ในปี 2554 ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ดัชนีดังกล่าวเพิ่มเพียง 1% เท่านั้น ก่อนที่จะทรุดฮวบอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

สัญญาณลำดับที่สาม ก็คือภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญของประชาชนในสหรัฐ โดยตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค.ปีนี้เป็นต้นมา ยอดขายรถยนต์ของสองค่ายยักษ์ใหญ่อย่างเจนเนอรัล มอเตอร์ส และฟอร์ด กลับชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2553 จนเป็นเหตุให้ชาวอเมริกันบางส่วนเริ่มหวั่นใจกับสถานะทางการเงินในอนาคตของตนเอง

 

เพราะต้องไม่ลืมว่า ทั้งช่วงก่อนและระหว่างที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อคราวที่แล้ว ยอดขายของรถยนต์ก็ชะลอตัวลงเช่นกัน และค่ายผู้ผลิตรถยนต์ก็เลือกที่จะเลย์ออฟพนักงานออกเป็นจำนวนมาก เพื่อประคับประคองบริษัทให้อยู่รอด

 

สัญญาณอันดับที่สี่ ก็คือราคาน้ำมันที่จะปรับลดลงเสมอเมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤต โดยเมื่อปี 2551 ราคาน้ำมันดิบไนเมกซ์ในตลาดนิวยอร์กร่วงจาก 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลงมาอยู่ต่ำกว่า 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงกลางปี 2552 ขณะที่ราคาน้ำมันไนเมกซ์ปัจจุบันเมื่อวันที่ 9 ส.ค. ลดลงมาอย่างต่อเนื่องเหลือเพียง 79.36 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเท่านั้น และยังมีทีท่าว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องซ้ำรอยประวัติศาสตร์เดิม

 

ส่วนสัญญาณอันดับที่ห้า ก็คือการขาดดุลงบประมาณอย่างมโหฬารของรัฐบาลกลางสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้แผนการจำเป็นสำหรับสหรัฐเพื่อทำให้ประเทศฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอย่าง พอล ครูกแมนแนะนำมีอันต้องพังทลายยับเยิน

 

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น รัฐบาลกลางยังต้องรัดเข็มขัด ตัดลดค่าใช้จ่ายอีกมหาศาล ซึ่งนั่นหมายรวมถึงการปิดยุบสำนักงานของรัฐบาล และทำให้ผู้คนต้องตกงานกว่า 4.5 แสนคน

 

สัญญาณอันดับที่หก ถือเป็นปัจจัยต่อเนื่องมาจากสัญญาณที่ห้า นั่นก็คือ อัตราการว่างงานของประชาชนสหรัฐภายในประเทศ โดยแม้ว่าตัวเลขผู้ว่างงานในปัจจุบันจะลดลง แต่ก็ลดลงจาก 9.2% ในเดือน มิ.ย. มาอยู่ที่ 9.1% ในเดือน ก.ค.เท่านั้น หรืออาจจะเรียกได้ว่าแทบจะไม่ลดลงเลย

 

ทั้งนี้ ตัวเลขการว่างงานดังกล่าวนับเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนให้เห็น 2 ปัญหาหลักก็คือ หนึ่ง หากคนตกงานก็จะไม่ใช้เงินซึ่งจะกระทบต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ขณะที่ตัวเลขคนตกงานที่สูงลิ่วจะทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณมหาศาลเข้าช่วยเหลือ ทั้งๆ ที่รัฐบาลต้องตัดลดงบประมาณเพื่อลดการขาดดุลก็ตาม

 

สัญญาณอันดับที่เจ็ด ก็คือปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐ ที่แม้ในที่สุด สภาคองเกรสสามารถผ่านข้อตกลงเพิ่มเพดานหนี้ได้อย่างฉิวเฉียด แต่นั่นเท่ากับว่า หนี้ที่สหรัฐมีอยู่เดิมกว่า 14.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จะเพิ่มขึ้นอีก และไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

 

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งมองว่า หากรัฐบาลต้องลดหนี้ ทางหนึ่งก็คือการเพิ่มภาษีควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย แต่ทว่า การเพิ่มภาษีในปัจจุบัน จะไม่เป็นผลดีกับธุรกิจภายในประเทศของสหรัฐที่ผลกำไรเริ่มลดลงแม้ว่า รัฐบาลจะยกเว้นภาษีให้แล้วก็ตาม เพราะต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้น และการใช้จ่ายในประเทศลดลง

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะหวังพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนยักษ์ใหญ่แห่งเอเชีย ก็ไม่ได้เป็นหนทางที่สวยหรูตามที่ฝันเสมอไป และนับเป็นสัญญาณเตือนอันดับที่แปด นั่นก็คือการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากนโยบายแทรกแซงค่าเงินของรัฐบาลจีน เพื่อต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศจีน

 

ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือน ก.ค. ของจีนที่ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วไปอยู่ที่ 6.5% เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นแล้วว่า จีนไม่อาจที่จะตอบสนองความคาดหวังของสหรัฐเหมือนเช่นที่เคยยื่นมือช่วยเหลือเมื่อปี 2551

 

สัญญาณเตือนลำดับที่เก้า ก็คือ ธนาคารทั้งหลายที่เริ่มจำกัดการให้สินเชื่อกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยอาศัยการขึ้นดอกเบี้ย ขณะเดียวกันก็ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำใกล้ศูนย์ เนื่องจากหวาดวิตกว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้

 

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจของสหรัฐที่เติบโตอยู่ทุกวันนี้เป็นเพราะแรงขับเคลื่อนจากกิจกรรมของบริษัทขนาดเล็กเป็นหลัก ยิ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ หากบริษัทขาดสภาพคล่องเพราะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ประคองตัวต่อไปได้ ก็เท่ากับเป็นการซ้ำเติมและเข้าสู่วงจรอุบาทว์ของปัญหาที่ไม่มีวันจบสิ้น

 

สัญญาณเตือนอันดับสุดท้าย ก็คือ ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่ย่ำแย่ลงอย่างมากในช่วงปี 2554 นี้ ส่งผลให้บ้านหลายหลังที่ประชาชนคนธรรมดานำไปจำนองไว้กับธนาคารมีมูลค่าลดลงจนกระทบต่อสถานะสินเชื่อ และกระเทือนสภาพคล่องในกระเป๋าของครัวเรือน เพราะบ้านก็คือแหล่งเงินสำคัญของคนอเมริกันเพื่อไว้ใช้จ่ายสำหรับยามเกษียณ ศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย หรือจับจ่ายใช้สอยสำหรับสินค้าราคาแพงอย่างรถยนต์ 10 สัญญาณเตือนอันตรายส่งผลให้แม้ว่า ประธานาธิบดีบารัก โอบามาแห่งสหรัฐ จะขึ้นแท่นปราศรัยเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนให้กลับมา แต่น้ำคำของโอบามาดูจะไม่หนักแน่นอีกต่อไป เห็นได้จากปฏิกิริยาของตลาด เพราะดัชนีสำคัญอย่างดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์หล่นลงมาถึง 635 จุด หรือ 5.55% มาอยู่ที่ 10,810

 

อย่างไรก็ตาม สัญญาณเตือนภัยถึงภาวะถดถอยซ้ำซ้อนของสหรัฐก็เป็นเสมือนสัญญาณเตือนภัยต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่อีกเช่นกัน เพราะสหรัฐต้องหาทางฟื้นฟูเศรษฐกิจของตนให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

 

ทั้งนี้ จากท่าทีล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ประชุมหารือเร่งด่วนได้มีมติที่มีแนวโน้มค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่า เฟดจะนำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อย่างการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(คิวอี 3) กลับมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอีกรอบแน่นอน ตามการคาดการณ์ของ เคนเนธ โรกอฟฟ์ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด

 

เท่ากับว่าไม่ช้าไม่นาน คิวอี 3 กำลังจะกลับมาหลอกหลอนโลกอีกครั้งอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และโลกไม่มีทางเลือกใดๆ นอกจากจำต้องเตรียมตัวตั้งรับไว้ให้ดีเท่านั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณสำหรับข่าวยามเช้าค่ะพี่ส้มโอมือ !_087

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณข่าวสารดีๆจากคุณส้มโอมือคับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟังเพลง "แม่ดีที่สุดในโลก" จากหนูน้อยเจ้าของเสียงลิปซิงก์พิธีเปิดโอลิมปิกปักกิ่ง2008

 

ผมชอบเวอร์ชันที่เด็กร้องครับเพราะมาก

 

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000097400

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...